ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > อนุเสาวรีย์ทหาริ

บางระจัน ทหารอาสา พิพาทอินโดจีน สงครามมหาเอเชียบูรพา สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม ต่อสู้คอมมิวนิสต์


| ย้อนกลับ | หน้าค่อไป |

    ชั้นที่ ๔


            จัดแสดงเครื่องแบบ เครื่องหมายยศ และส่วนประกอบของเครื่องแบบทหาร โดยมีการจัดแสดงดังนี้
                ๑.  จัดแสดงเครื่องแบบ เครื่องแต่งกายโดยใช้หุ่นจัดแสดง และภาพประกอบ แบ่งการจัดแสดงออกเป็น ๖ สมัยคือ  สมัยก่อนสุโขทัย  สมัยสุโขทัย  สมัยอยุธยา  สมัยธนบุรี  สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น และสมัยปัจจุบัน จนวน ๑๕ หุ่น
                ๒.  จัดแสดงส่วนประกอบของเครื่องแบบ เช่น  หน้าหมวก  อินทรธนู  เครื่องหมายยศ  กระดุม  เครื่องหมายเหล่า และเครื่องหมายสังกัด
                ๓.  จัดแสดงหุ่นเท่าคนจริงแต่งเครื่องแบบเต็มยศ จำนวน ๔ หุ่น คือ  หุ่นทหารบก  หุ่นทหารเรือ  หุ่นทหารอากาศ และหุ่นตำรวจ
                ๔.  การนำเสนอข้อมูลด้วยเครื่องจักรคำนวน และวีดิทัศน์ เกี่ยวกับวิวัฒนาการของเครื่องแบบ  เครื่องหมายยศ และเครื่องประกอบการแต่งกายของทหารตำรวจ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
อาคารภาพปริทัศน์ (PANORAMA)
            เป็นอาคารทรงแปดเหลี่ยม ผนังภายในอาคารโค้งเป็นวงกลม มีจิตรกรรมฝาผนังขนาดสูง ๔.๓๐ เมตร ยาว ๙๐ เมตร แสดงเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ รวมทั้งความกล้าหาญเสียสละของบรรพบุรุษ ที่ได้อุทิศตนเพื่อปกป้องและรักษาเอกราชของชาติ

    จิตรกรรมฝาผนังที่แสดง


            กลุ่มภาพที่ ๑  การก่อตั้งบ้านบ้านเมือง
            มีภาพการสร้างกรุงศรีอยุธยา เป็นหลัก ส่วนภาพอื่น ๆ ประกอบด้วยภาพในสมัยกรุงสุโขทัย เริ่มต้นด้วยภาพพ่อขุนผาเมือง มอบเมืองแก่พ่อขุนบางกลางหาว ภากภาพพ่อขุนรามคำแห่งมหาราชโปรด ฯ ให้ช่างจำหลักศิลาจารึกอักษาไทย ภาพพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงอาณาจักรทางใต้ ภาพเจดีย์เจ็ดยอด เมืองเชียงใหม่ พระบรมธาตุหริภุญไชยและเจดีย์กู่กุด เมืองลำพูน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงอาณาจักรทางเหนือ

            กลุ่มภาพที่ ๒  การวิวัฒนาการ
            มีภาพการจัขบวนพยุหยาตราตามตำรับพิชัยสงครามในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ เป็นหลัก ส่วนหลัก ส่วนภาพอื่น ๆ ประกอบด้วยภาพการรบที่เมืองเชียงกราน สมัยพระชัยราชาที่แสดงให้เห็ยถึงการใช้อาวุธปืนไฟเป็นครั้งแรก และมีทหารอาสาชาวโปรตุเกสเข้ามาร่วมรบด้วย

            กลุ่มภาพที่ ๓  การเสียกรุงศรีอยุธยา และการกู้อิสรภาพ ครั้งที่ ๑
            มีภาพสงครามยุทธหัตถี พ.ศ.๒๑๓๕ เป็นหลัก ส่วนภาพอื่น ๆ ประกอบด้วยภาพการเสียเอกราช ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๑๑๒  ซึ่งเป็นภาพการทำพิธีสงบศึกสงครามช้างเผือก ในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ภาพพม่าล้อมกรุงศรีอยุธยา และภาพการกู้เอกราชครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๑๒๗ ซึ่งเป็ภาพการประกาศอิสรภาพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาพหมู่เจดีย์อยุธยาที่วัดใหญ่ชัยมงคล และภาพเจดีย์ภูเขาทอง

            กลุ่มภาพที่ ๔  ความรุ่งเรืองของอาณาจักรไทย
            มีภาพราชทูตฝรั่งเศสถวายพระราชสาสน์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แด่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ณ พระที่นั่งสรรเพชญมหาปราสาท เป็นหลัก ส่วนภาพอื่น ๆ ประกอบด้วยภาพขบวนพยุหยาตราทางชลมารค อัญเชิญพระสาสน์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ผ่ายวัดไชยวัฒนาราม แลพภาพเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ราชทูตไทย ถวายพระราชสาสน์ แด่พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ณ พระราชวังแวร์ซายส์

            กลุ่มภาพที่ ๕  การเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒
            มีภาพพม่าเผากรุงศรีอยุธยา พ.ศ.๒๓๑๐ เป็นหลัก ส่วนภาพอื่น ๆ ประกอบด้วยภาพกองทัพพม่าล้อมกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.๒๓๐๘ ภาพวีรกรรมชาวบ้านบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี พ.ศ.๒๓๐๙ และภาพวีรกรรมขุนรองปลัดชูที่กุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

            กลุ่มภาพที่ ๖  การกู้อิสรภาพ ครั้งที่ ๒ และการก่อตั้งกรุงธนบุรี
            มีภาพการตีค่ายพม่าที่โพธิ์สามต้น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นหลัก ส่วนภาพอื่น ๆ ประกอบด้วยภาพพระเจ้าตากสินมหาราช ตีฝ่าวงล้อมทหารพม่า ออกจากค่ายวัดพิชัยทางด้านตะวันออก ภาพพระเจ้าตากสินมหาราชทรงช้างพังคีรีบัญชนประตูเมืองจันทบุรี และภาพพระราชวังกรุงธนบุรี

            กลุ่มภาพที่ ๗  การก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์
            มีภาพวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และหมู่พระมหามณเฑียร เป็นหลัก ส่วนภาพอื่น ๆ ประกอบด้วยภาพพิธียกเสาหลักเมือง ภาพการอัญเชิญพระแก้วมรกต จากกรุงธนบุรีมาประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภาพการสังคายนาพระไตรปิฎก และภาพคณะปุโรหิตกำลังเขียนกฎหมายตราสามดวง

            กลุ่มภาพที่ ๘  สงครามเก้าทัพ
            มีภาพการรบที่ตำบลลาดหญ้า ในสงครามเก้าทัพ เป็นหลัก ส่วนภาพอื่น ๆ ประกอบด้วยภาพการรบที่ท่าดินแดงและสามสบ เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๙ และภาพการทำสงครามกับญวนในสมัยรัชกาลที่ ๓ พ.ศ.๒๓๗๖ - ๒๓๙๐

            กลุ่มภาพที่ ๙  การรอดพ้นจากการล่าอาณานิคม
            มีภาพเรือรบฝรั่งเศสปิดปากแม่น้ำเจ้าพระยา ร.ศ.๑๑๒ เป็นหลัก ส่วนภาพอื่น ๆ ประกอบด้วยภาพการค้าโดยเรือสำเภา ภาพความเป็นอยู่ของคนไทยในสมัยรัชกาลที่ ๓ และภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับคู่กับพระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ ๒ แห่งรัสเซีย

            กลุ่มภาพที่ ๑๐  การเข้าสู่ยุคใหม่
            มีภาพพระราชกรณียกิจ และโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เป็นหลัก ส่วนภาพอื่น ๆ ประกอบด้วยภาพพระราชกรณียกิจของรัชกาลที่ ๕ - รัชกาลที่ ๘
                รัชกาลที่ ๕  ภาพการเลิกทาส การตอกหมุดรางรถไฟเป็นปฐมฤกษ์ ณ สถานีรถไฟหัวลำโพง  และภาพสภาอุณาโลมแดง
                รัชกาลที่ ๖  ภาพการจัดตั้งกองเสือป่าและลูกเสือ และการเดินสวนสนามฉลองชัยชนะของกองทหารอาสาผ่านประตูชัย ณ กรุงปารีส ในสงครามโลกครั้งที่ ๑
                รัชกาลที่ ๗  ภาพการพระราชทานรัฐธรรมนูญ
                รัชกาลที่ ๘  ภาพการเสด็จพระราชดำเนินเยือนสำเพ็ง
ภูมิสถาปัตยกรรมและพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง

            เป็นการจัดและตกแต่งพื้นที่บริเวณภายนอกอาคารอนุเสาวรีย์ทหาริ ให้สวยงามและเหมาะสม โดยแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนภูมิสถาปัตยกรรมและส่วนพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง
                ๑.  ส่วนภูมิสถาปัตยกรรม   ประกอบด้วย
                    ๑.๑  รั้ว  อยู่ทางถนนวิภาวดีรังสิต ด้านถนนพหลโยธิน และด้านที่ติดกับที่ดินของเอกชน
                    ๑.๒  ประตู  มีทั้งหมด ๔ ประตู ด้านถนนวิภาวดีรังสิต ๒ ประตู และด้านถนนพหลโยธิน ๒ ประตู ลักษณะบานประตูเป็นโลหะอัลลอยด์โปร่งรูปอาวุธโบราณ และธงสามชาย
                    ๑.๓  ป้ายชื่อ  มี ๒ ป้าย อยู่กึ่งกลางรั้วด้านถนนวิภาวดีรังสิต และถนนพหลโยธิน  จารึกคำว่า "อนุเสาวรีย์ทหาริ" ด้านล่างเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษสูง ๒๐ เซนติเมตร จารึกคำว่า  "National Memorial"
                    ๑.๔  ป้อมยาม มีทั้งหมด ๔ ป้อม อยู่ทางด้านซ้ายของทางเข้า - ออก ทั้ง ๔ ด้าน
                    ๑.๕  สวนพักผ่อน
                    ๑.๖  สวนอนุเสาวรีย์ทหาริ
                    ๑.๗  พื้นที่อเนกประสงค์
                ๒.  ส่วนพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง   เป็นพื้นที่จังหวัดแสดงวัตถุพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งขนาดใหญ่ ประกอบด้วย
                    ๒.๑  รถสะเทินน้ำสะเทินบก (LVT)
                    ๒.๒  รถถังแบบ ๘๓ (Light tant Type ๙๕ HA - GO)
                    ๒.๓  เครื่องบิน บ.จฝ.๑๓ (T - 28 D)
                    ๒.๔  เรือยนต์เร็วตรวจการลำน้ำ (เรือ นปข.)
                    ๒.๕  เฮลิคอปเตอร์แบบ ๑๓
                    ๒.๖  รถถังเบาแบบ ๗๗
                    ๒.๗  ปืนใหญ่ภูเขาแบบ ๖๓
                    ๒.๘  ปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง ๑๐๕ มิลลิเมตร โบฟอร์ส อัตราจร
                    ๒.๙  สะพานเครื่องหนุนมั่น

| ย้อนกลับ | หน้าค่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์