ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > จังหวัดเชียงราย >วัดพระสิงห์/Wat Phra Singha 

วัดพระสิงห์/ Wat Phra Singha

 

วัดพระสิงห์

วัดพระสิงห์เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่ ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย มีเนื้อที่ 4 ไร่ 2 งาน 52 ตารางวา ทิศเหนือติดถนนสิงหไคล ทิศใต้ติดถนนพระสิงห์ ทิศตะวันออกติดถนนท่าหลวง ทิศตะวันตกติดถนนภักดีณรงค์ สันนิษฐานกันว่าน่าจะสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้ามหาพรหม ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระเจ้ากือนา ผู้ครองเมืองเชียงใหม่ ราวปีพ.ศ. 1928 (พระเจ้ามหาพรหมเสวยราชย์ ณ เมืองเชียงราย ระหว่าง พ.ศ. 1888-พ.ศ. 1943

ประวัติวัดพระสิงห์ เป็นพระอารามหลวงเก่าแก่แต่โบราณกาล และเป็นศาสนสถานอันเป็นศูนย์รวมใจของชาวเชียงรายมาอย่างยาวนาน มูลเหตุที่ได้ชื่อว่า วัดพระสิงห์ นั้นเชื่อกันว่า น่าจะมาจากการที่ครั้งหนึ่ง วัดนี้ เคยเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของไทยในปัจจุบัน คือ พระพุทธสิหิงค์ หรือที่เรียกกันในชื่อสามัญว่า พระสิงห์

ตำนานพระสิงห์

ผู้รู้บางท่านกล่าวว่า หากพิจารณาถึงคำว่า พระสิงห์ นั้น หมายถึง วัดซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระสิงห์มาก่อน พระสิงห์ เป็นนามพระพุทธรูป อันบ่งบอกถึงคติพระพุทธศาสนาเถรวาทอย่างลังกาวงศ์ตรงกับ พระพุทธสิหิงค์ อันเป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่ทางภาคเหนือล้านนาไทย มิได้เรียกว่า พระพุทธสิหิงค์ นิยมเรียกว่า พระสิงห์ ท่านผู้รู้บางท่านพยายามคิดว่า พระสิงห์ หมายถึง สิงหนวัติ กษัตริย์โบราณผู้สร้างเมืองโยนกนครก็มี บางท่านอธิบายว่า หมายถึง พระศากยสิงห์ คือพระนามหนึ่งของ พระพุทธเจ้า กระนั้น เท่าที่พิจารณาโดยตลอดแล้ว เห็นว่า พระสิงห์ ก็ดี พระพุทธสิหิงค์ ก็ดี น่าจะพึงยุติกันได้ว่าเป็นนามของพระพุทธรูป อันบ่งบอกถึงคติพระพุทธศาสนาอย่างลังกาวงศ์ เพราะทุกที่ที่ปรากฏว่ามี พระสิงห์ หรือ พระพุทธสิหิงค์ นั้นแสดงให้เห็นว่า สถานที่เหล่านั้นได้มีพระพุทธศาสนาเถรวาทอย่างลังกาวงศ์แพร่หลายไปถึง ฉะนั้น ควรถือกันว่าพระพุทธรูปที่เรียกพระนามอย่างนี้ เป็นสัญลักษณ์แห่งพระพุทธศาสนาเถรวาท อย่างลังกาวงศ์ในประเทศไทยและก่อนศตวรรษที่ 20 ขึ้นไป จะไม่พบหลักฐานเช่นนี้เลย

พระพุทธสิหิงค์ หรือ พระสิงห์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะล้านนาไทย พุทธศตวรรษที่ 21 มีพุทธลักษณะสง่างาม อย่างยากที่จะหาพระพุทธรูปในสมัยเดียวกันมาทัดเทียมได้ หน้าตักกว้าง 37 เซนติเมตร สูงทั้งฐาน 66 เซนติเมตร ชนิดสำริดปิดทอง ประดิษฐานอยู่บนบุษบกภายในกุฏิเจ้าอาวาส ชาวเชียงรายและประเทศใกล้เคียงในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ถือว่า พระสิงห์ เป็นพระพุทธปฏิที่ทรงความสำคัญ และทรงความศักดิ์สิทธิ์มีมหิทธานุภาพสามารถยังความสงบร่มเย็น และเป็นมิ่งขวัญของชาวประชามาทุกยุคทุกสมัย จนกล่าวกันว่า พระพุทธสิหิงค์ หรือ พระสิงห์ คือ พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเชียงรายและประเทศใกล้เคียง

พระพุทธสิหิงค์ หรือ พระสิงห์เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทยมาอย่างยาวนานมีหลักฐานปรากฏในสิหิงคนิทานบันทึกไว้ว่า สร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศักราช 700 ในประเทศลังกา และประดิษฐานอยู่ที่ลังกา 1150 ปี จากนั้นได้ถูกอัญเชิญมาประดิษฐานยังราชอาณาจักรไทยตามลำดับ ดังนี้

พ.ศ. 1850 ประดิษฐานที่กรุงสุโขทัย 70 ปี
พ.ศ. 1920 ประดิษฐานที่พิษณุโลก 5 ปี
พ.ศ. 1925 ประดิษฐานที่กรุงศรีอยุธยา 5 ปี
พ.ศ. 1930 ประดิษฐานที่กำแพงเพชร 1 ปี
พ.ศ. 1931 ประดิษฐานที่เชียงราย 20 ปี
พ.ศ. 1950 ประดิษฐานที่เชียงใหม่ 255 ปี
พ.ศ. 2250 ประดิษฐานที่กรุงศรีอยุธยา 105 ปี
พ.ศ. 2310 ประดิษฐานที่เชียงใหม่ 28 ปี
พ.ศ. 2338 ประดิษฐานที่กรุงเทพฯ – ปัจจุบัน

ปูชนียวัตถุและถาวรวัตถุที่สำคัญของวัด

พระประธาน
พระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธปฏิมาศิลปะล้านนาไทย พุทธศตวรรษที่ 21 ปางมารวิชัย ชนิดสำริดปิดทอง หน้าตักกว้าง 204 เซนติเมตร สูงทั้งฐาน 284 เซนติเมตร ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถมีพุทธลักษณะสง่างาม ประณีต ที่ฐานมีจารึกอักษรธรรมล้านนาไทยว่า “กุลลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา อพยากตา ธมฺมา” อันหมายถึง ปริศนาธรรมระดับปรมัตถ์ในทางพระพุทธศาสนาที่ระบุว่า สภาวะธรรมทั้งปวงมี 3 ประเภท คือ

ธรรมทั้งหลายที่เป็น “กุศล” ก็มี
ธรรมทั้งหลายที่เป็น “อกุศล” ก็มี
ธรรมทั้งหลายที่อยู่นอกเหนือจาก “กุศลและอกุศล” ก็มี

พระอุโบสถ
พระอุโบสถสร้างขึ้นราวปีพ.ศ. 1251 - พ.ศ. 1252 ปีฉลู-ปีขาล เดือน 8 ขึ้น 12 ค่ำ วันเสาร์ เวลา 12.00 น. (พ.ศ. 2432 ถึง พ.ศ. 2433) รูปทรงเป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านนาไทยสมัยเชียงแสน โครงสร้างเดิมเป็นไม้เนื้อแข็ง และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ให้มีสภาพสมบูรณ์ และสวยงามยิ่งขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2504 และครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2533 โดยพระราชสิทธินายก เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

บานประตูหลวง
บานประตูหลวง ทำด้วยไม้แกะสลักจิตกรรมอย่างประณีตวิจิตรบรรจง เป็นปริศนาธรรมระดับปรมัตถ์ ออกแบบโดยศิลปินเอกผู้มีผลงานเป็นที่กล่าวขานในระดับโลก นามว่า อ.ถวัลย์ ดัชนี เป็นเรื่องราวของ ดิน น้ำ ลม ไฟ อันหมายถึง ธาตุทั้ง 4 ที่มีอยู่ในร่างกาย คนเราทุกคน

ดิน คือ เนื้อ หนัง กระดูก
น้ำ คือ ของเหลวต่างๆ ที่มีอยู่ในร่างกาย เช่น น้ำ โลหิต ปัสสาวะ
ลม คือ อากาศที่เราหายใจเข้าออก ลมปราณที่ก่อเกื้อให้ชีวิตเป็นไป
ไฟ คือ ความร้อนที่ช่วยในการเผาผลาญอาหารเกิด พลังงาน
แนวคิดของ อ.ถวัลย์ ดัชนี ถ่ายทอดธาตุทั้ง 4 ออกเป็นสัญลักษณ์รูปสัตว์ 4 ชนิด เพื่อการสื่อความหมายโดยให้

ช้าง เป็นสัญลักษณ์ของ ดิน
นาค เป็นสัญลักษณ์ของ น้ำ
ครุฑ เป็นสัญลักษณ์ของ ลม
สิงห์โต เป็นสัญลักษณ์ของ ไฟ
ผสมผสานกันโดยมีลวดลายไทยเป็นส่วนประกอบ ทำให้มีลีลาเฉพาะแบบของ อ.ถวัลย์ ดัชนี งานแกะสลักบานประตูวิหารนี้ พระราชสิทธินายก เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ได้มอบความไว้วางใจให้ สล่าอำนวย บัวงาม หรือ สล่านวย และลูกมืออีกหลายท่านเป็นผู้แกะสลัก ใช้เวลาในการแกะสลักเกือบหนึ่งปี ได้บานประตูมีขนาด กว้าง 2.40 เมตร ยาว 3.50 เมตร และหนา 0.2 เมตร ด้วยลวดลายและลีลาการออกแบบ และฝีมือการแกะสลักเสลาอย่างประณีตบรรจง นับว่า บานประตูนี้ได้ช่วยส่งเสริมความงดงาม ของพระวิหารได้โดดเด่นมากขึ้น

พระเจดีย์
พระเจดีย์ เป็นพุทธศิลป์แบบล้านนาไทย สร้างในสมัยเดียวกันกับพระอุโบสถ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์หลายครั้ง คือ พ.ศ. 2492 ครั้งหนึ่ง โดยท่านพระครูสิกขาลังการ เจ้าอาวาสในขณะนั้น และอีกหลายครั้งในสมัยต่อมา โดยท่านเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

พระพุทธบาทจำลอง
พระพุทธบาทจำลองบนแผ่นศิลาทราย มีขนาดกว้าง 60 เซนติเมตร ยาว 150 เซนติเมตร มีจารึกอักษรขอมโบราณ ว่า “กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา อพยากตา ธมฺมา”

หอระฆัง
เป็นสถาปัตยกรรมร่วมสมัยแบบล้านนาไทยประยุกต์ มีระฆังเป็นแบบใบระกาหล่อด้วยทองเหลืองทั้งแท่ง ซึ่งหาดูได้ยากมากในปัจจุบัน ขนาดความสูง 25 นิ้ว ยาว 39 นิ้ว หนา 1 นิ้ว ขุดพบบริเวณวัดพระสิงห์ เมื่อ พ.ศ. 2438 ปัจจุบันชั้นล่างใช้เป็นหอกลอง

ต้นพระศรีมหาโพธิ์จากพุทธคยา
พลโทอัมพร จิตกานนท์ นำมาจากพุทธคยา ประเทศอินเดีย โดยความอนุเคราะห์จากท่านเอกอัครราชทูตอินเดียและอาศรมวัฒนธรรมไทย-ภารตะ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 และปลูกเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2506 ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นต้นไม้มงคลเนื่องในพระพุทธศาสนา ในฐานที่เป็นต้นไม้ซึ่ง พระโพธิสัตว์ลาดบัลลังก์ประทับในคืนก่อนตรัสรู้ เดิมเรียกกันว่าต้น “อัสสัตถพฤกษ์” ที่ได้ชื่อว่า “ต้นพระศรีมหาโพธิ์” ก็เพราะเป็นต้นไม้ อันเป็นสถานที่ตรัสรู้ “โพธิธรรม” ของพระโพธิสัตว์สิทธัตถะ ซึ่งต่อมาก็คือ สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

ต้นสาละลังกา
ต้นสาละลังกาเป็นไม้มงคลเนื่องในพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับต้นพระศรีมหาโพธิ์ คือ เป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับสำเร็จสีหไสยาสน์เป็นครั้งสุดท้าย ก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมกิตติโสภณ นำมาจากประเทศศรีลังกา และนำมาปลูกไว้ที่วัดพระสิงห์เมื่อ พ.ศ. 2512

เจ้าอาวาสวัดพระสิงห์
วัดพระสิงห์ มีเจ้าอาวาสที่บริหารวัดสืบต่อกันมานับแต่ปีที่สร้างวัด จนปัจจุบันจำนวน 9 รูป คือ

ครูบาปวรปัญญา พ.ศ. 1943 - พ.ศ. 1962
ครูบาอินทจักรรังษี พ.ศ. 1962 - พ.ศ. 1985
พระอธิการอินตา พ.ศ. 1985 - ….
พระมหายศ พ.ศ. ....
พระธรรมปัญญา พ.ศ. 2413 - พ.ศ. 2440
พระครูเมธังกรญาณ (ป๊อก) พ.ศ. 2440 - พ.ศ. 2473
พระครูเมธังกรญาณ (ดวงต๋า) พ.ศ. 2473 - พ.ศ. 2488
พระครูสิกขาลังการ พ.ศ. 2489 - พ.ศ. 2522
พระราชสิทธินายก (ชื่น ปญฺญาธโร -แก้วประภา - ป.ธ.6) เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2523 - ปัจจุบัน



Loading...

 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยววัดพระสิงห์

 
เชียงราย/Information of CHIANGRAI

  Wat Phra Singha
This temple, on Singhakhlai Road, is a fine example of Lanna Thai religious architecture. The Phra
Buddha Singh image now hourse in Chaing Mai's Wat Phra Singh was formerly enshrined here.

 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

เชียงราย ประวัติเชียงราย โรงแรม+ร้านอาหาร จังหวัดเชียงราย แผนที่เชียงราย
กิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง


หมู่บ้านชาวเขา
Chaokhao Village
(จังหวัดเชียงราย)


ดอยตุง
Wat Phra That Doi Thong
(จังหวัดเชียงราย)


สวนแม่ฟ้าหลวง
Mae Fa Luang Garden
(จังหวัดเชียงราย)


จุดชมวิว
Viewpoint
(จังหวัดเชียงราย)
ดูเอเซียแนะนำ


วนอุทยานน้ำตกแม่โท

Mae Tho Waterfall
(จังหวัดเชียงราย)


ดอยช้างมูบ
Chang Mup Hill
(จังหวัดเชียงราย)

อำเภอพาน


ถ้ำผายาว

Pha Yao Cave
(จังหวัดเชียงราย)


พระธาตุจอมแว่

Chom Wae Relics
(จังหวัดเชียงราย)


พระธาตุสามดวง

Sam Duang Relics
(จังหวัดเชียงราย)
 
อำเภอเชียงแสน


ล่องแก่งแม่กก
Mae Kok Rafting
(จังหวัดเชียงราย)


ภูชี้ฟ้า
Phu Chi Fa Forest Park

(จังหวัดเชียงราย)


น้ำตกบ้านไร่
Ban Rai Waterfall
(จังหวัดเชียงราย)


วัดป่าสัก

Wat Pa Sak
(จังหวัดเชียงราย)


วัดเจดีย์เจ็ดยอด

Wat Chedi Chet Yot
(จังหวัดเชียงราย)


ทะเลสาบเชียงแสน
Chiang Saen Lagoon
(จังหวัดเชียงราย)



บ้านหาดบ้าย
Baan Haad Bai
(จังหวัดเชียงราย)
อำเภอเมือง


วัดพระสิงห์
Wat Phra Singha
(จังหวัดเชียงราย)


วัดพระแก้ว
Wat Phra Kaew
(จังหวัดเชียงราย)

อำเภอเวียงป่าเป้า


เวียงกาหลง

Wiang Kalong
(จังหวัดเชียงราย)
อำเภอเวียงแก่น


ดอยผาตั้ง
Pa Tang Hill
(จังหวัดเชียงราย)
อำเภอแม่จัน


ดอยแม่สลอง
Mae Salong Hill

(จังหวัดเชียงราย)
อำเภอแม่สาย


ถ้ำปุ่ม

Pum Cave
(จังหวัดเชียงราย)


ถ้ำปลา
Pla Cave
(จังหวัดเชียงราย)


ถ้ำเสาหินพญานาค
Phayanak Cave
(จังหวัดเชียงราย)


ท่าขี้เหล็ก

Tha Khilek
(จังหวัดเชียงราย)
แผนที่จังหวัดเชียงราย/map of CHIANGRAI
โรงแรมที่พักใน เชียงราย / Hotel of CHIANGRAI

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์