ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > จังหวัดราชบุรี >พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทย/ 

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทย/

 

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วง

     พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วง ตั้งอยู่ภายในวัดม่วง ตำบลบ้านม่วง ริมแม่น้ำแม่กลอง วัดม่วงเป็นวัดเก่าแก่ ตามประวัติบอกไว้ในคัมภีร์ใบลานเขียนด้วยอักษรมอญว่า มีอายุอยู่ในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ในช่วงเวลานั้น ชุมชนบ้านม่วงและบริเวณสองฝั่งลุ่มแม่น้ำแม่กลอง มีกลุ่มชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายมอญ อยู่ร่วมกันกับกลุ่มชนอื่น เช่น ไทย จีน ลาว ญวน เขมรและกะเหรี่ยง มีการผสมผสานแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกัน เกิดเป็นเอกลักษณ์ของคนในท้องถิ่นและความที่ชุมชนบ้านม่วงมีวิถีชีวิตผูกผัน อยู่กับประเพณีและความเชื่อดั่งเดิม ทำให้ชุมชนแห่งนี้เป็นขุมทรัพย์ทางความรู้ด้านมอญศึกษาแก่ผู้สนใจมากมาย พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นแหล่งค้นคว้ารวบรวมประวัติความเป็นมา วิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่นชาวมอญตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แบ่งการจัดแสดงออกเป็นห้องต่างๆ สามารถเข้าใจเรื่องราวได้ง่ายโดยเริ่มจาก ห้องโถง มอญในตำนาน มอญในทางประวัติศาสตร์ ภาษามอญและจารึกภาษามอญ ประเพณีวัฒนธรรมมอญ มอญอพยพ มอญในไทยและผู้นำทางวัฒนธรรม  มีการจัดแสดงโบราณวัตถุ

     โดยมีวัดม่วงซึ่งตามปกติที่สืบค้นได้ชี้ชัดให้เห็นว่ามีอายุการสร้างเก่าแก่มานานกว่า  ๓๐๐  ปีมาแล้ว เป็นวัดที่สำคัญและศูนย์กลางกิจกรรมและจิตใจของชุมชน  ด้วยความที่บ้านม่วงเป็นชุมชนชาวไทยเชื้อสายมอญที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังคงมีวิถีชีวิตผูกพันกับประเพณีและความเชื่อดั้งเดิม และการที่เจ้าอาวาสวัดม่วง  (พระครูวรธรรมพิทักษ์)  รวมทั้งชาวบ้านส่วนใหญ่ต้องการที่จะสืบทอดความภาคภูมิใจในมรดกวัฒนธรรมข้างต้นไว้ในรูปของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน   เพื่อให้เป็นแหล่งค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาวิถีชีวิต  ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมประเพณีของอดีตจนถึงปัจจุบันไว้ จึงได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยศิลปากรจัดตั้ง “พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วง” ขึ้นเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสเจริญพระชนมายุครบ ๕  รอบ วันที่  ๑๒ สิงหาคม  ๒๕๓๕   อันแล้วเสร็จและเปิดบริการให้ผู้สนใจเข้าชมได้โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประทานในพิธีเปิด เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖   เนื้อหาในการจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วงสามารถจำแนกออกได้เป็น ๕ ส่วนด้วยกัน คือ

ส่วนแรก   เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับความสำคัญของลุ่มแม่น้ำแม่กลองอันมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะต่อการตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน   รวมทั้งความสำคัญในฐานะที่เป็นเส้นทางคมนาคมติดต่อค้าขายทั้งภายในและภายนอกประเทศ   ซึ่งหลักฐานที่ปรากฏจะมีทั้งโบราณวัตถุ  ประเภทขวานหิน  เครื่องปั้นดินเผา  เครื่องมือเครื่องใช้สำริด   เครื่องประดับจากหินสี ฯลฯ

ส่วนที่สอง  เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่น  โดยจัดแสดงให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านม่วงและชุมชนใกล้เคียง   ความสัมพันธ์ของกลุ่มชนต่าง  ๆ  ในบริเวณลุ่มแม่น้ำแม่กลอง   บทบาทของชาวจีนต่อการเกิดชุมชนแบบตลาดและบทบาทของคณะเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในหมู่ชาวไทยเชื้อสายมอญในฐานะผู้นำระบบการรักษาพยาบาลแบบใหม่มาสู่ท้องถิ่น   ซึ่งการจัดแสดงส่วนนี้จะใช้ภาพถ่ายเก่าเป็นส่วนสำคัญบ่งบอกให้ผู้เข้าชมเข้าใจ

ส่วนที่สาม   เป็นเรื่องราวของบ้านม่วงกับภูมิปัญญาท้องถิ่น   ซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดเด่นที่มีความสำคัญที่สุดในการจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์   เพราะการจัดแสดงส่วนนี้จะบ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่มั่นคงของชาวไทยเชื้อสายมอญบ้านม่วงที่เป็นผู้มีศรัทธาอย่างแรงกล้าในพระพุทธศาสนาและเป็นผู้ให้คุณค่าอย่างสูงต่อการศึกษา   โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางในการให้การศึกษาและการอบรมสั่งสอนให้เชื่อมั่นศรัทธาในพระพุทธศาสนา  และมีพระสงฆ์เป็นผู้นำทางภูมิปัญญาของท้องถิ่นสืบเนื่องเสมอมา   ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้จากหลักฐานเกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้เนื่องในศาสนาเป็นจำนวนมากที่จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นคัมภีร์ใบลาน ธรรมาสน์ ภาพพระบฏ  ตู้พระธรรม  กล่องใส่คัมภีร์ใบลาน ผ้าห่อคัมภีร์ใบลาน  ฯลฯ

 ส่วนที่สี่   เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวบ้านม่วงที่มีทั้งวิถีชีวิตประจำวัน   การประกอบอาชีพ  คติความเชื่อ   และประเพณีในรอบปี   ซึ่งจัดแสดงโดยใช้ภาพถ่ายและศิลปะโบราณวัตถุเป็นส่วนสำคัญในการบอกกล่าวเรื่องราวถ่ายทอดสู่ผู้เข้าชม

ส่วนที่ห้า   เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงในชุมชนบ้านม่วงและท้องถิ่นใกล้เคียง   ซึ่งจะใช้ภาพถ่ายเป็นส่วนสำคัญในการสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต   การประกอบอาชีพ   คติความเชื่อและประเพณีในรอบปีของชาวบ้านม่วงและท้องถิ่นใกล้เคียง

 นอกจากนั้นภายในวัดยังมีศูนย์มอญศึกษา เปิดสอนภาษามอญให้กับบุคคลทั่วไปทุกวันพุธ และวันพฤหัสบดี  พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วงเปิดให้เข้าชมในวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00�16.00 น. โดยไม่เสียเข้าชม (หากสนใจเข้าชมวันจันทร์-ศุกร์ กรุณาติดต่อล่วงหน้าก่อนเข้าชม และ เข้าชมเป็นหมู่คณะควรติดต่อล่วงหน้าหรือทำหนังสือเรียนเจ้าอาวาสวัดม่วง) สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3237 2548, 086-004 0786, 089-885 8817 หรือที่เว็บไซต์  www.monstudies.org

 พิพิธภัณฑ์ พื้นบ้านวัดม่วงขอเชิญชวนผู้เข้าชมที่เดินทางมาเป็นหมู่คณะตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปลองลิ้มชิมรสอาหารคาวหวานพื้นบ้านแบบมอญ เช่น แกงบอน น้ำปลายำ แกงมะตาด ในราคาเป็นกันเอง ติดต่อล่วงหน้าที่คุณสอางค์ พรหมอินทร์ บริเวณวัดยังมีศูนย์ทอผ้าพื้นบ้าน จำหน่ายผ้าทอมือ ผ้าขาวม้าฝีมือชาวบ้าน เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-18.00 น.

 สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 086-111 1367

 การเดินทาง

 รถยนต์ จากตัวเมืองราชบุรีไปตามทางหลวงหมายเลข 4 แล้วแยกเข้าอำเภอบ้านโป่ง ไปตามทางหลวงหมายเลข 3089 (โคกสูง-เบิกไพร) (ทางไปถ้ำเขาช่องพราน) จากนั้นข้ามสะพานแม่น้ำแม่กลองตรงไปประมาณ 7 กิโลเมตรและจากปากทางแยกเข้าไปอีก 2.5 กิโลเมตร ก็จะถึงพิพิธภัณฑ์

 รถโดยสารประจำทาง จากกรุงเทพฯ นั่งรถสายกรุงเทพฯ-กาญจนบุรีมาลงที่อำเภอบ้านโป่ง แล้วนั่งรถโดยสารประจำทางสายบ้านโป่ง-โพธาราม มาลงที่หน้าวัดม่วง

 

 

 

 


Loading...

 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทย

 
ราชบุรี/Information of RATCHABURI

  พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทย

 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

ราชบุรี
อำเภอดำเนินสะดวก
อำเภอบ้านโป่ง
อำเภอสวนผึ้ง


โป่งยุบ
PONG YUB
(ราชบุรี)
อำเภอเมือง


เขาน้อย

Noi Hill
(ราชบุรี)


เขาหลวง

Luang Hill
(ราชบุรี)


เขาวัง

Khao Wang
(ราชบุรี)
อำเภอโพธาราม
แผนที่จังหวัดราชบุรี/map of RATCHABURI
โรงแรมจังหวัดราชบุรี/Hotel of RATCHABURI

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์