พระเครื่อง พระเครื่องเมืองไทย ชมรมพระเครื่อง ศูนย์พระเครื่อง พระเครื่องเมืองลุง พระเครื่องเมืองนคร เปิดโลกพระเครื่อง เอกพระเครื่อง ตลาดพระเครื่อง พระเครื่องภาคใต้ พระเครื่องดอทคอม พระเครื่องเมืองใต้ พระเครื่องเนื้อชิน เปิดจองพระเครื่อง งานประกวดพระเครื่อง พระเครื่อง
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ           เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  

พระเนื้อดิน  พระเนื้อชิน  พระเนื้อผง  พระกรุเนื้อดิน  พระกรุเนื้อชิน  พระกรุเนื้อผง  พระปิดตา  พระเหรียญ  พระเหรียญหล่อ  พระประกวด
พระพุทธชินราช  พระกริ่ง พระชัยวัฒน์  พระรูปหล่อ  พระผงสุริยัน- จันทรา  จตุคามรามเทพ  เครื่องราง - รูปถ่าย - ล็อคเกต
พระรอด.คอม ดูพระแท้

   
หน้าแรกดูเอเซีย.คอม
รถตู้เชียงใหม่
กล้องวงจรปิด

หวยงวดล่าสุด!!


 
Loading...

ดูพระแท้
รถตู้เชียงใหม่

เว็บบอร์ดพระเครื่องเมืองไทย

หลวงพ่อแก้ววัดเครือวัลย์ ชลบุรี
หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม
หลวงพ่อกกล่อมวัดโพธาวาส
หลวงพ่อแก้ววัดพวงมาลัย
หลวงพ่อเกษม เขมโก
หลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง
หลวงพ่อก๋ง วัดเขาสมอคอน
หลวงพ่อกวยวัดโฆสิตาราม
พระอุปัชฌากรัก วัดอัมพวัน
หลวงพ่อกึ๋น วัดดอน
หลวงปู่กลีบ วัดตลิ่งชัน
พระครูนิสิตคุณากร (กัน)
หลวงพ่อเกิด วัดบางเดื่อ
หลวงปู่แก้ว วัดช่องลม
หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน
หลวงปู่ไข่วัดบางเลน
หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ
หลวงปู่เขียว วัดหรงบล
หลวงพ่อเขียน วัดสำนักขุนเณร
หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกองเพล
หลวงปู่ขาว วัดหลักสี่
หลวงปู่ขำ วัดแก้ว
หลวงพ่อขำ วัดปราสาทนิกร
พระสมุห์ขิง วัดกลาง
พระอุปัชฌาเข็ม วัดม่วง
หลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม
หลวงพ่อคง วัดซำป่างาม
หลวงพ่อครน วัดบางแซะ
หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่
หลวงพ่อคล้ายวัดสวนขัน
หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง
หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน
หลวงพ่อเงินวัดท้ายตลาด
หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
หลวงพ่อเงินวัดอินทรวิหาร
หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา
พระพุทธวิริยากร วัดสัตตนารท
หลวงปู่จีนวัดท่าลาด
หลวงปู่เจียมวัดกำแพง
สมเด็จพระญานวรเถร
สมเด็จ ม.ร.ว.เจริญอิศรางกูร
หลวงปู่จันทร์วัดนางหนู
หลวงปู่จัน วัดโมลี
หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง
หลวงปู่จันทร์ วัดศรีเทพ
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
หลวงพ่อจั่น วัดบางมอญ
หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ
พระญานไตรโลก(ฉาย)
หลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม
หลวงพ่อแฉ่ง วัดศรีรัตนาราม
หลวงพ่อฉ่ำ วัดท้องคุ้ง
หลวงปู่ชา วัดหนองป่าพง
หลวงพ่อช้าง วัดเขียนเขต
หลวงปู่ช่วง วัดบางแพรกใต้
หลวงพ่อช่วง วัดปากน้ำ
หลวงปู่ชอบ วัดป่าสัมมนานุสรณ์
กรมหลวงชินวร สิริวัฒน์
กรมหลวงวชิรญานวงค์ วัดบวรฯ
พระสังวรานุวงค์เถร(ชุ่ม) (พลับ)
พระอธิการชู วัดนาคปรก
หลวงพ่อเชย วัดเจษฎาราม
หลวงพ่อเชย วัดท่าควาย
หลวงพ่อเชิดวัดลาดบัวขาว
หลวงพ่อเชื้อ วัดใหม่บำเพ็ญบุญ
หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง
หลวงพ่อแช่ม วัดนวลนรดิศวรวิหาร
หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม
หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง
หลวงพ่อโขติ วัดตะโน
พระธรรมวโรดม วัดพระปฐมเจดีย์
หลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว
พระครูเนกขัมมาภิมณฑ์ วัดปากสะ
หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว
หลวงพ่อดี วัดบ้านยาง
หลวงพ่อดี วัดเหนือ
หลวงปู่ดุลย์ วัดบูรพาราม
หลวงปู่ดู วัดสะแก
หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ
หลวงพ่อแดง วัดศรีมหาโพธิ์
หลวงพ่อแดง วัดแหลมสอ
หลวงพ่อแดง วัดเชิงเขา
พระครูธรรมมิสรานุวัฒน์
หลวงพ่อดำ วัดมุจลินทวาปีวิหาร
หลวงพ่อตาด วัดบางวันทอง
หลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง
พระอาจารย์ตื้อ วัดป่าอรัญญญวิเวก
หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)
พระศรีวิสุทธิดิลก(โต)
พระศรีวิสุทธิดิลก(โต)
หลวงพ่อเต๊ วัดสามง่าม
สมเด็จพระพุฒาจารย์ ทัด วัดระฆัง
หลวงพ่อทบ วัดช้างเผือก
หลวงพ่อทับ วัดอนงคาราม
หลวงพ่อทัพ วัดทอง
หลวงปู่ทวด วัดช้างให้
หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน
หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่
หลวงปู่ทิม วัดช้างให้
หลวงพ่อทา วัดพะนียงแตก
หลวงพ่อเทศน์ วัดพิชิตติดถาราม
หลวงปู่เทียน วัดโบสถ์
หลวงพ่อนนท์ วัดหนองโพธ์
พระยานรัตน์ราชมานิต
สมเด็จพุฒาจารย์ (นวม)
หลวงพ่อนอ วัดกลาง
อาจารย์นอง วัดทรายขาว
หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง
หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา
หลวงพ่อน้อย วัดส้มเสี้ยว
หลวงปู่นาค วัดหัวหิน
หลวงปู่นาค วัดระฆังโฆษิตาราม
หลวงพ่อนาค วัดอรุณฯ (แจ้ง)
หลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้
อาจารย์นำ วัดดอนศาลา
หลวงพ่อนุ่ม วัดนางในธัมมิการาม
หลวงพ่อท่านนุ้ย วัดอัมพาราม
หลวงพ่อเนียม วัดน้อย
หลวงพ่อเนียม วัดเสาธงทอง
หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี
หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน
พระวินัยธร (บัว) วัดกลาง
พระอุปัชญาย์บ่าย วัดช่องลม
หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว
หลวงพ่อบุญมี วัดเขาสมอคอน
หลวงบุตร วัดใหญ่บางปลากด
หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว
หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
หลวงพ่อปานวัดมงคลโคธาวาส
หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก
หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้
หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
หลวงพ่อไป๋ วัดท่าหลวง
หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง
เจ้าคุณผล วัดหนัง
หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคิรีเขต
หลวงพ่อเผือก วัดกิ่งแก้ว
พระครูพร วัดดอนเมือง
หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค
หลวงพ่อพริ้ง วัดแจ้ง
หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก
หลวงพ่อพวง วัดหนองกระโน
หลวงพ่อพัฒน์ วัดใหม่พัฒนาราม
หลวงพ่อพัว วัดจันทร์ประดิษฐาราม
หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง
หลวงพ่อพุก วัดพระยาทำ
หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่
หลวงปู่เพิ่มวัดกลางบางแก้ว
หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
หลวงพ่อเผือก วัดโมลี
หลวงพ่อเพชร วัเวชิรปรดิษฐ์
หลวงพ่อเพชร วัดอัมพวัน
หลวงพ่อผึ้ง วัดรางบัว
หลวงพ่อภักกตร์ วัดบึงทองหลาง
หลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร
พระอาจารย์ ฝั้น วัดป่าอุดมสมพร
หลวงพ่อเภาวัดถ้ำตะโก
หลวงพ่อม่วง วัดบ้านทวน
ท่านเจ้ามา วัดสามปลื้ม
หลวงพ่อมาก วัดโตนด
หลวงพ่อมิ่ง วัดกก
หลวงพ่อบุญมี วัดอ่างแก้ว
หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่
หลวงพ่อมุ้ย วัดท้าวอู่ทอง
หลวงปู่เหมือน วัดนาวง
หลวงปู่เหมือน วัดกลางเหนือ
หลวงพ่อโม วัดไตรมิตรฯ
หลวงพ่อโม้วัดสน
หลวงพ่อยอดวัดหนองปลาหมอ
หลวงปู่ยิ้ม วัดศรีอุปลาราม
หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก
หลวงพ่อแย้ม วัดด่านสำโรง
หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ
ครูบาศรีวิชัย วัดบ้านปาง
หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย
หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ
หลวงพ่อสาย วัด อินทราราม
หลวงปู่สุข วัดโพธิ์ทรายทอง
หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตคาม
หลวงพ่อเสน วัดบางโพ
พระครูจันทรสรคุณ วัดเสมาใหญ่
หลวงพ่อห่วง วัดท่าใน
หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง
หลวงปู่สี วัดสะแก
หลวงพ่อห้อง วัดช่องลม
หลวงพ่ออ่ำ วัดชีปะบาว
หลวงพ่ออินทร์ วัดสัตตนารถปริวัตร
หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ
หลวงพ่อเอี่ยม วัดสะพานสูง
หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร
พระอาจารย์เฮง ไพรวัลย์
หลวงพ่อเมี้ยน วัดคลองเตยใน
หลวงพ่อทิพย์ วัดโพธิ์ทอง
หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
หลวงพ่อโอภาสีอาศรมบางมด
หลวงพ่อคง วัดสรรพรส
พระเกจิอื่นๆ
จตุคามรามเทพ
พระกรุต่าง
 

 

ตำนานมือปราบจอมขมังเวท เมืองนครศรีธรรมราชฯ

พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช

 พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช  ท่านได้รับสมญานามมากมายเช่น นายพลหนังเหนียว, นายพลพลมือปราบเสือมือเปล่า,นายพลหนวดเขี้ยวฯลฯ  แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่มักเรียกท่านว่า ขุนพันธ์ ฯ  เป็นตำรวจที่ได้รับการยกย่องมาก ปราบปรามโจรผู้ร้ายและผู้มีอิทธิพลนับไปถึงภาคใต้ ไปจนถึงภาคกลางตอนบน ในช่วงก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ขุนพันธ์ฯ  นามเดิมของท่านว่า บุตร์ นามสกุล พันธรักษ์ เกิดวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2446 ที่บ้านอ้ายเขียว หมู่ที่ 5 ตำบลดอนตะโก อำเภอท่าศาลา จังหวัดศรีธรรมราช

เป็นบุตรนายอ้วน และนางทองจันทร์ พันธรักษ์  ปู่ชื่อ ขุนทิพย์ โภชาภรณ์ มีพี่น้องร่วมมารดา 7 คน ตระกูลทางฝ่ายบิดา สืบเชื้อสายมาจากหมอประจำราชสำนักเมืองนครศรีธรรมราช จึงได้รับการถ่ายทอดตำรายาและมีความรู้ทางการแพทย์แผนโบราณอย่างดี

เริ่มเรียนหนังสือครั้งแรกกับบิดา ภายหลังได้ปศึกษาเล่าเรียนกับ อาจารย์ปาน วัดอ้ายเขียว  และครูฆราวาสชื่อ นายหีต ชาวอำเภอสวี จังหวัดชุมพร จนทางรัฐบาลต้องการให้ศึกษาแก่เยวชนไทยเป็นแบบแผนที่แน่นอน จึงได้สร้างโรงเรียนขึ้นตามที่ต่างๆ ขุนพันธ์ฯ จึงได้เข้าเรียนที่วัดพระนคร จนกระทั่งจบชั้นประถม จึงได้เข้าเรียนต่อมัธยมที่โรงเรียนวัดท่าโพธิ์ (ปัจจุบันคือโรงเรียนเบญจมราชูทิต)

ต่อมาในปี พ.ศ. 2459 ได้เข้ามาอยู่ใน กรุงเทพฯ   พักอยู่กับพระอาจารย์พลับ วัดราชผาติการาม เรียนมัธยมปลายที่โรงเรียนเบญจมบพิตร

ขณะที่เรียนมัธยมปลาย เริ่มสนใจวิชาไสยเวท โดยเริ่มศึกษากับหลวงพ่อปาน วัดอ้ายเขียว และได้ศึกษาเพิ่มเติมจากหมื่นตาหมอพลับ และได้ไปเรียนกับ พระสังฆบริบาล (ม.ร.ว. ศรีทัศนาเรณู)  วัดบวรนิเวศ ภายหลังได้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนนายร้อยที่ห้วยจระเข้ จังหวัดนครปฐม (โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพรานในปัจจุบัน)  กระทั่งจบออกมาเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจฝึกงานที่จังหวัดสงขลา

ขณะที่ท่านทำงานอยู่ที่สงขลา ชื่อเสียงของโจรต่างๆ ในเมืองพัทลุงกำลังโด่งดัง ควบคู่มากับชื่อเสียงของ สำนักเขาอ้อ   คนใต้ส่วนใหญ่จะเคยได้ยินกิตติศัพท์ของสำนักเขาอ้อทั้งนั้น  ในฐานะที่สำนักเขาอ้อ เป็นตักศิลาของเมืองใต้ โดยเฉพาะมีชื่อเสียงทางด้านไสยเวทพุทธาคม  มีศิษย์ทั้งบรรพชิต และฆราวาสมากมาย แต่ในขณะนั้นทางสำนักเขาอ้อ ออกดังทางด้านเสียหาย ในฐานนะให้ความรู้พวกโจรผู้ราย เพราะโจรผู้ร้ายขณะนั้นล้วนมีวิชาความรู้มีวิชาดี คงกระพันชาตรี ล่องหนกำบังกายได้  สร้างปัญหาให้ตำรวจไม่สามารถจำกุมได้  เป็นที่พูดกันว่าโจรเหล่านี้มีวิชาอาคมดี  ลือกันว่าลำเรียนมาจากสำนักเขาอ้อ

กิตติศัพท์ของโจรที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นศิษย์สำนักเขาอ้อ สร้างความสนใจให้นักเรียนนายร้อยตำรวจบุตร์ เป็นอย่างมาก จึงมีควาทคิดที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ในท้องที่พัทลุง เมื่อเรียนจบจึงขอบรรจุไปประจำที่จังหวัดพัทลุง โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ

         1.     ต้องการไปปราบปรามโจรผู้ร้าย

2.     ต้องการไปฝากตัวเพื่อศึกษาไสยเวทในสำนักเขาอ้อ

                เมื่อ ว่าที่ร้อยตำรวจตรีบุตร์ ไปอยู่ที่พัทลุงใหม่ๆ  ปรมาจารย์ทองเฒ่า เพิ่งมรณภาพลง เจ้าสำนักใหม่ยังไม่ได้แต่งตั้ง มีอาจารย์ปาล รักษากาลแทนอยู่

                เมื่อท่านไปอยู่ที่พัทลุงแล้ว ได้ออกปราบโจรผู้ร้ายที่ลือกันว่ามีอาคมเข้มขลังหลายคน  ทำให้ได้ประจักษ์ในคุณของไสยศาสตร์  ยิ่งเกิดความสนใจที่จะเป็นศิษย์วัดเขาอ้อ ให้ได้

                ภายหลังได้ปราบโจรตัวฉกาจคนหนึ่งของพัทลุงได้คือ เสือสังข์ จึงมีโอกาสเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์สำนักเขาอ้อ โดยการแนะของนายครั่ง เหรียญขำ ซึ่งมีความสนิทสนม กับพระอาจารย์เอียด เจ้าอาวาส วัดดอนศาลา ศิษย์เอกของสำนักเขาอ้อ

                เมื่อแจ้งความประสงค์ ในความต้องการเรียนไสยเวทให้พระอาจารย์เอียดทราบว่าต้องการศึกษาวิชาเพื่อนำไปปราบโจร พระอาจารย์เอียดเห็นด้วย แต่การปราบปรามเป็นการเข่นฆ่าทำลายล้างชีวิต ท่านเป็นบรรพชิต ไม่สมควรเข้าไปมีส่วนในเรื่องนี้ ท่านจึงส่งไปศึกษาวิชากับศิษย์ฆราวาสชื่อ อาจารย์นำ แก้วจันทร์  ซึ่งเป็นกุศโลบายของพระอาจารย์เอียด คือ ขณะนั้นอาจารย์นำ มีชื่อเสียง เป็นที่เกรงขามของเหล่าโจรผู้ร้าย โจรเมืองพัทลุงแทบทุกคนรู้จักอาจารย์นำเป็นอย่างดี  และอาจารย์นำรู้เส้นสายทิศทางของโจรเหล่านั้นเป็นอย่างดี พวกโจรเมื่อทราบว่ามีตำรวจเป็นศิษย์อาจารย์นำ ก็คงจะเกรงขามบ้าง เพราะต่างก็ประจักษ์ในวิทยาคุณของอาจารย์นำ เป็นอย่างดี

                ภายหลังจากท่านได้เป็นศิษย์ของอาจารย์นำเรียนวิชาพื้นฐานต่างๆ  โดยเฉพาะสายฆราวาสพอสมควร ก็ได้มาเรียนต่อกับพระอาจารย์เอียดที่วัดดอนศาลา และพร้อมกันนั้นก็ได้เดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์ปาล ซึ่งเป็นเจ้าสำนักเขาอ้อ  และผ่านพิธีต่างๆ ครบถ้วนตามประเพณีการเป็นศิษย์ของสำนักเขาอ้อ อาทิ ลงยันต์กินน้ำมันงา อาบน้ำว่าน เป็นต้น

                เพราะเข้าเป็นศิษย์ของสำนักเขาอ้อ ในภาวะที่สำนักเขาอ้อกำลังจะเสื่อมโทรมลง ขุนพันธ์ฯ จึงได้ร่วมกับขณะศิษย์ของสำนักเขาอ้อ ทั้งสายบรรพชิต และฆราวาส ช่วยกันฟื้นฟู สำนักเข้าอ้อขึ้นมาอีกครั้ง พิธีกรรมหลายอย่างที่เกือบสูญหายไปก็ถูกนำกลับมาเป็นประเพณีปฎิบัติอีกครั้ง

 ในปี พ.ศ. 2479 ท่านได้ย้ายไปเป็นหัวหน้ากองตรวจประจำกองกำกับการตำรวจภูธรมณฑลนครศรีธรรมราช    ประจำ คือสงขลา ภารกิจปราบปรามโจรผู้ร้ายครั้งสำคัญและทำให้ท่านมีชื่อเสียงมาก คือการปราบผู้ร้ายทางการเมืองนราธิวาส จนได้  ฉายาจากชาวไทยมุสลิม รายอกะจิ และได้เลื่อนยศเป็นร้อยตำรวจเอกต่อมา

 ในปีพ.ศ. 2485 ได้ย้ายไปเป็นรองผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดสุราษฎร์ธานี ปราบปรามโจร หลายราย รายสำคัญ เสือสายและเสือเอิบ   หลังจากนั้นท่านได้ย้ายไปอยู่ต่างจังหวัดในภาคอื่น

 ในปี พ.ศ. 2488  ได้ย้ายไปเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดพิจิตร ปฎิบัติหน้าที่มีความดีความชอบเรื่อยมา และได้ปราบโจรผู้ร้ายมากมาย จึงได้พระราชทานยศ พันตำรวจตรี

 ในปี พ.ศ. 2489  ได้ย้ายไปเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดชัยนาท  ไปปราบโจรผู้ร้ายหลายคนเช่น เสือฝ้าย เสือย่อง เสือใบ เสืออ้วน เสือดำ และเสือมเหศวร  เป็นต้น ขุนพันธ์ฯ ได้รับคำสั่งให้ไปสกัดโจรร้ายที่แตกเข้ามาทางชัยนาท ครั้งนั้น ท่านได้ใช้ดาบเป็นอาวุธ คู่มือ แทนที่จะใช้ปืนยาวเป็นอาวุธ โดยใช้ถุงผ้าแดงห่อฝักและด้าม ประชาชน จึงขนานนามท่านว่า ขุนพันธ์ดาบแดง ท่านอยู่ชัยนาท 3 ปี  ปราบปรามเสือร้ายจนสงบลง จึงถูกย้ายมาเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และกำแพงเพชรตามลำดับ

 ด้วยความดีความชอบในหน้าที่ราชการท่าน จึงได้รับพระราชทานเลื่อนยศ พันตำรวจโท  ใน ปี พ.ศ. 2493 จึงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต 8    จังหวัดนครศรีธรรมราช จนกระทั่ง พ.ศ. 2503  จึงดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต 8    และได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นพลตำรวจตรี จนกระทั่งเกษียณอายุ ในปี พ.ศ. 2503

 ประวัติการทำงานด้านต่างๆที่ท่านได้สร้างเกียรติประวัติมากมาย นับได้ว่าท่านได้เป็นมือปราบคนสำคัญคนหนึ่งในเมืองไทย แม้เกษียณอายุแล้ว ท่านยังได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรค ประชาธิปัตย์ ในปี พ.ศ. 2516

 ทางด้านครอบครัวของท่าน ภรรยาชื่อนางเฉลา ตอนนั้นท่านมีอายุ 30 ปี ขณะรับราชการที่พัทลุง มีบุตรด้วยกัน 8 คน และต่อมาภรรยาท่านได้เสียชีวิต  จึงได้มีภรรยาใหม่ชื่อ สมสมัย มีบุตรด้วยกัน 4คน

 ท่านขุนพันธ์ได้ถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบด้วยโรคชรา เวลา 23.27 น. ในวันที่  5 กรกฎาคม 2549 สิริอายุรวม 108 ปี ณ.บ้านพักเลขที่ 764/5 ซอยราชเดช ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

 ในวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2549  ได้มีพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ณ ศาลาร้อยปี วัดพระศรีมหาธาตุวรวิหาร นครศรีธรรมราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ  มีพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ  พระราชทานหีบไม้ลงลายทองพร้อมพวงมาหลวง ประดับพระปรมาภิไธย  พระบรมวงศาทุกพระองค์ ต่างมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพวงมาลาเช่นกัน

 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมงกุฎราชกุมาร เสด็จแทนพระองค์ เป็นองค์ประธาน ในพิธีพระราชทานเพลิงศพ พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช ณ เมรุฯ สนามหน้าเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550  ยังความปราบปลื้มแก่ทายาทและพสกนิกรเป็นล้นพ้น นับเป็นการปิดตำนานอันยิ่งใหญ่ของจอมขมังเวทระดับ ท่านขุน คนสุดท้ายของประเทศไทย

 

วัตถุมงคลยอดนิยม องค์จตุคามรามเทพ

จากบันทึกของผู้ก่อตั้งศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช ผมสรุปพออ่านเข้าใจได้โดยย่อพอเข้าใจได้ เพื่อได้ให้ท่านผู้ที่สนใจทราบเรื่องเกี่ยวกับวัตถุมงคล องค์จตุคามรามเทพที่กำลังได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน และกำลังได้รับความนิยมเทียบเท่าพระยอดนิยมในปัจจุบัน มูลเหตุในการที่ทำให้มีผู้คนสนใจองค์จตุคามรามเทพนั้นส่วนใหญ่จะมาจากการบอกเล่าถึงพุทธคุณที่ประสบมาจากตัวเองและบอกต่อกันมาจนทำให้ปัจจุบันราคาสูงมากในปัจจุบันในเรื่องราคาที่เปิดให้เช่านั้นก็แรงน่าดู คนที่สนใจเช่ามาบูชาพระส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญของพิธิกรรมในการปลุกเสก หรือเรียกกันในหมู่เซียนว่า พิธีใหญ่ และพระที่ปลุกเสกเป็นท่านอาจารย์ใดส่วนที่สำคัญไม่น้อยก็คือความคมชัดและความสวยสมบูรณ์ โดยเฉพาะประเภทที่สร้างน้อย


องค์จตุคามรามเทพคือใคร

มีผู้เชี่ยวชาญให้คำอธิบายว่าจตุคามรามเทพ หรือ จันทรภาณุ เป็นเทวดารักษาเมือง หรือเทพประจำหลักเมือง หรือเจ้าพ่อหลักเมืองนครศรีธรรมราช เป็นผู้ซึ่ง “ตั้งดิน” ตั้งฟ้า “สถาปนากรุงศรีธรรมโศก”ศูนย์กลางแห่งศรีวิชัย

ความตามคติธรรมพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน สาขาหนึ่งเชื่อว่ามนุษย์ทุกรูปทุกนาม ต้องเวียนว่ายตายเกิดท่ามกลางความทุกข์ การจะข้ามวัฎสงสารก็จะต้องยึดถือเพียรภาวนาและยึดถือตามหลักธรรมของพุทธองค์หากผู้ใดตั้งฟฎิธานแน่วแน่ อุทิศตนชาวยเหลือช่วยเหลือขจัดความทุกข์ยากของมนุษย์

บำเพ็ญบารมี หกประการ คือทาน บารมี ศีลบารมี ขันติบารมี วิริยะบารมี ธยานบารมี(ญานบารมี) และปัญญาบารมีครบถ้วนแล้วบุคคลนั้นจะสำเร็จเป็นเทวโพธิสัตว์หรือคฤหโพธิสัตว์ และหากมีการสร้างบารมีสูงขึ้นอีกสี่ประการประกอบด้วย อุปปายบารมี ปณิธานบารมี พลบารมี และชญานบารมี ผู้นั้นจะสำเร็จเป็นเทวโพธิสัตว์ผู้ทรงฤทธานุภาพอันยิ่งใหญ่ สามารถบังคับฟ้าดิน สำแดงอิทธิฤทธิ์ให้เห็นเป็นร่างธรรม อันจักรช่วยเหลือมนุษย์ให้พ้นจากภัยภิบัติ และพ้นทุกข์ทั้งปวง จะก่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นในชีวิต

องค์จตุคามรามเทพถึงแล้วถึงความสามารถแกล้วกล้าเจนจบสรรพศาสตร์ทั้งปวง บำเพ็ญบารมี ถึงพรมโพธิสัตว์ จึงทรงอานุภาพอันยิ่งใหญ่ ไพศาลจนได้รับนามาภิไธยราชฐานันดรว่า “จันทรภาณุ” ผู้มีอำนาจดังพระอาทิตย์ และพระจันทร์ ถืออาญาสิทธ์รูปราหูอมจันทร์ และวัฎจักร 12 นักษัตร เป็นสัญญลักษณ์ อันเป็นตราประจำเมืองนครศรีธรรมราชอยู่ในปัจจุบัน

องค์จตุคามรามเทพ มีบริวารทหารกล้าสี่คน ประกอบด้วย พญาชิงชัย พญาหลวงเมือง พญาสุขุม และพญาโหรา เป็นกำลังหลักในการปราบปรามพวกพาหมณ์ที่ปกครองเมืองตามพรลิงค์อยู่ก่อน เมือได้เมืองมาแล้วก็ได้สร้างพระบรมธาติเจดีย์ สถาปนาเมืองสิบสองนักษัตร หรีอ กรุงศรีธรรมโศกฝังรากฐานพระพุทธศาสนา จนได้รับพระเกีรยติว่า “พญาศรีธรรมาโศกราช” ภายหลังท่านเป็นเทวดารักษาเมือง สถิตอยู่ ณ. รูปจำหลักที่บานประตูไม้ทั้งสองข้างทางขึ้นลานประทักษิณรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชนั่นเอง ส่วนบริวาณทั้งสี่ก็เป็นเทวดารักษาเมืองประจำทิศของเมืองเช่นกัน เมื่อสร้างหลักเมืองอันงดงามที่ปรากฎอยู่ทุกวันนี้ องค์จตุคามรามเทพและบริวาณนี้เองที่ได้แสดงความอัศจรรย์ให้ปรากฎด้วยการประทับทรง หรือ ผ่านร่าง มาบอกกล่าวให้สร้างหลักเมืองแก้อาถรรพณ์ดวงเมืองที่พวกพราหมณ์ ได้ฝังใจจนทำให้บ้านเมืองไม่ปกติสุข ผู้คนแก่งแย่งชิงดีกันจนหาความสงบสุขไม่ได้

ส่วนเทวดารักษารอบเมืองโดยรอบศาลนั้นแบ่งออกเป็น สามแนว ดังนี้
แนวที่หนึ่ง (ระดับล่าง)เป็นเทวดารักษาทิศ เทวดา เทวดารักษาทิศเหนือชื่อท้าวกุเวร
เทวดารักษาทิศใต้ชื่อท้าวท้าววิฬุนหก เทวดารักษาทิศตะวันออกชื่อธตรฐ และเทวดารักษาทิศตะวันตกชื่อท้าวท้าววิฬุรปักษ์

แนวที่สอง (ระดับกลาง) เป็นจตุโลกเทพคือพระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระพรหมเมืองและพระบันดาลเมือง

แนวที่สาม (ระดับสูง) จะประกอบด้วย ห้าพระองค์ในจักรวาลของพุทธศาสนาฝ่ายมหายานคือพระไวโรจน พุทธเจ้าอยู่ตรงกลาง พระอักโษภยพุทธเจ้าอยู่ด้านตะวันออก พระอมิตาภะพุทธเจ้าอยู่ด้านตะวันตกพระรัตนสมภพพุทธเจ้าอยู่ด้านทิศใต้ และพระอโมฆะสิทธิพุทธเจ้าอยู่ด้านเหนือ

ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช
จุดกำเหนิดศาลหลักเมืองคือ องค์จตุคามรามเทพ และบริวาร ตามที่กล่าวข้างต้น ได้แสดงความอัศจรรย์ให้ปรากฎด้วยการประทับทรง หรือ ผ่านร่าง มาบอกกล่าวให้แก่ พันตำรวจเอก สรรเพชญ ธรรมาธิกุล (ยศของท่านในขณะนั้น) ซึ่งเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธร จังหวัดนครศรีธรรมราชในตอนนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขดวงเมืองที่พวกพรารหมณ์ ได้สาปแช่งใว้ให้บ้านเมืองไม่ปรกติสุข และแก่งแย่งชิงดีกัน โดยเริ่มตั้งแต่ ปลายปี 2528 เป็นต้นมา จนแล้วเสร็จเป็นทางการเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2543 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็ตพระบรมโอรสาธิราช สยามมงกุฎราชกุมาร เสด็จฯ มาทรงเปิดอย่างเป็นทางการ

ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราชอันเป็นที่ประดิษฐานหลักเมืองของจังหวัดนครศรีธรรมราช ปลูกสร้างในที่ดิน ของราชพัสดุ บริเวณทิศเหนือของสนามหน้าเมือง เนื้อที่ประมาณ 2 ไร่
อาคารหลักประกอบด้วยอาคาร ห้าหลัง หลังกลางคือศาลหลักเมือง ส่วนอาคารเล็กอีก สี่หลัง ถือเป็นบริวารประจำทิศ ทั้ง สี่ เรียกว่าศาลจตุโลกเทพ ประกอบด้วย พระเสื้อเมือง,พระทรงเมือง,พระพรหมเมือง,พระบันดาลเมือง
เป็นที่เคารพกราบไหว้บูชา บนบาลศาลกล่าวของชาวเมืองนครฯ และผู้สัญจรผ่านไปมา เพื่อขอพึ่งบารมีมหิทธานุภาพอันศักดิ์สิทธิ์แห่งองค์เทพเทวารักษาเมือง เสมือนศูนย์รวมใจชาวสยาม คุ่กันกับ องค์พระบรมธาตุ

ความโดดเด่นเป็นสง่าของศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช
1.ฐานวงกลม เก้าชั้น
การสร้างจากความเชื่อที่ว่า มนุษย์ทุกรูปทุกนามมีต้นกำเหนิดมาจากดินเมื่อถึงการดับขันธ์ก็จะสลายกลายเป็นดินจึงกล่าวเตือนสติใว้เสมอว่างมงคลคาถาเก้าประการเท่านั้นจะช่วยให้มนุษย์ซึ่งเวียนว่ายตายเกิดนี่มีดวงตาที่เห็นธรรม ทั้งเป็นความความบอกเป็นนัยว่า หลักเมืองที่สร้างขึ้นนี้ สถิตอยูในรัชกาลที่ ๙

2.ลวดลายมงคลเล็ก
การสร้างจากความเชื่อที่ว่าทุกคนที่เกิดมาดูโลกไม่ว่าจะยากดีมีจนล้วนแล้วย่อมเป็นทารกที่สะอาดบริสุทธิ์ เสมือนผ้าขาวไม่มีรอยปรนเปื้อน แต่เมื่อเวลาผ่านไปสังคมและสิ่งแวดล้อมมีส่วนทำให้ความสะอาดและบริสุทธิ์ แปรเปลี่ยนไป

3.ลวดลายดอกและใบลำโพง
การสร้างจากความเชื่อที่ว่าเมื่อมนุษย์เติบโตขึ้นมาย่อมถูกครอบงำด้วยกิเลส ตัณหาและสภาพแวดล้อมจะทำให้พฤติกรรมมนุษย์เปลี่ยน เปรียบกับดอกลำโพงพันธุ์ไม้พื้นเมืองที่มีพิษ จะสามารถครอบงำมนุษย์เพิ่มขึ้นตามสภาพแวดล้อมที่ถูกห่อหุ้มด้วยกิเลส

4.ลวดลายเล็บช้างและน่องสิงห์
การสร้างจากความเชื่อที่ว่า บนเส้นทางความดีและความชั่ว เมื่ออยู่ในวัยเยาวน์พ่อแม่ย่อมเป็นคนอบรมสั่งสอนไม่ให้หันเหไปในทางที่ไม่ดีไม่งาม

5.ลวดลายโดกลำโพง
การสร้างจากความเชื่อที่ว่า เมื่อเติบโตพ้นจากอกพ่อแม่ แล้วย่อมสามารถแยกแยะสิ่งชั่วดีที่ผ่านมาในชีวิต ซึ่งถ้าปล่อยใจให้เหมือนเสพดอกและใบลำโพง ชีวิตนั้นก็จะหาความสุขไม่ได้

6.ลวดลายขดมงคล
การสร้างจากความเชื่อที่ว่า มนุษย์เป็นสัตว์โลกที่รูจักจำแนกผิดชอบชั่วดีและสามรถดำรงชีวิตอยู่ได้ โดยรรู้จักจำแนกแยกแยะ อะไรผิดอะไรถูก

7.ลวดลายน่องสิงห์ (ลายแรก)
การสร้างจากคววามเชื่อที่ว่า สัจธรรมเบื้องต้นที่จำแนกความดีความเลวของมนุษย์เป็นความรู้สึกเบื้องต้นสามารถนึกคิดเองได้ แต่ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ถ้าไม่มีกฤหมายบ้านเมืองบังคับ

8.ลวดลายมงคลรอบเสาร์ประดิษฐ์
การสร้างจากความเชื่อที่ว่า พระรัตนตรัยอันเป็นที่พึ่งของสัตว์โลกทั้งหลายจะเป็นเครื่องชี้ทางให้มนุษย์มีดวงตาเห็นธรรม เข้าถึงพุทธศาสนา

9.ลวดลายบัวคว่ำบัวหงาย
การสร้างจากความเชื่อที่ว่า องค์จตุคามรามเทพได้รู้แจ้งเห็นจริง ในสัจธรรมของพระพุทธศาสนาหยั่งถึงความดีความชั่วอันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ มุ่งให้ชาวศรีวิชัยได้รับแสงแห่งพระรัตนตรัยจึงอุทิศทรัพย์ศฤงทั้งปวงสร้างพระธาตุเพื่อเป็นพุทธบูชา ปราบปรามเหล่าจันฑาล ชั่วชิมิให้ก่อความเดือดร้อนในแผ่นดิน

10.ลวดลายน่องสองห์ (ลายที่สอง)
การสร้างจากความเชื่อที่ว่าความดีความชั่วเป็นสิ่งที่เกิคควบคู่กับมนุษย์ ถึงแม้จะขนบธรรมเนียมประเพณีมาคอยอบรมสั่งสอน แต่ก็ยังมีกกลุ่มทรชน ไม่รู้บาปบุญคุณโทษ องค์ราชันจตุคามรามเทพจะสำแดงเทวอำนาจให้แก่ชาวเมืองให้เป็นไปตามทำนองครองธรรม

11.รูปพรมสี่หน้าใหญ่
การสร้างจากความเชื่อที่ว่า สัญญาลักษณ์ของเทวดารักษาเมืองผู้รอบรู้สรรพศาสตร์ทั้งหลายและเขาถึงอภิธรรมสูงสุด ประกอบด้วยทิพยญาณหยั่งรู้ไตรโลก คืออดีต ปัจจุบัน อนาคตมีอำนาจเหนือชีวิตมนุษย์ สามารถสำแดงอภินิหารในร่างแปลง ประดุจดั่งพระพรหมสี่หน้า

12.รูปพรหมสี่หน้าเล็ก
การสร้างจากความเชื่อที่ว่า ประดิษฐ์เป็นสัญลักษณ์ของเทวดารักษาเมืองประจำทิศน้อยทั้งสี่แสดงเป็นนัยให้ทราบว่าไม่ว่าจะอยู่ทิศไหนไม่สามารถซ่อนเร้นให้พ้รเทวดาฟ้าดินได้

13.เปลวเพลิงยอดพระเกตุ
การสร้างจากความเชื่อที่ว่า เป็นสัญลักษณ์ ของการมีชัยชนะของชาวเมืองนครที่จะมาถึงในวันข้างหน้าบ้านเมืองจะมีแต่ความสงบสุข

บุคคลสำคัญที่จะกล่าวถึงคือ
พลตำรวจเอกสรรเพชญ ธรรมาธิกุล เป็นผู้กำกับการตำรวจภูธร จังหวัดนครศรีธรรมราชสมัยนั้นกล่าวโดยย่อ ประมาณปี 2528 พื้นที่จังหวัดนครศรีธรราราชเกิดปัญหาอิทธิพลอำนาจมืดคุกคามความปลอดภัยในชีวิตประจำของประชานชน นับวันก็จะทวีความรุนแรงมากขึ้น ขณะนั้นรัฐบาลภายใต้การนำของฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี และพลเอกสิทธิ์ จิระโรจน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้คัดนายตำรวจฝีมือดี เพื่อปราบปรามโจรผู้ร้าย และกลุ่มอิทธิพลต่างๆ เพื่อให้ชาวบ้านอยู่อย่างสงบสุขตำรวจฝีมือดีท่านนี้คือ พลตำรวจเอกสรรเพชญ ธรรมาธิกุล ณ.วัดนางพระยา ตำบลปากนคร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ประมาณปลายปี 2528 สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองนครศรีธรรมราช ได้สร้างความอัศจรรย์โดยการประทับทรงบอกกล่าวแก่ พลตำรวจเอกสรรเพชญ ธรรมาธิกุล ต้องการให้สร้างหลักเมือง ทำจากไม้ตะเคียนทองงอกอยู่ทางทิศเหนือของเมืองนครศรีธรรมราช

จากการประทับทรงครั้งที่ 3 จึงได้รู้ว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองนครศรีธรรมราช ที่มาประทับทรงคือ องค์จตุคารามเทพ โดยการวาดรูปชองท่านตามคำบอกเล่าผ่านร่างประทับทรง และให้เอาไปให้พลตำรวจตรีขุนพันธ์ รักษ์ราชเดช ดู ท่านจึงบอกว่ารูปนี้คือรูปของ องค์จตุคามรามเทพ ซึ่งเป็นภาพประจำเมืองนครศรีธรรมราช มาแต่โบราณเป็นพันปีแล้ว รูปของท่านได้จำหลักไว้ที่พระบรมธาตุ

อัศจรรย์ หลักเมืองนครศรีธรรมราช

1.ไม้ตะเคียนทองสำหรับแกะสลักหลักเมือง

ป็นต้นไม้จากเขายอดเหลือง ซึ่งอยู่ที่ตำบลกะหรอ อำเภอท่าศาลา(ปัจจุบันอยู่ในเขตท้องที่อำเภอนบพิตำ)มีลักษณะแปลกคือที่บริเวณรอบโคนต้นมีลักษณะเตียนโล่ง ซึ่งเรียกกันว่าลานนกหว้า หรือ ตะเคียนใบกวาดหลังจาดโค่นต้นไม้แล้ว ขณะได้ตัดต้นตะเคียนเหลือยาว สี่เมตร ต้องใช้ช้างลากจูงจากยอดเขา เมื่อชักรากตอนแรกไม้ตะเคียนไม่ยอมขยับเขยื้อน แต่เมื่อคณะตัดฟัน ได้จุดธูปบอกกล่าว ช้างก็สามรถชักรากได้ตามปรกติ

2.ในการประกอบพิธีกรรมเผาดวงชะตาเมือง

ที่ป่าช้าวัดชะเมา เวลาหลังเที่ยงคืน หนึ่งนาที เมื่อปลายปี 2528 ท่ามกลางความมืด มีแต่แสงเทียนประกอบพิธีเท่านั้น ใช้เสียงนกแสกเป็นสัญญาณจุดไฟ ทันที่ที่จุดไฟ ก็มีเสียงโหยหวน ของภูติผีในป่าช้าที่ถูกเรียกให้เป็นพยาน สร้างความหวาดกลัวให้แก่ผู้เข้าร่วมพิธี

3.วันที่ 3 มีนาคม 2530

เป็นวันแห่ศาลหลักเมืองที่แกะสลักและตกแต่งเสร็จแล้วลงเรือศรีวิชัยโบราณจำลอง จากบ้านพักผู้กำกับฯ ไปยังหน้าวิหารหลวง ขณะที่อัญเชิญเสาหลักเมือง ได้เกิดปรากฎการณ์พระอาทิตย์ทรงกลด ณ .ที่นั้นทันที อย่างน่าอัศจรรย์ จากนั้นได้เกิดฝนตกหนักมากในเขตภูเขาต้นน้ำทางตะวันตกของเมือง เป็นเหตุให้น้ำป่าไหลเกือบล้นฝั่งคลองท่าดี และคลองท่าพรหมโลก วัวควายที่ชาวบ้านล่ามล้มตายหลายตัว ทั้งที่ช่วงนั้นเป็นน่าแล้ง

4.พิธีเบิกเนตรหลักเมือง

เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2530 ขณะที่เจ้าพิธีกรรมคือ พลตำรวจตรี ขุนพันธ์ รักษ์ราชเดช กำลังทำพิธีเบิกเนตร ได้ปรากฎกลุ่มควันจางๆ ขึ้น ณ. จุดสัมผัสระหว่าง ดินสอจาร กับดวงเนตรของหลักเมือง

5.ครั้งหนึ่งในระหว่างประทับทรงของเทวดารักษาเมือง

ระหว่างที่มีการประทับทรงครั้งหนึ่ง นายสมจิตร ทองสมัคร ปรารภว่า เกิดภาวะฝนแล้งอย่างหนัก ชาวบ้านเดือดร้อน จะแก้ปัญหาอย่างไรดี ก็ได้รับคำแนะนำว่าให้นำไข่ หนึ่งฟอง ไปปาใส่ภูเขามี่เขาขุนพนมบริเวณที่เรียกว่า หน้าพระ เมื่อปฎิบัติตามคำแนะนำปรากฎว่า ไข่ยังลงไม่ถึงลานวัด ก็มีฝนโปรยลงมา แล้วฝนที่ตกครั้งนั้นตกหนักมาก และตกกระจายทั่วไป สำหรับที่กรุงเทพฯ มีฝนตกหนัก จนผู้ว่ากทม.สมัยนั้นเรียกว่าฝนพันปี นั่นเอง

6.นายยุทธนา โมรากุล หัวหน้าหมวดการทางหัวไทร กล่าวว่า

คืนวันหนึ่ง เมือ สิบสองปีก่อน ขณะที่ตนเองอยู่บ้านพักในแขวงการทางนครฯ กับครอบครัวขณะนั้นตนเองยังเป็นช่างประจำสำนักงานแขวงการทาง ได้มีคนมาตามที่บ้านบอกว่าได้มีการเข้าทรงแถวบริเวณที่ถนนบ่ออ่าง สั่งความให้มาตามตัวเองไปหา เมื่อตนเองเข้าไปก็ได้รับมอบหมายให้ออกแบบอาคารศาลหลักเมืองตอนนั้นตนเองไม่เชื่อ เพราะตนเองไม่เคยทำงานนี้มาก่อน หลังจากได้รับการลงเลขยันต์ที่ฝ่ามือ และได้รับคำแนะนำครั้งแล้วครั้งเล่า ก็ได้มาทำแบบบนกระดานเขียนแบบ เหมือนกับมีผู้มาบอกกล่าวแนะนำอยู่ตลอดเวลา องค์จตุคามรามเทพ หรือที่เรียกกันในหมู่ลูกศิษย์ว่า พ่อ ได้กล่าวไว้ว่า เมื่อใดที่เขียนแบบออกมาถูกต้องตามโบราณและเขียนจนถึงยอดเสร็จสมบูรณ์แล้ว ฟ้าดินจะรับรู้ปรากฎว่า วันนั้นนั่งเขียนที่โต้ะทำงาน ทันทีที่ตนเขียนเสร็จท้องฟ้าที่เจิดจ้าตามปกติ กลับมืดครึ้มและมีฟ้าผ่าเปรี้ยง อย่างน่าอัศจรรย์ อีกครั้งหนึ่งเมื่อ คราวขุดดินบริเวณสร้างศาลปัจจุบันเพื่อลงฐานราก พบเจดีย์เก่าทรงกลม และเมื่อขุดได้ลึกกว่าสองเมตรก็พบชั้นหินปะการัง ปรากฎว่าน้ำใต้ดินทะลักขึ้นมา ทำให้ไม่สามารถทำงานต่อได้ ครั้นเมื่อปรึกษา พ่อ ก็ได้รับคำแนะนำเทคนิคพิเศษจนสามารถแก้ปัญหาได้สำเร็จทุกครั้ง และเมื่อทันที่ทำงานเสร็จสมบูรณ์ ก็จะเกิดปรากฎการณ์พระอาทิตย์ทรงกลดอันหมายถึงการรับรู้ของฟ้าดิน

7. เมื่อมีการประกอบพิธีกรรมใดฯ

เมื่อมีการประกอบพิธีกรรมใดๆ เกี่ยวกับศาลหลักเมือง มักจะเกิดฝนพรำๆ และฝนตกตามมาทุกครั้ง แม้กระทั่งพิธีไหว้ครู ซึ่งกระทำทุกปีในวันพฤหัสบดีแรกของเดือน หก หลังเสร็จพิธีมักจะมีฝนตกทุกครั้ง


จตุคามรามเทพรุ่นยอดนิยมมีดังนี้

รุ่นจ้าวทะเลใต้
ผู้จัดสร้าง
            คณะศิษย์องค์จตุคามรามเทพ สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย และชมรมนักข่าวและช่างภาพพระเครื่อง ร่วมกันจัดสร้าง
วัตถุประสงค์
           เพื่อหารายได้นำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์ คลื่นยักษ์สึนามิ ใน 6 จังหวัดภาคใต้ โดยเปิดบริจาคตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพัน 2548 ณ.สมคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกสถานที่
ณ.ถ้ำฉัตรทันต์บรรพต วัดเขาอ้อ พัทลุง โดยพระคณาจารย์สายเขาอ้อ นำโดยสายเขาอ้อเช่น พ่อท่านคล้าย,พ่อท่านช่วง, พ่อท่านกลั่น พ่อท่านแก้ว พระมหาอุทัย พระอาจารย์พรหม พระอาจารย์เอียด พระอาจารย์สลับ พระอาจารย์เหวียน
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกโดย
          อะผ่อง สกุลอมร ผู้ประกอบพิธีกรรมอัญเชิญองค์จตุคามรามเทพ
วัตถุมงคล
- พระปรกปั้มพิมพ์ลอยองค์ เนื้อโลหะ มีเนื้อทองคำ,เนื้อเงิน,เนื้อนวโลหะ,ทองทิพย์,ทองขาวและทองแดง
- เนื้อผงน้ำมัน มีผงเกสร(ขาว).ผงนวะมงคล(น้ำตาล),ผงสุริยัน(แดง),ผงราชันย์ดำ(ดำ)
- เนื้อผงคดไม้ มีผงมหามงคล(ขาว),คดไม้(น้ำตาล),คดไม้ดำ(ดำ),คดไม้เขียว(เขียว)

รุ่นบูรณะเจดีย์ราย
พระผงจตุคามรามเทพ อุดมโชค 8 อรหันต์ สุวรรณภูมิ รุ่นบูรณะเจดีย์ราย
ผู้จัดสร้าง
         วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช ร่วมกับ พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช และพ่อค้าประชาชน ร่วมกันจัดสร้าง ปี  2545
วัตถุประสงค์
 
                เพื่อหาทุนสมทบงบประมาณของกรมศิลปากร บูรณะเจดีย์รายรอบๆ องค์พระบรมธาตุ
 
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกสถานที่
 
                วันที่ 17 กันยายน 2545 ทำพิธีบูชาบรมครู อธิษฐานจิตร ณ ถ้ำทันต์บรรพต วัดเขาอ้อ จังหวัดพัทลุง
                วันที่ 21 กันยายน 2545 ทำพิธีปลุกเสกกลางทะเลปากน้ำเมืองนครศรีธรรมราช
                วันที่ 22 กันยายน 2545  ทำพิธีอธิษฐานจิตร ปลุกเสกในโบสถ์มหาอุตม์ ที่พระสูง
                วันที่ 25 กันยายน 2545 เทวาภิเษก และพุทธาภิเษก ในวิหารหลวงวัดมหาธาตุวรมหาวิหาร บูชาเทพและบรรพบุรุษ ขอพรเพื่อประกอบพิธีพุทธาภิเษก
 
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกโดย
                ปลุกเสกโดยพระเกจิอาจารย์ภาคใต้
 
วัตถุมงคล
 
                รูปบูชาท้าวจตุคามรามเทพลอยองค์ ทั้งแบบบูชาและคล้องคอ
                เหรียญอุดมโชค 8 อรหันต์สุวรรณภูมิ เหรียญใหญ่ และเหรียญเล็ก
               พระผงว่านอุดมโชค 8 อรหันต์สุวรรณภูมิ มีทั้งผงว่าน เนื้อผงว่านเคลือบ
               เหรียญอุดมโชค 8 อรหันต์สุวรรณภูมิ เนื้อโลหะ
               เหรียญปิดตาพังพระกาฬ
               เหรียญ 12  นักษัตร คุ้มครองดวงชะตา
 
 
รุ่นชนะมาร
 
ผู้จัดสร้าง
 
            โดยมูลนิธิสิรินธรราชวิทยาลัยในพระราชูปถัมภ์
 
วัตถุประสงค์   
 
                เพื่อจัดสร้างพระอุโบสถเฉลิมพระเกียรติ ณ. วัดสิริธรเทพรัตนาราม ตำบลอ้อมใหญ่ อำเภอสามพราน จ.นครปฐม เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 48 พรรษา
 
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกสถานที่
 
                มหาจักพรรดิเทวาภิเษก วันที่ 4-6 มิถุนายน 2547 ณ.วิหารทับเกษตร วัดบรมธาตุ และศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช
 
 
ประพิธีพุทธาภิเษกโดย
 
                อะผ่อง สกุลอมร ผู้ประกอบพิธีเทวาภิเษกฝ่ายฆรราวาส
                พระเกจิอาจารย์สายเขาอ้อ อธิษฐานจิตร
                พระสงฆ์ 108 รูป เจริญพระพุทธมนต์ธรรมจักรกัปปวัฎนสูตร
 
 วัตถุมงคล
 
                พระผงจตุคามรามเทพ เนื้อผง,เนื้อเคลือบ,เนื้อหยก
 
           
 
รุ่นบูรณะหลักเมืองนครศรีธรรมราช
 
ผู้จัดสร้าง
 
            พล.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นที่ปรึกษาด้านการจัดสร้าง และพิธีกรรมต่างๆ
 
วัตถุประสงค์  
 
                เพื่อหารายได้นำไปบูรณะหลักเมืองนครศรีธรรมราช
 
ประกอบพิธีพุทธาภิเษก
 
                ณ.มณฑลพิธีหน้าวิหารหลวง วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร วันที่ 30 มกราคม 2547 พระคณาจารย์ดัง 9 รูป นั่งปรกประจำทิศ
                ณ.หอพระสูง สิริมงคลสมโภชใหญ่ในศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช วันที่ 22  พฤษภาคม 2547
 
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกโดย
 
                พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นผู้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ
 
วัตถุมงคล
 
                เนื้อผง,เนื้อเคลือบ,พระเศียรหลักเมือง
 
               
 
รุ่นมั่งมีศรีสุข
 
 ผู้จัดสร้าง
 
            คุณ ช.เชื้อเพ็ชญ เพ็ชญไพศิษฎ์ ประธานการจัดสร้างและคณะร่วมกันจัดสร้าง
 
วัตถุประสงจัดสร้าง
 
                เพื่อหารายได้นำไปนำไปจัดสร้างอาคารสภาทนายความจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อเป็นจุดศูนย์กลางการช่วยเหลือในทางกฎหมายต่อประชาชนที่เดือดร้อน
 
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกสถานที่
 
                วันที่  3 กุมภาพันธ์ 2547 ณ.เนินมังกร เขาพลายดำ แห่งมังกรทะเลใต้ ให้สัจจะจำนวนการสร้างวัตถุมงคลทุกชนิด เพื่อมิให้คณะผู้จัดสร้างเสริมขึ้นมาภายหลัง
                วันที่ 5 กุมภาพันธ์  2547 อธิษฐานบอกกล่าวต่อสิ่งศักดิ์สิทธ์ พระแม่ธรณี เทพแทวดา และต่อดวงจิตประชาชน ซึ่งอธิษฐานต่อ ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช ทั้ง 4 ทิศ
                วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2547 ณ.เนินมังกร เขาหลายดำ แห่งมังกรทะเลใต้
                วันที่  4-6 มิถุนายน 2547  ณ. ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช
 
ประพิธีพุทธาภิเษกโดย
 
                คุณอะผ่อง สกุลอมร ผู้ประกอบพิธีกรรมอัญเชิญองค์จตุคามรามเทพ
 
วัตถุมงคล
 
                1.พระบูชาจตุคามรามเทพขนาด 12 นิ้ว เนื้อรมดำ เนื้อทองเหลืองผิวเดิม
                2.พระบูชาจตุคามรามเทพ นาคปรก 7 เศียร 7 นิ้ว เนื้อรมดำ และทองเหลืองผิวเดิม
                3.พระบูชาพิฆเนศ หน้าตัก 9,5,3  นิ้ว เนื้อรมดำ และทองเหลืองผิวเดิม
                4.เหรียญจตุคามรามเทพ เนื้อทองคำ,เงิน,ทองทิพย์
                5.เหรียญพญาราหู เนื้อทองคำ,เงิน,ทองทิพย์
                6.พระกริ่งรูปเหมือนจตุคามรามเทพ เนื้อทองคำ,นวะ,เงิน,ทองทิพย์,ทองผสม
                7.พระผงสุริยันจันทรา
                8.ตะกรุดพญาราหู,ตะกรุดหนุมาน,เนื้อตะกั่วขนาด 3 นิ้ว


รุ่นอุดมโชค โภคทรัพย์ ปี 2548
 
 ผู้จัดสร้าง
 
            วัดสิรินธรเทพรัตนาราม ในพระราชูปถัมภ์ อ.สามพราน จ.นครปฐม
 
วัตถุประสงค์
 
-         เพื่อสมทบทุนจัดสร้างรูปหล่อองค์พ่อจตุคามรามเทพ ขนาดสูง 2.80 เมตร
-         จัดสร้างวิหารประดิษฐานองค์พ่อจตุคามรามเทพ ณ .วัดสิรินธร
-         เพื่อเป็นทุนการศึกษาพระภิกษุ-สามเณร วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
-         เพื่อเป็นทุนอาหารสำหรับเด็กนักเรียนศูนย์เด็กเล็กวิทยาเขตสิรินธร
 
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกสถานที่
 
 - วันที่ 18-19 ธันวาคม 2547 พระธรรมวราจารย์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรฯ พระราชธรรมสุธี เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุ กดพิมพ์เป็นปฐมฤกษ์ ฯพณฯ ธานินทร์ไกรวิเชียร องคมนตรี ประธานพิธีเททอง พลโท ผาดโผน อินทรทัต ผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ เป็นประธานพิธีบวงสรวง คุณอะผ่อง สกุลอมร ประกอบพิธีอัญเชิญองค์จตุคามรามเทพ อธิษฐานจิต  ลงอักขระกำกับชนวนมวลสาร  ณ. มณฑลพิธี วัดสิรินธรเทพรัตนาราม
-
วันที่ 30 มกราคม 2548 ปลุกเสกตามพิธีกรรมสูตรโบราณแห่งสำนักเขาอ้อ ณ.ถ้ำทันต์บรรพต โดยพระคณาจารย์สายเขาอ้อ ทั้งหมด 9 รูป
- วันที่ 6 มีนาคม 2548 ณ.วิหารหลวง วัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร
 
 
ประพิธีพุทธาภิเษกโดย
 
                คุณอะผ่อง สกุลอมร ผู้ประกอบพิธีกรรมอัญเชิญองค์จตุคามรามเทพ
 
 วัตถุมงคล
 
-         รูปหล่อลอยองค์
-         พิมพ์น้ำตาลแว่น ขนาด 4.5 ซม.
 
               
รุ่น108 ปี พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช ปี 2549
 
ผู้จัดสร้าง
            สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในการทำบุญฉลองอายุครบ 9 รอบ 108 ปีของท่านพล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช
 
วัตถุประสงค์           
 
-         แจกคณะกรรมการผู้ดำเนินงาน
-         นำไปให้ผู้มีจิตศรัทธาบูชาทำบุญ หาปัจจัยเข้าวัด
 
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกสถานที่
 
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2549 ณ.วัดราชสิงขร ราชบุรี
วันที่ 11 มีนาคม 2549 ทำพิธีกลางทะเล บริเวณปากน้ำเมืองนครศรีธรรมราช
วันที่ 24 มีนาคม 2549  ในวัดมหาธาตุมหาวรวิหาร
 
 
 มวลสาร
 
                มวลสารศักดิ์สิทธิ์ที่นำมาจัดสร้างเป็นเนื้อผงนั้นประกอบด้วย มวลสารศักดิ์สิทธ์มากมายทั่วประเทศ และหายาก นำมาบดรวมกันเพื่อสร้างเป็นพระเนื้อผงต่างๆ
 
วัตถุมงคล
 
-         เนื้อพิเศษ กดพิมพ์ด้วยมือ ด้านหลังฝังเม็ดยา ตะกรุดทองคำ และเส้นผมของท่าน มี 3 สี คือ ขาว,เขียว,ดำ สีละ 108 องค์
-         เนื้อพิเศษกดพิมพ์ด้วยมือ ด้านหลังฝังเม็ดยา เพื่อแจกแก่คณะกรรมการผ้ดำเนินงาน 1 ชุดมี 3 สี ขาว,เขียว.ดำ สีละ 308 องค์
-         เนื้อธรรมดา 1ชุด มีสามสี ขาว,แดง,ดำ จำนวนสร้างรวมกัน 20,108 องค์
-         เหรียญเนื้อโลหะ เป็นชุดที่สร้างใหม่
 
 
 
รุ่น 9 รอบ 9 พิธี 108 ปี ท่านขุนพันธ์(หลักเมืองรุ่นพิเศษ) พ.ศ.2549
 
ผู้จัดสร้าง
 
            เนื่องในวาระที่ พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช มีอายุครบ 9 รอบ 108 ปี จึงได้จัดสร้างขึ้นมา
 
วัตถุประสงค์           
 
-         จัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ มอบให้แก่โรงพยาบาลนครศรีธรรมราช
-         ก่อสร้างต่อเติมมณฑป วัดหน้าพระบรมธาตุ ที่ค้างอยู่ให้สำเร็จ
-         ก่อสร้างศาลาประดิษฐาน พระเสื้อเมืองท้าวจตุคาม และพระทรงเมืองรามเทพในวัดหน้าพระบรมธาตุ
 
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกสถานที่
 
                ประกอบพิธีบวงสรวง ประกอบพิธีกรรมปลุกเสก ประกอบพิธีกรรมพุทธาภิเษก ประกอบพิธีเทวาภิเษก รวมกัน ถึง 9 ครั้ง 9 วาระด้วยกัน
 
 
 
วัตถุมงคล
 
-         พระผงสุริยันจันทรา ท้าวจตุคามรามเทพ ขนาด 5 ซม.(มีหลายเนื้อ)
-         เหรียญจตุคามรามเทพ ขนาด 3.2 ซม.  (มีหลายเนื้อ)
-         เหรียญแสตมป์เศียรหลักเมือง ยันต์กลับ (มีหลายเนื้อ)
-         เหรียญปิดตาพระโพธิสัตว์พังพระกาฬ (มีหลายเนื้อ)
 
 
รุ่นขุนทรัพย์ ปี 2549
 
ผู้จัดสร้าง
 
            มูลนิธิศรีรัตนโกสินทร์ ในพระอุปถัมภ์
 
วัตถุประสงค์           
 
             เพื่อกองทุนผู้ป่วยโรคไต และสงฆ์อาพาธ มูลนิธิศรีรัตนโกสินทร์ ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตน์ราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี จัดหาทุนทรัพย์ จัดซื้อเครื่องล้างไต และอื่นๆ
 
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกสถานที่
 
-  พิธีเททองหล่อนำฤกษ์ ณ วัดสุทธาราม กรุงเทพฯ วันที่ 10 มีนาคม 2549
-  พิธีเทวาภิเษก-พุทธาภิเษก ณ.วัดพระมหาธาตุ และศาลหลักเมือง นครศรีธรรมราช วันที่ 4-5 มิถุนายน 2549
 
 
วัตถุมงคล
 
-         พระพุทธรูปเหมือนขนาบูชา
-         เสาหลักเมืองจำลอง
-         เหรียญปิดตาพังพระกาฬ
-         พิมพ์น้ำตาลแว่น
 
 
รุ่นโคตรเศรษฐี ปี 2549
 
ผู้จัดสร้าง
 
            วัดโพธิ์แก้วประสิทธ์ ต.สินปุน อ.เขาพนม จ.กระบี่
 
วัตถุประสงค์           
 
            เพื่อหารายได้นำไปเพื่อสมทบทุนสร้างอุโบสถ วัดโพธิ์แก้วประสิทธิ์
 
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกสถานที่
 
 วันที่  26 ตุลาคม  2549 ณ.วัดมหาธาตุมหาวรวิหาร
วันที่ 29 กันยายน 2549ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกมหาเทวาภิเษก มหานพเคราะห์ โดยหลวงหนุ่ย วัดคอหงษ์ เป็นเจ้าพิธี ณ. ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช วันที่ 29 กันยายน 2549
          พิธีต่างๆล้วนใช้ พระเกจิสายเขาอ้อ
 
 
ประพิธีพุทธาภิเษกโดย
 
                พระครูใบฎีกาปราณพ(หลวงหนุ่ย) วัดคอหงษ์
 
วัตถุมงคล
 
-         พระบูชา ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว
-         รูปหล่อลอยองค์
-         รูปหล่อศรีมหาราชพังพระกาฬ
-         เหรียญหล่อบาตรน้ำมนต์
-         เหรียญขนาด 3.2 ซม.
-         เหรียญขนา 3.2 ซม. ชุดกรรมการ
-         พระผงว่าน ขนาด 5.5 ซม.
-         ชุดพิเศษกรรมการอุปถัมภ์  1ชุด 5 องค์
 
               
 
 
 
รุ่นปาฎิหารย์ ปี 2549
 
ผู้จัดสร้าง
 
            วัดห้วยมงคล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์
 
วัตถุประสงค์           
 
                เพื่อหารายได้นำไปบูรณะปฎิสังขรณ์เสนาสนะต่างๆ ที่ชำรุดทรุดโทรมสร้างอาคารเรียนปริยัติธรรม และส่วนหนึ่งนำไปช่วยเหลือ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจตะเวณชายแดน
 
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกสถานที่
 
-         วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน 2549 ณ.มณฑลพิธีหน้าองค์หลวงปู่ทวด สก.
-         วันอาทิตย์ที่ 27 สิงหาคม 2549 ณ.มณฑลพิธีหน้าองค์หลวงปู่ทวด สก.
-         วันพฤหัสบดี 19 ตุลาคม 2549 พิธีเทวาภิเษก โดยหลวงหนุ่ย ณ.มณฑลพิธี หน้าองค์หลวงปู่ทวด สก.
-         วันเสาร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2549 ณ.มณฑลพิธีหน้าองค์หลวงปู่ทวด สก.
 
 
ประพิธีพุทธาภิเษกโดย
 
พระครูใบฎีกาปราณพ(หลวงหนุ่ย) วัดคอหงษ์
 
วัตถุมงคล
 
                มีการจัดสร้างหลายพิมพ์ แต่ที่ได้รับความนิยมมากด้านหน้าเป็นหลวงปู่ทวด ด้านหลังเป็นองค์จตุคามรามเทพ
 
               
 
 
 
 
รุ่นเฉลิมพระเกียรติ ปี 2548
 
ผู้จัดสร้าง
 
            ชมรมไทยคู่ฟ้าในโอกาสครบรอบ 9 ปี
 
วัตถุประสงค์           
 
-         เพื่อนำรายได้ขึ้นทูลเกล้าถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ตามพระอัธยาศัย ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุ 50 พรรษา
-         ส่วนหนึ่งบูรณะศาสนนสถานภายในวัดมหาธาตุฯ
-        จัดซื้ออุปกรณ์การศึกษาแก่นักเรียนในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
 
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกสถานที่
 
                วันที่ 14 พฤษภาคม  2548 ณ. วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช
 
 
ประพิธีพุทธาภิเษกโดย
 
                พระราชธรรมสุธี เจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุฯ นครศรีธรรมราช
                พล.ท.ขวัญชาติ กล้าหาญ แม่ทัพภาคที่ 4  ประธานฝ่ายฆราวาส
 
วัตถุมงคล
 
                ประกอบด้วย รูปเหมือนขนาดบูชา,พระกริ่งองค์จตุคาม,ดวงตราท้าวจตุคามรามเทพ หลายเนื้อ หลายรูปแบบ ทั้งเนื้อผง,เคลือบ และแกะจากหินรัตนชาติ
               
               
 
 
 
รุ่นสมบัติจักรพรรดิ
 
ผู้จัดสร้าง
 
            ดำเนินการสร้างโดย มูลนิธิจีเต็กลิ้ม วัดนางพระยา อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช และวัดโบสถ์ อ.สามโคก จ.ปทุมธานี
 
วัตถุประสงค์           
 
-         ร่วมสมทบทุนโครงการเพชรยอดมงกุฎ มูลนิธิร่มฉัตร ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาและส่งเสริมการศึกษาของเยาวชนทั่วประเทศไทย
-         ก่อสร้างวิหารจตุคามรามเทพ ประดิษฐาน จตุคามรามเทพองค์ใหญ่ ณ.วัดอุบลวนารามอ.บางกรวย จ.นนทบุรี
-         สร้างรูปปั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)
-         ร่วมสมทบในกองทุนบัณฑิตคืนถิ่นสิรินธรเพื่อสนับสนุนการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย
-         ปรับปรุงภูมิทัศน์วัดนางพระยา ต.ปากนคร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
-         ร่วมสร้างวัดธรรมปทีป ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
 
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกสถานที่
 
ครั้งที่ 1 บวงสรวงเททองหล่อนำฤกษ์ ณ. ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช
ครั้งที่ 2 บวงสรวงเทวดาบูชาฤกษ์ อัญเชิญเทวดานพเคราะห์ ณ.วัดพระบรมธาตุ
ครั้งที่ 3 พิธีจตุมหาราชเทวาภิเษก ณ. วิหารจตุคามรามเทพ วัดนางพระยา
 
 
วัตถุมงคล
 
-         พระปิดตาพังพระกาฬ
-         จตุคามรามเทพ
-         พระปรกใบมะขามเทพประทานพร
-         บาตรน้ำพระพุทธมนต์
-         ผ้ายันต์ประจำวันเกิด
-         เศียรจตุคามแบบปั้ม
-         พระบูชาจตุคามรามเทพ
 
 
รุ่นสองแผ่นดิน
 
ผู้จัดสร้าง
 
            จัดสร้างโดยหาทุนสร้างวิหารประดิษฐานพระรูปเหมือนลอยองค์
 
วัตถุประสงค์           
 
                ทุนสร้างวิหารประดิษฐานพระรูปเหมือนลอยองค์จตุคามรามเทพองค์ใหญ่ ณ.วัดนางพระยาต.ปากนคร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช และเมืองอิโปประทศมาเลเซีย
 
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกสถานที่
 
-         วันที่ 20 สิงหาคม 3548 พิธีนพเคราะห์เทวาภิเษก ใรวาระเททองสองแผ่นดิน
-         วันพฤหัสบดี ที่ 1 ธันวาคม 2548 พิธีนพเคราะห์เทวาภิเษก ณ.วิหารทับเกษตร วัดมหาธาตุ
-         วันที่ 2-4 ธันวาคม 2548 พิธีมหาจักรพรรดิ์เทวาภิเษก สมโภช ณ.วัดนางพญา
 
 
วัตถุมงคล
 
                ประกอบไปด้วยพิมพ์ต่างๆ หลายชนิด ทั้งพระบูชา,พระผง,เหรียญ,พระปิดตาลอยองค์
 
               
 
 
รุ่นสุวรรณวิชัย ปี พ.ศ. 2548
 
ผู้จัดสร้าง
 
            วัดสุวรรณวิชัย(วัดกุฎิ) ตำบลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
 
วัตถุประสงค์           
 
                เพื่อหารายได้นำไปสมทบทุนสร้างพิพิธภัณฑ์และหอสมุกของวัดสุวรรณวิชัย
 
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกสถานที่
 
-   วันที่ 23 เมษายน 2548 พิธีบวงสรวง และกดพิมพ์องค์นำฤกษ์ ณ.วัดสุวรรณวิชัย
-   วันที่ 22-24 พฤษภาคม 2548 พิธีบวงสรวงเทวดา พิธีมหามงคลพุทธาภิเษก ณ.วัดบ้านสวน จ.พัทลุง
-   วันที่ 23 สิงหาคม 2548 พิธีมังคลาพุทธาภิเษก ณ. ถ้ำฉัตทันต์บรรพต วัดเขาอ้อ
-   วันที่ 27 สิงหาคม 2548 พิธีมังคลาเทวาภิเษก ณ. วัดสุวรรณวิชัย
 
 
ประพิธีพุทธาภิเษกโดย
 
                อาจารย์ประจวบ คงเหลือ (ศิษย์สายเขาอ้อ)
 
วัตถุมงคล
 
-         พระรูปเหมือนขนาดบูชา(มีหลายเนื้อ)
-         พระรูปหล่อลอยองค์ ขนาดเล็ก(มีหลายเนื้อ)
-         พระผงองค์เทพราชัน ขนาด 5.9 ซม.(มีหลายเนื้อ)
-         พระว่านองค์เทพราชันขนาด4 ซม.
-         พระผงองค์เทพราชัน ขนาด2.5 (มีหลายเนื้อ)
 
               
 
 
 
รุ่นอยู่เย็นเป็นสุข
 
ผู้จัดสร้าง
 
            มูลนิธิกู้ภัยกระบี่
 
วัตถุประสงค์           
 
                เพื่อหารายได้ก่อตั้งมูลนิธิ พร้อมทั้งจัดหายานพาหนะและอุปกรณ์การกู้ภัยให้การช่วยเหลือ     ผู้ประสบภัยอย่างมีประสิทธิภาพ
 
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกสถานที่
 
                พิธีพุทธาภิเษก ชนวนมวลสาร เททอง์กดพิมพ์ เป็นปฐมฤกษ์โดยพระคณาจารย์สายเขาอ้อ ในวันที่ 1-2 กันยายน 2548
 
พิธีมหาพุทธาภิเษกและพิธีมหาจักพรรดิเทวาภิเษก วันที่ 29 ตุลาคม 2548 ณ.มณฑลพิธีมูลนิธิกู้ภัยจังหวัดกระบี่ โดยนายอะผ่อง สกุลอมรเป็นเจ้าพิธี
 
 
ประพิธีพุทธาภิเษกโดย
 
                อะผ่อง สกุลอมร ผู้ประกอบพิธีกรรมอัญเชิญองค์จตุคามรามเทพ,มีคณาจารย์สายเขาอ้อสายใต้และจากทั่วประเทศรวม 36รูป ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต
 
วัตถุมงคล
 
                พระรูปเหมือนขนาดบูชา,เหรียญจอมราชัน,รูปหล่อลอยองค์,เหรียญเม็ดกระดุม,เหรียญพญาราหูพิมพ์จิ๋ว,ดวงตราสุริยันจันทรา
               
               
 
 
 
 
 
รุ่นมงคลบารมีศรีธรรมราชปี 2548
 
ผู้จัดสร้าง
 
            พระครูพิทักษ์เจตติยา นุการ เจ้าอาวาสวัดถลุงทอง จังหวัดนครศรีธรราราช
 
วัตถุประสงค์           
 
-         เพื่อบูรณะศาสนสถานวัดถลุงทอง
-         เพื่อบูรณะอาคารอเนกประสงค์มงคลบารมี พ่อท่านคลิ้ง จนทสิริ อดีตเจ้าอาวาส ที่ได้รับความเสียหาย เนื่องจากไฟไหม้
 
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกสถานที่
 
-         วันที่ 8 ตุลาคม 2548 ประกอบพิธีบวงสรวงอัญเชิญองค์จตุคามรามเทพ เพื่อเป็นองค์ประธานในพิธีเททอง หล่อนำฤกษ์  และกดพิมพ์นำฤกษ์ ณ.วัดนางพระยา
-         วันที่ 27 ตุลาคม 2548 ประกอบพิธีบวงสรวงอัญเชิญองค์จตุคามรามเทพมหาเทวาภิเษก โดยพระอาจารย์ชื่อดังทั่วประเทศ
 
 
ประพิธีพุทธาภิเษกโดย
 
                อาจารย์ ประจวบ  คงเหลือ (ศิษญ์สายเขาอ้อ)เป็นผู้ประกอบพิธีกรรมอัญเชิญองค์จตุคามรามเทพ
 
วัตถุมงคล
 
-         พระผง
-         พระบูชา
-         ผ้ายันต์
 
               
 
รุ่นปรกเกล้า ปี 2549
 
ผู้จัดสร้าง
 
            คุณเทพไทย  เสนพงศ์
 
วัตถุประสงค์           
 
                เพื่อหารายได้นำไปสมทบทุนในการสร้างศาลาการเปรียญ ณ. วัดสิรินธรเทพรัตนา รามในพระราชูปถัมภ์ เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นพระราชกุศล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสครองสิริราชสมบัติครบ 60ปี
 
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกสถานที่
 
-         วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2549 ประกอบพิธีบวงสรวง ณ .ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช
-         วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2549 ตรงกับวันมาฆบูชา ประกอบพิธีเททองหล่อองค์บูชาจำลอง นาคปรก 9 เศียร เนื้อบรอนซ์ เป็นปฐมฤกษ์ จำนวน 60 องค์
-         วันที่ 1  เมษายน 2549 ประกอบพิธีเททองหล่อองค์บูชาจำลองและพิธีปลุกเสกหล่อแท่งชนวนโลหะ ณ.มณฑลพิธี หาดทรายแก้ว วัดพระมหาธาตุ นครศรีธรรมราช โดยพระคณาจารย์สาขเขาอ้อ 8 รูป นั่งปรก
 
 
วัตถุมงคล
 
-         พระเทวราชโพธิสัตว์ นาคปรก 9 เศียร
-         เหรียญพระเทวราชโพธิสัตว์พังพระกาฬ (มีหลายเนื้อ)
-         ยอดเศียรหลักเมือง พิมพ์ใหญ่- พิมพ์เล็ก ทั้งอุดผงใต้ฐาน และไม่อุดผง
 
               
 
 
 
 
 
 
รุ่นสิริมงคล ปี 2550
 
ผู้จัดสร้าง
 
            ศูนย์กู้ภัยสิชลนครศรีธรรมราช
 
วัตถุประสงค์           
 
                เพื่อหารายได้นำไปซื้ออุปกรณ์กู้ชีพ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย และอุบัติเหตุ
 
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกสถานที่
 
                วันที่ 30 ตุลาคม 2549 พิธีกดพิมพ์นำฤกษ์พุทธา-เทวาภิเษก ณ. มณฑลพิธีวัสดุทธาราม กรุงเทพฯ และยังประกอบพิธีพุทธา-เทวาภิเษก อีก 4 วาระ 4 พิธีกรรม โดยนายอะผ่อง สกุลอมร(โกผ่อง)
 
 
ประพิธีพุทธาภิเษกโดย
 
                คุณอะผ่อง สกุลอมร ผู้ประกอบพิธีกรรมอัญเชิญองค์จตุคามรามเทพ
 
วัตถุมงคล
 
                ดวงตราสุริยันจันทรา
 
               
 
 
 
 
 
 
 
 
รุ่นบารมีธรรม
 
ผู้จัดสร้าง
 
            วัดบรมวงศ์อิศรวรารามวรวิหาร พรนครศรีอยุธยา  หลวงพ่อรวยวัดตะโก เป็นประธานจัดสร้าง
 
วัตถุประสงค์           
 
                เพื่อหารายได้นำไปสมทบทุนสร้างอาคารเรียนปริยัติธรรม
 
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกสถานที่
 
                ณ.มณฑลพิธีวัดบรมวงศ์ฯ เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา 13.09 เริ่มพิธีพุทธาภิเษก โดยพระคณาจารย์ดัวทั่วประเทศ รวม 36 รูป จนถึงเวลา 20.09 โดยโกผ่อง  ผู้ประกอบพิธีมหาจักรพรรดิ์เทวาภิเษก
 
 
ประพิธีพุทธาภิเษกโดย
 
                คุณอะผ่อง สกุลอมร ผู้ประกอบพิธีกรรมอัญเชิญองค์จตุคามรามเทพ
 
 วัตถุมงคล
 
-         พิมพ์ดวงตราสุริยะเทพ
-         พิมพ์ปางประทานพร
-         พิมพ์ปางปาฎิหาริย์
-         เหรียญขนาด 3.3 ซม.
-         รูปหล่อลอยองค์
 
 
               
 
 
 
 
 
รุ่นปีมหามงคล 2549-2550 เงินไหลมา

ผู้จัดสร้าง
 
            วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช
 
วัตถุประสงค์           
 
                เพื่อหารายได้สมทบทุนสร้างอาคารเรียน โรงเรียนพระปริยัติธรรมของทางวัด
 
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกสถานที่
 
วันที่ 23 พฤศจิกายน 2549 กดพิมพ์เป็นปฐมฤกษ์ ณ. ศาลหลักเมือง วัดพระมหาธาตุ  วรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช
วันที่ 28 ธันวาคม 2549 ทำพิธีบวงสรวงและพุทธา-เทวาภิเษก ณ.หอพระพุทธสิหิงค์ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช
วันที่ 29 ธันวาคม 2549 ทำพิธีมหาพุทธาภิเษก-เทวาภิเษก ณ.พระวิหารหลวง วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
 
 
 วัตถุมงคล
 
                -   พระเนื้อผง
 
               
 
               
 
 
 
 
 
 
รุ่นบารมีศรีวิชัยปี 2550
 
ผู้จัดสร้าง
 
            วัดศรีวิชัยพัฒนาราม หมู่ที่ 6 ต.ทอนหงษ์ อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช
 
วัตถุประสงค์
 
                เพื่อหารายได้บูรณะวัดศรีวิชัยย
 
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกสถานที่
 
พิธีมหาจักพรรดิเทวาภิเษก ณ.ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช วันที่  10 กุมภาพันธ์ 2550พระคณาจารย์เขาอ้อ 10 รูป พระมหานาคเขาอ้อ 4 รูป พราหมณ์จิตร เทวรัตน์  ประกอบพิธีบวงสรวง พระใบฎีกาปราณพ (หลวงหนุ่ย) วัดคอหงษ์ เจ้าพิธี
พิธีมหาจักพรรดิเทวาภิเษก ณ.วิหารหลวงวัดพระธาตุฯ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2550 พระทรงสมณศักดิ์ 8 รูป พระคณาจารย์เมืองนครศรีธรรมราช 8 รูป พระคณาจารย์สายใต้ 8 รูป พราหมณ์จิตร เทวรัตน์ ประกอบพิธีบวงสรวง พระอาจารย์ไพสิฐ สิทธิญาโณ อาศรมวิเวกสามแก้ว เจ้าพิธี
 
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกโดย
 
พระครูใบฎีกาปราณพ(หลวงหนุ่ย) วัดคอหงษ์ ,พระอาจารย์พสิฐ สิทธิญาโณ อาศรมวิเวกสามแก้ว
 
 วัตถุมงคล
 
พระบูชาเทวราช
รูปหล่อเทวราช
พระผงเทวราช
 
 
รุ่นมหาโชคมหาเศรษฐีปี 2550
 
ผู้จัดสร้าง
 
            วัดคงคาวง (อ้ายเขียว) ต.ทอนหงษ์ อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช
 
วัตถุประสงค์   
 
                เพื่อหาทุนสมจัดสร้างหอฉันของทางวัด
 
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกสถานที่
 
ประกอบพิธีมหาพุทธา-เทวาภิเษก 3 วาระ(โดยได้กดพิพมพ์นำฤกษ์เป็นปฐม ณ.พระอุโบสถวังคงคาวง
วันที่ 18 มกราคม 2550  โดยอาจารย์สายเขาอ้อ)
วันที่ 11 มีนาคม 2550 ณ.วัดคงคาราม
วันที่ 13 มีนาคม 2550 ณ.ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช โดย หลวงหนุ่ยนวัดคอหงษ์ เจ้าพิธี
วันที่ 14  มีนาคม 2550 ณ.วัดมหาธาตุ นครศรีธรรมราช (หลวงหนุ่ย)วัดคอหงษ์ เจ้าพิธีษก
 
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกโดย
                พระใบฎีกาปราณพ (หลวงหนุ่ย) วัดคอหงษ์
 
วัตถุมงคล
                 พระบูชา,เนื้อผง,เนื้อผงเคลือบ
 
 
 
 
 
 
 
รุ่นบุญสูงปี 2547
 
ผู้จัดสร้าง
 
            จัดสร้างโดย ดร.ไมตรี บุญสูง
 
วัตถุประสงค์           
 
                เพื่อหารายได้สมทบทุนสร้างศาลเจ้าเจ่งอ๋อง จังหวัดภูเก็ต
 
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกสถานที่
 
ประกอบพิธี ณ.กลางห้องโถงในถ้ำของวัดในเตา อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2447 มีพระอาจารย์หรีด วัดป่าโมก พังงา,พระอาจารย์ประสูติ วัดในเตา ตัง และท่าน ดร.ไมตรี บุญสูงร่วมเป็นประธานในพิธี
มีคณาจารย์ดังร่วมพิธีอย่างเข้มขลัง เช่น หลวงพ่อคล้อย วัดภูเขาทอง .หลวงพ่อเอียด วัดโคกแย้ม,หลวงพ่อพรหมวัดบ้านสวน,หลวงพ่อช่วง วัดควนปันตาราม และ หลวงพ่อแก้ว วัดท่าสำเภาใต้ เป็นต้น
 
ประพิธีพุทธาภิเษกโดย
พระอาจารย์หรีด วัดป่าโมก พังงา
พระอาจารย์ประสูติ วัดในเตา ตรัง
ดร.ไมตรี บุญสูง
               
วัตถุมงคล
 
                พระผงจตุคามรามเทพ เนื้อผง,เนื้อผงสี่เหลี่ยม
 
               
 
 
 
 
 
รุ่นก่อตั้งเทวสถานวัดคอหงษ์ (วัดหงษ์ประดิษฐาราม) ปี 2547
 
ผู้จัดสร้าง
 
            พระใบฎีกาปราณพ(หลวงหนุ่ย) วัดคอหงษ์
ดร.ไมตรี บุญสูง
 
วัตถุประสงค์
 
เพื่อหารายได้ก่อตั้งเทวสถานและหล่อองค์จตุคามรามเทพ ณ. วัดคอหงษ์ ส่วนหนึ่งสมทบทุนสร้างหอเกียรติยศห้องพยาบาลของโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดนครศรีธรรมราช
 
ประกอบพิธีพุทธาภิเษก
 
ณ.วัดคอหงษ์ (วัดหงษ์ประดิษฐาราม)อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เมื่อวันอังคารที่ 28 กันยายน 2547 โดยมีพระใบฎีกาปราณพ(หลวงหนุ่ย) วัดคอหงษ์ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ดร.ไมตรี บุญสูงเป็นประธานฝ่ายฆราวาส มีพระคณาจารย์ดังสายใต้จำนวน 19 รูป นั่งปรกในพิฑี
               
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกโดย
 
                พระใบฎีกาปราณพ (หลวงหนุ่ย)วัดคอหงษ์
                ดร.ไมตรี  บุญสูง
 
วัตถุมงคล
 
 เนื้อผงไม้เทพธาโร
เนื้อไม้มงคลเก้าชนิด
เนื้อผงว่านดำ
เนื้อผงว่าน 108
เนื้อดิน
 


               
รุ่นพลโท สรรเพชญ ธรรมาธิกุล ปี 2548-2549
 
ผู้จัดสร้าง
 
            พลตำรวจโทสรรเพชญ ธรรมาธิกุล
 
วัตถุประสงจัดสร้าง           
 
                จัดสร้างมาเพื่อเป็นที่ระลึก
 
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกสถานที่
 
วันที่  4 สิงหาคม 2548 ประกอบพิธีเททองหล่อ และดกพิมพ์เป็นปฐมฤกษ์
วันที่ 10 พฤศจิกายน 2548 ประกอบพิธีเทวาภิเษก ณ. เสาหลักชัย เหนือยอดเขาบ้านศิลา อ.หล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์
 
ประพิธีพุทธาภิเษกโดย
 
                พลตำรวจโทสรรเพชญ ธรรมาธิกุล ผู้ประกอบพิธีกรรมอัญเชิญองค์จตุคามรามเทพ
 
วัตถุมงคล
 
                1.พระบูชาพระโพธิสัตว์พังพระกาฬนาคปรก
                2.พระผงสุริยันจันทรา
ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 ได้สร้างเพิ่ม อีกชุดหนึ่ง ประกอบด้วย
-   พระบูชาพระโพธิสัตว?พังพระกาฬ
-   รูปหล่อลอยองค์
-   พระผงสุริยันจันทรา

 


รุ่น 700 ปี ศรีวิชัย ปี 2549
 
ผู้จัดสร้าง
 
            มูลนิธิ เพื่อนพึ่ง(ภา)ยามยาก ในพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุ
 
วัตถุประสงค์
 
เพื่อจัดซื้อคอมพิวเตอร์ใช้ในกิจการด้านการศึกษาให้โรงเรียนในจังหวัดนครศรีธรรมราช
 
 
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกสถานที่
 
                วันที่ 18 มีนาคม  2549 ณ.วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร โดยพระราชธรรมสุธี เจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุ ประธานจุดเทียนชัย พ่อท่านนวล ปริสุทโธ วัดไสหร้า ดับเทียนชัย อาจารย์ประจวบ คงเหลือ ศิษย์สายเขาอ้อ เจ้าพิธี
 
ประพิธีพุทธาภิเษกโดย
 
                อาจารย์ประจวบ คงเหลือ (ศิษย์สายเขาอ้อ)
 
วัตถุมงคล
 
-         ดวงตราพระเทวราชโพธิสัตว์ จตุคามรามเทพ
-         ดวงตราพระเทวราชโพธิสัตว์ พังพกาฬ
-         เหรียญพระเทวราชโพธิสัตว์
-         รูปหล่อพระเทวราชโพธิสัว์
 
 
 
 
               
รุ่น ไหว้ครู 49
 
ผู้จัดสร้าง
 
            วัดรวกบางสีทอง ต.บางสีทอง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
 
วัตถุประสงค์
 
-         เพื่อหาทุนสร้างองค์จตุคารามเทพ ขนาดใหญ่ ประดิษฐาราม ณ.วัดรวกบางสีสอง
-         เป็นที่ระลึกในพิธี องค์จตุคามรามเทพ
 
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกสถานที่
 
                วันที่ 3- 4 พฤษภาคม 2549 นายอะผ่อง สกุลอมร ณ.มณฑลพิธีวัดรวกบางสีทอง นนทบุรี
 
ผู้ประกอบพิธี
 
                นายอะผ่อง สกุลอมร 
 
วัตถุมงคล
 
-         พระปิดตาลอยองค์ พิมพ์ใหญ่,เล็ก
-         เหรียญแสตมป์จตุคามรามเทพ
-         พระผงแสตมป์จตุคามรามเทพ
-         กำไล,แหวน,พญาราหูเนื้อเงิน
 
 
 
 
 
 
 
 
รุ่น พุทธศิลป์ย้อนยุค วัดนาสน
 
ผู้จัดสร้าง
 
วัดนาสน จ.นครศรีธรรมราช โดย พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นประธานการจัดหาทุนการก่อสร้าง 
 
วัตถุประสงค์
 
-         จัดทำเสนาสนะสำหรับให้พระใช้ในการประกอบศาสนกิจ
-         ก่อสร้างศาลาการเปรียญ
 
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกสถานที่
 
-   พิธีมหาพุทธาภิเษก ณ.วัดมหาธาตุวรมหหาวิหาร วันที่ 17 พฤษภาคม 2547  เกิดอาทิตย์ทรงกลดเหนือพระบรมธาตุเจดีย์ จากนั้นละอองฝนได้โปรยปรายลงมา
-   พิธีปลุกเสกประจุพุทธาคมอัญเชิญจ้าวสมุทรกลางทะเลลึก เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม     2547ทันใดนั้นก็เกิดอาทิตย์ทรงกลด
-   พิธีบวงสรวง ณ.หอพระสูง และพุทธาภิเษก ณ.ศาลหลักเมือง วันที่ 22 พฤษภาคม   2547 และได้เกิดอาทิตย์ทรงกลดเหนือศาลหลักเมือง
-   ประกอบพิธีพุทธาภิเษกสมโภช ณ. วัดนาสน ในวันที่ 24 กันยายน 2547
 
 
ผู้ประกอบพิธี
 
-         นายณสรรค์ พันธรักษ์ราชเดช (บุตรพล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช)
-         พระอาจารย์เยาว วัดนาสน
 
วัตถุมงคล
 
-         พระสุริยันจันทรา ราหูสิบทิศ
-         พระผง
-         พระซุ้มเจ้าสัว
-         เหรียญ      
 
 
 
 
รุ่นหลักเมือง 49 (เจริญโภคทรัพย์) ปี 2549
 
ผู้จัดสร้าง
 
            จัดสร้างโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุน โครงการพุทธภูมิ และสมทบทุนสร้าง พระมหาโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
 
วัตถุประสงค์
 
-         เพื่อสนับสนุนโครงการพุทธภูมิ
-        สมทบทุนสร้างพระมหาโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร(กวนอิม) ประดิษฐาน ณ บริเวณสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ทราบรมราชชนนี
 
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกสถานที่
 
                -  พิธีสมโภช ณ. ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช วันที่ 3- 4 ธันวาคม 2549 และเทวาภิเษก ณ.วัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช
 
 
วัตถุมงคล
 
-         พระผงสุริยันจันทรา
 
               
 
 
 
 
 
 
รุ่นหลักเมืองพุทธาคมเขาอ้อ ปี 2549
 
ผู้จัดสร้าง
 
            สำนักเขาอ้อ และ ณสรรค์ พันธรักษ์ราชเดช
 
วัตถุประสงค์
 
                เพื่อหารายได้นำไปบูรณะ ก่อสร้างศาลาบำเพ็ญบุญ วัดเขาอ้อ
 
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกสถานที่
 
1   บวงสรวงปลุกเสก ปรุงยาวาสนาจินดามณี ณ.ถ้ำฉัตรฑัณฑ์สำนักเขาอ้อ วันที่ 5 กันยายน 2549                   
2    บวงสรวงขออนุญาต ท้าวจตุคามรามเทพ ณ.วัดมหาธาต วันที่ 6 กันยายน 2549
3   บวงสรวงขออนุญาต องค์พญาราหู ณ.เขาพระราหู สุราษฎร์ธานี  วันที่ 8 กันยายน   2549
4  บวงสรวงขออนุญาต องค์พระโพธิสัตว์ ณ ศาลาพังพระกาฬ วันที่ 10 กันยายน 2549
5  บวงสรวงเททองนำฤกษ์ ณ. วัดหน้าพระธาตุ วันที่ 1 ตุลาคม  2549
6  บวงสรวงพุทธาภิเษก ณ. ถ้ำฉัตรทัณฑ์สำนักเขาอ้อ วันที่ 5 พฤศจิกายน 2549
7  บวงสรวงเจ้าสมุทรปลุกเสกกลางทะเล จ.ชุมพร วันที่ 12 พฤศจิกายน 2549
8  บวงสรวงพุทธาภิเษก-เทวาภิเษก ณ.ศาลหลักเมืองนครศรีธรราราช 19 พฤศจิกายน  2549
9  บวงสรวงพุทธาภิเษกกลางหาว ณ.วัดพระมหาธาตุ วันที่ 26 พฤศจิกายน 2549
 
 
วัตถุมงคล
 
                ท้าวจตุคามรามเทพ เนื้อผง
 
               
 
 
 
รุ่นมหาเทพปาฎิหารย์ ปี 2548
 
ผู้จัดสร้าง
 
            พระครูพิทักษ์เจติยานุการ เจ้าอาวาสวัดถลุงทอง ต.หินตก อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราชวัดห้วยมงคล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์
 
วัตถุประสงค์
 
                เพื่อหารายสมทบทุนก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ พ่อท่านคลิ้ง จนฺทสิริ อดีตเจ้าอาวาสวัดถลุงทอง และร่วมบูรณะเสนาสนะสงฆ์ วัดลำนาวอ.บางขัน จ.นครศรีธรรมราช
 
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกสถานที่
 
-         ท่านพ่อไข่วาจาสิทธิ์ วัดลำนาว เป็นประธานจุดเทียนชัยและพุทธาภิเษก ในคืนวันเพ็ญ ตรงกับวันที่ 24 มกราคม 2548 และพระใบฎีกาปราณพ (หลวงหนุ่ย) วัดคอหงษ์ เป็นประธานพิธีเทวาภิเษก
 
 
ประพิธีพุทธาภิเษกโดย
 
                พระใบฎีกาปราณพ(หลวงหนุ่ย) วัดคอหงษ์
                พ่อท่านไข่ วาจาสิทธิ์ วัดลำนาว
วัตถุมงคล
 
                พระผงสุริยันจันทรา
                พระพรหม
                พระนารายณ์
                พระพิฆเนศและท้าวกุเวร
 
 
               
 
 
 
 
รุ่นมงคลชีวิตปี 2549
 
ผู้จัดสร้าง
 
            พระครูสังฆรักษ์ (ณรงค์) ปวีโร วัดรวก ต.บางสีทอง  อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
 
วัตถุประสงค์
 
-        บูรณะปฎิสังขรณ์เสนาสนะต่างๆ ของวัดรวก
 
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกสถานที่
 
                ประกอบพิธีพุทธาภิเษก- เทวาภิเษก ณ.พระอุโบสถวัดรวก ในวันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2549 โดยนายอะผ่อง สกุลอมร อัญเชิญองค์จตุคามรามเทพ ประกอบพิธีเทวาภิเษก
 
 
ประพิธีพุทธาภิเษกโดย
 
                นายอะผ่อง สกุลอมร (โกผ่อง) อัญเชิญองค์จตุคามรามเทพ
 
 
วัตถุมงคล
 
                พระบูชา,เหรียญพระปิดตาศรีมหาราชพังพระกาฬ, พระผงดวงตราสุริยันจันทรา        
 
 
 
 
 
 
รุ่นไตรภาคีศรีนคร
 
ผู้จัดสร้าง
 
            พระอาจารย์เจริญ เจ้าอาวาสวัดนางตรา นครศรีธรรมราช
 
วัตถุประสงค์
 
-         ร่วมสมทบทุนสร้างอุโบสถ
 
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกสถานที่
 
ครั้งที่ 1 พิธีมหามงคลบวงสรวง ณ. วิทยาลัยนาฎศิลป์นครศรีธรรมราช(วัดท่าเรือ) ในวันที่    12 มีนาคม 2548
ครั้งที่ 2 บวงสรวงมหามงคลพุทธาภิเษก ณ.ศาลาการเปรียญพันธรักษราชเดช วัดนาสน วันที่ 17 มีนาคม 2548
ครั้งที่ 3 พิธีสมโภชพุทธาภิเษก ณ.วัดนางตรา ในวันที่ 19 มีนาคม 2549
 
 
เจ้าพิธีพุทธาภิเษก
 
พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ ราชเดช เป็นประธานการสร้างอุโบสถ และเจ้าพิธีกรรม
 
วัตถุมงคล
 
พระผงท้าวจตุคามราม ท้าวรามเทพ ,พระผงเคลือบ
 
 
 
 
รุ่นพุทธสยาม
 
ผู้จัดสร้าง
 
            จัดสร้างโดยพระครูวินัยธร (มานิตย์) วัดสีกัน (พุทธสยาม) เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ
 
วัตถุประสงค์
 
                เพื่อนำรายได้สมทบทุนก่อสร้างศาลธรรมสังเวช วัดสีกัน
 
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกสถานที่
 
ประกอบพิธีมหาจักพรรดิ- เทวาภิเษก วันที่  3 สิงหาคม 2549 ณ.มณฑลพิธีวัดสีกัน
 
 
เจ้าพิธีกรรม
 
                พระใบฎีกาปราณพ (หลวงหนุ่ย) วัดคอหงษ์ หาดใหญ่
 
               
 
วัตถุมงคล
               
                ดวงตราราชันดำ จตุคามรามเทพ
                เหรียญดวงตราราชันดำ จตุคามรามเทพ
                ชุดกรรมการ
 
 
 
 
 
 
รุ่นคลังสมบัติปี พ.ศ. 2549
 
ผู้จัดสร้าง
 
            วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช
 
วัตถุประสงค์
 
เพื่อหารายก่อตั้งมูลนิธิและจัดซื้อครุภัณฑ์ให้แก่อาคารวิทยบริการ วิทยาลัยเทคนิค จังหวัดนครศรีธรรมราช
 
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกสถานที่
 
-   วันที่ 4 พฤศจิกายน 2549 พิธีมหาพุทธาภิเษก ณ.มรฑลพิธีศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช
-   วันที่ 5 พฤศจิกายน 2549 พิธีมหาพุทธาภิเษกและเทวาภิเษก ณ.บริหารทรายแก้ว หน้วิหารวัดมหาธาตุวรมหาวิหาร
 
 
ประพิธีพุทธาภิเษกโดย
 
                พระใบฎีกา ปราณพ(หลวงหนุ่ย) วัดคอหงษ์ หาดใหญ่
 
วัตถุมงคล
 
-         พระรูปเหมือนขนาดบูชา(มีหลายเนื้อ)
-         พระรูปหล่อลอยองค์ ขนาดเล็ก(มีหลายเนื้อ)
-         พระผงองค์เทพราชัน ขนาด 5.9 ซม.(มีหลายเนื้อ)
-         พระว่านองค์เทพราชันขนาด4 ซม.
-         พระผงองค์เทพราชัน ขนาด2.5 (มีหลายเนื้อ)
 
               
 
 
 
รุ่นมหาเศรษฐี บารมี 10 ทิศ
วัตถุประสงค์
 
                จตุคามรามเทพ รุ่นมหาเศรษฐี บารมี 10 ทิศ  สร้างโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสมทบทุนสร้างกำแพง ซุ้มประตูวัด และบูรณะปฎิสังขรณ์เสนาสนะ วัดจันทร์ อ.ดอนตรอ อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครศรีธรรมราช
 
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกสถานที่
 
                พิธีพุทธาภิเษก  ณ.วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช วันที่ 3 ตุลาคม 2549vอัญเชิญองค์จตุคามรามเทพโดย พระใบฎีกาปราณพ (หลวงหนุ่ย) วัดคอหงษ์
 
 
ประพิธีพุทธาภิเษกโดย
 
                พระใบฎีกาปราณพ (หลวงหนุ่ย) วัดคอหงษ์ หาดใหญ่
 
วัตถุมงคล
 
พระบูชาจตุคามรามเทพ
เศียรองค์พ่อจตุคามรามเทพ
พระผงจตุคามรามเทพ
พระผงปิดตาพังพระกาฬ
               
      
 
 
รุ่นมงคลบารมีครอบฟ้าคลุมดิน ปี 2549
 
ผู้จัดสร้าง
 
            กองทุนหลวงปู่ปาน โสนันโท
 
วัตถุประสงค์
 
-         สมทบทุนารจัดซื้อที่ดินและพัฒนาธุดงคสถานสุธาวงศ์มงคลราชพรหมปัญโญอนุสรณ์
-         สมทบทุนในการจัดสร้างองค์จตุคามรามเทพ รูปยืนบนบานประตู ณ.ธุดงคสถานฯและวัดพุทธพรหมปัญโญ จ.เชียงใหม่
-         สมทบทุนเริ่มต้นในการจัดสร้างวิหารถวายทั้ง 2 สถานนี้
-         สมทบทุนเข้ากองทุนหลวงปู่ปาน โสนันโท เพื่อจัดตั้งเป็นมูลนิธิต่อไป
-        เพื่อการเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
 
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกสถานที่
 
-         ประกอบพิธีบวงสรวง กดพิมพ์ในวันจันทร์ที่ 10 กรกฎาคม 2549 ณ. ธุดงสถานสุธาวงค์มงคลราชพรหมปัญโญอนุสรณ์ สุพรรณบุรี
 
พิธีพุทธาภิเษก และเทวาภิเษก
 
ครั้งที่ 1 วันที่ 5 พฤศจิกายน 2549 (วันลอยกระทง) ณ. เกาะทะลุ อ.บางสะพานน้อยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ครั้งที่ 2 วันที่ 25 ฤศจิกายน 2549  ณ.ธุดงสถานสุธาวงศ์มงคลราชพรหมปัญโญอนุสรณ์ จ.สุพรรณบุรี
ครั้งที่ 3 วันที่ 1-3 ธันวาคม 2549 ณ.ธุดงสถานสุธาวงศ์มงคลราชพรหมปัญโญอนุสรณ์ จ.สุพรรบุรี
 
 
วัตถุมงคล
 
-         พระบูชาจตุคารามเทพ นั่งมหาราชลีลา
-         พระบูชาจตุคามรามเทพยืนสูง
-         รูปหล่อลอยองค์
-         เหรียญมหาจักรปาฎิหาริย์
-         ดวงตราพระเทวราชโพธิสัตว์
-         ผ้ายันต์มงคลไตรจักรมหาโภคทรัพย์
-         สีผึ้งจันทร์เพ็ญราชันดำ     
 


รูปและรุ่นต่างๆของจตุคามรามเทพมีดังนี้
  จตุคามรามเทพ 1  จตุคามรามเทพ 2  จตุคามรามเทพ 3  จตุคามรามเทพ 4 
จตุคามรามเทพ 5 
จตุคามรามเทพ 6  จตุคามรามเทพ 7  จตุคามรามเทพ 8 
จตุคามรามเทพ 9  จตุคามรามเทพ 10 
จตุคามรามเทพ 11

ท้าวจตุคามรามเทพ พระจตุคามรามเทพ จตุคามรามเทพ รุ่นโคตรเศรษฐี จตุคาม-รามเทพ จตุคามรามเทพ รุ่นเงินไหลมา จตุคามรามเทพรุ่นโคตรเศรษฐี พระจตุคาม จตุคามรามเทพ ทุกรุ่น จตุคาม รักพ่อ ท้าวจตุคาม จตุคาม รุ่นเงินไหลมา จตุคามรามเทพ รุ่นรักพ่อ องค์จตุคามรามเทพ จตุคามรามเทพ อุดมโภคทรัพย์ ประวัติจตุคามรามเทพ จตุคามรุ่นโคตรเศรษฐี จตุคามปี30 จตุคาม - รามเทพ จตุคามรุ่นสิริมงคล site:www.jatukarm.com จตุคามรามเทพ จตุคามรามเทพ ปี 49 จตุคาม เงินไหลมา จตุคามรามเทพ รุ่นโครตเศรษฐี จตุคาม ไทยแลนด์ จตุคามรามเทพ รุ่นรวยล้นฟ้า จตุคามวัดห้วยมงคล จตุคาม ศาลหลักเมือง ตุคาม วัดห้วยมงคล จตุคามรามเทพ รุ่นสมบัติจักรพรรดิ จตุคามรามเทพปี30 จตุคาม รุ่นโคตรเศรษฐี จตุคามรามเทพ วัดห้วยมงคล ตุคามรามเทพ ปี 30 จตุคามรามเทพ รุ่นเศรษฐีปาฏิหาริย์ จตุคามรามเทพ 12 นักษัตริย์ จตุคามรามเทพ ปี30 ประวัติองค์จตุคาม จตุคามรามเทพ รุ่นรวยไม่เลิก จตุคามรามเทพ เฉลิมพระเกียรติ จตุคาม วัดนก จตุคาม รุ่นเจริญโภคทรัพย์ จตุคามรามเทพ รุ่น นารายณ์แปลงรูป รวมรุ่นจตุคามรามเทพ ตุคามรุ่นมั่งมีศรีสุข จตุคามรุ่นเสริมบารมี จตุคามรามเทพรุ่นรักพ่อ จตุ มบัติจักรพรรดิ

โหราศาสตร์ไทย

** เว็บไซต์dooasia:พระเครื่องจัดทำขึ้นด้วยศรัทธา ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อการค้าหรือหากำไร เราทำเพื่อให้ประชาชนได้ศึกษาหาความรู้ **
 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
1.หนังสือ สารานุกรม พระคณาจารย์ยอดนิยม พร้อมการสร้างวัตถุมงคล โดยสำนักพิมพ์คเณพรศ์
2.หนังสือปทานุกรม พระรอด โดย ศ.อรรคเดช กฤณะดิลก
3.หนังสือปทานุกรมพระนางพญา พระนางพญา โดย ศ.อรรคเดช กฤษณะดิลก
4.หนังสือเหรียญหล่อยอดนิยม โดยศึกษาและสะสม ฉบับพิเศษ
5.หนังสือจตุคามรามเทพ 2530-2549 โดย นายพงษ์ภักดี พัฒนกุล
6.หนังสือจตุคามรามเทพ 1 โดยคุณวัชรพงศ์ ระดมสิทธิพัฒน์(อุ๊ กรุงสยาม)
7.หนังสือ จตุคามรามเทพยอดนิยม โดยคุณเขมณัฐ์ หล่อศรีสกุล
8.หนังสือจตุคามรามเทพ โดยคุณณัฐธยาน์ หล่อศรีศุภชัย
9.หนังสือ พระปิดตามหามงคล โดยทีมงานพระเครื่องพระพุทธบาท
10.หนังสือ พระเครื่องล้ำค่า (พระประกวด ปี 2548)

Copyright 2010 © สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์ www.dooasia.com/Prathai