ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี



| ย้อนกลับ |
| พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

มรดกทางพระพุทธศาสนา

วัดเขากง

            วัดเขากงเป็นวัเก่าแก่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๒๑ วัดนี้ต่อมาได้กลายเป็นวัดร้างอยู่ระยะหนึ่งจนถึงปี พ.ศ.๒๔๙๔ จึงได้มีพระภิกษุมาจำพรรษาอีกครั้งหนึ่ง และกระทรวงศึกษาธิการได้ยกฐานะเป็นวัดที่มีพระสงฆ์  เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๗ ตั้งอยู่ในเขตตำบลลำภู อำเภอเมือง ฯ
            อุโบสถสร้างขึ้นตามแบบของกรมการศาสนา เป็นแบบทรงไทยสมัยใหม่ สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๓ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จมาทรงตัดลูกนิมิต เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๖
            พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล  โครงการก่อสร้างพระพุทธทักษิณมิ่งมงคล และการปรับปรุงบริเวณเขากง ถือกำเนิดมาจากคำปรารภของคณะสงฆ์ กับทางจังหวัดนราธิวาส และจังหวัดอื่น ๆ ทางภาคใต้ว่า ณ บริเวณเขากงแห่งนี้เคยเป็นสถานที่ของพระพุทธศาสนามาแต่โบราณ ปรากฎหลักฐานทางโบราณคดีที่ขุดพบคือ บนเนินเขาที่ประดิษฐาน พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล มีซากเจดีย์อยู่สามองค์ ปรักหักพังเหลืออยู่เพียงฐานเจดีย์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ประกอบบัวคว่ำบัวหงาย จากเศษบัวและส่วนประกอบของเจดีย์ที่ขุดพบในบริเวณนี้ แสดงว่าฐานตอนบนขึ้นไปเป็นฐานย่อมุมไม้สิบสอง กับมีอิฐโค้งขนาดต่าง ๆ กัน ทำลดหลั่นขึ้นไปสู่เจดีย์ประธานตรงกลาง เมื่อประกอบส่วนต่าง ๆ ของเจดีย์เข้าที่แล้วจะเป็นเจดีย์แบบห้ายอด นอกจากนี้ยังพบเศียรพระพุทธรูป และเศียรพระโพธิสัตว์ฝ่ายมหายาน ภาพปั้นปูนและลวดลายรอบฐานเจดีย์อีกเป็นจำนวนมาก แสดงว่าเป็นเจดีย์ในฝ่ายมนตรยาน พระพุทธศาสนาที่สี่ตอนปลาย ระหว่างประมาณปี พ.ศ.๑๗๐๐ - ๑๘๐๐
            การสร้างพระพุทธรูปใหญ่บนยอดเนินเขาสูงสุดในบริเวณเขากง เพื่อให้เป็นพระพุทธรูปประจำภาคใต้รวม ๑๔ จังหวัด ให้มีพระพุทธลักษณะตามอิทธิพล ของสกุลศิลปะอินเดียใต้โจฬะรุ่นหลัง ที่แผ่อิทธิพลมาในระยะเดียวกับสกุลศิลปะเสนา แห่งอินเดียเหนือ ตลอดพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย และตลอดไปจนสุดแหลมมลายู ในเขตประเทศมาเลเซียปัจจุบัน
            พระพุทธรูปสกุลนี้พบมากที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เรียกกันว่า พระพุทธรูปแบบนครศรีธรรมราช หรือเรียกกันแบบสามัญว่า พระพุทธรูปแบบขนมต้ม มีพุทธลักษณะพิเศษจากความบันดาลใจของศิลปินที่เน้นหนักให้พระวรกายล่ำสันทุกส่วน ผิดกับแบบอื่นๆ สังฆาฏิจัดกลีบแผ่กว้างเต็มพระอังสาเบื้องซ้าย และชายจีวรใต้พระเพลา ทำเป็นริ้วให้ความรู้สึกทางการตกแต่งสวยงามกว่าแบบอื่นอย่างเห็นได้ชัด พระพุทธรูปสกุลนี้ ชาวใต้นิยมสร้างกันระหว่างประมาณปี พ.ศ.๑๗๐๐ - ๑๘๐๐  มีปรากฏอยู่ตามซากเมืองเก่าต่าง ๆ ของภาคใต้
            พระพุทธทักษิณมิ่งมงคลเป็นพระพุทธปางปฐมเทศนา ก่อด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ประดับด้วยโมเสคสีทอง หันพระพักตร์ไปทางด้านทิศตะวันออกสู่อ่าวไทย
วัดชลธาราสิงเห

            วัดชลธาราสิงเห บางคนเรียกว่าวัดเจ๊ะเห ตั้งอยู่ในเขตตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๓  เดิมชื่อวัดท่าพรุ มีรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยท้องถิ่น ที่มีเอกลักษณ์มาช้านาน รูปแบบดังกล่าวได้กลายเป็นต้นแบบของสถาปัตยกรรมท้องถิ่นในระยะหลัง ประกอบด้วยอาคารหลัก ๆ หลายหลัง ได้แก่ อุโบสถ หอระฆัง ศาลาวัด เจดีย์ กุฏิ
            อุโบสถ  ลักษณะการก่อสร้างเป็นแบบสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ หลังคาเป็นอาคารไม้ทรงไทย ผนังก่ออิฐถิอปูนขนาดห้าห้อง รวมมุขด้านหน้าเป็นหกห้อง หลังคาทรงจั่วมีชั้นลดด้านหน้าและด้านหลังด้านละสองชั้น หลังคาปีกนก ประกอบด้วยช่อฟ้าใบระกา และหางหงส์  มีเสาฝังด้านในผนังด้านละสามด้าน รอบตัวอุโบสถมีเสารายรอบนอกรับเชิงชายปีกนก จำนวน ๒๒ ต้น  การก่อฝาผนังมีลักษณะรอม (งุ้ม) ปลาย  มีประตูเข้าด้านหน้าสามประตู ประตูด้านข้างสองประตู  หน้าต่างข้างด้านละสี่ช่อง บนประตูบนหน้าต่าง ปั้นกนก ลวดลายซุ้มทรงมงกุฎ เพดานมีขื่อรับความยาวของอุโบสถสองต้นขวางสามต้น

           กุฏิเจ้าอาวาส  ตั้งอยู่บริเวณกลางวัด เป็นกุฏิขนาดใหญ่ สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๖๓  เป็นอาคารไม้ หลังคาซ้อนกัน ๓ ชั้น มีมุขทรงไทยยื่นออกมาข้างหน้า พื้นไม้ยกสูงและลดเป็นชั้น ๆ  มีระเบียงด้านข้าง มีมุขด้านหน้าโล่งไม่มีหลังคา พื้นลาดซีเมนต์ มีประตูทางขึ้นด้านมุขทรงไทย มีซุ้มประตูทรงมงกุฎข้างละหนึ่งซุ้ม บริเวณด้านบนหน้าต่าง และฝาผนังกั้นห้องประดิษฐ์เป็นรูปทรงมงกุฎโดยรอบ เชิงชายด้านนอกประดับด้วยลายฉลุไม้ลวดลายต่าง ๆ

           จิตรกรรมฝาผนัง  เป็นจิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถทั้งสามด้าน (ยกเว้นด้านหลังพระประธาน) ที่เสาและที่เพดาน มีอายุอยู่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
            ลักษณะจิตรกรรม เขียนด้วยสีฝุ่น เขียนสีตัดกันแรงกล้า สภาพยังสมบูรณ์ดี เป็นภาพพุทธประวัติ มีพื้นที่เขียนภาพประมาณ ๑๙๐ ตารางเมตร
            การลำดับภาพเริ่มจากมุมด้านทิศใต้มาทางทิศตะวันออก โดยแบ่งฝาผนังเป็นแนวตั้งสี่ช่องเสา ในแต่ละช่องเสาแบ่งออกเป็น ๓ ช่วงคือ ช่วงบน ช่วงกลางและช่วงล่าง นับว่าเป็นการแบ่งพื้นที่แปลกออกไปจากจิตรกรรมที่อื่น ๆ  ตอนบนสุดเป็นวิทยาธร ต่อเป็นเทพชุมนุมหนึ่งชั้นนั่งประนมหัตถ์ถือดอกไม้  ถัดลงมาเป็นช่องสี่เหลี่ยมซ้อนกันสองชั้น เป็นภาพพุทธประวัติเริ่มตั้งแต่ตอนลาพระนางยโสธรา และพระราหุล แล้วเรียงเรื่องลำดับโดยพิสดารจนถึงตอนประทับรอยพระพุทธบาท พื้นที่ระหว่างช่องหน้าต่าง เป็นพื้นที่ปูนร่างเสาแต่ละต้นเขียนลวดลายอย่างงดงามตลอดต้น ด้านหน้าพระประธานมีภาพพระพุทธเจ้าตอนเสด็จลงจากดาวดึงส์ เป็นภาพขนาด
ใหญ่  ผนังด้านล่างเป็นพื้นที่ว่าง มีแต่ภาพมณฑปเหนือเศียรพระพุทธรูป เพดานเขียนลวดลายบนพื้นแดง

           พระพุทธไสยาสน์  สันนิษฐานว่า สร้างก่อนสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา เป็นพระปูนติดกระเบื้องทอง มีความยาวจากยอดพระเศียรถึงฝ่าพระพุทธบาท ยาวประมาณ ๘ เมตรเศษ
           หอพระนารายณ์  ตั้งอยู่ในวัดชลธาราสิงเห เป็นสิ่งก่อสร้างพื้นเมือง ก่ออิฐถือปูน โครงสร้างฐานเป็นสี่เหลี่ยม มีมุขทรงไทยยื่นออกมาด้านหน้า หลังคามุงกระเบื้องดินเผาซ้อนกัน ๔ ชั้น คล้ายยอดมงกุฎ ส่วนยอดหลังคาทำเป็นปล้องไฉน ประดับด้วยบัวกลุ่มจนถึงปลียอด
วัดราษฎร์สโมสร

            วัดราษฎร์สโมสรตั้งอยู่ในเขตอำเภอรือเสาะ มีพระพุทธรูปปางสมาธิองค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่ พระพุทธรูปองค์นี้ เคยเป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดนราธิวาส ก่อนที่จะสร้างพระพุทธทักษิณมิ่งมงคล
วัดพระพุทธ

            วัดพระพุทธตั้งอยู่ในเขตตำบลพร่อน อำเภอตากใบ
           ศาลาการเปรียญ  ตั้งอยู่กลางบริเวณวัด เป็นศาลาการเปรียญขนาดกลาง รูปสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้างยาวด้านละ ๗.๕๐ เมตร โครงสร้างเป็นอาคารไม้ หลังคาแบบจตุรมุขย่อมุมไม้สิบสอง มีรูปครุฑประดับที่หน้ามุขทั้งสี่ด้าน พื้นส่วนหนึ่งเป็นพื้นไม้ยกสูงประมาณ ๑ เมตร ด้านหน้าเป็นพื้นซีเมนต์
           พระพุทธรูป  ชาวบ้านเรียกพ่อท่านพระพุทธ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่กุฏิหลังเก่าของวัด เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ สร้างด้วยไม้
ราชพฤกษ์ ขนาดหน้าตักกว้างประมาณสองฟุต ไม่ปรากฏว่าสร้างในสมัยใด เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพบูชาของชาวพุทธ
ทั่วไป
           พระพุทธไสยาสน์  สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๙๕  เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ประดิษฐานอยู่ภายในบริเวณริมสระน้ำทางทิศตะวันตกใกล้กับเจดีย์ หันพระพักตร์ไปทางด้านทิศตะวันตก หันพระเศียรไปทางทิศเหนือ องค์พระยาวประมาณ ๗ เมตรเศษ

| ย้อนกลับ | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์