ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > จังหวัดราชบุรี >อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน/Chaloem Phrakiat Thai Prachan National Park 

อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน/ Chaloem Phrakiat Thai Prachan National Park

 

อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน

ข้อมูลทั่วไป
พื้นที่อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจันเป็นส่วนหนึ่งของป่าสงวนแห่งชาติป่าฝั่งซ้ายแม่น้ำภาชี อยู่ในเขตการปกครองของตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ ตำบลตะนาวศรี ตำบลท่าเคย อำเภอสวนผึ้ง และตำบลบ้านคา ตำบลบ้านบึง กิ่งอำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี พื้นที่แห่งนี้เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในอดีตเคยอยู่ภายใต้อิทธิพลของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย มีการต่อสู้ระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับผู้ก่อการร้าย คอมมิวนิสต์อย่างรุนแรงเกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่างมากมาย ต่อมารัฐสามารถควบคุมพื้นที่ได้จนเกิดความสงบสุขในพื้นที่แห่งนี้ แล้วได้ดำเนินการวางแผนที่จะเร่งรัดพัฒนาฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าในส่วนที่ถูกทำลายให้สอดคล้องกับพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และส่งเสริมพัฒนาอาชีพแก่ราษฎรในพื้นที่ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในการนี้ มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยกองศิลปาชีพ ร่วมกับกองทัพบก กรมป่าไม้ กรมชลประทาน กรมพัฒนาที่ดิน จังหวัดราชบุรี และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงได้ดำเนินการอนุรักษ์เพื่อจัดทำเป็น “อุทยานเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน” ณ บริเวณบ้านไทยประจัน ตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ โดยจัดให้เป็นสวนพฤกษศาสตร์ ตลอดจนจัดให้มีการส่งเสริมงานศิลปาชีพให้แก่ราษฎรในพื้นที่ ตั้งแต่มีนาคม 2534 เป็นต้นมา

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พิจารณาแล้วเห็นว่า พื้นที่โครงการอุทยานเฉลิมพระเกียรติไทยประจันในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าฝั่งซ้ายแม่น้ำภาชี เนื้อที่ 240,246 ไร่ ยังคงมีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์และมีแหล่งท่องเที่ยวสวยงามหลายแห่งเห็นสมควรเร่งประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ จึงให้สำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 5 ดำเนินการสำรวจความเหมาะสมของพื้นที่ที่จะจัดตั้งเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ และให้ดำเนินการสำรวจพื้นที่เบื้องต้นบริเวณบ่อพุน้ำร้อน เพื่อดำเนินการจัดตั้งเป็นวนอุทยาน

สำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 5 ได้พิจารณาแล้ว เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามสั่งการของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ดังกล่าว ประกอบกับพื้นที่บ่อพุน้ำร้อนอยู่ในโครงการอุทยานเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน จึงให้หัวหน้าโครงการฯ ไปดำเนินการสำรวจความเหมาะสมของพื้นที่โครงการอุทยานเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน และบริเวณใกล้เคียงเพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป

ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนวางตัวในแนวเหนือใต้อยู่ทางด้านตะวันตกของจังหวัดราชบุรี จนไปจดประเทศสภาพพม่า ครอบคลุมพื้นที่ 349.59 ตารางกิโลเมตร ในท้องที่อำเภอปากท่อ อำเภอสวนผึ้ง และกิ่งอำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี ยอดเขาสูงสุดชื่อ เขายืดหรือเขาพระรอบ มีความสูงประมาณ 834 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ลักษณะธรณีของพื้นที่เป็นหินตะกอน ประกอบด้วยหินกรวดมน หินชั้น หินปูน หินดินดาน และหินทราย สภาพดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง ปกคลุมไปด้วยอินทรีย์วัตถุ ดินเป็นดินร่วนปนทราย มีการดูดซึมน้ำได้อย่างดี เทือกเขาป่าแม่ประจันเป็นแหล่งต้นน้ำของลำห้วยหลายสาย ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของห้วยพุไทร ห้วยท่าเคย ห้วยพุน้ำร้อน ลุ่มน้ำแม่ประจัน ไหลลงแม่น้ำเพชรบุรีและลุ่มแม่น้ำภาชี ซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำกลอง

ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพอากาศค่อนข้างหนาวเย็นตลอดปี โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมจากตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงฤดูฝน และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว แบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม ถึง เดือนมิถุนายน ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึง เดือนตุลาคมและฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนกุมภาพันธ์

พืชพรรณและสัตว์ป่า
ลักษณะทั่วไปของสังคมพืชในอุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจันประกอบด้วย ป่าเบญจพรรณ ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ชนิดพันธุ์ไม้มีสำคัญของ ได้แก่ ประดู่ แดง ตะแบก เสลา ส้าน มะค่าโมง ตะค้อ ตะคร้ำ สมอพิเภก เลี่ยน กะบก มะกอก ฯลฯ พืชพื้นล่าง ได้แก่ ไผ่ไร่ ไผ่ซาง ไผ่บง และไผ่ข้าวหลาม เป็นต้น ป่าดิบแล้ง ครอบคลุมพื้นที่ทางด้านตะวันตกและทางด้านเหนือ ชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ยางขาว ยางแดง ตะเคียน ยมหอม จำปาป่า รัก จำปีป่า กระบาก มะม่วงป่า ตะแบก มะหาด มะไฟป่า สะเดาป่า ฯลฯ พืชพื้นล่าง ได้แก่ ไผ่บง ไผ่เฮียะ ต๋าว หวาย ปาล์ม เฟิน เป็นต้น

บริเวณพื้นที่อุทยานแห่งชาตินี้ยังคงสภาพที่อุดมสมบูรณ์อยู่มาก และเนื่องจากป่าเป็นผืนเดียวกันกับอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี และประเทศสหภาพพม่า จึงมีการย้ายถิ่นฐานของสัตว์ป่าไปมาอยู่เป็นประจำ ที่พบเห็นได้แก่ กวางป่า กระทิง เก้ง กระจง หมี หมูป่า ลิง ค่าง ชะนี อีเห็น ชะมด เสือไฟ หมูหริ่ง บ่าง หมาไน เม่น ลิ่น พังพอน ค้างคาว กระต่ายป่า กระรอก กระแต และหนูป่า นกที่พบเห็น ได้แก่ นกเงือกสีน้ำตาล นกกาฮัง นกแก๊ก นกเงือกกรามช้างปากเรียบ นกเงือกดำ เหยี่ยว นกเค้า นกปรอด นกกระปูด นกกางเขนน้ำ นกขมิ้น นกกระทาดง นกขุนทอง นกแซงแซว นกตะขาบ นกหัวขวาน นกเขียวก้านตอง นกแซวสวรรค์ ไก่ป่า นกยางเขียว และนกบั้งรอกใหญ่ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกที่พบเห็นได้แก่ เขียดหิน กบภูเขา คางคก ปาด และอึ่งอ่าง สัตว์เลื้อยคลานที่พบเห็น ได้แก่ ตะพาบ เต่า งู ตะกวด ตุ๊กแก กิ้งก่า จิ้งเหลน และแย้ ปลาที่พบเห็น ได้แก่ ปลาค้อ ปลาตะเพียนทราย ปลาหมอช้างเหยียบ ปลาซิวหางแดง ปลาก้าง ปลาไส้ต้นตาแดง ปลาแป้นแก้ว ปลาซิวใบไผ่ ปลาพลวง ปลาตะเพียนน้ำตก ปลาซิวควายแถบดำ ปลาหนามหลัง และปลาอีด เป็นต้น

นอกจากจะมีสภาพธรรมชาติที่สวยงามและสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพรรณและทรัพยากรธรรมชาติแล้ว อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจันยังมีจุดเด่นในด้านของขนบธรรมเนียมประเพณีของราษฎรในท้องถิ่นที่น่าสนใจได้แก่ ประเพณีการกินข้าวห่อของชาวกระเหรี่ยง โดยมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจได้แก่

น้ำตกไทยประจัน
เป็นน้ำตกขนาดกลาง มีน้ำไหลตลอดปี มีความสูงประมาณ 11 ชั้น มีความสวยงามของน้ำตกและโขดหินมาก การเดินทางชมน้ำตกจะต้องเดินเท้าจากจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ผ่านลำห้วยในบริเวณที่เรียกว่า “โตรกทิวไผ่” ระยะทางประมาณ 1,300 เมตร มีโตรกธารและโขดหินที่มีลักษณะแปลกและสวยงาม ปริมาณน้ำจะมากในฤดูฝนบริเวณลำห้วยและแอ่งอาบน้ำเหมาะแก่การพักผ่อนเล่นน้ำและชมธรรมชาติตามบริเวณนี้ เดินเท้าต่อไปประมาณ 900 เมตร ก็จะถึงลำห้วยในบริเวณที่เรียกว่า “โตรกลานหิน” เป็นจุดที่สวยงามมาก มีโขดหินทั้งเล็กและใหญ่ อีกทั้งมีพื้นที่ราบเหมาะต่อการกางเต็นท์พักแรม เดินเท้าต่อมาประมาณ 600 เมตร ถึงลำห้วยในบริเวณ “โตรกแซวสวรรค์” และอีกระยะทาง 400 เมตร ถึงลำห้วยในบริเวณ “โตรกบังไพร” ระยะทางประมาณ 950 เมตร ก็ถึงลำห้วย “โตรกลีลา” เป็นจุดที่สวยงาม มีสถานที่กางเต็นท์และจุดชมทิวทัศน์

จาก “โตรกลีลา” เดินเท้าไปประมาณ 25 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกไทยประจันชั้นที่ 1 การเดินทางสะดวก ส่วนน้ำตกที่สูงที่สุด คือ ชั้นที่ 9 และชั้นที่ 11 การเดินทางไม่สะดวกมีความลาดชันมาก น้ำตกมีลักษณะเป็นสายน้ำยาวและสูงมาก มีความสวยงามของน้ำตก เกาะแก่ง แอ่งอาบน้ำ และหน้าผาข้างทางเดิน บริเวณผืนป่ายังคงสภาพอุดมสมบูรณ์ทรัพยากรป่าไม้ ตามลำห้วยมีพืชตระกูลมอสเกาะตามโขดหินเป็นจำนวนมาก
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - เที่ยวน้ำตก

น้ำพุร้อนโป่งกระทิง
ตั้งอยู่บ้านพุน้ำร้อน หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านบึง กิ่งอำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี เดินทางจากจังหวัดราชบุรีมาตามถนนเพชรเกษมเลี้ยวขวา แยกปากท่อ ตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3206 ถึงบ้านพุน้ำร้อนระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร หรือเดินทางจากจังหวัดราชบุรีมาทางจอมบึงใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3087 ถึงบ้านพุน้ำร้อนระยะทางประมาณ 85 กิโลเมตร หรือเดินทางจากจังหวัดราชบุรี มาทางชัฏป่าหวายใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3208 ถึงพุน้ำร้อน ระยะทางประมาณ 83 กิโลเมตร
กิจกรรม -อาบน้ำแร่

จุดชมทิวทัศน์เหนืออ่างเก็บน้ำ
ในบริเวณอุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจันมีอ่างเก็บน้ำอยู่หลายแห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำบ้านไทยประจัน อ่างเก็บน้ำบ้านตากแดด อ่างเก็บน้ำบ้านวังปลาช่อน อ่างเก็บน้ำบ้านห้วยศาลา และอ่างเก็บน้ำท่าเคย ซึ่งมีทัศนียภาพที่สวยงาม เหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ และประกอบกิจกรรมทางน้ำ

สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน
110 หมู่ 5 บ้านไทยประจัน ต.ยางหัก อ. ปากท่อ จ. ราชบุรี 70140 อีเมล Thaiprachan_np@dnp.go.th

การเดินทาง
รถยนต์
จากกรุงเทพมหานครฯ เดินทางไปจังหวัดราชบุรีได้โดยทางรถยนต์ตามถนนเพชรเกษม หรือทางถนนธนบุรี-ปากท่อ และทางรถไฟจากสถานีหัวลำโพงถึงสถานีรถไฟราชบุรี ระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร จากจังหวัดราชบุรีเดินทางโดยรถยนต์ไปตามถนนเพชรเกษม ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3206 ระยะทางประมาณ 45 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าบ้านไทยประจัน ระยะทาง 5 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน

สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์
อุทยานแห่งชาติ ยังไม่ที่พัก-บริการไว้บริการนักท่องเที่ยว มีแต่สถานที่กางเต็นท์ให้บริการนักท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นอุทยานแห่งชาติจัดตั้งใหม่ หากสนใจที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติ ท่านต้องจัดเตรียมเต็นท์และอาหารไปเอง รายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่กางเต็นท์ขอให้ติดต่อสอบถามกับอุทยานแห่งชาติโดยตรง

ที่จอดรถ
มีที่จอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว

ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
-มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.
-ห้องอาบน้ำแร่ อยู่ในลักษณะเป็นบ่ออาบน้ำแร่ ไม่ได้จัดทำเป็นห้อง


 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน
อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน
อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน
Chaloem Phrakiat Thai Prachan National Park
อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน
อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน
Chaloem Phrakiat Thai Prachan National Park
อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน
อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน
Chaloem Phrakiat Thai Prachan National Park
อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน
อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน
Chaloem Phrakiat Thai Prachan National Park
อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน
อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน
Chaloem Phrakiat Thai Prachan National Park
อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน
อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน
Chaloem Phrakiat Thai Prachan National Park
อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน
อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน
Chaloem Phrakiat Thai Prachan National Park
อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน
อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน
Chaloem Phrakiat Thai Prachan National Park
อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน
อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน
Chaloem Phrakiat Thai Prachan National Park
อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน
อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน
Chaloem Phrakiat Thai Prachan National Park
อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน
อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน
Chaloem Phrakiat Thai Prachan National Park
อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน
อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน
Chaloem Phrakiat Thai Prachan National Park
อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน
อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน
Chaloem Phrakiat Thai Prachan National Park
น้ำตกไทยประจัน
อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน
Chaloem Phrakiat Thai Prachan National Park
น้ำพุร้อนโป่งกระทิง
อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน
Chaloem Phrakiat Thai Prachan National Park
 

 
ราชบุรี/Information of RATCHABURI

 

Chaloem Phrakiat Thai Prachan National Park

General Information
The area of Chaloem Phrakiat Thai Prachan National Park is a part of National reserved forest that located on the left bank of Phachi river in Yang Huk sub district, Pak Tho district, Tanaosi sub district and Tha Khoei sub district, Suan Phueng district, Ban Kha sub district and Ban Bueng sub district, Ban Kha district, Ratchaburi province.

In the past this area was used to be an important strategy zone under the influence of the communist party of Thailand. There were many battles between the government officers and communist terrorists to lead to the lost of life and damaged property. Later the government could control the situation and brought about the serenity into this area. Then the government planed to recover forest and wildlife in deteriorated parts in accordance with the intention of Her Majesty Queen Sirikit and encouraged local people career development for better living.

The Foundation for the Promotion of Supplementary Occupations in Her Majesty’s royal patronage in cooperation with the Royal Thai Army, the Royal Forest Department, the Royal Irrigation Department, Land Development Department, Ratchaburi province and the other organizations concerned carry out for setting Chaloem Phrakiat Thai Prachan Park at Thai Prachan village, Yang Huk sub district, Pak Tho district to be a botanical garden including encouragement of local people career development since March 2534.

National Park, Wildlife and Plant Conservation Department considered and agreed that the area of Chaloem Phrakiat Thai Prachan Park project in the boundary of the left bank of Pachi River National reserved forest with the area of 384.39 sq.km, still remains a fertile forest and covering many tourism places. Therefore this area is appropriated to declare as a national park. On April 30,2003, an official letter was sent to the Conservation Forest Administration Office 5 requesting expedition of the area in order to establish this area as a national park and then there was an urgent letter dated May 9, 2003 to the mentioned office for a preliminary survey of the hot spring area setting to be a forest park.

Due to the hot spring area is a part of Chaloem Phrakiat Thai Prachan Park project, therefore the Conservation Forest Administration Office 5 appointed officer, the project leader to do survey of the Chaloem Phrakiat Thai Prachan park project area and the adjacent area to propose as a national park according to the order dated May 26, 2003.

High mountain range carries in the north-south axis on the west of Ratchaburi province until adjoining Myanmar border. Covering an area of 349.59 sq.km. in Pak Tho, Suan Phueng and Ban Kha district, Ratchaburi province. The highest peak of the mountain is Khao Yuet or Khao Phra Lop which stands about 834 m from MSL. The doorsill trait of the area is sedimentary rock, which composed conglomerate, sedimentary rock, limestone, shale and sand stone. Soil condition has high fertile fulfill with organic matter. The type of soil is sandy loam which has high ability to absorb water.

Mae Prachan mountain ridge is the watershed of many streams such as Huai Phusai, Huai Tha Khoei, Huai Pu Namron of the Mae Prachan river watershed, which flow in to the Phetchaburi river and Pha Chi river watershed which flows in to the Mae Klong river.

Climate
Rather chilly all year long, because of the influent of southwest monsoon in rainy season and northeast monsoon in the winter. It is able to separate into 3 seasons as a summer runs in late March-June, a rainy season starts in July-October and a winter starts from November to February.

Flora and Fauna
The general characteristic of plant community in Chaloem Phrakiat Thai Prachan National Park comprises mixed deciduous forest which covers mostly area on the west part of the park. The main species are Pterocarpus macrocarpa, Xylia kerrii and Lagerstroemia spp. etc. The lower plants are many bamboo species.

Dry evergreen forest covers the area of the west and north part, main species are Dipterocarpus alatus, D. turbinatus, Anisoptera costata etc. Lower plants are bamboo, rattan, palm and fern etc.

This national park area is still maintain the abundant of biodiversity because it is connected to Kaeng Krachan National Park, Mainam Phachi Wildlife Sanctuary and Myanmar. So, this offers chance for wild animal to migrate regularly. For example, the animals that are often seen are Zambar deer, mouse deer, common muntjac, gaur, wild boar, Asian black bear, langur, monkey, civet, flying lemur, porcupine and siamese hare etc.

Birds found are brown hornbill, great hornbill, oriental-pied hornbill, wreathed hornbill, black hornbill, dove, hawk, owl, bulbul, coucal, thrush, oriole, francolin, hill myna, drongo, roller, woodpecker, leaf bird, paradise flycatcher, jungle fowl, pond heron and green malkoha.

Amphibian found are toad, tree frog and bullfrog. Reptile found are turtle, many kinds of snakes, monitor lizard, and butterfly lizard.

Thai Prachan Waterfall
Thai Prachan Waterfall is settled on a fertile forest with abundant natural resources. It is a moderate waterfall which has 11 tiers with stream all round year. The splendid beauty is the waterfall and hillocks. For waterfall sightseeing, you have to walk from the park headquarters and pass many streams. The first one is called Trok Tio Phai about 1,300 m and you will see a beautiful stream and picturesque hillocks. There is slack water in rainy season appropriate to have a swim and admiring the nature in this area. If you keep going about 900 m, there will be a stream called Trok Lan Hin which is a beautiful spot and full with assort sized of hillock. Moreover, it still has area to pitch tents. There will be three other interesting spots namely Trok Saeo Sawan, Trok Bang Sai and Trok Lila when you walk further 600, 400 and 950 m respectively. Trok Lila has beautiful scenery view point and you can put up tents.

From Trok Lila, walking about 25 km to the first level of Namtok Thai Prachan with convenient trip while the 10 th level is the highest point of this waterfall which has inconvenient journey due to the high slope. The waterfall has long and high stream with the beautiful small isles, water containing basin, and the cliff along the route. This forest is fulfilled with natural resources and it has a lot of moss on the hillock along the stream.

Pong Krathing Hotspring
A hot spring is located at Phu Nam Ron village in Ban Bueng sub district, Ban Kha district. There are 3 routes to visit this spring from the central of Mueang district : 1) take route 3206 about 80 km 2) route 3087 via Chom Bueng district about 85 km and 3) route 3208 via Chatpawai about 83 km.

Viewpoint
There are many reservoirs nearby the park area such as Ban Thai Prachan, Ban Takdaet, Ban Wang Pa Chon, Ban Huai Sala and Tha Khoei reservoirs which have beautiful scenery and appropriate for relaxation and water sport.

Contact Address
Chaloem Phrakiat Thai Prachan National Park
110, Mu 5, Ban Thai Prachan, Yang Hak Sub-district, Amphur Pak Tho Ratchaburi Thailand 70140 E-mail Thaiprachan_np@dnp.go.th

How to go?
By Car
By cars from Bangkok to Ratchaburi on Highway 4 (Phetchakasem road) or Thonburi – Pak Tho route about 100 km. By train from Hua Lam Phong station to Ratchaburi station. Then follow Phetchakasem road for 20 km turn right to highway 3206 for 45 km. Turn left to Thai Prachan village for 5 km, you will reach the park headquarters.-


 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

ราชบุรี
อำเภอดำเนินสะดวก
อำเภอบ้านโป่ง
อำเภอสวนผึ้ง


โป่งยุบ
PONG YUB
(ราชบุรี)
อำเภอเมือง


เขาน้อย

Noi Hill
(ราชบุรี)


เขาหลวง

Luang Hill
(ราชบุรี)


เขาวัง

Khao Wang
(ราชบุรี)
อำเภอโพธาราม
แผนที่จังหวัดราชบุรี/map of RATCHABURI
โรงแรมจังหวัดราชบุรี/Hotel of RATCHABURI

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์