ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > จังหวัดชัยภูมิ > ทุ่งดอกกระเจียว:อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม/Pa Hin Ngam National park 

ทุ่งดอกกระเจียวอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม/ Pa Hin Ngam National park

 

ข้อมูลทั่วไป
ทุ่งกระเจียวอุทยานแห่งชาติป่าหินงามบานกลางลานหิน
 อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม อยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่านายางกลัก ในท้องที่ตำบลโป่งนก ตำบลนายางกลัก ตำบลบ้านไร่ ตำบลวะตะแบก อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ มีสภาพป่าสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของลุ่มน้ำชีและแม่น้ำป่าสักมีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่งโดยเฉพาะทุ่งดอกกระเจียว มีพื้นที่ประมาณ 112 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 70,000 ไร่

เดิมบริเวณลานหินงามเป็นที่รู้จักเฉพาะราษฎรในท้องถิ่น ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2528 นายอำเภอเทพสถิต และป่าไม้อำเภอเทพสถิต ได้ออกตรวจพื้นที่และพบกับลานหินธรรมชาติที่มีรูปร่างสวยงามมีคุณค่าควรอนุรักษ์ไว้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนของบุคคลทั่วไป จึงเสนอเรื่องไปยังกรมป่าไม้ผ่านทางจังหวัดชัยภูมิ ในชั้นต้นกรมป่าไม้ได้ประกาศเป็นวนอุทยานป่าหินงาม เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2529 ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 10 ตารางกิโลเมตร หรือ 6,250 ไร่

ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2536 กรมป่าไม้ได้ทำการสำรวจพื้นที่ใกล้เคียงอย่างละเอียด และพบว่ายังมีพื้นที่ป่าไม้อุดมสมบูรณ์ เมื่อรวบรวมพื้นที่แล้วประมาณ 112 ตารางกิโลเมตร หรือ 70,000 ไร่ โดยพื้นที่ดังกล่าวได้กันหมู่บ้านออกจากพื้นที่เรียบร้อยแล้วโดยการปฏิรูปที่ดิน อีกทั้งพื้นที่เตรียมจัดตั้งนี้มีความโดดเด่นทางธรณีวิทยา มีลานหินที่มีรูปลักษณ์สวยงาม มีพันธุ์ไม้ล้มลุกประจำถิ่น ที่มีดอกสีชมพูอมม่วงชูดอกสะพรั่งในช่วงต้นฤดูฝน มีน้ำตกไหลตลอดปี สมควรที่จะอนุรักษ์ไว้ในรูปแบบของอุทยานแห่งชาติ

ต่อมากรมป่าไม้มีคำสั่งที่ 1642/2537 ให้ นายวิวัฒน์ จันทร์เผือก นักวิชาการป่าไม้ 5 ตำแหน่งเลขที่ 2459 อุทยานแห่งชาติรามคำแหง จังหวัดสุโขทัย ไปดำเนินการจัดตั้งพื้นที่ป่าดังกล่าวให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 และให้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าอุทยานแห่งชาติป่าหินงามแห่งนี้ด้วย ขณะนี้อุทยานแห่งชาติป่าหินงามกำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อดำเนินการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป

ลักษณะภูมิประเทศทุ่งกระเจียว อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขา ประกอบไปด้วยภูเขาต่างๆ เช่น เขาพังเหย มีความสูงประมาณ 200 - 800 เมตร ทางธรณีวิทยาของพื้นที่เป็นหมวดหินภูพานหมวดหินพระวิหาร และหมวดหินภูกระดึง เป็นหินในระหว่างช่วงเวลาประมาณ 180 - 230 ล้านปี ยุคจูแลสสิกและไทรแอสสิก เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารลุ่มน้ำชี (แม่น้ำชี) ลำน้ำสนธิซึ่งไหลลงแม่น้ำป่าสัก

พืชพรรณและสัตว์ป่าทุ่งกระเจียว อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
สภาพป่าเป็นป่าเต็งรังผสมผลัดใบป่าดิบแล้ง มีไม้เหียงเป็นไม้เด่น และมี เต็ง รัง พยอม ก่อ กะบก ประดู่ อินทนิลบก ส้าน ฯลฯ

สัตว์ป่า ได้แก่ เก้ง หมูป่า กระต่ายป่า นิ่ม เม่น อ้น อีเห็น กระรอก ลิง ฯลฯ

 ทุ่งดอกกระเจียว
กระเจียวเป็นพืชล้มลุกประเภทหัว พบเป็นพันธุ์ไม้ประจำถิ่นที่ขึ้นมากที่สุดในประเทศไทย ณ แห่งนี้ ปกติจะพบขึ้นกระจายทั่วไปตั้งแต่ลานหินงามจนถึงจุดชมวิวสุดแผ่นดิน 1 กิโลเมตร ดอกกระเจียวจะขึ้นและบานเป็นสีชมพูอมม่วงในช่วงต้นฤดูฝนเท่านั้น คือ เดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคมของทุกปี
กิจกรรม -แค็มป์ปิ้ง - ชมพรรณไม้

ลานหินงาม
เป็นลานหินที่มีรูปร่างแปลกในพื้นที่กว่า 10 ไร่ เกิดจากการกัดเซาะเนื้อดินและหินในส่วนที่จับตัวกันอย่างเบาบางหลุดออกไปนานวันเข้าจึงเกิดโขดหินที่มีรูปลักษณ์แตกต่างกันมองดูสวยงามเป็นที่อัศจรรย์ สำหรับลานหินงามนี้อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของพื้นที่ทำการอุทยานแห่งชาติมีทางรถยนต์เข้าถึง
กิจกรรม -เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา

 จุดชมวิวสุดแผ่นดินทุ่งกระเจียว อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
เป็นหน้าผาสูงชันและเป็นจุดที่สูงสุดของเทือกเขาพังเหย ซึ่งอยู่ในเขตของอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม (846 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง) ซึ่งเกิดจากการยกตัวของพื้นที่เป็นที่ราบสูงภาคอีสานจึงเป็นรอยต่อระหว่างภาคกลางกับภาคอีสาน ทำให้เรียกบริเวณนี้ว่า “สุดแผ่นดิน” ณ จุดนี้จะเห็นทิวทัศน์ของสันเขาพังเหยและเขตพื้นที่ป่าของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา จุดชุมวิวนี้อยู่ทางด้านทิศเหนือของที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์

ลานหินหน่อ
เป็นลานหินราบพื้นที่มากกว่า 200 ไร่ แต่มีปุ่มหินสูงประมาณ 1-2 เมตร กระจายอยู่ ตามลานหินมีพืชกินแมลง เช่น หม้อข้าวหม้อแกงลิง หยาดน้ำค้าง ขึ้นอยู่ทั่วไป ลานหินหน่ออยู่ทางทิศใต้ของที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ใกล้กับวัดเขาประตูชุมพล
กิจกรรม -เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา

สถานที่ติดต่อทุ่งกระเจียว อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
ตู้ ปณ. 2 ปทจ.เทพสถิตย์ อ. เทพสถิตย์ จ. ชัยภูมิ 36230
โทรศัพท์ 0 4489 0105 

 

การเดินทางทุ่งกระเจียว อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
รถยนต์
จากกรุงเทพฯเดินทางตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ผ่านจังหวัดสระบุรีไปยังสามแยกพุแค แล้วเลี้ยวขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21 ไปยังบ้านลำนารายณ์ จากนั้นเลี้ยวขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 205 เส้นทางลำนารายณ์-ลำสนธิ-เทพสถิต-หนองบัวโคก-นครราชสีมาเดินทางจากบ้านลำนารายณ์ประมาณ 48 กิโลเมตร ก่อนถึงที่ทำการอำเภอเทพสถิตประมาณ 1 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายไปอำเภอหนองบัวระเหว ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2354 ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร ถึงทางแยกซ้ายมือเข้าบ้านไร่ ใช้ระยะทางอีกประมาณ 14 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม

สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์
มีพื้นที่กางเต็นท์ พร้อมห้องน้ำ-ห้องสุขารวม ไว้ให้บริการ ท่านสามารถนำเต็นท์มากางเอง หรือติดต่อขอใช้บริการเต็นท์ของอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีค่าบริการอยู่หลายอัตราขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของเต็นท์ และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ รายละเอียดเกี่ยวกับที่พักเต็นท์ขอให้ติดต่อสอบถามกับอุทยานแห่งชาติโดยตรง

 ที่จอดรถ
มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว

บริการอาหาร
มีร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยว

ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวทุ่งดอกกระเจียว อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.

 

   


 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
ทุ่งดอกกระเจียว

อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
ทุ่งดอกกระเจียว
อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
ทุ่งดอกกระเจียว
อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
ทุ่งดอกกระเจียว
ป่าหินงาม ป่าหินงาม ป่าหินงาม
ป่าหินงาม
อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
ทุ่งดอกกระเจียว

อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
ทุ่งดอกกระเจียว


ลานหินงาม
อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
ทุ่งดอกกระเจียว
ทุ่งดอกกระเจียว
อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
ทุ่งดอกกระเจียว

 
แผนที่อุทยานแห่งชาติป่าหินงา มทุ่งดอกกระเจียว /map of Pa Hin Ngam National park
อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
แผนที่ท่องเที่ยว
อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
แผนที่ท่องเที่ยว
อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม

 
ทุ่งดอกกระเจียวอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม/ Pa Hin Ngam National park

 

General Information
Initially, Lan Hin Ngam was known by local villager. However, in 1985 (B.E. 2528), when Thep Sathit District Officer and Thep Sathit District Forest Officer surveyed and discovered of natural rock garden, which was very beautiful. They thought it should be conserved for tourism and recreation. Therefore, they presented document to the Royal Forest Department in order to set a national park. On the 10th October 1986 (B.E. 2529) this area was declared as Pa Hin Ngam Forest Park, with the area of 10km2.

In 1993 (B.E. 2536), the Royal Forest Department surveyed the area near by and found that 80km2 of surrounding forest is still fertilizing. Therefore, due to its fertile forest and fascinating features, this Forest Park was designated a national park on the 19th September 1994 (B.E. 2537).

The area consists of mountain range which has mountains, such as Pung Haui Mountain, about 200-800 meters above sea level. In geology class, the area divides into Phupan Rock, Prawihan Rock and Phu Kradaung Rock which are the rock, about 180-230 million years ago, of Jurassic and Triassic era. Also, the area is the source of water of She River’s area and Sonthi River which empty into Parsak River.

Flora and Fauna
The forest is semi-evergreen forest mixed with deciduous forest. The main plants are Siamese sal, ingyin, Burmese ebony, Lithocarpus collettii A. Camus, Payom (a kind of Dipterocarpaceae), pride of India, San (a kind of Dilleniaceae) etc. Animals found are barking deer, wild boar, hare, pangolin, porcupine, bamboo rat, palm civet, squirrel, monkey etc.

Kra Jeaw Field
Kra Jeaw or curcuma is local annual plant, which found normally from Lan Hin Ngam to Sud Paen Din Viewpoint. (About 1km.) The viola pink curcuma will bloom at the beginning of rainy-from June to August.

Lan Hin Ngam or The Hin Ngam Area
the strange shape rocks in the area of 0.016km2. The fascinated rock garden located in the west of the headquarter and can access by car.

Sud Paen Din Viewpoint
is steep cliff at the peak of Pung Hoei Mountain, which is formed by the rising of the earth face. The plain is connecting zone between the centrality and Esarn region, therefore, it is called 'Sud Paen Din'. At this point, about 2km. from the Park Headquarters, we can see panoramically of Pung Hoei Mountain and conservative forest of Sub Lung Ka Wildlife Sanctuary.

Contact Address
Pa Hin Ngam National park
P.O. Box 2 (Thep Satid) Amphur Thep Sathit Chaiyaphum Thailand 36230
Tel. 0 4489 0105 

How to go?
By Car
If we want to go Pa Hin Ngam first, use the highway 1, pass Saraburi Province to Phu Kaem T-intersection. Take a left turn to Lum Narai highway (road number 21), then turn left and along the highway 205 (Lum Narai-Lum Sonti-Thep Sathit-Nong Bua Kok-Nakorn Ratchasima) for 48km., turn left to highway 2354 for 15km then turn left for 14km to Pa Hin Ngam National Park' s Headquarter.


 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจทุ่งดอกกระเจียว

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

ชัยภูมิ แผนที่จังหวัดชัยภูมิ ทุ่งดอกกระเจียว
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมือง


ภูพระ

Phu Phra
(ชัยภูมิ)


ภูแฝด

Phu Faet
(ชัยภูมิ)


กุดโง้ง

Kut Ngong
(ชัยภูมิ)


ปรางค์กู่

Prang-Ku
(ชัยภูมิ)


สระหงษ์

Sa Hong
(ชัยภูมิ)
 
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอคอนสวรรค์
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอคอนสาน
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอจัตุรัส


บึงละหาน

Bung Lahan
(ชัยภูมิ)
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอบ้านเขว้า
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอภักดีชุมพล


ถ้ำพระ

Phra Cave
(ชัยภูมิ)


ถ้ำแก้ว

Kaew Cave
(ชัยภูมิ)

 
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอภูเวียง


อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
Pa Hin Ngam National park
(ทุ่งดอกกระเจียว : ชัยภูมิ)
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอหนองบัวระเหว

แหล่งท่องเที่ยวอำเภอหนองบัวแดง


ผาเกิ้ง

Pha Koeng
(ชัยภูมิ)
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเกษตรสมบูรณ์
แผนที่จังหวัดชัยภูมิ/map of CHAIYAPHUM

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์