ชมหมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาวในหุบเขา จ.เชียงใหม่

0

karen-longneck (41)

ในอดีตหากต้องการชมกะเหรี่ยงคอยาวจะต้องไปที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนเดินทางยาวนานผ่านโค้งถนนมากมาย  แต่วันนี้คนที่ไปเที่ยวเชียงใหม่ ใช้เวลาเพียงไม่ถึงครึ่งชั่วโมง ก็สามารถดูกะเหรี่ยงคอยาวได้   เดินทางสะดวกจากตัวเมืองมายังอำเภอแม่ริม อำเภอที่เต็มไปด้วยกิจกรรมท่องเที่ยวหลากหลายรูปแบบ และอีกที่เที่ยวที่อยากนำเสนอคือที่ “หมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาว บ้านโต้งหลวง” จะทำให้นักท่องเที่ยวได้เห็นวิถีชีวิตคนพื้นที่สูง เช่นมีการสาธิตการทำนา ไถนา การสานเครื่องใช้ เป็นต้น

เมื่อมาถึงที่หมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาวก็จะพบเห็นนักท่องเที่ยวต่างชาติมากกว่าคนไทยนะครับ เช่นนักเที่ยวจากญี่ปุ่น เกาหลี หรือทางยุโรปก็สนใจเข้ามาดูกันมากครับ  ค่าเข้าชมคนละ 500 บาท ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวที่มากับแพ็คเก็ตทัวร์  และจะมีบ้างที่เป็นทั้งนักท่องเที่ยวที่ต้องการมาดูเอง ภายในมีอาหารเครื่องดื่มบริการ

karen-longneck (1) karen-longneck (2) karen-longneck (3) karen-longneck (4) karen-longneck (5)karen-longneck (26)karen-longneck (24) karen-longneck (25) karen-longneck (13) karen-longneck (14)

การเข้าชมหมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาวหากดูให้ครบทุกส่วนจะใช้เวลาประมาณ 1-1.30 ชั่วโมง  เดินชมหมู่บ้านต่างๆ 7 ชนเผ่าแตกต่างกันไป  ทุกๆ หมู่บ้านจะมีของที่ระลึกวางขายอยู่หน้าบ้านใครบ้านมัน  ส่วนกะเหรี่ยงคอยาวจะต้องเดินเข้าไปด้านในสุดของพื้นที่ โดยจะต้องเดินผ่านทุ่งนาสวยๆ  ในหุบเขาอากาศดี สวยงาม และที่ด้านในสุดยังมีบริการขี่ช้าง เดินเข้าป่าไปโผล่ที่ปางช้างแม่สาด้วยครับ (1 เชือก นั่งได้ 2 คน) ใช้เวลาขี่ช้าง 40 นาที ราคาไม่เกิน 800 บาท

****หากนั้งช้างจากหมู่บ้านกะเหรี่ยงไปลงที่ปางช้างแม่สา ที่ปางช้างมีบริการขับรถมาส่งหมู่บ้านกะเหรี่ยงครับ*****

karen-longneck (36) karen-longneck (16) karen-longneck (17)karen-longneck (44)
karen-longneck (28) karen-longneck (29) karen-longneck (31)karen-longneck (34) karen-longneck (35) karen-longneck (39) karen-longneck (40) karen-longneck (42) karen-longneck (43) karen-longneck (30) karen-longneck (32) karen-longneck (33)

 

หมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาว มี 7 ชนเผ่าอยู่รวมกัน ประกอบด้วย

  1. กะเหรี่ยง (Karen)

กะเหรี่ยง มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศธิเบต ก่อนอพยพมายังประเทศจีนเข้าสู่ประเทศพม่า ทำให้ชาวกะเหรี่ยงจำนวนมาก อพยพเข้าสู่ประเทศไทย ลักษณะการแต่งกายที่ปรากฏให้เห็นเด่นชัดถึงเอกลักษณ์ของเผ่า คือ เครื่องแต่งกายของผู้หญิงจะสวมชุดที่ทอขึ้นเอง สีแดงสลับลายริ้วขาวเล็กๆ ขวางลำตัว โพกศรีษะด้วยผ้าหลากสี และหญิงสาวบริสุทธิ์จะสวมสีขาวทั้งชุด ชนเผ่ากะเหรี่ยงมักสวมเครื่องประดับเป็นสร้อยที่ทำมาจากวัสดุธรรมชาติ เช่น เมล็ดถั่ว และลูกเดือย เป็นต้น

  1. ลาฮูชิบาหลา (Lahu Shi Bala)

ลาฮูชิบาหลา หรือมูเซอเหลือง  มีถิ่นกำเนิดอยู่ใกล้เขตแดนประเทศธิเบต อพยพเคลื่อนย้ายไปทางตอนใต้ของยูนาน ปัจจุบันพบในรัฐเชียงตุง รัฐฉานในพม่า และในประเทศไทยภาษาพูดของลาฮูชิบาหลาจึงจัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน – ธิเบต ลักษณะการแต่งกายที่ปรากฏเด่นชัดถึงเอกลักษณ์ของเผ่า คือการแต่งกายในชุดสีดำ มีการปักลวดลายด้วยผ้าสีสันสดใส และลูกกระพรวนขนาดเล็ก ผู้หญิงจะเจาะหู และใส่ตุ้มโลหะขนาดใหญ่ ผู้ชายมีผ้าโพกหัวสีแดง ลาฮูชิบาหลามักสวมใส่เครื่องเงินเป็นเครื่องประดับ

  1. ปะหล่อง (Palong)

ปะหล่อง  เป็นชนเผ่าที่อพยพมาจากพม่าเข้าสู่ไทย เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2527  เรียกตัวเองว่า “ดาละอั้ง”  คำว่า ปะหล่อง เป็นภาษาไทยใหญ่ซึ่งใช้เรียกชนกลุ่มนี้ลักษณะการแต่งกายที่ปรากฏให้เห็นเด่นชัดถึงเอกลักษณ์ของเผ่า คือ สวมเสื้อผ้าสีสดใส หลากสีเครื่องแต่งกายของผู้หญิง สวมผ้าซิ่นที่ทอขึ้นเองสีแดงสลับลายริ้วขาวเล็กๆ ขวางลำตัวยาวจรดเท้า โพกศรีษะด้วยผ้าผืนยาวสวมที่เอวด้วยวงหวายลงรักแกะลายหรือใช้เส้นหวายเล็กๆ ย้อมสีถักเป็นลาย บางคนใช้โลหะสีเงินลักษณะเหมือนแผ่นสังกะสีนำมาตัดเป็นแถบยาวต่อกันและขดเป็นวงสวมใส่ปนกัน วงสวมเอวเหล่านี้เรียกว่า “หน่องว่อง”

  1. ม้ง (Hmong)

ม้ง  มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศมองโกเลีย ได้อพยพหนีความหนาวเย็นลงมาทางใต้ ผ่านประเทศจีน เข้าสู่ประเทศเวียดนาม ลาว และ ไทย ลักษณะการแต่งกายที่ปรากฏให้เห็นเด่นชัดถึงเอกลักษณ์ ของเผ่า คือ สวมใส่เครื่องแต่งกายสีดำ ประดับด้วยผ้าปักสีสันสดใส หลากสี ผู้หญิงใส่กระโปรงสั้นระดับหัวเข่า ผู้ชายใส่กางเกงสามส่วน ส่วนบนกว้าง ส่วนปลายแคบ ชาวม้งมักสวมใส่เครื่องเงินเป็นเครื่องประดับ

  1. กะยอ (Kayaw)

กะยอ  อพยพมาจากรัฐคะยาในประเทศพม่า เป็นกลุ่มย่อยของเผ่ากะเหรี่ยง ลักษณะการแต่งกายของผู้หญิง จะสวมเสื้อผ้าที่ทอเอง กระโปรงสีดำสลับลายริ้วด้วยสีต่างๆ ใส่ตุ้มหูโลหะขนาดใหญ่ และสวมสร้อยข้อเท้า ข้อขา พันประดับ ด้วยทองเหลืองเพื่อเพิ่มความสวยงาม

  1. อาข่า (AKha)

อาข่า หรือ อีก้อ  อยู่เพื่อสืบทอด ซึ่งมีต้นกำเนิดในยูนาน ปัจจุบันส่วนใหญ่ก็ยัง ตั้งถิ่นฐานอยู่แล้วค่อยๆ ทยอยกันอพยพลงใต้ในระยะหลายศตวรรษ พวกที่อยู่ในไทยนี้อพยพ เข้ามาจากพม่า ภาษาอาข่าจัดอยู่ในสาขายิ (โลโล) ของตระกูลพม่าธิเบต “จือโก” เสื้อผ้าและเครื่องประดับ อาข่าใช้ผ้าฝ้ายทอเนื้อแน่นย้อมเป็นสีน้ำเงินเข้มและสีดำ มีการแต่งกาย 3 แบบ คือ “อู่โล้อาข่า” เป็นพวกที่มาอยู่เมืองไทยแต่ดั้งเดิม “โล่หมี้อาข่า” เป็นพวกที่เพิ่งอพยพเข้ามาไทยไม่นาน “ผาหมีอาข่า” ตามชื่อหมู่บ้านชายแดนพม่าใกล้แม่สาย เครื่องแต่งกายของหญิงมีหมวกเสื้อตัวสั้น กระโปรงสั้น ผ้าคาดเอวและถุงรัดน่องผู้ชายสวมเสื้อคอกลมแขนยาว กางเกงขาก๊วย

  1. เย้า (Yao) หรือ เมี่ยน (Mien)

เย้า หรือ เมี่ยน  แปลว่า คน ราชวงศ์ซ่งของจีนมักเรียกว่า เย้า มาจากคำว่า ม่อเย้า หมายถึง ไม่อยู่ในอำนาจใคร เดิม เย้า มีแหล่งกำเนิดแถบตอนกลางของจีน บริเวณลุ่มแม่น้ำฉางเจียวและลุ่มน้ำฮั่นเจีย ต่อมากระจายตัวอยู่มณฑลยูนนาน กวางตุ้ง กวางสี และกุ้ยโจว และได้เคลื่อนเข้าสู่ภาคเหนือของไทย เมื่อประมาณ 145 ปีมาแล้ว  ในประเทศไทยมีเย้าอยู่กลุ่มเดียวคือ กลุ่ม เบี้ยนเย้า หรือ พ่านเย้า

-ผู้หญิงเย้า  มีการแต่งกายที่ดูเด่น แปลกตา ด้วยการโพกศรีษะด้วยผ้าพิเศษมีทั้งสีแดง น้ำเงินปนดำ พันทับกันหลายชั้น และมีลายปักตรงปลายทั้งสองข้างอย่างงดงาม สวมใส่เสื้อคลุมยาวสีดำ ติดไหมพรมสีแดงเป็นแนวทางยาวรอบคอลงมาด้านหน้าถึงหน้าท้อง สวมกางเกงขายาวสีดำปนน้ำเงินด้านหน้าของกางเกงปักลวดลายที่ละเอียดประณีตมากมีหลานสีสลับกัน ใช้ผ้าพันคาดเอวหลายๆ รอบ นิยมประดับด้วยเครื่องประดับเงิน เช่น ต่างหู สร้อยคอ สร้อยแขน กำไล และแหวน

-ผู้ชายเย้า  นิยมนุ่งกางเกงจีนขายาวสีดำ สวมเสื้อดำอกไขว้แบบเสื้อคนจีน ติดกระดุมที่คอ และรักแร้เป็นแนวถึงเอว

karen-longneck (46) karen-longneck (47) karen-longneck (50) karen-longneck (52)

 

ที่ตั้งและการเดินทาง

บ้านโต้งหลวง Baan Tong Luang  ต.แม่แรม อ.แมริม จ.เชียงใหม่

จากตัวเมืองเชียงใหม่ไปตามทางหลวง 107 เลยตัวอำเภอแม่ริมมานิดหน่อยจะพบสามแยก ให้เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1096 เส้นทางแม่ริม-สะเมิง จาก นั้นขับตามถนนไปก่อนถึงปางช้างแม่สา ให้เลี้ยวซ้ายเข้าหมู่บ้านโต้งหลวง ต.แม่แรม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ (ทางเข้าอยู่ในในโค้งพอดี แคบด้วยนะครับ) ผ่านหมู่บ้านและเข้าไปในพื้นที่ มีลักษณะเป็นเหมือนหุบเขา มีสถานที่จอดรถอย่างดี ห้องน้ำ และเคาเตอร์ขายตั๋วชัดเจน

 

หมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาว บ้านโต้งหลวง ๖.แม่แรม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

ขอขอบคุณข้อมูล จากกลุ่มอนุรักษ์วิถีชีวิตชนเผ่าเชิงเกษตรนิเวศ

เชิญแสดงความคิดเห็น