ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > จังหวัดอ่างทอง >บึงสำเภาลอย/ 

บึงสำเภาลอย/

 

บึงสำเภาลอย ตั้งอยู่ที่อำเภอป่าโมก เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอ่างทอง

ที่ตั้งและอาณาเขต  อำเภอป่าโมกตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดของจังหวัดอ่างทอง ห่างจากอำเภอเมืองอ่างทองประมาณ 12 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองอ่างทองและอำเภอวิเศษชัยชาญ
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบางปะหัน (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบางบาล (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอผักไห่ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)

ประวัติ

ท้องถิ่นอำเภอป่าโมกมีชื่อปรากฏในพระราชพงศาวดารมานานตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชซึ่งทรงทำสงครามกับพม่าหลายครั้งเพื่อกอบกู้เอกราชของชาติไทย พระองค์เสด็จยกกองทัพเรือมาประทับประชุมพล ณ ตำบลป่าโมก และทำพิธีตัดไม้ข่มนามเอาฤกษ์ชัย

การปกครองส่วนภูมิภาค  อำเภอป่าโมกแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 ตำบล 47 หมู่บ้าน ได้แก่

1. บางปลากด (Bang Pla Kot)
2. ป่าโมก (Pa Mok)
3. สายทอง (Sai Thong)
4. โรงช้าง (Rong Chang)
5. บางเสด็จ (Bang Sadet)
6. นรสิงห์ (Norasing)
7. เอกราช (Ekkarat)
8. โผงเผง (Phong Pheng)

การปกครองส่วนท้องถิ่น  ท้องที่อำเภอป่าโมกประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่

เทศบาลตำบลป่าโมก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางปลากดและตำบลป่าโมก
องค์การบริหารส่วนตำบลสายทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสายทองทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลโรงช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโรงช้างทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลบางเสด็จ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเสด็จทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลนรสิงห์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนรสิงห์ทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลเอกราช ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเอกราชทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลโผงเผง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโผงเผงทั้งตำบล

ทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งน้ำที่สำคัญ ได้แก่

แม่น้ำเจ้าพระยา
บึงสำเภาลอย
หนองเจ็ดเส้น
หนองขโมย

เศรษฐกิจ

อาชีพหลัก ได้แก่ ทำนา ทำสวนไม้ผล และการประมง ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว มะม่วง มะพร้าวอ่อน
อาชีพเสริม ได้แก่ ทำอิฐ ทำกลอง ตุ๊กตาชาววัง ชาสมุนไพร ทำก้านธูป
ธนาคาร มีอยู่ 3 แห่ง คือ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย

โรงงานอุตสาหกรรมสำคัญ

บริษัท ธีระมิตรอุตสาหกรรม เลขที่ 121 หมู่ที่ 3 ตำบลบางเสด็จ
บริษัท KTMSG เลขที่ 9 ถนนอยุธยา-อ่างทอง หมู่ที่ 4 ตำบลบางเสด็จ
บริษัท อ.ป.ก.ดาวคู่ เลขที่ 168/ก หมู่ที่ 5 ตำบลบางปลากด
โรงอิฐ อ.ป.ท. เลขที่ 164/ข หมู่ที่ 6 ตำบลบางปลากด
ห.จ.ก.โรงงานอุตสาหกรรมอิฐอ่างทอง เลขที่ 4 หมู่ที่ 4 ตำบลนรสิงห์
ห.จ.ก.โรงงานทำอิฐ บ.บ.ก. เลขที่ 17 หมู่ที่ 5 ตำบลบางเสด็จ
บริษัท เฮ้งมุ่ยหลีอิฐ บ.ป.ก.จำกัด เลขที่ 240/ก หมู่ที่ 5 ตำบลบางปลากด
โรงอิฐ อ.ม.ท. เลขที่ 199/ก หมู่ที่ 1 ตำบลป่าโมก
คลังสินค้าอ่างทองซูการ์เทอร์มินัล เลขที่ 1ก หมู่ที่ 5 ตำบลบางปลากด
คลังสินค้ากลุ่มวังขนาย ตำบลบางเสด็จ

สถานที่ท่องเที่ยว

วัดป่าโมกวรวิหาร อยู่ในเขตเทศบาลตำบลป่าโมก ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ห่างจากอำเภอเมืองอ่างทองไปประมาณ 18 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงหมายเลขแผ่นดิน 309 สายอ่างทอง-อยุธยา เดิมมีวัด 2 วัด อยู่ติดกันคือ วัดตลาดกับวัดชีปะขาว เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ที่งดงามมากองค์หนึ่งของประเทศไทย มีความยาวจากพระเมาลีถึงปลายพระบาทประมาณ 22.58 เมตร ก่ออิฐถือปูนปิดทอง องค์พระนี้สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสุโขทัย มีประวัติความเป็นมาน่าอัศจรรย์เล่าขานว่า ได้ลอยน้ำมาจมอยู่หน้าวัดราษฎรบวงสรวงแล้วชักลากขึ้นมาไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำ ในพระราชพงศาวดารกล่าวว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชก่อนจะยกทัพไปรบกับพระมหาอุปราชได้เสด็จมาชุมนุมพล และถวายสักการะบูชาพระพุทธรูปองค์นี้ ในปี พ.ศ. 2269 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ได้เสด็จมาควบคุมการชะลอองค์พระ ให้พ้นจาก กระแสน้ำเซาะตลิ่งพังไปไว้ยังวิหารใหม่ที่วัดตลาดห่างจากฝั่งแม่น้ำ 168 เมตร แล้วโปรดให้รวม ทั้งสองเป็นวัดเดียวกันพระราชทานนามว่าวัดป่าโมกเพราะบริเวณนั้นมีต้นโมกมากมาย สิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้มีมากมาย อาทิ พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ วิหารเขียน มณฑปพระพุทธบาท 4 รอย เป็นต้น

วัดสระแก้ว อยู่ถัดจากวัดท่าสุทธาวาสประมาณ 200 เมตร ตามถนนเลียบคันคลองชลประทาน หากเดินทางมาจากอยุธยาตามเส้นทางอยุธยา-อ่างทอง (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 309) ทางเข้าวัดจะอยู่ซ้ายมือห่างจากอยุธยาประมาณ 15 กิโลเมตร วัดนี้สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2242 เดิมชื่อว่า "วัดสระแก" เป็นสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าที่มีเด็กอยู่ในความดูแล และได้จัดตั้งคณะลิเกเด็กกำพร้าวัดสระแก้ว เพื่อหารายได้ช่วยเหลือค่าใช้จ่าย ในการเลี้ยงดูเด็กกำพร้าด้วย นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของ "สามัคคีสมาคาร" ซึ่งเป็นศูนย์โครงการทอผ้าตามพระราชประสงค์ก่อตั้ง

เมื่อ พ.ศ. 2524 อยู่ในความรับผิดชอบของกองอุตสาหกรรมในครอบครัว กระทรวงอุตสาหกรรม ที่บ้านบางเสด็จนี้จะมีกี่ทอผ้าอยู่แทบทุกหลังคาเรือน ชาวบางเสด็จจะขยันขันแข็งมุ่งผลิตสินค้าผ้าทอต่าง ๆ เช่น ผ้าซิ่น ผ้าขาวม้า ผ้าปูโต๊ะ ปลอกหมอน ฯลฯ ให้มีคุณภาพดีและมีความสวยงามจนเป็นที่รู้จักแพร่หลายทั่วไป สินค้าเหล่านี้จะรวบรวมไปจัดจำหน่ายแก่ผู้สนใจที่ศูนย์สามัคคีสมาคาร ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3561 1169

หมู่บ้านทำกลอง ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านแพ ตำบลเอกราช หลังตลาดป่าโมก ริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา การเดินทางใช้ถนนสายใน ผ่านหน้าที่ทำการเทศบาลอำเภอป่าโมกซึ่งขนานไปกับลำคลองชลประทาน ระยะทางประมาณ 17 กิโลเมตร ชาวบ้านแพเริ่มผลิตกลองมาตั้งแต่ พ.ศ. 2470 โดยจะเริ่มหลังฤดูเก็บเกี่ยว วัตถุดิบที่ใช้ได้แก่ไม้ฉำฉาเพราะเป็นไม้เนื้ออ่อนที่สามารถขุดเนื้อไม้ได้ง่ายกับหนังวัว นอกจากคุณภาพที่ประณีตสวยงามแล้วยังมีหลายขนาดให้เลือกอีกด้วย โดยเฉพาะกลองขนาดจิ๋วจะเป็นที่นิยมหาซื้อไว้เป็นของที่ระลึกซึ่งขายดีมาก

วัดท่าสุทธาวาส อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันออกเขตตำบลบางเสด็จ หากใช้เส้นทางสายอยุธยา-อ่างทอง (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 309) ทางเข้าวัดจะอยู่ทางซ้ายมือห่างจากตัวจังหวัดอ่างทองประมาณ 17 กิโลเมตร หรือห่างจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาประมาณ 14 กิโลเมตร วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่แต่โบราณ สมัยอยุธยาตอนต้นในการศึกสงครามครั้งกรุงศรีอยุธยา บริเวณนี้จะเป็นเส้นทางเดินทัพข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาปัจจุบัน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีทรงรับไว้ในพระราชอุปถัมภ์ มีการจัดสร้างพลับพลาที่ประทับกลางสระน้ำ พระเจดีย์เพื่อแสดงพระพุทธรูปโบราณและโบราณวัตถุต่าง ๆ รวมทั้งพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถ ภายในพระอุโบสถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จิตรกรส่วนพระองค์และนักเขียนโครงการศิลปาชีพเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังด้วย บริเวณวัดแห่งนี้มีความร่มรื่นด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่และทิวทัศน์สวยงามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาชวนให้เป็นที่น่าพักผ่อน

ตุ๊กตาชาววังบางเสด็จ ตำบลบางเสด็จตั้งอยู่ริมเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 309 จากอยุธยาไปจังหวัดอ่างทองประมาณ 16 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าสู่บ้านบางเสด็จ อยู่ติดกับวัดท่าสุทธาวาส ตำบลนี้เดิมชื่อ "ตำบลบ้านวัดตาล" เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราษฎรผู้ประสบอุทกภัยใน ปี พ.ศ. 2518 สร้างความปลื้มปิติให้แก่ราษฎรเป็นอันมาก เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ จึงพร้อมใจกันเปลี่ยนชื่อบ้านวัดตาลเป็น "บ้านบางเสด็จ" ภายในหมู่บ้านบางเสด็จนี้ นอกจากจะได้ชมทัศนียภาพอันร่มรื่น และสวยงามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว ยังสามารถเดินชมการปั้นตุ๊กตาในบริเวณบ้านเรือนราษฎรละแวกนั้นได้อย่างเป็นกันเอง

โครงการตุ๊กตาชาววังที่บ้านบางเสด็จเป็นโครงการที่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถมีพระราชดำริให้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2519 เพื่อให้เป็นอาชีพเสริมเพิ่มพูนรายได้ให้แก่ราษฎร มีการรวมกลุ่มในรูปสหกรณ์โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ด้านหน้าวัดท่าสุทธาวาส ซึ่งจะจัดให้สมาชิกมาสาธิตการปั้นพร้อมกับจัดจำหน่ายในราคาที่ย่อมเยา ตุ๊กตาชาววังเป็นประดิษฐกรรมดินเหนียวที่สวยงาม จัดแสดงชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยทุกเพศทุกวัย วัฒนธรรมประเพณีไทย เช่น การละเล่นของเด็กไทย วงมโหรีปี่พาทย์ ตลอดจนผลไม้ไทยหลายหลากชนิดล้วนมีความสวยงาม น่ารัก และเหมาะที่จะซื้อเป็นของฝากหรือของที่ระลึกเป็นอย่างยิ่ง

อิฐอ่างทอง เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนคุณภาพสูงที่ผลิตขึ้น เพื่อจัดจำหน่ายไปทั่วประเทศไทย ส่วนมากจะใช้ในการทำอิฐโชว์แนวประดับอาคาร บ้านเรือน ผู้สนใจจะติดต่อซื้อได้จากโรงอิฐโดยตรงเฉพาะที่อำเภอป่าโมกจะมีโรงอิฐมากกว่า 42 แห่ง

การคมนาคม

ถนนสายสำคัญของอำเภอ ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 309 (แยกทางหลวงหมายเลข 1 (วังน้อย) -สิงห์บุรี)



Loading...

 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวบึงสำเภาลอย

 
อ่างทอง/Information of ANGTHONG

 

 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

อ่างทอง
อำเภอป่าโมก

อำเภอวิเศษชัยชาญ


วัดเขียน

Wat Khian
(อ่างทอง)


วัดอ้อย

Wat Oi
(อ่างทอง)


วัดม่วง

Wat Muang
(อ่างทอง)


วัดหลวง

Wat Luang
(อ่างทอง)

อำเภอเมือง


บึงสำเภาลอย

(อ่างทอง)

อำเภอแสวงหา


วัดยาง

Wat Yang
(อ่างทอง)

อำเภอโพธิ์ทอง

อำเภอไชโย

แผนที่จังหวัดอ่างทอง/map of ANGTHONG

การเดินทาง
รถโดยสารประจำทาง
บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการรถโดยสารประจำทางระหว่างกรุงเทพฯ-อ่างทอง ทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ ทุกวัน สามารถขึ้นรถได้ที่สถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. 0 2537 8055, 0 2936 2852-66, 0 2936 3603 เว็บไซต์ www.transport.co.th 

รถยนต์ 
จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางได้หลายเส้นทาง คือ
เส้นทางที่ 1 ใช้เส้นทางสายพหลโยธิน ทางหลวงหมายเลข 32 จากกรุงเทพฯ แยกเข้าเส้นทางสายเอเชีย ผ่านอำเภอบางปะอิน-พระนครศรีอยุธยา-อำเภอบางปะหัน-อ่างทอง รวมระยะทาง 105 กิโลเมตร
เส้นทางที่ 2 ใช้เส้นทางตัดใหม่ ข้ามสะพานพระปิ่นเกล้า - ตลิ่งชัน เข้าเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340 ผ่านจังหวัดนนทบุรี-ปทุมธานี-พระนครศรีอยุธยา-สุพรรณบุรี-อ่างทอง รวมระยะทางประมาณ 150 กิโลเมตร
เส้นทางที่ 3 ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-ปทุมธานี ผ่านปากเกร็ด เข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3111 ผ่านอำเภอบางไทร-อำเภอเสนา-พระนครศรีอยุธยา จากนั้นใช้เส้นทางหมายเลข 3263 และต่อเข้าทางหลวงหมายเลข 309 เข้าอำเภอป่าโมก-อ่างทอง รวมระยะทาง 140 กิโลเมตร
หรือใช้ทางพิเศษอุดรรัถยา (ทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด) สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 1543

อ่างทอง/Information of ANGTHONG

 

General Information

Ang Thong is a small province on the bank of the Chao Phraya River. The former settlement is at Wiset Chai Chan on the bank of the Noi River. It was an essential frontier outpost of Ayutthaya when fighting with the Burmese. The majority of the people was later moved to a new site on the left bank of the Chao Phraya River during the Thon Buri period.

Ang Thong is located 108 kilometres north of Bangkok. It occupies an area of 968 square kilometres and is administratively divided into seven districts (Amphoes): Mueang Ang Thong, Chaiyo, Pa Mok, Pho Thong, Sawaeng Ha, Wiset Chai Chan and Samko.

How to get there
Car
All provinces and major districts in the Central Region are linked by highways while the distant districts and villages can be accessible by rural roads.

Bus
Bus transportation services are available at two main stations in Bangkok. From the bus terminal on Kamphaeng Phet II Road (Tel. 0 2936 0649,0 2936 1972), there are both air-conditioned and non air-conditioned buses leaving for Chai Nat, Nakhon Nayok, Prachin Buri, Lop Buri, Saraburi, Sing Buri, Suphan Buri, Ang Thong, Ayutthaya, Bang Pa-in, Bang Sai, Aranyaprathet, Chachoengsao, and Samut Songkhram. The Southern Bus Terminal (Tel. 0 2435-1199, 0 2434 5557-8) on Boromarajajonani Road operates daily buses to Kanchanaburi, Cha-am, Damnoen Saduak, Phetchaburi, Ratchaburi, Prachuap Khiri Khan, Bang Saphan, Nakhon Pathom, Suphan Buri, Samphran, Samut Songkhram, and Samut Sakhon.

On arrival in each city, the easiest way to travel around is by local transport like tricycle (called “Sam Lo” by Thais) or motor tricycle. “Song Thaeo” or a van with two rows of benches at the back serves as transport for travelling to the outside of the town. However, a vehicle should be rented from Bangkok or a major tourist town in case travellers need more convenience and would like to explore more attractions in the rural areas.

Train
The Bangkok Railway Station (Hua Lamphong) is the major terminal where daily trains leave for Chachoengsao, Bang Pa-in, Ayutthaya, Saraburi, Lop Buri, Nakhon Pathom, Suphan Buri, Ratchaburi, Phetchaburi, Hua Hin, and Prachuap Khiri Khan. To get to Nakhon Pathom and Kanchanaburi, one can take a train at the Thon Buri or Bangkok Noi Railway Station. Samut Sakhon and Samut Songkhram can be also reached by train from the Wongwian Yai Station. Schedules can be obtained at the Information Unit, Tel. 0 2223 7010, 0 2223 7020.

Boat
Travelling by boat is quite popular in the riverside cities or towns including Bangkok, Nonthaburi, Ayutthaya, Samut Songkhram, Nakhon Pathom, and Kanchanaburi. In those provinces, river excursions are operated by local tour operators. Boats for rent are also available at major piers. The price should be established before beginning the trip.

Between Bangkok and Nonthaburi, regular boats run along the Chao Phraya River with frequent stops to pick up and drop their passengers. The boats are usually crowded during the rush hours of a working day.

Festivals
Boat Races
Boat Races The major annual regatta takes place in front of Wat Chaiyo Worawihan on the Chao Phraya River in October together with the Luang Pho To Worship Festival.

During October, boat races are also held at other riverside temples including Wat Pa Mok by the Chao Phraya River and Wat Pho Kriap by the Noi River in Amphoe Pho Thong. Famous boats from all over the country join the races.

General Information

Ang Thong is a small province on the bank of the Chao Phraya River. The former settlement is at Wiset Chai Chan on the bank of the Noi River. It was an essential frontier outpost of Ayutthaya when fighting with the Burmese. The majority of the people was later moved to a new site on the left bank of the Chao Phraya River during the Thon Buri period.

Ang Thong is located 108 kilometres north of Bangkok. It occupies an area of 968 square kilometres and is administratively divided into seven districts (Amphoes): Mueang Ang Thong, Chaiyo, Pa Mok, Pho Thong, Sawaeng Ha, Wiset Chai Chan and Samko.

How to get there
Car
All provinces and major districts in the Central Region are linked by highways while the distant districts and villages can be accessible by rural roads.

Bus
Bus transportation services are available at two main stations in Bangkok. From the bus terminal on Kamphaeng Phet II Road (Tel. 0 2936 0649,0 2936 1972), there are both air-conditioned and non air-conditioned buses leaving for Chai Nat, Nakhon Nayok, Prachin Buri, Lop Buri, Saraburi, Sing Buri, Suphan Buri, Ang Thong, Ayutthaya, Bang Pa-in, Bang Sai, Aranyaprathet, Chachoengsao, and Samut Songkhram. The Southern Bus Terminal (Tel. 0 2435-1199, 0 2434 5557-8) on Boromarajajonani Road operates daily buses to Kanchanaburi, Cha-am, Damnoen Saduak, Phetchaburi, Ratchaburi, Prachuap Khiri Khan, Bang Saphan, Nakhon Pathom, Suphan Buri, Samphran, Samut Songkhram, and Samut Sakhon.

On arrival in each city, the easiest way to travel around is by local transport like tricycle (called “Sam Lo” by Thais) or motor tricycle. “Song Thaeo” or a van with two rows of benches at the back serves as transport for travelling to the outside of the town. However, a vehicle should be rented from Bangkok or a major tourist town in case travellers need more convenience and would like to explore more attractions in the rural areas.

Train
The Bangkok Railway Station (Hua Lamphong) is the major terminal where daily trains leave for Chachoengsao, Bang Pa-in, Ayutthaya, Saraburi, Lop Buri, Nakhon Pathom, Suphan Buri, Ratchaburi, Phetchaburi, Hua Hin, and Prachuap Khiri Khan. To get to Nakhon Pathom and Kanchanaburi, one can take a train at the Thon Buri or Bangkok Noi Railway Station. Samut Sakhon and Samut Songkhram can be also reached by train from the Wongwian Yai Station. Schedules can be obtained at the Information Unit, Tel. 0 2223 7010, 0 2223 7020.

Boat
Travelling by boat is quite popular in the riverside cities or towns including Bangkok, Nonthaburi, Ayutthaya, Samut Songkhram, Nakhon Pathom, and Kanchanaburi. In those provinces, river excursions are operated by local tour operators. Boats for rent are also available at major piers. The price should be established before beginning the trip.

Between Bangkok and Nonthaburi, regular boats run along the Chao Phraya River with frequent stops to pick up and drop their passengers. The boats are usually crowded during the rush hours of a working day.

Festivals
Boat Races
Boat Races The major annual regatta takes place in front of Wat Chaiyo Worawihan on the Chao Phraya River in October together with the Luang Pho To Worship Festival.

During October, boat races are also held at other riverside temples including Wat Pa Mok by the Chao Phraya River and Wat Pho Kriap by the Noi River in Amphoe Pho Thong. Famous boats from all over the country join the races.



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์