ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี



| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

          โบราณสถานสำคัญ มีทั้งวัดในพระพุทธศาสนา เทวสถาน วัง และสิ่งสาธารณูปโภค
                - วัดในพระพุทธศาสนา ได้แก่ วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ วัดกะโลทัย วัดช้าง วัดสระแก้ว วัดพระนอน วัดพระสี่อริยาบถ วัดฆ้องชัย วัดสิงห์ วัดกำแพงงาม วัดช้างรอบ วัดอาวาสใหญ่

                - ศาลพระอิศวร  ตั้งอยู่ภายในกำแพงเมืองทางด้านทิศตะวันออก ด้านหน้าวัดพระธาตุ ฐานอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๑๑ เมตร ยาว ๒๙ เมตร ก่อด้วยศิลาแลง เป็นแบบฐานหน้ากกระดานชั้นเดียวหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีบันไดเล็ก ๆ ขึ้นไปบนฐานชั้นบน ข้างบนมีแท่นประดิษฐานเทวรูป เสาและเครื่องบนเป็นไม้ เคยเป็นที่ประดิษฐานเทวรูปพระอิศวรสำริดขนาดใหญ่ มีจารึกที่ฐานเทวรูปว่าเจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๐๕๓ มีเทวรูปพระนารายณ์และพระอุมา (หรือพระลักษมี) ประดิษฐานรวมอยู่ด้วย ประติมากรรมเป็นศสิลปกรรมแบบสุโขทัย

                - คลองส่งน้ำโบราณ  อยู่ทางด้านทิศเหนือของเมือง ชาวบ้านเรียกว่า คลองท่อทองแดง รับน้ำจากแม่น้ำปิง ที่บริเวณใต้หนองปลิงไปจนถึงบริเวณเมืองบางงพาน ในเขตอำเภอพรานกระต่าย
            จากการศึกษาภาพถ่ายทางอากาศพบว่า แนวคลองที่จะนำน้ำจากเมืองกำแพงเพชรไปเมืองบางพานมีอยู่เพียงแห่งเดียว จึงสันนิษฐานว่า เป็นเส้นทางน้ำเส้นเดียวกับที่กล่าวไว้ในจารึกฐานพระอิศวร เมืองกำแพงเพชรที่เรียกว่า ท่อปู่พระยาร่วง ซึ่งสร้างตั้งแต่สมัยสุโขทัย

                - ถนนพระร่วง  มีลักษณะเป็นคันดิน กว้างประมาณ ๔ - ๕ เมตร สูงประมาณ ๘ เมตร ชาวบ้านที่อาศัยในบริเวณคันดินนี้เชื่อกันว่าเป็นถนนโบราณ จากเมืองกำแพงเพชรวถึงสุโขทัยไปถึงศรีสัชนาลัย ปัจจะบันแผงคันดินดังกล่าวเห็นได้เป็นหย่อม ๆ และบางแห่งเป็นแนวยาวติดต่อกันจากเมืองกำแพงเพชร  แนวถนนผ่านไปทางทิศตะวันออกของอำเภอพรานกระต่าย จากนั้นโค้งตัดกับทางหลวงหมายเลข ๑๐๑ (กำแพงเพชร - สุโขทัย) และจากบริเวณโค้งทางแยกไปอำเภอลานกระบือ แนวถนนพระร่วงจะทับกับทางหลวงไปจนถึงบ้านทุ่งเมืองแล้วเบนออกไปทางทิศตะวันออก แล้ววกตัดกับทางหลวงหมายเลข ๑๐๑ อีกครั้งที่บริเวณสถานีพืชอาหารสัตว์ อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย และเข้าสู่เมืองสุโขทัยที่บริเวณมุมเมืองด้านทิศยตะวันตกเฉียงใต้
            จากหนังสือเที่ยวเมืองพระร่วง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ทรงพระราชนิพนธิ์ไว้ตอนหนึ่งว่า
                " ..ถนนที่มาทางนี้ทำเป็นคันสูงเหนือพื้นทุ่งข้าว ราว ๒ ศอก ทางกว้างจะเพียงใดกำหนดเแน่ไม่ได้ เพราะทลายเสียมากแล้ว แต่เชื่อว่าอย่างไร ๆ ถนนคงไม่เกิน ๘ ศอก หรือ ๓ วา .....ออกเดินจากบ่อชุมแสงตามถนนพระร่วงเรื่อยไป แลเห็นถนนได้ถนัดดี เพราะพูนเป็นคันขึ้นมาสูงพ้นพื้นดิน ทั้งมีคูไปข้างถนน ทางด้านตะวันตกด้วย เข้าใจว่าคงได้ขุดดินจากคูนั้นเองขึ้นมาถมถนน... บางแห่งซึ่งเป็นที่ลุ่มถนนได้พูนขึ้นไว้สูงมาก ช้างเดินไปข้าง ๆ สังเกตุว่าเกือบท่วมหลังช้าง....."
    อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
            โบราณสถานทั้งในเขตเมืองกำแพงเพชรและเมืองนครชุม  ทางราชการได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๘ ต่อมาได้ประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดขอบเขตอีกครั้ง เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ โดยแบ่งกลุ่มโบราณสถานออกเป็นสี่กลุ่ม คือ
                กลุ่มที่ ๑  บริเวณภายในเมืองกำแพง มีโบราณสถาน ๑๔ แห่ง พื้นที่ ๕๐๓ ไร่
                กลุ่มที่ ๒ บริเวณอรัญญิกโบราณ ด้านทิศเหนือของกำแพงเมือง มีโบราณสถาน ๔๐ แห่ง พื้นที่ ๑,๖๐๐ ไร่
                กลุ่มที่ ๓  บริเวณนอกเมืองด้านทิศตะวันออก มีโบราณสถาน ๑๕ แห่ง มีพื้นที่ ๑๗ ไร่
                กลุ่มที่ ๔  บริเวณทุ่งเศรษฐี ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง (เมืองนครชุม) มีโบราณสถาน ๑๒ แห่ง มีพื้นที่ ๓๑ ไร่
            ทางราชการได้ดำเนินการฟื้นฟูปรับปรุงขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานเมืองกำแพงเพชร ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘ พร้อมมกับเมืองสุโขทัย และศรีสัชนาลัย ให้ดำเนินการขุดแต่ง ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๘ - ๒๕๑๒ รวม ๑๘ แห่ง คือ ศาลพระอิศวร วัดพระธาตุ วัดพระแก้ว พระราชวัง (สระมน) ป้อมเพชร ป้อมเจ้าจันทร์ ป้อมเจ้าอินทร์ ป้อมมุมเมือง ป้อมวัดช้าง ป้อมทุ่งเศรษฐี วัดพระนอน วัดพระสี่อริยาบถ วัดช้างรอบ วัดอาวาสใหญ่ วัดกะโลทัย วัดซุ้มกอ วัดช้าง และวัดอาวาสน้อย การบูรณะได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาตลอดจนถึงปี พ.ศ.๒๕๒๕ จึงได้บรรจุงานบูรณะปรับปรุงโบราณสถานเมืองกำแพงเพชร ไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบัที่ ๕ (พ.ศ.๒๕๒๕ - ๒๕๒๙) ใช้ชื่อโครงการว่า โครงการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร โดยเน้นการบูรณะปรับปรุงโบราณสถาน และก่อสร้สางระบบสาธารณูปโภค ในเขตภายในกำแพงเมืองและบริเวณอรัญญิก วัตถุประสงค์สวำคัญคือ การป้องกันมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติมิให้สูญหายหรือเสื่อมคุณค่า พัฒนาบริเวณโบราณสวถานและธรรมชาติโดยรอบให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์
            กรมศิลปากร ได้อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรอย่างเป็นทางการ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๔
            เขตภายในกำแพงเมือง  มีพื้นที่ ๕๐๓ ไร่ มีโบราณสถานสำคัญคือ วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ เขตวังโบราณ (สระมน) ศาลพระอิศวร กำแพงเมือง คูเมือง และป้อมประตูต่าง ๆ
            เขตนอกกำแพงเมือง หรือที่เรียกว่า เขตอรัญญิก มีพื้นที่ ๑,๖๑๑ ไร่ ตั้งอยู่บนเขาลูกรังขนาดย่อม มีโบราณที่เป็นวัดขนาดใหญ่น้อย รวม ๔๐ แห่ง ที่สำคัญคือ วัดพระนอน  วัดพระสี่อริยาบถ  วัดสิงห์ วัดฆ้องชัย วัดนาคเจ็ดเศสียร วัดกำแพงงาม วัดช้างรอบ และวัดอาวาสใหญ่
            กลุ่มโบราณสถานเขตอรัญญิกของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร นับเป็นเอกลักษณ์ของเมืองกำแพงเพชร เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๔ คณะกรรมการมรดกโลกแห่งอนุสัญญาตุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก ได้ประกาศในการประชุม ณ เมืองดาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย ให้อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย - ศรีสัชนาลัย - กำแพงเพชร เป็นมรดกโลก เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฎแสดงให้เห็นถึงผลงานอันล้ำเลิศทางสถาปัตยกรรมไทยยุคแรก
สิ่งสำคัญคู่บ้านคู่เมืองกำแพงเพชร

            เทวรูปพระอิศวร  เป็นประติมากรรมสำริด สูง ๒๑๐ เซนติเมตร เดิมประดิษฐานอยู่ในเทวสวถานซึ่งเรียกว่า ศาลพระอิศวร มีจารึกที่ฐานรอยบาท (จารึกหลักที่ ๑๓) มีความวส่า พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ประดิษฐานรูปพระอิศวรในเมืองกำแพงเพชร เมื่อ พ.ศ.๒๐๕๓ ลักษณะขององค์เทวรูปแสดงถึงการรับอิทธิพลศิลปะเขมรแบบบายน

            พระแสงราชศัสตราประจำเมืองกำแพงเพชร  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๙  พระยาวิเชียรปราการ ผู้ว่าราชการเมืองกำแพงเพชร รับพระราชทาน
            ลักษณะของพระแสง ฯ เป็นพระแสงด้ามทอง ฝักทอง ยาว ๘๘.๕ เซนติเมตร ด้ามยาว ๓๙.๕ เซนติเมตร ฝักยาว ๔๙ เซนติเมตร ใบยาว ๔๕.๕ เซนติเมตร ใบกว้าง ๒.๔ เซนติเมตร เดิมเป็นดาบประจำตระกูลเจ้าเมืองกำแพงเพชร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพทุธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระราชทานแก่พระยากำแพงเพชร (นุช) เป็นบำเหน็จเมื่อครั้งไปราชการทัพ หลวงพิพิธอภัย บุตรพระยากำแพงเพชร (อ้น) นำฝักดาบทองประจำตระกูลทูลเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงรับและพระราชทานให้เป็นพระแสงราชศัสตราประจำแมืองกำแพงเพชร

            ศาลหลักเมือง  ศาลหลักเมืองสันนิษฐานว่า สร้างสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) ที่เคยปกครองดูแลเมืองกำแพงเพชร ทำด้วยศิลาแลงรูปกลมยาวประมาณ ๒ เมตร ผังโผล่พ้นดินขึ้นมาประมาณหนึ่งเมตร มีรูปเศียรเทพารักษ์อยู่บนยอดศิลาแลง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  หลังคาศาลได้พังลงมาทับเสาหลักเมือง และเถียงเทพารักษ์ หลังจากนั้นก็อยู่ในสภาพรกร้างมาเป็นเวลานาน จนถึงปี พ.ศ.๒๔๗๒ รองอำมาตย์เอกหลวงมนตรีราช (หวาน) อัยการจังหวัดกำแพงเพชรได้ริเริ่มสร้างศาลหลักเมืองขึ้นใหม่เป็นศาลาทรงไทย ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๘ ได้มีผู้ลักตัดเศียรเทพารักษ์ไป หลวงปริวรรตวรวิจิตร (จันทร เจริญชัย) ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชรได้ให้ทำขึ้นใหม่ด้วยดินจากยอดเขาสูงสุดของเขาหลวง ดินใจกลางโบสถ์ ใจกลางเจดีย์เก่า ั้ทั้งในจังหวัดกำแพงเพชร สุโขทัย ศรีสัชนาลัย พิษณุโลก และตาก
            ในปี พ.ศ.๒๕๒๔  ได้มีการบูรณะปฎิสังขรณ์ศาลหลักเมืองโดยสร้างเป็นอาคารจตุรมุข พร้อมเขตปริมณฑลเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์