ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี



| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

มรดกทางวัฒนธรรม

           จังหวัดชัยนาทมีแหล่งอารยธรรมที่ซ้อนทับกันหลายยุคหลายสมัย ปรากฏอยู่ตามบริเวณลุ่มน้ำทั้งสามสายมีหลักฐานแสดงว่า มีผู้มาตั้งถิ่นฐานมานานนับพันปี เป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมเก่าแก่ที่ปรากฏมาจนถึงปัจจุบัน
แหล่งโบราณคดี
            แหล่งโบราณคดีบ้านหนองบัว  อยู่ที่บ้านหนองบัวตำบลเที่ยงแท้ อำเภอสรรคบุรี ลักษณะทั่วไป สภาพเดิมเป็นป่า พบเศษภาชนะดินเผาส่วนไหล่ภาชนะมีการหักมุมด้านข้างรูปแบบคล้ายกับที่เคยขุดพบในแถบเมืองโบราณสมัยทวาราวดี จึงสันนิษฐานว่า บ้านหนองบัวน่าจะมีอายุร่วมสมัยกับแหล่งโบราณคดีสมัยทวาราวดี
            แหล่งโบราณคดีเขาพลอง  อยู่ที่บ้านเขาพลองตำบลเขาท่าพระ อำเภอเมือง ฯ พบภาชนะดินเผาเนื้อหยาบ เนื้อในมีสีคล้ำ และการเผาไม่สมบูรณ์แสดงให้เห็นถึงเทคโนโลยีการผลิตยังด้อยอยู่ จึงสันนิษฐานว่า น่าจะมีอายุอยู่ในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์(ยุคโลหะ)


            แหล่งโบราณคดีบ้านโพธิงาม  อยู่ที่บ้านโพธิงาม อำเภอบางหลวง อำเภอสรรพยา พบเศษภาชนะดินเผาเป็นจำนวนมากมีลักษณะคล้ายกับที่พบจากแหล่งโบราณคดี สมัยทวาราวดีทั่ว ๆ ไป ชุมชนโบราณแห่งนี้มีการผลิตภาชนะดินเผาเนื้อหยาบและเนื้อแกร่ง จึงสันนิษฐานในขั้นต้นว่า มีอายุร่วมสมัยกับชุมชนสมัยทวาราวดี
            แหล่งโบราณคดีดอนกลางและไร่ตะกี๋  อยู่ที่บ้านวัดใหม่ตำบลหนองบัว อำเภอวัดสิงห์ มีลักษณะเป็นเนินดินเนินเดียวกัน แต่ต่อมาได้มีการไถคราดเป็นพื้นที่ทำนาดอนกลางจึงหมดสภาพไป คงเหลือแต่ไร่ตะกี๋ ซึ่งมีลำห้วยขุนแก้วไหลผ่านระยะใกล้จากการสำรวจได้พบเศษภาชนะดินเผาเนื้อหยาบ เผาด้วยอุณหภูมิต่ำ ตกแต่งผิวภาชนะด้วยลายกดประทับขูดเป็นรูปหยัก และเคลือบน้ำดิน สัมพันธ์กับแหล่งโบราณคดีหลายแห่งในเขตจังหวัดอุทัยธานี
            แหล่งโบราณคดีหนองห้วย  อยู่ที่บ้านหนองบัว ตำบลหนองบัว อำเภอวัดสิงห์ ลักษณะเป็นเนินดินสองเนิน ปกคลุมด้วยต้นไม้ยืนต้นด้านทิศตะวันออกมีป่าไม้ปกคลุม มีพื้นที่ประมาณ ๑๕ ไร่ พบเศษภาชนะดินเผากระจายอยู่ทั่วไปจัดเป็นแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์
            แหล่งโบราณคดีบ้านห้วย  อยู่ที่บ้านห้วย ตำบลหนองบัว อำเภอวัดสิงห์ ลักษณะเป็นเนินดินขนาดใหญ่ พื้นที่ประมาณ ๔๐ ไร่ ด้านทิศตะวันออกมีคลองกระทงไหลผ่าน จากหลักฐานบนผิวดินแสดงให้เห็นว่าเป็นแหล่งโบราณคดีที่เก่าแก่แห่งหนึ่ง


            แหล่งโบราณคดีบ้านหนองไอ้งอน  อยู่ที่บ้านหนองไอ้งอน ตำบลหนองขุ่น อำเภอวัดสิงห์ ลักษณะทั่วไปเป็นเนินดินมีพื้นที่ประมาณ ๓๐ ไร่ สันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในสมัยอยุธยาตอนปลาย
            แหล่งโบราณคดีบ้านไร่สวนลาว  อยู่ที่บ้านไร่สวนลาว ตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา สันนิษฐานว่า เป็นแหล่งที่มีคนเข้ามาอยู่อาศัยติดต่อกันมาเป็นเวลานาน ตั้งแต่สมัยที่ใช้ขวานหินขัด ต่อมาถึงที่ใช้ภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งที่เผาด้วยอุณหภูมิสูง จนถึงที่ใช้พอร์สเลน


            แหล่งโบราณคดีสมอบด  อยู่ในเขตตำบลหนองแซง อำเภอหันคา มีลักษณะเป็นเนินดินสูง ได้พบเนินดินและกองอิฐเป็นจำนวนมาก ผ่นอิฐมีขนาดใหญ่มาก พบเศษเครื่องปั้นดินเผาแต่ไม่ทราบว่าอยู่ในสมัยใด
เมืองโบราณ
           เมืองโบราณอู่ตะเภา  อยู่ที่บ้านอู่ตะเภา ตำบลอู่ตะเภา อำเภอมโนรมย์ ตัวเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู อยู่ในบริเวณที่ราบริมลำน้ำหางสาคร มีลักษณะเป็นรูปวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง๕ กิโลเมตร ตั้งอยู่ริมลำน้ำอู่ตะเภา รอบ ๆ เมืองมีระบบการชลประทาน และสระน้ำมีเมืองโบราณอยู่ใกล้ ๆ กันอีก ๒ เมือง คือ เมืองนครน้อย และเมืองนางเหล็กเป็นกลุ่มเมืองที่อยู่ในสมัยทวาราวดี มีลำน้ำผ่านเข้ามาเกือบกึ่งกลางของพื้นที่มีคูน้ำกว้างประมาณ ๑๙ เมตร คันดินสูงประมาณ ๙ เมตร
           บริเวณเมืองอู่ตะเภา และบริเวณโดยรอบเมืองมีโบราณสถานสมัยทวาราวดี ระหว่างพุทธศตวรรษที่๑๑ - ๑๖  กระจายอยู่เป็นบริเวณกว้าง ได้พบธรรมจักรศิลา และเสาแปดเหลี่ยมฐานอิฐรูปวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๗ เมตร สูง ๘๐ เซ็นติเมตร อันฐานที่ตั้งหรือรองรับเสาแปดเหลี่ยมและธรรมจักรขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒ เมตร มีจารึกอักษรปัลลวะภาษาบาลี เรื่องธรรมจักรกัปวัตนสูตร


            เมืองโบรารนครน้อย  อยู่ที่บ้านหัวถนน ตำบลบ้านไร่พัฒนา อำเภอมโนรมย์ อยู่ห่างจากเมืองอู่ตะเภาออกไป ประมาณ ๒ กิโลเมตร ทางด้านตะวันออกหน้าเขาแหลมเป็นคูน้ำคันดินโบราณขนาดเล็กรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าส่วนที่เป็นคูน้ำตื้นเขินหมดแล้ว ส่วนที่เป็นคันดินกำแพงดินมีขนาดกว้าง ๒๕๐เมตร ยาว ๓๐๐ เมตร ภายในตัวเมืองไม่พบหลักฐานสิ่งใด เนื่องจากชาวบ้านได้เข้ามาหักร้างถางพงทำเป็นไร่ทั้งหมด
            เมืองโบราณแม่นางเหล็ก  อยู่ที่บ้านเขาแหลม ตำบลไร่พัฒนา อำเภอมโนรมย์ อยู่ถัดจากเมืองนครน้อย ไปทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ๕ กิโลเมตร ตัวเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดใหญ่กว่าเมืองนครน้อยเล็กน้อยมีคูน้ำและคันดินอยู่ในสภาพดี แต่ไม่ปรากฏว่ามีศาสนสถานใด ๆ อยู่ภายในตัวเมืองเมืองแม่นางเหล็กอาจจะเป็นเมืองหน้าด่าน หรือเมืองในการปกครองของเมืองอู่ตะเภาเช่นเดียวกับเมืองนครน้อย
            เมืองโบราณดงคอน อยู่ในเขตตำบลดงคอน อำเภอสรรค์บุรี  มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มุมมนรูปแบบของเมืองใกล้เคียงกับเมืองโบราณสมัยเดียวกันที่อยู่ใกล้เคียงกัน เช่นเมืองจันเสนเมืองคูเมืองมีความกว้าง ประมาณ ๕๕๐ เมตร ยาวประมาณ ๗๕๐ เมตร ห่างจากตัวเมืองไปทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ๗๐๐ เมตร มีร่องรอยโบราณสถานที่มีคูน้ำล้อมรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่ไม่ปรากฏว่ามีคันดินคูน้ำกว้างประมาณ ๒๐ เมตร
           ได้พบซากโบราณสถานขนาดใหญ่อยู่นอกเมือง เป็นสถูปขนาดใหญ่ ชาวบ้านเรียกว่าโคกปราสาทแผ่นอิฐที่ใช้สร้างสถูปมีขนาดใหญ่เป็นพิเศษคือ กว้าง ๒๖ เซ็นติเมตร ยาว ๕๑เซ็นติเมตร ใหญ่กว่าอิฐที่ใช้สร้างโบราณสถานสมัยเดียวกันที่พบแห่งอื่น ในบริเวณนี้ชาวบ้านได้ขุดพบขวานหินสมัยก่อนประวัติศาสตร์พบชิ้นส่วนเครื่องถ้วยสุโขทัยเป็นจำนวนมาก และพบเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์เหม็ง
           นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า เมืองโบราณแห่งนี้เริ่มสร้างในสมัยทวาราวดีตอนต้นและได้อยู่อาศัยกันต่อมาจนถึงสมัยอยุธยา แต่อาจจะมีการละทิ้งเมืองได้เป็นช่วงๆ ศาสนสถานในยุคแรก ๆ จึงเหลือแต่ซาก สรุปแล้วเมืองนี้มีการอยู่อาศัยเป็นระยะๆ ต่อเนื่องกันมาประมาณ ๑๓ ศตวรรษ
แหล่งประวัติศาสตร์

    เมืองสรรคบุรี
            เมืองสรรคบุรี หรือเมืองแพรก อยู่ในเขตตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี เป็นเมืองโบราณสมัยทวาราวดีพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสันนิษฐานว่า เดิมชื่อเมืองตรัยตรึงส์
            เมื่อพิจารณาจากสถาปัตยกรรม และศิลปกรรม จะเห็นว่าเป็นศิลปกรรมแบบอู่ทอง จึงน่าจะเป็นเมืองที่เจริญในสมัยเดียวกันกับ เมืองสุพรรณภูมิ เมืองลพบุรี เมืองสุโขทัย และเมืองอโยธยาเมืองสรรค์น่าจะสร้างก่อนเมืองชัยนาท และยังเคยเป็นเมืองหน้าด่าน ของกรุงสุโขทัยคู่กันมากับเมืองชัยนาทในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เรียกเมืองสวรรคบุรีว่าเมืองแพรกและเรียกเมืองชัยนาทว่าเมืองชัยนาทบุรีในปี พ.ศ. ๑๙๑๔ ในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) กรุงศรีอยุธยาได้ยกกองทัพมายึดไว้ทั้งสองเมืองนี้จึงตกอยู่ในราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา และได้เปลี่ยนชื่อเมืองแพรกเป็นเมืองสรรค์ตั้งแต่นั้นมาโดยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงคู่กับเมืองชัยนาท
            ผังของเมืองสรรค์ เป็นผังที่ซับซ้อน แสดงถึงความเป็นเมืองใหญ่ที่อยู่ต่อเนื่องมาช้านานบริเวณเมืองแบ่งออกเป็นสองตอน ตอนที่เป็นด้านเหนือเป็นรูปสี่เหลี่ยม กว้างยาวประมาณด้านละ๑,๔๐๐ เมตร ด้านนี้น่าจะเป็นเมืองแพรกเดิม ส่วนทางด้านใต้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้างประมาณ ๘๐๐ เมตร ยาวประมาณ ๒,๒๐๐ เมตร น่าจะเป็นที่ตั้งของเมืองสรรค์บริเวณด้านเหนือพื้นที่ถูกเกลี่ยทำนา เหลือเจดีย์รูปพุ่มข้าวบิณฑ์ที่วัดโตนดหลายและเจดีย์วัดพระยาแพรก บริเวณด้านใต้เป็นที่ตั้งของวัดมหาธาตุ วัดสองพี่น้อง
ภาษาและวรรณกรรม

    ตำนานวัดเขาสรรพยา
            ตามตำนานเขาสรรพยาในเรื่องรามเกียรติ์ เชื่อกันว่าคือเขาสรรพยาของเมืองชัยนาทตามเรื่องมีอยู่ว่า เมื่อพระลักษมณ์รบกับกุมภกรรณ และเสียทีถูกหอกโมกขศักดิ์ของกุมภกรรณพิเภกได้แจ้งให้ทราบถึงยาที่จะใช้แก้ไข หนุมาณจึงเหาะไปที่เขาหลวง เพื่อนำเอาสังกรณีตรีชวามารักษา ในระหว่างนั้นได้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ มากมาย เช่น หนุมาณได้ทิ้งส่วนหนึ่งของภูเขาลงไปในขณะที่แบกเขาหลวงกลับมา ส่วนที่ทิ้งลงไปกลายเป็นเขาขยายในเขตอำเภอเมือง ฯ ในปัจจุบัน แล้วขณะที่แวะกินน้ำ ได้เอาเขาวางลงไปในบึงแล้ววักน้ำกิน บริเวณนั้นจึงลึกกว่าที่อื่น และเขาที่หนุมาณวางลงไปได้ยุบลงไปในดินจนติดแน่นยกไม่ขึ้น หนุมาณจึงเอาเขาด้านทิศใต้ไป เขาสรรพยาทางด้านนั้นจึงมีลักษณะลาดลงแล้วหนุมาณก็สาปไว้ว่าบนเขาแห่งนี้มียารักษาโรคได้ทุกชนิด แต่คนที่นี่ใจจืด ขอน้ำกินก็ไม่ได้ ดังนั้นคนที่เกิดที่นี่จะไม่สามารถใช้ยานี้รักษาโรคได้แล้วสลัดขนเป็นต้นละมาน เพื่อป้องกันคนขึ้นไปหายาบนภูเขา จากนั้นก็หักยอดภูเขานำเอายอดไปด้วยการคอน แล้วนำไปตั้งไว้ ณ ที่ตั้งเขาสมอคอนในเขตเมืองลพบุรีจากการสาปของหนุมาณชาวบ้านจึงเรียกเขานี้ว่าเขาสาปยา ต่อมาจึงกลายเป็นเขาสรรพยาส่วนบึงที่หนุมาณลงมากินน้ำมีชื่อต่อมาว่าบึงอรพิมพ์
    ตำนานตำบลคุ้งตะเภา
           มีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า มีพ่อค้าหนุ่มชาวจีนจากกรุงศรีอยุธยา นำเรือสินค้ามาค้าขายจนถึงเมืองนครสวรรค์เป็นประจำและได้มาพักแรมที่เมืองมโนรมย์ทุกครั้งทั้งขาขึ้นและขาล่อง วันหนึ่งได้พบหญิงสาวสวยชาวเมืองมโนรมย์มาซื้อสินค้าทั้งสองคนเกิดชอบพอกัน และสัญญาว่าจะใช้ชีวิตร่วมกัน ฝ่ายชายจึงจัดผู้ใหญ่มาสู่ขอโดยจัดขบวนขันหมากมาจากกรุงศรีอยุธยาโดยจัดเรือสำเภาเป็นขบวนขันหมาก เมื่อขบวนเรือมาถึงคุ้งวังน้ำวนอันเกิดจากการที่แม่น้ำสะแกกรังไหลมาบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยาได้เกิดกระแสลมแรงคลื่นลูกใหญ่ซัดสาดเรือสำเภอล่มลง เจ้าบ่าวและคนทั้งปวงจมลงไปในกระแสน้ำอันเชี่ยวกรากนั้นเมื่อเจ้าสาวทราบเรื่องก็เสียใจ จึงผูกคอตายตามคนรักไป ชาวบ้านจึงตั้งชื่อคุ้งน้ำวนนี้ว่าคุ้งสำเภา
    ตำนานเมืองสรรคบุรี
           ตำนานพื้นบ้านเกี่ยวกับเมืองไตรตรึงส์ หรือเมืองสรรคบุรีมีอยู่ว่า เจ้าเมืองเชียงรายองค์หนึ่งอพยพหนีข้าศึกมาทางลำน้ำแม่พิงค์มาเห็นเมืองแปบร้างอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองกำแพงเพชร จึงสร้างเมืองไตรตรึงส์ขึ้นเป็นราชธานีครองราชย์สืบมาจนถึงพระเจ้าไตรตรึงส์องค์ที่สาม มีชายเข็ญใจคนหนึ่งมีปุ่มปมอยู่ทั้วตัวจนเรียกกันว่าแสนปม ทำไร่เลี้ยงชีพอยู่ที่ชายเมือง และได้ใช้น้ำปัสสาวะรดต้นมะเขือในไร่เสมอเมื่อมะเขือออกผลก็ได้นำไปถวายพระธิดาเจ้าเมืองไตรตรึงส์ เมื่อพระธิดานำไปเสวยแล้วก็ทรงพระครรภ์และต่อมาได้ทรงคลอดบุตรเป็นชาย เมื่อพระกุมารเจริญวัย พระเจ้าตรัยตรึงส์ต้องการทราบว่าผู้ใดเป็นบิดาของพระกุมารจึงให้บรรดาผู้ชายหาของมาถวายพระกุมาร ถ้าพระกุมารรับของจากผู้ใด ผู้นั้นก็จะเป็นบิดาพระกุมารชายแสนปมได้นำก้อนข้าวเย็นไปถวาย พระกุมารก็รับไปเสวย พระเจ้าไตรตรึงส์ทราบก็เกิดความอับอายจึงขับไล่พระธิดา และพระกุมารออกจากเมือง พระอินทร์ทราบเรื่องจึงแปลงร่างเป็นลิงนำกลองมาให้นายแสนปมใบหนึ่ง บอกว่าถ้าปรารถนาสิ่งใดก็ขอให้ตีกลองใบนั้น และให้ขอได้สามครั้งนายแสนปมตีกลองครั้งแรกขอให้ปมตามตัวหายไป ตีกลองครั้งที่สองขอให้มีบ้านเมืองครองครองและตีกลองครั้งที่สามขอเนรมิตเปลทองคำให้พระกุมาร เมื่อได้ครบทุกอย่างแล้วนายแสนปมได้ตั้งตัวเป็นกษัตริย์พระนามว่า พระเจ้าศิริชัยเชียงแสนครองเมืองเทพนครที่เนรมิตขึ้นมา และพระโอรสทรงพระนามว่า พระเจ้าอู่ทองเนื่องจากที่ได้บรรทมบนเปลทองต่อมาเมื่อพระเจ้าอู่ทองขึ้นเป็นเจ้าเมือง ก็ได้ย้ายราชธานีมาตั้งที่พระนครศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๙๔
    ตำนานบ้านห้วยกรด
           มีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า นานมาแล้วมีพระภิกษุรูปหนึ่งนำคณะพระธุดงค์เดินทางมาจากทางเหนือเพื่อไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี ให้ทันก่อนวันเพ็ญเดือนสาม พระธุดงค์คณะนี้ได้มาปักกลดพักอยู่ที่ชายป่าริมทุ่งใกล้หมู่บ้านแห่งหนึ่งแล้วออกเดินทางต่อ พระธุดงค์ที่เป็นหัวหน้าลืมกลดเอาไว้จึงกลับไปเอา โดดให้คณะพระธุดงค์หยุดรออยู่ก่อนสถานที่ที่คอยอยู่นั้นต่อมาจึงมีชื่อว่า ศาลาคอยพระสถานที่ที่พระธุดงค์ลืมกลดไว้ ต่อมาได้ชื่อว่านากระทุ่ม และหมู่บ้านดังกล่าวก็ได้ชื่อว่าบ้านห้วยกลด และต่อมาได้กลายเป็นบ้านห้วยกรด
           อีกตำนานหนึ่งเล่าว่า ณ บริเวณดังกล่าวเดิมเป็นลำห้วย ยาวตลอดแนวที่ตั้งแต่เขตอำเภอเมืองฯ บ้านท้ายเมือง บ้านบางตาด้วน บ้านคลองโป่ง บ้านท่าสะแก แล้วเข้าสู่ห้วยกรดผ่านไปทุ่งละหานอรพิมพ์ แล้วแยกผ่านไปแม่ลาการ้องในเขต อำเภอินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรีบริเวณหมู่บ้านแห่งหนึ่งเต็มไปด้วยพืชน้ำชนิดหนึ่งชื่อว่าต้นกรด ทำให้ยากต่อการเดินทางทางน้ำหมู่บ้านดังกล่าวจึงได้ชื่อว่าบ้านห้วยกรด

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์