หน้าแรก ค้นหา

ท่องเที่ยว - ค้นหาผล

หากคุณไม่มีความสุขกับผลที่ได้ โปรดดำเนินการค้นหาอื่น

เขตย่างกุ้ง

อยู่บริเวณที่ราบภาคกลางค่อนไปทางใต้ ตั้งอยู่ในใจกลางของพม่า มีพรมแดนติดกับอ่าวเมาะตะมะ เขตปกครองหงสาวดีและเขตปกครองอิระวดี มีภูมิอาศร้อนชื้น  มีประชากรราว 5 ล้านคน เมืองหลวงของเขตปกครองนี้คือเมืองย่างกุ้ง ซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงของประเทศพม่าด้วย   เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศย่างกุ้งเป็นที่ตั้งของที่ทำการรัฐบาล มหาวิทยาลัย โรงงานอุตสาหกรรมศูนย์กลางธุรกิจการค้า ศูนย์กลางคมนาคม และที่สำคัญที่สุด พระเจดีย์ชะเวดากอง พระเจดีย์ทองคำสัญลักษณ์ประเทศพม่าก็อยู่ที่เขตปกครองย่างกุ้งนี้ด้วย  ทำให้เขตปกครองย่างกุ้งเป็นเขตที่มีความสำคัญที่สุดในพม่า นอกเหนือไปจากพระเจดีย์ชะเวดากองแล้ว ย่างกุ้งยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกมากมาย อาทิ พระพุทธไสยาสน์เฉ้าทัตยี พระพุทธรูปปางไสยาสน์องค์ใหญ่ มีพระพักตร์งดงามมาก  รวมไปถึงพระเจดีย์โบตาทอง ริมแม่น้ำย่างกุ้ง พระเจดีย์โบตาทองแห่งนี้ สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์คราวรับเสด็จพระเกศธาตุของพระพุทธเจ้าจากประเทศอินเดีย นอกจากนี้ บริเวณพระเจดีย์ยังมี    ...

เขตมาเกว

ตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศ มีลักษณะภูมิประเทศแบบทะเลทราย มีอากาศร้อน อยู่ติดกับเขตปกครองมัณฑเลย์ หงสาวดี รัฐยะไข่ และฉิ่น อาณาเขต ด้านเหนือติดกับมณฑลสะกาย ด้านตะวันออกติดกับมณฑลมัณฑะเล ด้านใต้ติดกับมณฑลพะโค ด้านตะวันตกติดกับรัฐยะไข่และรัฐฉิ่น การแบ่งเขตการปกครอง มณฑลมะเกวแบ่งพื้นที่การปกครองเป็น 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอมะเกว(Magway) อำเภอมีงบู(Minbu) อำเภอตะแยะ(Thayet) อำเภอปะโคะกู่(Pakokku) และกั้งกอ(Gangaw) ทั้งมณฑลมี 25 ตำบล กับ 1,696 หมู่บ้าน มะเกวเป็นเมืองหลักของมณฑลมีประชากรประมาณ 300,000 คน ประชากร มณฑลมะเกวมีประชากรกว่า 4...

เขตมัณฑะเลย์

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง มีภูเขามัณฑเลย์ เป็นจุดศูนย์กลางของเมืองเขตนี้มีพรมแดนติดกับเขตปกครองสกาย หงสาวดี มะกวย และรัฐฉาน รัฐกะเหรี่ยง มีประชากรราว 6 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นพม่าและไทยใหญ่ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม จำพวก ชา กาแฟ ดอกไม้เมืองหนาว พลับ องุ่น เกาลัด นอกจากนี้ยังมีป่าไม้ เช่น ไม้สัก ไม้มะค่า ไม้ประดู่...

เขตพะโค หรือเขตหงสาวดี

เขตพะโค หรือ เขตหงสาวดี เป็นเขตการปกครองหนึ่งของประเทศพม่า ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ ทางเหนือของเขตติดต่อกับเขตมาเกวและเขตมัณฑะเลย์ ทางตะวันออกกับรัฐกะเหรี่ยง รัฐมอญ และอ่าวเมาะตะมะ ทางใต้กับเขตย่างกุ้ง และทางตะวันตกกับเขตอิรวดีและรัฐยะไข่ เขตปกครองหงสาวดี  อากาศจะร้อนที่สุดในเดือนเมษายน เขตนี้เป็นแหล่งปลูกไม้สักที่ใหญ่ที่สุด มีการทำอุตสาหกรรมป่าไม้ มีโรงเลื่อยและโรงอบไม้ เนื่องจากเมืองหงสาวดี เมืองเก่าแก่ของชาวมอญและเป็นอดีตราชธานีของพระเจ้าบุเรงนอง จึงมีสถานที่น่าสนใจที่ดึงดูดผู้คนให้ไปสัมผัส ได้แก่ พระเจดีย์ชะเวมอว์ดอว์หรือพระธาตุมุเตา พระเจดีย์เก่าแก่ สมัยเดียวกันกับพระเจดีย์ชะเวดากอง เป็นพระเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้าน คู่เมืองหงสาวดี ก่อนพระเจ้าบุเรงนองออกศึกทุกครั้งต้องมานมัสการ พระเจดีย์องค์นี้ พระราชวังพระเจ้าบุเรงนอง พระพุทธรูปชเวตาเรืองพระพุทธรูปปางไสยาสน์เก่าแก่ พระพุทธรูปไจ้ปุ่น พระพุทธรูปสี่ทิศ เมืองแปรเป็นอีกเมืองที่นักท่องเที่ยวมักจะไปเยือนเสมอๆ สัญลักษณ์ของเมือง เป็น รูปหงส์คู่ ตำนานเล่าว่า พระพุทธเจ้าทรงเสด็จมาถึงเมืองหงสาวดีที่สมัยก่อนยังคงเป็นชายหาดริมทะเล...

การขอวีซ่าพม่า

การขอวีซ่าพม่า  นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปประเทศพม่า ต้องขอวีซ่าก่อนการเดินทาง  โดยหลักฐานประกอบการขอวีซ่ามีดังนี้ พาสปอร์ตปัจจุบันที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ก่อนการเดินทาง สำเนาพาสปอร์ตจำนวน 1 ฉบับ รูปถ่ายสีขนาดเดียวกันและแบบเดียวกันจำนวน 2 รูป ค่าธรรมเนียมในการขอวีซ่า 810 บาท (สำหรับนักท่องเที่ยว) และ 1,440 บาท (สำหรับนักธุรกิจ) นักท่องเที่ยวสามารถสามารถขอวีซ่าเข้าประเทศได้เป็นเวลา 28 วัน  แต่จะมีการยืดเวลาในการต่อวีซ่าออกไปอีก 14 วัน (สำหรับท่องเที่ยว) และ...

อาหารพื้นเมือง ประเทศพม่า

อาหารพื้นเมือง ความน่าสนใจในการท่องเที่ยวให้สนุก จะต้องมีเรื่องกินควบคู่ไปกับการได้ลิ้มลองรสชาติอาหารพื้นเมืองพม่า อีกไม่นานก็จะเป็นอาเซียนด้วยกัน ควรจะต้องศึกษาไว้ก่อน ว่าอาหารพม่า ที่เด่นๆ หรือพบเห็นทั่วไปมีอะไรกันบ้าง อาหารเช้าที่พม่าเรียกว่า โมมิงกะ มีลักษณะคล้ายขนมจีนของบ้านเรา   Mohinga (โมฮิงกา) เนื่องจากพม่าอยู่ใกล้อินเดีย อิทธิพลอาหารแขกจึงมีอยู่ในพม่ามากกว่าไทย เครื่องปรุงอย่างหนึ่งคือน้ำมันเนยใส ใส่ในอาหารเหมือนคนไทยใส่กะทิ นอกจากนี้ยังใส่ขมิ้น ผงกะหรี่ และฉุนด้วยเครื่องเทศมากกว่าอาหารไทย ส่วนอิทธิพลจากอาหารจีน ก็เห็นจากเครื่องปรุง ที่ใส่ซีอิ๊วหรือน้ำปลาถั่ว ถั่วเน่า เต้าหู้ ขิง และหอม พม่ามีอาหารจานเดียวแบบไทย ได้แก่ก๋วยเตี๋ยว และขนมจีน ใช้มือคลุกเสร็จก็ออกมาเป็นแบบนี้ แต่พึงระลึกไว้ว่าหน้าตาไม่เป็นอย่างนี้ทุกร้าน...

ประเพณีพื้นเมือง ของประเทศพม่า

ประเพณีพื้นเมือง สังคมพม่านับได้ว่าเป็นสังคมที่แทบหยุดกาลเวลา และหยุดความเปลี่ยนแปลงไว้ได้ในระดับหนึ่ง ทั้งนี้เพราะพม่าปิดประเทศมานานกว่า 3 ทศวรรษ ในขณะที่โลกได้พัฒนาด้านเทคโนโลยีไปมาก ในช่วงเวลานั้นสังคมพม่าอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่นเน้นความเป็นอยู่แบบพอมีพอกินและพึ่งพาตนเอง สิ่งจำเป็นจึงมีเพียงแค่ปัจจัยสี่ คือ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค อีกทั้งสิ่งยั่วเย้าในการบริโภคที่เกินความจำเป็นก็มีไม่มาก ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวพม่าในช่วงเวลาก่อนหน้านี้จึงมีความเรียบง่าย และไม่มีเรื่องที่จะต้องจับจ่ายกันมากนักนับแต่อดีตมา พม่ามีงานประเพณีของแต่ละเดือนในรอบปี เรียกว่า แซะนะล่ะหย่าตี่บะแว หรือประเพณีสิบสองเดือน ในยุคราชวงศ์ของพม่ามีการกำหนดให้งานนี้เป็นพระราชพิธี แม้ว่าในปัจจุบันพม่าจะยังคงสืบทอดงานประเพณีสิบสองเดือนไว้ แต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมบ้าง ประเพณีสิบสองเดือนของพม่าเป็นดังนี้...

เรื่องน่ารู้ ก่อนไปเที่ยว พม่า

ประเทศ พม่า  หรือ เมียนมาร์ (Myanmar) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (Republic of the Union of Myanma) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาวและไทย สำหรับนักท่องเที่ยวหรือบุคคลทั่วไปที่ต้องการเดินทางไปเยือน พม่าควรมีการ เตรียมตัวก่อนการเดินทาง ดังต่อไปนี้ การเตรียมพร้อมด้านร่างกาย แนะนำว่าควรตรวจสุขภาพ และฉีดวัคซีนที่จำเป็นให้ครบถ้วน รวมถึงเตรียมยาประจำตัวมาให้เพียงพอ เพราะการสาธารณสุขของเมียนมาร์ยังไม่ทันสมัย การเตรียมพร้อมด้านการเงิน ระบบการเงินระหว่างประเทศของเมียนมาร์ต้องผ่านระบบธนาคารของรัฐเท่านั้น และตู้เบิกเงินอัตโนมัติมีไม่แพร่หลาย อีกทั้งยังไม่รองรับการถอดเงินจากบัญชีในต่างประเทศ รวมถึงไม่มีการโอนเงินระหว่างประเทศ ดังนั้นจึงควรแลกเงินดอลลาร์สหรัฐมาให้เพียงพอ เนื่องจากโรงแรม และร้านค้าในเมียนมาร์ส่วนใหญ่จะไม่รับบัตรเครดิตหรือ...

บุนพาร์ – ฮาวพาร์วิลล่า (Haw Par Villa)

สร้างในปี 1937 โดยนักธุรกิจเจ้าเสน่ห์ชื่ออาวบุนฮาว ให้แก่พี่น้องชายของเขาที่ชื่อบุนพาร์ - ฮาวพาร์วิลล่า (Haw Par Villa) แห่งนี้มีลักษณะเหมือนกับบ้านในนิยายพื้นบ้านของชาวจีนอย่างไม่มีผิดเพี้ยน นักท่องเที่ยวหลายคนกล่าวว่าที่แห่งนี้ "น่าหลงใหล เพลิดเพลิน มหัศจรรย์ และสนุกสนาน" ฮาวพาร์วิลล่ามีเอกลักษณ์ในตัวเองไม่เหมือนที่อื่นใดในโลกที่นี่มีรูปปั้นใหญ่เล็กจำนวนยี่สิบห้าตัว จำลองแบบมาจากตัวละครในเทพนิยายจีนหลายตัว เช่น พระสังกระจาย และ "ฟู ลู่ ชู" (เทพลัทธิเต๋า)...

กีฬาประจำชาติของประเทศในอาเซียน

กีฬาประจำประเทศไทย คือ มวยไทย เเละ ตะกร้อ ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)     มวยไทยเป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวที่สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในเชิงกีฬาและการต่อสู้จริง ๆ ศิลปะประเภทนี้มีมาตั้งแต่โบราณกาล บรรพบุรุษของชาติไทยได้ฝึกฝนอบรมสั่งสอนกุลบุตรไว้เพื่อป้องกันตัวและป้องกันชาติ บนักรบผู้กระเดื่องนามทุกคนต้องได้รับการฝึกฝน อบรมศิลปะประเภทนี้อย่างชัดเจนทั้งสิ้น เพราะการใช้อาวุธรบในสมัยโบราณเช่น กระบี่ พลอง ดาบ ง้าว ทวน ฯลฯ ถ้ามีความรู้วิชามวยไทย ประกอบด้วยแล้ว จะทำให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่เข้าสู้ติดพันประชิดตัวก็จะได้อาศัยใช้อวัยวะบางส่วนเข้าช่วย...

ท่าอากาศยานนานาชาติของกลุ่มประเทศอาเซียน

Main Airports in Southeast Asia : ท่าอากาศยานนานาชาติของประเทศสมาชิกอาเซียน      ท่าอากาศยานนานาชาติของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศกันบางแห่งมีชื่อเสียงติดอันดับโลก ท่าอากาศยานนานาชาติบรูไน       Brunei   International  Airport Brunei International Airport is the primary airport in the nation of Brunei. The airport consists...

ความต่างกันด้านเวลาในอาเซียน

ผู้ที่จะเดินทางไปประเทศต่างๆ ในอาเซียน ก่อนที่เครื่องบินจะลงจอด จะมีพนักงานต้อนรับบนเครื่องประกาศว่าเวลาท้องถิ่นขณะนี้ ี้เป็น เวลาเท่าใด เพื่อให้ผู้โดยสารปรับนาฬิกาให้ถูกต้อง ที่ชวนให้สงสัย คือ เวลาของบางเมืองน่าจะเท่ากับกรุงเทพแต่กลับเร็วกว่า 1 ชั่วโมง   เช่น ประเทศสิงคโปร์ เป็นต้น ทั้งๆ ที่ตั้งอยู่แนวเดียวกับประเทศไทย การกำหนดเขตเวลาของประเทศต่างๆ ทำกันมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1884 คือมีการกำหนดให้เส้นที่พาดผ่านจากขั้วโลกเหนือ มาขั้วโลกใต้ที่ ผ่านเมือง Greenwich...

บุคลสำคัญแต่ละชาติอาเซียน

ในแต่ละประเทศย่อมมีบุคคลสำคัญ ที่สร้างความดีงาม ความเจริญรุ่งเรืองให้กับประเทศ เราลองมาดูกันว่าบุคคลสำคัญในประเทศต่างๆ ของอาเซียนเป็นอย่างไรบ้าง บุคลสำคัญของประเทศไทย *   พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2489 จึงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เสวยราชย์นานที่สุดในโลกที่มีพระชนม์ชีพอยู่ ทรงเป็นที่รักและเทิดทูนของชาวไทย พระองค์ทรงเปี่ยมด้วยพระอัจฉริยภาพอันหลากหลายซึ่งเป็นที่ประจักษ์ต่อชาวไทยและชาวโลก *  พุทธทาสภิกขุ หรือ พระธรรมโกศาจารย์---- ได้รับการสดุดีว่าเป็นมหาปราชญ์แห่งพุทธธรรม เป็นนักปฏิรูปพระพุทธศาสนาที่สำคัญที่สุดรูปหนึ่งของเมืองไทย ท่านเป็นผู้ก่อตั้งสวนโมกขพลาราม และมีผลงานปรากฏมากมายทั้งในรูปพระธรรมเทศนา และงานเขียน *   หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ปูชนียบุคคลของไทยที่เป็นทั้งนักปราชญ์ นักเขียน...

AEC BLUEPRINT

สำหรับเสาหลักการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC )ภายในปี 2558 เพื่อให้อาเซียนมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ อย่างเสรี และเงินทุนที่เสรีขึ้นต่อมาในปี 2550 อาเซียนได้จัดทำพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) เป็นแผนบูรณาการงานด้านเศรษฐกิจให้เห็นภาพรวมในการมุ่งไปสู่ AEC ซึ่งประกอบด้วยแผนงานเศรษฐกิจในด้าน ต่าง ๆ พร้อมกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนในการดำเนินมาตรการต่าง...

ฮีต 12 ครอง 14

รู้จักกับ “ฮีต 12 ครอง 14” ของคนลาว ประเทศลาวเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยวัฒนธรรมที่หลากหลายของชนเผ่าต่างๆ ซึ่งในแต่ละชนเผ่าก็มีความเชื่อ และประเพณีที่แตกต่างกัน สำหรับ “ฮีต 12 ครอง 14” นี้ถือเป็นความเชื่อและขนบธรรมเนียมประเพณีของชนเผ่าลาวลุ่ม ที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่บรรพบุรุษ “ฮีตสิบสอง” คำว่า “ฮีต” มาจากคำว่า “จารีตประเพณี” หรือสิ่งที่ยึดถือประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน ส่วนคำว่า “สิบสอง” หมายถึง เดือนทั้ง 12 เดือนในรอบหนึ่งปี ดังนั้นความหมายโดยรวมๆ จึงหมายถึง งานบุญประเพณีในแต่ละเดือนของชาวลาวลุ่ม ซึ่งยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่ครั้งโบราณ จุดมุ่งหมายเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ที่ล่วงลับ...

เกร็ดควรรู้สำหรับการขับขี่รถในประเทศลาว

เกร็ดควรรู้สำหรับการขับขี่รถในประเทศลาว ประเทศลาวนั้นขับขี่สวนกันเลนซ้ายครับ  และรถภายในประเทศทุกคันจะขับพวงมาลัยซ้าย หากนำรถสวนตัวไปควรใช้ความระมัดระวัง ปรับตัวให้คุ้นเคยก่อน แต่กฎจราจร และรูปป้ายสัญญาณต่างๆ ในประเทศลาวนั้นเป็นไปตามระบบของสากล  ตามเส้นทางต่างๆ ส่วนใหญ่จะมีการจำกัดความเร็วเช่น หากวิ่งในเขตที่เป็นชุมชน แขวง (จังหวัด) เมือง (อำเภอ) บ้าน (หมู่บ้าน) จะจำกัดความเร็วสูงสุดไม่เกิน 40 กิโลเมตร/ ชั่วโมง หากเป็นเส้นทางหลวงระหว่างแขวงต่อแขวง, เมืองต่อเมือง หรือบ้านต่อบ้าน จะจำกัดความเร็วสูงสุดไม่เกิน 80...

ข้อควรรู้ก่อนไป เที่ยวลาว

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือเรียกสั้นๆ แบบคุ้นปากว่า ลาว ประเทศเพื่อนบ้าน อันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งได้รับความนิยมไม่น้อยในหมู่คนไทยอย่างพวกเรา แม้ภาษาและวัฒนธรรมบ้านเราบ้านเขาจะใกล้เคียงกัน แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเราสามารถเดินเข้าออกประเทศเขาได้อย่างย่ามใจ บางอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์อาจได้เข้าไปนอนเล่นในคุกลาวแบบฟรีๆ ศึกษาไว้บ้างก็ดี ข้อควรรู้ก่อนไปเที่ยวลาว ประเทศไทยเราสามารถเดินทางเข้า สปป.ลาว ได้ที่ด่านพรมแดน 5 จังหวัด ดังนี้ 1. จังหวัดเชียงราย (เชียงของ – ห้วยทราย) 2. จังหวัดหนองคาย (สะพานมิตรภาพไทย-ลาว – นครหลวงเวียงจันทน์) 3. จังหวัดนครพนม – ท่าแขก 4. จังหวัดมุกดาหาร – สะหวันนะเขต 5. จังหวัดอุบลราชธานี (ด่านช่องเม็ก – วังเต่า) ข้อควรรู้ก่อนไปเที่ยวลาว บุคคลที่ถือสัญชาติไทย สามารถเดินทางไป สปป.ลาว ได้โดย 1. หนังสือเดินทาง (Passport) สามารถเดินทางเข้า- ออก...

แขวงหลวงพระบาง

จากประวัติศาสตร์ เมืองหลวงพระบางเป็นเมืองเก่าแก่ แต่เดิมชื่อเมืองชวา เมื่อ พ.ศ.1300   ขุนลอ ซึ่งเป็นปฐมกษัตริย์ของลาวทรงตั้งเมืองชวาเป็นเมืองหลวงของอณาจักรล้านช้างและเปลี่ยนชื่อเป็น เมืองเชียงทอง   ต่อมาในสมัยของพระเจ้าฟ้างุ้มทรงรวบรวมอณาจักร ทั้งสาม ได้แก่ หลวงพระบาง จำปาสัก และเวียงจันทน์ เข้าเป็น อณาจักรลาวล้านช้าง ภายหลังพระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางแก้วยอดฟ้า แล้วอัญเชิญพระบางจากประเทศกัมพูชา มาประดิษฐธานอยู่ที่เมืองเวียงคำ    เมื่อถึงสมัยพระโพธิสาราชเจ้า ได้อัญเชิญพระบางมาประดิษฐานที่เมืองเชียงทอง แล้วเปลี่ยนชื่อเมืองเชียงทองเป็นเมืองหลวงพระบางตามชื่อพระศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ปัจจุบันหลวงพระบางเป็นเมืองเอกของแขวงหลวงพระบาง ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคเหนือของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว...

แขวงคำม่วน

แขวงคำม่วน ตั้งอยู่ทางตอนกลางของลาว ติดชายแดนไทยและเวียดนาม มี เมืองท่าแขก เป็นเมืองเอกของแขวง ถือเป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครองและเศรษฐกิจของแขวง รวมถึงการท่องเที่ยว เพราะมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมาย อาทิ พระธาตุศรีโคตบอง ตึกอาคารสถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศส ถ้ำพระหนองปาฝา กำแพงยักษ์โบราณ  ถ้ำนางแอ่น แขวงคำม่วน : "เมืองแห่งผืนป่าและธรรมชาติ" แขวงคำม่วน นับเป็นแขวงที่มีความสำคัญทางประวัติลาว ในอดีตราวคริสต์ศตวรรษที่ 5 แขวงนี้เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรฟูนันและเจนละโดยได้เรียกขานเมืองนี้ว่า “ศรีโคตรบูร” ต่อมาเมื่อฝรั่งเศสยกทัพมายังเมืองศรีโคตรบูรในปี พ.ศ. 1910 เมืองศรีโคตรบูรจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นเมือง...

แขวงจำปาศักดิ์

แขวงจำปาศักดิ์ เป็นแขวงหนึ่งของประเทศลาว ตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดของประเทศ ติดชายแดนประเทศไทยและกัมพูชา มีเมืองปากเซเป็นเมืองหลักของแขวง และเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของลาว (รองจากเวียงจันทน์และเมืองไกสอน พมวิหาน) ถือเป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครองและเศรษฐกิจ รวมไปถึงการท่องเที่ยวของลาวตอนใต้ เป็นบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากมีแม่น้ำโขงไหลผ่านกลางและเกิดเกาะแก่งเป็นจำนวนมากจนได้ชื่อว่า "ดินแดนสี่พันดอน" แขวงจำปาศักดิ์เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยโบราณ เนื่องจากเป็นพื้นที่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรขอมโบราณ และเป็นที่ตั้งของอาณาจักรจำปาสัก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านช้างในเวลาต่อมา แขวงจำปาศักดิ์จึงมีมรดกทางวัฒนธรรมหลงเหลืออยู่มากมาย ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศลาว โดยเฉพาะมรดกโลกปราสาทหินวัดพู นอกจากนี้ แขวงจำปาศักดิ์ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก เช่น น้ำตกคอนพะเพ็ง น้ำตกหลี่ผี น้ำตกผาส้วม เป็นต้น เมืองปากเซ เมืองปากเซ เป็นเมืองเอกของแขวงจำปาสัก และถือเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของลาวตอนใต้ ตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง มีประชากรประมาณ 70,000 คน เป็นเมืองที่มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติ...

อัพเดทเรื่องเที่ยว