ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี



บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

            การศึกษาพิจารณาปัญหาเรื่องปราสาทพระวิหารนั้นจำเป็นต้องทราบข้อมูลและเหตุการณ์เกี่ยวข้องทั้งหมดตั้งแต่เริ่มต้นของเหตุการณ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๐ ที่ฝรั่งเศสเข้ามายึดครองอินโดจีน ซึ่งรวมทั้งกัมพูชาที่เป็นของไทยมาแต่เดิม หลังจากนั้นฝรั่งเศสก็ยึดครองส่วนที่เป็นประเทศกัมพูชาที่อยู่ติดกับประเทศไทยในปัจจุบันทางภาคตะวันออกไปถึงภาคอีสานใต้
           มูลเหตุของความขัดแย้งเกิดจากสนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ๒ ฉบับ ฉบับแรกในปี พ.ศ.๒๔๔๗ (ค.ศ.๑๙๐๔) ฉบับที่สองในปี พ.ศ.๒๔๕๐ (ค.ศ.๑๙๐๗) สนธิสัญญาฉบับหลังมีข้อความตอนหนึ่งในสนธิสัญญาว่า "ได้เขียนโครงวาดในแผนที่โดยประเมินไว้แบบหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นสนธิสัญญาด้วย" โครงวาดดังกล่าวที่เขียนไว้ในแผนที่มาตราส่วน ๑:๒๐๐,๐๐๐ ของฝรั่งเศสเป็นแนวเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาอันเป็นที่มาของปัญหานี้
           เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๒ กัมพูชาได้ยื่นฟ้องไทยต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศขอให้วินิจฉัยว่าปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา ศาล ฯ ได้มีคำพิพากษา เมื่อ๑๕ มิ.ย.๐๕ ให้ปราสาทพระวิหารอยู่ในอธิปไตยของกัมพูชาโดยไม่ได้ตัดสินเรื่องแนวพรมแดนไทยกับกัมพูชาตามที่กัมพูชาร้องขอมาเพิ่มเติมภายหลัง ประเทศไทยโดยคณะรัฐมนตรีได้กำหนดขอบเขตปราสาทพระวิหารคืนให้กัมพูชาและส่งหนังสือแจ้งเลขาธิการสหประชาชาติ เมื่อ ๑๓ ก.ค.๐๕ ว่าไทยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลฯแล้วและขอสงวนสิทธิ์ที่จะเรียกเอาปราสาทพระวิหารกลับคืนมา
           นับจากนั้นมาถึงปี พ.ศ.๒๕๔๘ เหตุการณ์เรื่องปราสาทพระวิหารระหว่างกัมพูชากับไทย ก็เกิดมีขึ้นเป็นระยะๆ แต่ไม่ได้มีนัยสำคัญมากนักข้อมูลทั้งหมดนี้จะมีรายละเอียดอยู่ในหัวข้อ ภูมิหลัง และ ข้อเท็จจริง ในข้อ ๒.๑ , ๒.๒ และ ๒.๓
           ปัญหาปราสาทพระวิหารได้เกิดมีความเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญขึ้นมาเมื่อระหว่าง ปี พ.ศ.๒๕๔๘ – ๒๕๔๙ เมื่อกัมพูชาได้เริ่มดำเนินการเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกและประเทศไทยได้ดำเนินการวางมาตรการป้องกันความเสียหายที่มีจะมาสู่ประเทศไทยจากกลไกของความเป็นมรดกโลก นับตั้งแต่การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ ๓๑ ที่เมืองไครสต์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๐ จนเป็นผลให้การดำเนินการของกัมพูชายังไม่เป็นผลจนนำมาสู่การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๑ ที่เมืองควีเบค ประเทศแคนาดา กัมพูชาจึงดำเนินการได้สำเร็จด้วยกุศโลบายที่ชาญฉลาดที่ฝ่ายไทยโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคาดคิดไม่ถึงถึงขั้นตอนที่กัมพูชาใช้กลไกของความเป็นมรดกโลกมาเป็นมาตรการบังคับเอาแก่ประเทศไทยในอนาคต รายละเอียดในขั้นตอนนี้มีอยู่ใน ข้อเท็จจริง ในข้อ ๒.๗, ๒.๘, ๒.๙ ,๒.๑๐ ๒.๑๑, ๒.๑๒ และใน ข้อพิจารณา
           สำหรับองค์ความรู้ประกอบการพิจารณาที่จำเป็นต้องมีเป็นพื้นฐานมีอยู่ในข้อเท็จจริงในข้อ ๒.๔, ๒.๕, ๒.๖, ๒.๗, ๒.๘ และ ๒.๙
           ข้อเสนอแนะได้มาจากการพิจารณาข้อมูลและข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องและนำมาสู่ข้อสรุปว่าฝ่ายกัมพูชาอาศัยกลไกการขึ้นทะเบียนพระวิหารเป็นมรดกโลก เพื่อเข้าครอบครองพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิอันเป็นผลมาจากการพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรณีปราสาทพระวิหาร ซึ่งมีความกำกวมในเรื่องเขตแดน
           สำหรับการป้องกันการขยายผลของกัมพูชานั้นมีอยู่หลายประการด้วยกันรายละเอียดมีอยู่ในข้อเสนอ ในข้อ ๔.๑ - ๔.๘ โดยสรุปดังนี้
           ปัญหาปราสาทพระวิหารมีความเป็นมาที่ยาวนานและสลับซับซ้อนมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันมาโดยตลอด การพิจารณาปัญหานี้โดยเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งแล้วนำมาสู่ข้อเสนอแนะนั้นมีโอกาสผิดพลาดได้มาก กัมพูชาได้ใช้กลไกการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกแต่ฝ่ายเดียวมาขยายผลเข้าครอบครองพื้นที่ในเขตของไทย และพื้นที่ที่ยังมีปัญหาอ้างสิทธิ์ระหว่างกัมพูชากับไทย ประเทศไทยต้องดำเนินการแก้ไขโดยสะกัดกั้นกลไกนี้ไว้ให้ทันท่วงทีในทุกขั้นตอนของเรื่องนี้โดยทำหนังสือไปยังคณะกรรมการมรดกโลก ยูเนสโก และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าการดำเนินการดังกล่าวนี้เป็นการรุกล้ำเข้ามาในเขตแดนไทยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลไทยเท่านั้น หรือมิฉะนั้นก็จะต้องยินยอมให้ส่วนประกอบอื่น ๆ ของปราสาทพระวิหารที่อยู่ในเขตแดนของไทยได้รับดารพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกันกับตัวปราสาทพระวิหารที่ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกโลกไปแล้ว อันเป็นลักษณะของการเป็นมรดกโลกแบบข้ามพรมแดน ( Transboundary Nomination ) ระหว่างไทยกับกัมพูชา


 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์