ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี



| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

มรดกทางวัฒนธรรม

แหล่งโบราณคดี

            แหล่งโบราณคดีเมืองโบราณนครศรีธรรมราช  อยู่ในเขตตำบลในเมือง อำเภอเมือง ฯ  เป็นเมืองโบราณอยู่บนแนวสันทราย มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วางตัวตามแนวทิศเหนือ - ใต้ มีคูเมือง กำแพงเมืองล้อมรอบอย่างละหนึ่งชั้น มีความกว้างประมาณ ๕๐๐ เมตร ยาวประมาณ ๒,๒๔๐ เมตร  หน้าเมืองอยู่ทางทิศเหนือ คูเมืองทางทิศเหนือและทิศใต้ใช้ลำน้ำธรรมชาติเป็นแนวคูเมือง ได้แก่ คลองนครน้อย เป็นคูเมืองด้านทิศเหนือ และคลองปาเหล้า (คลองท่าดี) เป็นคูเมืองด้านทิศใต้  คูเมืองด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกเป็นคลองขุด ชักน้ำจากคลองธรรมชาติให้ไหลมาประจบกัน โบราณสถานที่เก่าที่สุดที่สามารถกำหนดอายุจากรูปแบบศิลปกรรมได้คือ พระบรมธาตุเจดีย์ที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นเจดีย์ทรงกลมศิลปะลังกาแบบที่พบในเมืองโปโลนนาลุวะ ประเทศศรีลังกา มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘
            แหล่งโบราณคดีวัดมเหยงคณ์ (ร้าง)  อยู่ที่บ้านลุ่มโหนด ตำบลสระแก้ว อำเภอท่าศาลา พบเนินโบราณขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๒ เมตร เป็นแนวกองอิฐกระจัดกระจายอยู่ตลอดเนิน พบชิ้นส่วนธรรมจักรดินเผา มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๓
            แหล่งโบราณคดีหาดทวนไม้สูง  อยู่ที่บ้านชุบโรง ตำบลสระแก้ว อำเภอท่าศาลา พบหลักฐานชุมชนโบราณนับถือพุทธศาสนา
ฝ่ายมหายาน มีการสร้างสถูปตามแบบวัชรยาน สำหรับบรรจุวัดถุมงคลและพระพิมพ์ มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘

            แหล่งโบราณคดีวัดพระนางตรา  อยู่ในเขตตำบลไทรบุรี อำเภอท่าศาลา พบซากอุโมงค์เก่าเหลือแต่ฐานเนินดิน ซากเจดีย์มีขนาด ๑๐ x ๑๐ เมตร  พบพระพิมพ์ดินเผาศิลปะแบบลพบุรี มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘ พระพุทธรูปสำริดปางแสดงธรรม มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙
            แหล่งโบราณคดีบ้าน  อยู่ในเขตตำบลถ้ำโลน อำเภอลานสกา พบประติมากรรมรูปปั้นเทวสตรี มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ - ๒๐
            แหล่งโบราณคดีวัดหว้ายาน (ร้าง)  อยู่ในเขตตำบลมะม่วงสองต้น อำเภอเมือง ฯ พบพระพุทธรูปศิลปะทวาราวดี สูง ๑๐๕ เซนติเมตร พระเศียรและพระหัตถ์ทั้งสองข้างหักหายไป  สันนิษฐานว่าเป็นปางแสดงธรรม ห่มจีวรแบบคลุม จีวรบางแนบพระองค์ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับชุมชนทวาราวดี ในภาคกลางของประเทศไทย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒
            แหล่งโบราณคดีบ้านเทพราช  อยู่ในเขตตำบลเทพราช อำเภอสิชล เป็นเนินโบราณสถานรูปร่างเกือบกลม มีขนาดประมาณ ๒๐ x ๒๐ เมตร สูงจากพื้นที่โดยรอบประมาณ ๑ เมตร มีสระน้ำโบราณอยู่สามสระตั้งอยู่ทางทิศเหนือ ทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของเนินโบราณสถาน
            แหล่งโบราณคดีบ้านนาเหรง  อยู่ในเขตตำบลนากราย อำเภอท่าศาลา พบเนินโบราณสถานขนาด ๓๐ x ๓๒ เมตร  สระน้ำโบราณ บ่อน้ำโบราณ และโบราณวัตถุได้แก่ฐานโยนี ธรณีประตู กรอบประตู
            แหล่งโบราณคดีบ้านนูด   อยู่ในเขตตำบลลาย อำเภอท่าศาลา พบเนอนดินโบราณสถาน เป็นเนินดินรูปร่างเกือบกลม ขนาด ๒๐ x ๒๗ เมตร สูงจากพื้นที่โดยรอบประมาณ ๑ เมตร พบสระน้ำโบราณสองสระ

            แหล่งโบราณคดีวัดเกาะพระนารายณ์  อยู่ในเขตตำบลไทรบุรี อำเภอท่าศาลา พบเนินดินโบราณสถานและเทวรูปพระวิษณุสององค์ มีอายุอยู่ประมาณครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๑๓

            แหล่งโบราณคดีโมคลาน  อยู่ที่บ้านโมคลาน ตำบลโมคลาน อำเภอท่าศาลา พบเนินดินโบราณสถานขนาดใหญ่ เป็นที่ตั้งชุมชนโบราณ นับถือศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๖ พบซากโบราณสถาน ซึ่งน่าจะเป็นทรากเทวาลัย ชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมได้แก่ ฐาน เสาอาคาร ธรณีประตู กรอบประตู หลักหิน บางหลักมีการแกะสลักลวดลาย ศิวลึงค์ศิลา ฐานโยนี และพบว่าชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมในศาสนาพราหมณ์ได้ถูกดัดแปลงเป็นพุทธสถาน พบชิ้นส่วนพระพุทธรูปปูนปั้น เม็ดพระศกพระพุทธรูป มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๓ ในสมัยอยุธยา
            แหล่งโบราณคดีทุ่งน้ำเค็ม  อยู่ในเขตตำบลโมคคัลาน อำเภอท่าศาลา ห่างจากแหล่งโบราณคดีโมคคัลลานไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือสองกิโลเมตร สภาพเป็นที่ราบลุ่ม อยู่ระหว่างคลองโต๊ะเน็งและคลองอู่ตะเภา พบเหรียญกษาปณ์แบบทวารวดีบรรจุอยู่ในไหจำนวน ๑๕๐ เหรียญ มีลวดลายสัญลักษณ์เป็นรูปพระอาทิตย์และศรีวัตสะ มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔
            แหล่งโบราณคดีบ้านตีน  อยู่ในเขตตำบลฉลอง อำเภอสิชล
            แหล่งโบราณคดีบ้านสีสา  อยู่ในเขตตำบลเปลี่ยน อำเภอสิชล เป็นโบราณสถานรูแสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด ๒๕ x ๔๖ เมตร สูงประมาณ ๔ เมตร พบแผ่นธรณีประตูและสระน้ำโบราณ
            แหล่งโบราณคดีบ้านหัวทอน  อยู่ในเขตตำบลเสาเภา อำเภอสิชล ลักษณะเป็นเนินดินรูปสี่เหลี่ยมคางหมู มุมมน ขนาด ๔๒ x ๕๘ เมตร สูงประมาณ ๕ เมตร พบศิวลึงค์หนึ่งชิ้น มีลักษณะที่น่าจะแสดงพัฒนาการระหว่างกลุ่มศิวลึงค์แบบเหมือนจริงกับกลุ่มประเพณีนิยม โดยมีสัดส่วนของพรหมภาค วิษณุภาค และรุทธภาค ไม่เท่ากัน ส่วนรุทธภาคมีขนาดใหญ่และสูงกว่า มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๒ พบสระน้ำโบราณและบ่อน้ำโบราณ เป็นบ่อทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางสามเมตร
            แหล่งโบราณคดีวัดเบิก  อยู่ที่บ้านดอนม่วง ตำบลฉลอง อำเภอสิชล พบเนินโบราณสถานและสระน้ำโบราณ ชิ้นส่วนสถาปัตยกรรม ได้แก่ กรอบประตู จำนวน ๓ ชิ้น
            แหล่งโบราณคดีบ้านนาหัน  อยู่ในเขตตำบลฉลอง อำเภอสิชล มีลักษณะเป็นเนินดินสูงประมาณเจ็ดเมตร พบฐานเสาแผ่นธรณีประตูทำจากหินปูน
            แหล่งโบราณคดีวัดจอมทอง  อยู่ที่บ้านจอมมทอง ตำบลสิชล อำเภอสิชล พบพระวิษณุศิลา อายุปประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๓ พบชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมได้แก่ ธรณีประตู มีอยู่ชิ้นหนึ่งมีจารึกอักษณปัลลวะ รุ่นเดียวกับที่พบในศิลาจารึกหุบเขาช่องคอย พบกรอบประตู พระพุทธรูปมีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘ และพระพิมพิ์เป็นจำนวนมาก มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๙

            แหล่งโบราณคดีวัดนาขอม (ร้าง)  อยู่ที่บ้านนาขอบ ตำบลสิชล อำเภอสิชล พบเนินโบราณสถานขนาดใหญ่ กลางเนินพบศิวลึงค์ห้าชิ้น แต่ละชิ้นมีขนาดต่างกัน ตั้งแต่ขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่มาก มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๓ พบพระพิมพิ์ดินเผาศิลปะเขมร เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งอยู่ในซุ้มเรือนแก้วหกองค์ องค์ประธานนั่งอยู่ในซุ้มเรือนแก้วทรงปราสาทเขมร มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘ พบเครื่องถ้วยจีนแบบลายครามสมัยราชวงศ์เหม็ง เครื่องถ้วยสุโขทัย ลักษณะเป็นกระปุกขนาดเล็ก บรรจุเถ้าอิฐของคนตายแล้วนำไปบรรจุไว้ตามเจดีย์ พบพระพุทธรูปศิลปะท้องถิ่นนครศรีธรรมราช สร้างเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๒ แหล่งโบราณคดีแห่งนี้เดิมคงเป็นเทวสถานพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายมาก่อน จนประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗ จึงได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นวัดในพระพุทธศาสนา มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวณณาที่ ๑๒ - ๒๒
            แหล่งโบราณคดีบ้านไสสับ  อยู่ในเขตตำบลฉลอง อำเภอสิชล มีลักษณะเป็นเนินสูงเหมือนจอมปลวก พบอิฐจำนวนมาก เมื่อขุดลงไปในเนินนั้น เมื่อรื้ออิฐออกพบหิน เมื่อขุดลึกลงไปจากผิวดินลึกหนึ่งเมตรได้พบฐานโยนิ ฐานเสาและธรณีประตู
            แหล่งโบราณคดีวัดพระโอน (ร้าง)  อยู่ในเขตตำบลฉลอง อำเภอสิชล พบเนินโบราณ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด ๒๕ x ๓๖ เมตร สูงประมาณ ๒ เมตร พบบ่อน้ำโบราณรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสหนึ่งบ่อ มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตววรรษที่ ๑๑ - ๑๔
            แหล่งโบราณคดีเขาคา  อยู่ในเขตตำบลเสาเภา อำเภอสิชล พบเทวสถานพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย บนยอดเขาคาคงเป็นที่ประดิษฐานเทวาลัย ที่สำคัญที่สุดในละแวกนี้ โดยมีแหล่งเทวาลัยเล็ก ๆ ที่พบกระจายอยู่รอบเขาคาเป็นบริวาร สิ่งสำคัญที่พบบนเขาคาคือ เทวสถานสี่หลัง สระน้ำโบราณสามสระ ศาสนาสถานที่ตั้งศิวลึงค์หนึ่งแห่ง พบชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมได้แก่ ฐานเสา ธรณีประตู กรอบประตู เศษอิฐ ประดับอาคาร โบราณวัตถุได้แก่ ฐานโยนี พระวิษณุศิลา ท่อโสมสูตร มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔
            แหล่งโบราณคดีบ้านต่อเรือ (วัดเทพราช - ร้าง)  อยู่ในเขตตำบลเทพราช อำเภอสิชล ลักษณะเป็นเนินรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสมุมมน ขนาดประมาณ ๔๕ - ๔๕ เมตร พบสระน้ำหนึ่งสระและศิวลึงค์ขนาดใหญ่ มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๓
            แหล่งโบราณคดีบ้านไสหิน  อยู่ในเขตตำบลเสาภา อำเภอสิชล พบเนินโบราณสถานรูปสี่ดหลี่ยมผืนผ้า ขนาด ๕๓ x ๙๐ เมตร สูงประมาณ ๒ เมตร พบชิ้นส่วนสวถาปัตยกรรมได้แก่ ฐานเสา อาคาร และสระน้ำโบราณสองสระ
            แหล่งโบราณคดีบ้านพรหมโลก  อยู่ในเขตตำบลพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี ตั้งอยู่ระหว่างคลองปลายอวนกับคลองนอกท่า พบศิวลึงค์ขนาดใหญ่ มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔

            แหล่งโบราณคดีวัดคันนาราม  อยู่ที่บ้านนาสาร กิ่งอำเภอพระพรหม พบเศียรพระพุทธรูปศิลา สูง ๓๐ เซนติเมตร เป็นพระพุทธรูปศิลปอินเดียและชวา พระพักตร์อิ่มรูปสี่เหลี่ยม เม็ดพระศกรูปหอยใหญ่ อุษณีษะเป็นรูปกรวย พระเนตรเหลือบมองต่ำ พระโอษฐ์เล็ก อันเป็นลักษณะพระพุทธรูปแบบภาคใต้ มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔

            แหล่งโบราณคดีวัดพระเพรง  อยู่ใกล้วัดพระเพรง ในเขตตำบลนาสาร กิ่งอำเภอพระพรหม มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๐ - ๑๑ พบเทวรูปพระวิษณุศิลา ประทับยืนบนปัทมอาสน์ ทำด้วยสำริด สูง ๑๙ เซนติเมตร มีสี่กร พระหัตถ์หน้าขวาแสดงปางประทานพร พระหัตถ์หน้าซ้ายถือนิโลตบล (ดอกบัวสีน้ำเงิน) พระหัตถ์หลังขวาถือลูกประคำ พระหัตถ์หลังซ้ายถือหนังสือ เกล้าพระเกศาเป็นมวยทรงสูง เรียกชฎามงกุฎ มีรูปพระธยานิพุทธอมิตาภะ ปางสมาธิประดับบนมวยผม คล้องสายยัชโญปวีด เฉียงบนพระอังสะซ้าย ทรงผ้ายาวกรอบพระบาทคาดทับด้วยหนังสือที่บริเวณพระโสณี จะเห็นหัวเสือที่พระโสณีเบื้องขวา มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔
            แหล่งโบราณคดีวัดโพธิ์ท่าเรือ (ร้าง)  อยู่ในเขตตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง ฯ เดิมมีซากเจดีย์อยู่เก้าองค์ มีพระพุทธรูปหินทรายแดงสามองค์ เมื่อมีการขุดเจดีย์ไเด้พบพระพิมพ์ทั้งที่เป็นดินเผาและเนื้อชินเงิน ศิลปะลพบุรี มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พบชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมได้แก่ เสาหิน แกะสลักลวดลาย คล้ายกับเสาหินที่พบที่แหล่งโบราณคดีโมคลาน แต่ที่โคนเสาแกะสลักลวดลายดอกไม้ พบแผ่นหินขนาดกว้างประมาณ ๓๖ - ๔๒ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑๒๕ - ๑๘๐ เซนติเมตร หนาประมาณ ๒๑ - ๓๐ เซนติเมตร จำนวนเจ็ดแผ่น แกะสลักตรงกลางเป็นลายดอกไม้ห้ากลีบ ที่บริเวณทั้งสองข้างของแวผ่นหินแกะสลักเป็นรูปคล้ายบัวหัวเสา คล้ายกับศิลปะโจฬะตอนปลาย มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙

            แหล่งโบราณคดีบ้านท่าเรือ  อยู่ในเขตตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง ฯ ในคลองท่าเรือ พบเครื่องถ้วยชามจีนจำนวนมากจมอยู่ในคลอง เป็นเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ถัง เป็นไหเคลือบสีเขียวมะกอก มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๕ เครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ซ้อง เช่น ตลับเคลลือบสีเขียว ชามเซลาดอนเคลือบสีเขียว มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ - ๑๙
            แหล่งโบราณคดีกลุ่มชุมชนโบราณคลองท่าเรือ  น่าจะเป็นแหล่งเมืองเก่าค้าขายกับดินแดนโพ้นทะเลมาตั้งแต่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ โดยใช้คลองท่าเรือเป็นเส้นทางคมนาคม ค้าขายแลกเปลี่ยนต่อ ๆ กันมาเป็นเวลากว่าพันปี

            แหล่งโบราณคดีเมืองโบราณพระเวียง  อยู่ในเขตตำบลเมือง อำเภอเมือง ฯ เป็นเมืองโบราณตั้งอยู่บนแนวสันทราย อยู่ถัดจากเมืองโบราณนครศรีธรรมราช ลงมาทางทิศใต้ประมาณ ๖๐๐ เมตร ผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตามแนวทิศเหนือ - ทิศใต้ มีคูเมืองล้อมรอบหนึ่งชั้น ตัวเมืองกว้างประมาณ ๔๕๐ เมตร ยาวประมาณ ๑,๑๐๐ เมตร คูเมืองวด้านวทิศเหนือและทิศใต้ ลำน้ำธรรมชาติเป็นแนวคูเมืองได้แก่ คลองสวนหลวงและคลองคูพาย ด้านทิศตะวันตกเป็นคลองหัวหว่อง และด้านทิศตะวันออกเป็นคลองขุดเชื่อมชักน้ำจากคลองธรรมชาติ ทำให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

            ภายในเมืองมีวัดโบราณ๊อยู่หลายแห่งได้แก่ วัดสวนหลวงตะวันออก (ร้าง) ปัจจุบันเป็นที่ตั้งพิพิทธภัณฑ์สถานแห่งชาตินครศรีธรรมราช เคยขุดพบภาชนะดินเผาลักษณะเป็นหม้อปากผายมีเชิง บริเวณลำตัวและไหล่ภาชนะ ตกแต่งด้วยลายก้านขดเครือเถา ลักษณะคล้ายกับลวดลายในศิลปะชวาภาคกลาง ที่มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔ นอกจากนี้ยังพบกุณทีทรงกลมคอกว้าง มีพวยคล้ายกับกุณทีของจีน มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐
            แหล่งโบราณคดีวัดสระเหรียงหรือวัดสระเนรมิต  อยู่ในเขตตำบลเสาธง อำเภอร่อนพิบูลย์ พบเนินโบราณสถานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด ๕๒ - ๕๘ เมตร มีกำแพงแก้วก่ออิฐล้อมรอบทั้งสี่ด้าน เนินสูงประมาณ ๔ เมตร มีคูน้ำกว้างประมาณ ๑๐ เมตร ล้อมรอบ พบชิ้นส่วนอาคารสถาปัตยกรรมใต้ฐานเสาอาคารสี่เสา ธรณีประตูหินปูนหนึ่งชิ้น และเศษอิฐกระจายอยู่ทั่วไป ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ห่างจากโบราณสถานประมาณ ๑๐๐ เมตร มีสระน้ำโบราณหนึ่งสระ ขนาดประมาณ ๖๐ - ๖๐ เมตร เนินดินแห่งนี้น่าจะเป็นเทวาลัยของพราหมณ์มาก่อน มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔
            แหล่งโบราณคดีทั้ง ๑๒ แห่งนี้ แสดงหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนนแรกเริ่มประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๐ - ๑๑ เป็นต้นมา เว้นแต่กลุ่มชนโบราณคลองท่าเรือแห่งเดียวที่มีอายุเก่าไปถึงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๐ - ๑๑
 

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์