ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > ของดีเมืองไทย > ท่องเที่ยวไทย


| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

นครปฐม (๓)

            คราวนี้พาท่านเข้าเมืองนครปฐม หลังจากที่ไปตระเวนเที่ยว ตระเวนชิมอาหารในพื้นที่อำเภอพุทธมณฑล สามพราน และนครชัยศรี  มาแล้ว
            เมื่อวิ่งมาจากนครชัยศรี มาตามถนนเพชรเกษมหรือทางหลวงแผ่นดินสาย ๔ อีกไม่ไกลก็จะมาถึงทางเข้าเมือง ซึ่งมีสะพานลอยให้ข้ามเข้าเมือง แต่หากจะไปยังสุพรรณบุรีหรือราชบุรี ก็อย่าไปเผลอขึ้นสะพาน คงเลี้ยวซ้ายไปได้เลย หากข้ามสะพานเพื่อเข้าสู่ตัวเมือง เมื่อวิ่งตรงไปเรื่อย ๆ ตามถนนเทศาก็จะตรงไปสู่องค์พระปฐมเจดีย์ "ณ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรวิหาร" ซึ่งเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก เป็นวัดที่ประดิษฐานองค์พระปฐมเจดีย์ ซึ่งเป็นพระสถูปที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย นครปฐมจึงใช้พระปฐมเจดีย์เป็นตราประจำจังหวัด
            พระปฐมเจดีย์ที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ได้สร้างขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ ๔ เริ่มเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๖ แต่ไม่ได้หมายถึงว่าสร้างใหม่ทั้งหมด เป็นการสร้างใหม่ แต่ได้สร้างครอบพระเจดีย์องค์เดิม ซึ่งเป็นเจดีย์เก่าแก่ มีฐานแบบโอคว่ำและมียอดปรางค์อยู่ข้างบน สันนิษฐานว่า มีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ ๔ คือ เมื่อ พ.ศ.๔๐๐ เศษ นานกว่าสองพันปีมาแล้ว ลักษณะเจดีย์องค์เดิมจะไปคล้ายกับ "สาญจี" เจดีย์ในอินเดีย ซึ่งสร้างในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
            ประวัติการสร้าง ได้สันนิษฐานกันว่า พระเจ้าอโศกมหาราช แห่งอินเดียได้ส่งสมณฑูตคือ พระโสณเถระ เข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ กษัตริย์ที่ปกครองแผ่นดินอยู่ในเวลานั้นยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา มีการสร้างวัดขึ้นเป็นแห่งแรกที่เมือง "ถมทอง" คือบริเวณเมืองนครปฐมปัจจุบัน ต่อมาจึงได้มีการสร้างพระเจดีย์ เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังไม่ได้เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติยังทรงผนวชอยู่ ได้เสด็จออกธุดงค์มายังจังหวัดนครปฐม มาพบเจดีย์องค์นี้มีขนาดใหญ่และมีความเก่าแก่มาก น่าจะทำการบูรณะ เมื่อพระองค์ทรงขึ้นครองราชย์แล้วจึงโปรดเกล้า ฯ ให้มีการบูรณะปฎิสังขรณ์พระเจดีย์เป็นการใหญ่ โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๙๖ เป็นต้นมา โดยให้สร้างเจดีย์องค์ใหม่เพื่อครอบเจดีย์องค์เดิม แต่ไม่ทันแล้วเสร็จ ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้า ฯ ให้ปฏิสังขรณ์ต่อไปจนแล้วเสร็จ โดยนำกระเบื้องเคลือบจากประเทศจีนมาประดับรอบพระเจดีย์ แล้วเสร็จใน ปี พ.ศ.๒๔๑๓ ถ้านับตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ ได้เริ่มไว้ก็เป็นเวลาถึง ๑๗ ปี จึงแล้วเสร็จ  พระเจดีย์องค์ใหม่มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงกลมฐานระฆังคว่ำแบบลังกา มีความสูงจากพื้นถึงยอดมงกุฎ ๓ เส้น ๑ คืบ ๖ นิ้ว ประมาณ ๑๒๐.๔๕ เมตร รอบฐานประมาณ ๒๓๓.๕๐ เมตร บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
            เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังคงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระยุพราช เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือ ได้พบพระพุทธรูปองค์หนึ่งที่เมืองศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มีพุทธลักษณะงดงาม แต่ชำรุดมากคงเหลือแต่พระเศียร พระหัตถ์ และพระบาท จึงโปรดให้อัญเชิญลงมายังกรุงเทพ ฯ เมื่อพระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว จึงโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ปั้นเติมตกแต่งให้บริบูรณ์ทั้งองค์ มีความสูง ๗.๔๒ เมตร เมื่อเสร็จเรียบร้อยงดงามยิ่งแล้วจึงโปรดให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ยังพระวิหารพระปฐมเจดีย์ ได้จัดการประกอบตั้งแล้วเสร็จเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๔๕๘ โดยประดิษฐานในซุ้มวิหารทางทิศเหนือ หน้าองค์พระปฐมเจดีย์ แล้วพระราชทานนามว่า "พระร่วงโรจนฤทธิ์ศรีอินทราทิตย์ ธรรมโมภาส มหาวชิราวุธ ราชปูชนียบพิตร" ที่ฐานของพระพุทธรูปบรรจุพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดนี้เป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๖

            วิหารหลวง  อยู่ทางทิศตะวันออก มีพระพุทธรูปปางตรัสรู้
            วิหารปฐมเทศนา  อยู่ทางด้านทิศใต้ ห้องด้านในประดิษฐานพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาและมีพระพุทธรูปศิลาขาว ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง บริเวณชั้นลดทางด้านทิศใต้ ใกล้กับพระวิหารปฐมเทศนา เป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดี ปางปฐมเทศนา "พระพุทธนรเชษฐ์เศวตอัศมนัยมุนี ศรีทวารวดีปูชนียบพิตร" ประทับนั่งห้อยพระบาท ได้พบที่วัดพระเมรุสี่องค์ โดย ๑ องค์ ประทับกลางแจ้งด้านทิศใต้ อีกองค์ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์ ส่วนอีกองค์ประดิษฐานอยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติเจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งในการไปกราบไหว้ ๙ มหามงคลของจังหวัดอยุธยา ซึ่งงานได้สิ้นสุดไปเมื่อ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๖ นั้น ถือว่าพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา ที่อยุธยา เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่ง ก็เพราะมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เป็นจำนวนมาก ที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ รวมทั้งพระพุทธรูปศิลาขาวด้วย และองค์ที่ ๔ ประดิษฐานอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงเทพ ฯ พระพุทธรูปศิลาขาว มีอายุกว่าพันปี
            วิหารพระพุทธไสยาสน์  อยู่ทางด้านทิศตะวันตก
            พิพิธภัณฑ์วัดพระปฐมเจดีย์  ตั้งอยู่บริเวณชั้นลดด้านทิศตะวันออกตรงข้ามพระอุโบสถ ภายในเก็บวัตถุโบราณที่ขุดค้นพบจากสถานที่ต่าง ๆ ในจังหวัดนครปฐมและเก็บหีบศพของย่าเหล สุนัขที่ซื่อสัตย์ต่อรัชกาลที่ ๖ จนมีคนอิจจจา "สุนัข" และยิ่งย่าเหลสุนัขแสนรู้ตาย รัชกาลที่ ๖ โปรด ฯ ให้สร้างอนุสาวรีย์ย่าเหลไว้อาลัย
            พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระปฐมเจดีย์  อยู่ในบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ด้านทิศใต้ เป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ ๒ ชั้น เก็บวัตถุโบราณ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นศิลปะสมัยทวารวดี ที่ขุดพบในนครปฐม ซึ่งเป็นที่น่าเสีดายที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติแห่งนี้ น่าจะไปอยู่ในพระตำหนักองค์ใดองค์หนึ่ง ในพระราชวังสนามจันทร์ ซึ่งพระตำหนักหลายองค์ยังคงถูกทางราชการยึดครองอยู่ เช่น เป็นศาลากลางจังหวัด เป็นต้น
            พระราชวังสนามจันทร์  มีอาณาเขตกว้างขวาง มีสนามใหญ่อยู่กลาง มีคูน้ำล้อมรอบ และมีพระที่นั่งต่าง ๆ โอบล้อมเป็นครึ่งวงกลม หากเราออกจากประตูด้านทิศตะวันตกหรือข้างองค์พระ ตรงไปตามถนนราชดำเนิน ก็จะชนกับพระราชวังสนามจันทร์ ปัจจุบันศาลากลางจังหวัดยังตั้งอยู่ ณ พระที่นั่งพิมานปฐม
            เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงพระอริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร พระองค์โปรดที่จะเสด็จมาประทับที่นครปฐม ทรงโปรดนครปฐม จึงทรงสั่งซื้อที่ดินจากราษฎร จำนวนมากถึง ๘๘๘ ไร่เศษ เพื่อสร้างพระราชวังสนามจันทร์ โดยโปรด ฯ ให้หลวงพิทักษ์มานพ ต่อมาได้เป็นพระยาวิศุกรรมศิลปประสิทธิ์ (น้อย ศิลปี) เป็นผู้ดำเนินการสร้าง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๐ โดยสร้างพระที่นั่งพิมานปฐมเป็นองค์แรก แล้วจึงสร้างพระตำหนักองค์อื่นตามมาในภายหลัง ให้มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบไทย และตะวันตก และแบบประยุกต์ เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้ใช้เป็นสถานที่ทรงงาน เป็นที่แสดงออกให้ประชาชนมาเฝ้า และยังเป็นกองบัญชาการในการซ้อมรบของกองเสือป่า ตลอดจนฝึกซ้อมละคร ได้เสด็จมาประทับที่พระราชวังสนามจันทร์แห่งนี้เสมอ เป็นเวลานานถึง ๑๕ ปี
            พระที่นั่งที่ปัจจุบันชมได้แต่ภายนอกเพราะเป็นสถานที่ราชการยังไม่ยอมคืน ซึ่งสถานที่ราชการในต่างจังหวัดนี้ ผมชอบของจังหวัดสุพรรณบุรี ที่แยกไปตั้งไว้นอกเมือง สร้างรวมกันโอ่โถง สง่างาม ทำไมนครปฐมไม่ยอมออกไปสร้างนอกเมืองเช่นนั้นบ้าง จะได้นำพระที่นั่งเหล่านี้คืนให้แก่ประชาชน เช่น เป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ แทนที่จะตั้งอยู่ที่วัดพระปฐมเจดีย์ พระที่นั่งที่ยังถูกยึดครองอยู่ได้แก่ พระที่นั่งพิมานปฐม พระที่นั่งอภิรมย์ฤดี พระที่นั่งวัชรีรมยา และพระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ พระที่นั่งเหล่านี้เป็นสถานที่ราชการมาตั้งแต่ สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว นานกว่า ๗๐ ปีแล้ว ตอนนี้ใครไปพระราชวังสนามจันทร์ หากอยากชมพระที่นั่งดังกล่าว ก็ไปเดินชมภายนอกก็แล้วกัน
            อีกแห่งที่ชมได้เต็มที่คือ เทวาลัยคเณศร์  ซึ่งเป็นศาลเทพารักษ์ สำหรับพระราชวังสนามจันทร์ เป็นที่ประดิษฐานพระคเณศ หรือพระพิฆเนศวร เทพเจ้าผู้มีเศียรเป็นช้าง ซึ่งเป็นเจ้าแห่งศิลปะวิทยาการ การประพันธ์ และเป็นผู้ที่จะขจัดอุปสรรคทั้งมวล พระคเณศ ประดิษฐานอยู่บนแท่นหันหน้าไปทางพระที่นั่งพิมานปฐม ตัวเทวาลัยมีลักษณะเป็นแท่นคอนกรีตฐานสูง ด้านบนเป็นซุ้มหลังคาโค้ง เหตุที่สร้างไว้กลางสนามหญ้าแห่งนี้ น่าจะเป็นเพราะรัชกาลที่ ๖ ทรงโปรดในการประพันธ์ และการแสดงละครอย่างยิ่ง
            พระตำหนักที่เข้าชมภายในได้ พระตำหนักกลุ่มนี้ประกอบด้วย พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ พระตำหนักมารีราชรัตบัลลังก์  ซึ่งพระตำหนักนี้ตั้งชื่อตามตัวละครในเรื่อง " MYFRIEND JARLET "เพราะพระองค์ทรงประทับใจในตัวละครชื่อ "JARLET" หรือชาลี ซึ่งเป็นผู้เสียสละชีวิตเพื่อลูกสาวที่ชื่อมารีและเพื่อน  ละครเรื่องนี้ได้แปลแล้วทรงนิพนธ์ไว้เป็นภาษาไทย ได้ทรงจัดแสดงละครเรื่องดังกล่าวถึงสามครั้ง ที่ริมทะเลสาปเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ที่กรุงเซ็นต์ปีเตอร์สเบอร์ก รัสเซีย และที่พระราชวังสนามจันทร์และโปรดที่จะร่วมแสดงด้วย
            พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์  เดิมเรียกพระตำหนักเหล ต่อมาโปรดพระราชทานนามใหม่และอนุสาวรีย์ย่าเหล สุนัขตัวโปรดก็สร้างอยู่หน้าพระตำหนัก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๘ ได้ย้ายจากพระที่นั่งพิมานปฐมมาประทับ ณ พระตำหนักแห่งนี้ พระตำหนักองค์นี้สวยงามมากนัก คล้ายกับปราสาท เป็นสถาปัตยกรรมแบบโรมันติก
           ปัจจุบันตกแต่งห้องต่าง ๆ ให้เหมือนกับที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คยประทับอยู่ ได้จัดเป็นห้องต่าง ๆ เช่นห้องพระบรรทม ห้องทรงพระอักษร ห้องสรง เป็นต้น และระหว่างพระตำหนักทั้งสองคือ พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ กับพระตำหนักมารีราชรัตบัลลังก์ มีฉนวนสะพานเชื่อมติดต่อถึงกัน ข้างล่างคือคูน้ำงดงามมาก
            พระตำหนักมารีราชรัตนบังลังก์  สร้างขึ้นเมื่อในปี พ.ศ.๒๔๕๙ เป็นเรือนไม้สองชั้นแบบตะวันตก ภายในจัดแสดงหนังสือและบทความที่ทรงเขียนลงหนังสือพิมพ์ มีทั้งบทร้อยกรอง สารคดี เช่น พระนลคำหลวง ตำนานชาติฮั่น เที่ยวเมืองพระร่วง เป็นต้น
            พระตำหนักทับขวัญ  เป็นพระตำหนักแบบเรือนไทยหมู่ มีชาญแล่นถึงกัน ปัจจุบันมหาวิทยาลัยศิลปากรดูแล
            พระตำหนักทับแก้ว  เคยเป็นที่ประทับในฤดูหนาว เวลานี้เป็นบ้านพักของข้าราชการ
            พระประโทนเจดีย์  เป็นโบราณสถานอยู่ในวัดพระประโทณเจดีย์ เส้นทางไปกรุงเทพ ฯ
            เนินพระหรือเนินยายหอม  อยู่ที่ตำบลดอนยายหอม มาทางกรุงเทพ ฯ ๕ กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาไปอีก ๙ กิโลเมตร เนินยายหอมอยู่ทางซ้ายห่างออกไป ๑๕๐ เมตร เคยขุดพบเสาประตูสาญจี เจดีย์ของพระเจ้าอโศกมหาราช และยังพบเสมาธรรมจักร ฯ เสาศิลาอายุพันปียังอยู่ที่วัดดอนยายหอม
            แหล่งกิน  ในเมืองนครปฐมมีแหล่งกินมากมายหลายแห่งด้วยกัน.-
ยามเช้า ตื่นเช้า ๆ (ผมพักที่โรงแรมริเวอร์ที่แปลกกว่าโรงแรมอื่นทั่วประเทศไทย ที่ผมเคยพักมาคือต้องมีการวางมัดจำลูกกุญแจห้อง ๒๐๐ บาท และจ่ายเงินค่าห้องพักทันทีที่เข้าพัก) รีบไปที่ตลาดนัดเช้า
            ไปตลาดนัดเช้าเสียก่อน  นัดแห่งนี้พร้อมไปด้วยของกินของใช้ อาหารสด อาหารสำเร็จ มีหมดและจะติดตั้งแต่เช้ามืดไปจนถึงประมาณเก้าโมงเศษ ๆ และหากเรากลับไปอีกทีตอนสักสิบโมงเช้า ถนนที่เขาปิดเพื่อติดตลาดนัดนี้จะสะอาดเรียบร้อย ไปเริ่มกันใหม่ตอนเย็น
            ถนนที่ออกจากองค์พระปฐมตรงไปทางกรุงเทพ ฯ ออกจากองค์พระด้านขวา (เมื่อหันหน้าออก) ชื่อถนนเทศา จะผ่านเทศาซอย ๑ พอถึงเทศาซอย ๒ เขาจะปิดถนนทั้งสายกลายเป็นถนนตลาดนัดเช้า และตอนเย็นก็เห็นมีรถเข็นขายอาหารมาตั้งเช่นกัน ถนนสายยาวสัก ๑๐๐ เมตร นี้ยาวไปจนจรดถนนสายเลียบริมคลอง สองฟากของเทศา ๒ มีอาหารสด แห้ง สำเร็จรูป เพื่อซื้อกลับบ้านหรือซื้อแล้วไปหาที่นั่งกินเต็มไปหมด ของดี ราคาถูกทั้งสิ้น ตอนกลาง ๆ ซอยมีสุชาติเป็ดพะโล้ ไก่ไทยต้ม เลือดพะโล้ หน่อไม้จีนต้ม เดินเรื่อยไปจนสุดถนนพบกับถนนเส้นเรียบริมคลอง หากเลี้ยวขวามาจะมีรถเข็นขายอาหารอีก เริ่มด้วยโจ๊ก และเลยโจ๊กไป ๒ - ๓ เจ้า จะมีเจ้าหนึ่งตั้งกะทะทอดขนมของจีนชื่อขนมเตียว เอี่ยว ก้วย ซึ่งขนมทอดแบบนี้หากินยาก มีทั้งไส้เผือก ไส้ถั่ว ไส้มันแกว ชื้นละ ๕ บาท ซื้อแล้วต้องไปหาที่นั่งกินตอนร้อน ๆ หรือจะยืนกินริมถนนก็ไม่มีใครว่า หากจะหาร้านนั่งกินอาหารเช้าแถวนี้ก็มีหลายร้าน เช่น .-
            หากข้ามสะพานตรงสุดซอยเทศา ๒ ก็จะพบถนนขวางอยู่อีกเส้นหนึ่ง มีร้านมังสะวิรัติปฐมอโศก ปากซอย ๒๕ มกรา ๕/๑
            หรือหากข้ามสะพานมาแล้วเลี้ยวขวาก็มีฮัลโหล คอฟฟี่ ต้องเลี้ยวขวามาสัก ๑๐๐ เมตร ร้านนี้อยู่ติดกับร้าน "ตำกับต๊าก" อยู่ถนนพิพิธประสาท
            หรือมาเทศาซอย ๕ ตรงข้ามประตูเล็กวิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐมมีร้านกาแฟสด ไข่กะทะ
            ส่วนตอนเย็น ซอยเทศา ๒ นี้เจ้าแรกปากทางเข้าซอยทางซ้ายมือมีรถเข็น ขาหมูพะโล้ น่ากินจริง ๆ
            หน้าองค์พระ เป็นลานกว้างขวาง ตกเย็นจะมีรถอาหารมาจอดคงจะไม่ต่ำกว่า ๕๐ คัน เรียงกันเป็นสี่แถว หากลงจากองค์พระเดินตรงออกมาแล้วเลี้ยวเข้าระหว่างแถวแรกกับแถวที่ ๒ ทางขวามือคือร้านหรือรถหอยทอด ผัดไทย อ้อส่วน เลยต่อไปน่าชิมทับทิมกรอบ เดินไปเรื่อยจะพบเต้าฮวยมหาบัณฑิต ติดกันคือไอศกรีมลอยฟ้า (ผ่านมาแล้ว ๑ เจ้า) สาวสวยตักไอศกรีมโยนขึ้นไปบนฟ้าแล้วเอาถ้วยรองรับ นั่งกินไอศกรีมดูโยนไอศกรีมไปด้วยเพลินดีและไม่ใช่โยนธรรมดา มีท่วงท่าในการโยนเช่นโยกตัว เคาะ ก่อนมานั่งร้านไอศกรีมให้เดินไปตั้งต้นแถวที่ ๓ ก่อน จะมีอาหารมุสลิมหลายเจ้าเช่น โรตี ข้าวหมกไก่ มะตะบะ ซื้อโรตีเสียก่อนแล้วกลับมานั่งกินโรตีกับไอศกรีม ตรงข้ามไอศกรีมมีข้าวมันไก่ทอดเชลล์ชวนชิม
            ย่านคนกลางคืนอีกย่านหนึ่งคือเริ่มต้นจากถนนซ้ายพระ (เมื่อหันหน้าออก) ถนนสายนี้ยาวไปจนชนกับรั้วพระราชวังสนามจันทร์ชื่อถนนราชดำเนิน ร้านอาหารส่วนใหญ่เปิดกลางคืน กลางวันเงียบเช่น ร้านราชพฤกษ์ กาลครั้งหนึ่ง ร.ศ.๑๐๙ เป็นต้น มีมากหลายร้าน
            และอีกแห่งที่ต้องไม่ลืมไปคือตลาดสดอยู่ฝั่งตรงข้ามกับองค์พระ ของอร่อยแยะ เช่น เป็ดพะโล้ กุนเชียง หัวหมูพะโล้ ข้าวแกง เข้าไปเดินแล้วตาลายเลือกของอร่อยไม่ถูก ดูอะไรก็น่ากินไปหมด
            ส่วนข้าวหมูแดง ก็เดินออกทางหน้าพระผ่านถนนที่เขาปิดไว้ขายผลไม้ทั้งสายไปจนออกริมคลอง ตรงหัวมุมมีร้านข้าวหมูแดง ก๋วยเตี๋ยวเป็ด เก่าแก่ชิมกันมานานกว่าสิบปีแล้วคือร้านตั้งฮะเส็ง ซื้อกลับมาก็ได้เขามีขวดใส่น้ำราดข้าวหมูแดงมาให้ ข้าวหมูแดงยังมีอร่อยวอีก ๓ แห่ง (เท่าที่ผมรู้จัก) ตั้งฮะเส็งดั้งเดิมนั้นยังอยู่ ต้องกลับไปที่ถนนเทศาซอย ๒ หันหน้าเข้าซอยทางขวามือห่างปากซอยสัก ๑๐ เมตร คือร้านดั้งเดิม
            ส่วนร้านข้าวหมูแดงเก่าแก่อีกร้านคือ อึ้งทงฮะ ข้าวหมูแดง ข้าวหน้าไก่อบน้ำผึ้ง ข้าวขาหมู ก๋วยเตี๋ยวเป็ด ถนนเลียบริมคลอง หากมาจากองค์พระ (ซ้ายพระ) มาชมถนนเลียบริมคลองเลี้ยวซ้ายไปสัก ๑๕ ห้อง ตรงนี้เขาเรียกว่า ท่ารถเมย์ไปบางเลน อีกร้านชื่อไทยคือร้าน "สุนี" อร่อยเท่าร้านชื่อจีน ชิมกันมานานเช่นกัน ข้าวหมูแดง ข้าวมันไก่ ข้าวหน้าไก่ ข้าวหมมูกรอบ อยู่ติดกับที่ทำการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ถนนราชมรรคาใน คือถนนที่จะเข้าประตูไปพระราชวังและศาลากลางจังหวัด
            เก่ง หัวปลาหม้อไฟ ร้านนี้ออกจะลึกลับเบอร์โทรศัพท์ของเขาเบอร์อะไรผมก็ไม่ได้ถาม เพราะเจอโดยบังเอิญ วนไปตรวจสอบหลายเที่ยวจนมั่นใจว่าน่าจะอร่อยแน่จึงแวะเข้าไปชิมก็ไม่ผิดหวัง เข้าได้สองทางจากหลังองค์พระก็ได้ แต่บอกทางยาก จึงขอให้ไปตามเส้นทางนคือ หากมาจากนครชัยศรีพอถึงสามแยกที่มีสะพานลอยเข้าเมือง ก็ให้เลี้ยวซ้ายไปทางป้ายที่บอกว่าไปราชบุรี ตรงเรื่อยมาชิดขวาเข้าไว้ ผ่านบิ๊กซี พอถึงป้ายบอกเลี้ยวขวาไปพระปฐมเจดีย์และแยกนี้มีไฟสัญญาณเรียกว่า ทางแยกทุ่งพระเมรุ ให้เลี้ยวขวาเข้าถนนแคบ ๆ ที่จะผ่านทุ่งพระเมรุ ผ่านร้านข้าวต้มคนนั่งแยะชื่ออ้วนข้าวต้ม วิ่งต่อไปอีกประมาณ ๑๐๐ เมตร ทางขวาและซ้ายคือตลาดนัดและผลไม้ น่าจะค้าส่งชื่อตลาดปฐมมงคล ให้หาที่จอดรถแถวตลาด แล้วเดินต่อไปสัก ๒๐ เมตร ร้านเก่ง หัวปลาหม้อไฟ อยู่ตรงจุดหักของถนน มองเห็นป้ายชัดเจน ลักษณะเป็นบ้านโบราณ ต้องขึ้นบันไดไปนั่งข้างบน มีระเบียง มีหลังคา มีนอกชาน ไม่มีหลังคา มีโต๊ะตั้ง บรรยากาศแจ่มแจ๋ว คอสุราบานชอบนักบรรยากาศแบบนี้ ตรงทางขึ้นมีแผงอาหารทะเลสด ๆ วางโชว์อยู่ มองสำรวจเสียก่อนขึ้นบันได เห็นหอยแครงสดอ้าปาก เนื้อสีแดงทีเดียว
            หอยแครงลวก ลวกเก่ง กรอบ น้ำจิ้มรสเด็ด
            ไส้ตันทอดกระเทียมพริกไทย  หอมฟุ้งตั้งแต่ยกมายังไม่ถึงโต๊ะ โรยกระเทียมเจียวสีเหลืองอ่อน
            ปลาหมึกผัดน้ำพริกเผา ด้วยความสดของปลาหมึก ผัดมากับหอมใหญ่ ผัดสุกแล้วยังกรอบกรุบ
            ปลาดุกผัดฉ่าก็อร่อยหรือปลาช่อนทอดผัดคึ่นไช่ก็ดี ทอดแล้วจึงเอามาผัด
            หัวปลาต้มเผือก "หม้อไฟ" ใช้หัวปลาเก๋า ปลาคงตัวโต เพราะมีเนื้อติดหัวปลาแยะ น้ำซุบหวาน เพราะใส่ปลาหมึกแห้ง และผักกาดขาวต้มลงมาด้วย ทำให้น้ำใส หวาน เอาเนื้อปลาเก๋าทาจิ้มเต้าเจี้ยวแล้วซดน้ำตามจะชื่นใจนัก อาหารราคาไม่แพง แต่อย่าเผลอไปมือกลางวัน เขาขายตอนเย็น เห็นร้านเล็ก ๆ อยู่ในสภาพโบราณอย่างนี้ สุขาของเขาเป็นแบบสากล ของหวานทางร้านเขาไม่มี แต่ผมไปต่อของหวานที่ตลาดกลางคืนหน้าองค์พระปฐมเจดีย์คือโรตี กับไอศกรีมลอยฟ้า

...........................................................

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |

ภาคกลาง
นครปฐม
ลพบุรี
ละโว้
สมุทรสงคราม
สุพรรณบุรี
อุทัยธานี
เมืองเก่ากาญจนบุรี
เมืองโบราณ
เมืองอู่ทอง
พระประแดง
ดอนเจดีย์
สาครบุรี
สามชุก
ตำบลปิล๊อค
บ้านกรูด
บ้านสาขลา
พระบรมมหาราชวัง
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
วังบางขุนพรหม
วังพญาไท
วังวรดิศ
วังสนามจันทร์
วังสวนกุหลาบ
โลหะปราสาท
ปราสาทเมืองสิงห์
ปราสาทสัจธรรม
ป้อมพระจุลฯ
พระนเรศวรมหาราช
แม่ทัพคู่บัลลังก์
พิพิธภัณฑ์จันเสน
วัดกู้
วัดเขาวงพระจันทร์
วัดในเกาะเกร็ด
วัดเขานางบวช
วัดเฉลิมพระเกียรติฯ
วัดท่าสุทธาวาส
วัดพระศรีมหาธาตุ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดมหรรณพาราม
วัดหนองนกไข่
วัดบางพลีใหญ่
วัดบางนมโค
วัดบุปผาราม
วัดโบสถ์
วัดยานนาวา
วัดระฆังโฆษิตารามฯ
วัดราชนัดดา
วัดไร่ขิง
วัดลำพญา
วัดเวฬุวัน
วัดศาลเจ้า
หลวงพ่อบ้านแหลม
พระพุทธไสยาสน์
พุทธมณฑล
พระบาทเขาวงพระจันทร์
ด่านเจดีย์สามองค์
พระเจดีย์กลางน้ำ
พระเจดีย์เกษแก้ว
พุทธสถานจีเต็กลิ้ม
สวนพฤกษศาสตร์
สวนสมเด็จฯ(๒)
แก่งกระจาน
น้ำตกนางครวญ
แม่น้ำเพชร
คลองบางกอกน้อย
บึงฉวาก
ทะเลกรุงเทพฯ
ถ้ำเขาหลวง
อุทยานเก้าทัพ
อุทยานทองผาภูมิ
ทุ่งทานตะวัน
ละลุ
หว้ากอ
เหมืองปิล๊อก
ศูนย์ศิลปาชีพ
ถนนบางขุนเทียน
สะพานสุขตา
สยามนิรมิต
ตลาดคลองสวน
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง
ตลาดน้ำวัดแสงศิริธรรม
ตลาดบางพลีใหญ่
ตลาดบองมาร์เช่
ตลาดศรีประจันต์
ก๋วยเตี๋ยวเรือนไม้
อร่อยถนนแปลงนาม
อร่อยย่านวิเศษชัยชาญ
 
ภาคตะวันออก
เที่ยวเมืองจันท์
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
นครนายก
สระแก้ว
อ่างศิลา
บ้านดงละคร
วัดบางกระเบา
วัดคลองขุด
วัดแสนตุ่ม
เจ้าพ่อซำปอกง
ศาลพระปิ่นเกล้า ฯ
ปางสีดา
แก่งหินเพิง
เขื่อนคลองท่าด่าน
เกาะสีชัง
แหลมเสด็จ
อุทยานทับลาน
ค่ายเนินวง
คุกขี้ไก่
ร.ร.นายร้อย จปร.
ปราสาทสด๊กก็อกธม
ปราสาทสต๊อกก็อกธม
อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก
แรลลี่ที่ระยอง

ภาคใต้
ล่องใต้
ภูเก็ต
ไปชุมพร
ระนอง
เบตง
ยะรัง
ลังกาสุกะ
หาดใหญ่
วัดเขาขุนพนม
วัดในภูเก็ต
วัดพระมหาธาตุ
วัดพระนางสร้าง
หลวงพ่อขวาง
พระมหาธาตุเจดีย์
พระมหาธาตุภักดีประกาศ
พระตำหนักเมืองนคร
อุทยานเขาสก
อุทยานสิรินาถ
น้ำตกขาอ่อน
เที่ยวเกาะ
เกาะนางยวน
เกาะยอ
เกาะลันตา
ทะเลหลังสวน
หาดทรายรี
หาดทอง
ท่าตะเภา
โครงการส่วนพระองค์
บ้านขนมจีน

อื่นๆ

เจ้าตากเดินทัพ
ตำนานปืนใหญ่
ปันจักสิลัต
สมุนไพรฮว่านง็อก

ภาคเหนือตอนบน
แม่ฮ่องสอน
เมืองสามหมอก
เชียงใหม่
เชียงของ
ลำพูน
เมืองเชียงแสน
ปาย
เวียงท่ากาน
ไหว้พระเก้าวัด
วัดเกตการาม
วัดเชียงใหม่
วัดเจดีย์ซาว
วัดดอนแก้ว
วัดพม่า
วัดพระแก้ว
วัดพระพุทธบาทสี่รอย
วัดพระสิงห์
วัดในแม่ฮ่องสอน
วัดร่องขุ่น
พระแท่นศิลาอาสน์
พระธาตุจอมแจ้ง
พระธาตุช่อแฮ
พระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุดอยเวา
พระธาตุม่อนจอมผ่อ
พระธาตุแม่เจดีย์
ผาตั้ง
ภูชี้ฟ้า
ถ้ำปลา-ถ้ำลอด
แม่ฝาง
เกษตรอ่างขาง
ทุ่งบัวตอง
กองแลน-โป่งเดือด
ปางตอง-ปางอุ๋ง
โครงการหมอกจ๋าม
สวนแม่ฟ้าหลวง
อุทยานแจ้ซ้อน
บ่อเหล็กน้ำพี้
กว๊านพะเยา
ท่ากว๊าน
กองพล ๙๓
คุ้มนายพล
อนุสรณ์สถาน
หอฝิ่น
พระเจ้าทองทิพย์
งานชาที่ดอยแม่สลอง
 

ภาคเหนือตอนล่าง
กำแพงเพชร
แม่สอด
เมืองสองแคว
ศรีสัชชนาลัย
ด่านแม่ละเมา
วัดไทยวัฒนาราม
วัดป่าภูหินร่องกล้า
วัดพระเจ้าเม็งราย
อุทยานสุโขทัย
สวนหลวงร.๙
ศาลสองมหาราช
เขาค้อ
เขาค้อถึงเพชรบูรณ์
บึงสีไฟ
ขนมจีนบ้านคุณตา
บะหมี่ชากังราว

 

ภาคอีสาน
สู่อีสาน
กาฬสินธุ์
หนองคาย
มหาสารคาม
มกุฎคีรีวัน
วัดจันทาราม
ตระเวนไหว้พระธาตุ
พระธาตุนคร
พระธาตุประสิทธิ์
พระธาตุพนม
พระธาตุมหาชัย
พระธาตุเรณู
พระธาตุศรีคูณ
พระธาตุศรีสองรัก
ภูพระบาท
ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทเปือยน้อย
พระดีอีสาน
 

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์