ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > ของดีเมืองไทย > ท่องเที่ยวไทย


หลวงพ่อขวาง

            หลวงพ่อขวาง  ท่านเป็นพระพุทธรูปอยู่ที่วัดพระขวาง จังหวัดชุมพร วัดพระขวางตั้งอยู่ที่ตำบลขุนกระทิง อำเภอเมือง ชุมพร หากจะเดินทางไปวัดพระขวาง  ต้องเดินทางไปชุมพร ระยะทางประมาณ ๔๙๘ กม. (ป้ายระยะทางกับหลัก กม. ไม่ค่อยจะตรงกัน เพราะแล้วแต่ว่าจะเดินทางผานทางราชบุรี หรือมาตามถนนสายพระราม ๒) ก็จะถึงสี่แยกปฐมพร จากนั้นก็เลี้ยวซ้ายเข้าตัวเมืองชุมพร วิ่งมาจนถึงซอยเมืองชุมพร ๒๙ ทางฝั่งขวาก็เลี้ยวขวาเข้าไปอีกประมาณ ๑.๕ กม. ข้ามแม่น้ำชุมพรที่ไหลผ่านข้างวัด  ก็จะถึงวัดพระขวาง วัดที่พระดี สงฆ์ดี ชาวบ้านค่อนข้างจะมีฐานะไม่ค่อยจะดี ที่ไปตั้งชื่อท่านว่า พระขวาง เพราะตำนานบอกว่า  พระขวางเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๕๙ นิ้ว สูง ๗๕ นิ้ว เดิมหลวงพ่อไม่ได้อยู่ที่วัดพระขวาง ท่านลอยน้ำมาขวางอยู่ที่หน้าวัด ชาวบ้านจึงชวนกันมาเพื่อที่จะนำขึ้นมาประดิษฐานที่วัด โดยการนำเชือกผูกองค์ท่านแล้วช่วยกันดึง แต่ไม่สำเร็จ นำองค์หลวงพ่อขึ้นจากน้ำไม่ได้ เอาช้างมาดึงก็ไม่ขึ้น  ชาวบ้านหมดแรงจึงแยกย้ายกันกลับบ้าน ตกตอนกลางคืนหลวงพ่อไปเข้าฝันชาวบ้านคนหนึ่งว่า "ให้สร้างฐานที่จะประดิษฐานองค์ท่านเสียก่อน แล้วนำสายสิญจน์ ๗ เส้น  ไปผูกองค์ท่านไว้แล้ว ท่านจะขึ้นมาเอง" ชาวบ้านจึงรีบมาช่วยกันสร้างฐานเพื่อประดิษฐานองค์พระพุทธรูป ที่ลอยน้ำมาเมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็นำสายสิญจน์ ๗ เส้น ไปผูกไว้ที่องค์พระตามที่ท่านมาเข้าฝัน พอรุ่งเช้าชาวสบ้านก็ได้เห็นหลวงพ่อมาประดิษฐานอยู่บนฐานเรียบร้อยแล้ว จึงได้จัดงานสมโภชหลวงพ่อ และถวายนามท่านว่า  "พระขวาง" ซึ่งจะจัดงานในวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๕ ของทุก ๆ ปี ปี ๒๕๔๙ ที่ผ่านมานี้จัดตรงกับที่ ๓ พฤษภาคม ผมไปไหว้หลวงพ่อหลังงานเขาเลิกไปแล้วหนึ่งวัน และยังมีตำนานเพิ่มเติม เกี่ยวกับหลวงพ่ออีกว่า ท่านไม่ได้ลอยน้ำมาองค์เดียว ท่านลอยมาถึง ๓ องค์ องค์พี่ที่ใหญ่กว่าเพื่อนนั้น ขึ้นที่วัดเทพเจริญ  ประดิษฐานในถ้ำรับร่อ  อำเภอท่าแซะ ชุมพร ส่วนองค์เล็กอยู่ที่วัดดอนแตง อำเภอปะทิว ชุมพร เช่นเดียวกัน ส่วนพระขวางที่วัดพระขวางนี้เป็นองค์กลาง  ซึ่งชาวบ้านนับถือว่าท่านมีความศักดิ์สิทธิ์สูง เมื่อใครปรารถนาสิ่งใดที่ไม่ผิดศีล ผิดธรรม มาบนบานกับหลวงพ่อก็มักจะประสบความสำเร็จ เช่นมาบนขอให้มีบุตร ก็ได้สมดังความปรารถนา เมื่อบนบานแล้ว ได้รับความสำเร็จ ก็จะนำมโนราห์บ้าง หนังตะลุงบ้าง มวยมาแสดงถวายท่าน วัดพระขวางแม้ว่าจะเป็นวัดเก่าแก่  แต่ก็ไม่มีเงินที่จะสร้างอุโบสถ กุฎิสงฆ์มีไม่เพียงพอ และการสร้างศาลาอเนกประสงค์ ก็ยังไม่มีทุนทำให้แล้วเสร็จ และที่ทางวัดกำลังต้องการยิ่งกว่าการสร้างอื่น ๆ คือ การสร้างเมรุเผาศพมาตรฐาน ที่ปลอดสารพิษ เพราะเมรุที่มีอยู่เก่าแก่นั่น แตกพัง ไม่สามารถใข้การได้แล้ว ชาวบ้านตายต้องไปหาที่เผาศพกันที่วัดไกล ๆ  ผมเอาเรื่องวัดพระขวางมาเล่าให้ท่านผู้อ่านทราบ เพื่อเชิญชวนให้ท่านร่วมกับผมในการสร้างเมรุเผาศพมาตรฐาน ให้วัดพระขวางซึ่งทางวัดก็มีทุนอยู่บ้างแล้วไม่เพียงพอ   และปีนี้จะทอดผ้าป่าที่วัดพระขวาง นอกจากเพื่อสร้างเมรุเผาศพให้วัดแล้ว ยังจะสร้าง "พุทธศาสนสถาน"  ในพื้นที่ของกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๒๕ค่ายเขตอุดมศักดิ์  ซึ่งค่ายทหารแห่งนี้ตั้งมานาน คงจะใกล้ร้อยปีเข้าไปแล้ว แต่ไม่มีศาสนสถานประจำค่าย ผมเป็นทหารเก่าของกองทัพภาคที่ ๔ เลยจะช่วยสร้างพุทธศาสนสถาน ให้แก่ค่ายเขตอุดมศักดิ์ ซึ่งทั้งค่ายมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็คือ อนุสาวรีย์ของพลเรือเอกกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ที่ตรงข้ามประตูเข้าค่ายเพียงแห่งเดียว ส่วนศาสนสถานที่ผมสร้างนั้นจะมี พระแก้วมรกต จำลอง ทรงเครื่องฤดูฝนประดิษฐานเป็นมิ่งขวัญของชาวค่ายเขตอุดมศักดิ์ ผมสร้างมาแล้วในค่ายกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๗ อำเภอแม่ริม เชียงใหม่เมื่อ ๔๐ ปีที่แล้ว และอีกแห่งหนึ่งก็ที่ค่ายเทพสตรีศรีสุนทร อำเภอทุ่งสง นครศรีธรรมราช เมื่อ ๒๐ ปีที่แล้ว
            เมื่อจะไปทอดผ้าป่าก็ต้องไปดูวัด คุยกับชาวบ้านเสียก่อน ว่าวัดจนจริงไหม ชาวบ้านต้องการจริงหรือเปล่า ส่วนในค่ายนั้นอยากได้พุทธศาสนสถานเพื่อเป็นขวัญ และกำลังใจของทหารและครอบครัว
            ผมเดินทางออกจากบ้านลาดพร้าว ตั้งแต่เช้าไปจนบ่ายสามโมง ก็ไปทำพิธีวางศิลาฤกษ์ ณ สถานที่สร้างศาสนสถานกันเลยทีเดียว ระหว่างการเดินทางได้แวะไปเที่ยวด่านสิงขร และไปวัดเทพเจริญ ถ้ำรับร่อ เลยมีเรื่องมาเล่าให้ฟัง
                ด่านสิงขร  เป็นเส้นทางหนึ่งในการเดินทัพของกองทัพไทย กับกองทัพพม่า ที่ยกทัพมารบกัน และด่านที่คุ้นหูคนไทยมากที่สุด ก็น่าจะเป็นด่านพระเจดีย์สามองค์  ที่อำเภอสังขละบุรี กาญจนบุรี  ชื่อที่คุ้นหูรองลงมาก็คงจะเป็นด่านแม่ละเมา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ซึ่งบุเรงนองยกทัพกำลังพลห้าแสนมาตีได้กรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.๒๑๑๒ ก็ยกกำลังส่วนใหญ่เข้ามาทางด้านแม่ละเมา น่าเสียดายที่ร่องรอยทางประวัติศาสตร์ของด่านแม่ละเมา แทบจะไม่มีเหลือ ไปแล้วหาไม่เจอว่าช่องไหน ที่ทัพพม่ายกเข้ามาคนตั้งห้าแสน ไม่ใช่น้อย ๆ และเป็นครั้งเดียวที่ไทยรบ - พม่า แล้วพม่ายกพลมามากถึงห้าแสน จึงตีได้กรุงศรีอยุธยา (ไม่ได้ตีไทยได้ทุกภาค)  ป้ายสักป้ายก็หาที่ด่านแม่ละเมาไม่เจอ ได้แต่เดา ๆ เอา ไม่ลองฟื้นประวัติศาสตร์ด้านด่านแม่ละเมากันบ้างหรือ ส่วนอีกด่านคือ ด่านบ้องตี้ อำเภอไทรโยค พม่ายกมาครั้งเดียวในตอนศึกเก้าทัพ กองทัพที่ ๒ ยกเข้ามาทางด่านบ้องตี้ แล้งตีลงไปทางใต้ ส่วนทางด่านอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ กับทางอำเภอฝาง มีแต่ทัพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และทัพของสมเด็จพระเอกาทศรถ ยกออกไปเพื่อตีอังวะ ไม่เคยปรากฎว่า พม่ายกเข้ามาทางด่านนี้ เข้ามาเหมือนกันแต่เป็นทัพเล็ก ๆ  มาเตรียมหาเสบียงไว้รับทัพใหญ่ กำลังพลแค่ห้าพันยกมาตีเมืองฝาง แต่ป้ายที่ปักไว้ที่กำแพงโบราณอำเภอฝางนั้น บอกว่าเมื่อปี พ.ศ.๒๓๓๐ อะแซหวุ่นกี้ ยกมาตีได้เมืองฝาง  คนปักป้ายลืมคำนวณอายุของท่านอะแซหวุ่นกี้ไปว่า หากท่านยกมาตี เมื่อ พ.ศ.๒๓๓๐ ท่านจะมีอายุถึง ๘๕ ปี (พ.ศ.๒๓๑๘  อะแซหวุ่นกี้ ขอดูตัวเจ้าพระยาจักรี และทำนายว่าจะได้เป็นกษัตริย์ ตอนนั้นอายุ ๗๒ ปี) สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ บิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย ก็เคยทรงแย้งไว้ว่าไม่น่าจะเป็นไปได้  ผมเองเป็นทหารแท้รบมาหลายสนามรบ และแข็งแรงพอสมควรก็คิดว่าหากอายุ ๘๔ ปี อย่าว่าแต่ให้ผมขี่ม้า ถือทวน มาจากอังวะ ระยะทางกว่า ๓๐๐ กม.   เพื่อมาตีเมืองฝางเลย ให้ผมนอนกอดทวนให้ทหารหามมา ผมก็คงตายตามทางไม่ถึงฝางแน่ ไม่ทราบว่าเขาแก้ไขป้ายแหล่งท่องเที่ยว ที่กำแพงเมืองฝางแล้วหรือยัง
                ด่านสิงขร เป็นอีกด่านหนึ่งที่ทัพไทยเคยยกออกไป และทัพพม่าเคยยกเข้ามา หากผ่านด่านสิงขรออกไปทางพม่าคือ เมืองมะริด ซึ่งเมืองมะริด ทวาย ตะนาวศรี  นี้จะคุ้นหูคนไทย ๓ เมืองนี้เคยอยู่ใต้การปกครองของไทยมานาน น่าจะนานกว่าอยู่กับพม่าด้วยซ้ำไป แต่ประวัติศาสตร์การรบไทย - พม่า ไม่บอกให้ชัดเจนว่า สงครามครั้งไหนบ้างที่ทัพพม่า และทัพไทยเคยเดินผ่านทางด่านสิงขรไปรบกัน ต้องพิจารณาเอาเอง ซึ่งผมเดา ๆ เอาว่าน่าจะเป็น สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ.๒๒๐๗ โปรดให้เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ยกไปตีทวาย ทัพยกออกไปทางด่านสิงขร มีอีกครั้งผมเดาเอาเช่นเดียวกันว่า คงไปทางด่านสิงขร ในแผ่นดินพระเจ้าเอกทัศ พ.ศ.๒๓๐๒ ซึ่งพม่ามาตีได้ทวายและตะนาวศรีโดยง่าย จึงคิดจะมาตีไทย ทางกรุงศรีอยุธยาพอได้ใบบอกจากพระยาตะนาวศรีว่า พม่ายกมาตีก็จัดทัพมีพลเพียงสามพัน ให้พระยายมราชเป็นแม่ทัพ ยกไปรักษาเมืองมะริด ก็เลยเดาเอาว่าน่าจะยกออกไปทางด่านสิงขร เพราะออกไปแล้วก็จะตรงเข้าเมืองมะริดได้ อีกครั้งก็ในสงครามเก้าทัพ พ.ศ.๒๓๒๘ ที่พม่ายกมา ๙ ทัพ ผมเดาเอาอีกว่าทัพที่ ๑ น่าจะยกเข้ามาทางด่านสิงขร เพราะทัพนี้มีกำลังพล ๑๐,๐๐๐  มีเรือกำปั่นรบ ๑๕ ลำ ยกมาตั้งทัพที่เมืองมะริด มีแมงข่องยกยอ เป็นแม่ทัพ ให้ทัพนี้ตีเมืองทางปักษ์ใต้ของไทย โดยให้ทัพบกตีตั้งแต่ชุมพรลงไปจนถึงเมืองสงขลา ส่วนทัพเรือให้ตีทางฝั่งทะเลอันดามัน  ตั้งแต่ตะกั่วป่าลงไปจนถึงเมืองถลาง คงจะรวบรวมเรื่องรบกันที่เกี่ยวกับด่านสิงขรได้เพียงเท่านี้
                เมื่อผ่านจังหวัดประจวบไปแล้ว  วันที่ผมไปแวะกินอาหารกลางวันที่อำเภอเมืองประจวบ เลาะริมทะเลอ่าวประจวบไปอีกหน่อย ก็เลยแวะชิมอาหารกลางวัน สั่งมาชิมคือ หอยกะทะร้อน แกงป่าปลาเห็ดโคน หอยจ๊อ สั่งมาแค่นั้น จากนั้นไม่กลับมาออกถนนใหญ่คงวิ่งถนนเส้นใน ผ่านเข้ากองพลบินซึ่งทหารอากาศใจดีให้เข้าไปได้เลย  วิ่งไปผ่านอ่าวมะนาว ออกไปทางคลองวาฬ แต่ไม่ได้ไปอุทยานหว้ากอ จึงกลับมาออกถนนใหญ่เพชรเกษมจากนั้นพอถึง กม.๓๓๒ ก็เลี้ยวขวาเข้าถนนที่มีป้ายบอกว่าไปด่านสิงขร วิ่งไปตามถนนลาดยางอย่างดี ๘ กม. ก็จะถึงทางแยกไปด่านสิงขรให้เลี้ยวซ้ายไปอีก ๔ กม. แต่ขอแนะนำว่าอย่าเพิ่งเลี้ยวไปให้ตรงไปก่อน ไปวนอุทยานหินเทิน   ดูหินที่วางซ้อนเทินกัน ตามธรรมชาติสวยดี แต่หญ้าแยะไปหน่อยความสวยเลยลดลงไป ชมวนอุทยานหินเทินแล้วก็กลับมาด่านสิงขร ด่านสิงขรวันนี้กับวันที่ผมไปครั้งแรก ตั้งแต่ยังรับราชการไปเพื่อกับนักศึกษาพม่า ที่หนีรัฐบาลมาชุมนุมกันอยู่ที่ด่านสิงขร เวลาผ่านมา ๑๗ ปีแล้ว สิงขรวันนั้นไม่มีถนนแต่เมตรเดียว ต้องไปทาง ฮ.  หากไปทางรถยนต์ก็ต้องบุกไป แต่สิงขรวันนี้ถนนลาดยางอย่างดี มีบ้านคนสองฟาก มีตลาดชายแดนน่าซื้อ ราคาไม่แพง ราคาไม่ฆ่าตัวตาย บริเวณตลาดที่ติดกับชายแดนแห่งนี้ มีร้านขายของที่ระลึก ของฝาก มากมายร้านใหญ่ ๆ มีหลายร้าน ที่ผมชอบมากกว่าซื้ออย่างอื่น ถึงขนาดเที่ยวกลับต้องแวะเข้ามาอีก  คือ กล้วยไม้จากพม่าราคาถูกมาก กล้วยไม้พันธุ์ดี ๆ ด้วย เช่น ช้างแดง กำลังออกดอกสีแดงเข้มขายต้นละ ๑๘๐ บาท และกล้วยไม้พื้นเมืองราคาถูก ๆ มีอีกแยะ ประเภทต้นละ ๑๐ บาท ๓ ต้น ๕๐ บาท หาซื้อได้ตาดี ๆ ก็แล้วกัน นอกจากนั้นพวกเซรามิคจากจีน คุณภาพต่ำกว่าทำในไทยแต่ราคาถูกกว่ามาก จะซื้อเทพเจ้ากวนอู เจ้าแม่กวนอิม เพชร พลอย ทับทิม มีขายมากมาย ราคาล้วนแต่ย่อมเยา ใครจะซื้อพวกทับทิม พวกเครื่องประดับ ตาดี ๆ ด้วยเพราะเขาไม่ได้หลอกขาย เขาไม่บอกผ่านมากอยู่ที่ตาของเราจะเลือกได้แค่ไหน ผมไม่ซื้อครับ เลขา ฯ ผมเข้าร้านพวกนี้เมื่อไร ผมก็ขอไปเดินดูต้นไม้ไม่ขัดใจกัน
                จากด่านสิขรกลับมาออกถนนเพชรเกษม  ออกเดินทางต่อไปพอถึง กม.๔๓๑  เขาโพธิ์ก็ถึงศูนย์บริการของทางหลวง ซึ่งเส้นทางสายใต้ยาวกว่าหนึ่งพันกิโลเมตร  มีบริการอยู่แห่งเดียว มีสุขาชั้นเยี่ยม อาหาร ของฝาก ของที่ระลึก (ราคาไม่ถูก) จำหน่าย ผ่านทีไรต้องแวะทุกทีเพื่อใช้บริการของทางหลวง แต่ไม่ซื้อของนอกจากของกิน หรือนั่งซดน้ำ สินค้าโอท๊อปน่าจะขายในราคาถูกกว่าขายในเมือง จะทำได้ก็เมื่อทางหลวงเก็บค่าเช่าที่ให้ราคาถูก ๆ  เขาก็จะขายถูก ๆ ได้
                จากศูนย์บริการทางหลวง กม.๔๓๑ วิ่งรวดเดียวไม่ได้แวะที่ไหนอีกทั้งที่จากประจวบมา จะมีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง เพราะกลัวไม่ทันเวลา วางศิลาฤกษ์ศาสนสถาน ในค่ายเขตอุดมศักดิ์
                มื้อเย็นวันนี้ไปกินอาหารที่ร้าน ซึ่งชิมกันมาเก่าแก่หลายสิบปี ตั้งแต่เขายังเป็นร้านเล็ก ๆ ริมทะเล ริมหาดทรายรี จนเดี๋ยวนี้น่าจะเป็นร้านที่ใหญ่ที่สุด ในแถบหาดทรายรี เส้นทางคือ หากไปจากสี่แยกปฐมพร เลี้ยวเข้าเมืองวิ่งไปประมาณ ๙ กม. จนข้ามสะพานตรงไปถึงสามแยก หากเลี้ยวซ้ายเข้าเมือง ให้เลี้ยวขวาผ่านอนุสาวรีย์ยุวชนทหาร ที่สู้ศึกคราวที่ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกเมื่อ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ ไป ๑๓ กม. ถึงสามแยก หากตรงไปก็จะไปยังปากน้ำชุมพร อาหารทะเลจะขึ้นที่ท่าเรือปากน้ำ หากไม่ตรงไปให้เลี้ยวขวา เส้นนี้จะไปยังศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ซึ่งเป็นที่นับถือของชาวเมือง และประชาชนทั่วไป และที่บริเวณศาลนี้มีเรือหลวงชุมพร ที่ปลดระวางแล้วจอดอยู่ด้วย ส่วนศาลอยู่บนเชิงเขา เหนือขึ้นไปคือ สวนสมุนไพรหมอพร เพราะท่านเป็นแพทย์แผนโบราณด้วย สถานที่แห่งนี้คือ ที่ซึ่งท่านสิ้นพระชนมม์ ขึ้นไปไหว้เสด็จเตี่ยจะมองลงมาเห็นอ่าวที่สวย ชายหาดที่งดงาม ไปให้เร็วหน่อยก่อนพระอาทิตย์จะตกดิน แล้วกลับมากินอาหาร วันที่ผมไปวันแรกชิมที่ร้านลุย ได้กินหอยนางรมสดตัวโต ๆ ปูผัดผงกะหรี่ กุ้งอบวุ้นเส้น ต้มส้มปลากระบอก ในพุงปลามีไข่ทุกตัว สะตอผัดกุ้ง
                ผมพักที่บ้านรับรองของจังหวัดทหารบกชุมพร ไม่ได้ไปพักโรงแรมเสียค่าบำรุงคืนละ ๑๕๐ บาท โรงแรมใหม่ ๆ ในชุมพรเกิดขึ้นหลายแห่งยังไม่เคยไปลองพัก เพราะระยะหลัง ๆ นี้มักจะพักเสียที่บ้านรับรองของจังหวัดทหารบกชุมพร วันรุ่งขึ้นไปไหว้พระที่วัดเทพเจริญและเที่ยวถ้ำ
                วัดเทพเจริญ  เส้นทางหากย้อนกลับมาจากสี่แยกปฐมพร ย้อนกลับมาจนถึง กม.๔๙๐ แล้วเลี้ยวซ้ายไปอีก ๔ กม.ก็จะถึงวัดเทพเจริญ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยว และโบราณสถานของอำเภอท่าแซะ วัดเทพเจริญตั้งอยู่เชิงเขารับร่อ ซึ่งสมัยโบราณเป็นที่ตั้งของเมืองท่ารักษา ด่านของคอคอดแผ่นดินใต้ แต่เมืองอุทุมพรไม่เหลือซากไว้ให้ชมแล้ว เขารับร่อเป็นเขาหินปูน มีถ้ำที่สวยงามหลายถ้ำ ก่อนทางขึ้นสู่ถ้ำทางขวามือมีศาลาราษฎร์สามัคคี เป็นที่ตั้งศพหลวงปู่ไสย อดีตเจ้าอาวาส สังขารยังไม่เน่าเปื่อย ในศาลามีรอยพระพุทธบาทหินทราย สลักภาพลายมงคล ๑๐๘ ประการ ที่ขอบสลักภาพการตั้งถิ่นฐานของชนกลุ่มน้อย อาคารก่อนถึงศาลาชั้นบนจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ รวบรวมพระพุทธรูปและเศียรพระเก่าแก่เอาไว้ ของใช้พื้นบ้าน ถ้วยชามจีน ฯ ชมฟรี
                ติดกับศาลาคือ ทางเดินขึ้นเขารับร่อเพื่อไปถ้ำ ไม่ชันนัก ผมเดินขึ้นได้ไม่ต้องมีใครมาหาม
                ถ้ำรับร่อ  ประกอบด้วยถ้ำหลายถ้ำที่เชื่อมถึงกัน โดยเริ่มจาก

                    ถ้ำปู่หลักเมือง  คือถ้ำแรกที่ขึ้นไปถึงมีพระพุทธรูปมากมาย ภายในมีไฟฟ้าส่องสว่างให้พระพุทธรูปองค์สำคัญคือ องค์ใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ตอนในของถ้ำ ปางมารวิชัย พ่อปู่หลักเมืององค์นี้บอกว่าสร้าง เมื่อปี พ.ศ.๕๔๘ ไม่ทราบว่าเป็นองค์เดียวกับที่วัดพระขวางบอกว่าเป็นองค์พี่ของหลวงพ่อขวางหรือไม่ เพราะไม่มีประวัติที่เกี่ยวข้องกัน ในถ้ำนี้ยังมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ พระพุทธรูปแกะสลักด้วยไม้ หน้าถ้ำมีพระพุทธรูป ๓ องค์ น่าจะเป็นพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ หรืออยุธยาตอนปลาย นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า บริเวณถ้ำรับร่อเคยเป็นชุมชนโบราณมาก่อน เพราะพบเครื่องมือเครื่องใช้ และกรมศิลปากร ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ตั้งแต่ ๒๔๗๙

                    ถ้ำไทร  อยู่ติดกับถ้ำพระหรือถ้ำปู่หลักเมือง จะเข้าไปดูตอนในต้องเสียค่าไฟฟ้าให้ทางวัดเปิดให้ มีเวลาน้อยเลยได้ชมแต่ในถ้ำตอนที่ลึกเข้าไปสัก ๕๐ เมตร พอได้เห็นหินงอกหินย้อยที่งดงาม ข้างในดูจากภาพหินงอกหินย้อยสวยมาก จะไปใหม่ให้มีเวลามากกว่านี้จะต้องรีบไปก่อนที่จะต้องให้เขาหามขึ้นไปเข้าถ้ำ ที่เรียกว่าถ้ำไทรเพราะเดิมเคยมีไทรใหญ่ที่หน้าถ้ำ เขาเล่าว่าไทรใหญ่ต้นนี้ได้ตัดเอาไปทำเสาหลักเมืองชุมพร และยังมีถ้ำที่อยู่บริเวณเดียวกันอีกรวมแล้วมี ๘ ถ้ำ ที่จะเดินไปชมได้ ผมเจอเข้า ๒ ถ้ำ ก็พอแล้ว แวะชิมมือกลางวันมียำสมุนไพร "ทอดมันไข่เค็ม" ปลาเก๋าราดพริก ยำใบเหลียงกุ้งสด ยำแล้วใส่ตะกร้าเผือก
                มื้อเย็น วันที่สองที่พักชุมพร เข้าไปกินอาหารในเมือง ในตัวเมืองจะมีร้านอาหารจีนที่ค้นพบเอาไว้ ๓ ร้านด้วยกัน
                เส้นทางไปจากสี่แยกปฐมพร ๙ กม. ถึงสามแยกเลี้ยวซ้ายผ่านศาลหลักเมืองไปแล้วถึงสี่แยกมีไฟสัญญาณเลี้ยวขวา ร้านจะอยู่ทางซ้ายมือ ร้านขนาดสองห้องเปิดขายเฉพาะตอนเย็น เป็นแบบร้านข้าวต้มคนกลางคืน ร้านนี้แขวนป้ายคลีนฟู๊ด กู๊ด เทสท์ หน้าร้านมีอาหารสำเร็จตั้งโชว์แต่ไม่มากนัก ได้สั่งมาชิมดังนี้
                อ้อส่วน อธิบายสั้น ๆ ว่าอ้อส่วนที่เป็นอ้อส่วน ไม่ใช่หอยผัดแป้งเลอะ ๆ
                ไส้หมูพะโล้ อาหารตรวจสอบร้านข้าวต้ม ใส้หมูอร่อย มักจะอร่อยหมด
                กะเพาะหมูตุ๋น ซดชื่นใจดีนัก อย่าลืมสั่งข้าวสวยมาพุ้ยด้วย
                ยำห้าดาว เคี้ยวสนุกมีหมูแผ่น เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เผือกทอด กุ้งแห้ง ใส่ตะใคร้ หอมซอย
                อาหารแบบภัตตาคารก็มีเช่นข้าวต้มปลา ปลิงทะเลน้ำแดง ปูห่อทอด หน่อไม้กระป๋องผัดตีนเป็ด เป็ดตุ๋นมะนาวดอง ใบเหลียงผัดไข่ "ข้าวต้มรวมมิตร" ฯ ราคาย่อมเยา
                ถนนกรมหลวงชุมพร หากสนใจอาหารคาวหวานในรถเข็นให้ไปถนนสายนี้ ไปสัก ๑๐๐ เมตร จะมีถนนแยกขวา หากเลี้ยวขวาเข้าไปสองฝั่งจะมีรถเข็นขายอาหาร ไม่น้อยกว่า ๕๐ ร้าน ทั้งคาวและหวาน มากที่สุดคือรถหอยทอด ผัดไทย ผมไม่ค่อยได้ไปชิมอาหารมื้อค่ำย่านนี้ แต่ไปชุมพรทีไรไปทุกที ติดใจโรตีเข้าไปสัก ๕๐ เมตร รถเข็นอยู่ขวามือ สองผัวเมียช่วยกันทำ รถโรตีคนเข้าคิวรอใช่แน่โรตอาบัง ที่คนที่พาผมมาครั้งแรกคงสักสิบปีมาแล้วชมว่าสวยอร่อย อร่อยคือโรตี ชมว่าสวยคือเมียอาบัง

.............................................................

| บน |

ภาคกลาง
นครปฐม
ลพบุรี
ละโว้
สมุทรสงคราม
สุพรรณบุรี
อุทัยธานี
เมืองเก่ากาญจนบุรี
เมืองโบราณ
เมืองอู่ทอง
พระประแดง
ดอนเจดีย์
สาครบุรี
สามชุก
ตำบลปิล๊อค
บ้านกรูด
บ้านสาขลา
พระบรมมหาราชวัง
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
วังบางขุนพรหม
วังพญาไท
วังวรดิศ
วังสนามจันทร์
วังสวนกุหลาบ
โลหะปราสาท
ปราสาทเมืองสิงห์
ปราสาทสัจธรรม
ป้อมพระจุลฯ
พระนเรศวรมหาราช
แม่ทัพคู่บัลลังก์
พิพิธภัณฑ์จันเสน
วัดกู้
วัดเขาวงพระจันทร์
วัดในเกาะเกร็ด
วัดเขานางบวช
วัดเฉลิมพระเกียรติฯ
วัดท่าสุทธาวาส
วัดพระศรีมหาธาตุ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดมหรรณพาราม
วัดหนองนกไข่
วัดบางพลีใหญ่
วัดบางนมโค
วัดบุปผาราม
วัดโบสถ์
วัดยานนาวา
วัดระฆังโฆษิตารามฯ
วัดราชนัดดา
วัดไร่ขิง
วัดลำพญา
วัดเวฬุวัน
วัดศาลเจ้า
หลวงพ่อบ้านแหลม
พระพุทธไสยาสน์
พุทธมณฑล
พระบาทเขาวงพระจันทร์
ด่านเจดีย์สามองค์
พระเจดีย์กลางน้ำ
พระเจดีย์เกษแก้ว
พุทธสถานจีเต็กลิ้ม
สวนพฤกษศาสตร์
สวนสมเด็จฯ(๒)
แก่งกระจาน
น้ำตกนางครวญ
แม่น้ำเพชร
คลองบางกอกน้อย
บึงฉวาก
ทะเลกรุงเทพฯ
ถ้ำเขาหลวง
อุทยานเก้าทัพ
อุทยานทองผาภูมิ
ทุ่งทานตะวัน
ละลุ
หว้ากอ
เหมืองปิล๊อก
ศูนย์ศิลปาชีพ
ถนนบางขุนเทียน
สะพานสุขตา
สยามนิรมิต
ตลาดคลองสวน
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง
ตลาดน้ำวัดแสงศิริธรรม
ตลาดบางพลีใหญ่
ตลาดบองมาร์เช่
ตลาดศรีประจันต์
ก๋วยเตี๋ยวเรือนไม้
อร่อยถนนแปลงนาม
อร่อยย่านวิเศษชัยชาญ
 
ภาคตะวันออก
เที่ยวเมืองจันท์
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
นครนายก
สระแก้ว
อ่างศิลา
บ้านดงละคร
วัดบางกระเบา
วัดคลองขุด
วัดแสนตุ่ม
เจ้าพ่อซำปอกง
ศาลพระปิ่นเกล้า ฯ
ปางสีดา
แก่งหินเพิง
เขื่อนคลองท่าด่าน
เกาะสีชัง
แหลมเสด็จ
อุทยานทับลาน
ค่ายเนินวง
คุกขี้ไก่
ร.ร.นายร้อย จปร.
ปราสาทสด๊กก็อกธม
ปราสาทสต๊อกก็อกธม
อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก
แรลลี่ที่ระยอง

ภาคใต้
ล่องใต้
ภูเก็ต
ไปชุมพร
ระนอง
เบตง
ยะรัง
ลังกาสุกะ
หาดใหญ่
วัดเขาขุนพนม
วัดในภูเก็ต
วัดพระมหาธาตุ
วัดพระนางสร้าง
หลวงพ่อขวาง
พระมหาธาตุเจดีย์
พระมหาธาตุภักดีประกาศ
พระตำหนักเมืองนคร
อุทยานเขาสก
อุทยานสิรินาถ
น้ำตกขาอ่อน
เที่ยวเกาะ
เกาะนางยวน
เกาะยอ
เกาะลันตา
ทะเลหลังสวน
หาดทรายรี
หาดทอง
ท่าตะเภา
โครงการส่วนพระองค์
บ้านขนมจีน

อื่นๆ

เจ้าตากเดินทัพ
ตำนานปืนใหญ่
ปันจักสิลัต
สมุนไพรฮว่านง็อก

ภาคเหนือตอนบน
แม่ฮ่องสอน
เมืองสามหมอก
เชียงใหม่
เชียงของ
ลำพูน
เมืองเชียงแสน
ปาย
เวียงท่ากาน
ไหว้พระเก้าวัด
วัดเกตการาม
วัดเชียงใหม่
วัดเจดีย์ซาว
วัดดอนแก้ว
วัดพม่า
วัดพระแก้ว
วัดพระพุทธบาทสี่รอย
วัดพระสิงห์
วัดในแม่ฮ่องสอน
วัดร่องขุ่น
พระแท่นศิลาอาสน์
พระธาตุจอมแจ้ง
พระธาตุช่อแฮ
พระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุดอยเวา
พระธาตุม่อนจอมผ่อ
พระธาตุแม่เจดีย์
ผาตั้ง
ภูชี้ฟ้า
ถ้ำปลา-ถ้ำลอด
แม่ฝาง
เกษตรอ่างขาง
ทุ่งบัวตอง
กองแลน-โป่งเดือด
ปางตอง-ปางอุ๋ง
โครงการหมอกจ๋าม
สวนแม่ฟ้าหลวง
อุทยานแจ้ซ้อน
บ่อเหล็กน้ำพี้
กว๊านพะเยา
ท่ากว๊าน
กองพล ๙๓
คุ้มนายพล
อนุสรณ์สถาน
หอฝิ่น
พระเจ้าทองทิพย์
งานชาที่ดอยแม่สลอง
 

ภาคเหนือตอนล่าง
กำแพงเพชร
แม่สอด
เมืองสองแคว
ศรีสัชชนาลัย
ด่านแม่ละเมา
วัดไทยวัฒนาราม
วัดป่าภูหินร่องกล้า
วัดพระเจ้าเม็งราย
อุทยานสุโขทัย
สวนหลวงร.๙
ศาลสองมหาราช
เขาค้อ
เขาค้อถึงเพชรบูรณ์
บึงสีไฟ
ขนมจีนบ้านคุณตา
บะหมี่ชากังราว

 

ภาคอีสาน
สู่อีสาน
กาฬสินธุ์
หนองคาย
มหาสารคาม
มกุฎคีรีวัน
วัดจันทาราม
ตระเวนไหว้พระธาตุ
พระธาตุนคร
พระธาตุประสิทธิ์
พระธาตุพนม
พระธาตุมหาชัย
พระธาตุเรณู
พระธาตุศรีคูณ
พระธาตุศรีสองรัก
ภูพระบาท
ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทเปือยน้อย
พระดีอีสาน
 

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์