ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี



| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์

การตั้งถิ่นฐาน

            มีการค้นพบโครงกระดูกมนุษย์ถ้ำและการฝังศพของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เขาเฒ่า ในเขตอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา แสดงให้เห็นว่ามีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์บริเวณจังหวัดพังงา ในช่วงสมัยที่ใกล้เคียงกับแหล่งโบราณคดีในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี และจากการศึกษาซากฟอสซิลของหอยบริเวณถ้ำและเพิงผาตามเกาะและหินโผล่ในอ่าวพังงา พบว่าเมื่อประมาณ ๑๑,๐๐๐ ปีที่ผ่านมา ระดับน้ำทะเลลดต่ำในช่วงยุคน้ำแข็ง เกาะแก่งในอ่าวพังงาในปัจจุบันส่วนใหญ่อยู่บนที่ดอน ต่อมาในราว ๘,๕๐๐ - ๗,๕๐๐ ปี มาแล้ว น้ำทะเลค่อย ๆ ขยับตัวสูงขึ้นกว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ยปานกลางในปัจจุบันถึง ๔๕ เมตร และต่อมาในช่วง ๕,๐๐๐ - ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว น้ำทะเลขึ้น ๆ ลง ๆ สูงและต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางปัจจุบัน จนในช่วง ๓,๗๐๐ - ๒,๗๐๐ ปีมาแล้ว ระดับน้ำทะเลค่อนข้างจะคงตัวแต่ยังสูงกว่าปัจจุบัน ๑.๕ - ๒.๕ เมตร  จนเมื่อประมาณ ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว ระดับน้ำทะเลยังสูงกว่าปัจจุบัน ๑.๕ เมตร
            จากการค้นพบดังกล่าวทำให้ทราบว่ามีมนุษย์อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดกระบี่ และพังงา เมื่อประมาณ ๑๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว โดยได้อาศัยอยู่ตามเพิงผาและถ้ำของเกาะต่าง ๆ ในเวิ้งอ่าวพังงา มีหลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ค้นพบคือ
                - ภาพเขียนบนเพิงผาหินที่เกาะปันหยี  บ.เกาะปันหยี ตำบลเกาะปันหยี พบเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๕ บันทึกลายเส้นและรายงานโดยชาวฝรั่งเศษ
                - ภาพเขียนบนเพิงผาหินเขาเขียน  ตำบลเกาะปันหยีค้นพบโดยชาวฝรั่งเศษคนเดียวกับภาพแรก ต่อมาได้มีผู้วินิจฉัยว่าเป็นภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์
                - ภาพเขียนบนเพิงผาเขาระย้า  เขาเกาะทะลุ ตำบลกะไหล อำเภอตะกั่วทุ่ง กรมศิลปากรสำรวจไว้ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๓
                - ภาพเขียนสีบนเพิงเขาพระอาดเฒ่า  บ้านพระอาดเฒ่า อำเภอตะกั่วทุ่ง เป็นภาพเขียนสีลายเส้น มีการระบายสีและสะบัดสี สีที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นสีแดงและดำ มีสีอื่นบ้างแต่เป็นส่วนน้อยได้แก่ สีส้มเหลือง สีเทา สีน้ำเงิน สีขาว และสีม่วง ภาพส่วนใหญ่จะเป็นภาพคนและสัตว์ ที่บ่งชี้ถึงเรื่องราวของกลุ่มชนชาวน้ำ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ของภาคใต้ ที่รู้จักใช้พาหนะในการสัญจรทางน้ำได้แก่ แพและเรือ และรู้จักใช้เครื่องมือในการจับสัตว์น้ำเป็นอาหาร
            ภาพเขียนสีดังกล่าว มีลักษณะคล้ายกับภาพเขียนสี ที่พบในแหล่งชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในแหล่งอื่นของประเทศไทย ซึ่งมีอายุหลายพันปีมาแล้ว นอกจากนี้ยังพบแหล่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นจำนวนมาก ตามถ้ำเพิงผาโดยเฉพาะการค้นพบโครงกระดูกมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่เขาเฒ่า ตำบลบางเตย อำเภอเมือง ฯ โครงกระดูกดังกล่าวฝังไว้โดยหันศีรษะไปทางทิศตะวันออก บริเวณสะโพกด้านซ้ายพบเครื่องมือหินกระเทาะหนึ่งชิ้น  ลักษณะการฝังมีการสับกระดูกให้ขาดเป็นท่อน ๆ
            ในมิลินทปัญหา กล่าวว่า ทางฝั่งทะเลตะวันตกมีเมืองท่าเมืองหนึ่งชื่อเมืองตะโกลา ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางท่านเชื่อว่า เป็นเมืองในพื้นที่อำเภอตะกั่วป่า และอำเภอคระบุรีในปัจจุบัน เพราะได้พบลูกปัด เครื่องสังคโลก เครื่องปั้นดินเผา ที่มีลักษณะเดียวกับที่พบที่แหลมโพธิ์ อำเภอไชยา สุราษฎร์ธานี แหลมโพธิ์นี้นักประวัติศาสตร์บางท่านสันนิษฐานว่า เคยเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยมาก่อน
ลำดับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์
            จากแผนที่ในช่วงสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ ปรากฎชื่อเมืองพังงา กับเมืองนครศรีธรรมราช จากแผนที่เก่าจะพบว่า บริเวณที่เป็นจังหวัดพังงาในปัจจุบัน เป็นเส้นทางการแผ่ขยายของพุทธศาสนาจากอินเดีย เข้าสู่อาณาจักรทวารวดี และอาณาจักรศรีวิชัย นอกจากนี้ยังปรากฎชื่อเมืองกระบุรี ซึ่งปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดระนอง ตามประวัติศาสตร์ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๗๐๐ เศษ ที่ใช้ตราหมูเป็นตราประจำเมืองของสิบสองนักษัตร จึงตั้งสมมุติฐานได้ว่า ในเขตจังหวัดพังงาในอดีต เคยเป็นที่ตั้งของเมืองเก่ามาก่อน ส่วนที่ตั้งจังหวัดพังงา อาจตั้งเป็นเมืองมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ โดยมีพัฒนาการที่เกี่ยวกับสามเมืองคือ เมืองพังงา เมืองตะกั่วป่า และเมืองตะกั่วทุ่ง
           เมืองพังงา  แต่เดิมน่าจะเรียกว่า เมืองภูงา ตามชื่อภูเขา (หรือเขาพิงงา) ซึ่งตั้งอยู่ในตัวจังหวัดในปัจจุบัน เมืองนี้ขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราช ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้เานภาลัย มีชื่อเมืองภูงาปรากฎอยู่ในทำเนียบข้าราชการเมืองนครศรีธรรมราช อาจจะตั้งชื่อให้คล้องจองเป็นคู่กับเมืองภูเก็ตมาแต่เดิมก็ได้
            ในปี พ.ศ.๒๓๕๒ พม่ายกกองทัพมาตีเมืองถลาง เมืองตะกั่วป่า และเมืองตะกั่วทุ่ง แตก ผู้คนจากเมืองดังกล่าวได้อพยพไปอยู่ที่ปากน้ำพังงา ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเห็นความสำคัญของชัยภูมิที่ปากน้ำพังงา จึงโปรดเกล้า ฯ ให้รวบรวมผู้คนตั้งเป็นเมืองขึ้นมาเรียกว่า เมืองถลางที่พังงา โดยมีพระยาวิเชียรภักดี (เจิม) เป็นผู้ดูแล
            พ.ศ.๒๓๖๗ ได้อพยพผู้คนกลับเมืองถลางตามเดิม ส่วนผู้คนที่เหลืออยู่ที่เมืองพังงานั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระยาบริรักษ์ภูธร  (กลับ) เป็นเจ้าเมืองพังงา จนถึงปี พ.ศ. ๒๓๘๔ จึงทรงถอดออกจากเจ้าเมือง แล้วโปรดเกล้า ฯ ให้ พระยาบริรักษ์ภูธร (แสง) บุตรชายของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) อดีตเจ้าเมืองไทรบุรีเป็นเจ้าเมืองพังงา และพระยาเมืองพังงา และยกเมืองพังงาขึ้นเป็นหัวเมืองชั้นโท ให้เมืองถลาง เมืองตะกั่วทุ่ง เมืองตะกั่วป่า ขึ้นตรงต่อเมืองพังงา
            พ.ศ.๒๔๐๔ พระยาบริรักษ์ภูธร (แสง) ถึงแก่กรรม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแต่งตั้งพระยาเสนานุชิต (นุช) ไปเป็นเจ้าเมืองพังงาแทน แต่พระยาเสนานุชิต (นุช) อ้างว่าตนมีความคุ้นเคยกับเมืองตะกั่วป่ามากกว่าจึงทรงแต่งตั้งพระยาภักดีนุชิต (ขำ) ปลัดเมืองพังงาขึ้นเป็นเจ้าเมืองพังงาแทนบิดา  ให้เป็นที่พระยาอนุรักษ์ภูธร และทรงยกพระยาเสนานุชิต (นุช) เจ้าเมืองตะกั่วป่าให้มีบรรดาศักดิ์เท่าพระยาบริรักษ์ภูธร (แสง) ผู้เป็นพี่ชาย ถือศักดินา ๑๐,๐๐๐ ไร่ ยกฐานะเมืองตะกั่วป่าขึ้นเป็นหัวเมืองโทปกครองเมืองตะกั่วทุ่ง เมืองถลาง
            พ.ศ.๒๔๓๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฎิรูปการปกครองโดยแบ่งส่วนราชการเป็นกระทรวง และโอนหัวเมืองปักษ์ใต้ทั้งหมดจากเดิมที่อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหกลาโหม ไปขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย
            พ.ศ.๒๔๓๗ ให้รวมเมืองใกล้เคียงเข้าเป็นมณฑล โดยรวมหัวเมืองตะวันตกทั้งหกเมืองเป็นมณฑลภูเก็ต ประกอบด้วย เมืองภูเก็ต ตรัง พังงา กระบี่ ตระกั่วป่า และระนอง
            พ.ศ.๒๔๔๐ ได้ขยายเขตการปกครองของเมืองพังงาเพิ่มขึ้น โดยยุบเมืองตะกั่วทุ่งให้ขึ้นกับเมืองพังงา และให้มีฐานะเป็นอำเภอ ยกเมืองหน้าด่านมะรุ่ยซึ่งอยู่ที่บ้านทับปุดขึ้นเป็นอำเภออทับปุด ยกฐานะกลาง เมืองพังงา เป็นอำเภอเมือง ยกชุมชนเข่ากล้วยเป็นอำเภอทุ่งมะพร้าว และต่อมาเมื่อชุมชนท้ายเหมืองได้ขยายตัวใหญ่ขึ้น จึงได้ยกฐานะเป็นกิ่างอำเภอท้ายเหมือง ขึ้นกับอำเภอทุ่งมะพร้าว ในปี พ.ศ.๒๔๕๑ จนนถึงปี ๒๔๕๘ จึงได้ยกกิ่งอำเภอท้ายเหมืองขึ้นเป็นอำเภอท้ายเหมืองและลดฐานะอำเภอทุ่งมะพร้าวเป็นกิ่งอำเภอ และในที่สุดได้ลดฐานะลงเป็นตำบลทุ่งมะพร้าวขึ้นกับอำเภอท้ายเหมือง
            พ.ศ. ๒๔๕๐ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการเปลี่ยนแปลงสถานะเมืองเป็นจังหวัด เมืองพังงาจึงเปลี่ยนสถานะเป็นจังหวัดพังงา

           เมืองตะกั่วป่า จากหลักฐานในคัมภีร์มิลินทปัญหา ซึ่งแต่งขึ้นประมาณ พ.ศ.๕๐๐ ชาวชมพูทวีปได้กล่าวถึงเมืองตกโกล ซึ่งแปลว่า ตกล เป็นภาษาสิงหล แปลว่ากระวาน ซึ่งเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่ง ดังนั้นเมืองนี้จึงน่าจะเป็นเมืองที่มีเครื่องเทศประเภทนี้มาก เพราะในสมัยโบราณพ่อค้าชาวอาหรับ จะค้าขายเครื่องเทศกับชาวชมพูทวีป เพื่อนำไปค้าขายยังประเทศในยุโรปอีกต่อหนึ่ง ต่อมาคำว่า ตโกล ได้เปลี่ยนไปเป็น ตะโกลา
            มีแนวความคิดเกี่ยวกับชื่อเมืองนี้อีกแนวหนึ่งว่า ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง ฯ พระองค์ได้ขยายอาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยลงมาทางใต้ และได้ผนวกดินแดนตั้งแต่เมืองตะโกลา ตลอดไปถึงดินแดนแหลมมลายูเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย ทำให้เมืองตะโกลาถูกเรียกตามสำเนียงไทยว่าเมืองตะกั่วป่า เพราะชนชาวไทยได้อพยพมาตั้งหลักแหล่งทางใต้มากขึ้น
            ชื่อเมืองตะกั่วป่าได้ปรากฎในประวัติศาสตร์อีกครั้งในรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ (พ.ศ.๒๑๔๘ - ๒๑๖๓) โดยมีชื่ออยู่ในหนังสือกฎหมายเก่าว่า ขึ้นอยู่กับฝ่ายกลาโหม
            พ.ศ.๒๑๙๙ - ๒๒๓๑ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ยกหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งหมดไปขึ้นกับฝ่ายกรมท่า ดังนั้น เมืองตะกั่วป่าจึงเป็นหัวเมืองชั้นตรีจึงขึ้นกับกรมท่าตั้งแต่นั้นจนตลอดสมัยอยุธยา
            พ.ศ.๒๓๑๐ - ๒๓๒๕ ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมืองตะกั่วป่าไม่กระทบกระเทือนจากการสงครามมากนัก และมีเจ้าเมืองหรือผู้รักษาราชการตลอดมา
            พ.ศ.๒๓๒๘ ต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ครั้งสงครามเก้าทัพ พม่ายกทัพมาตีหัวเมืองฝ่ายใต้ ทั้งเมืองตะกั่วป่า และตะกั่วทุ่งเสียแก่พม่า เมื่อสิ้นศึกแล้วจึงได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เมืองตะกั่วป่าขึ้นอยู่ในการปกครองของเมืองถลาง
            พ.ศ.๒๓๕๒ พม่ายกกองทัพมาตีหัวเมืองฝ่ายใต้อีก ได้เผาผลาญทำลายเมืองตะกั่วป่า เสียหายมากจนยากที่จะบูรณะให้กลับสู่สภาพเดิมได้ พระยาเสนานุชิต (นุช) จึงได้ย้ายเมืองไปตั้งที่ใหม่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองเก่า เพราะมีชัยภูมิดีมีแม่น้ำตะกั่วป่ากั้นอยู่ทางด้านทิศตะวันออก และมีคลองปีกไหลมาบรรจบกับแม่น้ำตะกั่วป่าจากด้านทิศตะวันตก กั้นตัวเมืองไว้เกือบรอบด้าน ได้รวบรวมผู้คนที่หนีภัยจากกองทัพพม่าให้กลับมาอยู่บริเวณตัวเมืองใหม่ และในปี พ.ศ.๒๓๙๐ ได้สร้างวัดใหม่กำแพงแลงขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ต่อมาได้ชื่อว่าวัดเสนานุรังสรรค์ (วัดใหม่)
            พ.ศ.๒๓๘๔ ได้ย้ายตัวเมืองตะกั่วป่าไปอยู่บริเวณบ้านตลาดเก่า
            พ.ศ.๒๔๐๔  เมืองตะกั่วป่าได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเมืองโทตามเดิม ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๐๔ - ๒๔๓๓ เมืองพังงาและเมืองถลาง เจ้าเมืองมีอำนาจมากเพราะเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองและมีหน้าที่ดูแลเมืองอื่น ๆ ด้วย โดยเฉพาะเมืองตะกั่วทุ่ง เมืองภูเก็ต และเมืองถลาง
            พ.ศ.๒๔๓๗  มีการแก้ไขการปกครองมณฑลฝ่ายตะวันตก โดยรวมหัวเมืองแถบฝั่งทะเลตะวันตกไปขึ้นกับมณฑลภูเก็ต เมืองตะกั่วป่ากับเมืองอื่น ๆ มี ภูเก็ต พังงา ถลาง ตรัง และระนอง จึงไปขึ้นกับมณฑลภูเก็ต
            พ.ศ.๒๔๔๔  ย้ายเมืองตะกั่วป่าไปตั้งที่เมืองใหม่ ตำบลเกาะคอเขา
            พ.ศ.๒๔๕๓  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ยกเลิกเมืองเปลี่ยนเป็นจังหวัด เมืองตะกั่วป่าได้ยกฐานะเป็นจังหวัดตะกั่วป่า
            พ.ศ.๒๔๗๔  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกรวมทั้งไทย จังหวัดตะกั่วป่าจึงถูกยุบเป็นอำเภอขึ้นอยู่กับจังหวัดพังงา
           เมืองตะกั่วทุ่ง  ในตำนานเมืองนครศรีธรรมราชเรียกดินแดนแถบนี้ว่า ตะกั่วกลาง สันนิษฐานว่าหมายถึงทุกกลุ่มชุมชนที่มีการขุดแร่ดีบุกในแถบนี้ ซึ่งน่าจะประกอบด้วยเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง เมืองกระบุรี เมืองเกาะระ เมืองถลาง ฯลฯ
            บริเวณที่เรียกว่า เมืองตะกั่วทุ่งในสมัยโบราณคือ บริเวณตำบลนาเตย อำเภอท้ายเหมือง และบริเวณอำเภอตะกั่วทุ่งในปัจจุบัน เดิมเมืองนี้ตั้งอยู่บริเวณที่ราบริมทะเลด้านนอก ภายหลังได้แยกไปตั้งเป็นเมืองบางคลี่ ที่ปากน้ำบางคลี เพื่อเป็นสถานีค้าขายกับต่างประเทศ ต่อมาได้มีการย้ายเมืองหลายครั้งโดยย้ายเข้ามาตามคลองบางคลีถึงบ้านนาแฝกข้ามทุ่งหญ้า โดยเอาแม่น้ำนาเตยเป็นเส้นทาง ส่วนเมืองบางคลียังคงตั้งอยู่ที่ปากน้ำบางคลี เป็นเมืองท่าของเมืองตะกั่วทุ่ง
            พ.ศ.๒๓๒๘  พม่าตีเมืองตะกั่วทุ่งแตก ผู้คนจึงอพยพย้ายเมืองที่อยู่ริมทะเลไปรวมกับเมืองที่บางคลี่เป็นเมืองเดียวกัน
            พ.ศ.๒๓๕๒  หลังจากพม่ายกกองทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ด้านนอก (ฝั่งทะเลตะวันตก)  ผู้คนจึงพากันอพยพหลบหนีไปอยู่ทะเลด้านในริมอ่าวพังงาที่บ้านกระโสม เมื่อศึกพม่าเสร็จสิ้นลง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ฯ จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งเมืองตะกั่วทุ่งที่บ้านกระโสมและ พระยาโลหะภูมิพิสัย (เจ้าขุนดำ)  เป็นเจ้าเมืองตะกั่วทุ่ง ส่วนราษฎรบางพวกก็กลับมาอยู่ทางบางคลีตามเดิม เพราะเป็นทำเลที่มีแหล่งแร่อุดมสมบูรณ์กว่า จึงปรากฎชื่อในทำเนียบข้าราชการเมืองนครศรีธรรมราชทั้งเมืองตะกั่วทุ่งและเมืองบางคลี
            พ.ศ.๒๓๘๓  เมื่อมีการจัดตั้งหัวเมืองขึ้นใหม่ เมืองตะกั่วทุ่งยังคงตั้งอยู่ที่บ้านกระโสมตามเดิม และเมืองบางคลียังเป็นเมืองที่ขึ้นกับเมืองตะกั่วทุ่งที่กระโสม
            พ.ศ.๒๔๔๐  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงมีพระบรมราชโองการว่าเมืองพังงากับเมืองตะกั่วทุ่งต่างก็เป็นเมืองเล็ก มีพลเมืองไม่มากทั้งสองเมืองทั้งยังอยู่ใกล้ชิดติดต่อกัน เพื่อให้เป็นการง่ายและสะดวกในการปกครอง จึงให้ยกเมืองตะกั่วทุ่งไปรวมเข้ากับเมืองพังงา ดังนั้นเมืองตะกั่วทุ่งจึงมีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของพังงาตั้งแต่นั้นมา โดยมีหลวงโลหะภูมิพิทักษ์เป็นนายอำเภอคนแรก

           จังหวัดพังงาปัจจุบัน  จากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์จะเห็นได้ว่าจังหวัดพังงามีพัฒนาการมาจากการรวมเมืองเก่าทั้งสามเมืองคือ เมืองพังงา เมืองตะกั่วป่า และเมืองตะกั่วทุ่ง เข้าด้วยกัน

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์