ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี



ภูมิหลัง
           ปราสาทพระวิหารเป็นโบราณสถานที่เป็นปราสาทหินตามแบบศิลปะขอมตั้งอยู่บนยอดเขาพระวิหาร ในเทือกเขาพนมดงรัก บริเวณชายแดนไทย – กัมพูชา ตรงข้ามบ้านภูมิซรอล ตำบลบึงมะลู อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ตัวปราสาทเรียงเป็นชั้น ๆ เป็นทางยาวตามแนวทิศเหนือ – ใต้ เริ่มจากเชิงเขาด้านล่างทางทิศเหนือไปจนสุดยอดเขาซึ่งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล ๖๕๗ เมตร ถัดลงไปเป็นหน้าผาลงไปสู่พื้นที่ที่เรียกกันว่าเขมรต่ำอยู่ ในเขตอำเภอจอมกระสาน จังหวัดกำปงธม ประเทศกัมพูชา
           ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปราสาทพระวิหารสร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๖ เพื่อเป็น ศาสนสถานตามคติความเชื่อในศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกายที่นับถือพระศิวะ (อิศวร) เป็นเทพสูงสุด
           ปราสาทพระวิหารน่าจะถูกทิ้งร้างไปหลังปี พ.ศ.๑๙๗๔ เมื่อกองทัพกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยพระเจ้าสามพระยายกทัพมาตีกรุงศรียโสธรปุระ (นครวัด) นครธม ของกัมพูชาได้ จนถึงปี พ.ศ.๒๔๔๒ ที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพประสิทธิ์ประสงค์ได้ทรงไปพบปราสาทนี้ ในขณะที่พระองค์ทรงเป็นข้าหลวงต่างพระองค์ผู้สำเร็จราชการหัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกพระองค์ได้สลักข้อความไว้ที่ชะง่อนผาเป้ยตาดีว่า "๑๑๘ สรรพสิทธิ์" (๑๑๘ คือร.ศ.๑๑๘) เป็นเวลาก่อนการทำสัญญาปักปันเขตแดนไทยกับฝรั่งเศสในปี พ.ศ.๒๔๔๗ (ค.ศ.๑๙๐๔)
           จากการล่าอาณานิคมของฝรั่งเศสในภูมิภาคส่วนนี้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับไทยคือ ในปี พ.ศ.๒๔๑๐ ไทย (สยาม) จำต้องทำสนธิสัญญายอมยกกัมพูชาให้ฝรั่งเศสเป็นผู้อารักขายกเว้นเสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณ ยังเป็นของไทยต่อมาเมื่อเกิดกรณีพิพาทสยาม - ฝรั่งเศส ขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๓๖ ฝรั่งเศสส่งเรือปืนเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา และบังคับให้ไทย (สยาม) ยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส เป็นการเสียลาวและกัมพูชาให้ฝรั่งเศสในครั้งนั้น ต่อมาฝรั่งเศสได้ไปยึดจันทบุรีและตราดไว้เป็นเหตุให้ไทยต้องทำสนธิสัญญาในปี พ.ศ.๒๔๔๗ (ค.ศ.๑๙๐๔) ยกหลวงพระบางกับดินแดนภาคใต้ของเทือกเขาพนมดงรักให้ฝรั่งเศสเพื่อแลกกับจันทบุรีในสนธิสัญญาฉบับนี้ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งเขตแดนสยาม – ฝรั่งเศส ตามแนวเทือกเขาพนมดงรัก
           ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๕๐ (ค.ศ.๑๙๐๗) ไทย (สยาม) ได้ทำสนธิสัญญายกเสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณให้ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับเมืองด่านซ้าย ตราด และเกาะทั้งหลาย ซึ่งอยู่ใต้แหลมสิงห์ไปจนถึงเกาะกูด คืนมาเป็นของไทย ในกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศสในปี พ.ศ.๒๔๘๓ ก่อนสงครามมหาเอเซียบบูรพาในปี พ.ศ.๒๔๘๔ รัฐบาลไทยได้เข้ายึดดินแดนที่เคยเสียไปในรัชกาลที่ห้าคืนมาตามสนธิสัญญาโตเกียว แต่เมื่อสงครามมหาเอเซียบูรพายุติลงและญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงครามไทยต้องคืนดินแดนดังกล่าวให้ฝรั่งเศสอีกแต่ไทยยังคงครอบครองปราสาทพระวิหารอยู่และฝรั่งเศสได้ประท้วงในเรื่องนี้อยู่หลายครั้ง ในปี พ.ศ.๒๔๙๒ (ค.ศ.๑๙๔๙)
           กัมพูชาได้เอกราชโดยสมบูรณ์ในปี พ.ศ.๒๔๙๖ (ค.ศ.๑๙๕๓) ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๐ ประเทศไทยได้ตกลงจะเจรจาปัญหาเขตแดนกับกัมพูชา กัมพูชาได้ตอบรับว่าพร้อมที่จะเจรจา แต่ก็ไม่มีการเจรจากันแต่อย่างใด
           ในปี พ.ศ.๒๕๐๑ ชาวกัมพูชาได้ออกมาประท้วงเรื่องปราสาทพระวิหาร พระเจ้านโรดมสีหนุได้ทรงปราศรัยกับผู้ชุมนุม ได้กล่าวว่าไทยโกงเอาปราสาทพระวิหารของเขมรไป เขมรจึงควรทวงเอาคืนมา ต่อมาใน ๑๒ ก.ค.๐๑ พระเจ้านโรดมสีหนุเสด็จเยือนประเทศไทยเป็นการส่วนพระองค์ เพื่อสันถวไมตรี และกำหนดนัดหมายคณะกรรมการที่จะมาประชุมเรื่องปราสาทพระวิหาร ๑๑ ส.ค.๐๑ คณะผู้แทนกัมพูชาได้เดินทางมาเจรจาปัญหาเรื่องเขตแดนไทย – กัมพูชา ทั้งบริเวณเขาพระวิหารและดอนโตน แต่ไม่ประสบผลสำเร็จประชาชนชาวไทยได้ออกมาชุมนุมใน ๗ ก.ย.๐๑ ปราศรัยโจมตีรัฐบาลกัมพูชา
           ๒๔ พ.ย.๐๑ รัฐบาลกัมพูชาประกาศตัดสัมพันธ์ทางการทูตกับไทยครั้งแรกให้มีผลใน ๑ ธ.ค.๐๑ ประเทศพม่าเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ในกัมพูชา ประเทศไทยสั่งปิดพรมแดนด้านกัมพูชา ในการนี้ผู้แทนเลขาธิการสหประชาชาติได้เข้ามาสังเกตการณ์และไกล่เกลี่ยจนทั้งสองประเทศได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันขึ้นใหม่ในเดือนกุมพาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๒
           ๒ ต.ค.๐๒ กัมพูชาได้ยื่นฟ้องไทยต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศขอให้ศาลสั่งให้ประเทศไทยถอนกำลังทหารออกจากปราสาทพระวิหารและวินิจฉัยว่าปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา ฝ่ายไทยได้ตัดฟ้องโดยโต้แย้งเรื่องอำนาจศาล แต่ประเด็นดังกล่าวตกไปศาลจึงได้พิจารณาต่อถึงสนธิสัญญาและแผนที่แนบท้ายตลอดจนพฤติกรรมของฝ่ายไทยว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาไทยไม่เคยโต้แย้งแผนที่ที่ผิดพลาดและการใช้อำนาจอธิปไตยของฝรั่งเศสและกัมพูชาเหนือปราสาทพระวิหาร
           ๑๕ มิ.ย.๐๕ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้มีคำพิพากษาให้ปราสาทพระวิหารอยู่ในอธิปไตยของกัมพูชาประชาชนไทยทั่วไปได้ชุมนุมเดินขบวน เริ่มจากจังหวัดจันทุบรีเมื่อ ๑๙ มิ.ย.๐๕ และแพร่กระจายไปทั่วประเทศ
           ๓ ก.ค.๐๕ รัฐบาลไทยได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่สามจำยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาเนื่องจากตระหนักถึงกรณีในกฎบัตรสหประชาชาติของประเทศไทยและได้ส่งหนังสือแจ้งนายอูถั่น รักษาการเลขาธิการสหประชาชาติตั้งข้อสงวนของไทยในคดีดังกล่าวให้ทราบต่อมาคณะรัฐมนตรีได้กำหนดขอบเขตบริเวณปราสาทพระวิหารโดยกำหนดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ารอบปราสาทล้อมรั้วลวดหนามและทำป้ายบอกเขตบริเวณไทย – กัมพูชา
           หลังจากนั้นปราสาทพระวิหารได้มีการเปิดและปิดหลายครั้งและมีการผลัดเปลี่ยนกันครอบครองระหว่างเขมรแดงและรัฐบาลกัมพูชาเองทำให้การกำหนดเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ซึ่งต่างยึดถือหลักคนละหลักต้องค้างคาตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
           พ.ศ.๒๕๐๙ มีการปะทะกันระหว่างทหารไทยกับกัมพูชาตลอดแนวชายแดนเป็นเหตุให้รัฐบาลกัมพูชาได้ยื่นหนังสือถึงคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (United Nation Security Council : UNSC ) ต่อมาในปีเดียวกันได้มีการพยายามจากฝ่ายกัมพูชาขอให้ไทยสละสิทธิ์ที่สงวนไว้ตามหนังสือถึงเลขาธิการสหประชาชาติ ตามมาตรา ๖๑ ของธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ไทยไม่ยินยอมแต่ได้เสนอให้เป็นอธิปไตยร่วม (Condominium ) ระหว่างไทยกับกัมพูชา เพื่อให้ประชาชนทั้งสองประเทศไปปราสาทพระวิหารโดยเสรี
           พ.ศ.๒๕๑๓ มีการเปิดเขาพระวิหาร ให้นักท่องเที่ยวเข้าชม
           พ.ศ.๒๕๑๘ ปิดเขาพระวิหาร เนื่องจากเขมรแดงเข้ายึดอำนาจการปกครองกัมพูชา
           ๑๒ ก.ค.๒๕ เจ้านโรดมสีหนุ ให้สัมภาษณ์ นสพ. วิทยุ และโทรทัศน์ เนื่องในวันเฉลิมฉลองการจัดรัฐบาลผสมสามฝ่าย ที่โรงแรมเอราวัณ กรุงเทพ ฯ ว่า "หากรัฐบาลไทยจะรื้อฟื้นให้พิจารณาเรื่องเขาพระวิหารกันใหม่พระองค์ก็จะยอมพิจารณาด้วยเป็นอย่างดีและจะไม่ลืมบุญคุณของไทยที่ได้ช่วยเหลือเกื้อกูลต่อคนเขมร"
           ๘ เม.ย.๓๒ ในการประชุมคณะรัฐมนตรีที่จังหวัดขอนแก่นผู้แทนราษฎรภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้เสนอคณะรัฐมนตรีเรื่องการขออนุญาตกัมพูชาให้นักท่องเที่ยวเข้าชมเขาพระวิหารและตัวปราสาทเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ แต่การดำเนินการดังกล่าวยังไม่สามารถปฏิบัติได้แม้ทางรัฐบาลกัมพูชาจะเห็นด้วยและพร้อมที่จะเปิดปราสาทพระวิหารให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เนื่องจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยรายงานว่าบริเวณเขาพระวิหารยังไม่มีความปลอดภัยและยังมีปัญหาจากข้อขัดแย้งทางการเมืองของกัมพูชาสี่ฝ่าย
           ๙ ม.ค.๓๕ เปิดเขาพระวิหารให้นักท่องเที่ยวเข้าชมหลังจากรัฐบาลกัมพูชาภายใต้การนำของฝ่าย CPP ได้รับชัยชนะ
           ๗ ก.ค.๓๗ เขมรแดงได้ส่งกำลังเข้ายึดเขาพระวิหารทำให้ต้องปิดเขาพระวิหาร เนื่องจากมีการสู้รบ
           ๒๙ พ.ย.๓๙ คณะรัฐมนตรีมีมติให้บูรณะปรับปรุงทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๒๒๑ ตอน อำเภอ กันทรลักษ์ - เขาพระวิหาร
           ๒๐ - ๒๓ มี.ค.๔๐ ที่ประชุมคณะกรรมการร่วม (Joint Committee - JC) ไทย – กัมพูชา เห็นชอบในหลักการที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของไทยกับจังหวัดพระวิหารของกัมพูชาเมื่อสถานการณ์เอื้ออำนวย
           ๓๐ มี.ค.๔๑ หลังเขมรแดงบนเขาพระวิหารแปรพักตร์ร่วมกับรัฐบาลได้มีความพยายามเปิดเขาพระวิหารอีกครั้ง โดย กกล.สุรนารีกับภูมิภาคทหารที่ ๔ ของ กพช.มีการย้ายชุมชน กพช.จำนวน ๗๖ ครอบครัว ๓๕๐ คน จากบริเวณโดยรอบปราสาทลงมาอยู่บริเวณทางขึ้นปราสาทพระวิหาร มีการขยายชุมชนบริเวณทางขึ้นปราสาทเพิ่มมากขึ้นและเมื่อฝ่ายไทยจะสร้างอาคารสถานที่เพื่อแสดงสิทธิ์ในพื้นที่ดังกล่าว ฝ่าย กพช.ได้ห้ามมิให้มีการดำเนินการ
           ๒๔ ก.ค.๔๑ ผบ.กกล.สุรนารี และผู้บัญชาการกองกำลังฝ่าย CPP ในพื้นที่ ซึ่งได้รับมอบอำนาจจาก พล.อ.เตีย บันห์ รมว.กห.ได้เจรจาตกลงร่วมทดลองเปิดจุดผ่านแดน ณ เขาพระวิหาร โดยอนุญาตให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้ โดยฝ่ายกัมพูชาเก็บค่าผ่านแดนโดย กกล.สุรนารี ช่วยดำเนินการในเรื่องการเก็บกู้ระเบิด
           ๑ ส.ค.๔๑ ทดลองเปิดเขาพระวิหารเป็นแหล่งท่องเที่ยว แต่เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
           ๑๗ ก.ค.๔๑ ในการเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการของ นรม.ไทยกับกัมพูชาได้ตกลงในหลักการที่จะร่วมพัฒนาเขาพระวิหารให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความปลอดภัยและสะดวกต่อการเดินทางเข้าถึง โดยแบ่งผลประโยชน์ร่วมกัน
           พ.ศ.๒๕๔๒ มีการสร้างวัดบริเวณทางทิศตะวันตกของโคปุระหลังที่ ๑ อันเป็นส่วนหนึ่งของปราสาท พระวิหาร ห่างออกไปประมาณ ๓๐๐ เมตร เป็นบริเวณพื้นที่ที่ยังไม่มีความชัดเจนเรื่องเส้นเขตแดนฝ่ายไทยประท้วงแต่ฝ่ายกัมพูชาก็ไม่ได้หยุดดำเนินการ
           มีการพัฒนาเส้นทางจากบ้านโกมุยขึ้นสู่เขาพระวิหาร เส้นทางดังกล่าวได้ล้ำเข้ามายังพื้นที่ที่ขัดแย้งเรื่อง เขตแดน
           ๑๔. มิ.ย.๔๓ ได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย - กัมพูชา ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมไทย – กัมพูชา ทำการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนไทย – กัมพูชา การดำเนินการยังอยู่ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรีและต้องใช้ระยะเวลาอีกระยะหนึ่งกว่าจะถึงพื้นที่ปราสาทพระวิหาร ดังนั้นทางราชการไทยจึงยังยึดถือแนวเขตแดนไทยตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ.๒๕๐๕ เป็นหลัก
           ๑ ส.ค.๔๔ มีการประชุมระหว่างประเทศ จนท.กต.กับนายวาร์ คิม ฮง ผู้รับผิดชอบกิจการชายแดนของกัมพูชา เพื่อแก้ปัญหาหากกรณีฝ่ายไทยต้องการสร้างศาลาที่พักบริเวณสุดถนนลาดยางบริเวณทางขึ้นปราสาท พระวิหาร ผลการประชุมให้ฝ่ายไทยชะลอการสร้างไว้ก่อนและเสนอปัญหาต่อ กต.ต่อไป
           ๕ พ.ย.๔๔ ได้มีการประชุมหารือเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำเสียระหว่าง ผวจ.ศก. ผู้แทนฝ่ายไทยกับนายวาร์ คิม ฮง ที่ปรึกษารัฐบาลกัมพูชาแต่ผลการปฏิบัติไม่สามารถดำเนินการตามข้อตกลง
           ๑๔.ธ.ค.๔๔ ฉก.กรม ทพ.๒๓ ขออนุมัติระงับการให้ประชาชนเข้าชมปราสาทพระวิหารเป็นการชั่วคราวด้วยเหตุผลที่ประชาชนกัมพูชาบริเวณตลาดเชิงเขาพระวิหารได้มีการเพิ่มจำนวนขึ้นจากเดิมเป็นอย่างมากเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมจากน้ำเน่าเสียไหลลงสู่เขตไทยบริเวณสระตราวทำให้ราษฎรไทยไม่น้อยกว่า ๕ หมู่บ้านในเขต ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ได้รับความเดือดร้อน
           กลุ่มเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารและจัดการของกัมพูชาที่ประจำอยู่บนเขาพระวิหารจำนวนไม่น้อยกว่า ๖ กลุ่ม แต่ละกลุ่มไม่สามารถปกครองบังคับบัญชากันได้ต่างแสวงหาประโยชน์ทุกรูปแบบจากนักท่องเที่ยวจนส่งผลกระทบในเรื่องความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว
           ๑๗ ธ.ค. ๔๔ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชาและประธานคณะกรรมการเพื่อดูแลและพัฒนาการท่องเที่ยวปราสาทพระวิหาร (ฝ่ายกัมพูชา) ถูกปลดจากตำแหน่งเนื่องจากได้ลงนามในบันทึกการประชุมความร่วมมือในการพัฒนาเขาพระวิหารให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับนานาชาติ ระหว่างไทย - กัมพูชา เมื่อ ๑ มิ.ย.๔๔
           มิ.ย.๔๖ มีการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย – กัมพูชา ที่เมืองเสียมราฐและที่จังหวัดอุบลราชธานี ได้มีมติร่วมกันเป็นครั้งแรกให้มีความร่วมมือพัฒนาเขาพระวิหารและบูรณปฏิสังขรณ์ปราสาทพระวิหาร เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพและความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและยั่งยืนระหว่างสองประเทศเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของประชาชนไทยกับกัมพูชาในทุก ๆ ด้าน
           ๓๑ พ.ค.- ๑ มิ.ย.๔๖ ฝ่ายไทยโดย กกล.สุรนารี ได้ปิดจุดผ่านแดนเขาพระวิหาร เนื่องจากฝ่ายกัมพูชาไม่ยอมให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาน้ำเสียไหลลงแหล่งน้ำในฝั่งไทย
           ๓๑ พ.ค.๔๖ ที่ประชุม ครม.ร่วมไทย – กัมพูชา ที่เมืองเสียมราฐได้มีมติให้จัดตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อพัฒนาเขาพระวิหาร โดยฝ่ายไทยมี รมว.กต.เป็นประธาน ฝ่ายกัมพูชามี นายสก อาน รมว.อาวุโส ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา เป็นประธาน
           ๒๕ มี.ค.๔๗ เปิดเขาพระวิหารเป็นแหล่งท่องเที่ยว
           ๒๕ พ.ย.๔๗ คณะกรรมการเพื่อพัฒนาเขาพระวิหารได้จัดประชุมที่กรุงเทพ ฯ และได้ตกลงในหลักการเกี่ยวกับความร่วมมือพัฒนาร่วมเขาพระวิหาร โดยกัมพูชาเห็นชอบกับหลักการพื้นฐานในการพัฒนาร่วม เขาพระวิหารตามที่ได้หารือกับฝ่ายไทย และขอว่าความร่วมมือนี้ควรเริ่มดำเนินการหลังจากที่ปราสาทพระวิหารได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว
           ม.ค.๔๘ กระทรวงการต่างประเทศประท้วงกัมพูชากรณีการก่อตั้งชุมชนกัมพูชาบริเวณทางขึ้นปราสาทพระวิหารเพราะขัดข้อตกลงไทย - กัมพูชา ปี พ.ศ.๒๕๔๓ และก่อปัญหาสิ่งแวดล้อมและน้ำเสีย ซึ่งส่งผลกระทบต่อชุมชนไทย รวมทั้งได้ประท้วงการก่อสร้างที่ทำการของหน่วยงานท้องถิ่นกัมพูชาบริเวณดังกล่าวด้วย
           ๘ ม.ค.๔๘ กระทรวงการต่างประเทศประท้วงต่อกัมพูชาเกี่ยวกับการก่อสร้างพัฒนาถนนจากบ้านโกมุยขึ้นสู่ปราสาทพระวิหาร ซึ่งมีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศในพื้นที่ ซึ่งทั้งสองฝ่ายยังมีความเห็นต่างในเรื่องเขตแดน
           ๘ มี.ค.๔๘ กัมพูชายื่นเอกสารขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
           ๖ พ.ค.๔๘ นรม.(พ.ต.ท.ทักษิณ ฯ) ให้ฝ่ายไทยเตรียมประเด็นหารือกับกัมพูชาในการเคลื่อนย้ายชุมชนกัมพูชา และรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากพื้นที่บริเวณตลาดทางขึ้นปราสาทพระวิหาร เพื่อนำเข้าที่ประชุมหารือกับนายฮุนเซน นรม.กัมพูชา ใน ๑๓ - ๑๔ พ.ค.๔๘
           ๑๐ พ.ค.๔๘ ผบ.ทบ.ได้สั่งการในที่ประชุม ศปก.ทบ.เพื่อรองรับตามสั่งการของ นรม.ที่มีบัญชาให้ กต.เตรียมประเด็นหารือกับฝ่ายกัมพูชา เรื่องปัญหาเขตแดนบริเวณเขาพระวิหาร โดยขอให้ฝ่ายกัมพูชาเตรียมย้ายชุมชน รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและเส้นทางที่มีการก่อสร้างรุกล้ำเขตแดน และหากฝ่ายกัมพูชายังไม่ดำเนินการใด ๆ ฝ่ายไทยอาจใช้กำลังผลักดัน
           ๑๑ - ๑๖ พ.ค.๔๘ มีการเคลื่อนไหวเพิ่มเติมกำลังของทั้งสองฝ่าย โดยกัมพูชาได้ปิดประตูทางขึ้นปราสาทและอพยพครอบครัวของกำลังพลออกไปจากพื้นที่เดิม ๑๖๕ ครอบครัว คงเหลืออยู่ประมาณ ๒๐ ครอบครัว
           ๑๗ พ.ค.๔๘ ภาคทหารที่ ๔ ของกัมพูชา กับ กกล.สุรนารี มีการเจรจากัน แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ หลังจากนั้น รมว.กห. ของทั้งสองฝ่ายได้เจรจากัน เพื่อยุติการเผชิญหน้าด้วยกำลังและให้นำปัญหาเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการร่วมในระดับต่าง ๆ
           ๑๙ พ.ค.๔๘ ภาคทหารที่ ๔ ของกัมพูชากับ กกล.สุรนารี เจรจากันอีกครั้ง ผลการเจรจาให้คงความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยทหารตามแนวชายแดนให้เป็นปกติ หลีกเลี่ยงการใช้กำลังและอาวุธ ในส่วนของสิ่งปลูกสร้างบริเวณทางขึ้นปราสาทให้เป็นเรื่องของฝ่ายบ้านเมือง
           ๒๐ พ.ค.๔๘ กำลังของทั้งสองฝ่ายถอนตัวเข้าสู่ภาวะปกติและฝ่ายกัมพูชาเปิดประตูทางขึ้นปราสาท พระวิหารให้ประชาชนเข้าชมปราสาทพระวิหารได้ตามปรกติ


 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์