ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > ภูมิศาสตร์ประเทศไทย

ภูมิศาสตร์ประเทศไทย ภูมิรัฐศาสตร์ ขนาด รูปร่าง พรมแดน ภูมิประเทศ
ภาคเหนือ - ธรณีวิทยา  - การระบายน้ำ - พื้นที่ราบ  - ป่าไม้  - เขตแดน  
ภาคกลาง - ธรณีวิทยา  - การระบายน้ำ
ภาคอิสาน - ธรณีวิทยา  - การระบายน้ำ - พื้นที่ราบ - ป่าไม้ - เขตแดน
ภาคใต้ - ธรณีวิทยา - การระบายน้ำ - ทะเลสาบ - ฝั่งทะเล  - พื้นที่ราบ - ลมฟ้าอากาศ

| ย้อนกลับ |

 
ระบบการระบายน้ำ
            ภาคใต้เป็นภาคที่มีฝนตกมาก ทั้งในด้านปริมาณฝน และระยะเวลาที่ฝนตก จากรูปร่างของพื้นที่ ซึ่งแคบและยาว มีทิวเขาอยู่ในย่านกลางเป็นส่วนมาก เว้นตอนกลางของภาคที่มีทิวเขาขนานกันสองทิวคือ ทิวเขาภูเก็ต และทิวเขานครศรีธรรมราช ดังนั้นน้ำจึงไหลลงฝั่งทะเลทั้งสองฟาก ตามแนวลำธารด้วยลักษณะที่ไหลเชี่ยวมากในตอนต้นน้ำ เมื่อไหลลงสู่ที่ราบชายฝั่ง หรือในลุ่มน้ำกว้าง ๆ จึงไหลช้าลงก่อนไหลลงสู่ทะเล ลำน้ำโดยทั่วไปเป็นลำน้ำสายสั้น ๆ ไม่กว้างมากนัก แบ่งออกได้เป็นสองพวกตามทิศทางการไหลลงสู่ทะเลคือ
           ลำน้ำที่ไหลลงสู่มหาสมุทรอินเดีย  มีลำน้ำกระหรือลำน้ำปากจั่น และลำน้ำตรัง เป็นลำน้ำที่อยู่ทางซีกตะวันตกของทิวเขาตะนาวศรี ทิวเขาภูเก็ต และทิวเขานครศรีธรรมราช
            ลำน้ำกระหรือลำน้ำปากจั่น  ยาวประมาณ ๑๒๐ กิโลเมตร  ต้นน้ำเกิดจากแควสองสายคือ แควกระน้อย และแควงาน แล้วไหลผ่านเขตอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ไปทางทิศตะวันตกผ่านอำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง ลงสู่อ่าวระนอง
                - แควกระน้อย  ต้นน้ำเกิดจากภูเขาชั้นบนในทิวเขาตะนาวศรี แควนี้นับว่าเป็นตัวลำน้ำกระด้วย ใช้เป็นเส้นพรมแดนระหว่างไทยกับพม่า
                - แควงาน  ต้นน้ำเกิดจากภูเขาคลองกุ่นในเขตพม่า แล้วไหลมาบรรจบแควกระน้อย ที่บ้านน้ำทูน
            ลำน้ำกระโดยทั่วไปตอนต้นน้ำไหลผ่านไปตามซอกเขา และหุบเขาแคบ ๆ ตอนกลางไหลผ่านพื้นที่เป็นเนินและที่ราบ ตอนปลายไหลผ่านหุบเขาอีกครั้งหนึ่ง พื้นท้องน้ำเป็นทราย มีเกาะแก่งอยู่หลายแห่ง ฝั่งลำน้ำทางด้านตะวันตกสูงกว่าทางฝั่งไทย และมีลักษณะเป็นทิวเขาตลอด ส่วนฝั่งตะวันออกเป็นทิวเขาต่ำกว่า และเป็นเนิน
            ลำน้ำกระ มีสาขาที่สำคัญทางด้านฝั่งตะวันออกคือ
                - ลำน้ำจั่น  ต้นน้ำเกิดจากเขาทางเหนือของทิวเขาภูเก็ต แล้วไหลไปทางทิศตะวันตก ไปบรรจบลำน้ำกระที่บ้านปากจั่น
                - ลำน้ำลำเลียง  เกิดจากภูเขาขานาง แล้วไหลไปทางทิศตะวันตก ไปบรรจบลำน้ำกระในเขตบ้านกาลาม
                - คลองละอุ่น  เกิดจากทิวเขาตะนาวศรี แล้วไหลไปทางทิศเหนือ ผ่านเขตอำเภอละอุ่น แล้วไหลวกไปทางทิศตะวันตก ไปบรรจบลำน้ำปากจั่นที่บ้านเขาฝาชี
            ลำน้ำปากจั่นสามารถเดินเรือทะเลเข้าไปได้ถึงปากคลองละอุ่น ประมาณ ๘๐ กิโลเมตร จากปากน้ำ สำหรับเรือยนต์ขนาดใหญ่เดินได้ถึง อำเภอกระบุรี
            ลำน้ำตรัง  ยาวประมาณ ๑๓๕ กิโลเมตร มีน้ำตลอดปี ให้น้ำหล่อเลี้ยงพื้นที่ได้มากที่สุดในภาคใต้ เพราะมีแควต่าง ๆ ไหลมาบรรจบมากสายด้วยกัน ต้นน้ำเกิดจากเขาเหม็นในทิวเขานครศรีธรรมราช ไหลผ่านเขต อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอห้วยยอด และอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ไหลลงสู่ทะเลอันดามัน ที่อ่าวตรัง
            ลำน้ำตรังมีน้ำเชี่ยวมากในฤดูฝน ที่ปากน้ำมีสันดอน ทำให้เรือเดินทะเลแล่นเข้าสู่ลำน้ำไม่ได้ เรือที่ผ่านได้ต้องกินน้ำลึกน้อยกว่า ๒ เมตร และแล่นเข้าไปได้ถึงบ้านควนธานี อำเภอกันตัง ส่วนเรือยนต์ขนาดกลางเดินได้ถึง อำเภอเมืองตรัง การเดินทางต่อไปต้องใช้เรือถ่อ ซึ่งมีขนาดกว้าง ๓ เมตร ยาว ๑๐ เมตร จึงจะเดินได้ถึงอำเภอห้วยยอด
            ลำน้ำที่ไหลลงสู่อ่าวไทย ได้แก่ ลำน้ำที่อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของทิวเขาตะนาวศรี ทิวเขาภูเก็ต และทิวเขานครศรีธรรมราช มีลำน้ำที่สำคัญอยู่ ๗ สายด้วยกันคือ
            ลำน้ำชุมพร  หรือคลองท่าตะเภา ยาวประมาณ ๑๐๐ กิโลเมตร กว้างประมาณ ๕๐ - ๑๒๐ เมตร  ต้นน้ำประกอบด้วย แควสองสายคือ ห้วยท่าแซะ และคลองรัพโร
                - ห้วยท่าแซะ  เป็นแควสายตะวันออก เกิดจากทิวเขาตะนาวศรี บริเวณตะวันตกของ อำเภอบางสะพานน้อย แล้วไหลลงไปทางทิศใต้ มีคลองบางทะลายไหลมาบรรจบที่ ตำบลท่าเงาะ แล้วไหลไปรวมกับคลองรัพโรที่ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
                - คลองรัพโร  เป็นแควสายตะวันตก เกิดจากทิวเขาตะนาวศรี แล้วไหลไปทางทิศใต้ตามหุบเขา แล้วไหลวกไปทางตะวันออก ผ่านบ้านท่าข้ามไปรวมกับห้วยท่าแซะในเขต อำเภอท่าแซะ
            ลำน้ำชุมพรไหลจาก อำเภอท่าแซะลงมาทางใต้ผ่าน อำเภอเมืองชุมพร แล้วไหลลงสู่อ่าวชุมพรที่บ้านปากน้ำ บริเวณทิศตะวันตกของเกาะเสม็ด ลำน้ำนี้อาจใช้เรือขนาดระวางขับน้ำ ๕-๖ ตัน เดินได้ถึงบ้านท่าตะเภาตลอดทั้งปี ในฤดูน้ำคือระหว่าง ส.ค.- ธ.ค. อาจเดินขึ้นไปทางเหนือได้ถึงบ้านหาดพันไทร
           คลองชุมพร  อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของลำน้ำชุมพร และมีขนาดเล็กกว่าต้นน้ำเกิดจากหุบเขาทางด้านเหนือของเขานาง และเขาหลังหมู แล้วไหลไปทางทิศตะวันออกถึงบ้านเขาพัน แล้วไหลวกไปทางทิศใต้ ผ่านที่ราบและผ่านบ้านทุ่งคา ลงสู่อ่าวไทย
            ลำน้ำหลังสวน  ยาวประมาณ ๖๐ กิโลเมตร  ต้นน้ำเกิดจากบริเวณเขาหลังคาตึกในทิวเขาระนอง หรือทิวเขาภูเก็ต แล้วไหลขึ้นไปทางทิศเหนือผ่านอำเภอพะโต๊ะ แล้วไหลวกไปทางทิศตะวันออก ขนานกับเขานมสาวจนถึงบ้านขันเงิน จึงไหลลงสู่ที่ราบ และไหลลงสู่อ่าวไทยที่บ้านปากน้ำ ลำน้ำนี้มีน้ำตลอดปี เรือขนาดเล็กเดินได้ถึง อำเภอหลังสวนในฤดูแล้ง และเดินได้ถึงอำเภอพะโต๊ะในฤดูน้ำ

            ลำน้ำตาปี  เป็นลำน้ำใหญ่สายหนึ่งในภาคใต้ มีลุ่มน้ำกว้างขวางอยู่ในพื้นที่ราบระหว่างทิวเขาภูเก็ต กับทิวเขานครศรีธรรมราช ลำน้ำตาปียาว ประมาณ ๓๘๐ กิโลเมตร ต้นน้ำเกิดจากแควใหญ่สองแควคือ แควคีรีรัฐ และแควหลวง
                 แควคีรีรัฐ  เป็นแควสายตะวันตก ได้รับน้ำจากลำห้วยหลายสาย ซึ่งเกิดจากเขาหลังคาตึก เขาตะกั่วป่า เขาแหยง และเขากะทะคว่ำ ในทิวเขาภูเก็ต มีลำห้วยที่ไหลมาบรรจบได้แก่ คลองแอ จากเขาหลังคาตึก และคลองโสก จากเขาตะกั่วป่า ลำห้วยทั้งสองไหลมาบรรจบแควคีรีรัฐที่บ้านท่าขนอน จากนั้นแควคีรีรัฐก็ขยายใหญ่ออก แล้วไหลไปทางทิศตะวันออก ไปรวมกับแควแม่น้ำหลวงที่บ้านท่าข้าม เรือกลไฟขนาดเล็กเดินได้ในฤดูน้ำ
                 แควหลวง  เป็นแควสายใต้ ซึ่งมีขนาดใหญ่และยาวมาก ได้รับน้ำจากลำห้วยหลายสายทางด้านทิศใต้และทิศตะวันตกคือ
                        - คลองยาว  เกิดจากภูเขาล้อมและเขาพนมเบญจา ในทิวเขาภูเก็ต แล้วไหลไปทางทิศเหนือถึงบ้านข้าวโพด แล้วไหลวกมาทางทิศตะวันออก ไปบรรจบแควหลวงที่บ้านไฟตา
                        - คลองอีปัน  เกิดจากเขาพนมเบญจา แล้วไหลไปทางทิศเหนือ ไปบรรจบคลองยาวที่บ้านพาน
                        - คลองอีพัน  เกิดจากเขาสามจอม แล้วไหลไปทางทิศเหนือไปบรรจบแควหลวงที่บ้านปากน้ำ
                        - คลองแม่น้ำ  เกิดจากเขากระเบียด แล้วไหลไปทางทิศใต้ มารวมกับลำห้วยซึ่งเกิดจากเขาหลวง เขาเหม็น ที่อำเภอฉวาง เป็นแควหลวงต่อไป
                        - คลองหลวง  ไหลไปทางทิศเหนือ ไปรวมกับแควคีรีรัฐที่บ้านท่าข้าม แล้วกลายเป็นลำน้ำตาปี แควหลวงใช้เดินเรือขนาดเล็ก และใช้ได้เฉพาะฤดูน้ำเท่านั้น
            ลำน้ำตาปี แม้จะเป็นลำน้ำใหญ่ แต่ท้องน้ำตื้นมาก ในฤดูแล้ง (มี.ค. - ส.ค.) น้ำจะลึกเพียง ๒ เมตร  อาจใช้เรือขนาดเล็กเดินได้ถึงบ้านอารักษ์ (ประมาณ ๘๐ กิโลเมตร จากปากน้ำ) ในฤดูน้ำเรือเดินได้ถึง อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
            ลำน้ำปัตตานี  เป็นลำน้ำในแถบใต้สุด ยาวประมาณ ๑๘๐ กิโลเมตร  ต้นน้ำเกิดจากเขาอูลูตีตีบาซา และเขามิติบาซาในทิวเขาสันกาลาคีรีในเขา อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ในตอนต้นน้ำจากอำเภอเบตง ถึงอำเภอบันนังสตาร์ ลำน้ำนี้จะไหลอยู่ในหุบเขา และมีคลองยะฮา ซึ่งเป็นแควเล็ก ๆ ไหลจากทิศตะวันออก มาบรรที่บ้านกำปงโยะ และคลองดอนไหล จากเขามูดีบาซา ทางทิศตะวันตก มาบรรจบทางทิศใต้ของอำเภอบันนังสตาร์ จากนั้นได้ไหลต่อไปทางทิศเหนือ ผ่านเขตจังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี ลงสู่อ่าวไทยที่อ่าวปัตตานี จากบริเวณบ้านกุระ ลำน้ำปัตตานีแยกออกเป็นสองสาขา สาขาทางด้านทิศตะวันตก ไหลลงสู่ที่หล่มชายฝั่ง บริเวณคลองท่าเรือ ส่วนตัวลำน้ำปัตตานีไหลลงสู่ทะเลทาง อำเภอเมืองปัตตานี ทางด้านทิศตะวันตกของแหลมโพธิ์
            ลำน้ำปัตตานี เป็นลำน้ำขนาดเล็กและตื้นเขิน มีสันดอนที่ปากน้ำ ทำให้เรือกลไฟแล่นเข้าไปในลำน้ำไม่ได้ คงใช้ได้เฉพาะเรือขนาดเล็ก จากปากน้ำ ผ่านอำเภอเมืองปัตตานี อำเภอยะรัง อำเภอเมืองยะลา เรือขนาดเล็กเดินได้ตลอดปี จากอำเภอบันนังสตาร์ ไปถึงอำเภอเบตง ก่อนมีเขื่อนรัชประภา (บางลาว) ใช้ได้เฉพาะเรือแจว เฉพาะในฤดูแล้งเท่านั้น
            ลำน้ำสายบุรี (สุไหงตาลุบัน)  เป็นลำน้ำที่ขนานกับลำน้ำปัตตานี อยู่ทางด้านตะวันออก ต้นน้ำเกิดจากทิวเขาโบริง และภูเขาลีเปในทิวเขาสันกาลาคีรี ในเขตอำเภอโต๊ะโม๊ะ จังหวัดนราธิวาส แล้วไหลไปทางทิศเหนือ ผ่านเขตอำเภอรือเซาะ อำเภอรามัน อำเภอสายบุรี ไหลลงสู่ทะเลที่บ้านปากบาง อำเภอสายบุรี
            ลำน้ำสายบุรี ยาวประมาณ ๑๗๐ กิโลเมตร  มีน้ำตลอดปี น้ำลึกเป็นช่วง ๆ ตลิ่งสูง ลำน้ำคดเคี้ยวมาก ตอนต้นน้ำจะไหลอยู่ในซอกเขา จนถึงอำเภอรือเซาะ จึงเริ่มไหลลงสู่ที่ราบ เมื่อถึงบ้านปากหอย จึงไหลไปทางทิศตะวันออก แล้วแยกออกเป็นสองสาย สายเหนือเรียกว่าคลองตาปิง ไหลผ่านอำเภอสายบุรี ลงสู่ทะเลที่บ้านปากบาง สายใต้ไหลผ่านบ้านกอตอ ลงสู่ทะเลที่บ้านท่าช้าง ลำน้ำนี้ใช้เรือขนาดย่อมเดินได้ถึง อำเภอรือเซาะได้ตลอดปี

            ลำน้ำโกลก (สุไหงโกลก)  เป็นลำน้ำสายเล็ก และสั้น แต่มีความสำคัญในฐานะที่ใช้เป็นพรมแดนไทย กับมาเลเซีย ต้นน้ำเกิดจากเขาลีเปในทิวเขาสันกาลาคีรี ในเขตอำเภอโต๊ะโม๊ะ ตอนต้นน้ำลำน้ำไหลไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านเขตอำเภอแว้ง อำเภอสุไหงโกลก จนถึงบ้านลิปางัน ลำน้ำได้แยกออกเป็นสองสาย สายตะวันตก ได้แก่ ลำน้ำบางนรา  ไหลขนานกับฝั่งทะเลไปออกทะเลที่จังหวัดนราธิวาส มีแควจากเขาตาแว ไหลมาบรรจบที่บ้านคาย สายตะวันออกคือตัวลำน้ำโกลก ไหลต่อไปทางเหนือไปออกสู่ทะเลที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ลำน้ำโกลกเต็มไปด้วยเกาะแก่ง จึงใช้เดินเรือไม่ได้เลย
ทะเลสาบ หนองน้ำ และที่ลุ่มหล่ม
            ภาคใต้มีทะเลสาบ และที่ลุ่มหล่มขังน้ำอยู่ไม่มากนัก ส่วนใหญ่มีอยู่ทางแถบตะวันออกของภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางตะวันออกของทิวเขานครศรีธรรมราช และในบริเวณที่ใกล้ชายฝั่งทะเล

            ทะเลสาบสงขลา  เป็นทะเลสาบแห่งเดียวในประเทศไทย อยู่ในพื้นที่ระหว่างทิวเขานครศรีธรรมรา ทางด้านตะวันตก และอ่าวไทยทางด้านตะวันออก อยู่ในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา แบ่งออกได้เป็น สองตอนคือ
                 ทะเลหลวง  เป็นตัวทะเลสาบสงขลาที่แท้จริง มีบริเวณกว้างใหญ่ มีความยาวประมาณ ๘๐ กิโลเมตร และกว้างสุดประมาณ ๒๕ กิโลเมตร ตอนกลางเป็นตอนแคบ ๆ จากปากพยูน ลงมาทางใต้ถึงแหลมจาก จึงแบ่งทะเลหลวงออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนที่เป็นทะเลสงขลา และส่วนที่เป็นทะเลหลวงพัทลุง ทะเลหลวงได้รับน้ำจากแควต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากทิวเขานครศรีธรรมราช เช่น คลองพระในเขตจังหวัดพัทลุง คลองพันทราย คลองป่าบน และคลองรัตภูมิ จากเขาสังเวียน คลองอู่ตะเภา จากทิวเขาชินาในทิวเขานครศรีธรรมราช กับเขาติงกีและเขากะท้อนในทิวเขาสันกาลาคีรี ทะเลหลวงมีช่องทางออกทะเลจีนที่ตำบลแหลมทราย ในเขตอำเภอเมืองสงขลา
                 ทะเลน้อย  มีขนาดเล็กกว่าทะเลหลวง อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอเมืองพัทลุง ทางด้านเหนือของทะเลหลวง ติดต่อกับทะเลหลวงใต้ ตามพื้นที่หล่มโคลนซึ่งกั้นอยู่ จากทะเลน้อยมีคลองควน คลองท่าเสม็ด และคลองปากพนัง ต่อขึ้นไปทางเหนือ ออกสู่อ่าวไทยในเขตอำเภอปากพนัง บริเวณสองฟากของคลองควน และคลองท่าเสม็ด เป็นบริเวณพื้นที่ลุ่มหล่ม ยาวจากทิศใต้ไปทางทิศเหนือ ยาวประมาณ ๓๐ กิโลเมตร กว้างประมาณ ๑๕ กิโลเมตร
            ทะเลสาบสงขลา สามารถใช้เรือขนาด ๔๐-๕๐ ตันเดินไปมาได้ และสามารถทะลุออกไปทางอำเภอปากพนังได้ด้วย
ฝั่งทะเล
            ภาคใต้มีฝั่งทะเลทั้งสองด้าน คือด้านอ่าวไทยและด้านมหาสมุทรอินเดีย

            ฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย (ฝั่งตะวันตก)  เริ่มตั้งแต่ก้นอ่าวไทยไปทางทิศใต้จนถึง จังหวัดนราธิวาส มีความยาวประมาณ ๑,๒๕๐ กิโลเมตร เป็นชายฝั่งทะเลที่ไม่เว้าแหว่งมากนัก แต่ก็มีอ่าวพอที่จะใช้เป็นท่าจอดเรือได้หลายแห่งด้วยกัน เช่นบริเวณเกาะพงัน และเกาะสมุย ตรงหน้าอ่าวบ้านดอน และบริเวณทะเลสาบสงขลา เป็นต้น
            ลักษณะชายฝั่งทะเลส่วนใหญ่จะเป็นทรายและกรวด มีลักษณะเป็นฝั่งลาด และเป็นหาดยาว ๆ สลับกับแถบที่เป็นหน้าผาชั้นบ้างเล็กน้อย มีส่วนที่เป็นชายฝั่งเลน อยู่ตามปากลำน้ำสายยาว ๆ เช่นบริเวณก้นอ่าวไทย จนถึงจังหวัดเพชรบุรี บริเวณปากน้ำชุมพร ปากน้ำหลังสวน อ่าวบ้านดอน ปากพนัง และบริเวณอ่าวปัตตานี
            ภูมิประเทศบริเวณชายฝั่ง ประกอบด้วยป่าโกงกาง สลับกับบริเวณป่าสน และหินผาโดยทั่วไป
            เกาะตามบริเวณชายฝั่งมีอยู่มากพอสมควร มีอยู่เป็นจำนวนไม่น้อยที่อยู่เป็นกลุ่ม คือ บริเวณหน้าอ่าวประจวบ บริเวณอ่าวชุมพร และบริเวณอ่าวบ้านดอน ตอนใต้ของอ่าวบ้านดอนลงไป มีเกาะอยู่เพียงเล็กน้อย เกาะค่อนข้างใหญ่จะอยู่บริเวณอ่าวบ้านดอน เช่นเกาะเต่า เกาะที่สำคัญคือ เกาะพงัน และเกาะสมุย

            ฝั่งทะเลด้านมหาสมุทรอินเดีย  เริ่มตั้งแต่ปากลำน้ำกระลงมาทางทิศใต้จนถึง จังหวัดสตูล มีความยาวประมาณ ๗๔๐ กิโลเมตร ชายฝั่งมีลักษณะเว้าแหว่ง และมีเกาะแก่งมากมาย ซึ่งมีลักษณะต่อเนื่องมาจากบริเวณก้นอ่าวมะตะบันในเขตพม่า แม้จะมีอ่าวอยู่หลายแห่งเช่น อ่าวระนอง อ่าวเป็ดน้ำ (ในเขตจังหวัดพังงา) อ่าวกระบี่ อ่าวบ่อฝรั่ง อ่าวต้นเคียน (ในเขตจังหวัดตรัง) และอ่าวเล็ก ๆ รอบ ๆ เกาะภูเก็ต แต่อ่าวดังกล่าวทั้งหมด ยังหาท่าเรือที่ดีๆ ได้ยาก จะมีใช้ได้ก็บริเวณเกาะภูเก็ตเท่านั้น
            ลักษณะชายฝั่งเป็นชายฝั่งที่เป็นโคลนเลน มีป่าไม้จำพวกโกงกางอยู่หนาแน่น และกว้างขวางกว่าทางด้านอ่าวไทย
            เกาะต่าง ๆ บริเวณชายฝั่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก และเป็นเกาะขนาดใหญ่อยู่เป็นจำนวนไม่น้อย ได้แก่ เกาะช้าง เกาะพยาม เกาะขานใหญ่ เกาะรา เกาะสีโมยา เกาะปู เกาะลันตาใหญ่ เกาะไห เกาะมุกข์ เกาะกระดาน เกาะลิบง เกาะสุคน และเกาะตะรุเตา โดยอยู่ในระยะน้ำลึกประมาณ ๑๐ - ๑๕ เมตร สำหรับเกาะใหญ่ ซึ่งอยู่ห่างฝั่งออกไป และมีระดับน้ำลึกมีไม่มากนัก เช่น เกาะสินธารา หมู่เกาะสิมิลัน หมู่เกาะรายา และหมู่เกาะราไว ในบรรดาเกาะเหล่านี้เกาะที่สำคัญที่สุดได้แก่เกาะภูเก็ต
พื้นที่ราบ
            ส่วนมากเป็นพื้นที่ราบชายฝั่งทะเล ซึ่งมีภูเขาและที่สูงอยู่ภายใน จึงเป็นที่ราบแคบ ๆ และยาวไปตามฝั่งทะเล บางตอนจะมีทิวเขากั้นแบ่งออกจากกันเป็นตอน ๆ ที่ราบเหล่านี้จะมีอยู่ทั้งสองด้านฝั่งทะเล ที่ราบที่สำคัญได้แก่
            ที่ราบสุราษฎร์ธานี  เป็นที่ราบผืนใหญ่ที่สุดของภาคใต้ อยู่ระหว่างทิวเขานครศรีธรรมราช กับทิวเขาภูเก็ตกับภูเขาโดด ๆ เรียงรายเป็นหย่อมอยู่ทางใต้ มีพื้นที่กว้างขวาง ตอนกลางมีลำน้ำตาปีกับลำน้ำคีรีรัฐหล่อเลี้ยงให้ เป็นย่านกสิกรรมอันสำคัญของภาคใต้ มีทางออกสู่ทะเลที่อ่าวบ้านดอน
            ที่ราบพัทลุง  เป็นที่ราบชายฝั่งทะเลทางตะวันออกของทิวเขานครศรีธรรมราช และในบริเวณชายฝั่งทะเลสาบสงขลา มีลำน้ำหลายสายซึ่งไหลจากทิวเขาไปทางตะวันออก ลงสู่ทะเลสาบสงขลา พื้นที่ราบพัทลุงมีความยาวไปตามทะเลสาบสงขลา ประมาณ ๘๐ กิโลเมตร และกว้างประมาณ ๓๐ กิโลเมตร พื้นที่จะลาดจากทิวเขานครศรีธรรมราช (บริเวณเขาถ้ำเสือ เขาผีปัน เขาหลวง และเขาสังเวียน) ลงสู่ทะเลสาบสงขลา บริเวณนี้จึงเป็นพื้นที่อันอุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่ง
            ที่ราบปัตตานี  เป็นที่ราบตอนใต้สุดภาคชายแดนไทย อยู่ระหว่างทิวเขาสันกาลาคีรี กับฝั่งทะเล มีลำน้ำหลายสายไหลมาหล่อเลี้ยง จากทิวเขาสันกาลาคีรี ซึ่งเป็นพรมแดนด้านใต้ของไทยกับมาเลเซีย ลงสู่ชายฝั่งทะเลทางทิศเหนือ เฉพาะลำน้ำที่สำคัญ ๆ ได้แก่ ลำน้ำเทพา ลำน้ำปัตตานี ลำน้ำสายบุรี และลำน้ำนราธิวาส พื้นที่ราบปัตตานีทอดยาวไปตามฝั่งทะเล จากบริเวณเขาแดน เขาควนพัง ทางใต้ของลำน้ำสะกอบไปจนจดลำน้ำโกลก มีความยาวประมาณ ๑๐๐ กิโลเมตร กว้างอยู่ระหว่าง ๒๕ ถึง ๖๐ กิโลเมตร จึงเป็นแหล่งกสิกรรมอีกแห่งหนึ่งของภาคใต้
            นอกจากที่ราบผืนใหญ่ ๆ ทั้งสามแห่งดังกล่าวแล้ว ยังมีพื้นที่ราบชายทะเลผืนเล็ก ๆ แคบ ๆ ประกอบด้วยลำน้ำสายสั้น ๆ อยู่ตอนกลาง ที่ราบเหล่านี้มีอยู่ทั่วไปทั้งสองภาค เช่น บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สงขลา ตรัง และสตูล
สภาพลมฟ้าอากาศ
            ภาคใต้เป็นบริเวณที่ผิดแปลกไปจากภาคอื่น ๆ ที่กล่าวมาแล้ว โดยที่เป็นพื้นที่ที่อยู่ระหว่างทะเล และตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร มากกว่าภาคอื่นของไทย จึงจัดเข้าอยู่ในจำพวกแถบร้อนฝนชุก ทำให้มีอุณหภูมิสูง และฝนตกมากตลอดปี เพราะอยู่ในย่านมรสุมทั้งสองทิศทาง จนได้ฉายาว่าเป็นภาคฝนแปดแดดสี่ คือมีฝนแปดเดือน มีแดดสี่เดือน ไม่มีฤดูหนาว
            อุณหภูมิในภาคใต้แม้จะอยู่ในเกณฑ์สูง แต่ก็มีความผันแปรของอุณหภูมิตลอดปีเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตามทางฝั่งตะวันออกจะมีอุณหภูมิผันแปรมากกว่าฝั่งตะวันตก
            ภาคใต้เป็นพื้นที่ซึ่งมีฝนมากที่สุดของประเทศไทย และอยู่ในเขตฝนตกชุกของโลกด้วย ประมาณฝนเฉลี่ยประมาณปีละ ๒,๖๒๗ มิลลิเมตร ส่วนใหญ่เป็นฝนมรสุม และมีฝนภูเขาและฝนพายุหมุนมาผสมด้วย มีฝนตกเฉลี่ยปีละประมาณ ๑๗๐ วัน ฝนจะเบาบางในช่วงเดือนมกราคม ถึงมีนาคม การแผ่กระจายของฝน จะมีปริมาณมากน้อยกว่ากันตามลักษณะภูมิประเทศ กล่าวคือในแถบฝั่งทะเลด้านทิศตะวันตก จะมีปริมาณฝนเฉลี่ยปีละ ๓,๓๐๐ มิลลิเมตร เคยตกมากที่สุดถึง ๖,๖๐๖ มิลลิเมตร ที่อำเภอตะกั่วป่า เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ทางด้านนี้ฝนจะตกชุกในระหว่างเดือน พฤษภาคม ถึง พฤศจิกายน ส่วนทางฝั่งด้านทิศตะวันออก จะมีฝนน้อยกว่าเล็กน้อย และจะตกชุกในช่วงเดือน ตุลาคม ถึง ธันวาคม และยังอาจมีฝนจากพายุหมุนมาเพิ่ม ปริมาณฝนในพื้นที่ระหว่าง จังหวัดชุมพร ถึง สงขลา ทำให้เกิดน้ำท่วมได้บ่อย ๆ
| ย้อนกลับ |บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์