ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

http://www.dooasia.com > กิจกรรมท่องเที่ยว > ปีนหน้าผา 

ปีนหน้าผา
 การปีนหน้าผาและโรยตัว การโรยตัวจากหน้าผาที่บ้านผางาม
การปีนหน้าผาในจังหวัดกระบี่
การปีนหน้าผาในกรุงเทพ
การปีนหน้าผาในจังหวัดเชียงใหม่
การปีนหน้าผาและโรยตัว
การปีนหน้าผา

กิจกรรมการปีนหน้าผา เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เพราะถือว่าเป็นการท่องเที่ยว ที่เข้าไปสัมผัสกับธรรมชาติอย่างใกล้ชิด โดยไม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม ไม่ก่อมลภาวะหรือความเสียหายแก่ สถานที่ใด ๆ ทั้งสิ้น

นอกจากความเพลิดเพลินแล้ว การปีนหน้าผายังเป็นกีฬาอย่างหนึ่งด้วย เพราะร่างกายได้เคลื่อนไหวและออกแรงใน การพยายามที่จะไปให้ถึงจุดสูงสุดที่ตั้งใจเอาไว้ แต่การปีนหน้าผาใช่แต่จะใช้กำลังและความคล่องตัวเพียงเท่านั้น ยังรวม ถึงการมีสมาธิและความมั่นคงในการที่จะผ่านชะง่อนหินและด่านต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นโดยธรรมชาติ นอกจากนั้นการตัดสิน ใจที่รอบคอบ ประสบการณ์และความชำนาญก็มีส่วนสำคัญ เพราะการผิดพลาดบางครั้งอาจจะเกิดอาการบาดเจ็บและเป็น อันตราย

การปีนหน้าผานั้นอาจจะดูคล้ายการปีนเขาก็จริง แต่มีอันตรายน้อยกว่ามาก โดยบริษัทนำเที่ยวจะมีการทำเครื่องหมาย หรือเครื่องยึด ทำให้สะดวกและง่ายต่อการปีน มีผู้ควบคุมเชือก หรือบีเลเยอร์ (Belayer) ช่วยดึงและแนะนำการปีนอยู่ที่ พื้นด้านล่าง และจะมีการฝึกสอนให้รู้จักเทคนิค อุปกรณ์ และทดลองปีนกับหน้าผาจำลองก่อน

ในระยะแรก ๆ กลุ่มนักปีนหน้าผาส่วนใหญ่จะเป็นชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยเฉพาะ ที่กระบี่ได้รับการกล่าวขานถึงความสวยงามของสถานที่และความซับซ้อนของหน้าผา ในขณะที่คนไทยยังมองว่าการปีน หน้าผาเป็นกิจกรรมที่อันตราย แต่ในปัจจุบันหลังจากที่กระแสการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว ชาวไทย ก็มีการแสวงหาการท่องเที่ยวแบบใหม่ ๆ ที่เน้นการผจญภัย และความตื่นเต้น เช่น การล่องแก่ง ดำน้ำ ขี่จักรยาน เสือภูเขา และกิจกรรมการปีนหน้าผา ทำให้ปริมาณผู้สนใจ และบริษัทนำเที่ยวที่จัดกิจกรรมในลักษณะนี้เพิ่มมากขึ้น

  อุปกรณ์พื้นฐานสำหรับการปีนหน้าผาเบื้องต้น
อุปกรณ์พื้นฐานสำหรับการปีนผาเบื้องต้นแบบ Top Roping มีดังนี้

ฮาร์เนส (Harness) หรือสายรัดสะโพก ลักษณะเป็นห่วงส่วนเอวและส่วนขา ซึ่งถูกโยงไว้ด้วยกันโดยสายในล่อนทั้ง ด้านหน้าและด้านหลัง สามารถรับน้ำหนักได้ถึง 2 ตัน

คาราไบเนอร์ (Carabiner) เป็นห่วงเหล็กหรืออะลูมิเนียม อัลลอย (อย่างหลังนิยมกว่าเพราะน้ำหนักน้อยกว่า) สามารถ รับแรงดึงได้ 2 ตัน หลายรูปร่างและขนาด ขึ้นอยู่กับการใช้งาน มี 2 ประเภทหลักคือ แบบมีตัวล็อก (Screwgate Carabiner) และแบบไม่มีตัวล็อก (Snap Carabiner) สำหรับตัวที่ใช้เกี่ยวกับห่วงฮาร์เนสทุกตัวต้องมีตัวล็อกเสมอ

ควิกดรอว์ (Quickdraw) คือสายไนลอนสั้น ๆ ซึ่งมีคาราไบเนอร์เกี่ยวอยู่ตรงปลายทั้ง 2 ข้าง ใช้สำหรับเกี่ยวกับหมุด ตามหน้าผา ป้องกันการตกจากที่สูงทีเดียวถึงพื้น

อุปกรณ์บีเลย์ (Belay Device) ใช้สำหรับผ่อนเชือกให้นักปีนผาและควบคุมความเร็วในการโรยตัว มีชื่อเรียกแตก ต่างกันไปตามรุ่นที่ผลิต เช่น Grigri, Figure of Eight, ATC

รองเท้าปีนผา จะมีพื้นเรียบ ไม่มีดอกยาง หัวรองเท้าแคบเพื่อให้สอดเท้าเข้าไปบนช่องหินได้สะดวก เมื่อสวมแล้วต้อง รู้สึกว่าคับแน่นจึงจะเหมาะกับการปีนหน้าผา

แมกนีเซียม คาร์บอเนต หรือ ผงชอล็ก เป็นผงคล้ายแป้ง ใส่ถุงผ้า ห้อยไว้ด้านหลังของนักปีนผา ใช้สำหรับลดความชื้น ที่มือเพื่อความถนัดในการเกาะเกี่ยว

เชือกสำหรับปีนผา (Kernmantle) เป็นเชือกลักษณะพิเศษ คือ มีความเหนียว ไม่ยืดง่าย สามารถรับแรงดึงได้ถึง 2 ตัน เชือกเส้นหนึ่งประกอบด้วยเชือกเส้นเล็ก 2 เส้นควั่นกันอยู่ชั้นในสุดและพันด้วยไนลอน ความยาวมาตรฐานของเชือกคือ 45 เมตร 50 เมตร และ 60 เมตร

  การฝึกปีนผาเบื้องต้น
ตัวอย่างหนึ่งของการฝึกปีนหน้าผา ของชมรมปีนหน้าผากรุงเทพฯ ซึ่งเปิดเป็นโรงเรียนสอนปีนหน้าผา ทำการฝึกโดย เริ่มจากการเรียนรู้ถึงอุปกรณ์ การใช้ ระบบการทำงานและเทคนิคในการปีน

ในการฝึกขั้นต้นหลังจากการแนะนำอุปกรณ์แล้ว จะเป็นการฝึกการปีนแบบ Bouldering ซึ่งเป็นการปีนโดยใช้เพียง รองเท้าและผงแมกนีเซียม คาร์บอเนตกันลื่นเท่านั้น ในการฝึกปีนหน้าผานั้น มีหลักอยู่ว่าการปีนหน้าผาที่ดี คือต้องเคลื่อน ไหวโดยให้ร่างกายอยู่ในลักษณะสมดุลกัน ลักษณะการปีนของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ผู้ปีนจะต้องสังเกตว่าการเคลื่อน ไหวแบบไหนที่ตนเองถนัดและสามารถเคลื่อนต่อไปได้โดยไม่ต้องเสียแรงมากเกินไป การปีนต้องอาศัยความมั่นคงของมือ และเท้าในการเกาะและเหยียบ

หลังจากการฝึก Bouldering ก็เป็นการฝึกผูกเงื่อนเชือกปีนผา (Kernmanle) ซึ่งมีความเหนียวแข็งแรง สามารถ รับแรงดึงได้ถึง 2 ตัน บิดให้เป็นห่วง หมุนเกลียว 2 ครั้ง ใช้ปลายเชือกด้านหนึ่งสอดเข้าไปในห่วง แล้วย้อนกลับมาพันขึ้น พันลงตามแนวเดิมของเชือก ซึ่งเป็นการผูกแบบเงื่อนเลขแปด การผูกเชือกนี้สำคัญมากสำหรับนักปีนผา เพราะจะใช้ผูกกับ ห่วงฮาร์เนสเพื่อดึงตัวนักปีนผาไว้กรณีที่ตกลงมา

การปีนผาเบื้องต้นมักจะเริ่มจากการปีนแบบ Top Roping คือมีผู้ปีนนำ (Leader) นำเชือกขึ้นไปสอดผ่าน แองเคอร์ (Anchor) ซึ่งอยู่ตรงจุดปลายทางของการปีน ดึงเชือกลงมายังพื้นให้ปลายด้านหนึ่งยาวพอที่ผู้ปีนสามารถ ผูกเงื่อนเลขแปดไว้กับฮาร์เนสของตัวเอง ส่วนปลายเชือกอีกด้านหนึ่งนั้น บีเลเยอร์จะร้อยผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า บีเลย์ (Belay Device) แล้วคล้องอุปกรณ์บีเลย์ไว้กับห่วงฮาร์เนสของตัวเอง

อุปกรณ์บีเลยมีอยู่หลายแบบ ทั้งบีเลย์ เพลต (Belay Plate) รูปร่างแบน มีรู 2 รู คล้ายกระดุมอะลูมิเนียมเม็ดใหญ่ ฟิกเกอร์ ออฟ เอท (Figure of Eight) เป็นอะลูมิเนียมรูปร่างลักษณะคล้ายเลขแปดอาระบิก ห่วงบนและห่วงล่างมีขนาด ไม่เท่ากัน อุปกรณ์อีกตัวคือ ATC ลักษณะคล้ายตะกร้าใบเล็ก เป็นชนิดหนึ่งของบีเลย์ บางครั้งอาจจะใช้กรีกรี (Grigri) ซึ่งมีคันโยกสำหรับผ่อนเชือกและมีตัวล็อกอัตโนมัติช่วยผ่อนแรงได้ด้วย

สำหรับการฝึกเบื้องต้นของชมรมปีนเขา จะใช้เวลาในการฝึกที่ชมรมเป็นเวลาประมาณ 2 อาทิตย์ จึงจะมีการเดินทางไป ยังสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ

ข้อมูลเพิ่มเติม

นักท่องเที่ยวและผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูล และรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากชมรม และบริษัทนำเที่ยวที่จัดกิจกรรม ปีนหน้าผา และการโรยตัวจากหน้าผาได้ หรือสามารถหาอ่านข้อมูลได้จาก “คู่มือแนะนำเส้นทางปีหน้าผาในเมืองไทย” โดยสมพร สืบเหตุ
ปีนหน้าผา
 การปีนหน้าผาและโรยตัว การโรยตัวจากหน้าผาที่บ้านผางาม
การปีนหน้าผาในจังหวัดกระบี่
การปีนหน้าผาในกรุงเทพ
การปีนหน้าผาในจังหวัดเชียงใหม่



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์