ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ >อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด/Khao Sam Roi Yot National Park 

อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด/ Khao Sam Roi Yot National Park

 

ข้อมูลทั่วไป
เขาสามร้อยยอดเป็นชื่อที่มีตำนานเล่าว่า พื้นที่แถบนี้เคยเป็นทะเลมีหมู่เกาะน้อยใหญ่เรียงรายกัน ครั้งหนึ่งเคยมีเรือสำเภาจีนแล่นผ่านมาประสบลมพายุรุนแรงจนเรือใกล้อับปาง จึงแวะหลบภัยเข้ามาตามร่องน้ำด้านทิศตะวันตกของเกาะ แต่เนื่องจากไม่ชำนาญพื้นที่ เรือได้ชนกับหินโสโครกอับปางลง ผู้คนจมน้ำตายจำนวนมากที่เหลือรอดตายขึ้นมาอาศัยอยู่บนเกาะประมาณ 300 คน จึงได้ตั้งชื่อว่า “เกาะสามร้อยรอด” ต่อมาระดับน้ำทะเลได้ลดลง เกาะกลายเป็นภูเขา ชาวบ้านเรียกคลาดเคลื่อนเป็น “เขาสามร้อยยอด” บริเวณที่สันนิษฐานว่าเรือจมนั้นชาวบ้านเรียกว่า “อ่าวทะเลสาบ” เคยมีผู้พบซากเสากระโดงเรือโบราณในบริเวณนี้ด้วย บางข้อสันนิษฐานว่า เป็นเพราะมีต้นสามร้อยยอดขึ้นอยู่ หรือมียอดเขามากมายถึง 300 ยอด

หาดแหลมศาลา ในปี พ.ศ. 2505 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกประกาศกฎกระทรวง ฉบับที่ 100 กำหนดพื้นที่ป่าเขาสามร้อยยอดพื้นที่ประมาณ 99.50 ตารางกิโลเมตร ให้เป็นป่าสงวนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่า พุทธศักราช 2481 ก่อน ซึ่งเหตุผลของการประกาศพื้นที่ดังกล่าวเพราะมีพันธุ์ไม้ที่มีค่าขึ้นอย่างหนาแน่นมาก เช่น ไม้จันทน์ มะค่า มะเกลือ แสมสาร และทิวทัศน์ที่สวยงามที่ควรสงวนไว้ ต่อมาพื้นที่ดังกล่าว พื้นที่ประมาณ 61.28 ตารางกิโลเมตร ได้ถูกประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 83 ตอนที่ 53 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2509 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 4 ของประเทศไทย และเป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลแห่งแรก

พื้นที่ส่วนที่เป็นทุ่งสามร้อยยอด เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำมีขนาด 69.22 ตารางกิโลเมตร และคณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2513 ให้เป็นที่จัดสรรแก่ราษฎร แต่สภาพพื้นที่ที่เป็นดินเหนียว เค็ม และหนึ่งในสามของพื้นที่มีน้ำท่วมขังตลอดปียากที่จะพัฒนาเพื่อทำการเกษตร ประกอบกับงบประมาณเพื่อใช้ในการดำเนินการจัดสรรพื้นที่ไม่เพียงพอ การดำเนินการจัดสรรจึงยกเลิกไป ปล่อยพื้นที่คงสภาพเป็นทุ่งแขมธรรมชาติ เป็นที่อยู่ของนกไม่ต่ำกว่า 157 ชนิด กรมป่าไม้จึงขอผนวกพื้นที่ดังกล่าว และเพื่อไม่ให้เกิดความเดือดร้อนแก่ราษฎร คณะกรรมการจำแนกประเภทที่ดินให้ผนวกพื้นที่เพียงครึ่งหนึ่งของทุ่งสามร้อยยอด ซึ่งต่อมา พ.ศ. 2525 ได้มีการเปลี่ยนแปลงแนวเขตอุทยานแห่งชาติโดยผนวกพื้นที่ทุ่งสามร้อยยอดพื้นที่ 36.8 ตารางกิโลเมตร เข้าเป็นอุทยานแห่งชาติทำให้พื้นที่อุทยานแห่งชาติรวมเป็น 98.08 ตารางกิโลเมตร

พื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ตอนล่างสุดของภาคกลาง หรือด้านเหนือสุดของภาคใต้ชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของอ่าวไทย ในท้องที่ของกิ่งอำเภอสามร้อยยอด และอำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ครอบคลุมเขตการปกครอง 2 อำเภอ คือ กิ่งอำเภอสามร้อยยอด และอำเภอกุยบุรี

ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด มีสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาหินปูนยุคเพอร์เมียน มีอายุประมาณ 280 - 230 ล้านปีมาแล้ว ที่มีความสูงชันริมฝั่งทะเลผสมกับที่ราบริมฝั่งทะเลที่เป็นหาดเลนและห้วงน้ำทะเลตื้น รวมตลอดถึงเกาะหินปูนที่ตั้งเรียงรายใกล้ชายฝั่งทะเลซึ่งยาวจากเขากระโหลกทางทิศเหนือถึงเขาแร้งทางทิศใต้ประมาณ 30 กิโลเมตร ได้แก่ เกาะโครำ เกาะนมสาว เกาะระวาง เกาะระวิง เกาะสัตกูด และเกาะขี้นก

หาดสามพระยา มีพื้นที่ราบที่มีน้ำขังตลอดปีอยู่ทางด้านตะวันตกของอุทยานแห่งชาติคือ ทุ่งสามร้อยยอด ซึ่งในอดีตเคยเป็นทะเลหรืออ่าว ต่อมาถูกปิดกั้นด้วยตะกอนและสันทราย ทะเลถอยร่นออกไป ได้รับอิทธิพลน้ำจืดจากแผ่นดิน มีการสะสมของตะกอนที่ราบลุ่ม ค่อยๆ กลายเป็นทุ่งน้ำกร่อยและทุ่งน้ำจืดตามลำดับ น้ำจืดในทุ่งสามร้อยยอดส่วนหนึ่งมีแหล่งกำเนิดมาจากเทือกเขาตะนาวศรีไหลผ่านห้วยโพระดก ห้วยขมิ้น ห้วยหนองคาง ห้วยไร่ตาพึง แล้วระบายลงสู่ทะเลตามคลองเขาแดง อีกส่วนหนึ่งไหลจากเทือกเขาสามร้อยยอด ทุ่งสามร้อยยอดมีระดับน้ำลึกเฉลี่ย 3 เมตร

เนื่องจากสภาพทางธรณีของเขาสามร้อยยอดเป็นหินปูนที่มีความลาดชันสูง ทำให้เกิดเป็นหน้าผาสูงชันและหุบเหวลึก มีความสูงของยอดเขาที่สูงที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติถึง 605 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ยอดเขาที่สำคัญได้แก่ ยอดเขาชโลงฟาง เขากระโจม เขาใหญ่ เขาถ้ำประทุน เขาแดง เขาเทียน เขาหุบจันทร์ และเขาขั้นบันได ฯลฯ บริเวณนี้มีสภาพธรณีเป็นหินปูน มีหลายแห่งที่หินปูนถูกอิทธิพลของธรรมชาติกัดเซาะหรือผุกร่อนกลายเป็นถ้ำหรือปล่องหุบเหวขนาดใหญ่ ที่สำคัญได้แก่ ถ้ำแก้ว ถ้ำไทร ถ้ำพระยานคร เป็นต้น

พืชพรรณและสัตว์ป่า
เนื่องจากสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นภูเขาและได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ส่งผลให้สังคมพืชในเขตอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอดแตกต่างกัน สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ สังคมพืชที่เกิดในพื้นที่ชุ่มน้ำ และสังคมพืชป่าบก ดังนี้

ทุ่งสามร้อยยอด สังคมพืชที่เกิดขึ้นในที่ลุ่มน้ำขัง ประกอบด้วย
• สังคมพืชที่พบในพรุบึงน้ำจืดบริเวณทุ่งสามร้อยยอด ส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุกพวกกกชนิดต่างๆ แห้วทรงกระเทียม อ้อ แขม หญ้าปล้อง หญ้าไซ บัวหลวง บัวสายชนิดต่างๆ ผักตบไทย บอน ตาลปัตรฤาษี จอก แหน สาหร่ายข้าวเหนียว เป็นต้น
• ป่าชายเลน ซึ่งพบตามแนวชายคลองบางปู คลองเขาแดง และลำรางสาขา พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ แสมทะเล โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ ตาตุ่มทะเล ตะบูนดำ โปรงแดง ถั่วขาว ฝาดดอกแดง สำมะง่า จาก เถาถอบแถบ เป็นต้น บริเวณที่โล่งซึ่งเป็นดอนตะกาดซึ่งได้รับอิทธิพลความเค็มของน้ำทะเลท่วมถึงแต่ไม่ท่วมต่อเนื่องกันทุกปี พบพืชล้มลุกพวก ชะคราม ผักเบี้ย หญ้าปราบน้ำเค็ม หญ้าขม เป็นต้น

สังคมพืชป่าบก ประกอบด้วย
• ป่าชายหาด พบตามชายหาดบริเวณที่น้ำไม่ท่วมจนถึงบริเวณเชิงเขา พื้นดินเป็นทราย กรวด และโขดหิน พันธุ์ไม้สำคัญที่พบได้แก่ สนทะเล โพทะเล กระทิง เม่า หูกวาง เกด มะนาวผี เตยทะเล ผักบุ้งทะเลเป็นต้น
• ป่าเบญจพรรณ ส่วนใหญ่ขึ้นบนเขาหินปูน พรรณไม้ที่ขึ้นหลายชนิดมักเป็นพรรณไม้ที่ขึ้นเฉพาะแห่ง เช่น จันทน์ผา จันทน์ชะมด โมกเขา ทะลายเขา และแก้วผา เป็นต้น ไม้ยืนต้นที่พบมักมีลำต้นแคระแกร็น เนื่องจากพื้นที่เป็นหินปูนมีเนื้อดินน้อย ส่วนบริเวณที่มีการสะสมสารอินทรีย์มากและเนื้อดินหนาในบริเวณหุบเขาและเชิงเขา พันธุ์ไม้ที่ขึ้นจะมีลำต้นสูงใหญ่ แต่มีอยู่เป็นหย่อมเล็กหย่อมน้อยกระจัดกระจาย พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ กุ่มน้ำ มะเกลือ พลับดง มะค่าโมง โมกมัน โมกขาว กระดูกไก่ และพลอง เป็นต้น

จุดชมวิวเขาแดง คำว่า “สามร้อยยอด” นอกจากใช้เป็นชื่ออุทยานแห่งชาติ ชื่อภูเขา ยังใช้เป็นชื่อของพืชด้วย คือ สามร้อยยอด หรือกูดขน แหยงแย้ รังไก่ เป็นพืชใกล้ชิดกับเฟินที่พบทั่วไปในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางภาคใต้และภาคตะวันออก ลำต้นมี 2 ลักษณะ คือ มีทั้งลำต้นที่ทอดนอนเลื้อยไปกับพื้นดินและลำต้นตั้งตรงซึ่งอาจสูงถึงครึ่งเมตร แตกกิ่งก้านสาขาคล้ายสนฉัตร มีใบเล็กๆ ติดอยู่ อวัยวะขยายพันธุ์เกิดเป็นตุ่มห้อยที่ปลายต้น เรียกว่า Cones สามร้อยยอดมักขึ้นตามดินทราย ที่ราบชายเขาที่ได้รับแสงแดดจัดจ้า แต่ชุ่มชื้น ตั้งแต่พื้นที่ราบไปจนถึงระดับความสูงกว่า 1,000 เมตร

บริเวณอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอดมีความหลากหลายของสัตว์ป่า โดยเฉพาะนกซึ่งมีมากถึง 316 ชนิด ประกอบด้วยนกที่อาศัยประจำถิ่นและที่ย้ายถิ่นมาจากที่อื่นตามฤดูกาล และเป็นสถานที่เพียงไม่กี่แห่งของประเทศไทยที่นกกระสาแดง สร้างรังวางไข่ รวมทั้งมีเป็ดแดงอาศัยอยู่ตลอดปี เช่นเดียวกับนกอัญชันอกเทา นกอัญชันคิ้วขาว และนกอีโก้ง

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่พบในอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอดมีน้อยมาก ที่มีอยู่ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่หากินกลางคืนและสัตว์ที่ขุดรูอยู่ใต้ดินในทุ่ง ได้แก่ เลียงผา เก้ง กระจงเล็ก หมูป่า ลิงลม ลิงแสม ค่างแว่นถิ่นใต้ อีเห็น พังพอนธรรมดา เม่น ชะมด ค้างคาว หนูพุกใหญ่ หนูท้องขาว ค้างคาวมงกุฏมลายู และชนิดที่น่าสนใจที่พบในน่านน้ำชายฝั่งทะเลบริเวณนี้คือ โลมาหัวบาตร สำหรับสัตว์เลื้อยคลานและสะเทินน้ำสะเทินบกที่พบได้แก่ เต่าเหลือง เต่าหับ เต่าดำ กิ้งก่าบินปีกส้ม กิ้งก่าหัวแดง กิ้งก่าสวน จิ้งเหลนบ้าน เหี้ย งูเหลือม งูเห่า งูกะปะ งูสิงธรรมดา งูเขียว คางคกบ้าน เขียดหลังปุ่ม กบหนอง กบน้ำเค็ม อึ่งขาคำ อึ่งบ้าน เขียดบัว และเขียดจิก

จากการสำรวจและรวบรวมข้อมูล พบปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ ไม่น้อยกว่า 45 ชนิด ได้แก่ ปลาช่อน ปลาดุกด้าน ปลานิล ปลาซิว ปลาตะเพียนขาว ปลาไหล ปลาทู ปลาลัง ปลากระบอก ปลากระเบน ปลาตีน กุ้งแชบ๊วย หมึกกล้วย ปูแป้น ปูม้า หอยโข่ง หอยขม หอยแมลงภู่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสัตว์ประเภทอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ผีเสื้อหางติ่งธรรมดา ผีเสื้อเณรจิ๋ว แมลงปอ ยุงน้ำจืด ตั๊กแตนหนวดสั้น จิ้งหรีด มวนแดง และแมงดา เป็นต้น

ถ้ำพระยานคร ถ้ำพระยานคร
เป็นถ้ำขนาดใหญ่อยู่ในบริเวณหาดแหลมศาลา มี 3 คูหา โดยสองคูหามีปล่องด้านบน ส่วนด้านล่างในถ้ำเป็นป่า ต้นไม้ค่อนข้างสูงชะลูด ถ้ำพระยานครถูกค้นพบโดยพระยานคร ผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราช แต่ไม่ทราบนาม และในสมัยรัชการที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงทราบว่าถ้ำนี้สวยงามมาก จึงมีพระราชประสงค์ใคร่จะเสด็จประพาส จึงให้นายช่างประจำราชสำนักก่อสร้างพลับพลาแบบจตุรมุขขนาดย่อยตั้ง ไว้บนเนินดินกลางถ้ำ พระองค์เสด็จประพาสเมื่อ 20 มิถุนายน 2433 และพระราชทานนามพลับพลานี้ว่า “พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์” ถ้ำพระยานครนี้จะต้องเดินเท้าขึ้นไปจากหาดแหลมศาลาอีกประมาณ 430 เมตร 
กิจกรรม -ชมประวัติศาสตร์ - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา

จุดชมวิวเขาแดง
ในบริเวณนี้จะมีจุดชมวิวบนยอดเขาแดงที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 157 เมตร จุดชมวิวนี้อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ไปตามถนนลาดยาง 400 เมตร แล้วเดินขึ้นเขาไปอีก 300 เมตร ใช้เวลาประมาณ 30 นาที เวลาที่เหมาะแก่การขึ้นชมวิว คือ ตอนเช้ามืดประมาณ 05.30 น. เพราะสามารถชมพระอาทิตย์ขึ้นเหนือขอบทะเลบ้านเขาแดงและทัศนียภาพรอบๆ ได้ดี ตลอดจนชมนก ลิงแสม และค่างแว่นที่ออกหาอาหารในตอนเช้าตรู่
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ

อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด คลองเขาแดง
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 1.5 กิโลเมตร กิจกรรมที่นักท่องเที่ยวนิยมได้แก่ การล่องเรือ โดยเช่าเรือจากบ้านเขาแดง ลงเรือที่ท่าน้ำหน้าวัดเขาแดงล่องไปตามลำคลองประมาณ 3-4 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางไปกลับประมาณ 1 ชั่วโมง ในระหว่างล่องคลองชมวิวทิวทัศน์ป่าชายเลน จะเห็นนกนานาชนิด เวลาที่เหมาะสมที่จะล่องเรือชมธรรมชาติอีก เวลา 16.30–17.00 น. เพราะสามารถชมและถ่ายภาพพระอาทิตย์ตก
กิจกรรม -พายเรือแคนู/คยัค - ล่องแพ/ล่องเรือ

หาดสามพระยา
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปทางทิศเหนือประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นหาดทรายที่สวยงามสงบเงียบท่ามกลางดงสน ความยาวของหาดทรายประมาณ 1 กิโลเมตร สามารถกางเต็นท์พักแรมและมีอาหารบริการนักท่องเที่ยว
กิจกรรม -กิจกรรมชายหาด - แค็มป์ปิ้ง

ถ้ำแก้ว
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ไปทางบ้านบางปู ประมาณ 16 กิโลเมตร อยู่ในบริเวณหุบเขาจันทร์ เป็นถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยที่สวยงาม ลักษณะเด่นของหินงอกหินย้อยที่ส่วนใหญ่ค่อนข้างใส และโปร่งแสง การเดินชมถ้ำค่อนข้างลำบากเนื่องจากภายในถ้ำมืดมากและพื้นไม่เรียบเต็มไปด้วยหินใหญ่น้อยระเกะระกะ จึงจำเป็นต้องใช้ตะเกียงเจ้าพายุหรือไฟฉาย และมีเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาตินำทางใช้เวลาเที่ยวชม ภายในถ้ำประมาณ 2 ชั่วโมง
กิจกรรม -เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา

หาดแหลมศาลา
เป็นหาดสน ที่มีทรายขาว ล้อมรอบด้วยภูเขาเป็นรูปตัวยู ด้านหน้าเป็นชายทะเล มีเกาะสัตกูดบังคลื่นอยู่ด้านหน้า ทำให้เกิดบรรยากาศอันเงียบสงบเหมะสำหรับการพักผ่อน มีบ้านพัก เต็นท์ ห้องน้ำ-ห้องสุขา เส้นทางศึกษาธรรมชาติและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ไว้บริการ มีร้านอาหารของภาคเอกชน ซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช แล้ว

การเดินทางไปหาดแหลมศาลา หากเริ่มต้นที่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ต้องมุ่งหน้าขึ้นเหนือไปหมู่บ้านชาวประมง "บ้านบางปู" ระยะทางประมาณ 17 กิโลเมตร นำรถยนต์ไปจอดที่วัดบางปู (รถยนต์เข้าไม่ถึงหาด) จากนั้นต้องตัดสินใจว่าจะเดินทางโดยวิธีการใดใน 2 ทางเลือกนี้
• ทางเรือ มีเรือหางยาวของชาวบ้านให้บริการรับ-ส่ง จากหาดบ้านปูไปหาดแหลมศาลา เป็นการเดินทางเลียบชายฝั่ง เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่มีสัมภาระมาก
• ทางเท้า ให้สอบถามชาวบ้านหรือสังเกตป้ายบอกทางไปหาดแหลมศาลา เดินข้ามเขาไปตามทางเดินที่อุทยานแห่งชาติจัดทำไว้ ระยะทางประมาณ 500 เมตร ใช้เวลาประมาณ 20 นาที หรืออาจมากกว่าเล็กน้อย ระหว่างทางสามารถชมทิวทัศน์ท้องทะเล หมู่บ้านชาวประมง และพันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ตามเทือกเขาหินปูน
กิจกรรม -กิจกรรมชายหาด - แค็มป์ปิ้ง - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา

ถ้ำแก้ว ถ้ำไทร
อยู่บริเวณคุ้งโตนด ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 9 กิโลเมตร การขึ้นชมถ้ำมีระยะทางไม่ไกล สามารถนำรถยนต์ไปจอดไว้ที่เชิงเขาแล้วเดินเท้าขึ้นเขาไปอีก 280 เมตร ใช้เวลาประมาณ 30 นาที ภายในถ้ำค่อนข้างมืดต้องใช้ไฟฉายหรือตะเกียงซึ่งจะมีบริการในวันหยุดราชการ หากเป็นวันธรรมดาสามารถติดต่อขอเช่าตะเกียงได้ที่บ้านคุ้งโตนด ลักษณะภายในถ้ำพบหินงอกหินย้อยที่สวยงาม ระยะเวลาที่เข้าชมภายในถ้ำประมาณ 1 ชั่วโมง
กิจกรรม -เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา

ทุ่งสามร้อยยอด
เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำประเภทหนึ่ง มีพื้นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีน้ำขังหรือท่วมถึงตลอดทั้งปี มีทั้งส่วนที่เป็นน้ำจืดและน้ำกร่อย เป็นแหล่งที่มีองค์ประกอบทางชีวภาพและกายภาพ เป็นเอกลักษณ์ของระบบซึ่งมีความหลากหลายชนิดของพืช สัตว์ และธาตุอาหาร ทุ่งสามร้อยยอดเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกนานาชนิด ทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพตามฤดูกาล นับเป็นแหล่งดูนกที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศ

บริเวณเชิงเขา มีศูนย์ศึกษาธรรมชาติทุ่งสามร้อยยอด สะพานทางเดินศึกษาธรรมชาติ และสถานที่กางเต็นท์ ไว้ให้บริการนัดท่องเที่ยว การเดินทางเข้าถึงสะดวกเป็นทางลาดยางจนถึงศูนย์ศึกษาธรรมชาติ (ทางเข้าเดียวกับสถานีรถไฟสามร้อยยอด)

สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด
หมู่ 2 บ้านเขาแดง ต.เขาแดง อ. กุยบุรี จ. ประจวบคีรีขันธ์ 77150
โทรศัพท์ 0 3261 9078 โทรสาร 0 3261 9078 อีเมล์ reserve@dnp.go.th

การเดินทาง
รถยนต์
นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด ซึ่งอยู่บริเวณเขาแดง ตามเส้นทางหลัก 2 ทาง คือ

เดินทางออกจากกรุงเทพฯ มุ่งสู่ทิศใต้ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (เพชรเกษม) ผ่านจังหวัดเพชรบุรี จนถึงอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ บริเวณสี่แยกปราณบุรี ให้เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสายปากน้ำปราณบุรี ประมาณ 4 กิโลเมตร แล้วจึงเลี้ยวขวาไปตามถนน รพช. อีก 31 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ

เดินทางออกจากกรุงเทพฯ มุ่งสู่ทิศใต้ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (เพชรเกษม) จนถึงหลักกิโลเมตรที่ 286.5 ใกล้บ้านสำโรง ก่อนถึงอำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประมาณ 6 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายไปอีก 14 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ

รถโดยสารประจำทาง
มีรถโดยสารปรับอากาศ และรถธรรมดาให้บริการที่สถานีขนส่งสายใต้ใหม่ ไปยังอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จากนั้นจะมีรถโดยสารหรือรถยนต์รับจ้างให้บริการจาก ปราณบุรี-บางปู, บางปู-แหลมศาลา, ปราณบุรี-ที่ทำการฯ, บางปู-ที่ทำการฯ


   
อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด/ Khao Sam Roi Yot National Park

 

Khao Sam Roi Yot National Park

General Information
Located in the west of Thai Gulf, in the territory of Kuiburi District, Sam Roi Yot Sub District, Prachuap Khiri Khan Province. Khao Sam Roi Yot National Park is Thailand’s first coastal National Park in 1996, covering the area of approximately 98.8 sq.km. The landscape is high steep limestone mountains by the beautiful coast, matching with plain area stand by the sea, which are marshy beach and shallow sea pond. There are limestones islands nearby the coast e.g., Sattakut Island, Kho Ram Island, Nom Sao Island, Rawing Island, Rawang Island and Khi Nok Island. The flat area with stagnant water through the year on the west of the park is Thung Sam Roi Yot, which is the large freshwater marsh, covering around 36.8 sq.km.

The name Khao Sam Roi Yot can be translated into "The Mountain With Three Hundred Peaks", a series of magnificent grey limestone mountains, which rise dramatically from the Gulf of Thailand and adjacent coastal marsh to a maximum height of 605 m.

The wooded mountains make it a site of outstanding natural beauty, but it is the freshwater marsh and coastal habitats (an important stopover and breeding area for birds), that gives the park great ecological significance. Khao Sam Roi Yot National Park also has great recreational and educational value. It offers the visitor a tremendous variety of attractions. These include fine sandy beaches, spectacular caves, superb mountain viewpoints, offshore islands, forest trails, boat.

excursions, and estuarine and mangrove habitats, all within a relatively small area. This unparalleled variety of habitats makes it one of the most interesting national parks in Thailand.

Khao Sam Roi Yot National Park contains a diverse array of habitats: ten distinctive habitat zones in all. One of the most interesting is the dry limestone mountains. These are sparsely covered by dwarf evergreen and deciduous trees and shrubs which grow in the thin soils and on the barren rock. The average rainfall is just over a metre, falling mainly between August and November. This quickly drains away so plants have had to adapt to this unique environment. A mixed deciduous forest, including areas of secondary growth and bamboo grows on the foothills and in the valleys.

Thung Sam Roi Yot, the largest freshwater marsh in Thailand, provides an important environment for a large number of birds, amphibians, reptiles, and small mammals. The World Conservation Union (IUCN) has recognized these fragile wetlands as a site of global importance. Other areas of habitat include scrub, salt pan, cultivated areas, mudflats, brackish waters, mangroves, sand beaches, offshore islets, and open sea.

The geological characteristic here is very high steep limestone that becomes the high steep cliffs as well as the deep abyss. The highest peak of the hills is 605 meters above the mean sea level. The most fascinating are Khao Yai, Khao Tham Prathun, Khao Daeng, Khao Khan Ban Dai and etc. The limestone land had been worn away by natural impact till became caves or abyss such as Tam Kaeo, Tam Sai, Tam Phraya Nakhon Cave and etc.

Flora and Fauna
Khao Sam Roi Yot has a variety of ecology system, composing of sea, beaches, mangrove forests, freshwater, marsh land, and limestone mountain, which make the areas are appropriated to be living place of any kind of animals, particularly birds.

Plant community found are beach forests, mangrove forests, limestone-hill forests and hydropholic plant social. General plants found in the park are Casuaria equisetifolia (Sea oak), Theapesia populnea, Calophyllum inophyllum, Manilkara hexandra, Diospyros mollis (Ebony tree), Wrightia tomentosa (Ivory), Dracaena loureiri, Diospyros bejaudii, Afzelia xylocarpa, Rhizophora mucronata (Red mangrone), Rhizophora apiculata, Ceriops decandra, Xylocarpus granatum, Avicennia marina; whereas social plants found in fresh pond are Cyperus spp., Neyraudia reynaudiana, Arundo donax, Themeda arundinacea, Hymenachne pseudointerrupta, Leersia hexandra, Nymphaea spp., Marsilea creuata (Water clover) Alocasia sp., Water chestnuts and etc.

Wildlife Treasures
Due to the steep and relatively inaccessible nature of its mountainous interior, the park still supports a population of Serow, a blackish goat-antelope now rare in Thailand. To catch a glimpse of the Serow, try scanning the rugged mountain crags with a pair of binoculars in the early morning, or evening when it is active.

The park also supports populations of three species of primate: Dusky, or Spectacled Langur, Crab-eating, or Long-tailed Macaque, and the Slow Lorris. The visitor is virtually guaranteed views of the delightful Dusky Langur as the park is one of the best spots in the world to observe this amusing primate, which is easily recognized by its distinctive spectacle eye patches.

The Dusky Langur and the less retiring Crab-eating Macaque are often seen in the vicinity of the park bungalows at the headquarters or the forested sloped behind. More difficult to see is the shy, nocturnal Slow Lorris. To see the Slow Loris try searching the tree canopy at night with a flashlight which will pick up its'eye reflection.

Other mammals found here are the Barking Deer, Malayan Pangolin, Fishing Cat, Common Palm-Civet, Malayan Porcupine, Javan Mongoose, Siamese Hare, & the Grey-bellied Squirrel. Dolphins can occasionally be observed in the coastal waters.

Khao Sam Roi Yot National Park has become a popular spot with bird watchers due to the approximately 300 recorded species found here and the park's accessibility. The large number of species found within a relatively small area can be attributed to the unique diversity of habitat, and because the park is located on the East Asian/Australian Flyway. Migratory visitors account for half of all the listed species.

The park is reportedly one of the best locations in Thailand to observe shorebirds. Between September and November hundreds of migratory shorebirds from Siberia, China, and Northern Europe arrive at the mudflats to feed and rest, before continuing their southern journey. Some will spend the winter months (November to March) here. These birds will begin the long return journey to their northern breeding grounds between March and May.

The freshwater marsh near the village of Rong Jay provides a good opportunity to view a number of large waterbirds, songbirds and raptors. The marsh is one of only two sites in Thailand where the Purple Heron breeds. The area around the headquarters also makes an ideal location to see birds associated with deciduous woodland, scrubland, and mangrove. Persons interested in birds can pick-up a "Check List and Guide to Bird Finding" available for a small fee, from the Visitors' Center at the Headquarters.

Phraya Nakhon Cave
This vast cavern high on a hill with a royal history is a favourite destination for visitors to the park. The cave is actually two large sinkholes, the roofs of which have collapsed allowing sunlight & rain to reach the floor, where trees have rooted reaching for the ceiling.

The cave was named for Phraya Nakhon, a former ruler who discovered it over 200 years ago after being forced ashore by a violent storm. The central focus within the cave is a four-gabled roofed pavillion bathed by natural light, which was built for the visit of King Rama V on June 20th, 1890.

This royal pavillion has become the symbol of the province of Prachuap Khiri Khan. King Rama VII visited the cave in June 1926, and one can view the signatures left by both kings on the walls. King Bhumipol (King Rama IX), the present King of Thailand has twice visited Phraya Nakhon continuing the royal legacy.

Phraya Nakhon Cave can be reached from Laem Sala Beach, by a steep rocky trail, 430 m. long and rising to a height of 130m., taking about 30 minute to climb. Caution should be used and proper footwear worn as the rock is sharp and can be slippery.

Khao Daeng Viewpoint

400 meters on the asphalt street from the headquarter and another 300 meters going up to the hill, taking around 30 minutes, there is a viewpoint at the peak that stands 157 meters above the mean sea level. The time for a very good view is in early morning about 5.30 am. because we could see the sun rise from the rim of the sea at Ban Khao Daeng as well as the other beautiful surrounding. And also birds, sam crab-eating macaques, monkeys and semnopithecus that come out to find foods in the early morning too.

Khao Daeng Canal
1.5 kilometers from the headquarters, the popular activity for tourists is a boat trip by rent a boat from Ban Khao Daeng along the canal around 3-4 kilometers, approximately 1 hour taken per round. During the boat triping with a mangrove forest view, the tourists would see various kinds of birds. The most appropriated time for this trip is 16.30-17.30 because this is the sunset time.

Sam Phraya Beach
5 kilometers to the north from the headquarters, there is a clam and fascinating beach in the middle of casuarina vegetation, 1 kilometer of the length that tourists can bring their own tent for overnight stay and food services are available.

Kaeo Cave
Located in the Chan Valley, 16 kilometers far from the headquarters to Bang Pu. It is a beautiful cave that has clear and translucent stalactites and stalagmites. Walking in the cave is quite hard because of the dark and unsmooth floor with full of small and big stones, so that pressure lantern or flashlight will be needed and the park’s officers have to be guide leaders in the cave tour trip approximately 2 hours.

Laem Sala Beach
This cape has a fine sandy beach protected on three sides by limestone hills, and when approached from the sea it appears to be an island. Amongst the plantation of casuarina (a pine like tree), you will find a restaurant, bungalows, a camping area, a small visitor center, a picnic shelter, and washrooms. Laem Sala is accessible either by land or water.

A boat, holding up to 10 persons, can be hired from Bang Pu Village for the trip, which takes about 30 minutes. Laem Sala Beach can also be reached by taking a steep, but well constructed trail, starting near the seashore about 200 m. from the village's temple. This 20 minutes walk offers a splendid views of the coast and offshore islands.

Sai Cave
Located in the bush of Tanot, 9 kilometers far from the headquarters of the park. It is not too far to visit up to the cave. Tourists are able to park cars at base of the hill and walk up to the hill for 280 meters, taking approximately 30 minutes. It is rather dark inside the cave, in the weekend, there are flashlights and lamps services and on the weekday, there is lamp rental service for tourists at Ban Khung Tanot. The cave inside has very beautiful stalactites and stalagmites. It is approximately 1 hour for touring inside the cave.

Sam Roi Yot Freshwater Marsh
A kind of wetlandthat is the wide plain area naturally occurred with either holding water or flooding throughout the year. It has both fresh and brackish water. It is the source of biological and physical components, and also the symbol of the system, which has various kinds of plants, animals and food’s elements. Thung Sam Roi Yot is the living place of many kinds of birds, both residents and seasonal migrant birds, so this is the one of the important places for birdwatching.

Contact Address
Khao Sam Roi Yot National Park
Mu 2, Ban Khao Daeng, Khao Daeng Sub-district, Amphur Kui Buri Prachuap Khiri Khan Thailand 77150
Tel. 0 3261 9078 Fax 0 3261 9078 E-mail reserve@dnp.go.th

How to go?
By Car
Khao Sam Roi Yot National Park is located 63 km. South of Hua Hin, in Prachuap Khiri Khan Province.
Driving from Bangkok, take Highway #4 (Petkasem Road) to Pranburi (approx. 3.5 hrs.), and then it is a further 37 km to the headquarters. Turn left at Pranburi’s main intersection, drive 2 km, at which point the road forks right, continue for 2 km and turn right at the police substation. From here it’s 19 km to the park’s check post, and then another 14 km to the headquarters.

Driving from the south enter the park’s southern entrance off Highway # 4, 36 km past Prachuap Khiri Khan. Turn right at km. 286.5, at the sign which reads Khao Sam Roi Yot National Park and countinue 13 km to the headquarters.

By Bus
There are air-conditioned buses and regular buses service at the New South Transport Station going to Pranburi District, Prachuap Khiri Khan Province. At the point, Pranburi – Bang Pu, Bang Pu – Laem Sala, Pranburi – the park’s headquarter and Bang Pu – the park’s headquarter rental cars are on service.


 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

ประจวบ แผนที่ประจวบคีรีขันธ์ หัวหิน ที่พักหัวหิน ที่พัก หัวหิน บ้านพักหัวหิน โรงแรมหัวหิน โรงแรม หัวหิน รีสอร์ท หัวหิน โรงแรมในหัวหิน บ้านพัก หัวหิน รีสอร์ทหัวหิน โรงแรมที่หัวหิน
อำเภอปราณบุรีและอำเภอกุยบุรี


อ่าวบ่อทองหลาง
Ao Bo Thonglang
(ประจวบคีรีขันธ์)


ปากน้ำปราณบุรี
Paknam Pran Buri
(ประจวบคีรีขันธ์)


วนอุทยานท้าวโกษา

Thao Ko Sa Park
(ประจวบคีรีขันธ์)


วนอุทยานปราณบุรี
Pran Buri Forest Park
(ประจวบคีรีขันธ์)


คอครอดกะ
Khokhot Ka
(ประจวบคีรีขันธ์)


หาดบ้านกรูด บ่อนอก
Ban Krut Beach
(ประจวบคีรีขันธ์)
อำเภอหัวหิน


เขาเต่า

Hat Khao Tao
(ประจวบคีรีขันธ์)


น้ำตกป่าละอู
Namtok Pa La-u
(ประจวบคีรีขันธ์)


เขาตะเกียบ เขาไกรลาส
Khao Takiap
(ประจวบคีรีขันธ์)


สวนสนประดิพัทธิ์
Suan Son Pradiphant
(ประจวบคีรีขันธ์)


ตัวเมืองหัวหิน
Hua Hin
(ประจวบคีรีขันธ์)
อำเภอเมือง


อ่าวประจวบคีรีขันธ์
Ao Phachuap
(ประจวบคีรีขันธ์)


อ่าวมะนาว
Ao Manao
(ประจวบคีรีขันธ์)


วัดเขาถ้ำคั่นกระได

(ประจวบคีรีขันธ์)


หว้ากอ
Wa Ko
(ประจวบคีรีขันธ์)
อำเภอทับสะแก อำเภอบางสะพาน
แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว
แผนที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์/map of PRACHUAPKHIRIKHAN
โรงแรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์/Hotel of PRACHUAPKHIRIKHAN

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์