ความต่างกันด้านเวลาในอาเซียน

0

time

ผู้ที่จะเดินทางไปประเทศต่างๆ ในอาเซียน ก่อนที่เครื่องบินจะลงจอด จะมีพนักงานต้อนรับบนเครื่องประกาศว่าเวลาท้องถิ่นขณะนี้ ี้เป็น เวลาเท่าใด เพื่อให้ผู้โดยสารปรับนาฬิกาให้ถูกต้อง ที่ชวนให้สงสัย คือ เวลาของบางเมืองน่าจะเท่ากับกรุงเทพแต่กลับเร็วกว่า 1 ชั่วโมง   เช่น ประเทศสิงคโปร์ เป็นต้น ทั้งๆ ที่ตั้งอยู่แนวเดียวกับประเทศไทย
การกำหนดเขตเวลาของประเทศต่างๆ ทำกันมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1884 คือมีการกำหนดให้เส้นที่พาดผ่านจากขั้วโลกเหนือ มาขั้วโลกใต้ที่ ผ่านเมือง Greenwich เป็นเส้นที่ 0 และเส้นที่ออกห่างไปแต่ละเส้นจะห่างกัน 15 องศา จำนวนทั้งหมด 24 เส้นรวมเป็น 360 องศา ตามสภาพ วงกลมของโลก ประเทศที่อยู่ห่างจากเส้น 0 นี้ออกไป ก็จะมีการนับเวลาไปตามที่ตั้ง เวลามาตรฐานนี้เรียกว่า Greenwich Mean Time หรือ ใช้ชื่อย่อว่า GMTประเทศไทยอยู่ที่ GMT + 7 แปลว่า เวลาของประเทศไทยจะเร็วกว่าเวลาที่ เมือง Greenwich 7 ชั่วโมง  คือถ้าเขาเวลาเที่ยงคืนบ้านเราก็ 7 โมงเช้า เป็นต้น ประเทศในกลุ่มอาเซียนมีหลายโชนด้วยกัน เช่น ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ เวลาอยู่ที่ GMT + 8 ส่วนไทย ลาว กัมพูชาและเวียตนาม อยู่ที่ GMT + 7 ถัดไปคือ เมียนมาร์ อยู่ที่ GMT + 6.5 และจะมีที่น่าสนใจคือ อินโดนีเซีย ซึ่งมีพื้นที่ทอดเป็น แนวยาวจาก ตะวันอออกไปตะวันตก ระยะทางถึง 5,300 กิโลเมตร ทำให้พาดผ่านถึง 3 โซนเลยครับ จาก GMT + 9 ถึง GMT + 7 คือทางตะวันออกสุด เป็น GMT + 9 ส่วนทางตะวันตกเช่นที่ กรุงจาการ์ตา เป็น GMT + 7 หรือเวลาเท่ากับกรุงเทพแล้วเวลาที่สลับไปมา อย่างสิงคโปร์นี่เกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะดูจากที่ตั้งแล้วต้องอยู่ที่ GMT + 7 เท่ากรุงเทพ เท่าที่อ่านพบปรากฏว่า เริ่มจาก ที่ว่าประเทศมาเลเซีย ได้ใช้เวลาจากจุดที่อยู่ตะวันออกสุดของประเทศ เป็นเวลามาตรฐานของประเทศ ที่นี้ประเทศสิงคโปร์เคยเป็นส่วนหนึ่งของ ประเทศมาเลเซียก็ต้องใช้เวลาเดียวกัน พอประกาศแยกตัวเป็นประเทศสิงคโปร์ ก็ยังคงใช้เวลาเดิม ต่อไปแม้ว่าจะไม่ถูกต้องเราเคยได้ยินการปรับเวลาของประเทศในยุโรป ที่เรียกว่า Day light saving time คือ มีการปรับเปลี่ยนเวลาให้เหมาะกับช่วงฤดูร้อน – ฤดูหนาว
ที่มีช่วงเวลาที่มีแสงแดดสั้นยาวต่างกันประเทศซามัวที่อยู่ทางตะวันออกของประเทศนิวซีแลนด์ จะขอปรับเวลาช้าลง 1 ชั่วโมงและเพื่อนบ้านอาเซียนของ เราอย่างอินโดนีเซียที่มี 3 เขตเวลาด้วยกัน ก็กำลังจะปรับเวลามาตรฐานของประเทศเป็น GMT + 8 ทั้งประเทศ คือที่แถบ ที่ใช้ GMT + 7 ก็ต้องตื่นเร็วขึ้น 1 ชั่วโมง และ แถบ GMT + 9 ก็นอนเพิ่มได้อีก 1 ชั่วโมงผู้ใหญ่ในบ้านเราก็เคยเสนอแนวคิดให้ปรับเวลาประเทศไทยให้ เร็วขึ้น 1 ชั่วโมง ให้เท่ากับประเทศมาเลเซียหรือสิงคโปร์ เพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ จะได้ไม่ต้องมาถามว่าเวลาประชุมกัน จะใช้เวลาของประเทศไหน แต่ก็ดูว่าข้อเสนอนี้จะเงียบๆไป ที่จริงการใช้เวลา เดียวกันย่อมมีผลดีด้านเศรษฐกิจ ด้านข้อเสียก็มี อย่างน้อยต้องตื่นนอนเร็วขึ้นอีก 1 ชั่วโมง  คนเดินทางบ่อยๆ หมุนนาฬิกาเอาก็แล้วกันง่ายกว่า
ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ปรับนาฬิกาให้เร็ว – ช้ากว่าปกติ

ประเทศลาว , ประเทศกัมพูชา ,  ประเทศเวียดนาม  ใช้เวลาเดียวกันกับประเทศไทย   เร็วกว่าเวลามาตราฐานกรีนิช 7 ชั่วโมง (GMT+7)

ประเทศมาเลเซีย , ประเทศสิงคโปร์, ประเทศฟิลิปปินส์ , ประเทศบรูไน , ประเทศอินโดนีเซีย , และบาหลี  เวลาจะเร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง
ก่อนที่จะถึงประเทศเหล่านี้อย่าลืมปรับนาฬิกาให้เร็วกว่าปกติ 1 ชั่วโมง (GMT+8) บางคนตกเครื่องเพราะลืมปรับเวลา ให้เป็นเวลาท้องถิ่น

เขตตะวันตก(เกาะสุมาตรา ชวา กาลิมันตันตะวันตก) เช่น จาการ์ตา ยอกยาการ์ตา และสุราบายา ตรงกับเวลาประเทศไทย
เขตกลาง (กาลิมันตันตะวันออก สุลาเวสีบาหลี) เร็วกว่าประเทศไทย 1 ชม.
เขตตะวันออก (มาลูกุและปาปัว) เร็วกว่าประเทศไทย 2 ชม.

ประเทศพม่า  เวลาในประเทศพม่าช้ากว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง 30 นาที   (GMT + 6.5 )

  • แลตติจูด เท่ากับ 16° 46’ N
  • ลองจิจูด เท่ากับ 96° 10’ E
  • ตั้งอยู่ในเขตเวลา Myanmar Time
  • เวลามาตรฐานที่แตกต่างเมื่อเทียบกับ UTC/GMT เท่ากับ + 6 ชั่วโมง 30 นาที

เชิญแสดงความคิดเห็น