ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี



| ย้อนกลับ |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

มรดกทางพระพุทธศาสนา

ศาสนสถาน

          วัดเสนานุชรังสรรค์   วัดเสนานุชรังสรรค์  เป็นพระอารามหลวง เดิมชาวบ้านเรียกวัดใหม่กำแพง พระยาเสนานุชิต (นุช ณ นคร)  ผู้สำเร็จราชการเมืองตะกั่วป่าเป็นผู้สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๐  หลังจากที่ได้สร้างเมือง ที่ว่าการ และที่พำนักแล้ว ก็ดำริที่จะสร้างวัดเพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนาให้มั่นคงถาวรในเมืองตะกั่วป่า และเห็นว่าพื้นที่เชิงเขาฉมังคีรี ตำบลตลาดเหนือ ใกล้สำนักสงฆ์วัดควนป้อม เป็นที่ว่างเปล่ามีอาณาบริเวณกว้างพอสมควร จึงจัดการเกลี่ยพื้นที่ควนด้านตะวันออกให้ราบ ก่อกำแพงด้วยอิฐถือปูนสูง ๒ เมตร มีประตูสี่ประตู คือ ด้านทิศตะวันตก และทิศตะวันออก ด้านละสองประตู แล้วสร้างพระอุโบสถขึ้นตอนกลาง ตามแบบวัดมหรรณพาราม และสร้างพระประธานหล่อด้วยโลหะ หน้าตักกว้างสองศอกคืบ สร้างศาลาการเปรียญสองหลัง แบบกึ่งถาวร พื้นก่อด้วยอิฐ เสาไม้แก่น หลังคามุงสังกะสี ปัจจุบันศาลาการเปรียญทางทิศใต้ ดัดแปลงเป็นศาลาบำเพ็ญกุศล ส่วนศาลาทางด้านทิศเหนือสร้างเป็นกุฎิสงฆ์สองชั้นกึ่งถาวร
            พระอุโบสถ  เป็นสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร ก่อสร้างตามแบบพระราชนิยมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อฐานแยกพื้นข้างในประธาน และชาลารอบตัวอาคารสูงกว่าระดับดิน ริมชาลาก่อเสารายเป็นเสาสี่เหลี่ยมขึ้นไปรับพาไลทั้งสี่ด้าน หลังคามุงด้วยกระเบื้องเกร็ดสามชั้น  ต่อมาภายหลัง หลังคาได้หักพังลงมา ทางวัดได้จัดการซ่อมขึ้นใหม่ โดยลดลงเสียชั้นหนึ่งแล้วมุงด้วยสังกะสี ลักษณะดังกล่าวยังคงอยู่มาถึงปัจจุบัน สำหรับพื้นภายในปูด้วยกระเบื้องเคลือบเป็นของที่ปรับปรุงขึ้นใหม่

          วัดนิคมสโมสร  วัดนิคมสโมสร หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดบางคลี ตั้งอยู่ในเขตตำบลนาเตย อำเภอท้ายเหมือง วัดนี้สร้างสมัยใดไม่ปรากฎ แต่สันนิษฐานว่าสร้างมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๗๐ ปี เดิมวัดนี้ตั้งอยู่อีกที่หนึ่ง เพิ่งย้ายมาสร้างใหม่ เพราะต้องการให้อยู่ใกล้เส้นทางสัญจร และเพื่อหลบให้พ้นจากการที่ตั้งอยู่ในคุ้งน้ำ ซึ่งกัดเซาะพื้นที่ของวัดอยู่ตลอดเวลา
            มีเรื่องเล่าว่าในสมัยก่อนเมื่อมีคณะมโนราห์เดินทางผ่านวัดนี้ จะต้องเล่นถวายก่อนเสมอ จึงจะเดินทางต่อไปได้ มิฉะนั้นจะมีเหตุติดขัดเสมอ
            ห่างจากวัดบางคลี ขึ้นไปทางท้ายเหมืองประมาณ ๒๐๐ คน มีโบราณวัตถุที่สำคัญคือ ลูกคลี ซึ่งมีอยู่สองลูกตั้งอยู่กลางทุ่งนา ซึ่งเป็นที่ลุ่มรกร้าง ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นลูกคลีศักดิ์สิทธิ์ที่พระสังข์ ในเรื่องสังข์ทองตีคลีกับพระอินทร แล้วลูกคลีมาตกที่นี่ ลักษณะของลูกคลีเป็นหินที่ผุดขึ้นมาจากพื้นดิน มีลักษณะกลมรีกว้างประมาณ ๒ เมตร ยาวประมาณ ๔ เมตร ลูกคลีและความเชื่อเรื่องการตีคลี ของพระสังข์กับพระอินทรตามท้องเรื่องของสังข์ทอง ทำให้ชื่อของวัดนี้เกี่ยวข้องกับการตีคลี คือ ได้ชื่อว่าวัดบางคลี
            อุโบสถหลังเก่า มีลักษณะคล้ายศาลาทรงไทย ตัวโบสถ์ส่วนล่างก่ออิฐถือปูน ส่วนบนตั้งแต่กลางผนังขึ้นไปเป็นไม้หลังคามุงกระเบื้องแผ่นเล็ก ๆ รูปสี่เหลี่ยมประดับช่อฟ้าใบระกา หน้าบันประดับภาพไม้แกะสลักรูปพระพุทธเจ้าและพระสาวก ทาสีสวยงาม พระประธานในโบสถ์ทำด้วยปูนปั้นทาสีทอง พระสาวกปูนปั้นสามองค์ และประดับภาพพิมพ์พุทธประวัติฝีมือ เหม เวชกร รอบผนังภายในโบสถ์ ลักษณะที่แปลกและเด่นของโบสถ์คือ ด้านหน้าของโบสถ์เปิดโล่ง เหมือนกับศาลาทั่ว ๆ ไป และใช้ไม้ตีเป็นซี่ลูกกรงโปร่งแทนผนัง

          วัดสุวรรณคูหา  อยู่ในเขตตำบลกระโสม อำเภอตะกั่วทุ่ง ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า วัดถ้ำ  เป็นวัดที่น่าสนใจและสำคัญที่สุดของจังหวัดพังงา เนื่องจากเป็นวัดที่เก่าแก่ มีโบราณสถานสำคัญทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดี หลายอย่างด้วยกัย กล่าวคือ ทางด้านทิศตะวันออกของวัด มีคลองขนาดเล็กสายหนึ่ง ไหลโค้งหน้าวัดไปทางทิศมต้ แล้วออกสู่ทะเล มีถ้ำอยู่หลายถ้ำได้แก่ ถ้ำใหญ่ ถ้ำแจ้ง ถ้ำมืด และถ้ำแก้ว
                -  ถ้ำใหญ่  อยู่ตอนล่างสุด ใช้เป็นวิหาร มีพระพุทธรูปปูนปั้นประดิษฐานอยู่หลายองค์ ที่สำคัญคือ พระพุทธไสยาสน์ ขนาดยาว เจ็ดวาสองศอก พระยาบริสุทธิ์โลหะภูมินทราธิบดี (ถิน)  เจ้าเมืองตะกั่วทุ่ง สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๑
                -  ถ้ำแจ้ง  เป็นถ้ำตอนบน  ที่ผนังถ้ำด้านหนึ่งมีจารึกพระปรมาภิไธยย่อของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ในราชวงศ์จักรีหลายพระองค์
                -  ถ้ำแก้ว  เป็นถ้ำเล็ก มีพระพุทธรูปปูนปั้นจำนวนสามองค์ ประดิษฐานอยู่บนอาสนะสูง ฝีมือช่างรุ่นเดียวกับถ้ำใหญ่
          วัดเวียง  วัดเวียงเป็นวัดร้างอยู่ในเขตตำบลท่านา อำเภอกะปง  ตั้งอยู่ตรงจุดที่คลองเหลกับคลองกะปงไหลมาบรรจบกัน แล้วไหลรวมกันเป็นปาแพรกกว้างใหญ่ และเป็นจุดแยกของลำน้ำสามสาย ชาวบ้านเรียก ปากเวียง  มีภูเขาสามสี่ลูกขนาบอยู่ ตีนเขาเป็นที่สูงน้ำท่วมไม่ถึงมีคลองหนองน้ำอยู่ใกล้ สันนิษฐานว่าบริเวณโดยรอบปากน้ำสามแพรกนี้ เคยเป็นที่ตั้งเมืองโบราณมาก่อน คือเมืองตะกั่วป่า เดิม โดยมีวัดเวียง เป็นวัดประจำเมือง มีภูเขาลูกใหญ่ตั้งขวางอยู่เรียกว่า เขาเวียง บริเวณวัดเวียง บางทีชาวบ้านเรียกว่า วังเวียง มีปริศนาลายแทงบอกไว้ว่า "วัดเวียงมีเตียงพาดผ้า สาวนน้อยเป็นบ้า หายแล้วหรือยัง"  เหมือนวัดเวียงเมืองไชยา ที่เชิงเขาเวียงด้านหลังใกล้แม่น้ำตะกั่วป่า เรียกกันว่า บ้านสำเภา  คนเฒ่าคนแก่เล่าสืบกันมาว่า ที่เรียกว่าบ้านสำเภา เพราะเมื่อครั้งโบราณเคยมีเรือสำเภาลำหนึ่ง มาล่ม ณ ที่นั้น สันนิษฐานได้อย่างหนึ่งว่า สมัยที่ชาวอินเดียอพยพเข้ามาหรือในสมัยศรีวิชัย แม่น้ำตะกั่วป่ายังลึกสามารถเดินเรือเข้ามาถึงที่ตั้งเมืองได้ นอกจากนี้ชาวบ้านยังเคยพบขวานหินสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่บริเวณโดยรอบปากเวียงอีกด้วย

          เจดีย์คีรีเพชร  เป็นโบราณสถานเก่าแก่ มีอายุกว่าร้อยปี ตั้งอยู่บนยอดเขาเล็ก ๆ ลูกหนึ่งชื่อ เขาเพชร  อยู่ในเขตตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง ลักษณะโดยทั่วไปมีร่องรอยการทำถนนดินเรียบจากฐานขึ้นไปยอดเขา เป็นทางเก่าแก่ทรุดโทรมไปมาก ด้านหน้าเขาสร้างเป็นบันไดยาวก่ออิฐถือปูนทอดขึ้นไปสู่ยอดเขา
            บนยอดเขามีเจดีย์ขนาดกลางองค์หนึ่ง เป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๓๕๒ ใต้ฐานเจดีย์สร้างเป็นห้องโถงสี่เหลี่ยมคล้ายศาลา โปร่งกว้าง ภายในประดิษฐานเศียรพระพุทธรูปสองเศียร มีขนาดไร่เรี่ยกันกว้างประมาณ ๓ ฟุต เป็นปูนปั้นลงรักปิดทอง เศียรหนึ่งเป็นเศียรพระพุทธรูปธรรมดา อีกเศียรหนึ่งเป็นเศียรพระพุทธรูปทรงเครื่องมีความงดงามมาก

          เจดีย์เขาล้างบาตร  สร้างอยู่บนยอดเขาเตี้ย ๆ อยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ มีความสูงจากฐานถึงยอดประมาณ ๘ เมตร ฐานสี่เหลี่ยมจตุรัสกว้างด้านละ ๕.๕๐ เมตร ฐานย่อมุมไม้สิบสองซ้อนกันสามชั้น ประดับด้วยลายเครือเถา แกนกลางเป็นไม้แก่นยึดยอดเจดีย์กับองค์เจดีย์ ไม่ปรากฎว่าสร้างในสมัยใด

          พระมหาธาตุเจดีย์พุทธธรรมบันลือ  อยู่ที่วัดราษฎรอุปถัมภ์ อำเภอทับปุด ซึ่งสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๙ เป็นเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ มีฐานสามชั้น มีลักษณะเป็นรูปแปดเหลี่ยมด้านเท่า เส้นผ่าศูนย์กลาง ๔๑ เมตร สูง ๑๐๙ เมตร สร้างโดยพระครูพิศาล ปุรินทโก
            ซุ้มประตูประดิษฐานพระพุทธรูปประจำพระชนมวารของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดา ฯ เสด็จแทนพระองค์เป็นประธานประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์องค์พระเจดีย์ เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๓ และทรงพระราชทานนามว่า พระมหาธาตุเจดีย์พุทธธรรมบันลือ
           วัดประพาสประจิมเขต  เดิมชื่อวัดสระ ปัจจุบันคือวัดสราภิมุข เป็นวัดเก่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ทำการบูรณะ ปฎิสังขรณ์เมื่อครั้งพระองค์เสด็จประพาสรอบแหลมมลายู เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๔ โดยพระองค์ทรงเห็นว่าวัดสระ มีอุโบสถเป็นเครื่องมุงจาก และอยู่ในสภาพชำรุดหักพัง จึงทรงพระราชทานทรัพย์และมีพระบรมราชโองการ ดำรัสสั่งพระยาบริรักษ์ภูธร ฯ ผู้ว่าราชการเมืองพังงา ให้สถากปนาสร้างอารามขึ้นใหม่ เป็นพระอารามหลวง พร้อมทั้งพระอุโบสถ เจดียื มีกำแพงล้อมรอบ มีศาลาการเปรียญ เสนาสนะ กุฎิ ที่อยู่พักสงฆ์ มีเขื่อนไม้แก่นล้อมขอบคันพระอาราม เป็นที่สะอาดงดงามเจริญตามเลื่อมใส เมื่อสร้างเสร็จแล้วจึงพระราชทานนามว่า วัดประพาสประจิมเขตร์ เป็นที่สำหรับผู้ว่าราชการเมือง และกรมทั้งปวงประชุมกัน ถือน้ำพระพิพัฒนสัตยาทุกปี
ศาสนบุคคล

          พระราชปฎิภานมุนี  (ดำ ยโสธโร)  อดีตเจ้าคณะจังหวัดพังงา เกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๒  ตำบลทุ่งคาโคก อำเภอเมือง สำเร็จการศึกษาหนังสือขอมและหนังสือไทย บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๘  ณ วัดมงคลสุธาวาส ตำบลท้ายช้าง อำเภอเมือง ฯ และอุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๒  ณ วัดประชุมโยธี ตำบลท้ายช้าง อำเภอเมือง ฯ สอบได้นักธรรมเอก สำนักศาสนศึกษา วัดประชุมโยธี มีความรู้พิเศษด้านการแพทย์แผนโบราณของไทย และโหราศาสตร์ พ.ศ.๒๔๘๒ ได้เป็นเจ้าคณะตำบลนบปลิง อำเภอเมือง
                -  พ.ศ.๒๔๘๕  ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดชนาธิการาม และเป็นรองเจ้าคณะอำเภอเมือง ฯ
                -  พ.ศ.๒๔๙๑  ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ที่พระครูประสารนวกรรม ในตำแหน่งสาธารณูปการจังหวัด
                -  พ.ศ.๒๕๐๐  ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญ ที่พระพิศาลสาธุกิจ
                -  พ.ศ.๒๕๐๙  เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดพังงา
                -  พ.ศ.๒๕๑๕  ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดพังงา
                -  พ.ศ.๒๕๓๓  ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่พระราชปฎิภาณมุนี
            พระราชปฎิภาณมุนี มีคุณูปการต่อวงการพระพุธศาสนาเป็นอันมาก เช่นเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม เป็นกรรมการตรวจข้อสอบสนามหลวง มีกิจกรรมเผยแผ่อบรมสั่งสอนธรรมะแก่พุทธศาสนิกชนนานัปการ ท่านได้ถึงแก่มรณภาพเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๗  อายุ ๘๕ ปี ๖๕ พรรษา
           พระครูปลัดพิศาล ปุรินทโก  เป็นเจ้าอาวาสวัดราษฎรอุปถัมภ์ อำเภอทับปุด ได้สร้างสิ่งก่อสร้างในวัดราษฎรอุปถัมภ์ ที่สำคัญคือ พระมหาธาตุพุทธธรรมบันลือ เรือนรับรองทรงแปดเหลี่ยม พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ พลับพลา บันไดนาคห้าเศียร ฯลฯ ปัจจุบันวัดแห่งนี้เป็นพุทธสถานที่สำคัญของจังหวัดพังงา
           พระปลัดพงษ์สวัสดิ์  เป็นเจ้าอาวาสวัดสามัคคีธรรม อำเภอคุระบุรี เมื่ออุปสมบทแล้วได้ศึกษาทางธรรมจนได้นักธรรมเอก ท่านได้ทำประโยชน์แก่จังหวัดพังงา หลายประการคือ
            จัดตั้งสำนักศาสนศึกษาวัดสามัคคีธรรม จัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชนวัดสามัคคีธรรม สร้างหอกระจายข่าว และห้องสมุดวัดสามัคคีธรรม เป็นวิทยากรพิเศษของคณะสงฆ์ หน่วยราชการ องค์กร และะสถานศึกษาต่าง ๆ ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด
            ท่านได้รับการยอย่องว่าเป็นผู้ทำประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ประจำปี พ.ศ.๒๕๓๖  สาขาส่งเสริมการพัฒนาชุมชน ผู้ทำประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ประจำปี พ.ศ.๒๕๓๙  สาขาการศึกษาสงเคราะห์ ประเภทศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด และเป็นคนดีศรีพังงา ประจำปี พ.ศ.๒๕๔๐
          พระอาจารย์บุญนพ  สุทธสีโล  อุปสมบทแล้วได้นักธรรมตรี เป็นผู้นำในการพัฒนาหมู่บ้านบ้านทุ่งรัก อบรมจริยธรรมแก่คณะครู และนักเรียนตามสถานศึกษาทั่วประเทศ ผลิตสื่อสอนจริยธรรมเพื่อจัดนิทรรศการเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ได้รับเกียรติคุณเข็มพัฒนาแผ่นดินธรรม - แผ่นดินทอง ของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย

..............................................................

| ย้อนกลับ | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์