ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > อนุเสาวรีย์ทหาริ

บางระจัน ทหารอาสา พิพาทอินโดจีน สงครามมหาเอเชียบูรพา สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม ต่อสู้คอมมิวนิสต์


| ย้อนกลับ | หน้าค่อไป |

อนุสาวรีย์สงครามเกาหลี
อนุสาวรีย์ทหารผ่านศึกเกาหลี
ณ ค่ายนวมินทราชินี จ.ชลบุรี
กองทัพเกาหลีเหนือได้เคลื่อนกำลังเข้ารุกรานเกาหลีใต้ เมื่อ ๒๕ มิ.ย.๙๓ ยึดกรุงโซล เมืองหลวงเกาหลีใต้ได้เมื่อ ๒๘ มิ.ย.๙๓
เลขาธิการสหประชาชาติได้โทรเลขถึงไทยในฐานะที่เป็นสมาชิกสหประชาชาติ เมื่อ ๒๙ มิ.ย.๙๓ ขอให้ไทยช่วยเหลือเกาหลีใต้ ตามมติคณะมนตรีความมั่นคง สหประชาชาติ ในขั้นต้นไทยขอให้การสนับสนุน โดยส่งข่าวไปช่วย แต่ทางเลขาธิการ สหประชาชาติ ยืนยันขอให้สนับสนุนด้านกำลังรบ
คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเมื่อ ๒๐ ก.ค.๙๓ ให้ส่งกำลังทหารราบช่วยเกาหลีใต้ จำนวน ๑ กรมผสม หน่วยกำลัง คือ กรมผสมที่ ๒๑ ประกอบด้วย กองบังคับการ กรมผสม และหนึ่งกองพันทหารราบ โดยมีพันเอกบริบูรณ์ จุละจาริตต์ เป็นผู้บังคับ การกรมคนแรก และมี พลตรี หม่อมเจ้าพิสิฐดิศพงษ์ ดิสกุล เป็นผู้บัญชาการกองกำลัง ทหารไทยคนแรก ต่อมาได้ส่งกำลังทางเรือและทางอากาศ เข้าร่วมรบด้วย
เมื่อสิ้นสุดสงครามกรมผสมที่ ๒๑ ได้แปรสภาพเป็นกรมทหารที่ ๒๑ รักษา พระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ ตั้งอยู่ที่ค่ายนวมินทราชินี จังหวัดชลบุรี เมื่อ ๒๙ มิ.ย.๑๙ ได้รับสมญานามว่า กรมทหารเรือนวมินทราชินี
กองกำลังทหารไทยผลัดแรกได้ปฏิบัติการรบถึงชานกรุงเปียงยาง เมืองหลวง ของเกาหลีเหนือ
กองพันทหารราบที่ ๑ ผลัดที่ ๓ มีพันโท เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นผู้บังคับ กองพันได้ทำการรบที่เขา ชอบ เมืองซอร์ออนได้รับชัยชนะงดงาม ทำให้ทหารไทย ได้รับชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่เลื่องลือจนได้รับสมญานามว่า พยัคฆ์น้อย ได้รับเหรียญ ลิเยียม ออฟ เบอร์ท ๑ เหรียญ ซิลเวอร์สตาร์ ๑๒ เหรียญ บรอนซ์สตาร์ ๒๖ เหรียญ นับเป็นเกียรติประวัติอันสูงส่งของทหารไทย
อนุสรณ์ทหารผ่านศึกเกาหลี
สมาคมทหารผ่านศึกเกาหลี กรุงเทพมหานคร
    กองกำลังสหประชาชาติ และกองกำลังฝ่ายคอมมิวนิสต์ ได้ลงนามใน ข้อตกลงสงบศึก เมื่อ ๒๗  ก.ค.๙๖ ที่เมือง ปันมุมจอย ฝ่ายไทยมี พลตรี ถนอม กิตติขจร รองแม่ทัพภาค ๑ เป็นผู้แทนกองกำลังทหารไทยในคณะกรรมการสงบศึก
    กองกำลังทหารไทยที่ไปปฏิบัติการร่วมกับกองกำลังสหประชาชาติ ตั้งแต่ เริ่มต้นจนสงบศึกมีจำนวน ๖ ผลัด เสียชีวิต ทหารบก ๑๓๐ นาย ทหารเรือ ๔ นาย ทหารอากาศ ๒ นาย บาดเจ็บ ๓๑๘  นาย สูญหาย ๕ นาย ได้รับพระราชทานเหรียญ กล้าหาญ ๔๓ นาย ได้รับเหรียญกล้าหาญ ต่างประเทศ ๗๒ นาย
    กองทัพบกได้สร้างอนุสาวรีย์ทหารผ่านศึกเกาหลีขึ้นที่ค่ายนวมินทราชินี จังหวัดชลบุรี


อนุสาวรีย์สงครามเวียดนาม
อนุสาวรีย์ทหารผ่านศึกเวียดนาม
ณ ค่ายสุรสิห์ จ.กาญจนบุรี
สาธารณรัฐเวียดนามได้มีหนังสือความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ และการทหารจากรัฐบาลไทย คณะรัฐมนตรีได้ลงมติรับหลักการให้ ความช่วยเหลือ เมื่อ ๒๑ ก.ค.๐๗ ในขั้นแรกช่วยเหลือด้านการฝึกนักบิน ต่อมาช่วยด้านบินลำเลียงให้ชื่อว่า หน่วยบินวิคตอรี่ (Victory) เมื่อ ๒๙ ก.ย.๐๗ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ สหรัฐอเมริกา พร้อมพันธมิตรอีก ๗ ประเทศ ประกอบด้วย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สเปน ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ สาธารณรัฐประชาชนจีน และไทย ได้ส่งกำลังทหารบกเข้าปฏิบัติการ สงครามเวียดนาม จึงเริ่มขึ้นนับแต่นั้นมา
รัฐบาลสาธารณรัฐเวียดนามได้ขอรับความช่วยเหลือทางทหาร จากไทยเพิ่มเติม เมื่อ ๒๖ ส.ค.๐๙ ไทยซึ่งได้ส่งกำลังทางเรือไปช่วยด้าน การลำเลียง และเฝ้าตรวจตามชายฝั่ง เพื่อป้องกันการแทรกซึมทางทะเล เมื่อ ๗ ธ.ค.๐๙ กำลังทางเรือนี้ชื่อว่า หน่วยซีฮอร์ส (Sea Horse)
คณะรัฐมนตรีลงมติอนุมัติหลักการให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่รัฐบาลสาธารณรัฐเวียดนาม เมื่อ ๒๘ ก.พ.๑๐ โดยให้กองทัพบกส่งหนวยกำลังรบไปปฏิบัติการที่สาธารณรัฐเวียดนาม ชื่อว่า กรมทหารอาสาสมัคร ประกอบด้วย กองร้อย ปืนเล็ก ๔ กองร้อย กองร้อยลาดตระเวน กองร้อยปืนใหญ่เบาวิถีโค้ง กองร้อยช่างสนาม กองร้อยเสนารักษ์ และกองร้อย กองบังคับการ มีกำลังพลรวม ๒,๒๐๙  นาย ได้รับสมญานามว่า จงอางศึก (Queen Cobra) การรบครั้งสำคัญของกรมทหาร อาสาสมัคร คือ การรบที่ฟุกโด ระหว่าง ๒๐-๒๑ ธ.ค.๑๐ โดยกองร้อยอาวุธเบาที่ ๑ มี พันตรี ยุทธนา แย้มพันธุ์ เป็นผู้บังคับกองร้อย ถูกโจมตีจากฝ่ายเวียดกง จำนวน ๑ กองพัน ฝ่ายไทยซึ่งมีกำลังน้อยกว่าได้ต่อสู้อย่างสามารถถึงขั้นตะลุมบอน ด้วยดาบปลายปืน จนข้าศึกต้องถอนคำสั่งกลับไปพร้อมกับความเสียหายอย่างหนัก
ได้มีคำสั่งตั้งกอบพลอาสาสมัคร ขึ้นเมื่อ ๑๔ ม.ค.๑๑ มีกำลังพล ๑๑,๒๗๒  นาย เป็นหน่วยบรรจุมอบให้ขึ้นตรง กองทัพบก ตั้งอยู่ที่ค่ายกาญจนบุรี (ค่ายสุรสีห์ปัจจุบัน) ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี กองพลนี้เมื่อเดินทาง ไปปฏิบัติการที่สาธารณรัฐเวียดนาม จะอยู่ในความควบคุมทางยุทธการของกองทัพสนามที่ ๒ ของสหรัฐอเมริกาในนาม กองพลเสือดำ (Panther) ได้มีการปฏิบัติการครั้งสำคัญในการรบที่ บินห์สัน เฟือกกางและลอกแอน และยุทธการอัศวิน วูล์ฟแพค และเบ็นแคม
กองพลอาสาสมัครฝลัดที่ ๒ ได้ปฏิบัติการครั้งสำคัญได้แก่ ยุทธการมิตรภาพ ฟูหอม ไทยเทียน บางปู ๒๓๔ ซุยดา คีย์แมน และยุทธการสายฟ้าแลบ
กองพลอาสาสมัครผลัดที่ ๓ ได้ปฏิบัติการรบครั้งสำคัญ ได้แก่ ยุทธการ Yellow Jacket และ Task Force THAIAM
ได้มีข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยรัฐบาลสาธารณรัฐเวียดนาม เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๑๔  ให้กองกำลังทหารไทยเริ่มถอนกำลังกลับ โดยเริ่มตั้งแต่ ก.ค.๑๔ เสร็จสิ้นเมื่อ ๑๕ พ.ค.๑๕

| ย้อนกลับ | หน้าค่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์