ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี



| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |


มรดกทางวัฒนธรรม

โบราณสถาน
           โบราณสถานหมายถึง อสังหาริมทรัพย ์ซึ่งโดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการก่อสร้าง หรือหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นประโยชน์ในทางศิลปะ ประวัติศาตร์หรือโบราณคดีทั้งนี้ให้รวมถึงสถานที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี แหล่งประวัติศาสตร์และอุทยานประวัติศาสตร์ด้วย
           แหล่งโบราณคดี  หมายถึงพื้นที่ที่ปรากฎหลักฐานเป็นวัตถุ หรือร่องรอยประกอบกิจกรรมหรือการอยู่อาศัยของมนุษย์ในอดีต ทั้งที่อยู่เหนือผิวดิน และใต้น้ำโดยไม่มีอาคารสิ่งก่อสร้างชัดเจน
           แหล่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งปรากฎตามแนวถ้ำของเทือกเขาทางด้านทิศตะวันตกของจังหวัดชุมพร เรียงลำดับจากทิศเหนือลงสู่ทิศใต้คือ อำเภอปะทิว อำเภอเมือง ฯ อำเภอสวี และอำเภอทุ่งตะโก มีดังนี้
               - ถ้ำตีนเป็ด  ตั้งอยู่ในเขตตำบลเขาไชยราช อำเภอปะทิว ตัวถ้ำอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของเขาตีนเป็ด ปากถ้ำหันไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ กว้างประมาณ ๖ เมตร ภายในถ้ำมีคูหาขนาดใหญ่และขนาดเล็ก พื้นถ้ำเป็นดินจากการขุดลอกพื้นถ้ำพบเศษภาชนะดินเผาเนื้อหยาบ และกระดูกสัตว์เป็นจำนวนมาก สันนิษฐานว่า ถ้ำแห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์หินใหม่
               - ถ้ำสนุกสุขารมย์  อยู่ในเขตตำบลบ้านนา อำเภอเมือง ฯ ตัวถ้ำอยู่ที่เขาท้ายด่านซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มภูเขาหินปูนทางทิศตะวันตกของจังหวัด เป็นถ้ำขนาดใหญ่ประกอบด้วยคูหาใหญ่สองคูหา ภายในมีทางเดินทะลุถึงกันได้ ผนังถ้ำบางส่วนมีการเขียนภาพเกี่ยวกับพุทธประวัติ สันนิษฐานว่า เคยถูกใช้เป็นที่พำนักของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบเศษภาชนะดินเผาตกแต่งด้วยลายเชือกทาบ และแบบผิวเรียบ เนื้อภาชนะหยาบมีเม็ดทรายปน เนื้อไม่แกร่ง ผิวนอกสีน้ำตาล ภายในมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ขนาดใหญ่หนึ่งองค์ และพระพุทธรูปขนาดเล็กอีกหลายองค์ประดิษฐานอยู่
               - ถ้ำขุนกระทิง  อยู่ในเขตตำบลขุนกระทิง อำเภอเมือง ฯ ตัวถ้ำอยู่ทางทิศใต้ของเพิงผาด้านตะวันออกของเขานาพร้าว ภายในถ้ำประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ยาวประมาณ ๙ เมตร และพระพุทธรูปอื่น ๆ อีก เป็นที่เคารพสักการะของคนทั่วไป บริเวณหน้าเพิงผามีภาพเขียนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นภาพลายเส้นบนผนังหิน เขียนด้วยสีแดง มีลายเส้นตรง เส้นหยักและวงกลมเขียนต่อกัน หรือเป็นส่วนภาพเดียวกัน
           ในวันขึ้นสองค่ำเดือนห้า จะมีงานประเพณีขึ้นถ้ำ ปิดทองพระพุทธไสยาสน์เป็นประจำทุกปี
               - ถ้ำน้ำลอดน้อย  ตั้งอยู่ในเขตตำบลระยา อำเภอสวี เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ประเภทถ้ำ และเพิงผา ตัวถ้ำมีน้ำลอดผ่านตลอด มีลักษณะเป็นลำธารขนาดเล็ก ที่หน้าพระประธานในถ้ำมีการเก็บรวบรวมชิ้นส่วนโบราณวัตถุได้แก่ เศษภาชนะดินเผาผิวเรียบและลายเชือกทาบ ภาชนะดินเผาประเภทหม้อสามขา ชิ้นส่วนกระดูกสัตว์ แสดงให้เห็นว่า ณ ที่แห่งนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินใหม่ อายุประมาณ ๔,๐๐๐ ปีลงมา

               - เขาสามแก้ว  อยู่ในเขตตำบลนาชะอัว อำเภอเมือง ฯ เป็นแหล่งโบราณคดีแหล่งใหญ่ที่สำคัญ ซึ่งแสดงหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณ สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ จากการสำรวจได้พบหลักฐานได้แก่กลองมโหระทึกสำริด หุ่นจำลองรูปคน สัตว์ (ช้าง ม้า กวาง) สำริด เครื่องมือเหล็กรูปหอกใบข้าว รูปขวาน ขวานหินขัด แท่นหินบด มีลายสลักรูปตัดทอนส่วนของสถูปและธรรมจักร ลูกปัดและกำไลทำจากหินและแก้ว เครื่องประดับทองรูปพรรณมีแหวน และแผ่นทอง ลูกปัดคาร์เนเลียนแกะสลักอักษรโบราณ นับว่าเป็นชุมชนแรกของจังหวัดชุมพร ที่คยเป็นแหล่งติดต่อค้าขายกับต่างชาติมาแต่โบราณ

               - เขาฉานเรน  อยู่ในเขตอำเภอทุ่งตะโก เป็นเพิงผาหันหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ยาวประมาณ ๓๐ เมตร บริเวณด้านหน้ามีลำธารเล็ก ๆ ไหลผ่าน เป็นเขาหินปูนในกลุ่มเทือกเขาสลับซับซ้อนระหว่างอำเภอสวี อำเภอทุ่งตะโก และเขตอำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง สำรวจพบเศษภาชนะดินเผากระจายอยู่ในถ้ำ และบริเวณเพิงผาประมาณ ๓๗๐ ชิ้น มีเนื้อหยาบ มีเม็ดทรายปนมาก เผาด้วยอุณหภูมิต่ำขึ้นรูปด้วยมือ พบทั้งส่วนปาก ส่วนก้น ส่วนตัว และส่วนขาเป็นภาชนะประเภทหม้อสามขา กับเครื่องมือหินประเภทขวานหินขัด
           สันนิษฐานว่า เคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์สมัยยุคหินใหม่

               -  ถ้ำรับร่อ  อยู่ในเขตตำบลท่าข้าม อำเภอท่าแซะ ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปปูนปั้นองค์ใหญ่ปางมารวิชัย ชาวบ้านเรียกว่า พระปู่หลักเมือง ประดิษฐานอยู่กลางถ้ำ รอบถ้ำมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์สององค์ และพระพุทธรูปแกะสลักจากไม้จำนวนนับร้อยองค์ หน้าถ้ำมีพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยสามองค์ สร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย หรือสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่ศาลาราษฎรสามัคคี มีรอยพระพุทธบาทแกะสลักจากหินทรายแดง สลักภาพมงคล ๑๐๘ ประการ ส่วนของภาพกิจกรรมของกลุ่มชนในท้องถิ่น
           สันนิษฐานว่า เคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์ เนื่องจากพบเครื่องมือขวานหินขัด และเศษภาชนะดินเผาภายในถ้ำต่าง ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า บริเวณนี้มีมนุษย์อาศัยอยู่มาแล้วไม่น้อยกว่า ๒,๐๐๐ ปี
           กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๙
           แหล่งประวัติศาสตร์  มีอยู่สองแห่งด้วยกันคือ
               - ถ้ำเขาเงิน  ตั้งอยู่ที่เขาเงิน ในเขตตำบลท่ามะพลา อำเภอหลังสวน บนเขาเงินมีถ้ำอยู่สามถ้ำ ถ้ำกลางอยู่ต่ำกว่าอีกสองถ้ำ ปากถ้ำหันหน้าไปทางทิศใต้
           เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จ ฯ มาที่ถ้ำเขาเงิน และทรงจารึกพระปรมาภิไธยย่อ จ.ป.ร. ไว้ที่ผนังถ้ำกลางด้านขวามือ
           ที่ชะง่อนหินหน้าถ้ำริมฝั่งแม่น้ำหลังสวนมีเจดีย์ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้บูรณะเจดีย์องค์เก่า แล้วโปรดเกล้า ฯ ให้บันทึกข้อความกล่าวถึงการเสด็จ ฯ ทางชลมารคมาที่ถ้ำเขาเงินด้วย
               - เนิน ๔๙๑  ตั้งอยู่ ณ พื้นที่รอยต่อระหว่างพรมแดนไทยกับประเทศพม่า ในเขตตำบลรับร่อ อำเภอท่าแซะ
           เมื่อ ๑๙ ก.พ.๓๙  พม่าได้ส่งกำลังเข้ายึดบริเวณรอบเนิน ๔๙๑ อันเป็นการละเมิดอธิปไตยของประเทศไทย รัฐบาลไทยได้ใช้วิธีทางการทูตเจรจา จนพม่าต้องถอนกำลังกลับไป
           ปัจจุบัน จังหวัดชุมพรได้พัฒนาเนิน ๔๙๑  ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวในฐานะซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อพรมแดน
    รูปปั้น อนุสาวรีย์

               - พระรูปพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพร ฯ  พระองค์เป็นที่เคารพสักการะของชาวชุมพรและประชาชนโดยทั่วไป จึงมีพระรูปและอนุสรณ์สถานหลายแห่ง ทั้งที่ประดิษฐานอยู่ในสถานที่เกี่ยวข้องกับพระประวัติของพระองค์ เช่น บริเวณที่ดินส่วนพระองค์ พระตำหนักที่สิ้นพระชนม์ สถานที่สำคัญ ๆ ทั้งที่เป็นของทางราชการและเอกชน
           พระอิริยาบถที่ปรากฏโดยทั่วไป ทรงเครื่องแบบเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ ประทับยืนอยู่บนแท่น มีขนาดแตกต่างกันไปดังเช่น พระรูปประดิษฐานในสวนสาธารณะเทศบาลเมือง สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๐๒  พระรูปประดิษฐานในพระตำหนักกรมหลวงชุมพร ฯ บ้านหาดทรายรี อำเภอเมือง ฯ หล่อด้วยสำริด จำนวนสององค์ องค์เล็กสูง ๙๐ เซนติเมตร สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๗ องค์ใหญ่ขนาดเท่าองค์จริง สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๘ พระรูปที่ศาลกรมหลวงชุมพร ตั้งอยู่ที่หาดอรุโณทัย อำเภอทุ่งตะโก หล่อด้วยสำริด ขนาดเท่าองค์จริง สูง ๑๗๓ เซนติเมตร ประดิษฐาน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๒

               - รูปปั้นหลวงปู่สงฆ์  หลวงปู่สงฆ์ เป็นพระภิกษุที่มีจริยวัตรงดงาม เป็นเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง มีเมตตาธรรมสูง เป็นที่พึ่งแก่ทุกคนทั้งทางโลกและทางธรรม  เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวชุมพรและจังหวัดใกล้เคียง
           รูปปั้นของท่านจึงมีให้ประชาชนได้สักการะบูชาทั่วไปในจังหวัดชุมพร ทั้งภายในวัดวาอาราม เช่น ที่วัดเจ้าฟ้าศาลาลอยตำบลบางลึก อำเภอเมือง ฯ และตามสถานที่ราชการต่าง ๆ โรงเรียน โรงพยาบาล และตามหิ้งพระของชาวบ้าน รูปปั้นของท่านส่วนใหญ่อยู่ในท่านั่งขัดสมาธิ ขนาดแตกต่างกันไปตามความเหมาะสมของแต่ละสถานที่

               -  อนุสาวรีย์ยุวชนทหาร  ตั้งอยู่ที่เขตตำบลบางหมาก อำเภอเมือง ฯ ใกล้สะพานท่านางสังข์สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกถึงวีรกรรรมของทหารกองพันที่ ๓๘ ตำรวจ และยุวชนทหารหน่วยที่ ๕๒ ณ โรงเรียนศรียาภัย ที่ได้รวมกำลังกันต่อสู้กับกองทัพญี่ปุ่นที่ยกพลขึ้นบกที่หาดคอสน ตำบลท่ายาง อำเภอเมือง ฯ ในสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔
           ตัวอนุสาวรีย์เป็นรูปยุวชนทหาร ถือปืนเล็กยาวในท่าเตรียมแทงด้วยดาบปลายปืน ตั้งอยู่บนฐานหินอ่อนสีขาว เหนือฐานหินอ่อนเป็นฐานทรงกลมสูง ๓ เมตร กว้าง ๖ เมตร รอบฐานมีแผ่นจารึกวีรกรรมและชื่อของทหาร ยุวชนทหาร และประชาชนผู้เสียชีวิต เป็นอนุสรณ์เตือนใจให้อนุชนรุ่นหลัง ได้รำลึกถึงวีรกรรมของผู้เสียสละชีวิต ในการปกป้องแผ่นดินไทย
      สิ่งสำคัญคู่บ้านคู่เมือง

               - พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพร ฯ  พระองค์ทรงเป็นพระลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติเมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๓ ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการทหารเรือจากประเทศอังกฤษ ทรงปรับปรุงกิจการทหารเรือให้เข้าขึ้นมาตรฐานสากล ทรงวางหลักสูตรและก่อตั้งโรงเรียนนายเรือ ทรงก่อตั้งฐานทัพเรือสัตหีบ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของกองทัพเรือ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๖
           พระองค์ได้กราบถวายบังคมลาราชการ เมื่อไปพักผ่อนรักษาพระองค์ในปีเดียวกัน โดยมาประทับที่หาดทรายรี และประชวรสิ้นพระชนม์ในปีเดียวกันนั้น
           พระองค์เป็นปูชนียบุคคลที่ชาวชุมพรเคารพสักการะ เป็นมิ่งขวัญและกำลังใจของชาวชุมพร จึงได้ร่วมใจกันสร้างอนุสรณ์เพื่อระลึกถึงพระองค์ ทั้งที่เป็นศาล พระตำหนัก และพระรูป ประดิษฐานไว้บริเวณหาดทรายรี

           อนุสรณ์สำคัญอีกประการหนึ่งคือ เรือหลวงชุมพร ที่กองทัพเรือได้มอบให้แก่จังหวัดชุมพรตามที่ประชาชนร้องขอ เพื่อนำไปประดิษฐานเป็นอนุสรณ์ แด่เสด็จในกรมหลวงชุมพร โดยทำพิธีมอบ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๓
           เพื่อเป็นการระลึกถึงพระองค์จึงได้จัดให้มีพิธีและงานเทิดพระเกียรติ ถือเป็นงานประจำปีจัดขึ้นระหว่าง วันที่ ๑๙ - ๒๗ ธันวาคม ของทุกปี
               - หลวงปู่สงฆ์ จนทสโร    (รายละเอียดมีอยู่ในมรดกทางพระพุทธศาสนา)
               - พระธาตุมุจลินทร์    (รายละเอียดมีอยู่ในมรดกทางพระพุทธศาสนา)
               - พระหลักเมืองวัดถ้ำเขาพลู  (รายละเอียดมีอยู่ในมรดกทางพระพุทธศาสนา)
               - เขาเจดีย์    (รายละเอียดมีอยู่ในมรดกทางพระพุทธศาสนา)
               - พระปู่หลักเมืองถ้ำรับร่อ   (รายละเอียดมีอยู่ในมรดกทางพระพุทธศาสนา)
               - พระพุทธรูปปางไสยาสน์    (รายละเอียดมีอยู่ในมรดกทางพระพุทธศาสนา)
               - พระบรมธาตุสวี    (รายละเอียดมีอยู่ในมรดกทางพระพุทธศาสนา)
               - วัดถ้ำขวัญเมือง    (รายละเอียดมีอยู่ในมรดกทางพระพุทธศาสนา)

               - ศาลหลักเมือง    ตั้งอยู่หน้าศาลากลางจังหวัด เป็นอาคารทรงปราสาท หลังคาจตุรมุข ยอดทรงปรางค์ ภายในประดิษฐานเสาหลักเมือง ซึ่งเป็นไม้แกะสลักลวดลายไทยลงรักปิดทอง ไม้ที่นำมาเป็นเสาหลักเมืองได้จากต้นราชพฤกษ์แห่งวัดถ้ำรับร่อ ซึ่งเป็นดินแดนที่เชื่อถือกันว่าเป็นที่ตั้งของเมืองอุทุมพร
หรือเมืองชุมพรดั้งเดิม มีอายุประมาณร้อยปี เชื่อกันว่าเป็นไม้มงคลสูงสุดในหมู่ไม้ทั้งหลาย และได้รูปพรรณสัณฐานตามตำราที่กล่าวไว้ โดยทำพิธีตัด เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๕
           สมเด็จพระเทพรัตน์ ฯ ได้เสด็จ ฯ มาทรงเป็นองค์ประธานพิธีเปิดศาลหลักเมือง ในปี พ.ศ.๒๕๓๕
               - ศาลหลักเมือง  ตั้งอยู่ในเขตตำบลตากแดด อำเภอเมือง ฯ ใกล้กับวัดประเดิม ตั้งอยู่ในวัดเสื้อเมือง ซึ่งเป็นวัดเก่า สภาพเดิมของศาลเป็นศาลาไม้มุงสังกะสี ต่อมาบูรณะใหม่เป็นอาคารคอนกรีต ภายในมีแท่นหินทรายและหลักไม้ เรียกว่า พระทรงเมือง
           พื้นของวัดประเดิมและศาลเสื้อเมือง มีผู้สันนิษฐานว่า เป็นชุมชนเก่าของเมืองชุมพร มีอาณาเขตจากท่าน้ำชุมพร ระหว่างวัดพระขวางทางด้านทิศตะวันตกกับวัดประเดิม ทางด้านทิศตะวันออก โดยได้พบอิฐก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่กระจายอยู่ทั่วไป
               - เสาหลักเมืองปะทิว  อยู่ในเขตตำบลปากคลอง อำเภอปะทิว ห่างจากสถานีรถไฟมาบอำมฤตไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๗ กิโลเมตร อยู่ใกล้วัดหน้าค่าย มีอายุประมาณร้อยปี ปัจจุบันได้มีการสร้างอาคารครอบเพื่อรักษาโบราณสถานแห่งนี้ไว้

               - พ่อตาหินช้าง  อยู่ในเขตตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ ติดกับทางหลวงหมายเลข ๔ (เพชรเกษม) ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ ๔๕๓ - ๔๕๔ ศาลพ่อตาหินช้างนี้จำลองมาจากหินช้าง ซึ่งเป็นหินมีรูปลักษณะเหมือนช้างมี ๑๑ เศียร ซึ่งอยู่บริเวณคลองท่าแซะ ห่างจากศาลแห่งนี้ประมาณ ๕๐๐ เมตร
           ชาวจังหวัดชุมพรมีความเชื่อว่า พ่อตาหินช้างเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพเพื่อความเป็นสิริมงคล ผู้ที่เดินทางผ่านเส้นทางนี้ จะต้องแวะทำความเคารพด้วยการจุดประทัด เพื่อขอให้เดินทางด้วยความปลอดภัย

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์