ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี



| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

มรดกทางวัฒนธรรม

            เมืองนนทบุรี มีทำเลที่ตั้งอยู่สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญในสมัยโบราณ ของบรรดาหัวเมืองต่าง ๆ ทางตอนเหนือจะออกสู่ทะเล และบรรดาหัวเมืองทางชายฝั่งทะเล และที่มาจากต่างประเทศ  จะผ่านขึ้นไปยังกรุงศรีอยุธยา และเมื่องต่าง ๆ ที่อยู่เหนือขึ้นไป
            สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ก่อนที่จะไปตั้งกรุงศรีอยุธยา ก็ได้นำไพร่พลมาพำนักอยู่ในพื้นที่เมืองนนทบุรี ที่บริเวณบางใหญ่และบางกรวย
            เมื่อเกิดสงครามกับพม่าชาวกรุงศรีอยุธยามักจะหนีภัยสงครามมาอาศัยอยู่ในพื้นที่เมืองนนทบุรี  และเมื่อเตรียมกำลังไปทำสงคราม ก็ใช้เป็นพื้นที่ประชุมกำลังพล
ย่านบางใหญ่ - บางกรวย

            เป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่สำคัญในการติดต่อค้าขายกับหัวเมืองชายทะเล และต่างประเทศ แบ่งออกได้เป็นสองชุมทางคือ
            ชุมทางปากคลองบางใหญ่  เชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิม  สามารถออกทะเลทางแม่น้ำท่าจีน  และติดต่อกับหัวเมืองตะวันตกได้ เช่น  นครปฐม  สมุทรสาคร  ราชบุรี  สุพรรณบุรี  และกาญจนบุรี  จึงใช้เป็นที่ตั้งด่านขนอนเก็บภาษีสินค้า
            ชุมทางคลองลัดวัดชลอ-คลองบางกอกน้อย  แยกจากคลองบางกรวยไปเชื่อมกับแม่น้ำอ้อมบางกอก (คลองบางกอกน้อย)
บ้านตลาดขวัญ บ้านตลาดแก้ว
            อยู่ทางด้านฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา  เป็นย่านชุมชนเดิมตั้งแต่ปี ๒๐๙๓  ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ์ บ้านตลาดขวัญในปัจจุบันคือ ตำบลบางกระสอ  อำเภอเมือง  บ้านตลาดแก้วปัจจุบัน คือตำบลสวนใหญ่  อำเภอเมือง ฯ
ย่านเกาะเกร็ด
            เกาะเกร็ดเดิมเรียกว่าบ้านแหลม  เป็นแผ่นดินผืนเดียวกับฝั่งอำเภอปากเกร็ด  เป็นที่ตั้งด่านตรวจเรือที่จะเดินทางไปกรุงศรีอยุธยา  จะมีเรือรอรับการตรวจเป็นจำนวนมากจอดเรียงรายยาวไปถึงบ้านบางตลาด  ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๒๖๕ ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ  ได้ขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยา จากบริเวณปากด่านถึงวัดปากอ่าว  ปัจจุบันคือวัดปรมัยยิกาวาสวรวิหาร  เรียกว่าคลองลัดเกาะเกร็ดน้อย คลองนี้ในเวลาต่อมาได้กลายเป็นแม่น้ำลัดเกร็ด  พื้นที่ที่ถูกแม่น้ำล้อมรอบจึงกลายเป็นเกาะเกร็ดไป
            เกาะเกร็ดนี้มีชื่อทางราชการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าเกาะศาลากุน  ผู้อยู่อาศัยเป็นชาวไทยรามัญ (มอญ)ร้อยละ ๔๓  ชาวไทยพื้นถิ่นร้อยละ ๔๒  และชาวไทยมุสลิมร้อยละ ๑๕  เกาะเกร็ดปัจจุบันมีฐานะเป็นตำบล
ศาลหลักเมืองเดิม
            ตั้งอยู่ที่ปากคลองอ้อม ตำบลบางศรีเมือง อำเภอเมือง ฯ ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้กับวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร  สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๒๐๘  ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
            ศาลหลักเมืองใหม่  ตั้งอยู่หน้าศูนย์ราชการ ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๒
เรือนไทย
            เรือนไทยได้พัฒนาขึ้นมาจากบ้านเรือนของสังคมเกษตรกรรมเดิม  ซึ่งอาศัยอยู่ในที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงในฤดูน้ำหลาก  บ้านเรือนทั่วไปมักปลูกอยู่ตามลุ่มแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์  เรือนไทยจึงนิยมปลูกยกพื้นบนเสาสูง
            การตั้งถิ่นเสาเรือนของเรือนไทย  มิได้ยกเสาตั้งตรงเป็นแนวดิ่งจากพื้นดิน  แต่จะตั้งเสาโดยวิธีเอนเสาเข้าหาข้างในของเรือน  เพื่อใช้ประโยชน์จากแนวเอนของเสาต้านทานกระแสลมแรง  และกระแสน้ำ  ไม่ให้เรือนเซและพังได้ง่าย  ประโยชน์จากการยกเสายังใช้ประโยชน์จากใต้ถุนเรือน  ในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ  เก็บสิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำเกษตรกรรม  นอกจากนั้น การยกเสาเรือนสูงยังเป็นการป้องกันการบุกรุกของผู้ไม่ประสงค์ดีในยามค่ำคืน  และในยามที่เจ้าของบ้านไม่อยู่ได้อย่างดีอีกด้วย  ดังเช่นคำประพันธ์ที่กล่าวไว้ในเรื่องสังข์ทองตอนเลือกคู่และหาเนื้อหาปลา    ถึงกระท่อมปลายนาที่ท้าวสามลให้ปลูกไว้ที่ปลายนา  สำหรับให้เจ้าเงาะและนางรจนาอยู่  เมื่อเจ้าเงาะและนางรจนาออกจากกระท่อม เพื่อเดินทางเข้าเมืองก็จะจัดการ  "ปิดประตูเข็นบันไดแล้วไคลคลา"  การที่ต้องใช้บันไดก็เพราะเสาเรือนสูง
            เรือนไทยมีระบบการระบายอากาศได้ดีมาก  เพราะอากาศในช่องหลังคา ซึ่งจะมีความร้อนมากกว่าส่วนอื่นของเรือนจะลอยขึ้นสูง และจะระบายออกทางช่องห่างของวัสดุมุงหลังคา และช่องลม  อากาศที่เย็นกว่าก็จะเข้ามาแทนที่  ทำให้อากาศมีการถ่ายเท  และจะไม่ร้อนอบอ้าวภายในบ้านอย่างที่เป็นอยู่ในบ้านแบบชาวตะวันตก
            เรือนไทยตามภาคต่าง ๆ มีรูปทรง และรายละเอียดอื่น ๆ  แตกต่างกันออกไปตามสภาพทางภูมิศาสตร์  ในจังหวัดนนทบุรี  จะมีเรือนไทยภาคกลางตั้งอยู่ตามริมฝั่งคลองบางกอกน้อย  และคลองอ้อมอยู่เป็นจำนวนมาก  ส่วนใหญ่เป็นเรือนฝากระดานแบบฝาปะกน  คือนำไม้กระดานมาเพลาะเข้าด้วยกันโดยไม่ใช้ตะปู  ส่วนหลังคาจะมีทรงแหลมสูง  มุงด้วยกระเบื้องดินเผา
เรือนมอญ
            เป็นคติของมอญในการปลูกเรือน  เรือนมอญตามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา จะปลูกขวางแม่น้ำหันหน้าบ้านไปทางทิศเหนือ  มีบันไดลงทางทิศเหนือ  ส่วนมากมอญจะนอนหันศีรษะไปทางทิศใต้  การปลูกเรือนของชาวมอญ จะสงวนพื้นที่ไว้ให้ลูกหลาน  คือจะปลูกเรือนสุดเขตพื้นที่ไปทางทิศเหนือ และสุดเขตทางทิศใต้  เว้นพื้นที่ตอนกลางไว้ให้ลูกหลาน  เป็นการป้องกันผู้อื่นไม่ให้รุกล้ำพื้นที่
            การปลูกเรือนของมอญที่มีลักษณะขวางแม่น้ำดังกล่าว  ฝ่ายไทยเห็นว่าเป็นเรื่องแปลกและน่าขบขัน  จนมีสำนวนพูดว่ามอญขวาง  ดังเช่นคำประพันธ์ที่กล่าวไว้ในนิราศพระประธมว่า
            ถึงบางขวางลางก่อนว่ามอญขวาง  เดี๋ยวนี้นางไทยลาวสาวสลอน
            ทำยกย่างขวางแขนแสนแง่งอน  ถึงนางมอญก็ไม่ขวางเหมือนนางไทย
            ดังนั้นเรือนมอญซึ่งปลูกอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ แทนที่จะหันหน้าเข้าหาแม่น้ำ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งไหลจากทิศเหนือลงทิศใต้  ซึ่งก็จะทำให้เรือนหันหน้าไปทางทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก แล้วแต่ว่าเรือนนั้นปลูกอยู่ฝั่งใดของแม่น้ำ  แต่เรือนมอญหันหน้าไปทางทิศเหนือ  เมื่อมองจากการสัญจรทางเรือ  ไม่ว่าจะเป็นขาขึ้นหรือขาล่อง  จะเห็นเรือนมอญตั้งอยู่ในลักษณะหันข้างให้แม่น้ำหรือเรียกว่าขวางแม่น้ำ
ประชากร ภาษาและวรรณกรรม
            ชาวไทยเชื้อสายมอญหรือไทยรามัญ  เป็นประชากรที่มีมากเป็นอันดับสามของจังหวัดนนทบุรี  แต่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายมากที่สุด  ชาวไทยรามัญอพยพเข้ามาในดินแดนไทยหลายครั้ง  ตั้งแต่สมัยอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น  เป็นชาวมอญจากเมืองเมาะตะมะ  ซึ่งตั้งอยู่ใกล้เขตแดนไทย  นอกจากนั้นก็เป็นชาวมอญจากหัวเมืองมอญต่าง ๆ  เส้นทางชาวมอญอพยพเข้ามามีอยู่สามเส้นทางด้วยกัน ได้แก่ เส้นทางที่เข้ามาทางเมืองตาก  ทางด่านแม่ละเมา  เส้นทางที่เข้ามาทางเมืองกาญจนบุรี ทางด่านเจดีย์สามองค์  และเส้นทางที่เข้ามาทางเมืองอุทัยธานี  ส่วนใหญ่จะตั้งบ้านเรือนอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา  ตั้งแต่บ้านตะนาวศรี จนถึงบ้านเกาะเกร็ด  ชาวไทยรามัญนับถือพุทธศาสนา และประพฤติปฏิบัติอย่างเคร่งครัด  มีความขยันอดทน  ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมของตน  มีฝีมือในทางช่างศิลปหัตถกรรมโดยเฉพาะเครื่องปั้นดินเผา
            ภาษาไทยรามัญ  มีทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน  ภาษาพูดจะใช้ในหมู่พวกไทยรามัญด้วยกันเอง  ส่วนภาษาเขียนจะมีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกภาษามอญ  ที่วัดปรมัยยิกาวาสวรวิหาร ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด
           ชาวไทยตะนาวศรี   เป็นชาวไทยเชื้อสายมอญอีกกลุ่มหนึ่ง  ที่อพยพเข้ามาในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย และสมัยกรุงธนบุรี  โดยเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านตะนาวศรี  ระหว่างวัดเขมาภิรตารามกับวัดนครอินทร์  ในพื้นที่อำเภอเมือง ฯ มีฝีมือในทางช่างศิลปหัตถกรรม  โดยเฉพาะการปั้นหม้อคนนท์ ที่มีลายวิจิตรงดงาม
            สำหรับภาษาก็คงเป็นภาษารามัญ  ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน เช่นเดียวกับไทยรามัญดังกล่าวมาแล้ว
            ชาวไทยมุสลิม  เป็นประชากรที่มีจำนวนมากเป็นอันดับสี่ของประชากรในจังหวัดนนทบุรี  ชาวไทยมุสลิมอพยพเข้ามาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา  ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ชาวไทยมุสลิมจากเมืองปัตตานี และเมืองไทรบุรีมาตั้งบ้านเรือนอยู่ในท้องที่ อำเภอปากเกร็ด
            ชาวไทยมุสลิมใช้ภาษาอาหรับในการติดต่อสื่อสาร  และการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
วรรณกรรม และตำนาน
            ตำนานเรื่องไกรทอง  ไกรทองผู้ปราบจรเข้ชาละวันแห่งเมืองพิจิตรนั้น มีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า  บ้านอยู่ริมคลองในพื้นที่อำเภอบางกรวย  เมื่อสามารถปราบจรเข้ชาละวันได้แล้ว  ก็มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและนิยมนับถือกันอย่างกว้างขวาง  จึงได้มีการนำชื่อมาตั้งเป็นชื่อสถานที่ต่าง ๆ เช่น คลองบางไกร  วัดบางไกรใน  วัดบางไกรนอก  ที่บริเวณหน้าวัดบางไกรใน มีศาลของไกรทองอยู่ด้วย
            ตำนานเจ้าพ่อเกษแก้วไชยฤทธิ์  อีกชื่อหนึ่งคือเจ้าพ่อหนุ่ม  ตามตำนานกล่าวว่า เจ้าพ่อเป็นคนโสด  ชาวไทยเชื้อสายมอญนับถือว่าเป็นเจ้าพ่อชั้นผู้ใหญ่  เดิมมีศาลอยู่ที่เมือง เมาะตะมะ  เมื่อชาวไทยเชื้อสายมอญอพยพมาอยู่ในประเทศไทย  ก็ได้สร้างศาลให้ท่านที่ตำบลเกาะเกร็ด  เจ้าพ่อองค์นี้เป็นที่พึ่งทางใจของชาวไทยเชื้อสายมอญ  หลังเทศกาลสงกรานต์จะมีการรำถวายเจ้าพ่อเป็นประจำ
            ตำนานเกี่ยวกับหงส์  ชาวมอญมีความผูกพันกับหงส์มาก  ถือว่าหงส์เป็นสัญลักษณ์ของคนมอญ  จากตำนานการตั้งกรุงหงสาวดี  ในพงศาวดารพม่ากล่าวว่า พื้นที่บริเวณที่ตั้งเมืองหงสาวดีนั้น เดิมเป็นทะเล  เมื่อน้ำลดจะมองเห็นภูเขาสูง  เมื่อมองแต่ไกลดูคล้ายเจดีย์  เมื่อน้ำขึ้นก็ยังเห็นภูเขาโผล่พ้นน้ำอยู่  ในครั้งนั้นพระพุทธเจ้าได้เสด็จมายังที่ตั้งเมืองหงสาวดี  พระพุทธองค์ได้ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก  ทอดพระเนตรเห็นหงส์ทองสองตัว  กำลังเล่นน้ำอยู่  จึงได้มีพุทธทำนายว่า  ในภายภาคหน้า บริเวณที่หงส์ทองเล่นน้ำจะเป็นมหานคร  ชื่อว่าหงสาวดี  ในเวลาต่อมาได้มีเจ้าชายองค์หนึ่งมาสร้างเมืองในพื้นที่ดังกล่าว  ชาวมอญจึงใช้รูปหงส์เป็นสัญลักษณ์  โดยมักสร้างรูปหงส์ไว้บนยอดเสาประจำที่วัด  เพื่อระลึกถึงความเป็นชาติ และ เพื่อเป็นเครื่องเชิดชู เพราะถือว่าวัดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
            ตำนานการแห่ปลา ปล่อยปลา  ตามตำนานกล่าวว่า  มีพระภิกษุรูปหนึ่ง ได้ตรวจดูดวงชะตาของสามเณรผู้เป็นศิษย์ พบว่าชะตาขาด  ด้วยความเมตตา จึงบอกให้กลับไปเยี่ยมโยมพ่อและโยมแม่ที่บ้าน หวังจะให้ไปลาก่อนหมดอายุขัย ระหว่างทางที่สามเณรเดินทางกลับบ้าน  ได้พบปลาติดโคลนตัวแห้งใกล้ตาย จึงช่วยนำปลานั้นมาปล่อยที่หนองน้ำใกล้บ้าน  เมื่อถึงบ้านแล้ว  เดินทางไปอาบน้ำ เกิดง่วงนอนจึงนั่งพักใต้ต้นไม้ โดยเอาขันครอบศีรษะไว้แล้วหลับไป  มีงูตัวหนึ่งอยู่บนต้นไม้ ห้อยหัวลงมาฉกสามเณร  แต่โดนขันจึงไม่ได้รับอันตราย  เมื่อกลับไปวัด พระอาจารย์เห็นสามเณรกลับมาก็แปลกใจจึงถามความ  สามเณรก็เล่าเรื่องให้ฟังโดยตลอด  พระอาจารย์เห็นว่าคงจะเป็นเพราะการปล่อยปลาจึงช่วยต่ออายุให้สามเณร  นับแต่นั้นมาชาวมอญจึงนิยมแห่ปลา  และปล่อยปลาในเทศกาลสงกรานต์

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์