ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี



| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

สมัยประวัติศาสตร์
            ระยะเวลาที่จัดว่าเมืองนคร ฯ เข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์คือ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒ โดยถือเอาจารึกอักษรโบราณที่พบในเมืองนคร ฯ เป็นเกณฑ์ อาจแบ่งตามระยะเวลาได้ดังนี้

            สมัยจารึกรุ่นแรก  หลักฐานสำคัญคือการพบศิลาจารึก อักษรปัลลวะ สามหลักคือ
                -  จารึกหุบเขาช่องคอย  พบที่เขาช่องคอย บ้านควนลำแพน ตำบลควนเกย อำเภอร่อนพิบูลย์ เป็นจารึกบนแท่งหินติดกับภูเขา อักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ เป็นจารึกของกลุ่มชนที่นับถือศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ได้กำหนดบริเวณหุบเขาช่องคอยเป็นศิวสถาน เพื่อปฏิบัติศาสนกิจ พร้อมกับธรรมสั่งสอนชุมชนในที่นั้น
                -  จารึกวัดมเหยงค์  (จารึกหลักที่ ๑๗ หรือ พ.ศ.๑๐) พบที่วัดมเหยงค์ อำเภอเมือง ฯ เป็นศิลาจารึกสีดำ รูปสี่เหลี่ยม สภาพชำรุด จารึกอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ กล่าวถึงรายละะเอียดของการปฏิบัติศาสนกิจ

                -  จารึกวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร (จารึกหลักที่ ๑๘ หรือ พ.ศ.๓)  พบที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมือง ฯ เป็นศิลาจารึกแท่งสี่เหลี่ยม อักษรปัลลวะ ภาษามอญโบราณ มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒  แปลความได้ว่า " รูปจำลองพ่อมายา แห่งหัวเมืองชั้นนอก ผู้งามสง่าประดุจถ่านไฟที่กำลังลุกโชน
            จารึกอักษรปัลลวะทั้งสามหลักที่พบนี้ แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างดินแดนเมืองนคร ฯ กับอินเดียอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร เนื้อหาสาระของจารึกเน้นไปในทางหลักธรรมคำสั่งสอน อันเป็นหัวใจของศาสนา ซึ่งเป็นที่มาของกฎเกณฑ์ทางวัฒนธรรม ชาวอินเดียที่เข้ามาคงมีหลายกลุ่ม เขียนหนังสือด้วยอักษรปัลลวะเหมือนกัน แต่ใช้ภาษาต่างกัน เช่น ภาษาสันสกฤต ภาษามอญ ภาษาทมิฬ ซึ่งเป็นหลักฐานทางโบราณคดี ที่มีอายุตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒ ขึ้นไป กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ราบระหว่างเทือกเขานครศรีธรรมราช กับชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ตั้งแต่อำเภอสิชล อำเภอท่าศาลา อำเภอเมือง ฯ อำเภอร่อนพิบูลย์ หลักฐานดังกล่าวเป็นโบราณสถานและโบราณวัตถุ ซึ่งส่วนใหญ่แสดงอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ ทั้งที่เป็นไศวนิกายและไวษณพนิกาย ส่วนศาสนาพุทธก็ปรากฎอยู่บ้างแต่ไม่โดดเด่น
            อาณาจักรศรีวิชัย  ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๖ มีหลักฐานหลายประการแสดงว่าดินแดนในบริภาคคาบสมุทรภาคใต้ ตลอดไปจนถึงเกาะชวาตอนกลาง น่าจะมีรูปแบบการปกครอง และศิลปวัฒนธรรมอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทำให้เรียกขอบเขตการปกครองภูมิภาคนี้ว่า อาณาจักรศรีวิชัย และเรียกศิลปวัฒนธรรมของผู้คนในภูมิภาคนี้ว่า ศิลปวัฒนธรรมศรีวิชัย
            จากการแปลเอกสารจดหมายเหตุการเดินทางไปสืบศาสนาของภิกษุอี้จิง ในปี พ.ศ.๑๒๑๔ มีบันทึกบางตอนว่า "เมื่อถึงฤดูมรสุมเราแล่นเรือไปทางใต้ ใช้เวลาไม่น้อยกว่า ๒๐ วัน ถึงโฟ - ชิ ซึ่งข้าพเจ้าใช้เวลาหกเดือนศึกษาไวยาการณ์สันสฤกต พระเจ้าแผ่นดินทรงเมตตาส่งข้าพเจ้าไปถึงประเทศโมโลยู ที่ซึ่งข้าพเจ้าพำนักอยู่สองเดือน ต่อจากนั้นข้าพเจ้าก็ได้เปลี่ยนทิศทางไปถึงเคียะ - ขะ แล่นเรือไปอีกครึ่งเดือน ก็มาถึง ตัน - โบ - อิ - ติ"
                "ตัน โม ลิ ติ เป็นที่ลงเรือเพื่อจะกลับไปประเทศจีน เราแล่นเรือไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ใช้เวลาสองเดือน ก็มาถึง เคียะ - ขะ (เคดาห์)  ในช่วงนี้เรือจากโฟ - ชิ จะมาถึง ปกติจะมาในเดือนแรกหรือเดือนที่สองของปี เราอยู่ที่ เคียะ - ขะ จนถึงฤดูหนาว จากนั้นก็ลงเรือมุ่งหน้าไปทางใต้หนึ่งเดือนก็ถึงประเทศ โบ - โล - ยู ซึ่งขณะนั้นกลายเป็น โฟ - ชิ ไปแล้ว ปกติเราจะมาถึงที่นี่ในเดือนแรกหรือเดือนที่สอง เราพำนักอยู่ที่นี่จนกระทั่งถึงฤดูร้อน เราจึงแล่นเรือขึ้นเหนือไปถึง กวาง - ฟู (กวางตุ้ง) ในราว ๆ หนึ่งเดือน การเดินทางสิ้นสุดลงในเดือนสุดท้ายของครึ่งแรกของปีนั้น
            ในเมือง โฟ - ชิ ซึ่งมีกำแพงล้อมรอบ มีภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนาอยู่กว่าพันรูป ท่านเหล่านี้มีจิตโน้มน้อมในการศึกษา และการบำเพ็ญกุศล ด้วยการพิจารณา และศึกษาทุกสิ่งทุกอย่างเท่าที่จะกระทำได้ คล้ายกับที่ในมัธยมประเทศ กฎและกิจพิธีทุกอย่างก็คล้ายคลึงกัน ถ้าภิกษุจีนประสงค์จะเดินทางไปยังทิศตะวันตกเพื่อฟังและอ่าน (คัมภีร์) แล้ว ก็สมควรที่จะพักอยู่ที่อาณาจักรโฟ - ชิ นี้สักหนึ่งหรือสองปี เพื่อฝึกหัดปฎิบัติตามกฎนั้น แล้วจึงค่อยเดินทางไปยังภาคกลางของประเทศอินเดียต่อไป "
            มาซูดี นักภูมิศาสตร์ชาวอาหรับ (พ.ศ.๑๕๓๘) ได้กล่าวถึงความมั่นคงของอาณาจักรศรีวิชัยไว้ว่า "อาณาจักรของมหาราช พระราชาแห่งหมู่เกาะซาบัก ซึ่งมีกะลาห์ศรีบุซา และเกาะอื่น ๆ ในทะเลจีนนั้น เขาถวายพระนามพระราชาทุกพระองค์ว่ามหาราช อาณาจักรของมหาราชนี้มีประชาชนเป็นจำนวนมาก และกองทัพก็ใหญ่หลวง ไม่มีผู้ใดสามารถเดินเรือที่เร็วที่สุดไปรอบบรรดาเกาะซึ่งมีประชาชนอยู่อย่างหนาแน่นเช่นนี้ได้รอบภายในสองปี พระราชาทรงมีเครื่องหอม และไม้หอมนานาชนิด ซึ่งพระราชาองค์อื่นไม่ทรงสามารถมีได้ ดินแดนของพระองค์ผลิตการบูร ไม้กฤษณา กานพลู ไม้จันทร์ ชะมดเชียง กระวาน ดีปลี"
            ต่อมาได้มีการพยายามประสานและเชื่อมโยงเรื่อง โฟ - ชิ ซาบัก และศรีวิชัย ให้เป็นนามเดียวกัน แต่มีการเรียกเพี้ยนไปตามสำเนียงของชาวต่างชาติ สาเหตุที่อาณาจักรแห่งนี้ชื่อ ศรีวิชัย เพราะยอร์ช เซเดส์ ได้อ่านพบชื่อนี้จากจารึกหลักหนึ่งในภาคใต้ ซึ่งมีคำว่า ศรีวิชัย ปรากฎอยู่
            ต่อมา ยอร์ช เซเดส์ ได้พบและอ่านจารึกอีกสี่หลัก ซึ่งพบบนเกาะสุมาตราใกล้เมืองปาเล็มบัง ปรากฎชื่อศรีวิชัยอยู่ด้วย ทำให้มีการตีความว่า ที่ตั้งและเมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัย อยู่ที่เมืองปาเล็มบัง จารึกทั้งสี่หลักดังกล่าวเป็นภาษามลายูโบราณ แสดงว่าอาณาจักรนี้นับถือพระพุทธศาสนาในระหว่างปี พ.ศ.๑๒๒๕ - ๑๒๒๙
            ภาพรวมของศรวิชัย เป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่มั่นคง เพียบพร้อมด้วยแสนยานุภาพทางทหาร โดยเฉพาะกองทัพเรือ หลักฐานที่เป็นของท้องถิ่นในภูมิภาคนี้ได้แก่ จารึกที่ปาเล็มบังสองหลัก จารึกที่การังบราหิหนึ่งหลัก จารึกที่เกาะบังกาหนึ่งหลัก จารึกทั้งสี่หลักเป็นภาษามลายูโบราณมีคำว่า ศรีวิชัย อยู่ด้วย มีอายุระหว่างปี พ.ศ.๑๒๒๖ - ๑๒๒๙ นักประวัติศาสตร์หลายท่านเห็นว่า ศรีวิชัยควรถือกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตววรษที่ ๑๑ และกลายเป็นอาณจักรที่มั่งคั่ง เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๖ มีอำนาจทางทะเล สามารถรวบรวมรัฐและบ้านเมืองที่อยู่ตามชายทะเล และหมู่เกาะใหญ่น้อย เข้ามาอยู่ในเครือข่ายการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของตนได้ เนื่องจากตั้งอยู่ในตำแหน่งควบคุมเส้นทางเดินเรือ
            ส่วนอวสานของอาณาจักรศรีวิชัย มีความเห็นแตกต่างกันไปกล่าวคือ ทางหนึ่งเชื่อว่าเกิดจากการรุกรานของโจฬะ ในปี พ.ศ.๑๕๖๘ ดังมีหลักฐานในศิลาจารึกที่เมืองคันชอว์ของพระเจ้าราเชนทรโจฬะ อีกทางหนึ่งมีความเห็นว่า ศรีวิชัยเสื่อมความสำคัญลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้าของจีน โดยที่พ่อค้าในตอนปลายราชวงศ์ซ้ง และราชวงศ์มองโกล (พ.ศ.๑๘๒๒ - ๑๙๙๑) พอใจจะออกมาค้าขายโดยไม่ผ่านคนกลางคือ ศรีวิชัย เช่นแต่ก่อน
            อาณาจักรตามพรลิงค์  ชื่อตามพรลิงค์มีเรียกเป็นอย่างอื่นหลายชื่อปรากฎอยู่ในเอกสารต่าง ๆ ตามสำเนียงภาษาของชนชาติต่าง ๆ ที่จดบันทึกไว้ ได้แก่ คัมภีร์มหานิทเทศติสสเมตเตยยสูตร ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๗ - ๘ กล่าวถึงเมืองท่าสำคัญทางภาคใต้ของไทยหลายเมือง รวมทั้งกามะลิงหรือตะมะลิง ซึ่งมีผู้สันนิษฐานว่า น่าจะเป็๋นคำเดียวกับตามพรลิงค์ ศิลาจารึกเมืองตันชอว์ ภาษาทมิฬสมัยพระเจ้าราเชนทร์โจฬะที่ ๑ แห่งคธารัมในอินเดียใต้ กล่าวถึงการส่งกองทัพไปปราบปรามเมืองต่าง ๆ ของอาณาจักรหนึ่งที่เรียกกันหลายชื่อคือ เต็งหลิวมาย ตันมาลิง ตันมายหลิว จูมายหลิว ซึ่งน่าจะเป็นคำเดียวกับตามพรลิงค์
            ตามพรลิงค์ อาจเป็นดินแดนฝั่งตะวันออกของนครศรีธรรมราชทั้ง ๑๑ ลุ่มน้ำ หรือลุ่มน้ำใดลุ่มน้ำหนึ่งขึ้นอยู่ว่า ลุ่มน้ำใด ช่วงใด จะมีอนำนาจโดดเด่นขึ้นมา ช่วงนั้นมีศูนย์การปกครองอยู่ตรงนั้น
            กลุ่มชนโบราณคลองท่าเรือ เป็นชุมชนเมืองท่ามาตั้งแต่ก่อนพุทธศตวรราที่ ๘ กลุ่มชนโบราณกลุ่มนี้ ได้พัฒนาขึ้นเป็นเมืองนครศรีธรรมราชในเวลาต่อมา
            เรื่องราวของอาณาจักรตามพรลิงค์ หรือนครศรีธรรมราช ปรากฎชัดในจารึกหลักที่ ๒๔ หรือจารึกพระเจ้าจันทรภาณุ ในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พระเจ้าจันทรภาณก็คือ พระเจ้าศรีธรรมโศกราช หลังจากประกาศความยิ่งใหญ่ในตามพรลิงค์แล้ว เป็นที่เชื่อได้ว่าตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๘ เป็นต้นมา ตามพรลิงค์มีความเจริญรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนาสูงกว่าเมืองใด และเป็นเมืองแห่งนักปราชญ์ ในช่วงนี้ ตามพรลิงค์ เรียกอีกอย่างว่า ศรีธรรมราช หรือสิริธรรมนคร หนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ มีข้อความกล่าวถึงเมืองนี้ว่า
            "ใน พ.ศ.๑๗๙๙ พระร่วงโรจนราชแห่งกรุงสุโขทัยได้เสด็จมาเยี่ยมพระเจ้าสิริธรรมนคร ทรงทราบเรื่องพระพุทธสิหิงค์ ที่ลังกา จึงทรงอยากได้  พระเจ้าสิริธรรมนครจึงส่งทูตไปขอกษัตริย์ลังกาให้  กรุงสุโขทัยจึงได้พระพุทธสิหิงค์มาบูชา"
            ในตำนานพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช ได้กล่าวถึงเมืองขึ้นของนครศรีธรรมราชสิบสองเมือง เรียกว่า เมืองสิบสองนักษัตรได้แก่ เมืองสาย (สายบุรี) ใช้ตราหนู  เมืองตานี (ปัตตานี) ใช้ตราวัว เมืองกลันตัน ใช้ตราเสือ เมืองปาหัง ใช้ตราแพะ เมืองบันทายสมอ ใช้ตราลิง เมืองสระอุเลา ใช้ตราไก่ เมืองตะกั่วป่า ใช้ตราหมา  เมืองกระ (กระบุรี) ใช้ตราหมู และคงเป็นเมืองขึ้นตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ หรือต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ก่อนที่นครศรีธรรมราชจะถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา รวมเวลาที่นครศรีธรรมราช หรืออาณาจักรตามพรลิงค์ เจริญอย่างสูงสุดประมาณ
หนึ่งศตวรรษ ตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เป็นต้นมา
            พุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐  ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ นครศรีธรรมราช หรือตามพรลิงค์ เป็นเมืองใหญ่ในคาบสมุทรภาคใต้ มีแสนยานุภาพทางทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกำลังทางเรือ สามารถยกกองทัพเรือไปตีลังกาถึงสองครั้ง รวมทั้งยกพลไปตีเมืองละโว้ได้ด้วย
            พญาศรีธรรมาโศกราช มีความสัมพันธ์กับเมือง หรือดินแดนทางตอนเหนือ ตั้งแต่ดินแดนในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ไปจนถึงสุโขทัย  ความสัมพันธ์นี้ส่วนหนึ่ง เกิดจากความสัมพันธ์ในระบบเครือญาติโดยการแต่งงาน นอกจากนี้นครศรีธรรมราช ยังเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ มีปราชญ์และมีพระสงฆ์ ที่มีความรู้ได้เข้าไปสั่งสอนผู้คนในเมืองสุโขทัย
            ในกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙  นครศรีธรรมราชอ่อนแอลง ตามตำนานเมืองนครศรีธรรมราชมีว่า หลังจากพระเจ้าอู่ทองสถาปนากรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ.๑๘๙๓ แล้วได้ยกกองทัพลงมาทางใต้ สู้รบกับเมืองนครศรีธรรมราช แต่ไม่แพ้ชนะกัน จึงได้เจรจาแบ่งดินแดนกับพญาศรีธรรมาโศกราชที่บริเวณบ้านบางตะพาน (อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์)
            ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  นครศรีธรรมราชเป็นเมืองหนึ่งในจำนวนเมืองพระยามหานครแปดเมือง ที่ต้องถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา  มีฐานะเป็นเมืองเอกขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา และไม่ได้มีอำนาจทางการเมืองเหนือดินแดนมลายูดังก่อน
            ทางกรุงศรีอยุธยาได้สร้างดุลยภาพทางอำนาจในภาคใต้ ด้วยการแยกเมืองพัทลุง ไชยา และชุมพร ออกจากนครศรีธรรมราช แล้วให้ขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา ลดฐานะเมืองนครศรีธรรมราชจากเมืองพระยามหานครลงมาเป็นหัวเมืองชั้นเอก ส่งข้าหลวงจากส่วนกลางมาปกครองแทนเชื้อสายคนท้องถิ่นเดิม เช่น ส่งพระพนมวังกับนางเสดียงทอง จากเมืองเพชรบุรี มาเป็นเจ้าเมือง จัดระบบควบคุมคณะสงฆ์ให้พระสังฆราชาอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช
            พุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๒ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ทางกรุงศรีอยุธยาอ่อนกำลังลงจากการทำสงครามกับพม่า มีแขกมลายูทางใต้เข้ามาก่อกวนน่านน้ำเมืองท่าชายทะเล  ในตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ได้กล่าวถึงการปล้นสะดมของแขกสลัด ตั้งแต่ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๑  ครั้งแรกประมาณปี พ.ศ.๑๙๑๙ - ๒๐๓๙ และถี่มากขึ้นในปี พ.ศ.๒๑๔๑
            ในรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ เมื่อปี พ.ศ.๒๑๕๕  ฮอลันดาสามารถทำการค้ากับนครศรีธรรมราชและเมืองปัตตานี ในปี พ.ศ.๒๑๖๔  กรุงศรีอยุธยาอนุญาตให้อังกฤษเข้ามาตั้งห้างในนครศรีธรรมราชได้
            ในปี พ.ศ.๒๑๗๒  ชาวฮอลันดาที่ค้าขายที่เมืองปัตตานีได้ยุยงให้ปัตตานีเป็นกบฏและยกกำลังเข้าตีหัวเมืองปักษ์ใต้ เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชต้องทำการปราบปราม และติดพันอยู่กับการรบ และถูกเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ กราบทูลสมเด็จพระอาทิตยวงศ์ว่า เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชเป็นกบฏ ให้ส่งออกญาเสนาภิมุข (ยามาดา  นางามาซา) ขุนนางเชื้อสายญี่ปุ่นไปเป็นเจ้าเมืองแทน โดยมีอาสาญี่ปุ่นประมาณ ๖๐๐ คนเศษติดตามไปด้วย ออกญาเสนาภิมุข จึงได้กินเมืองนครศรีธรรมราช และได้ยกกองทัพไปปราบเมืองปัตตานี แต่ไม่สำเร็จ
            การส่งขุนนางเชื้อสายญี่ปุ่นออกมาเป็นเจ้าเมือง ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง จนเกิดการสู้รบระหว่างชาวเมืองกับทหารญี่ปุ่น ผู้คนล้มตาย และหลบหนีออกไปจากเมืองไปเป็นจำนวนมาก จนเกือบจะเป็นเมืองร้าง
            หลังจากขับไล่ญี่ปุ่นออกไปแล้ว นครศรีธรรมราชจึงแข็งเมืองในปี พ.ศ.๒๑๗๕  กรุงศรีอยุธยาได้ส่งกำลัง ๑๐,๐๐๐ คน พร้อมด้วยแม่ทัพสามคน รวมทั้งเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชคนใหม่ เข้าตีเมืองนครศรีธรรมราช จับตัวพวกกบฏได้ส่งไปยังกรุงศรีอยุธยา
            ในปี พ.ศ.๒๑๗๗  ปัตตานีได้แข็งเมืองอีกครั้ง ทางกรุงศรีอยุธยาได้ให้นครศรีธรรมราชส่งกองทัพขนาดใหญ่ มีกำลัง ๓๐,๐๐๐ คน ลงไปปราบ โดยเคลื่อนทัพผ่านเมืองสงขลา แต่ทำการไม่สำเร็จ
            ในปี พ.ศ.๒๑๘๕  เมืองสงขลาเป็นกบฏต่อกรุงศรีอยุธยา แต่ถูกปราบลงได้  ในปี พ.ศ.๒๑๙๒ เมืองสงขลาได้ก่อกบฏอีกครั้ง โดยบุกเข้ายึดเมืองนครศรีธรรมราชไว้ได้ชั่วคราว และได้ดึงเอาปัตตานี พัทลุงและไทรบุรี เข้ามาเป็นพันธมิตร สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ส่งกองทัพมาปราบ แต่ไม่สำเร็จ

            พุทธศตวรรษที่ ๒๓  ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ฯ ได้ดำเนินกุศโลบายใหม่โดยส่งพระยารามเดโช ทหารเอกเชื้อสายแขกอาหรับ นับถือศาสนาอิสลาม มาเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เพื่อให้เป็นศูนย์กลางอำนาจของอยุธยาในแหลมมลายู เพื่อโดดเดี่ยวและปิดล้อมเมืองสงขลา ส่งผลให้การค้าของสงขลาซบเซา และสามารถกีดกันอำนาจของอังกฤษออกไปจากสงขลาได้ในที่สุด สงขลาถูกกองทัพจากนครศรีธรรมราชตีแตก เมื่อปี พ.ศ.๒๒๓๓ และกลับมาอยู่ในปกครองของนครศรีธรรมราชตามเดิม
            ในรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา ได้ทรงจัดการกับหัวเมืองที่ขัดขืนพระราชอำนาจ ไม่ได้เข้ามาร่วมงานพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาแสดงความจงรักภักดี  มีเมืองนครศรีธรรมราชกับเมืองนครราชสีมา เมื่อปี พ.ศ.๒๒๓๕ จึงได้ยกกองทัพทั้งทางบกและทางเรือ ไปตีเมืองนครศรีธรรมราช โดยมีพระยาสุรสงครามเป็นแม่ทัพหลวง และพระยาราชวังสันเป็นแม่ทัพหน้า พระยารามเดโชมีหนังสือลับ พระยาราชวังสัน ซึ่งเป็นเพื่อนแสน เป็นมุสลิมด้วยกันช่วยจัดหาเรือให้พระยารามเดโชหนีไปได้ เมื่อตีเมืองนครศรีธรรมราช พระยาราชวังสันต้องโทษประหารชีวิต
            ความเสียหายของนครศรีธรรมราชครั้งนี้ ทำให้อำนาจของเมืองนครศรีธรรมราชอ่อนแอลงไปมาก สมเด็จพระเพทราชา ทรงนำวิธีการกัลปนาวัดกลับมาใช้อีกครั้ง คือให้อำนาจพระสงฆ์ในการควบคุมชุมชน
            พุทธศตวรรษที่ ๒๔  หลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๐ หลวงสิทธินายเวร ผู้เป็นปลัดเมืองนครศรีธรรมราชหรือที่เรียกกันว่า พระปลัดหนู ได้รวบรวมผู้คนตั้งตนเป็นอิสระเรียกว่า ชุมนุมเจ้านคร
            ในปี พ.ศ.๒๓๑๒ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาจักรี (หมุด) พระยาอภัยรณฤทธิ์ พระยายมราช และพระยาเพชรบุรี ยกกำลังทางบกไปปราบแต่ไม่สำเร็จ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงเสด็จยกกำลังทางเรือไปตีเมืองนครศรีธรรมราช ทีพหลวงเข้าตีค่ายท่าหมาก ที่คลองปากนคร และที่คลองท่าศาลาสี่หน้า (บ้านปากพญา) แตก เจ้านครศรีธรรมราชทิ้งเมืองอพยพครอบครัวหนีไปเมืองสงขลา แล้วให้หลวงสงขลา (วิเถียน) พาไปอยู่เมืองเทพ ฯ เมืองปัตตานี  สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาจักรีและพระยาพิชัยราชายกกองทัพเรือติดตามไปเมืองปัตตานี เจ้าเมืองปัตตานียอมส่งตัวเจ้านครศรีธรรมราช (หนู) มาถวายแต่โดยดี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงแต่งตั้งพระเจ้าหลานเธอเจ้านราสุริยวงศ์ ขึ้นครองเมืองนครศรีธรรมราช ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๑๒ จนถึงแก่พิราลัย เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๙ จึงทรงแต่งตั้งให้เจ้านครศรีธรรมราช (หนู) กลบับไปครองเมืองนครศรีธรรมราชอีกครั้ง พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระเจ้านครศรีธรรมราช ฯ ให้มีเกียรติเสมอเจ้าประเทศราช มีอำนาจแต่งตั้งขุนนางตามแบบจตุสดมภ์ได้เช่นเดียวกับราชธานี
            เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๕  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้มีการเปลี่ยนแปลงฐานอำนาจทางการเมือง และการปกครองเมืองนครศรีธรรมราช คือ
                -  ให้พระเจ้านครศรีธรรมราชพ้นจากตำแหน่ง ให้เข้ามารับราชการที่กรุงเทพ ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๗
                -  ลดอำนาจและฐานะทางการเมืองของนครศรีธรรมราช ในการปกครองหัวเมืองปักษ์ใต้ ด้วยการลดตำแหน่งพระเจ้านครศรีธรรมราช ซึ่งมีเกียรติเสมอเจ้าประเทศราช ลงเป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราช ลดฐานะเมืองนครศรีธรรมราช จากเมืองประเทศราช ลงมาเป็นหัวเมืองชั้นเอก ลดฐานะเสนาบดีจตุสดมภ์ให้เป็นเพียงกรมการเมือง และให้แยกหัวเมืองซึ่งเคยอยู่ใต้การปกครองของนครศรีธรรมราช ได้แก่ เมืองสงขลา ปัตตานี ไทรบุรี ตรังกานู และกลันตัน ไปขึ้นกับกรุงเทพ ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๓๕
                -  แต่งตั้งเจ้าพัฒน์ (หรือพัด) ปลัดเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นเป็นเจ้าเมืองแทน โดยได้รับบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาศรีโศกราช ฯ
            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์) ได้กราบบังคมทูลขอลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากมีปัญหาเรื่องสุขภาพ พระองค์ได้ทรงแต่งตั้งพระบริรักษ์ภูเบศร์ (น้อย) ผู้ช่วยราชการเมืองนครศรีธรรมราช เป็นเจ้าเมืองแทน เมื่อปี พ.ศ.๒๓๕๔ โดยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยานครศรีธรรมราช (น้อย) มีนามในตราตั้งว่า พระยาศรีธรรมโศกราช ฯ และได้เป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราช ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คนทั่วไปนิยมเรียกว่า เจ้าพระยานครน้อย
            สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวยกย่องเจ้าพระยานคร (น้อย) มีความตอนหนึ่งว่า
                " เป็นผู้มีอำนาจมากกว่าเจ้าพระยานครทั้งปวง ได้บังคับบัญชาตลอดจนมาถึงเมืองไชยา ข้างฝั่งตะวันตกก็มีอำนาจเอื้อมแผ่ไปจนถึงถลาง นำทัพศึกที่เป็นเรื่องสำคัญก็คือตีเมืองไทร มีอำนาจในเมืองแขกมาก นับถือเป็นพระเจ้าแผ่นดินรอง เป็นผู้ได้รับอำนาจทำหนังสือสัญญากับอังกฤษ เจ้าของพระขรรค์เนาวโลหะ พระแท่นถม พระราชยานถม พระแสงทวนถม และอื่น ๆ"
            เจ้าพระยาศรีธรรมราช (น้อย) ได้สร้างความสำคัญให้แก่เมืองนครศรีธรรมราชเป็นอันมาก สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวถึงไว้ในหนังสือสาส์นสมเด็จ ภาคที่ ๖ มีความตอนหนึ่งว่า
                " เจ้าพระยานคร ฯ (น้อย) ปกครองบ้านเมืองเข้มแข็งกว่าเจ้าเมืองแต่ก่อน"  ในด้านการช่างได้ต่อเรือรบและเรือกำปั่นแปลงแก่กองทัพไทยสมัยรัชกาลที่ ๒ จำนวน ๓๐ ลำ ได้ส่งเสริมงานช่างศิลปกรรม เครื่องถมและผ้ายกเมืองนคร จนเป็นที่รู้จักกว้างขวาง ด้านการรบได้ทำศึกสงครามเพื่อปราบปรามกบฎ เมืองไทรบุรีชนะ ทำให้ไทรบุรียังคงขึ้นอยู่กับไทย และทำให้ทางอังกฤษยอมรับว่าไทรบุรีเป็นประเทศราชของไทย และด้านการทูต ได้ทำหน้าที่เจรจาความเมืองชั้นต้น เพื่อเจริญความสัมพันธไมตรีกับตัววแทนรัฐบาลอังกฤษ (จอห์น ครอเฟิร์ด และเฮนรี่ เบอร์นี่) หลายครั้ง ก่อนที่จะเดินทางไปเข้าเฝ้าที่กรุงเทพ ฯ ลักษณะเด่นดังกล่าวจึงทำให้ทางกรุงเทพ ฯ ให้อำนาจและความไว้วางใจแก่เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชมากกว่ายุคสมัยใด
            เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๒ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแต่งตั้งพระเสน่หามนตรี (น้อยกลาง) ผู้ช่วยว่าราชการเมืองนครศรีธรรมราช ผู้เป็นบุตรคนที่สี่ของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) เป็นเจ้าเมือง ปรากฎนามในตราตั้งว่า พระยานครศรีธรรมราช แต่คนทั่วไปมักเรียกว่า พระยานครน้อยกลาง ภายหลังได้รับสกถาปนาเป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราช เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๕ และได้ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๐ พระเสน่หามนตรี (หนูพร้อม) บุตรคนโตของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง) ได้เข้าดำรงตำแหน่งเจ้าเมือง เป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราชสืบแทน ปรากฎนามภายหลังว่า เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี คนทั่วไปเรียกว่า เจ้าพระยาขนทวน
            ในปี พ.ศ.๒๔๑๘ เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (หนูพร้อม) ถูกเรียกตัวไปอยู่กรุงเทพ ฯ เนื่องจากบกพร่องในหน้าที่ราชการเป็นเวลา ๒๐ ปี จึงได้กลับมารับราชการที่เมืองนครศรีธรรมราชอีกครั้ง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๗ อันเป็นระยะเวลาที่ทางกรุงเทพ ฯ กำลังดำเนินการปฎิรูปการปกครองใหม่ที่เรียกว่า ระบบเทศาภิบาล เมืองนครศรีธรรมราชจึงมาเป็นเมืองหนึ่งในมณฑลนครศรีธรรมราช

            ยุคมณฑลเทศาภิบาล  มณฑลเทศาภิบาล เป็นรูปการปกครองโดยการรวมหัวเมืองเข้ามาอยู่ภายใต้การกำกับดูแล และบังคับบัญชาของข้าหลวงเทศาภิบาล แทนการมีเจ้าเมืองดังแต่ก่อน ข้าหลวงเทศาภิบาล มีฐานะเป็นข้าราชการต่างพระเนตรพระกรรณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงไว้วางพระราชหฤทัย คัดเลือกจากขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ที่มีความรู้ความสามารถสูง ออกไปปฎิบัติราชการ และยังมีข้าราชการรองอีกจำนวนหนึ่งรวมเรียกว่า กองมณฑล ทำหน้าที่ช่วยเหลือการปฎิบัติราชการในแผนกการต่าง ๆ ในมณฑล
            ก่อนการปฎิรูปการปกครอง หัวเมืองทางปักษ์ใต้ที่มีความสำคัญมากคือ เมืองนครศรีธรรมราช และเมืองสงขลา เพราะเมืองทั้งสองทำหน้าที่ควบคุมบังคับบัญชาประเทศราชมลายูด้วย
            เมื่ออังกฤษมีเมืองขึ้นอยู่ประชิดดินแดนไทย เป็นเหตุให้ไทยกับอังกฤษมีกรณีพิพาทกันในเรื่องหัวเมืองมลายูหลายครั้ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้นโยบายประนีประนอม ทรงยกฐานะผู้ครองนครรัฐไทรบุรีขึ้นเป็น เจ้าพระยาและให้ขึ้นตรงต่อกรุงเทพ ฯ จากเดิมที่ขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราช ทรงมีพระราชประสงค์ให้หัวเมืองมลายูเป็นพระราชอาณาเขตชั้นนอกติดกับฝรั่งเศสตะวันตก และได้โปรดเกล้า ฯ ให้หัวเมืองปักษ์ใต้ทั้งหมด ที่เคยขึ้นสังกัดกระทรวงกลาโหม มาอยู่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย
            สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเสนอนโยบายจัดการปกครองหัวเมืองปักษ์ใต้โดยให้มีข้าหลวงกลางสามคน เป็นข้าหลวงฝ่ายตะวันตก บังคับบัญชาหัวเมืองตลอดหน้านอกตั้งอยู่ที่ภูเก็ตคนหนึ่ง ให้มีข้าหลวงตั้งอยู่ที่หัวเมืองสงขลาบังคับบัญชาตั้งแต่เมืองนครศรีธรรมราชไปจนถึงหัวเมืองแรกคนหนึ่ง และมีข้าหลวงตงอยู่ที่ชุมพรหรือหลังสวนอีกคนหนึ่ง บังคับบัญชาตั้งแต่เมืองกำเนิดนพคุณลงไปจนถึงกาญจนดิษฐ์ ให้ข้าหลวงทั้งสามคนนี้ฟังคำสั่งจากกรุงเทพ ฯ เสมือนกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้อำนวยการแทนข้าหลวงใหญ่ ซึ่งควรจะมีที่เมืองนครศรีธรรมราช เป็นการรวมนครศรีธรรมราชกับสงขลาอยู่ในมณฑลเดียวกัน ให้พระยาสุขุมนัยวินิตเมื่อครั้งเป็นพระวิจิตรวรสาสน์เป็นข้าหลวงเทศาภิบาล
            ในปี พ.ศ.๒๔๓๙ ได้โปรดเกล้า ฯให้ตั้งมณฑลนครศรีธรรมราชและมณฑลชุมพรขึ้น สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า
            "เมื่อเจ้าพระยายมราชเป็นพระยาสุขุมนัยวินิต ข้าหลวงเทศาภิบาลก็สามารถเก็บภาษีอากรได้ถ้วนถี่ เงินหลวงในมณฑลนครศรีธรรมราช เพิ่มขึ้นกว่าที่ต้องใช้ในการตั้งมณฑลมาก กระทรวงการคลังจึงเพิ่มรายจ่ายให้ท่านทำการโยธาต่าง ๆ และยอมให้สร้างเรือกำปั่นไฟชื่อ นครศรีธรรมราชขึ้นหนึ่งลำสำหรับตัวท่านไปเที่ยวตรวจราชการในมณฑลได้ใช้สำหรับขนเงินแผ่นดินเข้ากรุงเทพ ฯ และรับเสนาบดีไปตรวจราชการมณฑลชายทะเลด้วย
            พ.ศ.๒๔๕๓ ได้ฌปรดเกล้า ฯ ให้ สมเด็จพรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดำรงตำแหน่งข้าหลวงในฐานะสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช และในปี พ.ศ.๒๔๕๘-๒๔๖๘ ดำรงตำแหน่งอุปราชปักษ์ใต้ มีอำนาจบังคับบัญชามณฑลสุราษฎร์ธานี มณฑลนครศรีธรรมราช และมณฑลปัตตานี
            พ.ศ.๒๔๖๙ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ยุบเลิกตำแห่งอุปราชภาค และให้มณฑลเทศาภิบาลกลับไปสังกัดกระทวงมหาดไทยตามเดิม

            สงครามมหาเอเชียบบูรพา  ในวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔ กองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกในหลายจังหวัดชายทะเลของประเทศไทย ตั้งแต่จังหวัดสมุทรปราการ ถึง จังหวัดปัตตานี ในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช กองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกที่บ้านท่าแพ ตำบลปากพูน เกิดการสู้รบระหว่างทหารไทยและยุวชนทหารกับทหารญี่ปุ่น ฝ่ายไทยเสียชีวิต ๓๘ คน เมื่อสิ้นสงครามประชาชนและข้าราชการได้ร่วมใจกันสร้างอนุสาวรียไทย เป็นรูปทหารในชุดสนามถือดาบปลายปืนในท่าเตรียมรบ ได้ประดิษฐานในค่ายวชิราวุธ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๒

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์