dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ           เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  

พระเนื้อดิน  พระเนื้อชิน  พระเนื้อผง  พระกรุเนื้อดิน  พระกรุเนื้อชิน  พระกรุเนื้อผง  พระปิดตา  พระเหรียญ  พระเหรียญหล่อ  พระประกวด
พระพุทธชินราช  พระกริ่ง พระชัยวัฒน์  พระรูปหล่อ  พระผงสุริยัน- จันทรา  จตุคามรามเทพ  เครื่องราง - รูปถ่าย - ล็อคเกต
พระรอด.คอม ดูพระแท้

   
หน้าแรกดูเอเซีย.คอม
รถตู้เชียงใหม่
กล้องวงจรปิด

หวยงวดล่าสุด!!


 
Loading...

ดูพระแท้
รถตู้เชียงใหม่

เว็บบอร์ดพระเครื่องเมืองไทย

หลวงพ่อแก้ววัดเครือวัลย์ ชลบุรี
หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม
หลวงพ่อกกล่อมวัดโพธาวาส
หลวงพ่อแก้ววัดพวงมาลัย
หลวงพ่อเกษม เขมโก
หลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง
หลวงพ่อก๋ง วัดเขาสมอคอน
หลวงพ่อกวยวัดโฆสิตาราม
พระอุปัชฌากรัก วัดอัมพวัน
หลวงพ่อกึ๋น วัดดอน
หลวงปู่กลีบ วัดตลิ่งชัน
พระครูนิสิตคุณากร (กัน)
หลวงพ่อเกิด วัดบางเดื่อ
หลวงปู่แก้ว วัดช่องลม
หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน
หลวงปู่ไข่วัดบางเลน
หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ
หลวงปู่เขียว วัดหรงบล
หลวงพ่อเขียน วัดสำนักขุนเณร
หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกองเพล
หลวงปู่ขาว วัดหลักสี่
หลวงปู่ขำ วัดแก้ว
หลวงพ่อขำ วัดปราสาทนิกร
พระสมุห์ขิง วัดกลาง
พระอุปัชฌาเข็ม วัดม่วง
หลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม
หลวงพ่อคง วัดซำป่างาม
หลวงพ่อครน วัดบางแซะ
หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่
หลวงพ่อคล้ายวัดสวนขัน
หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง
หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน
หลวงพ่อเงินวัดท้ายตลาด
หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
หลวงพ่อเงินวัดอินทรวิหาร
หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา
พระพุทธวิริยากร วัดสัตตนารท
หลวงปู่จีนวัดท่าลาด
หลวงปู่เจียมวัดกำแพง
สมเด็จพระญานวรเถร
สมเด็จ ม.ร.ว.เจริญอิศรางกูร
หลวงปู่จันทร์วัดนางหนู
หลวงปู่จัน วัดโมลี
หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง
หลวงปู่จันทร์ วัดศรีเทพ
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
หลวงพ่อจั่น วัดบางมอญ
หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ
พระญานไตรโลก(ฉาย)
หลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม
หลวงพ่อแฉ่ง วัดศรีรัตนาราม
หลวงพ่อฉ่ำ วัดท้องคุ้ง
หลวงปู่ชา วัดหนองป่าพง
หลวงพ่อช้าง วัดเขียนเขต
หลวงปู่ช่วง วัดบางแพรกใต้
หลวงพ่อช่วง วัดปากน้ำ
หลวงปู่ชอบ วัดป่าสัมมนานุสรณ์
กรมหลวงชินวร สิริวัฒน์
กรมหลวงวชิรญานวงค์ วัดบวรฯ
พระสังวรานุวงค์เถร(ชุ่ม) (พลับ)
พระอธิการชู วัดนาคปรก
หลวงพ่อเชย วัดเจษฎาราม
หลวงพ่อเชย วัดท่าควาย
หลวงพ่อเชิดวัดลาดบัวขาว
หลวงพ่อเชื้อ วัดใหม่บำเพ็ญบุญ
หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง
หลวงพ่อแช่ม วัดนวลนรดิศวรวิหาร
หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม
หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง
หลวงพ่อโขติ วัดตะโน
พระธรรมวโรดม วัดพระปฐมเจดีย์
หลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว
พระครูเนกขัมมาภิมณฑ์ วัดปากสะ
หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว
หลวงพ่อดี วัดบ้านยาง
หลวงพ่อดี วัดเหนือ
หลวงปู่ดุลย์ วัดบูรพาราม
หลวงปู่ดู วัดสะแก
หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ
หลวงพ่อแดง วัดศรีมหาโพธิ์
หลวงพ่อแดง วัดแหลมสอ
หลวงพ่อแดง วัดเชิงเขา
พระครูธรรมมิสรานุวัฒน์
หลวงพ่อดำ วัดมุจลินทวาปีวิหาร
หลวงพ่อตาด วัดบางวันทอง
หลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง
พระอาจารย์ตื้อ วัดป่าอรัญญญวิเวก
หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)
พระศรีวิสุทธิดิลก(โต)
พระศรีวิสุทธิดิลก(โต)
หลวงพ่อเต๊ วัดสามง่าม
สมเด็จพระพุฒาจารย์ ทัด วัดระฆัง
หลวงพ่อทบ วัดช้างเผือก
หลวงพ่อทับ วัดอนงคาราม
หลวงพ่อทัพ วัดทอง
หลวงปู่ทวด วัดช้างให้
หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน
หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่
หลวงปู่ทิม วัดช้างให้
หลวงพ่อทา วัดพะนียงแตก
หลวงพ่อเทศน์ วัดพิชิตติดถาราม
หลวงปู่เทียน วัดโบสถ์
หลวงพ่อนนท์ วัดหนองโพธ์
พระยานรัตน์ราชมานิต
สมเด็จพุฒาจารย์ (นวม)
หลวงพ่อนอ วัดกลาง
อาจารย์นอง วัดทรายขาว
หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง
หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา
หลวงพ่อน้อย วัดส้มเสี้ยว
หลวงปู่นาค วัดหัวหิน
หลวงปู่นาค วัดระฆังโฆษิตาราม
หลวงพ่อนาค วัดอรุณฯ (แจ้ง)
หลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้
อาจารย์นำ วัดดอนศาลา
หลวงพ่อนุ่ม วัดนางในธัมมิการาม
หลวงพ่อท่านนุ้ย วัดอัมพาราม
หลวงพ่อเนียม วัดน้อย
หลวงพ่อเนียม วัดเสาธงทอง
หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี
หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน
พระวินัยธร (บัว) วัดกลาง
พระอุปัชญาย์บ่าย วัดช่องลม
หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว
หลวงพ่อบุญมี วัดเขาสมอคอน
หลวงบุตร วัดใหญ่บางปลากด
หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว
หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
หลวงพ่อปานวัดมงคลโคธาวาส
หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก
หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้
หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
หลวงพ่อไป๋ วัดท่าหลวง
หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง
เจ้าคุณผล วัดหนัง
หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคิรีเขต
หลวงพ่อเผือก วัดกิ่งแก้ว
พระครูพร วัดดอนเมือง
หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค
หลวงพ่อพริ้ง วัดแจ้ง
หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก
หลวงพ่อพวง วัดหนองกระโน
หลวงพ่อพัฒน์ วัดใหม่พัฒนาราม
หลวงพ่อพัว วัดจันทร์ประดิษฐาราม
หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง
หลวงพ่อพุก วัดพระยาทำ
หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่
หลวงปู่เพิ่มวัดกลางบางแก้ว
หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
หลวงพ่อเผือก วัดโมลี
หลวงพ่อเพชร วัเวชิรปรดิษฐ์
หลวงพ่อเพชร วัดอัมพวัน
หลวงพ่อผึ้ง วัดรางบัว
หลวงพ่อภักกตร์ วัดบึงทองหลาง
หลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร
พระอาจารย์ ฝั้น วัดป่าอุดมสมพร
หลวงพ่อเภาวัดถ้ำตะโก
หลวงพ่อม่วง วัดบ้านทวน
ท่านเจ้ามา วัดสามปลื้ม
หลวงพ่อมาก วัดโตนด
หลวงพ่อมิ่ง วัดกก
หลวงพ่อบุญมี วัดอ่างแก้ว
หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่
หลวงพ่อมุ้ย วัดท้าวอู่ทอง
หลวงปู่เหมือน วัดนาวง
หลวงปู่เหมือน วัดกลางเหนือ
หลวงพ่อโม วัดไตรมิตรฯ
หลวงพ่อโม้วัดสน
หลวงพ่อยอดวัดหนองปลาหมอ
หลวงปู่ยิ้ม วัดศรีอุปลาราม
หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก
หลวงพ่อแย้ม วัดด่านสำโรง
หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ
ครูบาศรีวิชัย วัดบ้านปาง
หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย
หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ
หลวงพ่อสาย วัด อินทราราม
หลวงปู่สุข วัดโพธิ์ทรายทอง
หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตคาม
หลวงพ่อเสน วัดบางโพ
พระครูจันทรสรคุณ วัดเสมาใหญ่
หลวงพ่อห่วง วัดท่าใน
หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง
หลวงปู่สี วัดสะแก
หลวงพ่อห้อง วัดช่องลม
หลวงพ่ออ่ำ วัดชีปะบาว
หลวงพ่ออินทร์ วัดสัตตนารถปริวัตร
หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ
หลวงพ่อเอี่ยม วัดสะพานสูง
หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร
พระอาจารย์เฮง ไพรวัลย์
หลวงพ่อเมี้ยน วัดคลองเตยใน
หลวงพ่อทิพย์ วัดโพธิ์ทอง
หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
หลวงพ่อโอภาสีอาศรมบางมด
หลวงพ่อคง วัดสรรพรส
พระเกจิอื่นๆ
จตุคามรามเทพ
พระกรุต่าง
 

ประวัติ หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง

หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง

ประวัติ พระราชสังวรอุดม หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง
ประวัติหลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง พระป่าสายกรรมฐานที่น่ากราบไหว้ พระราชสังวรอุดม (หลวงปู่ศรี มหาวีโรวัดประชาคมวนาราม (ป่ากุง)อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด
พระราชสังวรอุดม (หลวงปู่ศรี มหาวีโร) วัดประชาคมวนาราม (ป่ากุง) อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด เดิมชื่อ ศรี เกิดในสกุล ปักกะสีนัง เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๔๖๐ ตรงกับวันศุกร์ เดือนหก ปีมะเมีย ที่บ้านขามป้อม อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม โยมบิดาชื่อ อ่อนสี โยมมารดาชื่อ ทุม ช่วงปฐมวัย ท่านเข้าศึกษาที่โรงเรียนประชาบาล วัดบ้านขามป้อม จบชั้นประถมปีที่ ๖ จากนั้นได้ไปเรียนต่อที่โรงเรียนสารคามพิทยาคม จ.มหาสารคาม จนจบชั้นมัธยมปีที่ ๓ เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๐ ต่อมาท่านได้เข้ารับราชการเป็นครูอยู่ระยะหนึ่ง จึงได้บรรพชาอุปสมบท เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๘ ณ พัทธสีมาวัดราษฎร์รังสรรค์ บ้านป่ายาง จ.ร้อยเอ็ด  โดยมี พระโพธิญาณมุนี (ดำ โพธิญาโณ) เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด (ธรรมยุต) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนา เป็นภาษามคธว่า "มหาวีโร"

 พรรษาแรก ท่านได้ศึกษาปฏิบัติธรรมอยู่กับ พระอาจารย์คูณ อุตตโม วัดประชาบำรุง จ.มหาสารคาม ปีต่อมา ท่านได้จาริกไปจำพรรษาที่วัดป่าแสนสำราญ จ.อุบลราชธานี  และมีโอกาสศึกษาปฏิบัติธรรม เจริญวิปัสสนา กับ พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ซึ่งเป็นศิษย์สำคัญของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

พระปิดตามีโชคมีลาภ ยันต์ หลวงปู่ศรี มหาวีโร รุ่นแรก
พระปิดตามีโชคมีลาภ ยันต์ หลวงปู่ศรี มหาวีโร รุ่นแรก

 เมื่อออกพรรษาแล้ว หลวงปู่ศรี มหาวีโร ท่านจาริกแสวงธรรม ไปตามป่าตามเขาต่างๆ ซึ่งเป็นสัปปายะสถาน ที่พ่อแม่ครูอาจารย์พระอาจารย์มั่น พระอาจารย์เสาร์ เคยธุดงค์จาริกมาก่อนหน้านี้ เป็นแหล่งเจริญธรรม ที่ผู้กล้าแห่งกองทัพธรรมได้มาประพฤติธรรม บำเพ็ญเพียร ด้วยเป็นสถานที่อยู่ไกลจากชุมชน ขาดแคลนขัดสนในปัจจัยสี่ แต่มีภูมิทัศน์ที่เหมาะแก่การพัฒนาภูมิธรรมสัมมาปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง 

 ต่อมา หลวงปู่ศรี มหาวีโร ท่านได้ไปจำพรรษาที่วัดบ้านนาแก จ.นครพนม ซึ่งสมัยนั้นยังเป็นดินแดนที่คุกรุ่นไปด้วยสถานการณ์แห่งความขัดแย้ง ด้านอุดมการณ์ทางการเมือง และสังคม แต่ท่านก็อยู่ด้วยความราบรื่น ปราศจากอันตราย จนกระทั่งออกพรรษา ท่านได้จาริกไปยัง จ.สกลนคร จ.อุดรธานี ซึ่งเป็นการเดินตามทางรอยธรรมของพ่อแม่ครูอาจารย์ คือ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระบุพพาจารย์ใหญ่ ด้านวิปัสสนากรรมฐาน

พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ณ วัดผาน้ำทิพย์
พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ณ วัดผาน้ำทิพย์

 จนถึงช่วงที่พระอาจารย์มั่น ล่วงสู่ปัจฉิมวัย พำนักอยู่ที่สำนักป่าบ้านหนองผือ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ท่านได้ขออนุญาตพำนักจำพรรษา และศึกษาธรรมกับพระอาจารย์มั่น ด้วยนับเป็นโอกาสอันเป็นมหามงคลในชีวิตบรรพชิต ที่มีโอกาสศึกษาธรรม และอุปัฏฐากพระบุพพาจารย์ใหญ่ รวมทั้งมีโอกาสเจริญธรรม กับสหธรรมิกร่วมสำนัก ร่วมครูอาจารย์เดียวกัน

 หลวงปู่ศรีมีโอกาสได้ถวายการปฏิบัติจนถึงวาระสุดท้าย เมื่อพระอาจารย์มั่นถึงแก่มรณภาพ ก็ได้ถวายสักการะสรีระพระอาจารย์มั่นเป็นครั้งสุดท้าย ในงานฌาปนกิจที่วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร หลังจากนั้นพระราชสังวรอุดม ท่านได้จาริกไปจำพรรษาตามวัดต่างๆ หลายแห่ง จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๙๖ ท่านได้มายัง วัดป่ากุง ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ สร้างมาประมาณ ๑๗๐ ปี ท่านได้เป็นผู้นำคณะศรัทธาญาติโยมในการพัฒนา วัดป่ากุง จากสภาพวัดเก่าอันโรยร้าง ให้เจริญเรืองรุ่งขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งเป็น วัดประชาคมวนาราม ที่งามสง่า เป็นศาสนสถานอันไพศาล สำหรับชาวพุทธผู้ศรัทธาเลื่อมใสในพระศาสนา

 หลวงปู่ศรี ได้จำพรรษาที่ วัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๗ เป็นต้นมา จนถึงทุกวันนี้ ด้วยความเอาใจใส่เป็นธุระในทุกกิจการงานของพระศาสนาอย่างตั้งใจ จริงจัง และมั่นคง  สิ่งที่เป็นผลงานอันยิ่งใหญ่อลังการของ หลวงปู่ศรี มหาวีโร คือ การก่อสร้าง พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ณ วัดผาน้ำทิพย์ อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด ซึ่งนับเป็นผลานิสงส์แห่งแรงศรัทธาของชาวพุทธ ต่อพระบวรพุทธศาสนา ต่อพระสุปฏิปันโน ต่อบารมีธรรมในหลวงปู่อย่างแท้จริง อีกทั้งยังเป็นการจรรโลงพระพุทธศาสนา สืบสานศิลปวัฒนธรรม งานพุทธศิลป์ ให้สถิตสถาพรสืบไป

รูปหลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง
รูปหลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง

 พระมหาเจดีย์ชัยมงคล มีรูปแบบอันวิจิตรงดงามยิ่ง เป็นศิลปะผสมความยิ่งใหญ่ของ พระปฐมเจดีย์ กับความโอฬารของ พระธาตุพนม กลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ประดิษฐานตระหง่านตระการตา ด้วยศิลปกรรม อันล้ำเลิศ ด้วยฝีมือลูกหลานไทย เป็นนฤมิตกรรมแห่งยุคสมัย ที่จะเป็นปูชนียสถานสำคัญของคนไทยทั่วประเทศ และของโลกวัฒนา สืบต่อไปภายภาคหน้า

 ทุกวัน...ในยามเช้า จะมีคณะศรัทธาชาวบ้านทั้งใกล้และไกล จากหลายถิ่น มารวมกันที่หน้า วัดประชาคมวนาราม เพื่อเตรียมถวายภัตตาหาร บิณฑบาตพระคุณเจ้า และจะเป็นโอกาสที่พุทธศาสนิกชนจะได้กราบไหว้ขอพร หลวงปู่ศรี มหาวีโร อย่างใกล้ชิด ซึ่งท่านได้เมตตาโดยเสมอหน้า ถ้วนทั่วทุกๆ  คน

 การบิณฑบาต เป็นธุดงควัตรที่พระกรรมฐานประพฤติปฏิบัติอยู่เป็นประจำสำหรับ หลวงปู่ศรี ท่านจะตื่นแต่ดึก ออกเดินไปรอบๆ วัด จนถึงเวลาบิณฑบาต พระราชสังวรอุดม ท่านจึงเป็นผู้มีสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรง แม้จะมีอายุถึง ๙๒ ปีแล้วก็ตาม

 หลวงปู่ศรี จึงนับเป็นพระวิปัสนาจารย์กรรมฐาน ที่มีความสามารถอย่างสูงในการแจกแจงแสดงธรรม พระราชสังวรอุดม เป็นพระเถราจารย์ผู้เปี่ยมด้วยพรหมวิหารธรรม เป็นเนื้อนาบุญอันยิ่งใหญ่ ของพระพุทธศาสนา เป็นพระป่า พระกรรมฐาน ที่มีศิษยานุศิษย์ให้ความเคารพศรัทธาอย่างมหาศาล เป็นสมณะผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบที่น่ากราบไหว้สักการะเป็นอย่างยิ่ง

พระเครื่อง หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง
พระเครื่อง หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง

 ในส่วนของพระเครื่องวัตถุมงคล หลวงปู่ศรี มหาวีโร พระราชสังวรอุดมได้มีคณะศิษย์สร้างถวายท่านอยู่เสมอ เพื่อขอบารมีให้ท่านแผ่เมตตาอธิษฐานจิตเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผู้นำไป สักการบูชา มีหลากหลายรุ่นด้วยกัน และเมื่อปีที่ผ่านมา (๒๕๕๑) ได้มีคณะศิษยานุศิษย์ จัดสร้าง พระปิดตามีโชคมีลาภยันต์ หลวงปู่ศรี มหาวีโร รุ่นแรก ประกอบด้วยเนื้อทองคำ เงิน นวโลหะแก่เงิน สัมฤทธิ์ ทองแดง และชนิดเป็นช่อ (หลายองค์) พร้อมกับ รูปเหมือนปั๊ม รุ่นแรก ประกอบด้วยเนื้อทองคำ เงิน ทองแดง ทองเหลือง และชินตะกั่ว
0 บุญนำพา 0 ที่มา...คมชัดลึก

หลวงปู่ศรีละสังขารแล้ว
หลวงปู่ศรี มหาวีโร (พระเทพวิสุทธิมงคล) วัดประชาคมวนาราม (ป่ากุง) อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุงท่านละสังขารด้วยอาการสงบ วันนี้ 16 สิงหาคม 2554 เมื่อเวลา 05.33 น. สิริอายุ 94ปี 3เดือน 13วัน พรรษา65

Untitled Document


บทความพระเครื่อง ตำนาน เรื่องเล่า


พระขุนแผนมหาจินดามณี รุ่นมหาจินดามณี พ.ศ. ๒๕๕๐
“ไจยะเบงชร” (ชินบัญชรล้านนา)
ตำนานการเกิดพระบรมสารีริกธาตุ
พระบรมสารีริกธาตุของพระอดีตพุทธเจ้า
เรื่องจริงที่ไม่ใช่ตำนานของพญานาค
หลวงปู่ชื่น ติคญาโณ เทพเจ้าแห่งความเมตตา และโชคลาภ
เรื่องจริงไม่อิงนิยาย ของขุนช้าง-ขุนแผน
ประวัติ หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง
ปัจจัยประกอบของราคาพระมีอะไรบ้าง
ร้านพระเครื่องออนไลน์ ให้เช่าพระเครื่อง สะดวกปลอดภัยหรือไม่
หลวงปู่ทวด ภ.ป.ร. พระดีน่าสะสม โดยพุทธสมาคม
พระเครื่องล้านนา รวมพระล้านนาที่นิยมโดยเฉพาะ พระกรุล้านนา
พระเครื่อง เหรียญหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ ราคาสูงมาก
ข้อมูลพระเครื่อง สำหรับผู้นิยมสะสมพระ
พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี
เหรียญมหาลาภ หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค จ.นครสวรรค์
เหรียญหลวงพ่อหรุ่น เก้ายอด วัดอัมพวัน
เหรียญหลวงปู่จันทร์ วัดศรีเทพ รุ่นแรก ปี 2500
พระบูชาหลวงพ่อโสธร ปี 2497

โหราศาสตร์ไทย

** เว็บไซต์dooasia:พระเครื่องจัดทำขึ้นด้วยศรัทธา ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อการค้าหรือหากำไร เราทำเพื่อให้ประชาชนได้ศึกษาหาความรู้ **
 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
1.หนังสือ สารานุกรม พระคณาจารย์ยอดนิยม พร้อมการสร้างวัตถุมงคล โดยสำนักพิมพ์คเณพรศ์
2.หนังสือปทานุกรม พระรอด โดย ศ.อรรคเดช กฤณะดิลก
3.หนังสือปทานุกรมพระนางพญา พระนางพญา โดย ศ.อรรคเดช กฤษณะดิลก
4.หนังสือเหรียญหล่อยอดนิยม โดยศึกษาและสะสม ฉบับพิเศษ
5.หนังสือจตุคามรามเทพ 2530-2549 โดย นายพงษ์ภักดี พัฒนกุล
6.หนังสือจตุคามรามเทพ 1 โดยคุณวัชรพงศ์ ระดมสิทธิพัฒน์(อุ๊ กรุงสยาม)
7.หนังสือ จตุคามรามเทพยอดนิยม โดยคุณเขมณัฐ์ หล่อศรีสกุล
8.หนังสือจตุคามรามเทพ โดยคุณณัฐธยาน์ หล่อศรีศุภชัย
9.หนังสือ พระปิดตามหามงคล โดยทีมงานพระเครื่องพระพุทธบาท
10.หนังสือ พระเครื่องล้ำค่า (พระประกวด ปี 2548)

Copyright 2010 © สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์ www.dooasia.com/Prathai