dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ           เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  

พระเนื้อดิน  พระเนื้อชิน  พระเนื้อผง  พระกรุเนื้อดิน  พระกรุเนื้อชิน  พระกรุเนื้อผง  พระปิดตา  พระเหรียญ  พระเหรียญหล่อ  พระประกวด
พระพุทธชินราช  พระกริ่ง พระชัยวัฒน์  พระรูปหล่อ  พระผงสุริยัน- จันทรา  จตุคามรามเทพ  เครื่องราง - รูปถ่าย - ล็อคเกต
พระรอด.คอม ดูพระแท้

   
หน้าแรกดูเอเซีย.คอม
รถตู้เชียงใหม่
กล้องวงจรปิด

หวยงวดล่าสุด!!


 
Loading...

ดูพระแท้
รถตู้เชียงใหม่

เว็บบอร์ดพระเครื่องเมืองไทย

หลวงพ่อแก้ววัดเครือวัลย์ ชลบุรี
หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม
หลวงพ่อกกล่อมวัดโพธาวาส
หลวงพ่อแก้ววัดพวงมาลัย
หลวงพ่อเกษม เขมโก
หลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง
หลวงพ่อก๋ง วัดเขาสมอคอน
หลวงพ่อกวยวัดโฆสิตาราม
พระอุปัชฌากรัก วัดอัมพวัน
หลวงพ่อกึ๋น วัดดอน
หลวงปู่กลีบ วัดตลิ่งชัน
พระครูนิสิตคุณากร (กัน)
หลวงพ่อเกิด วัดบางเดื่อ
หลวงปู่แก้ว วัดช่องลม
หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน
หลวงปู่ไข่วัดบางเลน
หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ
หลวงปู่เขียว วัดหรงบล
หลวงพ่อเขียน วัดสำนักขุนเณร
หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกองเพล
หลวงปู่ขาว วัดหลักสี่
หลวงปู่ขำ วัดแก้ว
หลวงพ่อขำ วัดปราสาทนิกร
พระสมุห์ขิง วัดกลาง
พระอุปัชฌาเข็ม วัดม่วง
หลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม
หลวงพ่อคง วัดซำป่างาม
หลวงพ่อครน วัดบางแซะ
หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่
หลวงพ่อคล้ายวัดสวนขัน
หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง
หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน
หลวงพ่อเงินวัดท้ายตลาด
หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
หลวงพ่อเงินวัดอินทรวิหาร
หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา
พระพุทธวิริยากร วัดสัตตนารท
หลวงปู่จีนวัดท่าลาด
หลวงปู่เจียมวัดกำแพง
สมเด็จพระญานวรเถร
สมเด็จ ม.ร.ว.เจริญอิศรางกูร
หลวงปู่จันทร์วัดนางหนู
หลวงปู่จัน วัดโมลี
หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง
หลวงปู่จันทร์ วัดศรีเทพ
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
หลวงพ่อจั่น วัดบางมอญ
หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ
พระญานไตรโลก(ฉาย)
หลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม
หลวงพ่อแฉ่ง วัดศรีรัตนาราม
หลวงพ่อฉ่ำ วัดท้องคุ้ง
หลวงปู่ชา วัดหนองป่าพง
หลวงพ่อช้าง วัดเขียนเขต
หลวงปู่ช่วง วัดบางแพรกใต้
หลวงพ่อช่วง วัดปากน้ำ
หลวงปู่ชอบ วัดป่าสัมมนานุสรณ์
กรมหลวงชินวร สิริวัฒน์
กรมหลวงวชิรญานวงค์ วัดบวรฯ
พระสังวรานุวงค์เถร(ชุ่ม) (พลับ)
พระอธิการชู วัดนาคปรก
หลวงพ่อเชย วัดเจษฎาราม
หลวงพ่อเชย วัดท่าควาย
หลวงพ่อเชิดวัดลาดบัวขาว
หลวงพ่อเชื้อ วัดใหม่บำเพ็ญบุญ
หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง
หลวงพ่อแช่ม วัดนวลนรดิศวรวิหาร
หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม
หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง
หลวงพ่อโขติ วัดตะโน
พระธรรมวโรดม วัดพระปฐมเจดีย์
หลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว
พระครูเนกขัมมาภิมณฑ์ วัดปากสะ
หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว
หลวงพ่อดี วัดบ้านยาง
หลวงพ่อดี วัดเหนือ
หลวงปู่ดุลย์ วัดบูรพาราม
หลวงปู่ดู วัดสะแก
หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ
หลวงพ่อแดง วัดศรีมหาโพธิ์
หลวงพ่อแดง วัดแหลมสอ
หลวงพ่อแดง วัดเชิงเขา
พระครูธรรมมิสรานุวัฒน์
หลวงพ่อดำ วัดมุจลินทวาปีวิหาร
หลวงพ่อตาด วัดบางวันทอง
หลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง
พระอาจารย์ตื้อ วัดป่าอรัญญญวิเวก
หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)
พระศรีวิสุทธิดิลก(โต)
พระศรีวิสุทธิดิลก(โต)
หลวงพ่อเต๊ วัดสามง่าม
สมเด็จพระพุฒาจารย์ ทัด วัดระฆัง
หลวงพ่อทบ วัดช้างเผือก
หลวงพ่อทับ วัดอนงคาราม
หลวงพ่อทัพ วัดทอง
หลวงปู่ทวด วัดช้างให้
หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน
หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่
หลวงปู่ทิม วัดช้างให้
หลวงพ่อทา วัดพะนียงแตก
หลวงพ่อเทศน์ วัดพิชิตติดถาราม
หลวงปู่เทียน วัดโบสถ์
หลวงพ่อนนท์ วัดหนองโพธ์
พระยานรัตน์ราชมานิต
สมเด็จพุฒาจารย์ (นวม)
หลวงพ่อนอ วัดกลาง
อาจารย์นอง วัดทรายขาว
หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง
หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา
หลวงพ่อน้อย วัดส้มเสี้ยว
หลวงปู่นาค วัดหัวหิน
หลวงปู่นาค วัดระฆังโฆษิตาราม
หลวงพ่อนาค วัดอรุณฯ (แจ้ง)
หลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้
อาจารย์นำ วัดดอนศาลา
หลวงพ่อนุ่ม วัดนางในธัมมิการาม
หลวงพ่อท่านนุ้ย วัดอัมพาราม
หลวงพ่อเนียม วัดน้อย
หลวงพ่อเนียม วัดเสาธงทอง
หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี
หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน
พระวินัยธร (บัว) วัดกลาง
พระอุปัชญาย์บ่าย วัดช่องลม
หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว
หลวงพ่อบุญมี วัดเขาสมอคอน
หลวงบุตร วัดใหญ่บางปลากด
หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว
หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
หลวงพ่อปานวัดมงคลโคธาวาส
หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก
หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้
หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
หลวงพ่อไป๋ วัดท่าหลวง
หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง
เจ้าคุณผล วัดหนัง
หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคิรีเขต
หลวงพ่อเผือก วัดกิ่งแก้ว
พระครูพร วัดดอนเมือง
หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค
หลวงพ่อพริ้ง วัดแจ้ง
หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก
หลวงพ่อพวง วัดหนองกระโน
หลวงพ่อพัฒน์ วัดใหม่พัฒนาราม
หลวงพ่อพัว วัดจันทร์ประดิษฐาราม
หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง
หลวงพ่อพุก วัดพระยาทำ
หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่
หลวงปู่เพิ่มวัดกลางบางแก้ว
หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
หลวงพ่อเผือก วัดโมลี
หลวงพ่อเพชร วัเวชิรปรดิษฐ์
หลวงพ่อเพชร วัดอัมพวัน
หลวงพ่อผึ้ง วัดรางบัว
หลวงพ่อภักกตร์ วัดบึงทองหลาง
หลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร
พระอาจารย์ ฝั้น วัดป่าอุดมสมพร
หลวงพ่อเภาวัดถ้ำตะโก
หลวงพ่อม่วง วัดบ้านทวน
ท่านเจ้ามา วัดสามปลื้ม
หลวงพ่อมาก วัดโตนด
หลวงพ่อมิ่ง วัดกก
หลวงพ่อบุญมี วัดอ่างแก้ว
หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่
หลวงพ่อมุ้ย วัดท้าวอู่ทอง
หลวงปู่เหมือน วัดนาวง
หลวงปู่เหมือน วัดกลางเหนือ
หลวงพ่อโม วัดไตรมิตรฯ
หลวงพ่อโม้วัดสน
หลวงพ่อยอดวัดหนองปลาหมอ
หลวงปู่ยิ้ม วัดศรีอุปลาราม
หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก
หลวงพ่อแย้ม วัดด่านสำโรง
หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ
ครูบาศรีวิชัย วัดบ้านปาง
หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย
หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ
หลวงพ่อสาย วัด อินทราราม
หลวงปู่สุข วัดโพธิ์ทรายทอง
หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตคาม
หลวงพ่อเสน วัดบางโพ
พระครูจันทรสรคุณ วัดเสมาใหญ่
หลวงพ่อห่วง วัดท่าใน
หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง
หลวงปู่สี วัดสะแก
หลวงพ่อห้อง วัดช่องลม
หลวงพ่ออ่ำ วัดชีปะบาว
หลวงพ่ออินทร์ วัดสัตตนารถปริวัตร
หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ
หลวงพ่อเอี่ยม วัดสะพานสูง
หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร
พระอาจารย์เฮง ไพรวัลย์
หลวงพ่อเมี้ยน วัดคลองเตยใน
หลวงพ่อทิพย์ วัดโพธิ์ทอง
หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
หลวงพ่อโอภาสีอาศรมบางมด
หลวงพ่อคง วัดสรรพรส
พระเกจิอื่นๆ
จตุคามรามเทพ
พระกรุต่าง
 

หลวงปู่ชื่น ติคญาโณ เทพเจ้าแห่งความเมตตา และโชคลาภ

หลวงปู่ชื่น  ติคญาโณ

วัดตาอี อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์

“เทพเจ้าแห่งความเมตตา และโชคลาภ

ยอดพระเกจิอาจารย์นามกระเดื่อง เฟื่องฟุ้งไปทั่วทั้งแผ่นดินสยาม สุดยอดวิชาอาถรรพณ์ ผันแปรโลกธาตุ ให้สะท้านสะเทือนด้วยอำนาจของพระเวทย์อันสูงส่ง เข้มขลังสุดวิเศษยากที่จะเสมอเหมือน ขจัดสรรพทุกข์โศกโรคภัย ล้างเสนียดคุณไสย์ ทั้งมหาเสน่ห์ เมตตามหานิยม มหาโชค มหาลาภ ค้าขาย เจริญรุ่งเรือง คุ้มครองป้องกันภัย ขอน้อมเผยแพร่คุณครูอาจารย์ ให้แผ่ไพศาล ตลอดกาลเทอญ...”

 

           สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้เกิดกลียุคทั่วโลก ยิ่งประเทศเล็กประเทศน้อยได้รับผลกระทบมากที่สุด นอกจากข้าวยากหมากแพงแล้ว ประชาชนยังต้องรับกรรมหนักเพราะครอบครัวแตกสลายเนื่องจากความแร้นแค้นยากจนเป็นสาเหตุใหญ่

           ครอบครัวของหลวงปู่ชื่น  ติคญาโณ ซึ่งเป็นชาวกัมพูชาก็ได้รับความรุนแรงของไฟสงครามเช่นเดียวกัน ทำให้ญาติพี่น้องของหลวงปู่ชื่นลับหายตายจากไปหลายคน  ซึ่งประเทศกัมพูชาขณะนั้นร้อนระอุสุด ๆ จนดูโหดร้ายไปทุกอย่าง  ทำให้หลวงปู่ชื่นเกิดความเบื่อหน่ายจึงเดินธุดงค์เข้ามายังแผ่นดินไทยที่มีแต่ความสงบร่มเย็น

           “หลวงปู่ชื่น นามเดิมชื่อ ชื่น นามสกุล ศรีโสด เกิดเมื่อวันศุกร์ เดือน 11 ปีมะเมีย  ตรงกับปี พ.ศ. 2461  เกิดที่บ้านหินกอง อำเภอหินกอง จังหวัดสวายศรีโสพล  ประเทศกัมพูชา  โยมบิดาชื่อ นายชุบ โยมมารดาชื่อ พิม ศรีโสด  มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน คน คือ นายเรียว, นายโพธิ์, นายบุญ, นายเกิด, หลวงปู่ชื่น, นางยอด และนางยาว ครอบครัวมีอาชีพทำนาทำไร่ตามประสาชาวบ้านในชนบททั่วไปของชาวเขมร

           ชีวิตในวัยเยาว์ของหลวงปู่ชื่น นิสัยท่านเป็นคนใจบุญ มีความสุขุมลุ่มลึก  และมีใจโอบอ้อมอารีชอบเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง  ทั้งยังมีจิตใจเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาตั้งแต่เด็ก ๆ  พออายุได้ 15 ปี ได้ขอบิดามารดาบรรพชาเป็นสามเณร ซึ่งพ่อแม่ไม่ขัดข้อง ท่านจึงได้บวชเป็นสามเณร ณ วัดในหมู่บ้านเกิดของท่าน

           หลังจากบวชเณรได้ระยะหนึ่งพอถึงอายุ 20 ปี หลวงปู่ชื่นก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาโดยได้รับฉายาว่า “ติคญาโณ” เมื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุโดยสมบูรณ์แล้ว หลวงปู่ชื่นได้ศึกษาบทสวดมนต์และบทสวดปาติโมกข์ ซึ่งใช้เวลาเพียงหนึ่งพรรษาก็สวดพระปาติโมกข์ได้แล้ว นับว่าหาพระที่เก่งเช่นนี้น้อยมาก เพราะการท่องบทพระปาติโมกข์พระบางรูปต้องใช้เวลานานนับ ปี 10 ปี เนื่องจากเป็นบทสวดที่ยาวและยากที่สุดนั่นเอง

           “หลวงปู่ชื่นสอบนักธรรมชั้นตรีได้ในพรรษาที่ หลังจากนั้นท่านจึงออกเดินธุดงค์ปลงสังขารลัดเลาะไปตามป่าดงพงพี ข้ามเขาลงห้วยในดินแดนประเทศกัมพูชา ทำให้ท่านได้พบกับครูบาอาจารย์ที่เก่ง ๆ อยู่หลายรูป ซึ่งแต่ละอาจารย์ก็ได้ถ่ายทอดวิชาอาคมที่ตนมีอยู่ให้หลวงปู่ชื่นจนหมดสิ้น โดยเฉพาะฤๅษีที่บำเพ็ญพรตอยู่กลางป่าดงดิบได้ถ่ายทอดวิชาขั้นสุดยอดให้หลวงปู่ชื่น เพื่อให้นำไปช่วยเหลือศิษย์ต่อไปอีก”

           หลวงปู่ชื่นเป็นพระเถระที่มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย  มีศีลจารวัตรที่งดงาม  ชอบบำเพ็ญกุศลเพื่อเสริมสร้างบารมีให้แก่กล้าขึ้น ท่านจะตื่นตั้งแต่ตีสามทำวัตรสวดมนต์  และช่วงค่ำก็เช่นกันท่านจะสวดมนต์มิได้ขาด (นอกจากจะมีกิจนิมนต์และป่วยเท่านั้น)

           “หลวงปู่ชื่นชอบทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมเป็นที่สุด และให้ความเป็นธรรมแก่ศิษยานุศิษย์เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีของศิษย์ทั้งหลายอีกด้วย ท่านจึงเป็นที่รักเคารพของศิษย์และประชาชนทั่วไปเป็นจำนวนมากในขณะนี้”

ได้อาจารย์เก่งวิชาทุกด้าน

           หลวงปู่ชื่น ติคญาโณ เป็นศิษย์สาย “เขากุเลน” ซึ่งเป็นศูนย์รวมเวทวิทยาอาคมชั้นสูง ที่เป็นฉบับแท้ดั้งเดิมของเขมรโบราณ อาจารย์องค์แรกของท่านคือ “หลวงปู่เอื้อย และหลวงปู่ดี สุวรรณดี” สองปรมาจารย์ผู้มีพลังจิตอันลึกล้ำ ทั้งยังมีอิทธิฤทธิ์-ปาฏิหาริย์มากมายเป็นที่เลื่องลือกันมากในประเทศกัมพูชา

           หลวงปู่ชื่นได้มองเห็นกาลไกลไปข้างหน้าว่า “พรเวทวิทยาคม” ที่ท่านกำลังศึกษาอยู่นี้จะเป็นประโยชน์มากแก่การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ทั้งยังได้ช่วยเหลือสงเคราะห์ญาติโยมและผู้เดือดร้อนต่าง ๆ ในอนาคตภายหน้าแน่นอน ท่านจึงมุมานะพยายามขยันศึกษาเล่าเรียนวิชาอาคมจนสุดความสามารถ ตลอดจนศึกษาการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่งสมาธิควบคู่ไปด้วย เพื่อเพิ่มพูนพลังจิตให้แก่กล้าขึ้น

           “หลวงปู่ชื่นท่านเรียนกรรมฐานควบคู่ไปกับวิชาอาคมจนท่านเรียนรู้ได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว โดยมีการทดสอบจากผู้เป็นอาจารย์จนเป็นที่พอใจ โดยเฉพาะหลวงปู่เอื้อยท่านมีเมตตาถ่ายทอดวิชาและเคล็ดลับต่าง ๆ ให้หลวงปู่ชื่นจนหมดสิ้น  หลวงปู่เอื้อยท่านเป็นพระที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากในเขมร  ดังชนิดผู้หลักผู้ใหญ่ในเขมรขณะนั้นยังมอบตัวเป็นศิษย์หลายคน”  ในเวลาต่อมาเมื่อหลวงปู่เอื้อยมรณภาพลง หลวงปู่ชื่นจึงออกเดินธุดงค์บุกป่าฝ่าดงดิบในดินแดนเขมรเพื่อแสวงหาครูบาอาจารย์อีกมากมาย  จนกระทั่งท่านได้พบกับหลวงปู่ดี  สุวรรณดี  บน “เขากุเลน” ซึ่งท่านเป็นพระผู้มากด้วยอภิญญาญาณชั้นสูง  และเป็นผู้มีพลังจิตอันลึกล้ำมหัศจรรย์เหนือโลกโดยแท้

           ด้วยบุญญาบารมีของหลวงปู่ชื่น ติคญาโณ  ทำให้หลวงปู่ดีรับหลวงปู่ชื่นเป็นศิษย์แล้วจึงพากันออกเดินธุดงค์ไปด้วยกันตามสถานที่ต่าง ๆ “หลวงปู่ชื่นได้ศึกษากรรมฐานและเวทวิทยาคมกับธาตุทั้ง 4 ตลอดจนเกร็ดเคล็ดลับการสร้าง-การปลุกเสกวัตถุมงคล เครื่องรางต่าง ๆ มากมายจากหลวงปู่ดี ทำให้ท่านมีวิชาติดตัวมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้”

           หลวงปู่ชื่นได้เมตตาเล่าเรื่องราวและประสบการณ์ในการเดินธุดงค์ของท่านให้ฟังว่า “หลวงปู่ดีท่านนี้เก่งมาก ท่านเชี่ยวชาญพระเวทแทบทุกชนิด ท่านเคยเสกผ้าให้เป็นนกกระยางได้  และเสกใบไม้ให้เป็นต่อเป็นแตนได้  ทั้งยังรู้ภาษาสัตว์แทบทุกชนิด  โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านสามารถล่องหนหายตัวและย่นระยะทางได้  ตลอดจนท่านเดินบนผิวน้ำได้อย่างน่าอัศจรรย์อีกด้วย”  หลวงปู่ชื่นเล่าว่า หลวงปู่ดีท่านเคยแสดงให้ดูมาแล้ว  ท่านเห็นกับตามาแล้วจึงกล้ามาเล่าให้ฟัง  ท่านแสดงให้ดูก็เพื่อให้เป็นขวัญกำลังใจในการปฏิบัติธรรมสืบต่อกันไปนั่นเอง  “การเรียนวิชาอาคมจะมีฤทธิ์เข้มขลังได้  ต้องประกอบไปด้วยพลังจิตอันเป็นสมาธิแก่กล้าควบคู่กันไปด้วย” หลวงปู่ชื่นกล่าว

           หลวงปู่ชื่นเป็นพระที่คงแก่เรียนคือท่านชอบศึกษาค้นคว้าตำรับตำราและวิชาการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอักขระเลขยันต์  หรือวิชาอาคมอะไรท่านจะทดลองสร้างทดลองปลุกเสกอยู่เสมอ  เมื่อท่านลองแล้วเห็นว่าดีจริงและใช้ได้ผลดีจริงตามตำรา ท่านก็คัดวิชาวิเศษเหล่านั้นมาสร้างมาปลุกวัตถุมงคลให้บรรดาลูกศิษย์ และลูกหลานท่านให้ได้รับแต่สิ่งที่เป็นมงคลเป็นของวิเศษไว้บูชากัน  จากการคัดเลือกพิจารณาตรวจจากหลวงปู่ชื่นแล้วว่า “ดีจริง-เห็นผลจริง”จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่วัตถุมงคลของท่านมีประสบการณ์ต่อเนื่องเรื่อยมา จนเป็นที่กล่าวขานร่ำลือจากปากของผู้ที่บูชาวัตถุมงคลของหลวงปู่ชื่นว่ายอดเยี่ยมอยู่ในชณะนี้

           ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงขอนำท่านทั้งหลายได้รู้จักหลวงปู่ชื่น  เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้มีโอกาสรู้จักหลวงปู่ชื่นอย่างแจ่มแจ้งชัดเจน และใกล้ชิดหลวงปู่มากขึ้น เพราะลูกศิษย์บางคนอยู่ห่างไกลซึ่งยังไม่มีโอกาสเดินทางมากราบไหว้หลวงปู่  จะด้วยสาเหตุและปัจจัยใด ๆ ก็ตาม  ผู้เขียนขอเป็นสื่อ  ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อเป็นการหยั่งความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่ลูกศิษย์ที่มีความเคารพนับถือหลวงปู่  หรือท่านที่มีวัตถุมงคลของหลวงปู่ชื่นไว้แล้ว  ขอให้รู้ว่าเราทั้งหลายก็เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์องค์เดียวกัน  เพราะมีวัตถุมงคลที่มาจากการปลุกเสกจากหลวงปู่ด้วยกันทั้งนั้น  ทั้งนี้เพื่อช่วยจรรโลงเกียรติคุณของหลวงปู่ชื่นให้แพร่หลายขจรไป  ตลอดยั่งยืนนานต่อไปในภายภาคหน้านั่นเอง

 

พบสหธรรมิกเก่า

           หลังจากหลวงปู่ชื่นธุดงค์ไปในที่ต่าง ๆ มากมาย  จนกระทั่งท่านเดินทางไปจำพรรษาอยู่ที่วัดนาราก อำเภอครบุรี  จังหวัดนครราชสีมา ท่านอยู่ได้ 5พรรษาจึงได้เดินธุดงค์ต่อเรื่อยไปจวบจนอายุท่านมากขึ้น กำลังวังชาถดถอย ท่านจึงอยู่กับที่ระยะหนึ่ง ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2524 หลวงปู่ชื่นได้รับนิมนต์เดินทางไปปลุกเสกวัตถุมงคลที่วัดแห่งหนึ่งใน เขตจังหวัดบุรีรัมย์ งานนั้นหลวงปู่นิล อนุตโร เจ้าอาวาสวัดตาอีรูปปัจจุบันซึ่งเคยเป็น “สหธรรมิก” (เพื่อน) เก่าก่อนกันมาก็ได้รับนิมนต์จากทางเจ้าภาพให้เป็นพระคู่สวดเช่นกัน

           หลังจากพระทุกองค์เสด็จจากกิจนิมนต์แล้ว  ทางเจ้าภาพได้จัดถวายอาหารเพลให้ฉัน  หลวงปู่นิลกับหลวงปู่ชื่นนั่งฉันในวงเดียวกัน  หลวงปู่นิลหันมองพระที่นั่งอยู่ข้างตัว  ท่านคิดในใจว่าคล้ายเคยเห็นกันมาก่อน  แต่ท่านยังจำไม่ได้ว่าเคยเห็นกันที่ไหน เพราะความที่จากกันมานานหลายสิบปีทำให้ท่านทั้งสองแทบจำกันไม่ได้  หลวงปู่นิลได้แต่คิดในใจว่าพระองค์นี้ทำไมช่างเหมือนหลวงปู่ชื่นเสียเหลือเกิน  จนอดใจไม่ไหวจึงเอ่ยถามไปว่า

           “หลวงพ่อท่านอยู่วัดไหน ชื่ออะไร”

           หลวงปู่ชื่นตอบกลับไปทันที

           “อาตมาชื่อชื่น เป็นพระธุดงค์ยังไม่มีวัดจำพรรษา”

           หลวงปู่นิลนั่งคิดตั้งนานที่แท้ก็ใช่หลวงปู่ชื่นจริง ๆ ด้วย  เมื่อท่านทั้งสองได้นั่งสนทนากันแล้วหลวงปู่นิลจึงได้ออกปากนิมนต์หลวงปู่ชื่นให้มาจำพรรษาอยู่ด้วยกันที่วัดตาอี  ประกอบกับช่วงนั้นหลวงปู่ชื่นมีอายุมากแล้วและชาวบ้านตาอีก็ได้นิมนต์ท่านไว้ไม่ให้เดินธุดงค์อีก  นับตั้งแต่นั้นมาหลวงปู่ชื่นจึงได้อยู่จำพรรษาที่วัดตาอีเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้

 

ภาพหลวงปู่ชื่นและหลวงปู่ธรรมรังสี

เพชรเริ่มทอแสง

           หลังจากหลวงปู่ชื่นมาอยู่วัดตาอีแล้วท่านได้เก็บตัวเงียบอยู่แต่ภายในกุฏิหลังเล็ก ๆ เหมือนพระหลวงตาแก่ ๆ ธรรมดา  แทบไม่มีใครรู้เลยว่าท่านเป็นพระที่มี “พลังจิต” และมีอาคมเข้มขลังมาก จนกระทั่งกลางปี พ.ศ. 2542 หลวงปู่ชื่นได้สร้างวัตถุมงคลออกมา 2-3 รุ่น  ผลปรากฏว่าผู้ที่นำวัตถุมงคลของท่านไปบูชาต่างมีประสบการณ์ต่าง ๆ นานามากมาย  จากปากต่อปากทำให้วัตถุมงคลที่ท่านบรรจุพลังจิตเวทวิทยาคมที่มี “พลังมหัศจรรย์” ความวิเศษขลัง ยับยั้งภัยพาล  อาถรรพณ์จัญไร ขจัดสรรพทุกข์ สรรพโรค สรรพภัยที่มีอานุภาพ  ทั้งเมตตามหานิยม มหาโชค มหาลาภ ค้าขายดีเยี่ยม คุ้มครองป้องกัน ทำให้ชื่อเสียงหลวงปู่ชื่นดังขึ้นมาเป็นที่รู้จักของผู้คนทั่วไปมากขึ้นเป็นลำดับ  จากปากผู้ที่ได้บูชาวัตถุมงคลของท่านไปบูชาส่วนใหญ่ยอมรับว่าวัตถุมงคลของท่านดีเยี่ยมจริง ๆ ใช้แล้วได้ผลดีเกินคาด  ส่วนสาเหตุที่ท่านยอมเปิดตัวและจัดสร้างวัตถุมงคลออกมาเป็นทางการเนื่องจาก ท่านกำลังก่อสร้างอุโบสถซึ่งขาดปัจจัยอยู่อีกมาก  อีกประการหนึ่งหลวงปู่เคยบอกไว้ว่า

           “ถึงเวลาที่ครูบาอาจารย์ท่านให้เปิดตัวแล้ว เพื่อนำความรู้เวทวิทยาคมที่ได้ร่ำเรียนมาสงเคราะห์พุทธศาสนิกชน และจัดสร้างถาวรวัตถุเพื่อการพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป”

 

เสกหินลงสระกลายเป็นงูยักษ์

           เมื่อครั้งที่หลวงปู่ชื่นมาอยู่ที่วัดตาอีใหม่ ๆ นั้น  ท่านได้เร่งทำความเพียรปฏิบัติธรรมจนพลังจิตแก่กล้า ด้วยท่านเป็นพระที่รักสันโดษชอบเก็บตัวเงียบ ๆ อยู่แต่ภายในกุฏิ  ชาวบ้านจึงคิดว่าท่านเป็นหลวงตาแก่ ๆ ไม่มีอะไร  เป็นพระธรรมดาไม่มีวิชาอาคมอันใด

           ต่อมาทางวัดได้ขุดสระใหม่ ทางเจ้าอาวาสจึงประกาศบอกชาวบ้านว่า “ห้ามลงอาบน้ำในสระ” เพราะสระน้ำแห่งนี้พระเณรต้องใช้ดื่มกิน แต่ชาวบ้านขาดความเกรงใจท่าน ตกเย็นทั้งหนุ่มสาวพากันลงว่ายน้ำเล่นในสระอย่างสนุกสนาน บ้างก็นำผ้ามาซักทำให้ฟองแฟ๊บที่ซักลอยเต็มคุ้งสระ บอกแล้วก็เฉย เตือนแล้วก็ไม่หยุด

           หลวงปู่ชื่นจึงใช้ไม้ตายเพื่อให้รู้จักที่ต่ำที่สูง  และที่ควรมิควรกันบ้าง ท่านจึงนำก้อนหินมาสองก้อน แล้วเสกด้วยคาถาอาคมจากนั้นท่านโยนลงไปในสระน้ำ

           “สามวันต่อมาพวกที่ชอบลงเล่นน้ำในสระภายในวัดต่างก็ตกใจแตกตื่นขึ้นตลิ่งกันแทบไม่ทัน เพราะเห็นพญางูยักษ์สองตัวว่ายน้ำไปมาในสระให้เห็นกับตากันจะจะ   ชาวบ้านตาอีเห็นกันทั้งหมู่บ้าน”

เรื่องนี้เป็นที่เลื่องลือกันมากในอำเภอบ้านกรวด  ถ้าหากใครมีโอกาสได้ไปที่วัดตาอีลองสอบถามชาวบ้านดูก็ได้  และจากวันนั้นเป็นต้นมาจนกระทั่งถึงวันนี้ก็ไม่มีใครกล้าลงไปเล่นน้ำในสระที่วัดตาอีกันอีกเลย...

 

หลวงปู่ผู้เมตตา

หลวงปู่ชื่นท่านมีเมตตาต่อศิษย์ทุกคน ท่านให้ความช่วยเหลือลูกศิษย์ไม่เลือกหน้าไม่ว่าจะยากดีมีจนเดือดร้อนมาหาท่านๆก็ช่วยหมด นิมนต์ท่านไปทำอะไรที่ไหนท่านก็เมตตาไปโปรดทุกคน ถึงแม้แต่ท่านมรณภาพ(มรณภาพ ปี พ.ศ.2547) ไปแล้วท่านก็ยังมาโปรดลูกศิษย์ทุกคน ใครมีวัตถุมงคลของหลวงปู่ไว้หากบูชาด้วยความเคารพศรัทธาหลวงปู่ แล้วเป็นอยู่ในศีลธรรมแล้วจะไม่มีคำว่ายากจน ขัดสน หรืออดอยากเด็ดขาด จะมีแต่ความเจริญรุ่งเรืองดียิ่งๆขึ้นไป ถึงขนาดปรารถนาสิ่งใดหากอธิษฐานขอแล้วและไม่เกินวิสัยแล้วละก็จะได้ดังใจปรารถนาทุกประการ

Untitled Document


บทความพระเครื่อง ตำนาน เรื่องเล่า


พระขุนแผนมหาจินดามณี รุ่นมหาจินดามณี พ.ศ. ๒๕๕๐
“ไจยะเบงชร” (ชินบัญชรล้านนา)
ตำนานการเกิดพระบรมสารีริกธาตุ
พระบรมสารีริกธาตุของพระอดีตพุทธเจ้า
เรื่องจริงที่ไม่ใช่ตำนานของพญานาค
หลวงปู่ชื่น ติคญาโณ เทพเจ้าแห่งความเมตตา และโชคลาภ
เรื่องจริงไม่อิงนิยาย ของขุนช้าง-ขุนแผน
ประวัติ หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง
ปัจจัยประกอบของราคาพระมีอะไรบ้าง
ร้านพระเครื่องออนไลน์ ให้เช่าพระเครื่อง สะดวกปลอดภัยหรือไม่
หลวงปู่ทวด ภ.ป.ร. พระดีน่าสะสม โดยพุทธสมาคม
พระเครื่องล้านนา รวมพระล้านนาที่นิยมโดยเฉพาะ พระกรุล้านนา
พระเครื่อง เหรียญหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ ราคาสูงมาก
ข้อมูลพระเครื่อง สำหรับผู้นิยมสะสมพระ
พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี
เหรียญมหาลาภ หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค จ.นครสวรรค์
เหรียญหลวงพ่อหรุ่น เก้ายอด วัดอัมพวัน
เหรียญหลวงปู่จันทร์ วัดศรีเทพ รุ่นแรก ปี 2500
พระบูชาหลวงพ่อโสธร ปี 2497

โหราศาสตร์ไทย

** เว็บไซต์dooasia:พระเครื่องจัดทำขึ้นด้วยศรัทธา ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อการค้าหรือหากำไร เราทำเพื่อให้ประชาชนได้ศึกษาหาความรู้ **
 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
1.หนังสือ สารานุกรม พระคณาจารย์ยอดนิยม พร้อมการสร้างวัตถุมงคล โดยสำนักพิมพ์คเณพรศ์
2.หนังสือปทานุกรม พระรอด โดย ศ.อรรคเดช กฤณะดิลก
3.หนังสือปทานุกรมพระนางพญา พระนางพญา โดย ศ.อรรคเดช กฤษณะดิลก
4.หนังสือเหรียญหล่อยอดนิยม โดยศึกษาและสะสม ฉบับพิเศษ
5.หนังสือจตุคามรามเทพ 2530-2549 โดย นายพงษ์ภักดี พัฒนกุล
6.หนังสือจตุคามรามเทพ 1 โดยคุณวัชรพงศ์ ระดมสิทธิพัฒน์(อุ๊ กรุงสยาม)
7.หนังสือ จตุคามรามเทพยอดนิยม โดยคุณเขมณัฐ์ หล่อศรีสกุล
8.หนังสือจตุคามรามเทพ โดยคุณณัฐธยาน์ หล่อศรีศุภชัย
9.หนังสือ พระปิดตามหามงคล โดยทีมงานพระเครื่องพระพุทธบาท
10.หนังสือ พระเครื่องล้ำค่า (พระประกวด ปี 2548)

Copyright 2010 © สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์ www.dooasia.com/Prathai