ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี



๓. ข้อพิจารณา
           ในชั้นต้น คลังสมอง วปอ. เพื่อสังคม กลุ่มป้องกันประเทศเห็นว่าปัญหาเรื่องปราสาทพระวิหารควรจะได้มีการแก้ปัญหาแบบองค์รวมในทุกมิติ จึงได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลตั้งแต่จุดกำเนิดของปัญหานี้ วิวัฒนาการของปัญหาตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันและแนวโน้มความน่าจะเป็นในอนาคต
           เมื่อเริ่มดำเนินงานโดยการประมวลข้อมูลจากทุกแหล่งทั้งในประเทศและต่างประเทศจึงได้พบว่าบรรดาข้อมูลต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในสื่อมวลชนทุกแขนง เอกสารจากนักวิชาการที่ศึกษาพิจารณาในเรื่องนี้ รวมทั้งเอกสารข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อนำมาประมวลดูแล้วพบว่ามีความไม่สมบูรณ์ในหลายประเด็น เช่น ตัดตอนมาเป็นส่วน ๆ ความคลาดเคลื่อนในวันเวลาและเหตุการณ์เป็นต้น เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวจึงได้พยายามหาต้นฉบับของเอกสารนั้น ๆ ในเรื่องที่สำคัญเช่น สนธิสัญญา ระหว่างสยามกับฝรั่งเศส ณ วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ร.ศ.๑๒๒ (พ.ศ.๒๔๔๗ ค.ศ.๑๙๐๔) สนธิสัญญาว่าด้วยปักปันเขตแดน ลง ๒๓ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๕ (พ.ศ.๒๔๕๐ ค.ศ.๑๙๐๗) คำตัดสินของศาลยุยติธรรมระหว่างประเทศกรณีปราสาทพระวิหาร เมื่อ ๑๕ มิ.ย.๐๕ หนังสือรายงานและโต้ตอบต่าง ๆ ของผู้ที่เกี่ยวข้องในครั้งนั้น บันทึกความเข้าใจระหว่างไทย - กัมพูชา ทำการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนไทย - กัมพูชา ลง ๑๔ มิ.ย.๔๓ คำแถลงการณ์ของกัมพูชา ไทย ยูเนสโก (Joint Communiqu? ) ลง ๒๒ พ.ค.๕๑ คณะกรรมการมรดกโลก ๒๐๐๗ - ๒๐๐๙ (World Heritage Committee 2007 - 2009 ) เกณฑ์การเลือกเพื่อขึ้นมรดกโลก (The Criteria for Selection ) อนุสัญญามรดกโลกยูเนสโก (UNECO World Heritage Convention ) ปี ค.ศ.๑๙๗๒ (พ.ศ.๒๕๑๕) ฯลฯ
           แต่เนื่องจากข้อมูลที่เกี่ยวข้องที่จะต้องนำมาพิจารณามีอยู่มากใช้เวลามากในการแสวงหาและประมวลผลข้อมูล แม้ว่าจะได้เพิ่มเวลาในการประชุมพิจารณาเป็นสองเท่าจากเวลาปกติแล้วก็ตาม เนื่องจากต้องรอเวลาในการเชิญวิทยากรที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงจากกรมแผนที่ทหาร กระทรวงการต่างประเทศ และคณะกรรมการมรดกโลกของไทย
           จากความตั้งใจเดิมที่จะศึกษาพิจารณาเพื่อแก้ปัญหาเรื่องปราสาทพระวิหารทั้งระบบแต่เนื่องจากปัจจัยเวลาไม่อำนวย เนื่องจากกัมพูชากับยูเนสโกจะต้องจัดประชุมกรรมการประสานงานนานาชาติ เพื่อพิทักษ์รักษาและพัฒนาปราสาทพระวิหารภายในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.๒๐๐๙ (พ.ศ.๒๕๕๒) ซึ่งในขั้นตอนนี้ประเทศไทยต้องแสดงจุดยืนเพื่อแก้ปัญหาอันจะเป็นโทษต่อประเทศไทยให้ทันเวลา ดังนั้นจึงต้องตัดตอนข้อพิจารณาปัญหาปราสาท พระวิหารทั้งหมดมาเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าตามกรอบเวลาดังกล่าวให้ทันเวลา เพื่อเป็นการสกัดกั้นไม่ให้ปัญหานี้ลุกลามบานปลายกลายเป็นเงื่อนตายที่แก้ไขได้ยากหรืออาจแก้ไขไม่ได้เลยในอนาคต
           ๓.๑ ปัญหาปราสาทพระวิหารเป็นปัญหาที่ยาวนานสลับซับซ้อนมาแต่เดิมและยังคงดำรงอยู่ตลอดมานั้น ตั้งแต่การตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เมื่อ ๑๓ มิ.ย.๐๕ ให้ปราสาทพระวิหารอยู่ในอาณาเขตภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา ( The Temple of Preach Vihear was situated in territory under the sovereignty of Cambodia ) ประเทศไทย โดยคณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการแก้ไขในห้วงเวลาต่าง ๆ มาตลอดระยะเวลาเกือบครึ่งศตวรรษแต่ยังไม่มีความก้าวหน้าเท่าที่ควร อันเนื่องมาจากคำพิพากษาที่ไม่ชัดเจนในเรื่องเขตแดนทำให้ประเทศไทยและประเทศกัมพูชาต่างตีความคำพิพากษาไปตามแนวทางของตนนับแต่นั้นจนถึงปัจจุบัน และต่อเนื่องไปในอนาคต
           ๓.๒ ปัญหาปราสาทพระวิหารทวีความซับซ้อนยิ่งขึ้นเมื่อกัมพูชาดำเนินการแต่ฝ่ายเดียวในการยื่นขอจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ในช่วงปี พ.ศ.๒๕๔๘ – ๒๕๔๙ โดยไม่ได้หารือใด ๆ กับไทย ทั้งที่ก่อนหน้านี้ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๖ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย – กัมพูชา มีมติให้ร่วมมือพัฒนาเขาพระวิหารและบูรณปฏิสังขรณ์ปราสาทพระวิหารร่วมกัน อย่างไรก็ตามกัมพูชาขอให้ความร่วมมือเริ่มดำเนินการหลังจากที่ได้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งฝ่ายไทยรับทราบโดยไม่ได้เฉลียวใจว่ากัมพูชาจะดำเนินการกุศโลบายในเรื่องนี้ อันเป็นโทษแก่ไทย โดยที่กัมพูชาได้แนบแผนที่ที่กำหนดเขตต่าง ๆ ในอาณาบริเวณปราสาทพระวิหาร ตามพระราชกฤษฎีกาของกัมพูชา ลงวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๔๙ และแผนที่แนบระบุว่าเป็นเส้นเขตแดนระหว่างประเทศล้ำเข้ามาในดินแดนที่ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิ์
           ๓.๓ เมื่อประเทศไทยได้รับทราบเรื่องนี้ จึงได้ดำเนินการทางการทูตต่อกัมพูชา ยูเนสโก และประเทศสมาชิกกรรมการมรดกโลกขอให้ไทยและกัมพูชานำปราสาทพระวิหารและโบรานสถานอื่น ๆ ที่เป็นส่วนประกอบในฝั่งไทยไปขึ้นทะเบียนมรดกโลกร่วมกันในลักษณะของการข้ามพรมแดน (Transboundary Nomination ) เพื่อความสมบูรณ์ของมรดกโลกแห่งนี้ ไทยได้เสนอเรื่องดังกล่าวในปี พ.ศ.๒๕๔๘ และปี พ.ศ.๒๕๕๐ แต่กัมพูชาไม่เห็นชอบด้วยแต่ในที่สุดที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ ๓๑ ที่เมือง ไครสต์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ ในปี พ.ศ.๒๔๕๐ ให้เลื่อนการพิจารณาการขึ้นทะเบียนของกัมพูชาออกไปและให้ไทยกับกัมพูชาร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด แต่ในที่สุดกัมพูชาก็สามารถขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเฉพาะตัวปราสาทเป็นมรดกโลกได้เมื่อ ๗ ก.ค.๕๑ ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ ๓๒ ที่เมืองควีเบก ประเทศแคนาดา หลังจากได้มีการลงนามในแถลงการณ์ร่วม (Joint Communiqu? ) ระหว่างไทย - กัมพูชา และยูเนสโก เมื่อ ๑๘ มิ.ย.๕๑ และได้การลงนามย่อกันไว้แล้วเมื่อ ๒๒ พ.ค.๕๑
           ๓.๔ การที่ปราสาทพระวิหารได้รับพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกได้เมื่อ ๗ ก.ค.๕๑ นั้น เป็นการดำเนินกุศโลบายที่ชาญฉลาดของฝ่ายกัมพูชาที่ดำเนินการมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน เพื่อขยายผลการเข้าครอบครองพื้นที่ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิซึ่งกันและกัน (Disputed Area ) อันเป็นผลเนื่องมาจากการพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศกรณีปราสาทพระวิหารเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๕ การขยายผลดังกล่าวนี้ก็โดยการอาศัยกลไกความเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมของปราสาทพระวิหาร ซึ่งจะต้องมีเขตคุ้มครอง (Core Zone ) เขตอนุรักษ์ (Buffer Zone ) และเขตพัฒนา ( Developing Zone ) ดังนั้นแม้ว่าฝ่ายกัมพูชาที่ขอขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท ( Core Zone ) จนทำให้ฝ่ายไทยหลงเข้าใจผิดคิดว่าตัวปราสาทที่กัมพูชาเสนอนั้นอยู่ในรกรอบพื้นที่ที่คณะรัฐมนตรีของไทยมีมติไว้ เมื่อ ๓ ก.ค.๐๕ ว่าเป็นพื้นที่ของตัวปราสาทตามคำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในครั้งนั้นเป็นการมองและวินิจฉัยปัญหานี้แบบตรงไปตรงมาไทยขาดความรู้เรื่องกลไกลของมรดกโลก และแม้แต่จะเฉลียวใจในคำแถลงการณ์ร่วมในข้อ ๒ ที่มีข้อความตอนหนึ่งว่า "ในชั้นนี้ไม่มีเขตอนุรักษ์ (Buffer Zone) ในพื้นที่ทางทิศตะวันตกและทิศเหนือของตัวปราสาท" ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวนั้นอยู่ในเขตที่ไทยอ้างสิทธิ์
           ๓.๕ ข้อมติ 32 COM 8 B.ADD2 ของคณะกรรมการมรดกโลกที่เมืองควีเบค ประเทศแคนาดา เมื่อ ๗ ก.ค.มีอยู่หลายข้อที่นำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นขั้นตอนอันเป็นโทษต่อประเทศไทยได้ ดังต่อไปนี้
                   ๓.๕.๑ ตามข้อ ๕ ได้กล่าวถึงแถลงการณ์ร่วม ลง ๑๘ มิ.ย.๕๑ โดยผู้แทนรัฐบาลกัมพูชาไทย ยูเนสโก รวมทั้งร่างแถลงการณ์ร่วม ลง ๒๒ พ.ค.๕๑ ไว้อย่างคลุมเครือ แต่ได้เน้นไว้ตอนท้ายว่ารัฐบาลไทยได้ตัดสินใจที่จะยกหรืองดเว้นผลของแถลงการณ์ร่วมนี้ไว้ก่อนตามมาตรการชั่วคราวของศาลปกครองของไทย จะเห็นว่าข้อความนี้ดูเสมือนว่าแถลงการณ์ร่วมนั้นไม่มีอะไรแล้ว แต่ถ้อยคำสำนวนที่ว่า "ยกหรืองดเว้นผลของแถลงการณ์ร่วมฉบับนี้ไว้ก่อน"นั้น คล้ายคลึงกับถ้อยคำสำนวนแถลงการณ์ร่วมข้อ ๒ ที่ว่า "ในชั้นนี้ไม่มีเขตอนุรักษ์ในพื้นที่ทางทิศตะวันตกและทิศเหนือของตัวปราสาท" ทำให้ผู้อ่านส่วนใหญ่มองข้ามไปว่าปัญหานี้จบไปแล้ว จึงไม่ต้องใส่ใจหรือทำอะไรต่อไปอีก แต่ความจริงแถลงการณ์ร่วมนี้ฝ่ายไทยควรจะต้องหาทางทำให้ยกเลิกไปโดยสิ้นเชิงอย่างเป็นรูปธรรมไม่ใช่ปล่อยไปโดยคิดว่าจบไปแล้วโดยปริยาย
                   ๓.๕.๒ ตามข้อ ๑๔ ได้กล่าวถึงการให้กัมพูชาร่วมกับยูเนสโกจัดประชุมคณะกรรมการประสานงานนานาชาติ เพื่อพิทักษ์รักษาทรัพย์สินนี้ ไม่ช้ากว่าเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ (ค.ศ.๒๐๐๙) โดยให้เชิญรัฐบาลไทยมาร่วมด้วยกับให้เชิญผู้มีหุ้นส่วนนานาชาติที่เหมาะสมไม่เกินเจ็ดรายมาตรวจสอบนโยบายทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องการพิทักษ์รักษาคุณค่า ฯ ของทรัพย์สินแห่งนี้ โดยให้สอดคล้องกับ"มาตรฐานการอนุรักษ์นานาชาติ" สาระในข้อนี้อ่านดูเผิน ๆ แล้วน่าจะเป็นคุณแก่ฝ่ายไทยในฐานะที่ไทยมีส่วนร่วมด้วย แต่ถ้ามองให้ลึกลงไปแล้วน่าจะเป็นโทษเสียมากกว่าเพราะเสียงข้างมากเป็นของกัมพูชา เนื่องจากกัมพูชาและยูเนสโกเป็นผู้เลือกผู้แทนของทั้งเจ็ดชาติดังกล่าวเมื่อมีมติในเรื่องใดการออกเสียงลงมติ ฝ่ายไทยจะอยู่ในเสียงข้างน้อยหรืออาจเป็นเสียงเดียวในเจ็ดเสียงก็ได้ นอกจากนั้นข้อความที่ว่า "มาตรฐานการอนุรักษ์นานาชาติ" ข้อความนี้จะไม่มีปัญหาใด ๆ ถ้ามรดกโลกแห่งนี้ไม่ตั้งอยู่บนจุดที่คาบเกี่ยวกับดินแดนของสองประเทศหรือถ้าอยู่และสองประเทศนั้นตกลงให้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกร่วมกัน แต่ในกรณีปราสาทพระวิหารไม่ได้เป็นเช่นนั้น ทั้งกรณีโอกาสที่จะบริหารจัดการพื้นที่ตามมาตรฐานอนุรักษ์นานาชาติก็จะต้องรุกล้ำเข้ามาในเขตของไทยดังจะเห็นได้ชัดเจนในมติข้อ ๑๕ ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป
                   ๓.๕.๓ ตามข้อ ๑๕ กัมพูชาต้องนำเสนอเอกสาร ๔ อย่างต่อศูนย์มรดกโลก ภายในวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ (ค.ศ.๒๐๑๐) มี ๓ ใน ๔ อย่างที่เป็นโทษแก่ประเทศไทยในลักษณะที่จะถูกรุกล้ำพื้นที่อ้างสิทธิของไทยบริเวณเขาพระวิหารอันเนื่องมาจากการเป็นมรดกโลกของปราสาทพระวิหารคือ
                            - "แผนที่กำหนดเส้นเขตกันชน (Buffer) ที่ได้ระบุไว้ใน RGPP " จะเห็นว่าเมื่อใดที่มีการกำหนดเขตกันชนเต็มรูปแบบอันเป็นมาตรฐานสากล เมื่อนั้นก็จะมีส่วนที่รุกล้ำเข้ามาในเขตของไทย
                            - แฟ้มนำเสนอมรดกโลกที่ปรับปรุงแล้วอันสะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการกำหนดขอบเขตทรัพย์สินแห่งนี้ " ขอบเขตดังกล่าวก็เป็นไปตามเขตต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งก็จะต้องล้ำเข้ามาในเขตแดนไทย
                            - คำยืนยันว่าเขตการบริหารจัดการของทรัพย์สินแห่งนี้...รวมทั้งเขตกันชนที่ระบุไว้ใน RGPP " เป็นการเน้นในสิ่งที่ได้กล่าวมาแล้วจะเห็นว่าขั้นตอนต่าง ๆ ในการดำเนินการไปตามลำดับล้วนเป็นโทษต่อไทยในอนาคตทั้งสิ้น จึงเป็นเรื่องที่ประเทศไทยจะต้องดำเนินการระงับยับยั้งไม่ให้แผนงานตามมติดังกล่าวเดินหน้าต่อไปได้อย่างทันท่วงที และด้วยมาตรการที่ให้ผลเป็นรูปธรรม
           ๓.๖ ในส่วนที่มติ 32 COM 8 B.ADD2 ให้คุณแก่ประเทศไทยก็มีอยู่หลายข้อ ควรที่ไทยจะนำมาใช้ขยายผลให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ได้แก่
                   ๓.๖.๑ ตามข้อ ๘ ที่ว่ายอมรับว่าประเทศไทยได้แสดงความปรารถนาครั้งแล้วครั้งเล่าที่จะมีส่วนร่วมในการเสนอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกปราสาทพระวิหารและบริเวณโดยรอบ ในประเด็นนี้สมควรที่ได้จะได้รีบดำเนินการให้เต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการและเสนอไปให้ทันเวลาในการประชุมครั้งต่อไปเพราะเท่าที่ไทยได้ส่งไปก่อนหน้านี้เป็นเพียงเอกสารที่จำเป็นและไม่เป็นทางการเท่านั้น
                   ๓.๖.๒ ตามข้อ ๙ ที่ว่า "รับทราบว่าทรัพย์สินที่เสนอขึ้นทะเบียนแห่งนี้ได้ถูกลดขนาดลงคงเหลือปราสาทพระวิหารเท่านั้น ไม่รวมบริเวณที่กว้างขวางอันมีหน้าผาและถ้ำ" มติข้อนี้ทำให้ลดคุณค่าแห่งความเป็นมรดกโลกของปราสาทพระวิหารลงไป ฝ่ายไทยจะต้องใช้มติข้อนี้เป็นข้อต่อรอง เพื่อให้ไทยได้ขึ้นทะเบียนองค์ประกอบอื่น ๆ ของปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ร่วมกับกัมพูชาในโอกาสต่อไป
                   ๓.๖.๓ ตามข้อ ๑๐ ที่ว่า "การวิจัยทางโบราณคดีกำลังดำเนินการอยู่ ซึ่งอาจจะเป็นผลให้มีการค้นพบใหม่ ๆที่สำคัญ ซึ่งอาจนำไปสู่การพิจารณาเสนอมรดกโลกในลักษณะข้ามพรมแดนแห่งใหม่" มติข้อนี้ช่วยเสริมสิ่งที่มีอยู่แล้วทางดินแดนไทยเช่น สถูปคู่ แหล่งตัดหิน สระตราว และภาพสลักนูนต่ำที่ผามออีแดง เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นองค์ประกอบของปราสาทพระวิหารทำให้ไทยมีน้ำหนักและโอกาสมากยิ่งขึ้นในการขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกับกัมพูชา
                   ๓.๖.๔ ตามข้อ ๑๑ ที่ว่า "คงจะเป็นที่พึงปรารถนาต่อไปในอนาคตที่จะนำคุณค่าที่สมบูรณ์และภูมิทัศน์รอบๆ มาบรรจุไว้ในการเสนอขึ้นทะเบียนมรดกโลกแห่งใหม่" มติข้อนี้เป็นการสรุปย้ำในข้อที่กล่าวนำมาแล้วทั้งสี่ข้อ ซึ่งฝ่ายไทยจะต้องนำมาขยายผลอย่างเข้มข้นจริงจัง โดยไม่ชักช้า
           ๓.๗ คำแถลงคัดค้านการขึ้นทะเบียนมรดกโลกปราสาทพระวิหารของ นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีต่างประเทศของไทย ต่อคณะกรรมการมรดกโลก เมื่อ ๘ ก.ค.๕๑ มีสาระที่ควรจะได้นำไปเป็นแนวทางปฏิบัติ ต่อไปอย่างเป็นรูปธรรมและทันเวลา ได้แก่
                   - นอกเหนือจากข้อขัดแย้งเรื่องพรมแดนที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขในพื้นที่รอบปราสาท พระวิหารแล้ว ข้อมติของคณะกรรมการมรดกโลกยังไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติ การกระทำหรือมาตรการและการดำเนินการใด ๆ ต่อจากนี้ไปไม่ว่าจะโดยกัมพูชาหรือฝ่ายที่สามอื่นใด ในพื้นที่ข้างเคียงปราสาท พระวิหารที่เป็นดินแดนไทยนั้น จะไม่สามารถดำเนินการได้จนกว่าจะได้รับความยินยอมของประเทศไทย ประเทศไทยยืนยันสิทธิทั้งหลายทั้งปวงของไทย ตามมาตร ๑๑ (๓) ของอนุสัญญาตุ้มครองมรดกโลก ค.ศ.๑๙๗๒ (พ.ศ.๒๕๑๕) ซึ่งกำหนดว่าการรวมเอาทรัพย์สินที่ตั้งอยู่ในดินแดนอธิปไตยหรือเขตอำนาจซึ่งอ้างสิทธิมากกว่าหนึ่งรัฐจะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของรัฐที่มีข้อพิพาท
                   - ประเทศไทยขอย้ำว่าการประท้วงและคัดค้านเอกสารทั้งปวงที่กัมพูชาได้ยื่นเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายงานทางเทคนิคของคณะผู้เชี่ยวชาญและรายงานความก้าวหน้าที่เต็มไปด้วยข้อบกพร่อง ประเทศไทยประสงค์ให้บันทึกแก่กรรมการมรดกโลกว่าแผนบริหารจัดการของปราสาทพระวิหารที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติจะไม่มีทางสมบูรณ์ได้หากปราศจากความร่วมมือจากประเทศไทย
                   - ประเทศไทยจำเป็นต้องคัดค้านข้อมติในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารตามที่กัมพูชาเสนอโดยฝ่ายเดียว เนื่องจากเป็นการขึ้นทะเบียนมรดกโลกที่ขาดความสมบูรณ์และไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์
                   - ประเทศไทยย้ำการสงวนสิทธิ์ต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในหนังสือลงวันที่ ๖ กรกฎาคม ๑๙๖๒ (พ.ศ.๒๕๐๕) โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยถึงรักษาการณ์เลขาธิการสหประชาชาติและยืนยันรักษาสิทธิของไทยว่าการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกจะไม่กระทบต่อสิทธิทั้งปวงของประเทศไทยเกี่ยวกับบูรณภาพแห่งดินแดนและอธิปไตย
           ๓.๘ คำแถลงของนายปองพล อดิเรกสาร ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยมรดกโลกของประเทศไทย ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ ๓๗ เรื่องการที่กัมพูชาเสนอขึ้นทะเบียนปราสาท พระวิหารเป็นมรดกโลก เมื่อ ๗ ก.ค.๕๑ ที่เมืองควิเบค ประเทศแคนาดา มีสาระที่ควรนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมในการดำเนินการต่อไป อย่างมีจุดมุ่งหมายและทันเวลา ได้แก่
                   - ปราสาทพระวิหารได้รับการยินยอมให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเป็นกรณีพิเศษ โดยใช้เกณฑ์ข้อที่ ๑ เพียงข้อเดียวเท่านั้น โดนปราศจากบริเวณกันชน (Buffer Zone ) ที่ถูกต้อง และปราศจากภูมิทัศน์บริเวณรอบด้านที่จำเป็น อันจะทำให้ปราสาทพระวิหารได้มีความสง่างาม และความสมบูรณ์ ดังที่ควรจะเป็นด้วยเหตุผลดังกล่าวเราไม่สามารถจะยอมรับการขึ้นทะเบียนฝ่ายเดียว โดยใช้เกณฑ์เพียงข้อเดียวของปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกได้
                   - เราขอประท้วงการใช้ผังภูมิศาสตร์หรือแผนที่ใด ๆ ของมรดกโลก ซึ่งอาจจะนำไปสู่ข้อขัดแย้งยิ่งขึ้น และอาจนำไปสู่เหตุการณ์ที่ไม่เป็นมิตรในอนาคต ระหว่างชุมชนที่อยู่รอบ ๆ บริเวณดังกล่าว
                   - การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร ควรจะได้มีการขยายในโอกาสต่อไป โดยมีความร่วมมือจากประเทศไทย และควรจะได้พัฒนาให้เป็นกรณีตัวอย่างในการเสนอมรดกโลกข้ามพรมแดน (Transboundary Nomination ) และแม้แต่การนำเสนอมรดกโลกประเภทผสมผสานวัฒนธรรมและธรรมชาติ ด้วยก็ได้
                   - คณะผู้แทนของคณะกรรมการมรดกโลกของไทยได้ยื่นเอกสารอย่างไม่เป็นทางการสำหรับการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกในลักษณะข้ามพรมแดน (Transboundary Nomination ) เพิ่มขึ้นให้กับศูนย์มรดกโลก เพื่อให้ข้อคิดและให้ความช่วยเหลือในอนาคต
           ๓.๙ จากเอกสารของ ศ.ดร.อดุล วิเชียรเจริญ อดีตประธานคณะกรรมการมรดกโลกของไทย ได้ให้ข้อมูลข้อพิจารณาและข้อเสนอแนะในเรื่องที่ควรจะได้ดำเนินการในเรื่องปราสาทพระวิหารในขั้นต่อไปคือ
                   - ทั้งยูเนสโกและคณะกรรมการมรดกโลกนานาชาติ ๒๑ ประเทศ ต่างก็เป็นองค์กรระหว่างประเทศแยกจากกัน ดังนั้นการเป็นภาคีสมาชิกยูเนสโกจึงไม่เป็นภาคีสมาชิกของอนุสัญญามรดกโลก แต่โดยที่คณะกรรมการมรดกโลกมีความเชื่อมโยงกับยูเนสโก โดยที่อนุสัญญามีข้อกำหนดให้ยูเนสโกจัดเจ้าหน้าที่ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการมรดกโลก ทำให้เกิดความสับสนโดยทั่วไปให้ดูเสมือนว่าคณะกรรมการมรดกโลกเป็นภาคส่วนของยูเนสโก
                   - ข้อกล่าวอ้างที่ว่าการขึ้นทะเบียนมรดกโลกของปราสาทพระวิหารไม่กระทบถึงอธิปไตยเหนือดินแดนไทย และอ้างว่ามีสถานภาพการถือครองตัวปราสาทของกัมพูชาเหมือนกับที่เป็นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๕ ที่ไทยมอบการถือครองปราสาทให้กัมพูชาตามคำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศและการขึ้นทะเบียนตัวปราสาท โดยกัมพูชาฝ่ายเดียวตามร่างข้อมติที่แคนาดา (ซึ่งยังจะต้องผ่านที่ประชุมอีกครั้งในวาระรับรองรายงานการประชุมวันสุดท้าย) โดยหลีกเลี่ยงไม่คำนึงถึงข้อบัญญัติของคณะกรรมการมรดกโลกที่กำหนดให้มีเขตกันชนและทำแผนจัดการ ซึ่งในกรณีนี้ของกัมพูชาจำเป็นต้องมีเขตกันชนรอบตัวปราสาททางด้านทิศตะวันตกและทิศเหนือเข้ามาในเขตไทยอย่างหลีกเลี่ยงมิได้เพราะข้อกำหนดดังกล่าวต้องมีเขตกันชน ปรากฏตามข้อบัญญัติ ๑๐๓ และ ๑๐๔ ของคณะกรรมการมรดกโลก ดังนั้นการให้ได้รับการขึ้นทะเบียนเสียชั้นหนึ่งก่อนและในขั้นต่อไปจึงจะทำแผนจัดการบริเวณพื้นที่เขตกันชน จากตัวปราสาทไปทางทิศตะวันตกและทิศเหนือซึ่งเป็นเขตของไทย ข้อความนี้มีความปรากฏอยู่แล้วในร่างมติข้อ ๑๕
                   - ตามร่างมติข้อ ๑๔ กำหนดให้กัมพูชาดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศ เพื่อให้ความคุ้มครองและพัฒนาแหล่งมรดกนี้ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.๒๐๐๙ (พ.ศ.๒๕๕๒) ประกอบด้วยรัฐบาลไทยและประเทศผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ ที่เหมาะสมอีกไม่เกิน ๗ ชาติ เพื่อทำการตรวจสอบสารัตถะเชิงนโยบายทั่วไป เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการอนุรักษ์ที่เป็นสากล ซึ่งก็จะพบว่าตัวปราสาทโดยลำพังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกได้และไม่เคยมีมรดกโลกแห่งใดเลยที่ใช้กลไกเช่นนี้เพื่อการอนุรักษ์การจะใช้กลไกนี้ต่อปราสาทพระวิหารจะยังผลให้ชาติอื่น ๆ อีก ๖ ชาติ เข้ามาแทรกแซงปกป้องกัมพูชา และกดดันประเทศไทย เพื่อใช้อธิปไตยเหนือดินแดนไทย ซึ่งจะต้องเป็นเขตกันชน ในการนี้จะต้องมีมาตรการทางกฎหมายและทางบริหารจัดการ ซึ่งกัมพูชาเป็นผู้กำหนดไว้ในแผนจัดการ ซึ่งถ้าไม่มีกลไกนี้ก็จะมีปฏิสัมพันธ์เฉพาะกัมพูชากับไทย ซึ่งจะต้องเจรจาตกลงกันเอง ประเทศไทยจึงตกอยู่ในฐานะที่จะต่อรองเพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติได้ดีกว่านี้อีก ๖ ประเทศมาร่วมด้วย
                   - จุดยืนเผชิญหน้าคณะกรรมการต่างชาติแทรกแซงเขตกันชนในเขตไทย ฝ่ายไทยจะต้องรีบดำเนินการทันที และประกาศให้คณะกรรมการมรดกโลก ยูเนสโก และทุกประเทศได้รับทราบเป็นทางการคือเขตกันชนจากตัวปราสาทด้านตะวันตกตลอดไปถึงด้านทิศเหนือ ซึ่งเป็นบริเวณในเขตประเทศไทยนั้นประเทศไทยจะให้จัดทำได้เท่าที่ไทยเห็นชอบด้วยเท่านั้น
                   - เมื่อได้ประกาศจุดยืนดังกล่าวแล้วหากต่อมาปรากฏชัดว่าคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลที่กัมพูชาจัดตั้งขึ้นภายใต้การอุปถัมภ์ของยูเนสโกยังคงดำเนินการเพื่อประโยชน์ของกัมพูชาจนถึงจุดที่ประเทศไทยควรต้องปฏิเสธอย่างแข็งกร้าวก็ถึงโอกาสอันเหมาะที่จะเสริมจุดยืนข้างต้น โดยประเทศไทยประกาศถอนการเป็นภาคีอนุสัญญา (Denunciation ) ตามบทบัญญัติข้อ ๓๕ แห่งอนุสัญญามรดกโลก ค.ศ.๑๙๗๒


 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์