ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี



| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

การทำมาหากินและการดำรงชีพ
            คำขวัญของจังหวัดพังงามีว่า แร่หมื่นล้าน บ้านกลางน้ำ ถ้ำงามตา ภูผาแปลก แมกไม้จำปูน บริบูรณ์ทรัพยากร
            ในอดีตแผ่นดินของจังหวัดพังงาเต็มไปด้วยแร่ดีบุก ยกเว้นอำเภอทับปุด จึงมีการทำเหมืองแร่ดีบุกมาก ผลผลิตจากแร่ดีบุกสามารถทำรายได้ให้จังหวัดมากที่สุด ต่อมาเมื่อแร่ดีบุกมีปริมาณลดลงและมีราคาต่ำ ทำให้ชาวพังงาเปลี่ยนอาชีพไปทำการเกษตร การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
           การทำอุตสาหกรรม  สมัยหนึ่งแร่ดีบุกได้ก่อให้เกิดอาชีพการทำเหมืองแร่ แร่ดีบุกมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง คล้ายหินควอทซ์ หรือหินเขี้ยวหนุมาน ส่วนใหญ่มีสีเทาดำ เมื่อถูกขูดจะเป็นรอยสีขาว  เผาไฟไม่ละลายต้องป่นเป็นผงผสมกับถ่านและหลอมออกมา จะได้เนื้อดีบุก ส่วนขี้ตะกรันจากการถลุงแร่ดีบุก จะมีส่วนผสมของแร่กัมมันตรังสีสองชนิดคือ แทนทาลัม และโคตัมเบียน
            การนำแร่ดีบุกไปใช้ประโยชน์นั้น ตามหลักฐานที่ปรากฎคือ ในสมัยก่อนจะนำไปผสมกับทองแดงกลายเป็นสำริด สำหรับทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ หรือผลิตงานประติมากรรมทางศาสนา ต่อมามีการนำไปใช้เป็นส่วนผสมในการทำอาวุธสงคราม ตลอดจนใช้อาบสังกะสีมุงหลังคา หรือทำเป็นเงินตรา
            การทำเหมืองแร่ดีบุกในประเทศไทย แบ่งออกเป็นสิบวิธี คือ

                ๑.  เหมืองครา  (Hill Mining )  เป็นการทำเหมืองแร่บนเขาโดยทำรางน้ำมาตามไหล่เขา เพื่อให้น้ำไหลชะลงบนหลังแร่พาไปลงในที่รองรับแร่ซึ่งแร่เป็นบ่อขุด คนงานจะล้างร่อนเอาดินทรายออก เลือกเก็บเอาแต่เนื้อแร่ การทำเหมืองแร่ชนิดนี้ใช้แรงงานน้อยจึงมีกำไรมาก แต่มำลายป่าและพื้นที่เพาะปลูก เนื่องจากการพังทะลายของดินทราย
                ๒. เหมืองปล่อง  (Drifting)  หรือ เหมืองรู  (Shatt Mining)  คนทั่วไปนิยมเรียกว่า เหมืองขุด คือการทำเหมืองในลานแร่ โดยขุดเป็นรูหรือปล่องจนถึงชั้นแร่แล้วนำเอาดินที่มีแร่ปนอยู่มาล้าง ในรางกู้แร่หรืออุปกรณ์อย่างอื่น การทำเหมืองวิธีนี้ปัจจุบันเลิกทำแล้วเพราะมีอันตรายมากจากการพังทลายของดิน
                ๓.  เหมืองหาบ  (Openeast Or Open - Cut Mining)  เป็นการทำเหมืองใช้แรงคนงานจำนวนมาก โดยขุดเปลือกดิน หาบดินขึ้นลงเป็นแถวเพื่อนำไปเทในรางล้างแร่ และแยกเอาเนื้อแร่ออก เดิมใช้อุปกรณ์จอบ เสียม บุ้งกี๋ แต่ปัจจุบันใช้เครื่องเจาะระเบิด รถตัก รถบรรทุก เครื่องบดย่อย และอุปกรณ์แต่งแร่
                ๔.  เหมืองแล่น  (Ground Sticing)  เป็นการทำเหมืองในลานแร่ที่อยู่บนเนินเขาหรือไหล่เขา ด้วยแรงคน พลังน้ำ ฯลฯ พังดินทรายปนแร่หน้าเหมืองลงสู่รางกู้แร่ หรืออุปกรณ์แต่งแร่อย่างอื่น วิธีการนี้สามารถทำได้ภายในครัวเรือน แต่จะสูญเสียแร่ไปกับมูลดินมาก ปัจจุบันจึงเป็นการขุดแร่ของรายย่อย
                ๕.  เหมืองสูบ  (Graval Pumping)  เป็นวิธีการที่ใช้เครื่องสูบทรายสูบเอาดินปนแร่ขึ้นมาล้าง ในรางล้างแร่ วิธีนี้เป็นที่นิยมในภาคใต้ เพราะมีประสิทธิภาพประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีน้ำน้อย
                ๖.  เหมืองฉีด  (Hydrau Lieking)  เป็นวิธีการที่ต้องใช้น้ำมีปริมาณมาก และมีกำลังแรงดันสูง เพื่อพังทลายดินทรายปนแร่ ต้องใช้กระบอกฉีดหรือเครื่องฉีดดูด เพื่อแยกเอาเนื้อแร่อออกมา ปัจจุบันไม่ใช้วิธีนี้
                ๗.  เหมืองเจาะงัน  (Gophering Hole)  เป็นการทำเหมืองแบบพื้นเมือง ไม่ต้องอาศัยเครื่องมือเครื่องจักร ทำลึกลงไปในดินไม่เกิน ๑๐ เมตร แล้วนำหินปนแร่จากสายแร่ขึ้นมาล้างหรือทุบเอาก้อนแร่ออก วิธีนี้ไม่นิยมทำ
                ๘.  เหมืองเรือขุด  (Dredging)  ได้แก่การทำเหมืองโดยใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ติดตั้งบนเรือหรือทุ่น ใช้ได้ทั้งในน้ำและบนบก เป็นวิธีการที่ใช้เงินทุนสูงมาก ต้องเป็นลานแร่ขนาดใหญ่ทีเปิดเหมืองได้ไม่ต่ำกว่า ๒๕ ปี จึงจะคุ้มทุน ในภาคใต้มีทำเพียงเฉพาะจังหวัดพังงาและภูเก็ต
                ๙.  เหมืองแร่สูบ  (Suction Boat)  เหมาะสำหรับการทำเหมืองแร่ในทะเลใกล้ชายฝั่ง โดยติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ บนเรือหรือแพ ใช้เครื่องสูบขนาดใหญ่เป็นหลัก ทำที่จังหวัดพังงา และภูเก็ต
                ๑๐.  เหมืองอุโมงค์  (Underground Mining)  เป็นการทำเหมืองแร่ใต้ดินขนาดใหญ่ ในที่ที่ทางแร่หรือแหล่งแร่เป็นแบบอื่นที่มิใช่ลานแร่ เป็นวิธีการที่ต้องใช้เครื่องมือเครื่องจักรที่ทันสมัย เช่น เครื่องเจาะระเบิด รถตัก รถลำเลียง และต้องมีโรงบดและแยกแร่ เป็นวิธีการที่ใช้เงินลงทุนสูงมาก
            การทำเหมืองในจังหวัดพังงา เริ่มตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.๒๔๐๔  โดยมีชาวจีนอพยพเข้ามาตั้งเหมืองแร่ ด้วยเหตุของผลประโยชน์จึงเกิดการแบ่งกลุ่ม มีการวิวาทก่อความวุ่นวายเสมอ เกิดการสู้รบของกลุ่มอั้งยี่ จนทางการต้องยกกำลังเข้าปราบปราม เป็นเหตุให้ชาวจีนบางส่วนต้องอพยพหนีภัยกลับประเทศ ทำให้กิจการเหมืองแร่ซบเซาลง จนถึงปี พ.ศ.๒๕๐๖  สมัยจอมพลสฤษดิ์ ฯ เป็นนายกรัฐมนตรี จึงเริ่มมีการขยายกิจการอุตสาหกรรมเหมืองแร่อย่างกว้างขวาง จนถึงปี พ.ศ.๒๕๒๘  ราคาดีบุกในตลาดโลกตกลง และไม่กระเตื้องขึ้นอีก การทำเหมืองแร่จึงซบเซาลงโดยลำดับ
            ปัจจุบันผลผลิตแร่ดีบุกจากภาคใต้ ยังคิดเป็น ๘๕%  ของปริมาณที่ผลิตได้ในประเทศทั้งหมด โดยผลิตได้มากที่พังงา ภูเก็ต ระนอง และนครศรีธรรมราช ตามลำดับ การทำเหมืองแร่ดีบุกในจังหวัดพังงายังคงมีอยู่ การทำเหมืองแร่ในทะเล ส่วนใหญ่จะทำกันที่บ้านน้ำเค็ม อำเภอตะกั่วป่า และบ้านเขาปิหลาย อำเภอตะกั่วทุ่ง
  การทำเกษตรกรรม

           การทำสวนยางพารา  เป็นอาชีพที่ชาวพังงาทำควบคู่กันมากับการทำเหมืองแร่ แต่ในอดีตไม่เป็นที่แพร่หลายนัก เพราะรายได้จากการทำเหมืองแร่ดีกว่า แต่เมื่อแร่ลดน้อยลงและมีราคาต่ำ ทำให้ชาวพังงาหันมาทำสวนยาง ทำให้มีการปลูกยางพารากันทุกอำเภอ
            วิถีชีวิตของชาวพังงาในการทำสวนยาง จะต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านี้คือ กงสี เจบง ตะกง และจักรยาง
                -  กงสี  เป็นภาษาจีน  หมายถึงที่พักคนงานกรีดยาง กงสีส่วนใหญ่จะปลูกอยู่ในสวนยาง

                -  เจบง  คือมีดตัดยาง เป็นภาษามาเลย์ ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับกรีดยาง มีลักษณะโค้งงอคล้ายเคียว ปลายมีดมีคมเป็น จะงอย มีด้ามเป็นไม้หรือเป็นโลหะ
                -  ตะกง  หรือโทง  มีลักษณะคล้ายถาดสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก้นลึกประมาณ ๑๐ ซม. ทำด้วยอลูมิเนียมเป็นภาชนะที่ใช้ใส่น้ำยาง ที่ผสมกับน้ำกรด ภาษาถิ่นเรียกว่า น้ำส้มยาง เพื่อให้ยางแข็งตัว
                -  จักรยาง  ทำด้วยเหล็ก ประกอบด้วยขอนเหล็กสองอัน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓ นิ้ว ยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร  วางขนานกันบนขาตั้ง มีเฟืองเพื่อให้ทดแรงและมีวงล้อติดมือหมุนวงล้อ ทำให้ขอนเหล็กหมุนเข้าหากัน จักรยางมีสองชนิด ทั้งสองชนิดใช้คู่กัน คือ จักรกรีดยาง ใช้กรีดยางให้เป็นแผ่นบาง และจักรดอก ใช้สำหรับกรีดยางให้เป็นดอก ปัจจุบันจักรยางได้พัฒนาจากการหมุนด้วยแรงมือคน เป็นการหมุนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าและใช้เครื่องยนต์แทน
            การประกอบอาชีพทำสวนยาง ยังขึ้นอยู่กับธรรมชาติ ถ้าฝนตกก็ไม่สามารถกรีดยางได้ เพราะน้ำยางจะไหลมาผสมกับน้ำ ไม่สามารถนำไปประกอบเป็นยางแผ่นได้ ชาวสวนยางจะต้องตื่นขึ้นกรีดยาง ตั้งแต่ตอนดึกเพราะถ้ากรีดยางเวลาอื่น น้ำยางจะไหลน้อย

           การเลี้ยงกุ้งกุลาดำ  เป็นการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งทะเล ส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงกันแถบชายฝั่งทะเลของอำเภอทับปุด อำเภอเมือง ฯ อำเภอตะกั่วทุ่ง อำเภอท้ายเหมือง อำเภอตะกั่วป่า และอำเภอคุระบุรี
            การเลี้ยงกุ้งกุลาดำ  ในจังหวัดพังงานิยมเลี้ยงในบ่อขนาด ๒ - ๕ ไร่ โดยสูบน้ำทะเลเข้ามา และเมื่อจับกุ้งแสร็จแล้วก็ปล่อยน้ำทะเลออกไป ต้องใช้ต้นทุนในการเลี้ยงสูงมาก ต้องนำเครื่องจักรกล และเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้
            กรเลี้ยงกุ้งกุลาดำในปัจจุบันมีผลกระทบกับสภาวะแวดล้อมชายฝั่งทะเลมาก ในอนาคตอาชีพนี้อาจหมดไปหรือพัฒนาไปในรูปแบบอื่น
           การเลี้ยงหอยนางรม  มีการเลี้ยงกันมากแถบชายฝั่งทะเลอำเภอทับปุด อำเภอเมือง ฯ อำเภอตะกั่วทุ่ง  ชาวประมงจะใช้ยางรถจักรยายยนต์ที่ไม่ได้ใช้แล้ว นำมาผ่าซีกแล้วนำไปแขวนไว้บริเวณชายฝั่งทะเล ลูกหอยนางรมซึ่งมีปะปนอยู่ในน้ำทะเลก็จะมาเกาะ เมื่อลูกหอยตัวโตขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ นิ้ว ก็จะแกะออกแล้วนำไปติดกับเชือกโดยใช้ปูนซีเมนต์เป็นตัวเชื่อมให้ติดกับเชือก นำไปผูกโยงไว้กับไม้ที่ผูกเป็นทุ่นห้อยไว้ในน้ำ เลี้ยงโดยวิธีธรรมชาติโดยไม่ให้หอยจังอาหารเอง ประมาณ ๖ เดือนก็นำไปขายได้
            ปัจจุบันการเลี้ยงหอยนางรมเป็นที่แพร่หลายและไม่มีผลกระทบกับสภาพแวดล้อมชายฝั่งทะเลมากนัก

          การเลี้ยงปลาในกระชัง  เป็นการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งทะเลอีกวิธีหนึ่ง มีอยู่ในแถบชายฝั่งทะเลอำเภอทับปุด อำเภอตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า อำเภอเมือง ฯ และอำเภอคุระบุรี ชาวประมงจะผูกแพบนทุ่นให้ลอยไปกับน้ำ เวลาน้ำขึ้นน้ำลง ชาวประมงจะเลือกทำเลในการเลี้ยงปลาในกระชัง โดยหาสถานที่ที่เป็นลำคลอง หรือปากอ่าวที่สามารถป้องกันลมได้ และเวลาน้ำลงต่ำสุด น้ำจะต้องไม่แห้ง อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาในกระชัง ใช้ปลาป่นบดรวมกับอาหารสำเร็จรูป ปลาที่เลี้ยงส่วนใหญ่ได้แก่ ปลากระพง ปลาเก๋า
เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม
            ที่อยู่อาศัย  ที่อยู่อาศัยของชาวพังงา นิยมสร้างตามสภาพภูมิประเทศที่อาศัย ประกอบอาชีพอยู่ดังนี้

                -  ที่อยู่อาศัยของเกษตรกรที่อาศัยอยู่ห่างฝั่งทะเล นิยมปลูกแบบเรือนหรือทับ ส่วนใหญ่จะปลูกสร้างในที่ดินของตนเอง ที่ประกอบอาชีพในการทำสวน วัสดุในการก่อสร้างเป็นไปตามอัตภาพ มีรูปแบบเรียบง่าย การอยู่อาศัยแตกต่างจากภูมิภาคอื่นคือ จะอยู่อาศัยกระจัดกระจายกันไม่รวมเป็นกลุ่ม

                -  ที่อาศัยของผู้ประกอบการพาณิชย์  ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาวจีนที่มีฐานะค่อนข้างดี มักนิยมสร้างอาคารเป็นตึกก่ออิฐถือปูนทึบ สองชั้น ตกแต่งด้วยอาคารไม้ฉลุลายหรือประดับด้วยปูนปั้น ลายกนก ลายจีน ผสมกับเสาแบบดอริก และกอธิคของยุโรป หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผาสี่เหลี่ยมขนาดเล็กวางซ้อนกัน (เป็นสถาปัตยกรรมแบบชิโนโปรตุกีส)  ก่อสร้างติดต่อกันเป็นแถว การก่อสร้างเป็นอาคารสองชั้นเป็นการใช้ประโยชน์ในการอยู่อาศัยและประกอบอาชีพในอาคารเดียวกัน คือ ชั้นล่างใช้ประกอบการค้า ชั้นบนใช้เป็นที่อยู่อาศัย

                -  ที่อยู่อาศัยของชาวประมง  ชาวประมงใช้วัสดุตามธรรมชาติที่มีอยู่มากมายตามป่าชายเลน มาก่อสร้างกล่าวคือ ใช้ไม้ทะเลมาทำเสาเรือน ตัวเรือนยกพื้นสูง ปลูกอยู่ในน้ำเพื่อสะดวกในการใช้เรือ ฝากั้นด้วยไม้ขัดแตะ ตับจาก หญ้าคาหรือไม้แสม หลังคามุงจากโดยนำใบจากมาเย็บเป็นตับ
            อีกลักษณะหนึ่งเป็นที่อยู่อาศัยที่สร้างอยู่ตามริมเกาะแก่งต่าง ๆ ลักษณะเป็นบ้านชายน้ำ ตัวบ้านจะยกพื้นสูงเลยระดับน้ำทะเลสูงสุดเล็กน้อย ปูพื้นด้วยไม้กระดาน ใช้วัสดุในพื้นที่ทำฝา หลังคามุงจาก

                -  ชุมชนกลางน้ำเกาะปันหยี  เป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนชาวมุสลิมที่ประกอบอาชีพกรประมง แต่เดิมอาศัยตั้งหลักแหล่งตามเกาะแก่งต่าง ๆ ในอ่าวพังงาที่มีลักษณะเป็นภูเขาหินสูงโผล่ขึ้นจากกลางน้ำจำนวนมาก เหมาะแก่การจอดเรือเพื่อหลบคลื่นลม ลักษณะดังกล่าวชาวพื้นเมืองเรียกว่า ทะเลใน  หากเกาะแก่งใดมีพื้นดินอยู่บ้างก็นิยมตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนเป็นชุมชน ที่เด่นชัดคือชุมชนเกาะปันหยี ซึ่งเป็นชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่กลางน้ำติดเชิงเขาที่มีพื้นดินเพียงเล็กน้อย สำหรับทำเป็นกุโบว์ (หลุมฝังศพ)  ตัวอาคารตอกเสาลงในน้ำซึ่งไม่ลึกนัก สร้างรวมกลุ่มอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของตัวเกาะ สาเหตุเพราะด้านอื่นของเกาะจะเป็นช่วงน้ำลึกไม่สามารถสร้างอาคารใด ๆ ได้

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์