ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > ภูมิศาสตร์ประเทศไทย

ภูมิศาสตร์ประเทศไทย ภูมิรัฐศาสตร์ ขนาด รูปร่าง พรมแดน ภูมิประเทศ
ภาคเหนือ - ธรณีวิทยา  - การระบายน้ำ - พื้นที่ราบ  - ป่าไม้  - เขตแดน  
ภาคกลาง - ธรณีวิทยา  - การระบายน้ำ
ภาคอิสาน - ธรณีวิทยา  - การระบายน้ำ - พื้นที่ราบ - ป่าไม้ - เขตแดน
ภาคใต้ - ธรณีวิทยา - การระบายน้ำ - ทะเลสาบ - ฝั่งทะเล  - พื้นที่ราบ - ลมฟ้าอากาศ
| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

ภาคเหนือของประเทศไทย

            ภาคเหนือเป็นพื้นที่ซึ่งนับว่าเป็นย่านภูเขา  เป็นพื้นที่สูงส่วนใต้ของที่ราบสูงยูนนาน  ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพื้นที่ ซึ่งลำน้ำสายใหญ่ ๓ สาย คือ  ลำน้ำสาละวิน ลำน้ำโขง และลำน้ำแยงซี ไหลมารวมอยู่ในพื้นที่แคบ ๆ กว้างไม่เกิน ๑๐๐ กิโลเมตร  เป็นพื้นที่ซึ่งลำน้ำสาละวิน และลำน้ำโขงได้ไหลแยกออกจากกัน  ทำให้มีพื้นที่อันเป็นแถบเทือกเขา มีเนื้อที่กว้างอยู่ในพิกัดเส้นแวง ๙๗ องศา ๒๒ ลิบดา กับ ๑๐๑ องศา ๒๒ ลิบดา ตะวันออก และเส้นรุ้ง ๒๐ องศา ๒๕ ลิบดา กับ ๑๗ องศา เหนือ  โดยมีทิวเขาแดนลาว กั้นรัฐฉานไว้ทางเหนือ ทิวเขาถนนธงชัย กั้นแคว้นกะเหรี่ยงของพม่าไว้ทางตะวันตก  ทิวเขาหลวงพระบาง กั้นประเทศลาวไว้ทางตะวันออก และทิวเขาพลึง กั้นภาคกลางของไทยไว้ทางใต้
            ภาคเหนือเป็นดินแดนผืนแรกที่ตั้งอาณาจักรไทย  เป็นแหล่งที่ชนพื้นเมืองทั้งสิ้นเป็นชนชาติไทย แม้ทิวเขาอันสลับซับซ้อนจะแบ่งแยกชนพื้นเมืองออกเป็นหลายพวก แต่ก็ยังเป็นปึกแผ่นอยู่ได้ด้วยวัฒนธรรม ซึ่งเป็นวัฒนธรรมเดียวกันมาโดยตลอด
            ภาคเหนือเป็นย่านที่อยู่เกือบใจกลางคาบสมุทร อินโดจีน - แปซิฟิค  จึงอยู่ห่างจากทะเลมากพอสมควร คืออยู่ห่างจากอ่าวเบงกอล ประมาณ ๓๐๐ กิโลเมตร  ห่างจากอ่าวตังเกี๋ย ประมาณ ๔๕๐ กิโลเมตร และอยู่ห่างจากอ่าวไทย ประมาณ ๕๐๐ กิโลเมตร  ฝั่งทะเลที่อยู่ใกล้ที่สุดคือ  อ่าวมะตะบัน ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ ๙๐ กิโลเมตร  โดยมีลำน้ำสาละวินเชื่อมต่อทางด้านตะวันตกของภาค
            ภาคเหนือนับว่าเป็นศูนย์กลางการคมนาคมติดต่อ ระหว่างดินแดนอันเป็นถิ่นฐานของชนเผ่าไทย ซึ่งตั้งอยู่โดยรอบทุกทิศทาง เช่น ชนเผ่าไทยในมณฑลยูนนาน ในดินแดนสิบสองปันนา ในลาว ในตังเกี๋ย
สภาพทางธรณีวิทยา
            ภาคเหนือตั้งอยู่บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ ๒๕๐ - ๔๐๐ เมตร พื้นที่ทางแถบตะวันตกสูงกว่าแถบตะวันออก พื้นที่ส่วนใหญ่ลาดเอียงลงมาทางทิศใต้ ยกเว้นแถบเหนือสุด คือจังหวัดเชียงราย และอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่  ที่มีพื้นที่ลาดลงไปทางด้านทิศเหนือ
            โครงสร้างอย่างหยาบ ๆ ของภาคเหนือประกอบด้วยแนวรอยพับย่นของแผ่นดิน ซึ่งมีทิศทางในแนว เหนือ - ใต้ หลายแนวขนานกัน  ในตอนเหนือสุดของแนวรอยพับย่นเหล่านี้บางส่วนมีทิศทางในแนวตะวันตก ไปตะวันออก
     ภูเขา

            จากโครงสร้างของพื้นที่ ซึ่งมีรอยพับย่นของแผ่นดินอยู่ทั่วไป ภาคเหนือจึงเป็นพื้นที่ซึ่งเต็มไปด้วยภูเขาเกือบทั้งภาค  ภูเขาเหล่านี้มีแนวทอดยาวจากเหนือลงมาใต้  และมีบ้างเป็นบางแห่งที่เป็นแนว จากตะวันตกไปตะวันออก  ทิวเขาดังกล่าวเหล่านี้พอจะแบ่งออกได้เป็น ๖ ทิวด้วยกัน คือ
         ทิวเขาแดนลาว  อยู่ตอนเหนือสุด จากชื่อของภูเขา สันนิษฐานว่า เดิมคงจะเป็นทิวเขาที่เป็นพรมแดนระหว่างละว้ากับไทย เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๑๔๐๐
            ทิวเขาแดนลาว เป็นทิวเขาเหนือสุดของประเทศไทย เป็นทิวเขาใหญ่ มีทิศทางส่วนใหญ่ทอดตัวจากด้านทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  มีพื้นที่แผ่ไปทางเหนือในรัฐฉาน และทางใต้ในดินแดนไทย อาการแผ่ของทิวเขานี้มีลักษณะเป็นแนวแขนงหลายแนว  มีทิศทางจากเหนือลงใต้  ทิวเขานี้ใช้แนวสันเขาเป็นเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับรัฐฉานของพม่า  เริ่มจากลำน้ำแม่สายในเขตจังหวัดเชียงราย เป็นทิวทอดตัวไปทางตะวันตก ตามเขตจังหวัดเชียงใหม่  แล้ววกลงทางใต้ ตามเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ไปสุดที่ลำน้ำปายซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตกับทิวเขาถนนธงชัย
            สันเขาที่กั้นเขตแดนทางเหนือ แบ่งน้ำด้านทิศเหนือลงสู่ลำน้ำโขง  และด้านทิศใต้ลงสู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ส่วนสันเขาส่วนที่วกลงมาทางใต้ จะแบ่งน้ำทางด้านตะวันออกลงลำน้ำปาย และทางด้านตะวันตกลงลำน้ำสาละวิน
            ทิวเขานี้มีช่องเขาที่เคยใช้เป็นทางเดินทัพในสมัยโบราณ  สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เคยยกทัพไปทำสงครามกับพม่า และไปสวรรคตที่เมืองห้างหลวงในรัฐเมืองพาน และในสงครามมหาเอเซียบูรพา กองพลที่ ๒ ก็ได้เดินทัพรุกออกไปทางช่องทางนี้
            ทิวเขานี้ประกอบด้วยยอดเขาต่าง ๆ อยู่เป็นจำนวนมากที่สำคัญพอประมวลได้ดังนี้
                 ดอยตุง  สูง ๑๙๒๘ เมตร   อยู่ในเขตอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
                 ดอยสามเส้า  สูง ๑๖๗๓ เมตร   อยู่ในเขตอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
                 ดอยช้าง  สูง ๑๗๙๕  เมตร  อยู่ในเขตอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
                 ดอยผ้าห่มปก  สูง ๒๒๙๗  เมตร  อยู่ในเขาอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
                 ดอยเชียงดาว  สูง ๒๑๘๕  เมตร   อยู่ในเขตอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่


         ทิวเขาถนนธงชัย  เป็นเทือกเขาที่ติดต่อจากเทือกเขาแดนลาวลงมาทางใต้ โดยนับเริ่มจากฝั่งทิศใต้ของลำน้ำปาย ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นแนวลงมาทางใต้ และสิ้นสุดลงที่ช่องเจดีย์สามองค์  ในเขตจังหวัดกาญจนบุรี เป็นทิวเขาที่มีอาณาบริเวณหลายหมื่นตารางกิโลเมตร ซึ่งนับว่ามากที่สุดในประเทศไทย มีความยาวประมาณ ๕๐๐ กิโลเมตร นับจากลำน้ำปายลงมาถึงช่องเจดีย์สามองค์ และมีส่วนกว้างประมาณ ๒๐๐ กิโลเมตร เป็นแนวขนานกับทิวเขาแดนลาวจนตลอดลำน้ำปาย  จากบริเวณนี้ทิวเขาจะแยกออกจากกันเป็นสามแขนง ทอดตัวขนานลงมาทางใต้ คั่นด้วยหุบเขาแคบ ๆ ดังนี้
         ทิวเขาดอยมอนกุจู  เป็นพรมแดนด้านตะวันตกของประเทศไทย และได้แผ่ออกไปจนจรดลำน้ำสาละวิน มีแนวทางทอดลงมาทางใต้ในระหว่างลำน้ำสาละวิน และลำน้ำยวม
         ทิวเขาดอยปางเกี๊ยะ เป็นแนวตอนกลางอยู่ระหว่างลำน้ำแม่แจ่ม กับลำน้ำแม่ปิง ทางตะวันออกของลำน้ำแม่ยวม และลำน้ำเมยทางทิศตะวันตก เป็นแนวแบ่งเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดเชียงใหม่ มีความยาวจากลำน้ำปาย ถึงช่องเจดีย์สามองค์ และมีความกว้างจากลำน้ำเมยจนจดลำน้ำปิง  มีบางส่วนข้ามลำน้ำปิงไปทางตะวันออก จึนถึงลำน้ำแม่ลี้  ซึ่งทำให้ลำน้ำปิงตอนนี้ คือจากอำเภอฮอด ถึงอำเภอสามเงา เป็นโกรกเขา และเกาะแก่งโดยตลอด
         ทิวเขาดอยอินทนนท์  แผ่กระจายอยู่ในพื้นที่ด้านตะวันตกของ อำเภอเมืองเชียงใหม่  อันได้แก่ดอยสุเทพจนจดลำน้ำแม่แจ่ม ในเขตอำเภอแม่แจ่ม เป็นแนวยาวจากดอย ปะคา ต้นลำน้ำปายจนถึงลำน้ำแม่แจ่ม
            หุบเขาในทิวเขานี้เป็นเขาแคบ ๆ ลำน้ำไหลอยู่ในโกรกเขา เช่น ลำน้ำเมย ลำน้ำแม่แจ่ม และลำน้ำปาย
            ยอดเขาที่สูง และมีชื่อเป็นที่รู้จักกันดีในทิวเขาถนนธงชัยได้แก่  ดอยอินทนน หรือดอยอ่างกา สูง ๒,๕๗๖ เมตร  เป็นยอดเขาสูงสุดในประเทศไทย อยู่ในเขตอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่  ดอยสุเทพ สูง ๑,๖๗๖ เมตร  อยู่ทางตะวันตกของตัวเมืองเชียงใหม่  ดอยกิ่วลม สูง ๑,๗๘๐ เมตร อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือในเขตอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน  ดอยปางเกี๊ยะ สูง ๑,๒๐๔ เมตร  อยู่ทางด้านตะวันออกในเขตอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน


         ทิวเขาขุนตาล  เริ่มต้นจากบริเวณตะวันออกของอำเภอฝาง ในแนวของลำน้ำแม่ท่าช้าง ซึ่งเป็นช่วงที่เชื่อมกับดอยช้างในทิวเขาแดนลาว  จากบริเวณนี้ทิวเขาเริ่มมีทิศทางตรงลงมาทางทิศใต้ เชื่อมต่อกับทิวเขาผีปันน้ำ บริเวณดอยผาจ้อ แล้วต่อลงมาทางใต้ ผ่านอุโมงค์ขุนตาลไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของจังหวัดลำปาง ขนานกับทิวเขาถนนธงชัย ตอนใต้สุดของทิวเขาไปเชื่อมต่อกับส่วนของทิวเขาถนนธงชัย ซึ่งข้ามลำน้ำแม่ปิงไปทางทิศตะวันออกในแนวลำน้ำแม่ลี้  ทำให้เกิดที่ราบสูงเชียงใหม่ขึ้นทางด้านตะวันตก และที่ราบสูงลำปางทางด้านทิศตะวันออก
            ทิวเขาขุนตาล มีความกว้าง ระหว่าง ๓๐ - ๖๐ กิโลเมตร ยาวประมาณ ๒๐๐ กิโลเมตร ตอนแคบที่สุดของทิวเขาอยู่บริเวณอุโมงค์ขุนตาล และที่บริเวณรอยต่อระหว่างดอยขุนตาล กับดอยพับผ้า ตอนเหนือของอำเภอพร้าว มีแขนงแยกไปทางทิศตะวันตก และขนานลงมาทางใต้จนถึงทางเหนือของ อำเภอดอยสะเก็ด             ยอดเขาที่สูงที่สูงและมีชื่อเป็นที่รู้จักกันดีในทิวเขาขุนตาล ได้แก่  ดอยผีปันน้ำ หรือดอยนางแก้ว สูง ๑,๘๔๓ เมตร อยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง เป็นต้นกำเนิดของลำน้ำแม่กวง แควของลำน้ำแม่งัด ซึ่งเป็นสาขาของลำน้ำแม่ปิง  ดอยผาจ้อ สูง ๒,๐๑๒ เมตร อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ อำเภอดอยสะเก็ด  เป็นต้นกำเนิดของลำน้ำแม่สรวย  ซึ่งเป็นสาขาของลำน้ำวัง  ดอยสะเก็ด หรือดอยขุนออน สูง ๑,๘๑๖ เมตร อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของอำเภอดอยสะเก็ด  เป็นต้นกำเนิดของลำน้ำแม่ออน ซึ่งเป็นสาขาของลำน้ำปิง  ดอยขุนตาล สูง ๑,๓๔๘ เมตร อยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอแม่ทา
         ทิวเขาผีปันน้ำ  เป็นทิวเขาหินแกรนิต เริ่มต้นจาก ดอยผาจ้อในทิวเขาขุนตาล แล้วแยกคดโค้งมีทิศทางโดยรวมในแนวทิศตะวันตก - ตะวันออก แบ่งน้ำลงทางซีกเขาทั้งด้านเหนือและด้านใต้  ทิวเขาเริ่มตั้งแต่ตอนต้นลำน้ำแม่ลาว ทอดตัวไปทางด้านทิศตะวันออกเล็กน้อย แล้ววกกลับขึ้นไปทางเหนือ ถึงอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย แล้วหักกลับลงมาทางใต้ ผ่านกิ่วมันหมูมุ่งลงใต้จนถึงดอยหลวง อำเภอเมืองลำปาง ตรงกิ่วมันหมู ทิวเขาจะแยกออกไปทางทิศตะวันออก จนถึงทางเหนือของ อำเภองาว จังหวัดลำปาง  มีช่องทางแคบ ๆ อยู่ตอนย่านกลางคือ  ช่องประตูผา บริเวณทิศเหนือของอำเภองาว มีทิวเขาดอยขุนยม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาผีปันน้ำ ซึ่งเริ่มต้นจากตอนใต้ของลำน้ำโขง เป็นสองแนวขนานทั้งฝั่งตะวันตก และฝั่งตะวันออกของลำน้ำยม แล้วต่อลงไปทางใต้ ส่วนทางฝั่งตะวันตกจะไปจดกับทิวเขาพลึงที่ช่องผาคอ และส่วนตะวันออก จะไปจดที่ช่องทางถนนสายแพร่ - น่าน ทางทิศตะวันออกของอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่
            ทิวเขาผีปันน้ำมีความกว้าง ๓๐ - ๗๐ กิโลเมตร ความยาวประมาณ ๔๐๐ กิโลเมตร  ปันน้ำลงลำน้ำโขงอันประกอบด้วย ลำน้ำแม่ลาว ลำน้ำแม่อิง และลงสู่ลำน้ำยม และลำน้ำน่าน  เป็นเส้นแบ่งเขตจังหวัด น่าน กับ จังหวัดเชียงราย  จังหวัดเชียงราย กับ จังหวัดลำปาง และจังหวัดลำปาง กับ จังหวัดแพร่
            ยอดเขาที่สูง และมีชื่อเป็นที่รู้จักกันดีได้แก่  ดอยหลวงแม่ขุน สูง ๑,๓๓๔ เมตร  ดอยห้วงมง สูง ๑,๐๒๘ เมตร  ดอยปุย สูง ๙๕๗ เมตร  ดอยขุนยม สูง ๑,๗๔๐ เมตร  และดอยขุนยวม สูง ๑,๗๐๖ เมตร
         ทิวเขาหลวงพระบาง  เป็นทิวเขาหินแกรนิต เริ่มจากบริเวณลำน้ำโขงทางเหนือ ทอดตัวเป็นแนวมาทางใต้ จนถึงตะวันตกของ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย  และทางเหนืออำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นบริเวณที่เชื่อมต่อกับทิวเขาเพชรบูรณ์ในภาคกลาง  มีอาณาบริเวณกว้างขวาง อยู่ระหว่างลำน้ำน่าน และลำน้ำโขง กว้างประมาณ ๕๐ - ๑๐๐ กิโลเมตร  ยาวประมาณ ๒๕๐ กิโลเมตร  ทางแถบตอนเหนือของทิวเขานี้ เป็นตอนที่บังคับให้ลำน้ำโขง ไหลวกไปทางตะวันออก เข้าไปในประเทศลาว
            ยอดเขาที่สูงและมีชื่อเป็นที่รู้จักกันดีได้แก่  ภูหวายซ่อมใหญ่ สูง ๑,๘๐๑ เมตร อยู่ทางเหนือสุด มีลำน้ำโขงล้อมอยู่สามด้าน  ดอยน้ำหงส์ สูง ๑,๔๗๘ เมตร  ภูสามเส้า สูง ๒,๐๖๑ เมตร  ภูหลวงพระบาง สูง ๒,๐๕๙ เมตร  อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ อำเภอปัว จังหวัดน่าน เป็นต้นกำเนิดของลำน้ำวา ซึ่งเป็นสาขาของลำน้ำน่าน  ภูยี สูง ๑,๖๓๐ เมตร  อยู่ทางทิศตะวันตกของ อำเภอสา จังหวัดน่าน  ภูหลักหมื่น สูง ๑,๔๗๘ เมตร อยู่ริมลำน้ำน่าน  ทางทิศตะวันออกของอำเภอนาน้อย  ภูเมี่ยง สูง ๒,๓๐๐ เมตร อยู่ในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์
            ทิวเขาหลวงพระบาง เป็นทิวแบ่งแคว้นมาแต่สมัยโบราณ  ปัจจุบันใช้เป็นพรมแดนระหว่างไทยกับลาวในภาคเหนือ


         ทิวเขาพลึง  เป็นทิวเขาที่อยู่ทางตอนใต้สุดของภาคเหนือ ซึ่งเริ่มต้นจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งต่อเนื่องกับทิวเขาหลวงพระบาง ในบริเวณทิศตะวันตกของภูหลักหมื่น โดยมีแนวลำน้ำน่านเป็นเส้นแบ่งเขตทางเหนือ ต่อเนื่องกับทิวเขาผีปันน้ำ (ดอยขุนยม) ทางบริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่  มีรอยต่อตามแนวช่องทางถนนสายแพร่ - น่าน
            ทิวเขาพลึงมีทิศทางนับจาก อำเภอนาน้อย ทอดตัวลงมาทางทิศตะวันตกตามแนวเส้นแบ่งเขตของภาคจนถึงดอยลาน  ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดตาก มีความยาวประมาณ ๓๐๐ กิโลเมตร  มีความกว้างประมาณ ๕๐ - ๙๐ กิโลเมตร  ทิวเขานี้อาจแบ่งออกได้เป็นสองตอน คือตอนเหนือเป็นพื้นที่ระหว่างลำน้ำยม และลำน้ำน่าน ตอนใต้เป็นพื้นที่ระหว่างลำน้ำยม กับลำน้ำวัง  ทางตอนใต้มีแนวภูเขาแยกขึ้นไปทางเหนือไปเชื่อมต่อกับ ทิวเขาผีปันน้ำที่ช่องผาคอ
            ยอดเขาสูงที่มีชื่อเป็นที่รู้จักกันดีคือ  ดอยผาสั่ง สูง ๑,๐๘๕ เมตร  เขาพญาปอ สูง ๑,๔๗๗ เมตร

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์