ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี



| ย้อนกลับ |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |


     มรดกทางพระพุทธศาสนา
พระบรมธาตุเจดีย์

            ตามตำนานกล่าวว่า พระบรมสารีริกธาตุเสด็จมาสู่หาดทรายแก้ว โดยนางเหมชาลาฒ และพระธนกุมาร เมื่อประมาณปี พ.ศ.๘๓๔ จึงได้สร้างพระบรมธาตุ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ผู้ปกครองเมืองนครศรีธรรมราช จะก่อสร้างตกแต่งเพิ่มเติมอยู่เสมอ เพื่อสร้างสมความเลื่อมใสศรัทธาของประชาชน ที่มีต่อองค์พระบรมธาตุเช่น สมัยศรีวิชัยได้สร้างเป็นเจดีย์ทรงศรีวิชัย ต่อมาในรัชสมัยพระเจ้าจันทรภาณุ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๗๙๐ ได้ทรงสร้างเป็นเจดีย์ทรงลังกาครอบองค์เจดีย์เดิมแบบศรีวิชัยไว้ภายใน
            พระบรมธาตุเจดีย์ ประดิษฐานอยู่ภายในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นปูชนียสถานอันเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงสุดของชาวนครศรีธรรมราช และชาวใต้ทั้งปวง ไม่ปรากฎหลักฐานที่แน่นอนเกี่ยวกับประวัติการสร้างตามตำนานกล่าวว่า พระเจดีย์องค์เดิมสร้างตามความเชื่อของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๓๐๐ สมัยอาณาจักรตามพรลิงค์ ลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัย ต่อมาเมื่อได้มีการติดต่อสัมพันธ์กับพระภิกษุลังกา โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมราช ได้นิมนต์พระภิกษุลังกามาตั้งคณะสงฆ์ในเมืองนครศรีธรรมราชเป็นการสถาปนาพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ในระยะนั้นพระบรมธาตุองค์เดิมชำรุดทรุดโทรมมาก พระภิกษุลังกาจึงได้ช่วยกันบูรณะปฏิสังขรณ์ให้เป็นสถาปัตยกรรมแบบลังกา โดยสร้างพระสถูปแบบลังกาครอบองค์พระเจดีย์เดิม เป็นพระสถูปทรงโอคว่ำปากระฆังติดกับพื้นกำแพงแก้ว ที่มุมกำแพงแก้วมีพระบรมธาตุจำลองประดิษฐานอยู่ทั้งสี่มุม
    พระพุทธสิหิงค์

            พระพุทธสิหิงค์  เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองนครศรีธรรมราช ตามประวัติกล่าวว่า เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๗๙๓ พระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมราช ได้ยกกองทัพเรือไปตีเมืองลังกาครั้งที่ ๑ ได้พระพุทธสิหิงค์มา จึงได้ฉลองสมโภชรวมกับพระบรมธาตุเจดีย์ เมื่อปี พ.ศ.๑๗๙๓ โดยมีนางพญาเลือดขาวนำเสด็จแทนพระเจ้าจันทรภาณุจากลังกา
            พระพุทธสิหิงค์  มีลักษณะทางศิลปกรรมอยู่ในตระกูลช่างแบบนครศรีธรรมราชที่เรียกกันว่า แบบขนมต้ม ประดิษฐานอยู่ในหอพระพุทธสิหิงค์ ในบริเวณวังเจ้านครเก่า ปัจจุบันเป็นศาลากลางจังหวัด เปิดให้ประชาชนได้เข้าไปสักการะบูชาในเวลาราชการทุกวัน
            ในวันสงกรานต์ ชาวนครศรีธรรมราชจะอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์แห่ไปยังสนามหน้าเมือง เพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำ เพื่อความเป็นสิริมงคลเป็นประจำทุกปี
    วัดเขาขุนพนม

            วัดเขาขุนพนม ตั้งอยู่ที่เชิงเขาขุนพนม ในเขตตำบลบ้านเกาะ อำเภอพรหมคีรี เป็นวัดที่มีโบราณสถาน และโบราณวัตถุอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งของจังหวัดนครศรีธรรมราชไม่ทราบแน่ชัดว่าสร้างขึ้นเมื่อใด กล่าวกันว่าเดิมขื่อวัดเขาน้อย ตามตำนานสร้างพระธาตุกล่าวว่า เดิมชื่อวัดเขาคุมพนม ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นวัดเขาขุนพนมตามชื่อ ขุนพนมวัง กษัตริย์เมืองนครศรีธรรมราชราชบุตรเขยพระเจ้าอู่ทองแห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งได้เป็นผู้สร้างไว้เป็นที่หลบภัย เมื่อมีข้าศึกมาประชิด
            จาการศึกษารูปแบบของสถาปัตยกรรมของอุโบสถ ใบเสมา และศิลปวัตถุโบราณของสิ่งก่อสร้างบนเขาขุนพนม สันนิษฐานว่า น่าจะสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย หรือตอนต้นสมัยรัตนโกสินทร์

            โบสถ์มหาอุด  เป็นกอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา มีขนาดเล็กกว่าอุโบสถทั่วไป ส่วนฐานโบสถ์กว้าง ๕.๗๐ เมตร ยาว ๑๑.๒๐ เมตร ยกพื้นสูง ๑.๗๕ เมตร ฐานล่างสุดเป็นฐานเขียง และลดระดับชั้นเป็นฐานสิงห์ และบัวคว่ำตามลำดับ มีความสูงจากระดับพื้นภายนอกถึงระดับหลังขื่อ ๔.๑๐ เมตร มีบันไดทางขึ้นและประตูอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเพียงด้านเดียว ผนังด้านตะวันออกมีช่องแสงสองลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมย่อมุมตอนบนเป็นลักษณะรูปห้าเหลี่ยม ส่วนระดับเหนือช่องแสงทำเป็นช่องลมระบายอากาศในลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวตั้ง ผนังด้านทิศใต้เป็นผนังทึบ ภายในอุโบสถมีพระประธานเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ประดิษฐานบนฐานบัว มีพระสาวกซ้ายขวา ทางทิศตะวันตกของพระประธานมีบัวปูนปั้นบรรจุอัฐ

            บริเวณภายนอกพระอุโบสถ มีใบเสมาล้อมรอบอยู่แปดใบ วางอยู่บนฐานย่อมุมไม้สิบสอง  รูปแบบของใบเสมาเป็นลักษณะที่ได้รับอิทธิพลในสมัยอยุธยาตอนกลาง ถึงรัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๒ - ๒๓
            ศาลาการเปรียญ  เป็นแบบสถาปัตยกรรมไทย หลังคาแหลม มีช่อฟ้า ใบระกา และคันทวยรับหัวคาน เช่นเดียวกับวัดทั่ว ๆ ไป   ภายในศาลาการเปรียญมีพระพุทธรูปประธานองค์ใหญ่และพระสาวกซ้ายขวา

            ศาลพระเจ้าตาก  ตั้งอยู่บนเนินเขาใกล้ลานวัด  ภายในประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ ไว้เป็นที่เคารพสักการะของคนทั่วไป

            สระน้ำจืดขุนพนม  อยู่บริเวณใกล้วัดเขาขุนพนม  เป็นสระกว้าง  มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่ามีร่องรอยการขุดดินทำอิฐดินเผา เพื่อก่อสร้างพระอุโบสถ กุฏิและปูชนียสถาน มีอยู่สามแห่งด้วยกันคือ
                - ในบริเวณวัด ใกล้ประตูทางเข้า  เป็นสระลึก กว้างประมาณ ๓๐ เมตร มีเรื่องเล่าว่าแต่ก่อนมีหินอยู่ก้อนหนึ่ง
แผ่นใหญ่มาก อยู่ในสระนี้ เป็นที่ยืนอาบน้ำของพระนางเลือดขาว
                - สระอีกสองแห่งอยู่ไกลออกไปจากวัด ปัจจุบันหาร่องรอยไม่พบ
            ปัจจุบันยังมีเตาเผาอิฐอยู่ห่างจากเขาขุนพนมไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๔๐ เมตร แผ่นอิฐที่วัดเขาขุนพนมเป็นอิฐแผ่นโตที่ปรากฏอยู่ทั่วไป ณ บริเวณโบราณสถานของจังหวัดนครศรีธรรมราช

           โบราณวัตถุเขาขุนพนม  บนภูเขาขุนพนมมีเพิงผาและถ้ำ บริเวณดังกล่าวมีการก่อสร้างมีลักษณะเป็นกำแพงเมืองย่อส่วนก่ออิฐถือปูน สูงประมาณ ๒ เมตร มีซุ้มประตู ใบเสมา และทวารบาล ผนังกำแพงด้านนอกประดับด้วยถ้วยชาม หลังกำแพงทางด้านทิศใต้ มีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองอยู่สององค์  และที่เพิงผาทางขึ้นถ้ำด้านซ้ายมือหลังกำแพง ประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์  บริเวณหลังเพิงด้านขวามือ ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น   และเนินสูงทางด้านซ้ายมือของกำแพงเดิม เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท
ประเพณีในทางพระพุทธศาสนา
    ประเพณีทำบุญเดือนสิบ

            ประเพณีทำบุญเดือนสิบหรือประเพณีสารทเดือนสิบ เป็นประเพณีทำบุญกลางเดือนสิบ เพื่อนำเครื่องอุปโภคบริโภค รวมทั้งขนมห้าอย่างไปถวายพระภิกษุสงฆ์ แล้วอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษของตน
            ประเพณีนี้มีที่มาจากประเพณีเปตพลีของพราหมณ์ ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ต่อมาเมื่อพวกพราหมณ์ส่วนหนึ่ง ได้มานับถือพระพุทธศาสนา ก็ยังถือปฏิบัติตามประเพณีนี้อยู่  พระพุทธเจ้าเห็นว่าเป็นประเพณีที่แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี จึงทรงอนุญาตให้อุบาสกอุบาสิกา ประกอบพิธีนี้ต่อไปได้  ดังนั้นประเพณีทำบุญเดือนสิบ จึงมีมาแต่ครั้งพุทธกาล และเมื่อพระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้ามาในนครศรีธรรมราช จึงได้รับเอาประเพณีมาด้วย
            ความเชื่อในเรื่องนี้มีอยู่ว่าบรรพบุรุษและญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว หากทำความดีไว้ก็จะไปเกิดในสวรรค์  แต่ถ้าหากทำความชั่ว
ไว้ก็จะไปตกนรกกลายเป็นเปรต ต้องอาศัยผลบุญที่ลูกหลานอุทิศส่วนกุศลให้มายังชีพตน  ในวันแรมค่ำ เดือนสิบ บรรดาเปรตจะได้รับ
การปล่อยตัวมายังโลกมนุษย์เพื่อมาขอส่วนบุญและกลับไปนรกในวันแรมสิบห้าค่ำเดือนสิบ ดังนั้นระยะเวลาการประกอบพิธีสารท
เดือนสิบจะมีในห้วงระยะเวลาดังกล่าว แต่วันที่ชาวนครศรีธรรมราชนิยมทำบุญกันคือในวันแรม ๑๓ - ๑๕ ค่ำ
    ประเพณีกวนข้าวยาคู

            ข้าวยาคู มีชื่อเต็มว่า ข้าวมธุปายาสยาคู ตามพุทธประวัติกล่าวว่าเป็นข้าวที่นางสุชาดานำไปถวายพระสิทธัตถะขณะที่ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ก่อนที่จะทรงตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังจากที่พระองค์ได้เสวยข้าวมธุปายาสยาคู ของนางสุชาดา แล้วก็ได้ทรงบรรลุอภิสัมโพธิญาณในคืนนั้น
            พุทธศาสนิกชนชาวนครศรีธรรมราชเชื่อว่า ข้าวยาคูเป็นอาหารทิพย์ที่ช่วยให้สมองดี เกิดปัญญาแก่ผู้บริโภค ทำให้มีอายุยืนยาว มีผิวพรรณผ่องใส มีพลานามัยสมบูรณ์ และยังเป็นโอสถขนานเอกที่สามารถขจัดโรคได้ทุกชนิด นอกจากนี้ยังบันดาลความสำเร็จให้ผู้บริโภคสมปรารถนา ในสิ่งที่ปรารถนาได้อีกด้วย
            เดือนสามเป็นระยะเวลาที่ข้าวในนาออกรวง เมล็ดข้าวกำลังเป็นน้ำนม เหมาะสำหรับนำมากวนเป็นข้าวยาคู  ชาวบ้านจึงนิยมกวน
ข้าวยาคูในวันขึ้น ๑๓ - ๑๔ ค่ำ เดือนสาม โดยใช้วัดเป็นสถานที่กวนข้าวยาคู
            เครื่องปรุงข้าวยาคูมีมากกว่าห้าสิบชนิด มีทั้งพวกพืชผลและพืชสมุนไพร และผลไม้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นตามฤดูกาล จัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้
                -  น้ำนมข้าว  เป็นเครื่องปรุงที่สำคัญที่สุด ได้จากเมล็ดข้าวที่กำลังมีน้ำนม จะใช้กะลามะพร้าวรูดเมล็ดข้าวจากรวง  นำเมล็ดข้าว
ไปตำให้แหลกแล้วนำมาคั้นเอาน้ำนมข้าวแบบเดียวกับการคั้นกะทิ
                - ผลไม้ เช่น ขนุน มังคุด ละมุด อินทผาลัม กล้วย เงาะ มะละกอ ทุเรียน มะตูม พุทรา และผลไม้อื่น ๆที่มีตามฤดูกาลนำผลไม้ดังกล่าวปอกเปลือก แกะเมล็ดออกหั่น ต้อ เตรียมไว้
                -  พืชผัก ได้แก่ ข้าวฟ่าง ข้าวเม่า ข้าวตอก ฟักทอง ถั่วลิสงคั่ว เมล็ดผักชี หอม กระเทียม หั่น ซอย และทำให้ละเอียด
                -  พืชมีหัว ได้แก่ มันเทศ เผือก มันหอม มันล่า ปอกเปลือก แล้วนำไปต้มในน้ำกะทิ
                -  น้ำตาล น้ำผึ้งและนม ได้แก่ น้ำผึ้งรวง น้ำตาลปีบ น้ำตาลกรวด น้ำตายทราย น้ำอ้อย นมสด น้ำลำไย น้ำใบบัวบก
                -  พืชสมุนไพร ได้แก่ พริกไทย กระราน กานพลู งาแดง งาขาว ชะเอม ดีปลี ลูกจันทน์ รกจันทน์ ดอกจันทน์ นำมาคั่วให้มีกลิ่นหอม แล้วนำไปตำ ร่อนเอาแต่ส่วนละเอียด ส่วนขิงปห้ง หัวเปราะ หัวกระชาย หัวข่า อบเชย นำไปต้มแล้วกรองเอาแต่น้ำ
                -  แป้ง ได้แก่ แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว เวลาจะกวนจึงละลายในน้ำนมข้าว
                -  มะพร้าว นำไปขูดแล้วคั้นเป็นน้ำกะทิ จากนั้นนำไปเคี่ยวให้แตกมันจนเป็นน้ำมันมะพร้าว
            นำเครื่องปรุงทั้งหมดมาผสมเข้าด้วยกัน โดยแบ่งเครื่องปรุงทุกชนิดออกเป็นส่วน ๆ เท่า ๆ กัน ใส่ภาชนะโอ่งดินพักไว้
            การกวนข้าวยาคู ต้องใช้ความร้อนสูง เตาที่ใช้นิยมขุดลงไปในดิน ให้ความร้อนระอุอยู่ตลอดเวลา การกวนข้าวยาคูต้องใช้สาวพรหมจารี เป็นผู้เริ่มต้นกวนจนเสร็จพิธีสงฆ์ สาวพรหมจารีดังกล่าวต้องสมาทานเบญจศีลก่อนเข้าพิธีกวน โดยมีด้ายสายสิญจน์โยงจากพระสงฆ์มาผูกไว้ที่ไม้พายที่ใช้เป็นไม้กวน
            เริ่มพิธีกวน สาวพรหมจารีจับไม้กวน มีการลั่นฆ้องชัย ตั้งโห่สามลา พระสงฆ์สวดชยันโต ตั้งแต่เริ่มกวน เมื่อสวดจบถือว่าเสร็จพิธี ต่อไปใครมากวนก็ได้
            การกวนข้าวยาคูต้องกวนอยู่ตลอดเวลา เมื่อข้าวยาคูเริ่มเหนียวจะใช้น้ำมันมะพร้าวที่เคี่ยวไว้เติมลงในกะทะไม่ให้ข้าวยาคูติดไม้พาย ข้าวยาคูจะเปลี่ยนสีคล้ำเมื่อกวนเสร็จและมีกลิ่นหอมของเครื่องเทศ ระยะเวลาที่ใช้ในการกวนประมาณแปดถึงเก้าชั่วโมง ส่วนมากเริ่มกวนเวลา ๑๙.๐๐ นาฬิกา จนถึงประมาณ ๐๓.๐๐ นาฬิกา จึงแล้วเสร็จ
    ประเพณีลากพระ

            การลากพระ ชักพระหรือแห่พระเป็นประเพณีทำบุญในวันออกพรรษา โดยอัญเชิญพระพุทธรูปมาประดิษฐานในนมพระ แล้วแห่โดยการลากไปชุมนุมกัน ในบริเวณหมู่บ้าน ในวันแรมค่ำ เดือนสิบเอ็ด
            ประเพณีการชักพระ ในนครศรีธรรมราชได้ทำกันมานานกว่าพันปี พระภิกษุจีนชื่ออี้จิง ผู้จาริกแสวงบุญ ได้ผ่านมายังอาณาจักรตามพรลิงค์ ได้พบเห็นชาวเมืองทำพิธีชักลากพระ จึงได้บันทึกไว้ในจดหมายเหตุตอนหนึ่งว่า
            "พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งมีคนแห่แหนนำมาจากวัด โดยประดิษฐานบนรถหรือบนแคร่ มีพระสงฆ์และฆราวาสหมู่ใหญ่ห้อมล้อมมา มีการตีกลองและบรรเลงดนตรีต่าง ๆ มีการถวายของหอมและดอกไม้และถือธงชนิดต่าง ๆ ที่ทอแสงในกลางแดด พระพุทธรูปเสด็จไปสู่หมู่บ้านด้วยวิธีดังกล่าว"
            ที่มาของประเพณีนี้มีมาแต่พระพุทธประวัติเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จกลับมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลังจากที่พระพุทธองค์ได้เสด็จไปจำพรรษาที่นั้นเพื่อโปรดพระพุทธมารดา ได้เสด็จถึงนครสังกัสสะในเวลาเช้าตรู่ของวันแรมค่ำ เดือนสิบเอ็ด
            พุทธศาสนิกชนได้พากันไปรับเสด็จอย่างเนืองแน่น เตรียมภัตตาหารไปถวายและได้อัญเชิญพระพุทธองค์ขึ้นประทับบนบุษษก แล้วแห่แหนไปยังที่ประทับเนื่องจากผู้คนมีจำนวนมาก ทำให้ไม่สามารถเข้าไปถวายภัตตาหารถึงพระพุทธองค์ได้ทั่วทุกคน ผู้ที่ไปไม่ถึงจึงได้นำใบไม้มาห่อภัตตาหาร แล้วยื่นต่อ ๆ กัน เพื่อส่งไปยังบุษบกที่ประทับอยู่ บางคนก็โยนข้าว ปาบ้าง ด้วยอำนาจอธิษฐานของผู้มีจิตศรัทธาและพระอภินิหารของพระพุทธเจ้า ทำให้ภัตตาหารเหล่านั้นตกไปในบาตรของพระพุทธองค์ทั้งสิ้น
            วันชักลากพระจะทำในวันออกพรรษา คือวันแรมค่ำ เดือนสิบเอ็ดของทุกปี พุทธศาสนิกชนแต่ละวัดจะตกลงนัดหมายชักลากพระไปยังจุดศูนย์รวม ณ ที่นั้มีการแข่งขันตีโพน การประกวดนบพระ กลางคืนมีการเล่นมหรสพต่าง ๆ วันรุ่งขึ้นคือ วันแรมสองค่ำ เดือนสิบเอ็ด จึงพากันลากพระกลับวัด
            การเตรียมการเพื่อประกอบพิธีกรรมมีดังนี้
            การแต่งนมพระ  นมพระหรือพนมพระหมายถึง ยานพาหนะที่ใช้ประดิษฐานพระพุมธรูปปางอุ้มบาตรนิยมทำกันสองแบบ แบบที่ใช้ลากทางบกเรียกว่า นมพระ อีกแบบหนึ่งใช้ลากทางน้ำเรียกว่า เรือพระ การสร้างนมพระนิยมสร้างบนร้านม้า มีไม้สี่เหลี่ยมขนาดใหญ่สองท่อนรองรับข้างล่าง ไม้สองท่อนนี้สมมุติเป็นพญานาค ทางด้านหัวทำเป็นหงอน ทางด้านท้ายทำเป็นรูปหางพญานาค นิยมทำล้อเลื่อนด้วยไม้สี่ล้อไว้ในตัวพญานาคทั้งสองข้าง ด้านหน้าพญานาคทั้งสองมีเชือกขนาดใหญ่พอกำมือ ยาวประมาณ ๒๐ - ๓๐ เมตร ผูกอยู่ข้างละเส้นใช้สำหรับชักลากพระ ร้านม้าใช้ไม้ไผ่สานทำฝาผนัง มีลวดลาย และระบายสีสวยงาม ข้างนมพระมีโพนสองลูก กลอง ฆ้อง หรือระฆังอย่างละลูก บุษบกเป็นส่วนสำคัญที่สุด เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร ที่เรียกว่า พระลาก
            นมพระ  จะได้รับการตกแต่งงดงาม รอบ ๆ ประดับด้วยผ้าแพรสี ธงริ้ว และธงสามชายด้านละผืน มีธงราว ธงยืนห้อยระยาว ตกแต่งด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อย ใบ และทางมะพร้าว กิ่งไม้และใบไม้ที่มีสีสันงดงามประดับด้วยดอกไม้สด อุบะดอกไม้สดห้อยระย้า ตัวพญานาคตกแต่งประดับด้วยกระจกสีต่าง ๆ กลางลำตัวสร้างเป็นร้านสูง ๑.๕๐ เมตร สำหรับตั้งบุษบกประดิษฐานพระพุทธรูป ด้านหลังนมพระมีม้านั่งหรือธรรมาสน์สำหรับหมู่พระสงฆ์ ด้านหน้าพระพุทธรูปเป็นที่วางบาตร สำหรับรับต้มจากผู้ที่มาทำบุญ
            การหุ้มโพน  โพนเป็นเครื่องตี ใช้ประโคมพระลาก การหุ้มโพนใช้เวลานานนับเดือน มีกรรมวิธีที่ซับซ้อน แต่ละวัดต้องมีโพนสองใบ เสียงทุ้มหนึ่งใบ และเสียงแหลมหนึ่งใบ เสียงโพนเป็นจังหวะให้ความเร้าใจในขณะลากพระ
            การคุมพระ  เป็นวิธีการที่พุทธบริษัทของวัดตีโคม เป็นการประโคมก่อนถึงวันลากพระ โดยจะตีโพนเป็นระยะก่อนถึงวันรับลากพระประมาณหนึ่งถึงสองสัปดาห์ การคุมพระมักทำตอนกลางคืน เสียงโพนจะดังกังวานชัดเจนไปไกล
            การอัญเชิญพระลากขึ้นประดิษฐานบนนมพระ  เมื่อถึงวันขึ้นสิบห้าค่ำ เดือนสิบเอ็ด พุทธบริษัทจะอัญเชิญพระลากออกจากวิหารหรืออุโบสถ ทำความสะอาด สรงน้ำพระ ชะโลมเครื่องหอมต่าง ๆ แล้วเปลี่ยนจีวรให้สวยงาม มีพิธีสงฆ์สวดสมโภช มีการเทศนาในเรื่องเกี่ยวกับการเสด็จไปดาวดึงส์ของพระพุทธเจ้า จนถึงเสด็จกลับมายังมนุษยโลก
            การตักบาตรหน้าล้อ  ตอนเช้าตรู่ของแรมค่ำขึ้น เดือนสิบเอ็ด พุทธศาสนิกชนจะนำภัตตาหารมาตักบาตร ทางวัดจะตั้งโต๊ะบาตรเรียงอยู่หน้าพระลาก การตักบาตรหน้านมพระเรียกว่า บาตรหน้าล้อ แล้วจึงอัญเชิญพระลากขึ้นประดิษฐานบนบุษบกในนมพระ หลังจากพระสงฆ์ฉันภัตตาหารเช้าแล้ว พุทธบริษัทจะนำต้มซึ่งเป็นขนมชนิดหนึ่งทำจากข้าวเหนียว ห่อด้วยใบพ้อแล้วต้มให้สุก นำมาใส่บาตรและจัดแขวนต้มหน้าพระ เมื่อนมพระผ่านหน้าบ้านใคร คนในบ้านนั้นก็จะนำต้มออกมาทำบุญตลอดเส้นทาง
            การลากพระบก  เป็นการลากนมพระซึ่งต้อง   ใช้คนลากเป็นจำนวนมาก สมัยโบราณใช้ล้อไม้เลื่อนนมพระ ต้องมีเชือกสองสายแบ่งเป็นสายผู้หญิงและสายผู้ชาย เมื่อผ่านหน้าบ้านใคร คนที่อยู่ในบ้านจะออกมาช่วยกันลากพระไปจนไกลพอสมควร แล้วจึงมีคนลากจากบ้านถัดไปมารับทอดต่ออย่างไม่ขาดสาย คนลากจะประสานเสียงร้องบทลากพระ เพื่อเป็นการเสริมสร้างและผ่อนแรงไปในตัว
            วันรุ่งขึ้นเมื่อลากพระกลับวัด พุทธบริษัทจะช่วยกันทำความสะอาด เป็บพระลาก และเข้าของเครื่องใช้ให้เรียบร้อยเหมือนเดิม แล้วจึงแยกย้ายกันกลับ
            การลากพระน้ำ  เป็นการลากเรือพระ นิยมทำกันในพื้นที่ที่มีสภาพเป็นที่ลุ่มมีลำคลองมากได้แก่ พื้นที่อำเภอปากพนัง อำเภอหัวไทร อำเภอเชียงใหญ่ อำเภอชะอวด อำเภอฉวาง การเตรียมการก็เช่นเดียวกันกับการลากพระบก แต่เปลี่ยนจากนมพระบนล้อเลื่อนมาเป็นนมพระบนเรือ เรียกว่า เรือพระ โดยการนำเรือสองหรือสามลำมายึดโยงกัน เรียกว่า การคาดเรือพระ แล้วสร้างนมพระบนเรืออัญเชิญพระลากมาประดิษฐานบนเรือพระ การลากเรือพระใช้เรือพายเรือแจวหลายลำช่วยกันลาก พิธีกรรมต่าง ๆ และบทร้องที่ใช้ลากพระก็ปฎิบัติเช่นเดียวกัน
    ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ

            การแห่ผ้าขึ้นธาตุ  เป็นการแห่ผ้าผืนยาวไปบูชาพระธาตุ โดยการนำขึ้นโอบล้อมพระบรมธาตุเจดีย์ ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นประเพณีที่ชาวนครศรีธรรมราชและพุทธศาสนิกชนในจังหวัดต่าง ๆ ปฎิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลายาวนาน
            ในสมัยพระเจ้าศรีธรรมโศกราช เป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรตามพรลิงค์อยู่นั้น ได้มีการบูรณะปฎิสังขรณ์พระบรมธาตุเจดีย์ครั้งใหญ่แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.๑๗๗๓ ในขณะที่เตรียมการสมโภชพระบรมธาตุอยู่นั้น ได้มีชาวปากพนังมากราบทูลว่า คลื่นได้ซัดเอาผ้าแถบยาวผืนหนึ่ง มีภาพเขียนเรื่องพระพุทธประวัติที่เรียกว่า ผ้าพระบฎ พระองค์จึงให้ประกาศหาเจ้าของได้ความว่ามีชาวพุทธจากเมืองหงสากลุ่มหนึ่ง จะนำผ้าพระบฎไปบูชาพระพุทธบาทที่ลังกา แต่ถูกพายุพัดมาขึ้นที่ชายฝั่งปากพนัง พระเจ้าศรีธรรมโศกราชทรงมีพระราชดำริว่าควรนำผ้าพระบฎไปห่มพระบรมธาตุเจดีย์ เนื่อในโอกาสสมโภชพระบรมธาตุ เจ้าของผ้าบฎก็ยินดี กาแห่ผ้าขึ้นธาตุจึงมีมาตั้งแต่นั้น และดำเนินการสืบต่อมา จนเป็นประเพณีสำคัญของชาวนครศรีธรรมราชจนถึงปัจจุบัน
            แต่เดิมการแห่ผ้าขึ้นธาตุนิยมจัดทำปีละสองครั้งคือ ในวันขึ้นสิบห้าค่ำ เดือนสาม ซึ่งเป็นวันมาฆบูชา และในวันขึ้นสิบห้าค่ำ เดือนหก ซึ่งเป็นวันวิสาขบูชา โดยนำผ้าไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ณ วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร แต่ปัจจุบันนิยมทำปีละครั้งเดียวคือ ในวันมาฆบูชา วันเพ็ญเดือนสาม
            การเตรียมผ้าพระบฎ  ผ้าที่จะนำขึ้นห่มพระธาตุมักนิยมใช้ผ้าสีขาว เหลือง และแดง พุทธศาสนิกชนผู้ใดต้องการห่มผ้าพระธาตุ ก็จะเตรียมผ้าขนาดความยาวตามความศรัทธาของตน เมื่อไปถึงวัดก็จะนำผ้ามาผูกต่อกันให้ได้ความยาวพอที่จะห่มรอบองค์พระธาตุเจดีย์ได้ ผ้าห่มพระบรมธาตุเจดีย์ผืนพิเศษจะเขียนภาพพุทธประวัติทั้งผืนโดยช่างผู้ชำนาญการเขียนภาพแต่เดิม
            การจัดขบวนแห่ผ้าขึ้นพระธาตุ  เมื่อถึงวันแห่ผ้าขึ้นพระธาตุ จะเริ่มด้วยการจัดอาหารหวานคาว เครื่องอุปโภคและบริโภค ที่จำเป็นไปถวายพระสงฆ์ในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร โดยการหาบคอนกันไปเป็นขบวนแห่ที่สวยงาม พร้อมกับนำผ้าพระบฎ และผ้าสีเหลือง แดงหรือขาวไปวัด การแห่ผ้าขึ้นธาตุจะนัดหมายโดยพร้อมเพรียงกันเป็นขบวนใหญ่ แต่ปัจจุบันเนื่องจากมีผู้คนมาจากทั่งสารทิศ ขบวนแห่ขึ้นธาตุจึงมีตลอดทั้งวันโดยไม่ขาดสาย
            เดิมขบวนแห่ขึ้นธาตุทุกขบวนนิยมใช้ดนตรีพื้นบ้านนำขบวนได้แก่ ดนตรีโนรา แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเป็นกลองยาว ซึ่งบรรเลงจังหวะที่ครึกครื้น ขบวนแห่ผ้าขึ้นธาตุจะเดินเรียงแถวเป็ฯริ้วยาวไปตามความยาวของผืนผ้า ทุกคน (เทิน) ผ้าพระบฎไว้เหนือศีรษะ เพราะถือว่าผ้าพระบฎเป็นเครื่องสักการบูชาพระพุทธเจ้า จึงควรถือไว้ในระดับสูงกว่าศีรษะ
            การกราบผ้าพระบฎ  เมื่อขบวนแห่ผ้าขึ้นธาตุถึงวัดพระมหาธาตุ ฯ แล้ว ก็จะมีการทำพิธีกราบผ้าพระบฎ โดยมีหัวหน้าคณะกล่าวนำด้วยภาษาบาลี แล้วตามด้วยคำแปลมีความว่า
                "ข้าแต่พระผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าห่มพระธาตุนี้แก่พระพุทธเจ้า เพื่อเป็นพุทธบูชา ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอกราบไหว้ซึ่งพระเจดีย์ทั้งหลาย ในสถานที่นี้ ขออานิสงส์แห่งบุญกุศลของข้าพเจ้าทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายและญาติมิตรทั้งหลาย เพื่อความสุขความเจริญตลอดกาลนานเทอญ"
            การนำผ้าขึ้นห่มธาตุ  เมื่อกล่าวคำถวายผ้าพระบฎเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะแห่ทักษิณาวัตรรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์สามรอบแล้ว นำผ้าเข้าสู่วิหารพระทรงผ้า (พระวิหารมหาภิเนษกรมณ์) ผู้ร่วมในขบวนแห่จะส่งผู้แทนเพียงสามหรือสี่คน ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของวัดนำผ้าพระบฎขึ้นโอบล้อมพระบรมธาตุเจดีย์

| ย้อนกลับ | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์