ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > จังหวัดเชียงราย >ภูชี้ฟ้า/Phu Chi Fa Forest Park 

ภูชี้ฟ้า/ Phu Chi Fa Forest Park

 

วนอุทยานภูชี้ฟ้า

ภูชี้ฟ้าข้อมูลทั่วไป
วนอุทยานภูชี้ฟ้าอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่อิงฝั่งขวาและป่าแม่งาว ท้องที่บ้านร่มฟ้าทอง หมู่ที่ 9 และบ้านร่มฟ้าไทย หมู่ที่ 10 ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย อยู่ในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ หรือพื้นที่ป่าโซน C ตามแผนที่ ZONING เนื้อที่ที่สำรวจและเห็นควรจัดตั้งเป็นวนอุทยาน ประมาณ 2,500 ไร่ โดยกรมป่าไม้ได้มีคำสั่งจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2541

ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่วนอุทยานเป็นยอดเขาสูงในเทือกเขาดอยผาหม่น ติดชายแดนไทย - สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,200 เมตร ถึง 1,628 เมตร จุดสูงสุดคือ บริเวณจุดชมวิว มีความลาดชันเฉลี่ยทั่วพื้นที่ประมาณ 40 เปอร์เซนต์

ลักษณะภูมิอากาศ
อากาศบนภูเขาจะค่อนข้างเย็นแต่ฤดูกาลจะเป็นแบบมรสุมเมืองร้อน โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงฤดูฝน และลมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว แบ่งเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง ตุลาคม และฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์

ภูชี้ฟ้าพืชพรรณและสัตว์ป่า
เป็นป่าดิบเขา ยกเว้นบนยอดภูชี้ฟ้าเป็นทุ่งหญ้าประมาณ 300 ไร่ ชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ เสี้ยวดอกขาว ก่อเดือย ก่อก้างด้าง ก่อแดง ก่อน้ำ ก่อแป้น ก่อสีเสียด อบเชย กำยาน หว้า เหมือด สารภี จำปาป่า จำปีป่า พันธุ์ไม้พื้นล่าง ได้แก่ เอื้องดิน หญ้าคา หญ้าแฝก หญ้าหางหนู หญ้าสามคน หญ้าไม้กวาด หญ้าเลา มอส เฟิร์นชนิดต่าง ๆ

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่พบเห็นได้แก่ เก้ง กระจง หมูป่า อีเห็น ชะมด เสือไฟ เสือ ปลา แมวป่า หมูหริ่ง บ่าง เม่น พังพอน ค้างคาว กระต่ายป่า เพียงพอน กระรอกบิน กระรอก กระแต

นกที่พบเห็นได้แก่ นกเขา เหยี่ยว นกกระสา นกอินทรี นกฮูก นกปรอด นกแขวก นกเค้าแมว นกแสก นกกระปูด นกเอี้ยง นกกางเขน นกขมิ้น นกกระทาดง นกกวัก นกกิ้งโครง นกขุนทอง นกแซว นกนางแอ่น นกยูง นกตะขาบ นกหัวขวาน นกดุเหว่า ไก่ป่า ไก่ฟ้า

สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ที่พบเห็นได้แก่ เต่า กบ เขียด คางคก ปาด อึ่งอ่าง

สัตว์เลื้อยคลาน ที่พบเห็นได้แก่ งูชนิดต่าง ๆ ตะกวด ลิ่น ตุ๊กแกป่า กิ้งก่าบิน กิ้งก่า จิ้งเหลน แย้ ตะขาบ แมลงป่อง กิ้งกือ

ปลาที่พบเห็นได้แก่ ปลาแก้ม ปลาข้างลาย ปลาก้าง ปลาขาว ปลาซิว

ภูชี้ฟ้าสถานที่ติดต่อ
วนอุทยานภูชี้ฟ้า ต.ปอ อ. เวียงแก่น จ. เชียงราย 57310
โทรศัพท์ 0 5371 4914 โทรสาร 0 5371 1961 อีเมล reserve@dnp.go.th

การเดินทาง

รถยนต์
ภูชี้ฟ้าอยู่ห่างจากอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ประมาณ 144 กิโลเมตร การเดินทางจากอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ไปยังภูชี้ฟ้าได้ตามแนวเส้นทางดังนี้

จากอำเภอเมืองเชียงรายไปอำเภอเทิง ผ่านสามแยกโรงเรียนภูซางวิทยาคม บ้านสบบงและสามแยกบ้านม่วงชุมแล้วเดินทางต่อไป ก็จะถึงภูชี้ฟ้า
ไปตามทางหลวงจังหวัดสาย 1093 ผ่านน้ำตกภูซาง ด่านบ้านฮวก ศูนย์ส่งเสริมเกษตรที่สูงดอยผาหม่น

ภูชี้ฟ้าส้นทางสายนี้เป็นทางลาดยาง 104 กิโลเมตรและทางดินลูกรัง 40 กิโลเมตร ผ่านจุดท่องเที่ยวสำคัญ 3 แห่งได้แก่
น้ำตกภูซาง (อุทยานแห่งชาติภูซาง) และด่านบ้านฮวก หมู่บ้านชายแดนไทย - สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ศูนย์ส่งเสริมเกษตรที่สูงดอยผาหม่น ทดลองและส่งเสริมปลูกไม้ดอกเมืองหนาว เช่น ทิวลิป ลิลลี่

จากภูชี้ฟ้าสามารถเดินทางไปยังดอยผาตั้ง อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย โดยอยู่ห่างออกไปตามเส้นทางหลวงจังหวัดสาย 1093 เป็นระยะทาง 25 กิโลเมตร และจากดอยผาตั้งยังสามารถเดินทางต่อไปยังอำเภอเชียงของ อำเภอเชียงแสน และอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายได้อีกด้วย

ภูชี้ฟ้า ที่พัก-บริการ
วนอุทยานภูชี้ฟ้า ไม่มีบ้านพักหรือค่ายพักแรมบริการแก่นักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะไปพักแรม โปรดนำเต็นท์ไปกางเอง โดยทางวนอุทยานได้จัดสถานที่ไว้ให้พร้อมกับห้องสุขา ส่วนเรื่องอาหารต้องจัดเตรียมไปเอง แล้วไปติดต่อขออนุญาตใช้สถานที่กับเจ้าหน้าที่ที่หัวหน้าวนอุทยานภูชี้ฟ้าโดยตรง รายละเอียดสอบถามได้ที่สำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 จังหวัดเชียงราย โทร. (053) -714914 หรือฝ่ายจัดการวนอุทยาน สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทร. 0-25614292 -3 ต่อ 719 ในวันและเวลาราชการ

ผมได้ไปเจอบทความจากเว็บไซต์ http://www1.mod.go.th/heritage/nation/tour    เขาเดินทางไปภูชี้ฟ้าขับรถไปเอง จึงหยิบมาเล่าสู่กันฟัง ดีมากๆ เห็นภาพเลย เพื่อนเข้าไปอ่านเรื่องอื่นๆ จากเว็บเขาได้ครับ ข้อมูลดังนี้

ภูชี้ฟ้าใกล้จะถึงฤดูหนาวแล้ว  ใครยังไม่เคยไปขอให้พยายามไปให้ได้ ไม่งั้นจะชวดได้พบเห็นความงดงามอีกแห่งหนึ่งของภาคเหนือของไทย  นั่นคือ "ภูชี้ฟ้า"  อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย  แต่หากดูจากแผนที่แล้วน่าจะอยู่ในเขต กิ่งอำเภอ ภูซาง ซึ่งตั้งขึ้นใหม่และอยู่ไม่ไกลกันกับ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา (เดิมคือ จังหวัดเชียงราย)  ความงดงามหากจะเรียกตามศัพท์วัยรุ่นคงต้องบอกว่า เป็นธรรมชาติที่งามอย่างสุดสุดเลยทีเดียว  ผมเองก็เดินทางท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศมามากพอสมควร  แต่ขอให้คำสัญญาว่ายังไม่เคยเห็นทะเลหมอกที่ไหน  งดงามเหมือนขึ้นไปชมบนยอดภูชี้ฟ้าแห่งนี้เลย  งามจริง  สายหมอกไม่ได้มาเป็นสาย  แต่ยังกับน้ำทะเลและยังเคลื่อนไหวหรือไหลได้อีกด้วย  จึงงดงามสุดที่ผมจะบรรยายได้  แต่การไปเที่ยวชมทะเลหมอก และพระอาทิตย์ขึ้นที่ภูชี้ฟ้านั้นจะงดงามสุดสุด ก็อยู่ในระยะเวลา ๓ - ๔ เดือน  คือตั้งแต่ พฤศจิกายน  ซึ่งยังไม่แน่นักว่าจะงามสุดสุด  ถึงเดือนกุมภาพันธ์ยิ่งหนาวยิ่งสวยว่างั้นเถอะ 

 แต่หากจะดูแต่ความงดงามของดวงอาทิตย์ขึ้นก็ไปชมได้ทุกฤดูกาล  ส่วนทะเลหมอกนั้นเอากันสวยจริงและแน่นอนจริง ๆ คือธันวาคม - กุมภาพันธ์  และหากไม่ใช่หนุ่มสาวหรือวัยที่แข็งแรงจริง ๆ แล้ว อย่าเสี่ยงไปแบบผม  คือผมอุตริไปตอนเขาหยุดระยะยาวในวันปีใหม่  คนหนุ่มคนสาวเขาคิดอย่างผม  คิดแบบคนที่ยังไม่เคยไป  หยุดนานจะได้ไปเที่ยวหลายแห่งสนุกดี  เมื่อความคิดตรงกันเป็นพัน เป็นหมื่นคน  พอวันปีใหม่ขึ้นไปรับปีใหม่ ชมทะเลหมอก ชมอาทิตย์ยามเช้าของวันปีใหม่ที่ภูชี้ฟ้า  จึงมีคนแห่ขึ้นไปชมมากมายหลายพันคน  จนพื้นที่ที่จะยืนได้ตามธรรมชาติบนภูชี้ฟ้าแทบจะขยับตัวไม่ได้  เห็นสีดำตัดกับขอบฟ้าเดาไม่ถูก  แต่พอแสงอาทิตย์สาดส่องมาให้เห็นกันชัด ๆ  กลายเป็นหัวคนที่ยืนกันเต็มไปหมดทั้งสิ้นจึงขอให้วางแผนให้ดี  ไปก่อนหรือหลังวันหยุดยาวที่เรียกกันว่า ลอง วีคเอนด์ จะดีที่สุด  และต้องเตรียมการกันนานอีกอย่างคือ  ที่พัก  เพราะอย่าว่าแต่จะหาบ้านพักเลย  เอาแต่พื้นที่ดินที่จะกางเต็นท์นอนทั้งที่เสียค่าเช่าหรือฟรียังแทบจะหาไม่ได้  และถึงหาได้หากไม่เตรียมการไว้ให้ดีก็จะขาดแคลนน้ำดื่ม  เพราะจะหาซื้อยาก  ส่วนน้ำอาบนั้นสำหรับคณะกางเต็นท์ไม่ต้องพูดยกยอดเอาไว้มื้อหน้าได้เลย  ผมไปมาแล้ว ๗ เดือน  เก็บเรื่องเอาไว้ก่อน เขียนเอาจวน ๆ จะหนาวเพื่อให้ท่านผู้อ่านไปเที่ยวภูชี้ฟ้า  ได้เตรียมตัว เตรียมร่างกายกันอย่างมีเวลา  รวมทั้งเตรียมยานพาหนะด้วย  โดยเฉพาะผู้ที่ใช้รถส่วนตัวที่ ซี.ซี.ต่ำ เช่นผม กล้าหาญเอารถขนาด ๑๖๐๐ ซี.ซี. ขึ้นไปได้จนถึงที่พักซึ่งก็อยู่ห่างจากยอดภูชี้ฟ้าเพียง ๖ กม.
 ภูชี้ฟ้า           ผมออกเดินทางจากกรุงเทพ ฯ  โดยทางรถยนต์หรือรถขนาดกระป๋องของผม  ซึ่งรถคันนี้ขึ้นเหนือสุดของประเทศมาแล้วหลายเที่ยว ใต้สุดลงไปถึงภูเก็ต อีสาน คงจะครบทุกจังหวัด ตะวันออก  ตะวันตกนั้นไม่ต้องพูดใกล้นิดเดียวและที่สำคัญคือ ไต่ขึ้นอุทยานแห่งชาติดอยปุย ไปยังพระพุทธบาทสี่รอย ที่อำเภอแม่ริม จ.เชียงใหม่มาได้แล้ว จึงนับว่าทรหดเอาเรื่อง อย่ามาถามผมว่ายี่ห้ออะไร เดี๋ยวรถเขาจะขายดีเกินเหตุ ยี่ห้อนี้ไปติดใจตอนที่ไปตระเวนขับรถในนิวซีแลนด์เมื่อปีที่แล้ว  กลับมาเลยตัดใจซื้อแต่ ซี.ซี. ต่ำกว่าคันที่เช่าขับที่นิวซีแลนด์
            ไปกับคณะใหญ่พอสมควร  แต่ไม่ได้ตั้งต้นจากจุดเดียวกัน  นัดกันที่ปลายทางเลย คือ ภูชี้ฟ้า  โดยจะพักที่อุกฤษ ฟาร์มฮิลล์ ๐๑ ๙๙๒๘๓๘๔  อยู่เลยกิ่งอำเภอภูซางขึ้นไป  ก่อนถึงภูชี้ฟ้าประมาณ ๖ กม. ชาวคณะที่คนขับแต่ละท่านนั้นหนุ่มกว่าผมร่วม ๒๐ ปี แต่เขารวมคณะกันนัดเจอกันที่แถว ๆ อยุธยาก่อนแล้วขับตามกันไปทั้ง ๓ คัน  มีโทรศัพท์มือถือคอยติดต่อกัน  รวมทั้งติดต่อกับผมด้วย  ผมเองมีกำลังสู้คนหนุ่มเขาไมไหว  จึงออกจากกรุงเทพ ฯ ตั้งแต่ ๐๕.๓๐ และไม่พักกินอาหารเช้า  จะพักก็ตอนเข้าห้องสุขา  ตามปั๊มหรือเติมน้ำมันเท่านั้น คือเป็นการหยุดไปในตัว  และเป็นวิธีการขับรถทางไกลของผม  ขับด้วยความเร็วไม่สูงเกินไปคือไม่เกิน ๑๒๐ กม. ต่อชั่วโมง  พักให้น้อยที่สุด  ง่วงเมื่อไรอย่าฝืนขับจอดข้างทางนอนหลับทันที  หลับให้สนิทสิบนาทีเท่านั้นจะไปได้อีกหลายร้อยกิโลเมตร ในรถต้องมีของกินติดไว้บ้าง เช่น กาแฟชงใส่กระติกไป  ไม่ต้องแวะร้านกลางทางจะเสียเวลา  ขนมนิดหน่อย  แซนวิชยิ่งดี  ไปไกลแสนไกล จะพักทานมื้อเดียวคือมื้อเที่ยง  แต่ก็ไม่เกินหนึ่งชั่วโมง  ผมจึงขับรถไปเชียงแสนได้อย่างสบาย ๆ  ในวันเดียว หรือภูเก็ต  นครศรีธรรมราช  ก็เช่นเดียวกัน  ท่านที่ยังหนุ่มสาวก็ต้องบอกว่าใคร ๆ ก็ขับได้  แต่ผมว่าลองมาอายุเท่าผมเหลืออีกไม่กี่สิบปีก็จะถึงร้อยดูบ้าง  หากไม่เตรียมการเตรียมร่างกายให้ดี ๆ  เราจะเป็นนักเที่ยวไป กินไป ไม่ได้ และยิ่งผมไปประกาศว่าหากขับรถไม่ไหวเมื่อไหร่  ผมจะเลิกเขียน เที่ยวไป กินไป  ซึ่งผมเขียนในต่วยตูนมาตั้งแต่ฉบับเดือน กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ ครบ ๒๔ ปีบริบูรณ์ในเดือน กรกฎาคม ๒๕๔๔  และขึ้นปีที่ ๒๕ ในเดือนสิงหาคม ๒๕๔๔ นี้ พร้อมกับต่วยตูนก็กำลังขึ้นปีที่ ๓๑ ในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้เช่นกัน  เลยเอามาคุยเสียเลย และยิ่งเมื่อ ๒ - ๓ วันมานี้  ไปเทศกาลงานท่องเที่ยวที่ศูนย์สิริกิติ์  เห็นหนังสือท่องเที่ยวออกมาหลายเล่มดี ๆ ทั้งนั้น  ก็ดีใจด้วยที่การท่องเที่ยวภายในประเทศก้าวหน้ามากขึ้น และพวกเราในทีมนักเขียนต่วยตูน ๒ คน "ผ และ ม." ก็ออกหนังสือท่องเที่ยวมาเล่มหนึ่งชื่อ "เที่ยวไทย" ให้คุณชัยชนะ  ลุงชาตรี และลุงโอภาส ไปช่วยเขียนด้วย ใครเจออุดหนุนด้วยครับ และตอนนี้ได้ทราบว่ารัฐบาล คิดใหม่ ทำใหม่  จะตั้งกระทรวงการท่องเที่ยวก็ยิ่งดีใจ  เพราะท่านผู้อ่านที่ติดตามอ่านหนังสือที่ผมเขียนมาคงจะผ่านตาบ้างว่าเราควรจะต้องตั้งกระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา  สมัยที่ผมเขียนในต่วยตูนใหม่ ๆ เป็นช่วงที่ผมไปราชการที่ประเทศอิสราเอลบ่อยครั้งรวมแล้วไปถึง ๖ ครั้ง เมื่อ ๒๖ ปีที่แล้ว  อิสราเอลมีกระทรวงการกีฬาและการท่องเที่ยวแล้ว  ผมก็เอามาเขียนเล่าให้ฟัง  และขอให้ภาครัฐบาลมองเห็นความสำคัญของการท่องเที่ยวที่จะนำรายได้มหาศาลมาสู่ประเทศไทย  เรียกว่าได้เงินใช้กันตั้งแต่แม่ค้าขายขนมครก  ขายกล้วยแขกไปจนถึงเจ้าของกิจการโรงแรม  กิจการร้อยล้านพันล้าน  และผมเองได้มีโอกาสเป็นที่ปรึกษาในคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม  แต่ไม่สามารถเสนอให้ตั้งกระทรวงการท่องเที่ยวในการประชุมคณะที่ปรึกษาได้  ดังนั้นเมื่อได้ยินว่าจะมีการตั้งกระทรวงเกี่ยวกับวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว  จึงดีใจออกนอกเรื่องนอกราวไปจากภูชี้ฟ้าก็ขออภัยด้วย

ภูชี้ฟ้า ผมขับรถรวดเดียวไปจนถึงลำปางเมื่อเวลาประมาณ ๑๒.๐๐  ยังไม่หิวจึงตั้งใจจะไปกินอาหารเอาแถวอำเภองาว  ไม่แวะกินกลางวันที่ลำปาง  และที่ลำปางนี้ยังไม่ได้เล่าให้ฟัง  วันนี้ไม่ได้แวะชิมแต่ก็ชิมของเขาบ่อย ๆ ถือโอกาสเล่าแทรกไว้ตรงนี้ ร้านอาหาร "รสนานา" ร้านนี้คนเป็นใบ้ หูหนวก ก็ไปสั่งอาหารได้ เพราะหากไม่พูดไม่จาอะไรเขายกอาหารมาให้ทั้งชุด  หากไปกันน้อยคน  มาชุดเล็กมี ๕ อย่าง  หลายคนมาชุดใหญ่ คือ ๕ อย่าง  แต่จานโตกว่าแถมสลัดอีก ๑ จาน  ลายแทงไปร้านรสนานา ไปดังนี้ ไปลำปางก็จะถึง อ.เกาะคาก่อน ซึ่งอำเภอนี้อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๑๗ กม. ก็วิ่งรถต่อไปเพื่อเข้าเมืองลำปาง  จะผ่านป้ายทางซ้ายมือบอกว่า ลำปาง ๗ กม. พบแยกสัญญาณไฟแยกที่หนึ่ง  ให้วิ่งตรงต่อไปพบสัญญาณไฟแยกที่สอง (หากเลี้ยวซ้ายจะไปเชียงใหม่) ให้ตรงต่อไป  ข้ามสะพานข้ามทางรถไฟ ผ่านบิ๊กซี ทางซ้ายมือ  จะพบแยกสัญญาณไฟที่ ๓ วิ่งตรงต่อไปพบสี่แยกสัญญาณไฟที่ ๔ ให้เลี้ยวซ้าย จะผ่านโรงแรมลำปาง  เวียงทองทางซ้าย  วิ่งผ่านโรงแรมไปพบสี่แยกให้เลี้ยวขวา  วิ่งต่อไปสัก ๕๐ เมตร  พบสี่แยกมีสัญญาณไฟ  ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสวนดอก วิ่งไปสัก ๕๐ เมตร  ร้านรสนานาจะอยู่ทางซ้ายมือเป็นร้านขนาด ๒ ห้อง  เดิมทีเดียวเขาขายครบชุดมี ๕ อย่าง คือ เป็ดพะโล้  กลิ่นหอมนุ่ม  ขาหมูพะโล้  จะรองก้นจานมาด้วยผักกาดดองเปรี้ยว  เข้ากันดีนัก  หรือไม่สะใจก็สั่งเพิ่มว่าเอา อุ้งตีนหมูอีกสักจาน (สั่งคากิไม่แน่ว่าจะได้กิน) หมูผัดพริก  จานเด็ดยกให้  ไส้กรอกไข่เค็ม หากไปกันเกิน ๒ คน  จานนี้ต้องสั่งเพิ่มไม่งั้นแย่งกันกิน  ดังนั้นคนไปกินหากไปนั่งแล้วไม่พูดไม่จาก็ยกมาให้เอง  หากพูดจากันก็สั่งเพิ่มลดเอาได้ตามใจชอบ  และปิดท้ายด้วยแกงจืดสาหร่ายหมูสับ  อิ่มแล้วที่หน้าร้านเขามีคุ๊กกี้ธัญญพืชอร่อยมาก  กินกับกาแฟดีนัก

ภูชี้ฟ้า     จากลำปาง งาว จากงาวต่อไปยังจังหวัดพะเยา  พอถึงสี่แยกมีไฟสัญญาณ  เลี้ยวขวาตรงต่อไปอีก ๙ กม. จะถึงอำเภอดอกคำใต้ จากดอกคำใต้ต่อไปยังอำเภอเชียงคำ  ฤดูนี้สองข้างทางมักจะมีดอกทองกวาวสีสดบานให้พบอยู่ตามข้างทาง  พอถึงอำเภอเชียงคำอย่าเข้าอำเภอให้เลี้ยวซ้ายไปทางถนนสายที่ไปอำเภอเทิง  จากนั้นจะพบทางแยกขวาเพื่อต่อไปยังอำเภอภูซาง  ซึ่งมีวนอุทยานภูซาง มีน้ำตกอยู่ข้างทางรถวิ่ง  จากกิ่งอำเภอภูซางจะถึงบ้านฮวก ซึ่งเมื่อ ๑๒ ปีที่แล้ว  สมัยที่ผมทำงานยุทธศาสตร์พัฒนาตามชายแดน  เมื่อไปเยี่ยมหมู่บ้านนี้ซึ่งสมัยนั้นเป็นหมู่บ้านสุดท้ายที่พัฒนาแล้ว  และต่อจากนั้นไปจนกระทั่งถึง ผาตั้ง  ล้วนแต่เป็นหมู่บ้านที่กำลังจัดตั้งใหม่ตามแนวชายแดน ไทย - ลาว  หมู่บ้านที่ลงชื่อด้วยไทย หรือคำว่าไทย  จะอยู่ในกลุ่มหมู่บ้านตั้งใหม่ เช่นชื่อ บ้านไทยสามัคคี  บ้านพิทักษ์ไทย  เป็นต้น  ที่บ้านฮวกนี้ได้เคยขอให้มีน้ำประปาของหมู่บ้าน  ซึ่งผมก็สามารถทำให้ได้ด้วยการเสนอแนะจากเลขานุการกรมอนามัย  ซึ่งไปร่วมในคณะ  บอกว่ากรมอนามัยนั้นมีงบประมาณทำประปาภูเขา  คือต่อจากน้ำตกเข้ามายังหมู่บ้านได้  ไม่ค่อยมีใครรู้จักใช้งบนี้ด้วย  คืนนั้นกำลังนั่งก๊งกันที่เชียงคำพอสักสามทุ่ม เลขา ฯ เดินยิ้มแฉ่งมาบอกว่า  อธิบดีอนุมัติงบประมาณกรมอนามัย ให้สร้างประปาภูเขาให้บ้านฮวกแล้ว  ต่อจากนั้นอีกไม่กี่เดือน  บ้านฮวกซึ่งอยู่บนเขา มีน้ำตกอยู่ไกลออกไปหลายร้อยเมตร  ก็มีท่อประปาต่อมาถึงหน้าบ้านของทุกบ้าน และอีกหลายเดือนต่อมา ผบ.ทบ.ในขณะนั้นหรือ  รมว.กลาโหมในขณะนี้ไปตรวจเยี่ยมชายแดน  ไปเปิดน้ำประปาภูเขาของบ้านฮวกดู  ตะโกนด้วยความประหลาดใจว่าน้ำประปาที่นี่แรงกว่าบ้านเราอีก  ซึ่งต้องถือว่าเป็นผลงานร่วมกันระหว่างกองทัพบก กับกรมอนามัย  ต่อจากนั้นผมก็ติดใจของบนี้จากกรมอนามัยไปทำประปาภูเขาอีก ๒ - ๓ ที่  และบ้านฮวกสมัยนั้นมีร้านสหกรณ์หมู่บ้านสินค้าขาย มีแยะเพราะลาวเดินข้ามมาซื้อสินค้าจากร้านสหกรณ์  ก็เลยช่วยจัดการให้เขาเอาโรงสีที่เลิกกิจการแล้วทำที่พัก  และอนุญาตให้น้องลาวที่เข้ามาซื้อของให้นอนพักได้  แต่ห้ามล้ำเกินเขตกลางหมู่บ้าน  เมื่อก่อนซื้อของแล้วต้องเดินกลับ  อดกินอาหารอร่อย ๆ ค่าที่พักเก็บคืนละ ๑๐ บาท  ซื้อของกันแล้วก็กินอาหารที่หมู่บ้านทำขาย  ก๊งกันสนุกไป  นี่คือเรื่องของบ้านฮวกเมื่อ ๑๒ ปีที่แล้ว  ยังไม่มีชาวกรุงคนไหนที่เคยไปเที่ยวภูชี้ฟ้า  รวมทั้งผมเข้าไปจ่อใกล้แค่นั้นแล้วก็ยังไม่รู้จัก  ไม่มีโอกาสได้ไป  หากไปก็สบายมากเพราะมีเฮลิคอปเตอร์ตรวจแนวชายแดนด้วย

            สรุปเส้นทางจากพะเยา  คือไปผ่าน อำเภอดอกคำใต้ อำเภอเชียงคำ  เลี้ยวซ้ายไปตามถนน ๑๐๒๑ ผ่านต้นจามจุรีที่ป้ายเขาบอกว่าสวยที่สุดในประเทศไทย  มองเห็นจากถนน  แล้วแยกขวาไปยังกิ่งอำเภอ ภูซาง  แล้วเลี้ยวขวาเข้าถนนสาย ๑๐๙๓ ไปยังบ้านฮวก จากบ้านฮวกถึงภูชี้ฟ้า ๓๖ กม.
            ส่วนที่พักคือ อุกฤษ ฮิลล์ นั้นห่างจากบ้านฮวก ๓๐ กม. ถนนลาดยางบ้างแค่บ้านฮวก เลยบ้านฮวกไปหน่อยจะเป็นถนนลูกรังตลอด ปละจากภูซางไปยังบ้านฮวกจนถึงภูชี้ฟ้า ถนนจะขึ้นลูกเดียวไม่มีลงอีกแล้ว จะไต่สูงขึ้นตามลำดับ แต่ยังไม่ชันมากเหมือนขึ้นพระพุทธบาทสี่รอยที่แม่ริม เชียงใหม่ ก่อนถึงที่พักทางซ้ายมือ จะผ่านศูนย์ส่งเสริมการเกษตรดอยผาหม่น ซึ่งจะกลับมาเที่ยวเมื่อลงจากภูชี้ฟ้าแล้ว
            รวมระยะทางจากจังหวัดพะเยา ถึงภูชี้ฟ้าประมาณ ๑๖๕ กม. ใช้เวลาวิ่งประมาณ ๔ ชั่วโมง ผมถึงที่พักเวลา ๑๗.๓๐ น ถึงก่อนคณะคนหนุ่ม (คุยเสียด้วย) ซึ่งเขาแวะไร่ชาวนฝันที่ลำปาง เรียกว่าดูเต่าว่างั้นเถอะ คนหนุ่มอายุครึ้งร้อยจึงมาถึงเอาเกือบสองทุ่ม ผมดัดจริตนั่งดื่มไวน์ที่เอาไปด้วยจนเกือบหมดขวดแล้ว อากาศหนาวเย็นดีพิลึก ที่พักซึ่งเขาจะหากินได้ดีเฉพาะ ๔ เดือนเท่านั้น นอกนั้นไม่มีใครขึ้นมาพัก มีบ้านพักไม่กี่หลังและเราเองก็จองล่วงหน้าไม่นาน ทำให้ได้จำนวนห้องน้อยแต่เขามีที่นอนเสริมให้ เรียกว่าเสริมจริง ๆ เช่นหลังที่ผมพักนี่  เจ้าของเขาเคยอยู่แถวบ้านฮวกมาก่อน  รู้จักชื่อผมดี  รวมทั้งหน้าตาด้วยพอบอกจองไปเขาบอกว่าเต็มหมดแล้ว  คนจองบอกว่าผมขอจองเขาก็ใจเด็ดยกบ้านของเขาให้คณะของผม  ซึ่งเฉพาะหลังนี้มี ๒ ห้อง  กับอีก ๑ เตียงที่ระเบียง  รวมแล้วนอนกันสัก ๑๐ คน  มีห้องน้ำห้องเดียว  ผมใช้ความเป็นอาวุโสยึดระเบียงเป็นที่นอน  เพราะใกล้ห้องน้ำดี และยังดีเขายังมีน้ำอุ่นให้อาบ  มีไฟฟ้าใช้  ต้นไม้รอบ ๆ ที่พักมีไม่มาก  ที่สวยมากคือต้นลำโพงมีชื่อเพราะ ๆ ผมจำไม่ได้  ออกดอกสีขาวสะอาด  ห้อยลงมาดอกบานเหมือนแตร
            อาหารของเขาเลี้ยงไม่อั้นทั้งมื้อเย็นและมื้อเช้า  อาหารพื้นบ้านธรรมดา  เป็นอาหารไม่มีภาค  แบบผสมเช่นมื้อเย็น  ผัดกล่ำปลีจากไร่สด  ผัดเก่งเสียด้วย  หวานกรอบ  ยกมาร้อน ๆ ใช้เป็นกับแกล้มได้  ไข่เจียวยิ่งไม่อั้นใหญ่ทอดเก่งอีก  หมดขอได้  น้ำพริกอ่องผักสด  แกงจืด  ปลานิลทอดกระเทียมพริกไทย  แคบหมูเอาไว้จิ้มน้ำพริกอ่องกินกันยังกับตายอดตายอยากมานาน  โดยเฉพาะหนุ่มที่ไม่ก๊งสุรายิ่งกินข้าวหนัก

            เช้ามืดต้องตื่นกันตั้งแต่ตีสี่เศษ ๆ  เพราะเขาเตือนไว้ตั้งแต่ตอนค่ำแล้ว  อย่าได้คิดเอารถส่วนตัวขึ้นไปที่ยอดภูชี้ฟ้าเป็นอันขาด  เพราะลานที่จอดรถได้นั้นแคบนิดเดียว  และข้าง ๆ ทางหรือ หรือที่ว่างจะมีน้อยนิดอย่างไรก็แล้วแต่  หากกางเต็นท์ได้แล้วจะเต็มหมด  ให้ไปรถของช้าวบ้านเขาคิดไปกลับคนละ ๕๐ บาท  จ่ายเงินขากลับเขาจะมารับถึงที่พักพาไปส่งถึงลานขึ้นภู  แล้วเขาก็จะกลับมารับคนขึ้นไปใหม่  เรียกว่าปีหนึ่งรวยกันตอนปีใหม่นี่แหละ วันอื่นในฤดูนี้ คนก็จะไม่แน่นเหมือนวันปีใหม่ ดังนั้นพอสักตีห้าเศษ ๆ  เราก็ไปถึงเชิงภู ซึ่งจะต้องเดินขึ้นไปอีกประมาณ ๕๐๐ เมตร  เพื่อไปอยู่ตรงยอดดอยที่ชี้เด่ไปในท้องฟ้า  มองจากดอยอื่นจะเห็นเด่นว่าจงอยนั้นชี้ไปกลางอากาศในเขตแดนลาว  ขนาดเราว่าไปเร็วแล้วก็ปรากฏว่าบนพื้นที่สูงที่สุดนั้นคนเต็มหมดแล้ว  อย่างที่ผมบอกไว้เห็นดำตัดขอบฟ้าที่แท้หัวคนทั้งนั้น  ก็เลยหยุดหาที่มั่นกันตรงจุดสูงที่สุดเท่าที่จะเดินแหวกคนไปได้  และต่อไปแหวกไม่ได้แล้ว  ยืนนั่งกันเต็มไปหมด  เบียดกันก็ไม่มีใครว่าใครหนาวด้วย  จ้องกันไปตามหุบเขา  ตามไหล่เขา  พอเริ่มฟ้าสางประมาณตีห้าเศษ ๆ  ก็จะเห็นหมอกไหลเข้ามาสู่หุบเขากลายเป็นทะเลและเคลื่อนไหวได้  บางทีก็ธารหมอกไหลลงจากยอดเขาข้างหน้าลงสู่หุบ  สีขาวโพลนสวยสุดพรรณนาก็แล้วกัน  พอใกล้ ๐๖.๐๐ มองทางขอบฟ้าด้านซ้ายเริ่มเห็นสีแดงเรื่อ ๆ ของดวงตะวันและจะค่อย ๆ ลอยสูงขึ้นจนวงกลมโต  แต่แสงยังไม่แรงกล้ายังมองชมได้ สวยจริง ๆ  ถ่ายรูปกันไม่เสียดายฟิล์ม

ภูชี้ฟ้า ชมตะวันขึ้นและทะเลหมอกกันจนอิ่มตา  อิ่มใจแล้วและคนบนภูบนเริ่มถอยลงมาเราก็เดินสวนขึ้นไป  แต่ก็ไม่งามเหมือนตอนตีห้าเศษแล้วเพราะตะวันเริ่มจ้า แต่ขอให้ได้ขึ้นถึงที่สุดเป็นใช้ได้  จากนั้นก็กลับลงมา  รถเขาจะมาเรียกเองไม่ต้องกลัวว่าเขาจะไม่มารับ  เพราะยังไม่ได้จ่ายสตางค์เขา  จำแม่นจริง ๆ พอกลับมาถึงที่พักอาหารเช้าแบบชาวบ้านก็เตรียมไว้เรียบร้อย  นั่งตามศาลาที่เขาปลูกไว้หยาบ ๆ  นั่งกินอาหารได้สบายก็แล้วกัน  อากาศหนาวเย็นสดชื่นดีพิลึก  รอบเช้ามีกาแฟ มีข้าวต้มหมูร้อนโฉ่ และไข่เจียว เสริฟไม่อั้น หมดบอกผัดกันร้อน ๆ  เอามาให้ด่วนเลยทีเดียว  อิ่มแล้วก็อำลาอุกฤษ์ รีสอร์ท  และนัดแนะว่าปีหน้าหากร่างกายยังแจ๋วจะมาอีก  แต่จะไม่มาในตอนขึ้นปีใหม่เป็นเด็ดขาด
            ใคร่ขอเสนอแนะกรมป่าไม้  โดยเฉพาะกองอุทยานไว้ด้วยว่า  ควรเตรียมพื้นที่คือ พื้นทีพักแรม  น่าจะทำแบบเมืองนอกเขาทำกันสำหรับอุทยานแห่งนี้  เพราะผู้คนไปเที่ยวกันมากจริง ๆ และไม่ได้ไปทั้งปี  ไปในเวลาอันจำกัดจึงแห่กันไป  ที่พักไม่พอรองรับ  นักท่องเที่ยวประเภทหนุ่ม สาว  เขาชอบนอนเต๊นท์กันมาก  ดังนั้นหากยอมเสียพื้นที่บ้าง  คงต้นไม้ใหญ่ไว้  ถากถางให้ดี ให้กางเต๊นท์นอนได้  มีที่จอดรถ  สร้างสุขาให้เพียงพอ มีไฟฟ้า  ใครจะใช้ไฟฟ้าก็มีปลั๊กให้เสียบแล้วคิดสตางค์เหมาจ่ายทั้งสถานที่สถานที่กางเต๊นท์  ค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าบริการต่าง ๆ ก็จะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ดียิ่ง  การท่องเที่ยว กับป่าไม้  ไม่ลองพิจารณาดูบ้างหรือทำให้แจ๋ว ๆ สักแห่งแล้วขยายไปให้ทั่วแหล่งท่องเที่ยวประเภทอุทยานหรือวนอุทยาน  ส่วนข้อเสนอข้อที่สอง  ขอให้ทำด่วนคือเพิ่มพื้นที่จอดรถตรงทางขึ้สู่ภูชี้ฟ้าที่สุดทางรถให้มากขึ้นอีกหน่อยได้ไหม  แล้วเก็บค่าจอดรถหรือค่าเข้าอุทยานเสียเอง  ไม่ใช่ให้มีการกั้นกลางถนนตั้งป้อมเก็บเมื่อรถวิ่งผ่านเช่นที่ทางเข้าน้ำตกสาริกา  จังหวัดนครนายก  โดยไม่คำนึงว่ารถเขาหลงเข้าไปวนหรือจะเข้าไปจอด  อ้างว่าเก็บค่าจอดรถ  รอให้รถเข้าจอดเสียก่อนแล้วค่อยเก็บก็จะดี
            อิ่มกับอาหารเช้าแบบลูกทุ่งของรีสอร์ทแล้วก็เตรียมเดินทางกลับ  และตั้งใจกันว่ามื้อเที่ยงจะไปกินข้าวกันที่ผาตั้ง  ร้านไหน  กินอะไรผมยังไม่รู้ บอกคณะว่าจะควานหาของอร่อยให้จนได้ ด้วยวิธีการเสาะหาร้านอาหารของผม  ก่อนจะไปผาตั้งก็ย้อนทางมาเล็กน้อย กลับมายังศูนย์การเกษตรที่สูงดอยผาหม่น  ซึ่งมีอาคารสำนักงานและร้านขายสินค้าหัตถกรรมราคาไม่แพงน่าซื้อ  เดินไปชมโรงปลูกหน้าวัวสวยมากกำลังออกดอกเต็ม  ดอกโตกว่าปลูกพื้นที่ข้างล่าง  ดอกเบญมาศ ดอกไม้เมืองหนาว
            การเดินทางไปผาตั้งผมขอเล่าทีหลัง  แต่การเดินทางกลับมาเชียงรายนั้นกลับได้ ๓ ทางคือ  กลับตามเส้นทางเดิมมายังเชียงคำ  แล้วไปอำเภอเทิง  ไปเชียงราย  เส้นที่สอง  เส้นนี้ดีที่สุดเลาะริมโขงด้วย  คือกลับผ่านมาทางผาตั้ง  เวียงแก่น  เชียงของ  เชียงราย  เส้นทางเลาะริมโขงที่สวยงามยิ่งนักนั้นอยู่ในช่วงเวียงแก่นมาเชียงของ ส่วนเส้นที่ ๓ คนอุตริอย่างผมชอบมาคือ  จากผาตั้งมาผ่านบ้านเช้งเม้ง บ้านปางค่า  อำเภอเทิง  เชียงราย  ถนนแทบจะไม่เป็นถนน  ไม่มีรถวิ่งประจำ  มีน้อยมาก  หากรถเสีย  ยางระเบิดก็นั่งกินดินกันอยู่กลางทางนั่นแหละ  หากถามว่าแล้วอุตริมาทำไม  ก็เพราะเมื่อ ๑๗ มีนาคม ๒๕๑๑  ผมนำกองพันทหารปืนใหญ่เป็นกองพันแรกขึ้นมาปราบปราม ผกค. และ กองร้อยที่ ๓ ของกองพันผมมาตั้งฐานปฏิบัติการกันอยู่ที่บ้านปางค่า  ไปวันนี้จะไปที่ตั้งฐานยังอยู่ไหม หาไม่เจอ  เจอแต่หมู่บ้านผู้คนเต็มไปหมด  เห็นฝีมือนักพัฒนาไหมล่ะ

ต้องขอขอบคุณคนเขียนมากๆ ที่ทำให้เราได้เข้าใจอย่างดีครับ ขอบคุณ http://www1.mod.go.th/heritage/nation/tour


 

 
ภูชี้ฟ้า/ Phu Chi Fa Forest Park

  Phu Chi Fa Forest Park

General Information
Phu Chi Fah Forest Park is located in the area of the Pa Mae Ing and Pa Mae Ngao National Forest Reserve, which falls within Baan Rom Fah Thong Moo 9 and Baan Rom Fah Thai Moo 10, Tambon Por, Wiang Kan District, Chiang Rai Province. The area also falls within the Forest Conservation Area (Zone C) with total area of approximately 2,500 rais announced by the Royal Forest Department as a Forest Park on 6th February, 1998.

Topography
The area is in the midst of Doi Pa Mohn Mountain range along the Thai-Laos border. The area is 1,200-1,628 meters above average sea level and an average slope all round of approximately 40%. The highest spot is recorded at the observation point.

Climate
Temperature up on the hills can be quite cool but season wise, it would be more like Tropical Monsoon with influence from South-Westerly wind during rainy seasons and North-Easterly wind during winter. There are 3 seasons altogether in this area – summer from March to May, rainy season from June to September and winter from October to February.

Flora and Fauna
The area is generally covered in primary forest except on Phu Chi Fah mountain top where 300 rais of grass fields covers most of the area. Common vegetations found are evergreen chinkapin, cinnamon tree, sonchampa, champaka and plum. Ground covering plants are, for example, ferns, moss,lalang grass, three-spiked rush and ferns.

Common wildlife are wild pig, civet, deer, tigers, jungle cat, Asian golden cat, wild hare, porcupine, bats, squirrels, hog badger and flying lemur. Common birds are hawk, eagle, red junglefowl, pheasant, partridge, white-breasted water hen, starling, hill myna, drongo, stork, owl, woodpecker, martin, peacock. Amphibians found are tortoise, frogs, toads and common reptiles are snakes, gecko, lizards, scorpion, chameleon and monitor. Fishes found are dwarf snakehead, barb, striped catfish and rasbora minnow.

Tourist Attractions
Phu Chi Fah is the highest mountain top among Doi Pah Mohn mountain range at 1,628 meters above average sea level. The side adjoining Lao People’s Democratic Republic has very steep cliff and is the best observation point with the best view, especially in winter. Tourists are normally keen on spending the night around Baan Rom Fah Thong, approximately 1.5 kilometers away from the observation point, then walk up to Phu Chi Fah at dawn to enjoy the view, on the way up, forest growing plots can be seen with countless flowers (during January – February). In February, white bauhinias can be seen around Phu Chi Fah and the foot of the hills.

Contact Address
Phu Chi Fa Forest Park
Por Sub-district Amphur Wiang Kaen Chiang Rai Thailand 57310
Tel. 0 5371 4914 Fax 0 5371 1961 E-mail reserve@dnp.go.th

How to go?
By Car
Phu Chi Fah is approximately 144 kilometers away from Muang District, Chaing Rai. Either of the following routes can be taken:

Muang District, Chiang Rai Province to Terng District via Pooh Saang Wittayakom School Junction, Baan Sangob and Baang Muang Choom Junction and finally to Phu Chi Fah.

Take Highway No.1093 via Daan Baan Huak and Agricultural Promotion Center – Doi Pah Mohn.

This route is 104 kilometers asphalt road and 40 kilometers local road. Along this route many tourist spots can be found, such as Pooh Saang Waterfalls (Pooh Saang National Park) and Daan Baan Huak – Thai-Laos Village and Agricultural Promotion Center – Doi Pah Mohn where flowers normally grown in colder weather such as tulips and lilies are grown as an experiment.

From Phu Chi Fah, tourists can travel on to Doi Pah Taang, Wiang Kan District, Chiang Rai Province which is 25 kilometers away via Highway No.1093. From Doi Pah Taang, tourists can continue on to Chiang Khong, Chiang San, and Mae Sai District, Chiang Rai Province as well.

 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

เชียงราย ประวัติเชียงราย โรงแรม+ร้านอาหาร จังหวัดเชียงราย แผนที่เชียงราย
กิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง


หมู่บ้านชาวเขา
Chaokhao Village
(จังหวัดเชียงราย)


ดอยตุง
Wat Phra That Doi Thong
(จังหวัดเชียงราย)


สวนแม่ฟ้าหลวง
Mae Fa Luang Garden
(จังหวัดเชียงราย)


จุดชมวิว
Viewpoint
(จังหวัดเชียงราย)
ดูเอเซียแนะนำ


วนอุทยานน้ำตกแม่โท

Mae Tho Waterfall
(จังหวัดเชียงราย)


ดอยช้างมูบ
Chang Mup Hill
(จังหวัดเชียงราย)

อำเภอพาน


ถ้ำผายาว

Pha Yao Cave
(จังหวัดเชียงราย)


พระธาตุจอมแว่

Chom Wae Relics
(จังหวัดเชียงราย)


พระธาตุสามดวง

Sam Duang Relics
(จังหวัดเชียงราย)
 
อำเภอเชียงแสน


ล่องแก่งแม่กก
Mae Kok Rafting
(จังหวัดเชียงราย)


ภูชี้ฟ้า
Phu Chi Fa Forest Park

(จังหวัดเชียงราย)


น้ำตกบ้านไร่
Ban Rai Waterfall
(จังหวัดเชียงราย)


วัดป่าสัก

Wat Pa Sak
(จังหวัดเชียงราย)


วัดเจดีย์เจ็ดยอด

Wat Chedi Chet Yot
(จังหวัดเชียงราย)


ทะเลสาบเชียงแสน
Chiang Saen Lagoon
(จังหวัดเชียงราย)



บ้านหาดบ้าย
Baan Haad Bai
(จังหวัดเชียงราย)
อำเภอเมือง


วัดพระสิงห์
Wat Phra Singha
(จังหวัดเชียงราย)


วัดพระแก้ว
Wat Phra Kaew
(จังหวัดเชียงราย)

อำเภอเวียงป่าเป้า


เวียงกาหลง

Wiang Kalong
(จังหวัดเชียงราย)
อำเภอเวียงแก่น


ดอยผาตั้ง
Pa Tang Hill
(จังหวัดเชียงราย)
อำเภอแม่จัน


ดอยแม่สลอง
Mae Salong Hill

(จังหวัดเชียงราย)
อำเภอแม่สาย


ถ้ำปุ่ม

Pum Cave
(จังหวัดเชียงราย)


ถ้ำปลา
Pla Cave
(จังหวัดเชียงราย)


ถ้ำเสาหินพญานาค
Phayanak Cave
(จังหวัดเชียงราย)


ท่าขี้เหล็ก

Tha Khilek
(จังหวัดเชียงราย)
แผนที่จังหวัดเชียงราย/map of CHIANGRAI
โรงแรมที่พักใน เชียงราย / Hotel of CHIANGRAI

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์