ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > จังหวัดอ่างทอง >วัดป่าโมกวรวิหาร/Wat Pamok Worawihan 

วัดป่าโมกวรวิหาร/ Wat Pamok Worawihan

 

วัดป่าโมกวรวิหาร
อ. ป่าโมก จ. อ่างทอง

วัดป่าโมกวรวิหาร อยู่ในเขตเทศบาลตำบลป่าโมก ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันตกห่างจากอำเภอเมืองอ่างทองไป 18 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 309 สายอ่างทอง-อยุธยา ภายในวัดนี้มีพระพุทธไสยาสน์ที่งดงามมากองค์หนึ่งของเมืองไทย องค์พระก่ออิฐถือปูนปิดทอง มีความยาวจากพระเมาลีถึงปลายพระบาท 22.58 เมตร

สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสุโขทัย มีประวัติความเป็นมาเล่าขานกันว่า พระพุทธรูปองค์นี้ลอยน้ำมาจมอยู่หน้าวัด ราษฎรบวงสรวงแล้วชักลากขึ้นมาไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำ ในพระราชพงศาวดารกล่าวว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชก่อนที่จะยกทัพไปรบกับพระมหาอุปราชได้เสด็จมาชุมนุมพลและถวายสักการะบูชาพระพุทธรูปองค์นี้ ต่อมาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระได้เสด็จมาควบคุมการชะลอองค์พระให้พ้นจากกระแสน้ำเซาะตลิ่งพังและนำไปไว้ยังวิหารใหม่ที่วัดตลาดห่างจากฝั่งแม่น้ำ 168 เมตร แล้วโปรดให้รวมวัดตลาดกับวัดชีปะขาวเป็นวัดเดียวกัน พระราชทานนามว่าวัดป่าโมกเพราะบริเวณนั้นมีต้นโมกมากมาย สิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้นอกจากพระพุทธไสยาสน์และตัวพระวิหารแล้วยังมี วิหารเขียน มณฑปพระพุทธบาท 4 รอยเป็นต้น

ตำนาน "พระนอนพูดได้" ที่วัดป่าโมกวรวิหาร

พระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกวรวิหาร เป็นพระพุทธไสยาสน์ศิลปะสุโขทัย ประดิษฐานที่วัดป่าโมกวรวิหาร (ปัจจุบันวัดแห่งนี้มีฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร) ที่ตำบลป่าโมก อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ไม่ทราบว่าใครเป้นผู้สร้าง ทราบแต่เพียงว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชพากองทัพมากราบไหว้พระพุทธไสยาสน์ก่อนยกทัพไปสู้รบกับพม่า

องค์พระพุทธไสยาสน์มีความยาวได้ 23 เมตร ที่ฝ่าพระบาททั้ง 2 ข้างมีการจารึกโคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์ ซึ่งแต่งเพื่อบันทึกเหตุการณ์เมื่อครั้งชะลอพระพุทธไสยาสน์ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระแห่งกรุงศรีอยธยา โดยชะลอจากที่ตั้งเดิมที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มาไว้ยังที่ตั้งปัจจุบัน เพื่อป้องกันกระแสน้ำพัดตลิ่งพัง และอาจทำให้องค์พระถล่มลงในแม่น้ำได้ เมื่อชะลอองค์พระไว้ในที่ตั้งปัจจุบันเสร็จแล้ว พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระจึงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างวิหารหลวงเพื่อคอรบองค์พระนอน แต่พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระเสด็จสวรรคตเสียก่อนที่วิหารหลวงจะสร้างแล้วเสร็จ การจัดมหรสพเพื่อฉลององค์พระพุทธไสยาสน์และวิหารหลวงจึงได้จัดขึ้นในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา

ตำนานเรื่องพระนอนพูดได้ที่วัดป่าโมกวรวิหารเกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเกิดเหตุการณ์โรคห่า (อหิวาตกโรค) ระบาดในบ้านป่าโมก ตามลิขิตของพระครูป่าโมกขมุนี เจ้าอาวาสวัดป่าโมกวรวิหารในสมัยนั้นได้บันทึกไว้ พอสรุปได้ว่า เมื่อ พ.ศ. 2448 พระโต พระในวัดป่าโมกป่วยหนักด้วยโรคอหิวาต์ หมอที่ไหนก็รักษาไม่หาย ขณะนั้นอุบาสิกาเหลียน หลานสาวของพระโตซึ่งอยู่ที่บ้านเอกราช แขวงป่าโมก ก็จนปัญญาจะไปหาหมอยามารักษาพระโต ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุงของสีกาเหลียน สีกาเหลียนจึงมาตั้งสัตยาธิษฐานต่อพระพุทธไสยาสน์ และมีเสียงออกมาจากพระอุระของพระพุทธไสยาสน์บอกตำรายาแก่สีกาเหลียน แล้วจึงนำใบไม้ต่าง ๆ ที่ว่าเป็นยามาต้มให้พระโตที่อาพาธฉัน พระโตก็หายเป็นปกติ

จากนั้นสีกาเหลียนจึงนำเหตุอัศจรรย์มาแจ้งต่อพระครูปาโมกขมุนีและพระที่วัดป่าโมก แต่พระครูป่าโมกขมุนียังไม่เชื่อ จึงได้ให้พระสงฆ์ โยมวัด และศิษย์วัดรวม 30 คน โดยมีสีกาเหลียนไปด้วย พระครูป่าโมกขมุนีให้จุดไฟรอบวิหารพระนอนเพื่อดูว่ามีใครมาทำโพรงหลังพระนอนแล้วแอบซ่อนมาพูดกับสีกาเหลียนหรือไม่ แต่พระสงฆ์และโยมวัดก็ไม่พบสิ่งผิดปกติใด ๆ ทั้งสิ้น

วันต่อมา สีกาเหลียน พระครูปาโมกขมุนี พระสงฆ์และโยมวัดรวม 30 คน มากันเข้ามาในวิหารพระนอน สีกาเหลียนจุดธูปเทียน และถวายหมากพลูแก่พระพุทธไสยาสน์ ก็เกิดเหตุอัศจรรย์ คือ หมากพลูที่สีกาเหลียนถวายหายไปในเวลา 2 นาที !!! พระครูปาโมกขมุนีและพยานทั้งหลายประสบกัยเหตุอัศจรรย์ แต่ก็ยังไม่เชื่อ สีกาเหลียนจึงได้อาราธนาพระพุทธไสยาสน์ให้พูดคุยกับพระครูปาโมกขมุนี ปรากฏว่า ก็เกิดเสียงจากพระอุระของพระพุทธไสยาสน์อีก โดยในวันนั้น พระครูปาโมกขมุนีได้ไต่ถามพระพุทธไสยาสน์เกี่ยวกับสารทุกข์สุกดิบ และเครื่องยาที่รักษาผู้ป่วยโรคอหิวาต์ พระพุทธไสยาสน์ก็ตอบคำถามที่พระครูปาโมกขมุนีถามทุกประการ

ต่อมรในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2448 เมื่อเวลา 4 ทุ่ม สีกาเหลียน พระครูป่าโมกขมุนี พระสงฆ์และโยมวัด รวมแล้วมีทั้งหมด 35 คน ได้เข้าไปตรวจดูในวิหารพระนอนอีกครั้ง ก็ไม่พบพิรุธใด ๆ ทั้งสิ้น สีกาเหลียนจึงบอกกล่าวกับพระพุทธไสยาสน์ว่าพระครูป่าโมกขมุนีอยากคุยด้วยอีก ก็เกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ขึ้นอีกครั้ง คราวนี้พระครูปาโมกขมุนีได้ได้ถามพระพุทธไสยาสน์ว่า จะบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระ และวิหารขึ้นใหม่ ก็บังเกิดเสียงตอบรับมาจากพระอุระของพระนอนอีก โดยพระพุทธไสยาสน์เกิดความยินดีที่พระครูป่าโมกขมุนีจะบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระนอนและวิหาร พระครูปาโมกขมุนีจึงได้เขียนจดหมายนี้เพื่อถวายสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ (รัชกาลที่ 6) แต่พระองค์มิได้เสด็จประทับอยู่ ณ ที่นั้น จึงยังมิได้ถวายจดหมาย แต่ตำนานที่ปรากฏในจดหมายนี้ปรากฏในพระราชหัตเลขาของรัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งเสด็จประพาสต้น ประทับที่เมืองอ่างทอง

ตำนานเรื่องพระนอนพูดได้ที่วัดป่าโมกวรวิหารนี้ ยังอาจจะเป็นต้นเค้าในนวนิยายเรื่อง "ไผ่แดง" ผลงานของพลตรี ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี และศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ในเนื้อเรื่องที่สมภารกร่าง เจ้าอาวาสวัดที่เข้าไปกราบพระประธาน แล้วพระประธานก็พูดกับสมภารกร่างได้ (สาทิส อินทรกำแหง , 2550 , น. 28)


 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยววัดป่าโมกวรวิหาร

 
อ่างทอง/Information of ANGTHONG

  Wat Pamok Worawihan วัดป่าโมกวรวิหาร
Located in the municipal area of Tambon Pa Mok on the west bank of the Chao Phraya River, 18 kilometers
from Amphoe Muang Angthong on Highway No. 309 (Angthong - Ayutthaya),This temple noted for housing one
of the most beautiful reclining Buddha images in Thailand.The image is 22.58 meters from the topknot to the
feet, made of brick and mortar and covered with gold. It is assumed to have been constructed in the Sukhothai
period. The miracle story of the image is told that at the site of Wat Pamok, formerly there were two temples
located next to each other : Wat Talat and Wat Chipakhao. This large reclining Buddha image floated along the
river and sank in front of these two temples. People worshipped and pulled the image up and left it on the river
bank. In the Royal Chronicle, it is mentioned that King Naresuan the Great before leading his army to attack
Phra Maha Upparacha of Burma stopped at this temple gathering his troops and paid homage to the image. In
1728 in the reign of King Thaisa, the King came to control the removing of the image from the river bank which
was destroyed by the river current to be enshrined in a new wihan at Wat Talat, 168 meters from the bank.
King Thaisa then had these two temples fused into one and named it "Wat Pamok" according to Mok trees
which were abundant in that area.Attractions at this temple are various e.g., Wihankhian, the mondop enshrining
the four Buddha footprints etc.

 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

อ่างทอง
อำเภอป่าโมก

อำเภอวิเศษชัยชาญ


วัดเขียน

Wat Khian
(อ่างทอง)


วัดอ้อย

Wat Oi
(อ่างทอง)


วัดม่วง

Wat Muang
(อ่างทอง)


วัดหลวง

Wat Luang
(อ่างทอง)

อำเภอเมือง


บึงสำเภาลอย

(อ่างทอง)

อำเภอแสวงหา


วัดยาง

Wat Yang
(อ่างทอง)

อำเภอโพธิ์ทอง

อำเภอไชโย

แผนที่จังหวัดอ่างทอง/map of ANGTHONG

การเดินทาง
รถโดยสารประจำทาง
บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการรถโดยสารประจำทางระหว่างกรุงเทพฯ-อ่างทอง ทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ ทุกวัน สามารถขึ้นรถได้ที่สถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. 0 2537 8055, 0 2936 2852-66, 0 2936 3603 เว็บไซต์ www.transport.co.th 

รถยนต์ 
จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางได้หลายเส้นทาง คือ
เส้นทางที่ 1 ใช้เส้นทางสายพหลโยธิน ทางหลวงหมายเลข 32 จากกรุงเทพฯ แยกเข้าเส้นทางสายเอเชีย ผ่านอำเภอบางปะอิน-พระนครศรีอยุธยา-อำเภอบางปะหัน-อ่างทอง รวมระยะทาง 105 กิโลเมตร
เส้นทางที่ 2 ใช้เส้นทางตัดใหม่ ข้ามสะพานพระปิ่นเกล้า - ตลิ่งชัน เข้าเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340 ผ่านจังหวัดนนทบุรี-ปทุมธานี-พระนครศรีอยุธยา-สุพรรณบุรี-อ่างทอง รวมระยะทางประมาณ 150 กิโลเมตร
เส้นทางที่ 3 ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-ปทุมธานี ผ่านปากเกร็ด เข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3111 ผ่านอำเภอบางไทร-อำเภอเสนา-พระนครศรีอยุธยา จากนั้นใช้เส้นทางหมายเลข 3263 และต่อเข้าทางหลวงหมายเลข 309 เข้าอำเภอป่าโมก-อ่างทอง รวมระยะทาง 140 กิโลเมตร
หรือใช้ทางพิเศษอุดรรัถยา (ทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด) สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 1543

อ่างทอง/Information of ANGTHONG

 

General Information

Ang Thong is a small province on the bank of the Chao Phraya River. The former settlement is at Wiset Chai Chan on the bank of the Noi River. It was an essential frontier outpost of Ayutthaya when fighting with the Burmese. The majority of the people was later moved to a new site on the left bank of the Chao Phraya River during the Thon Buri period.

Ang Thong is located 108 kilometres north of Bangkok. It occupies an area of 968 square kilometres and is administratively divided into seven districts (Amphoes): Mueang Ang Thong, Chaiyo, Pa Mok, Pho Thong, Sawaeng Ha, Wiset Chai Chan and Samko.

How to get there
Car
All provinces and major districts in the Central Region are linked by highways while the distant districts and villages can be accessible by rural roads.

Bus
Bus transportation services are available at two main stations in Bangkok. From the bus terminal on Kamphaeng Phet II Road (Tel. 0 2936 0649,0 2936 1972), there are both air-conditioned and non air-conditioned buses leaving for Chai Nat, Nakhon Nayok, Prachin Buri, Lop Buri, Saraburi, Sing Buri, Suphan Buri, Ang Thong, Ayutthaya, Bang Pa-in, Bang Sai, Aranyaprathet, Chachoengsao, and Samut Songkhram. The Southern Bus Terminal (Tel. 0 2435-1199, 0 2434 5557-8) on Boromarajajonani Road operates daily buses to Kanchanaburi, Cha-am, Damnoen Saduak, Phetchaburi, Ratchaburi, Prachuap Khiri Khan, Bang Saphan, Nakhon Pathom, Suphan Buri, Samphran, Samut Songkhram, and Samut Sakhon.

On arrival in each city, the easiest way to travel around is by local transport like tricycle (called “Sam Lo” by Thais) or motor tricycle. “Song Thaeo” or a van with two rows of benches at the back serves as transport for travelling to the outside of the town. However, a vehicle should be rented from Bangkok or a major tourist town in case travellers need more convenience and would like to explore more attractions in the rural areas.

Train
The Bangkok Railway Station (Hua Lamphong) is the major terminal where daily trains leave for Chachoengsao, Bang Pa-in, Ayutthaya, Saraburi, Lop Buri, Nakhon Pathom, Suphan Buri, Ratchaburi, Phetchaburi, Hua Hin, and Prachuap Khiri Khan. To get to Nakhon Pathom and Kanchanaburi, one can take a train at the Thon Buri or Bangkok Noi Railway Station. Samut Sakhon and Samut Songkhram can be also reached by train from the Wongwian Yai Station. Schedules can be obtained at the Information Unit, Tel. 0 2223 7010, 0 2223 7020.

Boat
Travelling by boat is quite popular in the riverside cities or towns including Bangkok, Nonthaburi, Ayutthaya, Samut Songkhram, Nakhon Pathom, and Kanchanaburi. In those provinces, river excursions are operated by local tour operators. Boats for rent are also available at major piers. The price should be established before beginning the trip.

Between Bangkok and Nonthaburi, regular boats run along the Chao Phraya River with frequent stops to pick up and drop their passengers. The boats are usually crowded during the rush hours of a working day.

Festivals
Boat Races
Boat Races The major annual regatta takes place in front of Wat Chaiyo Worawihan on the Chao Phraya River in October together with the Luang Pho To Worship Festival.

During October, boat races are also held at other riverside temples including Wat Pa Mok by the Chao Phraya River and Wat Pho Kriap by the Noi River in Amphoe Pho Thong. Famous boats from all over the country join the races.

General Information

Ang Thong is a small province on the bank of the Chao Phraya River. The former settlement is at Wiset Chai Chan on the bank of the Noi River. It was an essential frontier outpost of Ayutthaya when fighting with the Burmese. The majority of the people was later moved to a new site on the left bank of the Chao Phraya River during the Thon Buri period.

Ang Thong is located 108 kilometres north of Bangkok. It occupies an area of 968 square kilometres and is administratively divided into seven districts (Amphoes): Mueang Ang Thong, Chaiyo, Pa Mok, Pho Thong, Sawaeng Ha, Wiset Chai Chan and Samko.

How to get there
Car
All provinces and major districts in the Central Region are linked by highways while the distant districts and villages can be accessible by rural roads.

Bus
Bus transportation services are available at two main stations in Bangkok. From the bus terminal on Kamphaeng Phet II Road (Tel. 0 2936 0649,0 2936 1972), there are both air-conditioned and non air-conditioned buses leaving for Chai Nat, Nakhon Nayok, Prachin Buri, Lop Buri, Saraburi, Sing Buri, Suphan Buri, Ang Thong, Ayutthaya, Bang Pa-in, Bang Sai, Aranyaprathet, Chachoengsao, and Samut Songkhram. The Southern Bus Terminal (Tel. 0 2435-1199, 0 2434 5557-8) on Boromarajajonani Road operates daily buses to Kanchanaburi, Cha-am, Damnoen Saduak, Phetchaburi, Ratchaburi, Prachuap Khiri Khan, Bang Saphan, Nakhon Pathom, Suphan Buri, Samphran, Samut Songkhram, and Samut Sakhon.

On arrival in each city, the easiest way to travel around is by local transport like tricycle (called “Sam Lo” by Thais) or motor tricycle. “Song Thaeo” or a van with two rows of benches at the back serves as transport for travelling to the outside of the town. However, a vehicle should be rented from Bangkok or a major tourist town in case travellers need more convenience and would like to explore more attractions in the rural areas.

Train
The Bangkok Railway Station (Hua Lamphong) is the major terminal where daily trains leave for Chachoengsao, Bang Pa-in, Ayutthaya, Saraburi, Lop Buri, Nakhon Pathom, Suphan Buri, Ratchaburi, Phetchaburi, Hua Hin, and Prachuap Khiri Khan. To get to Nakhon Pathom and Kanchanaburi, one can take a train at the Thon Buri or Bangkok Noi Railway Station. Samut Sakhon and Samut Songkhram can be also reached by train from the Wongwian Yai Station. Schedules can be obtained at the Information Unit, Tel. 0 2223 7010, 0 2223 7020.

Boat
Travelling by boat is quite popular in the riverside cities or towns including Bangkok, Nonthaburi, Ayutthaya, Samut Songkhram, Nakhon Pathom, and Kanchanaburi. In those provinces, river excursions are operated by local tour operators. Boats for rent are also available at major piers. The price should be established before beginning the trip.

Between Bangkok and Nonthaburi, regular boats run along the Chao Phraya River with frequent stops to pick up and drop their passengers. The boats are usually crowded during the rush hours of a working day.

Festivals
Boat Races
Boat Races The major annual regatta takes place in front of Wat Chaiyo Worawihan on the Chao Phraya River in October together with the Luang Pho To Worship Festival.

During October, boat races are also held at other riverside temples including Wat Pa Mok by the Chao Phraya River and Wat Pho Kriap by the Noi River in Amphoe Pho Thong. Famous boats from all over the country join the races.



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์