ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > อยุธยา


| ย้อนกลับ |หน้าต่อไป |

ตุ๊กตาชาวบ้าน
ตุ๊กตาดินเหนียวเป็นของเล่นที่เด็กสมัยก่อนคุ้นเคยดังมีคำพังเพยว่า "อยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่น" แต่ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากยุคสมัยเปลี่ยนไป และตามท้องตลาดมีตุ๊กตาหลากสีที่ผลิตจากโรงงานให้ซื้อมากมาย ตุ๊กตาจิ๋วดินเหนียวนั้น ส่วนใหญ่ผู้ปั้นจะปั้นทั้งเป็นตัวเดียวและเป็นชุด โดยจะสะท้อนให้เห็นถึงชีวิตความเป็นอยู่ของชาวชนบทในแง่มุมต่าง ๆ เช่น ชุดชาวนา เด็กเลี้ยงควาย การละเล่นหัวล้านชนกัน บ่อนตีไก่ ชุดการละเล่นของเด็ก ตาแป๊ะขายก๋วยเตี๋ยวเรือ  ไปจนถึงชุดใหญ่อย่างตลาดน้ำที่มีทั้งเรือแพและเรือลำน้อย ๆ ขายสินค้านานาชนิด และอื่น ๆ อีกมาก

งอบกรุงเก่า
สิ่งที่พบเห็นกันมากในชนบท คือ ชาวนา ชาวไร่ และเหล่าพ่อค้าแม่ค้า มักชอบสวมงอบที่เราคุ้นเคย คือ งอบทรง "คุ้มเกล้า" จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมไทย งอบมีใช้กันแพร่หลายทั่วทุกภาค โดยจะมีรูปแบบและการเรียกชื่อ แตกต่างกันไปตามภาค เช่น ภาคเหนือและภาคอีสาน จะมีลักษณะโค้ง คล้ายกระทะคว่ำแต่ไม่ลึกนัก จะเรียกว่า "กุบ"งอบทางภาคตะวันออก อย่างจังหวัดตาก จะมีทรงกลมสูง  ส่วนงอบทางภาคใต้มียอดแหลม ทรงคล้ายหมวดกุ้ยเล้ยของจีน เรียกว่า "เปี้ยว" งอบที่ชาวไทยทุกภาคใช้กันอย่างแพร่หลายทำจากวัสดุท้องถิ่น ที่หาได้ไม่ยาก เช่น ใบลาน หรือใบจาก
แหล่งผลิตงอบที่มีชื่อเสียงของอยุธยาสมัยก่อน คือ บ้านโพธิ์ ในเขนอำเภอเสนา เรียกกันว่า "งอบทรงมอญ" ซึ่งมีรูปร่างสวยงามและเป็นที่นิยมของคนทั่วไป ปัจจุบันอำเภอที่นิยมผลิตกันมาก คือ อำเภอบางปะหันในหลายตำบล โดยการร่วมกันผลิตและถือเป็นอาชีพรองจากการทำนา และการผลิตนั้นจะแบ่งกันทำตามความถนัดของคนแต่ละท้องที่ เช่น ตำบลตาลเอนจะสานโครงงอบ ตำบลบ้านลี่สานรังงอบ  ส่วนตำบลบางนาร้าจะทำขั้นตอนสุดท้าย คือการกรุเย็บใบลาน เข้ากับโครงงอบ ติดรังงอบ และตกแต่งจนเสร็จสมบูรณ์ ส่วนแหล่งจำหน่ายใหญ่จะอยู่ที่ตลาดบางปะหัน รวมทั้งส่งไปจำหน่ายยังจังหวัดอื่น ๆ อีกด้วย

การปรุงเรือนไทย
อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้น นอกจากจะเป็นแหล่งผลิตงอบแล้ว ยังมีช่างฝีมือปลูกสร้าง เรือนทรงไทย ที่ถือเป็นเอกลักษณ์ไทยอย่างหนึ่ง สำหรับเรือนทรงไทย แม้จะมีขนาดใหญ่โตก็ตาม แต่ยังนับว่าเป็นงานหัตถกรรมชนิดหนึ่ง  เพราะเป็นการสร้างขึ้นจากฝีมือและภูมิปัญญาของคนไทย
การสร้างเรือนไทยนั้น ช่างต้องทราบขนาดของเรือนเสียก่อน  เนื่องจากการคำนวณขนาดและสัดส่วน ในการสร้างเรือนไทยเป็นสิ่งสำคัญมาก ด้วยช่างจะต้องทำเครื่องไม้ทุกตัวที่จะนำมาประกอบขึ้นเป็นตัวเรือนให้ครบเสียก่อน โดยแต่ละชิ้นต้องสัมพันธ์กันพอดี และขั้นตอนของการตระเตรียมส่วนต่าง ๆ นี้ ภาษาช่างเรียกว่า "ปรุงเรือน"  ซึ่งเมื่อนำส่วนต่าง ๆ  "คุม (ต่อเข้าด้วยกัน)" แล้วจึงจะเป็นเรือนที่สมบูรณ์

เทศกาลและประเพณี

ชาวอยุธยามีชีวิตที่ผูกพันกับท้องน้ำมาโดยตลอด ในอดีตจึงมีเทศกาลที่เป็นงานประเพณีมิได้ขาด และหน้าน้ำคือเดือน 11-12 (พฤศจิกายน-ธันวาคม) จะเป็นเวลาที่คึกคักมากที่สุด ด้วยมีน้ำและข้าวปลาอุดมสมบูรณ์ เช่น เทศกาลกฐิน งานไหว้พระหลังออกพรรษา รวมทั้งงานลอยกระทงอีกด้วย
นอกจากงานเทศกาลหน้าน้ำแล้ว ยังมีงานประเพณีในรอบปีที่สำคัญ ๆ เช่น งานประเพณีตรุษสงกรานต์เดือน 5 พิธีเวียนเทียนในวันมาฆบูชาและวิสาขบูชา งานเข้าพรรษา และงานสารท เป็นต้น ดังเพลงยาวไทยรบพม่า ของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวร ในรัชกาลที่ 1 ได้ทรงนิพนธ์ไว้ว่า "ทั้งพิธีปีเดือนทุกคืนวัน สารพันจะมีอยู่อัตรา ฤดูก็ได้เล่นเกษมสุข แสนสนุกทั่วเมืองหรรษา" หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาถูกพม่าทำลายจนสิ้น โบราณราชประเพณีต่าง ๆ จึงย้ายมาประกอบกันในกรุงรัตนโกสินทร์ แม้ปัจจุบันจะมีประเพณีเหลืออยู่ก็ไม่แตกต่างกว่าจังหวัดอื่น ๆ แต่ที่ยังสืบทอดกันมาคือ ประเพณีตามแบบจีน คือ ประเพณีทิ้งกระจาด ที่วัดพนัญเชิง

| ย้อนกลับ |หน้าต่อไป | บน |

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > อยุธยา

กรุงศรีอยุธยา ความเป็นอยู่ พุทธศาสนา การสงคราม การล่มสลาย ศิลปวัตถุ คนท้องถิ่น หัตถกรรม เทศกาลประเพณี มหรสพ พุทธปฏิมากร มรดกโลก
 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์