หมอกช้าง หมอกเป็นเม็ดๆจังหวัดน่าน

0

หมอกช้าง หากเป็นหมอกปกติธรรมดาก็พบได้กันทั่วไปอยู่แล้ว แต่หมอกช้าง คือหมอกเม็ดใหญ่ๆ ที่ตกลงมาคล้ายกับละอองของฝน รู้สึกได้เมื่อหมอกมาสัมผัสกับผิวหนังของเรา หมอกที่เป็นสายเป็นละอองเม็ดใหญ่ๆ แบบนี้ โบราณเขาเรียกกันว่า “หมอกช้าง” และที่ที่พบหมอกช้างและเป็นที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากๆ แห่งหนึ่งของเมืองไทยคือ เมืองน่าน เพราะตลอดเส้นทางของแม่น้ำน่านที่ไหลลงขนานมากับถนนสายเวียงสาน่าน และสายน่านไปท่าวังผา จะพบหมอกช้างได้เป็นปกติในช่วงหน้าหนาวหมอกมีส่วนทำให้เราเที่ยวได้อย่างสนุกและเพิ่มความสุขให้เราได้มากขึ้น บางคนก็ชอบหมอกมากเห็นหมอกก็ชอบถ่ายรูป ถนนสายหมอกที่คนนิยมไปถ่ายรูปเป็นที่ระลึกอีกแห่งหนึ่งคือที่ อำเภอปาย สายน้ำปายทำให้เกิดหมอก ทำให้นักท่องเที่ยวมีความสุขกันนับแสนนับล้านคนมาแล้ว ยิ่งหากเป็นหมอกช้าง หมอกเม็ดใหญ่ๆ ที่ตกลงมาจนเรารู้สึกเหมือนฝนตกก็จะชอบกันมั้ยน๊า…

และด้วยการที่หมอกตกลงมาเป็นสายเหมือนรากไม้ คนโบราณเขาจึงเรียกหมอกช้างอีกชื่อหนึ่งว่า “รากฝน” หากเช้าวันไหนหมอกช้าง หรือ รากฝน ลงจัดขับรถมอเตอร์ไซต์ไปตลาดเช้าๆ ก็จะเปียก ดังนั้นต้องใส่ผ้าป้องกันอย่างดี ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวจะรู้จักทะเลหมอก ซึ่งต้องขึ้นไปที่ยอดเขาสูงๆ และมองลงมาที่เป็นหุบเขา จะเห็นเป็นทะเลหมอกสวยมาก ทะเลหมอกในประเทศไทยมีหลายที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยก็ได้รวบรวมให้นักท่องเที่ยวไปเที่ยวกันดังนี้

ภาคเหนือ

  • ทะเลหมอกอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง จังหวัดเชียงใหม่ สามารถมองเห็นได้โดยไม่ต้องเดินป่า ยิ่งมาในในช่วงเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ จะเห็นซากุระบานหรือนางพญาเสือโคร่งอยู่ทั่วไป
  • ทะเลหมอกภูชี้ฟ้า จังหวัดเชียงราย อันดับหนึ่งของภาพทะเลหมอกอันแสนคลาสสิก มองเห็นหน้าผามุมฉากตัดกับทะเลหมอกเบื้องล่างในแผ่นดินลาว
  • ทะลหมอกม่อนกิ่วลม ม่อนครูบาใส ม่อนพูนสุดา ม่อนกระทิง อุทยานแห่งชาติแม่เมย จังหวัดตาก
  • ทะเลหมอกยอดโมโกจู  อุทานแห่งชาติแม่วงก์  จ.กำแพงเพชร  สวยงามดั่งฝัน แต่ต้องฝ่าฟันต้องเดินป่าค้างแรมแบบทรหดสุด ๆ ฤดูกาลท่องเที่ยวคือช่วงเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์
  • ทะเลหมอกที่เขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ชมได้สบาย ๆ ในรีสอร์ทบนเขา เพียงพยายามตื่นแต่เช้า ก็จะเห็นทะเลหมอกได้
  • ทะเลหมอกดอยหัวหมด อำเภออุ้มผางจังหวัดตาก เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ขาดไม่ได้ คู่กับน้ำตกทีลอซูและกิจกรรมล่องแก่งแม่กลอง
  • ทะเลหมอกภูทับเบิก  มีลานกางเต็นท์ที่จุดชมวิว มองเห็นทะเลหมอกยามเช้าและ”ดาวบนดิน” ในยามค่ำคืน เดือนตุลาคมชมแปลงปลูกกะหล่ำปลี ส่วนเดือนธันวาคม ชมดอกซากุระบาน
  • ทะเลหมอกดอยเสมอดาว อุทยานแห่งชาติศรีน่าน จังหวัดน่าน
  • ทะเลหมอกดอยมด ดอยลังกา อุทยานแห่งชาติขุนแจ จังหวัดเชียงราย
  • ทะเลหมอกที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน ที่ จซ.5 (แม่แจ่ม) จังหวัดลำปาง
  • ทะเลหมอกดอยปุกผักกา อุทยานแห่งชาติเชียงดาว อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
  • ทะเลหมอกอุทยานแห่งชาติขุนตาล ณ จุดชมวิว ย.4 จุดชมวิวโรงอาหาร
  • ทะเลหมอกอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ชมดอกชมภูภูคา ดอกไม้หากยากในเดือนกุมภาพันธ์
  • ทะเลหมอกยอดดอยหนอก อุทยานแห่งชาติดอยหลวง จังหวัดพะเยา ช่วงเดือนต้องเดินป่าระยะไกล
  • ทะเลหมอกอุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช จังหวัดตาก เหมาะมาดูช่วงสิงหาคม – ธันวาคม
  • ทะเลหมอกอุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์ จังหวัดแม่ฮ่องสอนบริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ สร.1, 2 และ 5 ช่วงเดือนพฤศจิกายนจะได้ชมทุ่งดอกบัวตอง
  • ทะเลหมอก อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย ณ จุดชมทิวทัศน์สโมสรครัวดอย เดือนตุลาคม – มีนาคม
  • ทะเลหมอก จุดชมทิวทัศน์ชมตะวัน ตาดเดือน อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ระหว่างพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์

ภาคอีสาน

  • ทะเลหมอกผานกแอ่น อุทยานแห่งชาติภูกระดึง จังหวัดเลย ตุลาคม – มกราคม  ชมป่าสน น้ำตก และเมเปิลเปลี่ยนสี
  • ทะเลหมอก อุทยานแห่งชาติภูเรือ จังหวัดเลย
  • ทะเลหมอกผาชนะได อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี พบเห็นได้ในช่วงพฤศจิกายน – ธันวาคม พร้อมกับชม พระอาทิตย์ก่อนใครในสยาม
  • ทะเลหมอกเนิน 1408 อุทยานแห่งชาตินาแห้ว จังหวัดเลย เดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ และชมน้ำตกตาด
    เหือง
  • ทะเลหมอกจุดชมวิวหินช้างสี อุทยานแห่งชาติน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ตุลาคม – ธันวาคม พร้อมกับชมทิวทัศน์อ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์
  • ทะเลหมอกภูก่อ อุทยานแห่งชาติภูผายล จังหวัดสกลนคร พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์

ภาคกลาง

  • ทะเลหมอกเขาพะเนินทุ่ง จุดชมวิว กม. 36 อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี มีให้ดูตลอดปี
  • ทะเลหมอกยอดเขาใหญ่ ในอุทยานแห่งชาติเขาแหลม จังหวัดกาญจนบุรี พฤศจิกายน – มกราคม ชมทิวทัศน์อ่างเก็บน้ำเขื่อนเขาแหลม
  • ทะเลหมอกบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี กันยายน – กุมภาพันธ์ และยังได้เที่ยวชมน้ำตกห้วยแม่ขมิ้นอันสวยงาม
  • ทะเลหมอก บริเวณจุดชมทิวทัศน์ อุทยานแห่งชาติปางสีดา จังหวัดสระแก้ว ตุลาคม – ธันวาคม เหมาะแก่การดูนก และเที่ยวน้ำตก
  • ทะเลหมอกอุทยานแห่งชาติพุเตย จังหวัดสุพรรณบุรี กันยายน – พฤศจิกายน ชมป่าสนสองใบแห่งเดียวในภาคกลาง
  • ทะเลหมอกสันมะค่า อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตุลาคม – กุมภาพันธ์ กิจกรรมมีทั้งเดินป่าและชมน้ำตก

หมอก (Fog) คือ ละอองน้ำเล็ก ๆ ที่เกิดจากการกลั่นตัวของไอน้ำในบรรยากาศใกล้ผิวโลกหรือหมอก คือเมฆที่เกิดในระดับใกล้พื้นโลกนั้นเอง

การเกิดหมอก

เกิดจากการกลั่นตัวขนาดเล็ก ทำให้เกิดน้ำค้าง น้ำค้างแข็ง หมอกไรม์ บริเวณใกล้พื้นดิน และมักเกิดในเวลากลางคืนหรือเช้า ๆ ที่อากาศเย็น กลางวันไม่ค่อยมีหมอก และส่วนใหญ่จะเกิดกับบริเวณที่อากาศเย็นท้องฟ้าแจ่มใสไม่มีลมหรือลมมีเล็กน้อย หมอกจะแพ้ลม หมอกเกิดในช่วงอากาศเย็นเป็นส่วนมาก เช่น กลางคืน เช้าตรู่ กลางวันก็มีแต่น้อย

เมื่ออากาศเย็น ไอน้ำในอากาศจะกลั่นตัว หมอกที่เกิดสูงขึ้นไปหน่อยเรียกว่า หมอกน้ำค้าง (Mist) ซึ่งอาจเกิดจกเมฆสเตรตัสที่มีฐานอยู่ใกล้พื้นดิน (เมฆถ้าขึ้นเครื่องบินดูจะเห็นว่ามันคล้ายภูเขา ) ส่วนหมอกฝุ่น (Dust fogs) หรือ หมอกควัน (Smoke Fogs) หมายถึง การสะสมของควันหรือฝุ่นในอากาศ ก็เรียกว่าหมอกได้เหมือนกัน ยังมีหมอกอีกแบบหนึ่งที่เกิดจากควันและฝุ่นมาก เกิดในเมืองที่มีมลภาวะทางอากาศ เช่น กรุงเทพ เราจะเรียกว่า หมอกบนควัน (Smog)

การเกิดหมอก แบบต่างๆ

  1. เกิดจากการแผ่รังสีความร้อน (Radiation fog) หรือหมอกบนพื้นดิน (Ground Fog) ในเวลากลางวันพื้นดินได้รับแสงอาทิตย์ และเย็นตัวลงในเวลากลางคืน (เพราะดินเป็นของแข็งจะคายความร้อนเร็วกว่าน้ำอยู่แล้ว) ดังนั้น อากาศที่มากระทบพื้นดินอากาศก็จะเย็นลงจนกลั่นตัวเป็นหมอก อุณหภูมิของอากาศต้องต่ำกว่าจุดน้ำค้าง หมอกแบบนี้มักเกิดในหุบเขา เนื่องจากอากาศเย็นจะลอยตัวต่ำลงรวมกันบริเวณหุบเขา ถ้าเกิดที่ขั้วโลกจะเรียกว่า หมอกน้ำแข็ง (Ice fog)
  2. หมอกแอดเวกชัน( Advection Fog) เมื่ออากาศ แบบว่าเมื่อมีกลุ่มอากาศที่ “ร้อนชื้น” เคลื่อนที่ผ่านไปบนพื้นที่(ในแนวนอน)ที่เย็นกว่า อากาศจะเย็นตัวลงและอาจจะอิ่มตัวจนกลั่นตัวเป็นหมอกได้ หมอกที่เกิดจากอากาศที่เคลื่อนที่ไปในแนวนอนเรียกว่า “หมอกแอดเวกชัน” มักเกิดตามชายทะเล ชายฝั่งโดยเฉพาะในฤดูร้อนที่พื้นดินร้อนกว่าน้ำทะเล (แปลว่าน้ำทะเลเย็นกว่าพื้นดินนั่นล่ะ) ดังนั้นหมอกแบบนี้จะเกิดในทะเล จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าหมอกทะเล (Sea Fog) ส่วนพื้นดินก็เกิดหมอกแบบนี้ได้เหมือนกัน โดยที่พื้นดินจะเย็นมากเช่นมีหิมะปกคลุม เมื่ออากาศร้อนชื้นผ่านไปจะกลั่นตัวคล้ายๆข้อที่ 1 การกลั่นตัวจะมรกานคายความร้อนแฝงออกมาทำให้หิมะละลายได้
  3. หมอกไอน้ำ (Steam Fog) เมื่ออากาศหนาวเคลื่อนที่ผ่านผิวน้ำที่ “อุ่นกว่า” อากาศข้างล่างจะถูกทำให้ร้อนขึ้น พื้นที่อุ่นกว่าจะมีการระเหยของไอน้ำมากไปยังด้านบนเพราะอากาศคลุกเคล้ากัน)อากาศด้านบนจะทำให้ไอน้ำ(ที่มาจากข้างล่าง) อิ่มตัวและกลั่นตัวเรียกว่าหมอกไอน้ำ พบมากที่อาร์กติก แอนตาร์กติก และเกิดในทะเลจึงเรียกว่า หมอกควันทะเล (Sea smoke)
  4. หมอกตามลาดเขา (Upslope Fog) เกิดเมื่ออากาศที่เคลื่อนที่ไปตามลาดเขา ตามแรงลมหรืออะไรก็ช่างมันเถอะ แต่เมื่อมันเคลื่อนไปตามลาดเขาที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ แน่นอนว่าอากาศที่สูงเย็นกว่าข้างล่างทำให้อากาศนั้นเย็นลงๆ จนถึงจุดน้ำค้าง และกลั่นตัวเป็นหมอก

ยังมีหมอกที่ผกผันตามความสูง (Inversion fog) ซึ่งมักเกิดตามที่สูง ๆ จากระดับน้ำทะเล 200 – 600 เมตร ปกติในระดับสูงหมอกจะมีความหนาน้อยแต่บางครั้งยิ่งสูงหมอกจะหนาแน่นมากขึ้นในขณะที่ใกล้พื้นดินกลับบางลง หมอกแบบนี้เรียกว่า หมอกผกผันตามสูง

ประเทศไทยยังมีชื่อเรียกหมอกอีกแบบที่เท่ห์มาก เรียกว่า “ฟ้าหลัว” เป็นหมอกที่ไม่หนาทึบ แต่จะบาง ๆ โดยมีมาตรวัดว่า ในระยะทางที่ไม่สามารถมองเกินไปมากกว่า 1 กิโลเมตร เราจะเรียกว่าสภาพฟ้าหลัว ที่เราได้ยินบ่อย ๆ ในวิทยุจะเห็นว่าหมอกเกิดจากการกลั่นตัวของน้ำในอากาศนั้นเอง ถ้าอากาศมีอุณหภูมิสูงกว่าจุดน้ำค้าง อากาศจะไม่อิ่มตัว จนกว่าจะเย็นลงถึงจุดน้ำค้างจึงจะกลั่นตัว

ถ้าอากาศที่ยังไม่อิ่มตัวทำให้เย็นลง ความชื้นจำเพาะก็ยังคงที่ แต่ถ้าอากาศที่อิ่มตัวทำให้เย็นลงความชื้นจำเพาะจะลดลงขณะที่ควมชื้นสัมพัทธ์ของอากาศจะเพิ่มชึ้น เช่น อากาศอุณหภูมิ 20 องศา และอุณหภูมิจุดน้ำค้างเท่ากับ 7 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศร้อยละ 50 ถ้าอากาศที่ว่านี้เย็นลง จนมีอุณหภูมิ 7 องศาฯ ความชิ้นสัมพัทธ์อาจเป็นร้อยละ 100 (ในขณะนั้นอากาศอิ่มตัว) ความชื้นจำเพาะของอากาศ และความชื้นจำเพาะของอากาศที่อิ่มตัวจะมีไอน้ำอยู่ 6 กรัม/ กิโลกรัมของอากาศ (ขณะที่อุณหภูมิของอากาศและอุณหภูมิของจุดอิ่มตัว) แต่ถ้าเย็นกว่านี้ (ต่ำกว่า 7 องศา) การกลั่นตัวจะเกิดขึ้น ไอน้ำบางส่วนจะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ

สรุปว่าการกลั่นตัวเกิดจาก

  1. อากาศร้อนเคลื่อนที่ผ่านไปที่เย็นกว่า
  2. การผสมกันของอากาศร้อนชื้นที่ไม่อิ่มตัวกับอากาศเย็นที่อิ่มตัว
  3. พื้นดินเย็นลงเนื่องจากไม่ได้รับความร้อนการแผ่รังสีรังสีจากดวงอาทิตย์
  4. อากาศลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบน

    ที่มาพจนานุกรม ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน

เชิญแสดงความคิดเห็น