ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี



| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

มรดกทางพระพุทธศาสนา

ศาสนาสถาน

            วัดพลับ  ตั้งอยู่ในตำบลบางจะกะ อำเภอเมือง ฯ เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของจังหวัดจันทบุรี สร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย เดิมชื่อวัดสุวรรณติมพรุธาราม แปลว่าวัดที่มีผลมะพลับทอง เนื่องจากมีผลมะพลับใหญ่โต เมื่อเวลาสุกมีสีเหมือนสีทอง ต่อมาประชาชนนิยมเรียกกันว่า วัดพลับ
            ภายในวัดมีพระปรางค์ ซึ่งมีเจดีล้อมรอบ ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์ได้เสด็จมาประทับพักแรมอยู่ที่วัดนี้ ก่อนจะยกทัพเข้าตีเมืองจันทบูร และได้ทรงพระราชทานพระยอดธงแก่กองทหาร พระยอดธงที่เหลือได้นำมาบรรจุไว้ในเจดีย์ ต่อมาเจดีย์หักพังลงมา จึงได้นำพระยอดธงส่วนหนึ่ง ไปบรรจุไว้ในพระปรางค์องค์นี้ ในวงการพระเครื่องเรียกพระยอดธงนี้ว่า พระยอดธงกู้ชาติ มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่ต้องการของพุทธศาสนิกชนทั่วไป
            นอกจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จะทรงพระราชทานพระยอดธงให้แก่หมู่ทหารแล้ว บรรดาทหารทั้งหลายยังได้รับการประพรมน้ำพระพุทธมนต์ ซึ่งในสมัยต่อมาน้ำพระพุทธมนต์ที่ประกอบพิธีในอุโบสถวัดพลับถือว่าเป็นน้ำพระพุทธมนต์ที่ศักดิ์สิทธิ์ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ จะต้องประกอบด้วยน้ำพระพุทธมนต์จากวัดพลับนี้ด้วย โดยนำน้ำจากบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์จากถ้ำพระนารายณ์ ตำบลคลองนารายณ์ อำเภอเมือง ฯ และน้ำจากสระแก้วที่วัดสระแก้ว ตำบลพลอยแหวน อำเภอท่าใหม่ มารวมกันทำพิธีปลุกเสกน้ำพระพุทธมนต์ เป็นเวลาสามวันสามคืนจนเสร็จพิธี
            ตามทะเบียนโบราณสถานของกรมศิลปากร โบราณสถานวัดพลับที่ขึ้นทะเบียนไว้ประกอบด้วย

                วิหารไม้   เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางบำเพ็ญทุกรกิริยา ตัววิหารตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของวัด เป็นอาคารไม้รูปทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส หลังคาทรงจตุรมุข ประดับด้วยเจดีย์ขนาดเล็ก เครื่องลำยองหรือปั้นลม (แผ่นไม้ปิดหัวแปโครงหลังคา) เป็นไม้แกะสลักสวยงาม ช่องลมทั้งสี่ด้านฉลุเป็นลวดลาย ฝีมือช่างพื้นบ้าน
                หอไตร  เป็นหอไตรขนาดกลาง สร้างอยู่ในสระน้ำ เป็นอาคารทรงไทยหลังคาสองชั้น ทรงจั่ว มีระเบียงรอบหอ โครงสร้างเป็นไม้ตกแต่งด้วยเครื่องลำยองไม้ ยังพอเห็นการตกแต่งเสาและบริเวณด้านหน้าที่เคยเป็นลวดลายลงรักปิดทองแบบลายรดน้ำ

                พระปรางค์  สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๑ องค์พระปรางค์สูงประมาณ ๒๐ เมตร มีซุ้มประตูสี่ทิศ เหนือประตูเป็นรูปราหูอมจันทร์ องค์ปรางค์ตั้งอยู่บนฐานประทักษิณสองชั้น มีบันไดทางขึ้นสี่ทาง ส่วนยอดปรางค์มีการซ้อนขั้น มีชั้นเชิงบาตรรองรับตัวปรางค์ขนาดเล็ก มีรูปปั้นหัวช้างประดับทั้งสี่ทิศ ลักษณะส่วนบนซึ่งเป็นยอดปรางค์และตรีศูล เป็นลักษณะที่ไม่ได้พบมากนักในภาคตะวันออก
                โบสถ์  ตัวโบสถ์มีการบูรณะปฏิสังขรณ์แล้วหลายครั้ง ปัจจุบันมีลักษณะเหมือนโบสถ์ทั่วไป หน้าบันเป็นลวดลายปูนปั้นรูปนารายณ์ทรงครุฑ เครื่องตกแต่งหลังคาเป็นปูนปั้น
                เจดีย์กลางน้ำ  เป็นเจดีย์ทรงกลมก่ออิฐถือปูน สูงประมาณ ๗ เมตร ไม่ประดับกระเบื้อง ยกฐานสูง ตัวองค์ระฆังขนาดเล็ก มีส่วนประกอบแบบองค์ระฆังทรงกลมทั่วไป ลักษณะศิลปะแบบอยุธยาตอนกลางได้รับการบูรณะ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๑

           วัดเขาพลอยแหวน  ตั้งอยู่ที่เชิงเขาพลอยแหวน ตำบลพลอยแหวน อำเภอท่าใหม่ สร้างโดยพระยาจันทบุรีชื่อสองเมือง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพื้นที่ ๒ ไร่ ๑ งาน ภายในวัดมีอุโบสถ ที่สร้างขึ้นใหม่

                เจดีย์และมณฑป  ทรงกลมแบบลังกาภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เจดีย์สูงประมาณ ๑๓ เมตร ฝีมือช่างพื้นเมือง สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๙ โดยพระยาไชยบดีณรงฤาชัย
                ใกล้เคียงกันมีมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง ได้มีการบูรณะ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๕ ส่วนมณฑปพระพุทธบาท ยังสร้างไม่สมบูรณ์จนถึงปัจจุบัน ในเดือนห้า จะมีประชาชนไปนมัสการแและชมทิวทัศน์โดยรอบที่สามารถมองเห็นทั้งภูเขา แม่น้ำจันทุบรี และทะเล

            วัดทองทั่ว  อยู่ในตำบลคลองนารายณ์ อำเภอเมือง ฯ ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๕ กิโลเมตร มีเรื่องราวก่อนสร้างวัดเล่าสืบต่อกันมาว่า มีวัดอยู่วัดหนึ่งอยู่ห่างจากวัดทองทั่วไปทางทิศใต้ประมาณ ๔๐๐ เมตร ชื่อวัดเพนียด ต่อมากลายเป็นวัดร้าง และได้มาสร้างวัดใหม่ชื่อวัดทองทั่ว
            วัดทองทั่ว เป็นวัดเก่าแก่ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าสร้างขึ้นเมื่อใด เมื่อพิจารณาจากหลักฐานแวดล้อม วัดทองทั่วอาจสร้างในสมัยที่เมืองจันทบุรียังตั้งอยู่ในแถบนี้ โดยเจ้าเมืององค์ใดองค์หนึ่งและได้มีการสร้างต่อ ๆ กันมา

            อุโบสถหลังเก่าน่าจะสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สังเกตุได้จากลายปูนปั้นประดับเป็นซุ้มโค้งเหนือขอบประตูหน้าต่าง ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในสมัยนั้น โบสถ์หลังนี้ได้สร้างทับไปบนศานสถานแบบขอม ทางทิศตะวันออกหน้าโบสถ์มีสิงห์นั่ง แกะสลักด้วยหินทรายสีแดง สูง ๙๐ เซนติเมตร หน้าประตูมีชิ้นส่วนธรณีประตูทำด้วยหินทรายสีขาว
            โบราณสถานและโบราณวัตถุของวัดทองทั่วได้แก่
                ๑. ใบเสมา เป็นรูปเสมาคู่
                ๒. ซากอิฐหัก สันนิษฐานว่า อาจเป็นซากเจดีย์เก่าหรือซากอาคารเก่า
                ๓. เจดีย์เก่าสมัยอยุธยาตอนปลาย
            ในโบสถ์หลังเก่าปัจจุบันเป็นที่เก็บทับหลังหินทรายสีขาว แกะสลักเป็นศิลปะแบบกาลาบริวัตร ต่อลมโบรไพรกุก (พ.ศ.๑๑๕๐) อีกชิ้นหนึ่งคือ ทับหลังหินทรายสีขาว แกะสลักเป็นรูปลายพรรณพฤกษาและพวงมาลัย ลักษณะศิลปะแบบไพรกแมง (พ.ศ.๑๑๘๐ - ๑๒๕๐) และยังมีเสาประดับกรอบประตูเทวสวถาน ลักษณะศิลปะนครวัด มีโกลนพระคเณศแกะไม่เสร็จ จึงยังกำหนดรูปแบบศิลปะไม่ได้ แต่ร่องรอยด้านหลังที่เป็นรอยเศียรนาคคือ การดัดแปลงพระพุทธรูปปางนาคปรกให้เป็นเทวรูป แสดงให้เห็นถึงลักษณะศิลปะทวารวดีที่ปะปนกับขอม ลักษณะแบบนี้พบในเมืองโบราณหลายแห่งทางภาคตะวันออก เช่นเมืองพระรถ เมืองศรีมโหสถ เมืองดงละคร และโคกกระโดน

            วัดไผ่ล้อม  เป็นพระอารามหลวงตั้งอยู่ในตำบลจันทนิมิตร อำเภอเมือง ฯ อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำจันทบุรี มีพื้นที่ ๒๘ ไร่ ๑ งาน ตั้งวัดเมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๕  ได้รับคัดเลือกให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๙ และ พ.ศ.๒๕๑๔ และได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ยกฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๙
            จากการสำรวจพระอุโบสถหลังเก่าเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบบทรงสถาปัตยกรรมเป็นลักษณะอาคาร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว อุโบสถมีกำแพงล้อมรอบทั้งสี่ด้าน มีช่องทางเข้าทั้งสี่ด้าน ชนวนด้านหลังมีเสารองรับห้าต้น ไม่มีบัวหัวเสา ฐานอาคารเป็นเส้นตรง มีเจดีย์มุมอยู่ในกำแพงแก้ว เป็นเจดีย์แบบย่อมุมไม้สิบสองขนาดเล็ก
            ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง เขียนภาพเต็มผนังตลอดทั้งสี่ด้าน บริเวณกรอบหน้าต่างด้านล่าง และบริเวณช่องระหว่างหน้าต่างชำรุดลบเลือนไปมาก เขียนภาพต้นไม้ประเภทบอนไซและดอกไม้เมืองจีน เหนือช่องหน้าต่างทั้งสองด้านเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องทศชาติ โดยแบ่งออกเป็นช่อง ๆ ด้านละห้าช่อง ด้านหน้าพระประธานเขียนภาพพุทธประวัติโดยเขียนต่อกันไปบนผนัง ไม่มีฉากหรือเส้นแบ่งกั้นเป็นตอน ๆ ด้านหลังพระประธานเขียนเป็นภาพเทพอำนวยพร ลักษณะการเขียนน่าจะเป็นจิตรกรรมหลังรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ เนื่องจากมีชาวต่างชาติปรากฎอยู่เป็นจำนวนมากในภาพวาด
            ด้านหลังโบสถ์ทางด้านทิศตะวันตกมีเจดีย์ทรงระฆัง มีกำแพงแก้วล้อมรอบทั้งสี่ด้าน มีทางเข้าทางด้านทิศเหนือและทิศใต้ เจดีย์ตั้งอยู่บนฐานสูง ลักษณะเจดีย์เป็นศิลปะรัตนโกสินทร์ สูงประมาณ ๑๐ เมตร

            พระอุโบสถ  เป็นอาคารเลียนแบบศิลปะตะวันตก อาคารเป็นตัวตึกห้องเดียว หลังคาแบบเรือนมลิลา แต่ได้ดัดแปลงให้เข้ากับอาคารภายในวัด โดยเติมหลังคาจั่วแหลมขึ้นไป ผนังอาคารประดับด้วยเสาติดผนัง โดยใช้เสาเซาะช่องยื่นออกมาจากผนังเพียง หนึ่งในสี่ มีเสารองรับหลังคาตลอดทั้งสี่ด้าน ภายในประดิษฐานพระสาวกสำริด หน้าตักกว้าง ๖๐ เซนติเมตร
                พระพุทธไสยยาสน์  เป็นปูชนียวัตถุที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออก เพื่อเป็นพุทธบูชา เนื่องจากในภาคตะวันออกยังไม่มีพระพุทธไสยาสน์ ให้ศาสนิกชนในภาคนี้กราบไหว้ได้เริ่มก่อสร้างวิหารพร้อมองค์พระพุทธไสยาสน์ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๐ องค์พระพุทธไสยาสน์ยาว ๙ วา ๙ นิ้ว หันพระเศียรไปทางทิศตะวันออก มีพุทธลักษณะเป็นประติมากรรมผสมค่อนไปทางศิลปะสุโขทัย สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ฉาบแต่งผิวแล้วลงรักปิดทอง มีแท่นฐานเป็นบัวคว่ำ บัวหงาย ยาวกว่าองค์พระเล็กน้อย
                พระวิหารครอบองค์พระเป็นอาคารสองชั้นทรงไทยประยุกต์ ทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล้ก กว่าง ๓๒.๔๙ เมตร ยาว ๕๔.๑๙ เมตร บริเวณโดยรอบวิหารมีรั้วรอบแทนกำแพงแก้ว มีประตูเข้าออกห้าประตู พื้นวิหารปูด้วยกระเบื้องหินอ่อนทั้งหลัง หลังคาเทคอนกรีตมุงด้วยกระเบื้องกาบกล้วย

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์