ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > จังหวัดหนองคาย >พระธาตุบังพวน/Phra That Bang Phuan 

พระธาตุบังพวน/ Phra That Bang Phuan

 

วัดพระธาตุบังพวน

จังหวัดหนองคาย เป็นศาสนสถานสำคัญแห่งหนึ่งของภาคอีสาน เพราะมีพระธาตุบังพวนซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุ และสัตตมหาสถานจำลอง หนึ่งในสามที่ปรากฏอยู่ในโลก นอกเหนือจากที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย พร้อมทั้งพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่สักการะบูชากันอย่างกว้างขวางตำนานของการสร้างพระธาตุบังพวนที่ปรากฏในคัมภีร์อุรังคนิทานมีอยู่ว่า เมื่อพระยาเมืองทั้ง 5 ได้แก่ พระยาสุวรรณภิงคาร เจ้าเมืองหนองหาน สกลนคร พระยาคำแดง เจ้าเมืองหนองหารน้อย อุดรธานี พระยาจุลณีพรหมทัต เจ้าเมืองจุลณี (ลาวเหนือ) พระยาอินทปัตนคร เจ้าเมืองอินทปัตนคร (เขมร) และพระยานันทเสน เจ้าเมืองศรีโคตรบูรณ์หลวง (ตรงข้ามนครพนม) พร้อมด้วยพระอรหันต์ 500 องค์ ทำการสร้างพระธาตุพนมเสร็จสมบูรณ์แล้วจึงบรรลุพระอรหันต์ ต่อมาได้เดินทางไปยังชมพูทวีปเพื่ออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า 45 พระองค์ นำมาประดิษฐานไว้ยังสถานที่ 4 แห่งต่างๆกัน โดยภูเขาหลวงซึ่งเป็นที่ตั้งของพระธาตุบังพวนเป็นหนึ่งในสี่แห่งนั้น ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาพักที่ร่มไม้โพธิ์ ณ ภูเขาหลวง เมื่อพระยาจันทบุรีประสิทธสักกะเทวะแห่งเมืองเวียงจันทน์ทราบจึงทรงให้สร้างอุโมงค์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขึ้นตรงพระธาตุบังพวน

ปัจจุบันนี้

ประวัติของพระเจดีย์ของพระธาตุบังพวนนั้นพบว่า สร้างขึ้นโดยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช แห่งแผ่นดินล้านช้างร่มขาว (ช่วง พ.ศ.2039 - พ.ศ.2115) เมื่อพระองค์ได้ย้ายราชธานีจากนครหลวงพระบางมาที่จันทบุรีสตนาคนหุตทรงพบ ศิลาจารึกที่พระอรหันต์และพระยาจันทบุรีทำไว้ที่เวียงจันทน์ว่า มีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานอยู่ในอุโมงค์ใต้ดินที่ภูเขาหลวง จึงได้นำพระสงฆ์และไพร่พลเดินทางมาสร้างเจดีย์อิฐครอบพระอุโมงค์นั้นไว้ แล้วตั้งชื่อว่า “พระธาตุพังพวนเจดีย์ ศรีสัตตมหาทาน” แล้วทรงสร้างพระอารามขึ้นที่นี่ด้วยนอกจากนี้ยังได้สร้าง “สัตตมหาสถาน” เพื่อจำลองสถานที่สำคัญ 7 แห่ง จากพุทธประวัติ เมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้บรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณที่พุทธคยา ประกอบด้วยสถานที่ที่พุทธองค์ประทับแห่งละ 7 วัน รวมเวลาทั้งหมด 49 วัน พระองค์จึงได้เสวยวิมุตติสุข คือ ความสุขอันเกิดจากการหลุดพ้นจากกิเลส

สถานที่ตั้ง

บ้านพระธาตุบังพวน ต. พระธาตุบังพวน อ.เมือง จ.หนองคายสัตตมหาสถานแห่งวัดพระธาตุบังพวนนี้ ได้สร้างไว้ตามตำแหน่งที่ปรากฏในประเทศอินเดียที่รัตนฆรเจดีย์ พระอชปาลนิโครธเจดีย์ และราชายตนะเจดีย์ เป็นที่ประดิษฐานองค์พระพุทธรูปปางสมาธิราบ และมุจลินทเจดีย์ ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรกมาแต่ครั้งโบราณ และเป็นที่สักการบูชาของชาวพุทธทั้งหลาย ซึ่งถือเป็นมงคลเสมือนได้มากราบพระศาสดาในสัตตมหาสถานอย่างแท้จริง ในปี พ.ศ.2513 องค์พระธาตุบังพวนได้พังทลายลงมาด้วยความเก่าแก่ กรมศิลปากรจึงได้ดำเนินการบูรณะขึ้นดังเดิมอีกครั้ง โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พร้อมทั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธาน และร่วมยกฉัตรสู่ยอดพระธาตุบังพวนเมื่อปี พ.ศ.2521เทศกาล งานประเพณในวันเพ็ญเดือน 3 (กุมภาพันธ์) ของทุกปี จะมีงานสักการะพระธาตุบังพวน เป็นเวลา 5 วัน 5 คืน

 

 


Loading...

 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวพระธาตุบังพวน

 
หนองคาย/Information of NONGKHAI

  Phra That Bang Phuan พระธาตุบังพวน
A very old pagoda, Phar That Bang Phuan houses the holy relics of Lord Buddha. The pagoda received
additions in the reign of King Chai Chettha but later crumbled because of rain. The Fine Art Department made
complete restoration in 1970. A fun-filled festival is held very January. The pagoda is 12 km. from km. 10 on
highway No.211. From available records, the pagoda collapsed into the Mekong in 1847 and over the years
drifted to the center of the river where it can be seen today.


 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

หนองคาย แผนที่จังหวัดหนองคาย
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมือง


จุดชมวิว
ViewPoint
(หนองคาย)


ภูทอก
Phu Thok
(หนองคาย)
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอท่าบ่อ
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอบึงกาฬ
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอศรีเชียงใหม่
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอสังคม
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเซกา
แผนที่จังหวัดหนองคาย/map of NONGKHAI
โรงแรมจังหวัดหนองคาย/Hotel of NONGKHAI

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์