ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > กรุงเทพ



กรุงเทพมหานคร

| วัดพระศรีรัตนศาสดาราม | หลักเมือง | เทพารักษ์ประจำพระนคร | กลองประจำพระนคร |
| ป้อมรอบกำแพง | ภูเขาทอง | เสาชิงช้า | ท้องสนามหลวง | พระบรมรูปทรงม้า |
| พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ | กระทรวงกลาโหม | ปืนใหญ่โบราณหน้ากระทรวงกลาโหม |

หอกลองและกลองประจำพระนคร
ในสมัยโบราณมีการใช้ประโยชน์จากกลองเป็นอย่างมาก ตั้งแต่ระดับกลุ่มชน ในฐานะเครื่องดนตรี กองทัพในฐานะกลองศึก และบ้านเมืองในฐานะที่ใช้ตีบอกสัญญาณต่าง ๆ ในความเป็นอยู่ประจำวัน แมัแต่วัดในพระพุทธศาสนา ก็ใช้ประโยชน์จากสัญญาณการตีกลอง ในการปฏิบัติสมณกิจประจำวัน
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีการสร้างหอกลองประจำเมือง โดยให้อยู่ในความควบคุมดูแลของกรมพระนครบาล ลักษณะของหอกลองเป็นหอสูงสามชั้น สร้างด้วยไม้ สูง ๑ เส้น ๑๐ วา หลังคาเป็นทรงยอดสูง แต่ละชั้นจะมีกลองอยู่ประจำชั้น ดังนี้
ชั้นบน เป็นที่ตั้งของกลองขนาดเล็ก มีชื่อว่า "มหาฤกษ์" ใช้ตีเมื่อมีข้าศึกเข้ามาประชิดพระนคร
ชั้นกลาง เป็นที่ตั้งของกลองขนาดกลาง มีชื่อว่า "พระมหาระงับดับเพลิง" ใช้ตีเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ เมื่อเกิดเหตุ เพลิงไหม้บริเวณรอบพระนคร จะตีกลองนี้ ๓ ครั้ง ถ้าเพลิงไหม้บริเวณเชิงกำแพงเมือง หรือบริเวณกำแพงเมือง จะตีกลองนี้ตลอดเวลา จนกว่าเพลิงจะดับ
ชั้นล่าง หรือเรียกอีกอย่างว่า ชั้นต้น จะเป็นที่ตั้งของกลองขนาดใหญ่ มีชื่อว่า "พระทิวาราตรี" ใช้ตีบอกเวลา เริ่มตั้งแต่ เวลาเช้า เวลาเที่ยง และเมื่อตะวันยอแสงเวลาพลบค่ำ นอกจากนั้นก็จะตีในโอกาสที่จะมีการประชุม เรียกว่า ย่ำสันนิบาต
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างหอกลองประจำเมือง  ขึ้นที่บริเวณใกล้คุกเก่าที่หับเผย ตรงข้ามกับวัดพระเชตุพน ปัจจุบันคือที่ตั้งกรมการรักษาดินแดน หอกลองมีลักษณะเช่นเดียวกับ สมัยกรุงศรีอยุธยา ยอดมณฑป ภายในประดิษฐานกลองขนาดใหญ่ ๓ ใบ
กลองย่ำพระสุริย์ศรี ขนาดกว้าง ๘๒ เซนติเมตร ยาว ๘๒ เซนติเมตร สำหรับตีบอกเวลา
กลองอัคคีพินาศ มีขนาดกว้าง ๖๐ เซนติเมตร ยาว ๖๑ เซนติเมตร สำหรับตีเมื่อเกิดเพลิงไหม้
กลองพิฆาตไพรี มีขนาดกว้าง ๔๔ เซนติเมตร ยาว ๔๖ เซนติเมตร สำหรับตีเมื่อเกิดศึกสงคราม


ป้อมรอบกำแพงกรุงเทพมหานคร 

ป้อมรอบกำแพงพระนครทั้ง ๑๔ ป้อม ส่วนใหญ่ได้รื้อออกไปหมดแล้ว คงเหลือเพียง ๒ ป้อม คือ ป้อมพระสุเมรุ และป้อมมหากาฬ มีชื่อและที่ตั้ง ดังต่อไปนี้ 
๑. ป้อมพระสุเมรุ  ตั้งอยู่ที่มุมกำแพงเมือง ด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ใต้ปากคลองบางลำภู ป้อมนี้ยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ และนับว่าเป็นป้อมที่สำคัญมากแห่งหนึ่ง 
๒.  ป้อมยุคนธร  ตั้งอยู่บนกำแพงเมืองด้านเหนือ บริเวณเหนือวัดบวรนิเวศ ฯ
๓.  ป้อมมหาปราบ  ตั้งอยู่บนกำแพงเมืองด้านเหนือ 
             ป้อมพระสุเมรุ         
๔.  ป้อมมหากาฬ  ตั้งอยู่บนกำแพงด้านตะวันออก ใต้ประตูพฤฒิมาศ บริเวณสะพานผ่านฟ้า ป้อมนี้อยู่ในสภาพ  สมบูรณ์ดีทุกประการ 
๕.  ป้อมหมูทลวง  ตั้งอยู่บนกำแพงด้านตะวันออก  ตรงหน้าเรือนจำพระนครเก่า 
๖.  ป้อมเสือทะยาน  ตั้งอยู่บนกำแพงเมืองด้านตะวันออก เหนือประตูสามยอด บริเวณสะพานเหล็กบน 
         ป้อมมหากาฬ         
๗.  ป้อมมหาไชย  ตั้งอยู่บนกำแพงเมืองด้านตะวันออก บริเวณหน้าวังบูรพาภิรมย์ 
๘.  ป้อมจักรเพชร  ตั้งอยู่ทางด้านใต้ เหนือปากคลองโอ่งอ่าง ใต้วัดราษฎร์บูรณะ (วัดเลียบ) เป็นป้อมสำคัญทางด้านใต้ 
๙.  ป้อมผีเสื้อ  ตั้งอยู่ทางด้านใต้ ตรงปากคลองตลาด 
๑๐. ป้อมมหาฤกษ์  ตั้งอยู่ทางด้านใต้ เหนือปากคลองตลาดขึ้นไป บริเวณโรงเรียนราชินีล่าง 
๑๑. ป้อมมหายักษ์  ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตก ตรงวัดพระเชตุพน 
๑๒. ป้อมพระจันทร์  ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตก ริมท่าพระจันทร์ ตรงมุมวัดมหาธาตุด้านตะวันตกเฉียงเหนือ 
๑๓. ป้อมพระอาทิตย์ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตก มุมพระราชวังบวร ฯ ตรงพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ 
๑๔. ป้อมอิสินธร  ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตก 
นอกจากนั้น ยังมีป้อมที่อยู่นอกกำแพงเมือง สร้างขึ้นภายหลังเมื่อได้ขุดคลองผดุงกรุงเกษมแล้ว บางป้อมอยู่ทาง 
ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีอยู่ ๗ ป้อมด้วยกัน คือ 
๑.  ป้อมปราบปัจจามิตร  อยู่ทางฝั่งตะวันตกของ แม่น้ำเจ้าพระยา ริมปากคลองสาน 
๒.  ป้อมปิดปัจจานึก  อยู่ริมปากคลองผดุงกรุงเกษม ทางด้านใต้ 
๓. ป้อมผลาญศัตรูราบ  อยู่ใต้วัดเทพศิรินทร์ ฯ ริมถนนพลับพลาไชย 
         ป้อมมหากาฬ         
๔. ป้อมปราบศัตรูพ่าย  อยู่ใต้ตลาดนางเลิ้ง ตรงหมู่บ้านญวน ข้างบริเวณวัดสมณานัมบริหาร 
๕.  ป้อมทำลายแรงปรปักษ์  อยู่เหนือวัดโสมนัสวิหาร 
๖.  ป้อมหักกำลังดัสกร  อยู่ปากคลองผดุงกรุงเกษม ด้านทิศเหนือ 
๗.  ป้อมวิชัยประสิทธิ์  อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ปากคลองบางกอกใหญ่ หรือคลองบางหลวง 


พระบรมบรรพต (ภูเขาทอง) วัดสระเกศ
 
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อให้มีชื่อเหมือน พระเจดีย์ภูเขาทองที่กรุงศรีอยุธยา เป็นภูเขาที่ก่อด้วยอิฐ  พระเจดีย์บนยอดภูเขาทอง สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ และทรงพระราชทาน นามว่า พระบรมบรรพต สร้างเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เป็นเจดีย์แบบกลม ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ  ที่ขุดพบที่เนินเจดีย์เมืองกบิลพัสดุ์ อุปราชประเทศอินเดีย ส่งมาทูลเกล้าถวายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เป็นเจดีย์แบบกลม ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ขุดพบที่เนินเจดีย์เมือง กบิลพัสดุ์ อุปราชประเทศ อินเดียวส่งมาทูลเกล้าถวาย เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๑  ภูเขาทองสูง ๑ เสัน ๑๙ วา ๒ ศอก  วัดโดยรอบได้ ๘ เส้น ๕ วา มีบันไดเวียน ขึ้น ๒ ทาง ได้มีการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๙  ในการนี้ได้ปูกระเบื้องโมเสก สีทองตลอดองค์เจดีย์ และสร้างพระเจดีย์ทิศขึ้นทั้ง ๔ มุม 


| วัดพระศรีรัตนศาสดาราม | หลักเมือง | เทพารักษ์ประจำพระนคร | กลองประจำพระนคร |
| ป้อมรอบกำแพง | ภูเขาทอง | เสาชิงช้า | ท้องสนามหลวง | พระบรมรูปทรงม้า |
| พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ | กระทรวงกลาโหม | ปืนใหญ่โบราณหน้ากระทรวงกลาโหม |



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์