ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > จังหวัดพังงา >อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา/Ao Phang-nga National Park 

อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา/ Ao Phang-nga National Park

 

อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
ข้อมูลทั่วไป
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา มีพื้นที่ครอบคลุมในท้องที่อำเภอตะกั่วทุ่ง อำเภอเมือง อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา เป็นอุทยานแห่งชาติประเภทชายฝั่งทะเล มีความงดงามของทิวทัศน์ ชายฝั่ง และทิวทัศน์เหนือผิวน้ำ อุดมสมบูรณ์ด้วยป่าชายเลน ประกอบด้วยเกาะทางด้านทิศตะวันออกของเกาะภูเก็ตประมาณ 40 เกาะ และเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น เขาพิงกัน เขาตะปู ถ้ำลอด รวมทั้งหาดทรายสวยงาม อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงามีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 250,000 ไร่ หรือ 400 ตารางกิโลเมตร

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2516 พล.อ.อ.ทวี จุลทรัพย์ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะ เดินทางไปตรวจราชการที่จังหวัดพังงา นายมนัส เจริญประสิทธิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ได้รายงานว่า เห็นสมควรให้กรมป่าไม้ดำเนินการจัดสถานที่ต่างๆ ที่สวยงามของจังหวัดพังงา เช่น ถ้ำฤาษีสวรรค์ ถ้ำลอด เกาะปันหยี เขาพิงกัน ฯลฯ เป็นวนอุทยาน โดยจังหวัดพังงาได้มีหนังสือที่ พง.09/12038 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2516 ยืนยันให้กรมป่าไม้พิจารณาดำเนินการ ซึ่งกองอุทยานแห่งชาติโดย นายไพโรจน์ สุวรรณากร หัวหน้ากองอุทยานแห่งชาติในขณะนั้น และ นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล จึงได้ไปทำการสำรวจเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2516 ปรากฏว่า ที่ดินรอบๆ ถ้ำฤาษีสวรรค์ เป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทยมอบให้เทศบาลจังหวัดพังงาเป็นผู้ดูแล และที่ประชุมสมาชิกเทศบาล เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2516 ส่วนใหญ่ไม่เห็นชอบในการที่จะมอบให้กรมป่าไม้จัดเป็นวนอุทยาน ดังนั้น กรมป่าไม้จึงได้มีหนังสือที่ กส.0708/13244 ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2516 ขอรับเฉพาะถ้ำลอด เกาะปันหยี และเขาพิงกัน มาดำเนินการจัดตั้งเป็นวนอุทยานตั้งแต่ปีงบประมาณ 2517 โดยใช้ชื่อว่า วนอุทยานศรีพังงา อยู่ในความรับผิดชอบของป่าไม้จังหวัดพังงา



ต่อมาจังหวัดพังงา โดย นายอนันต์ สงวนนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ได้มีหนังสือด่วนมากที่ พง.อก. 19/2880 ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2517 แล ะนายเชาวน์วัศ สุดลาภา ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ได้มีหนังสือด่วนมากที่ พง.อก.19/2880 ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2519 ขอให้กรมป่าไม้ไปดำเนินการสำรวจเกาะแก่งต่างๆ ในบริเวณอ่าวพังงาอีกครั้งหนึ่ง และเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2520 ป่าไม้เขตนครศรีธรรมราชและป่าไม้จังหวัดพังงา ได้แจ้งให้กองอุทยานแห่งชาติรีบดำเนินการสำรวจบริเวณอ่าวพังงาเพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เพราะมีนักท่องเที่ยวนิยมไปท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก หากดำเนินการล่าช้าอาจเป็นปัญหาต่างๆ ได้ กองอุทยานแห่งชาติจึงได้มีหนังสือที่ กส.0808/1764 ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2520 เสนอกรมป่าไม้ให้ นายสมบูรณ์ วงศ์ภักดี นักวิชาการป่าไม้ 4 ไปทำการสำรวจ ปรากฏว่า สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเกาะและภูเขาหินปูนที่มีลักษณะแปลกและสวยงาม มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สำคัญหลายแห่ง เช่น เขาพิงกัน เขาตะปู ถ้ำลอด ฯลฯ จึงดำเนินการวางโครงการอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาไว้ ตามรายงานลงวันที่ 30 มิถุนายน 2520

ในปี พ.ศ. 2522 กองอุทยานแห่งชาติจึงได้เริ่มดำเนินการจัดตั้งบริเวณอ่าวพังงาเป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติในคราวประชุมครั้งที่ 1/2523 เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2523 ได้มีมติเห็นชอบกำหนดอ่าวพังงาเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินอ่าวพังงา ในท้องที่ตำบลกระโสม ตำบลกะไหล ตำบลคลองเคียน อำเภอตะกั่วทุ่ง ตำบลเกาะปันหยี อำเภอเมือง และตำบลเกาะยาวน้อย ตำบลเกาะยาวใหญ่ กิ่งอำเภอเกาะยาว อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา มีเนื้อที่ประมาณ 400 ตารางกิโลเมตร เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า 1-2 เล่ม 98 ตอนที่ 64 เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2524 ภายใต้ชื่อว่า อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 25 ของประเทศไทย

ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะโครงสร้างและธรณีสัณฐานของดินแดนภาคใต้ฝั่ง ตะวันตก เป็นบริเวณที่อยู่ใกล้กับแนวทิวเขาแกรนิต ที่เรียกว่า ทิวเขาตะนาวศรี และทิวเขาภูเก็ต อันเป็นเส้นกั้นพรมแดนไทย-พม่า ที่ทอดยาวไปจนถึงจังหวัดพังงา-ภูเก็ต เป็นทิวเขาที่เกิดในยุคครีตาเชียสกับยุคเทอร์เชียรีตอนต้น อายุประมาณ 136-36 ล้านปีมาแล้ว ภูมิสัณฐานและภูมิประเทศทั่วไปของบริเวณนี้ ยังเป็นผลมาจากลักษณะโครงสร้างที่เรียกว่า รอยเลื่อน มีชื่อทางธรณีว่า รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย และรอยเลื่อนพังงา

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของหิน (รอยคดโค้ง-รอยเลื่อน) ของหินแกรนิต นำเอาแร่ธาตุที่มีค่ามาสะสมตกผลึก เช่น แร่ดีบุก ตะกั่ว วุลแฟรม เหล็ก พลวง แมงกานีส แบไรต์ ฟลูออไรต์ และทองคำ ซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญของภูมิภาคนี้ นอกจากนั้นยังมีภูเขาหินตะกอน หินแปร แทรกสลับอยู่เป็นแนว โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูเขาหินปูนซึ่งแทรกโผล่เป็นหย่อมๆ กระจายอยู่ทั่วไป ทั้งภูเขาหินปูนที่เป็นแนวเทือกเขาสลับซับซ้อนหรือภูเขาหินปูนลูกโดด และยังปรากฏว่ามี ซากดึกดำบรรพ์ (ฟอสซิล) อีกการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติดังกล่าวทำให้เกิดเป็นช่อง โพรงหรือถ้ำมากมาย

ส่วนภูเขาหินดินดานบางแห่งสลายตัวกลายเป็นหย่อมเนินเขาขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้าง การยุบตัวของแผ่นดินทางด้านตะวันตกทำให้เกิดเป็นชายฝั่งขรุขระ เว้าๆ แหว่งๆ เกิดเป็นอ่าวและเกาะซึ่งเป็นภูเขาหินปูนลูกโดด กระจายอยู่ตามฝั่งมากมาย โดยเฉพาะในเขตจังหวัดพังงา กระบี่ ตรัง และสตูล โดยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา เป็นท้องทะเล พื้นทะเลเป็นดินเลน โคลน และทราย เป็นส่วนใหญ่ มีภูเขาหินปูน โผล่อยู่กลางน้ำ กระจายทั่วบริเวณอ่าวพังงา มีลักษณะสวยงาม โดดเด่น รูปร่างแปลกๆ มากมาย ประกอบไปด้วย เกาะน้อยใหญ่ ประมาณ 42 เกาะ เช่น เกาะเขาเต่า เกาะพระอาตเฒ่า ฯลฯ ซึ่งแต่ละเกาะก็จะมีสภาพธรรมชาติที่แตกต่างกันไปและมีความ สวยงามเฉพาะตัว

ลักษณะภูมิอากาศ
เนื่องจากภาคใต้ฝั่งตะวันตกเป็นฝั่งทะเลเปิด จึงได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เต็มที่ในระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ทะเลมีคลื่นลมจัด ฝั่งทะเลช่วงใดที่ไม่มีเกาะกำบังจึงกลายเป็นฝั่งซึ่งมีหาดทรายชันและน้ำลึกในระยะใกล้ฝั่ง ส่วนฝั่งทะเลช่วงที่มีเกาะกำบังลมด้านนอก หรือฝั่งตอนที่เป็นอ่าวเว้าไม่รับลมมรสุมเต็มที่ จะมีลักษณะเป็นบริเวณที่พื้นดินอ่อนเป็นโคลนเลน มีป่าชายเลนขึ้นหนาแน่นตามขอบฝั่งและเลยลึกเข้าไปในฝั่งที่น้ำเค็มเข้าไปถึง ลักษณะเช่นนี้จะเห็นได้ชัดบริเวณอ่าวพังงา จังหวัดพังงา นี้เอง

พืชพรรณและสัตว์ป่า
สังคมพืชในอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
ป่าชายเลน จำแนกได้ดังนี้

ป่าชายเลนบริเวณเขาหินปูน พบว่า มีชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญในป่าชายเลนมากถึง 12 ชนิด ได้แก่ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก ตะบูนขาว เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบ ต้นจาก ซึ่งขึ้นอยู่บริเวณริมน้ำ หรือที่ค่อนข้างเป็นดินเลนเป็นจำนวนมาก และเหงือกปลาหมอ ส่วนปรงทะเล พบน้อยมากบริเวณที่โล่ง หรือบริเวณที่ป่าถูกทำลายเท่านั้น

ป่าชายเลนบริเวณเขาหินเซลล์และควอทไซท์ พันธุ์ไม้ที่สำคัญ พบ 7 ชนิด ได้แก่ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก ตะบูนขาว เป็นต้น สำหรับพันธุ์ไม้พื้นล่างอื่นๆ ที่สำคัญ ได้แก่ เหงือกปลาหมอ ซึ่งขึ้นอยู่หนาแน่น

ป่าชายเลนบริเวณเขาหินทราย ชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญในบริเวณนี้มีน้อยมาก ทั้งนี้เนื่อง จากบริเวณนี้อยู่ห่างจากแผ่นดินใหญ่ พันธุ์ไม้สำคัญที่พบมี 5 ชนิดได้แก่โกงกางใบเล็ก ลำแพน แสม ตะบูนขาว และฝาด นอกจากนี้มักพบเสม็ด ในบริเวณที่ติดกับป่าบกซึ่ง น้ำมีความเค็มค่อนข้างต่ำ

ป่าบก ที่พบเป็นป่าประเภทที่ไม่ผลัดใบ ซึ่งจัดเป็นป่าดิบชื้น จำแนกได้ดังนี้

ป่าบกที่ขึ้นบนพื้นที่เขาหินปูน พบอยู่กระจัดกระจายทั่วไป มี 2 ประเภท ได้แก่ ป่าที่ ขึ้นอยู่บนบก พื้นที่ค่อนข้างราบ และบริเวณทีเรียกว่า Karst ซึ่งเป็นบริเวณหุบเขา ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ขี้หนอน เหรียง ตะเคียนหิน และชุมเห็ด สำหรับไม้พื้นล่าง จะขึ้นอยู่หนาแน่น พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ เต่าร้าง เคย ลำเพ็ง นอกจากนี้ยังมี พวกหญ้า ปาล์ม และว่านชนิดต่างๆ อีกประเภทได้แก่ ป่าที่ขึ้นอยู่บนที่สูงค่อนข้างชื้น ของเขาหินปูน ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ที่มีขนาดเล็ก ค่อนข้างเตี้ย พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ตะเคียนหิน เขากวาง เป็นต้น

ป่าบกที่ขึ้นอยู่บนพื้นที่เขาหินเชลล์ ควอทไซท์ พันธุ์ไม้ขึ้นอยู่ค่อนข้างหนาแน่น ใน บริเวณที่ลุ่มตามเชิงเขาที่มีความชื้นค่อนข้างสูงจะพบไม้ยางนา ขึ้นอยู่กระจัดกระจาย และพบพันธุ์ไม้อื่นที่สำคัญได้แก่ มังตาล พังกา เฉียงพร้านางแอ เป็นต้น สำหรับไม้ พื้นล่างพบพวก ไผ่ป่า พังแหร หญ้า ฯลฯ

ป่าบกที่ขึ้นอยู่บนหินทราย พบบนพื้นที่ค่อนข้างลาดมีไม้ขึ้นอยู่หนาแน่น ไม่ค่อยสูง นัก ไม้พื้นล่างไม่หนาแน่น อาจเป็นเพราะขาดความ อุดมสมบูรณ์ของดิน พันธุ์ไม้ที่ สำคัญได้แก่ สตอตั๊กแตน พังกา แค เป็นต้น สำหรับไม้พื้นล่างปรากฏอยู่น้อยมากส่วน ใหญ่เป็นจำพวกหญ้า

สังคมพืชน้ำ จำแนกได้เป็น สาหร่ายสีน้ำตาล สีแดง สีเขียว นอกจากนี้ยังมีพวกหญ้าทะเล แพลงก์ตอนพืชจำนวนมากมาย

สัตว์ป่า จากการสำรวจสามารถจำแนกได้ดังนี้
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จากการสำรวจพบมากถึง 27 ชนิด ได้แก่ ลิงแสม ค่างแว่นถิ่นใต้ ชะนีธรรมดา เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในน้ำ ที่สำคัญได้แก่ โลมาขาว โลมาหัวขวดมาลายู โลมาหัวบาตรหลังเรียบ
นก จากการสำรวจพบนกทั้งสิ้น 120 ชนิด ที่สำคัญได้แก่ นกยางเขียว นกยางทะเล นกยางเปีย เป็นต้น
สัตว์เลื้อยคลาน พบทั้งสิ้น 26 ชนิดได้แก่ เต่าหับ กิ้งก่าบินปีกสีส้ม งูสร้อยเหลือง เป็นต้น
สัตว์สะเทิ้นสะเทิ้นบก พบ 4 ชนิด ได้แก่ กบน้ำเค็มหรือกบน้ำกร่อย กบหนอง กบนาหรือ กบเนื้อ เขียดปาด เป็นต้น
ปลา ประกอบด้วย ปลาฉลาม ปลากระเบน ปลาไหลทะเล ปลากระบอก ปลาปักเป้าทะเล ปลาที่อาศัยอยู่บริเวณแหล่งปะการังหลายชนิด เช่น ปลาในสกุลปลาผีเสื้อ ปลามีค่าทาง เศรษฐกิจหลายพันธุ์ เช่นปลาในสกุลปลาทู
สัตว์ประเภทอื่น ได้แก่ สัตว์ประเภทกุ้ง หอย ปู และสัตว์ชั้นต่ำประเภทไม่มีกระดูกสันหลัง จำพวกปะการังอีกหลายชนิด ได้แก่ ปะการังพุ่มไม้ ปะการังเขากวาง
เมื่อปีงบประมาณ 2517 จังหวัดพังงาได้เสนอพื้นที่บริเวณถ้ำลอด เกาะปันหยี และเขาพิงกัน ให้กรมป่าไม้ดำเนินการจัดตั้งเป็นวนอุทยาน โดยใช้ชื่อว่า " วนอุทยานศรีพังงา " แต่ต่อมากรมป่าไม้ได้ดำเนินการสำรวจบริเวณอ่าวพังงาเพื่มเติม และดำเนินการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยกำหนดเป็นพระราชกฤษฎีกา ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า 1 - 3 เล่มที่ 98 ตอนที่ 64 เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2524 ภายใต้ชื่อว่า " อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา " มีเนื้อที่ประมาณ 400 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 250,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ป่าชายเลนผืนใหญ่ ที่อุดมสมบูรณ์คงสภาพธรรมชาติดั้งเดิมอยู่เป็นจำนวนมาก นับตั้งแต่เขตอำเภอเมืองพังงา เลียบตามชายฝั่ง จนถึงเขตอำเภอตะกั่วทุ่ง และพื้นน้ำในท้องทะเลอันดามันมีพื้นที่กว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาทั้งหมด ซึ่งในร้อยละ 80 ของพื้นที่ประกอบไปด้วยเกาะน้อยใหญ่ ประมาณ 42 เกาะ เช่น เขาเต่า เกาะพระอาดเฒ่า เกาะมะพร้าว เกาะโบยใหญ่ เกาะรายาหริ่ง เกาะพนัก เกาะห้อง เขาพิงกัน ฯลฯ

เกาะปันหยี
เป็นหมู่บ้านชาวประมง ซึ่งก่อสร้างบนพื้นที่น้ำทะเลท่วมถึง บ้านถูกสร้างยกระดับให้พ้นการขึ้น- ลง ของน้ำทะเล บริเวณหมู่บ้านอยู่นอกเขตอุทยานแห่งชาติ ชาวปันหยีเป็นชุมชนชาวประมงดั้งเดิม ประกอบอาชีพประมงน้ำตื้น โดยการทำประมงอวนลอย โป๊ะ เลี้ยงหอยแครง เลี้ยงปลากระชัง ปัจจุบันเกาะปันหยีเป็นชุมชนที่รองรับนักท่องเที่ยวโดยได้ทำการปรับปรุงบ้านอยู่อาศัยเดิมบางส่วนเป็นร้านอาหารและจำหน่ายของที่ระลึกแก่นักท่องเที่ยว
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - ชมวัฒนธรรมประเพณี

เขาเขียน
อยู่ระหว่างเส้นทางไปเกาะปันหยี มีภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งกรมศิลปากรได้ทำการสำรวจศึกษา พบว่าภาพเขียนสีเหล่านี้มีอายุไม่ต่ำกว่า 3,000 ปี ภายในภาพเขียนจะมีรูปสัตว์ชนิดต่างๆและรูปเรือ.
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - ชมประวัติศาสตร์ - ล่องแพ/ล่องเรือ 

เกาะพนัก
เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่กว่าเกาะห้อง อยู่ระหว่างเส้นทางเดินเรือ จากภูเก็ต–พังงา ประกอบด้วยถ้ำต่าง ๆ ที่มีความสวยงาม เช่น ถ้ำค้างคาว ถ้ำโกงกาง ถ้ำไอศครีม และถ้ำปีนที่มีลักษณะเป็นทะเลใน โดยในการเข้าสู่ทะเลในต้องใช้เรือซีแคนูเพียงอย่างเดียว จึงจะเข้าไปได้ มีความลึกตั้งแต่ 50–150 เมตร
กิจกรรม -เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา - พายเรือแคนู/คยัค

เกาะห้อง
มีลักษณะเป็นเขาหินปูน มีหินงอกหินย้อยที่มีความสวยงาม คล้ายห้องหลายๆ ห้อง เรียงต่อกันเป็นแถว มีพันธุ์พืชและสัตว์ป่าชนิดต่างๆ จำนวนมาก สามารถเข้าไปชมทัศนียภาพได้ โดยการจอดเรือบริเวณหน้าเกาะและใช้เรือซีแคนูเข้าไปชมบริเวณภายในถ้ำ และรอบๆเกาะซึ่งมีความสวยงามที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา - พายเรือแคนู/คยัค - ล่องแพ/ล่องเรือ

เกาะทะลุนอก
เป็นเขาหินปูน มีถ้ำทะลุ คล้ายๆ ถ้ำลอดใหญ่ แต่มีขนาดเล็กกว่า เรือสามารถแล่นลอดผ่านได้ เช่นเดียวกับ ถ้ำลอดใหญ่ และเป็นจุดพายเรือแคนูที่มีนักท่องเที่ยวนิยมกันมากแห่งหนึ่งในอ่าวพังงา
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา - พายเรือแคนู/คยัค 

 

เขาตาปู–เขาพิงกัน
เป็นจุดที่เรือทุกลำจะจอดให้นักท่องเที่ยวแวะชมและถ่ายภาพ เป็นที่รู้จักของชาวต่างประเทศ เพราะเป็นฉากหนึ่งของภาพยนตร์เรื่องเจมส์บอนด์
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา

ถ้ำลอด
เป็นถ้ำขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 50 เมตร เรือสามารถลอดผ่านได้ ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยที่สวยงาม ระหว่างการเดินทางไปยังถ้ำลอดจะผ่านป่าชายเลน ที่มีความอุดมสมบูรณ์ผืนหนึ่งของประเทศไทย
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา - ล่องแพ/ล่องเรือ 

เขาหมาจู
อยู่ระหว่างเส้นทางไปเกาะปันหยี เป็นภูเขาหินปูนที่มีขนาดเล็ก สามารถมองเห็นได้ในระยะไกลเมื่อเรือแล่นผ่าน เขาหมาจู มีลักษณะเหมือนสุนัขพันธุ์พุดเดิ้ล.
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - ล่องแพ/ล่องเรือ

เกาะละวะใหญ่
เป็นเกาะขนาดเล็ก ซึ่งมีหาดทรายที่ขาวสะอาด สามารถเดินทางโดยเรือ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง จากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ หรือสามารถลงเรือได้ที่ท่าเทียบเรือบ้านคลองเคียน ใช้เวลาประมาณ 30 นาที เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่มีความสวยงาม และมีร้านอาหารสวัสดิการของอุทยานฯไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยว และมีปะการังน้ำตื้นอยู่โดยรอบ

สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
80 ม.1 บ้านท่าด่าน ต.เกาะปันหยี อ. เมืองพังงา จ. พังงา 82000
โทรศัพท์ 0 7641 1136 โทรสาร 0 7641 3791 

การเดินทาง
รถยนต์
ท่านสามารถนำรถยนต์ส่วนตัวเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปตามถนนเพชรเกษม (ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 4) ไปจนถึงจังหวัดพังงา ระยะทางประมาณ 850 กิโลเมตร (11 ชั่วโมง) และเดินทางมุ่งหน้าไปสู่อำเภอตะกั่วทุ่ง จนถึงทางแยก เข้าทางหลวงจังหวัด หมายเลข 4144 ไปอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา โดยห่างจากทางแยก ประมาณ 2.5 กิโลเมตร

เครื่องบิน
ท่านสามารถเดินทางไปยังท่าอากาศยานกรุงเทพ และโดยสารเครื่องบินไปยังท่าอากาศยานนานาชาติ จังหวัดภูเก็ต ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 15 นาที แล้วเดินทางโดยรถยนต์อีก ประมาณ 61 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง เมื่อถึงจังหวัดพังงา โดยสารรถยนต์ (รถสองแถว) สายพังงา-ท่าด่าน ระยะทาง 9 กิโลเมตร

เรือ
ท่านสามารถเหมาเรือหรือติดต่อบริษัทนำเที่ยว ได้ที่ท่าเรือบ้านท่าด่าน อำเภอเมืองพังงา หรือท่าเรือสุระกุล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา โดยมีอัตราการจ้างเหมาเรือ ดังนี้
ผู้โดยสาร จำนวน 2 - 4 คน เป็นเงิน 800 บาท
ผู้โดยสาร จำนวน 5 - 10 คน เป็นเงิน 1,000 บาท
ผู้โดยสาร จำนวน 11 - 15 คน เป็นเงิน 1,500 บาท

รถไฟ
ท่านสามารถขึ้นรถไฟได้ที่สถานีรถไฟหัวลำโพง กรุงเทพฯ เดินทางไปถึงสถานีรถไฟ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วขึ้นรถโดยสารประจำทางอีกประมาณ 160 กิโลเมตร ( 3 ชั่วโมง) เดินทางไปถึงจังหวัดพังงา

รถโดยสารประจำทาง
ท่านสามารถเดินทางโดยขึ้นรถยนต์ปรับอากาศ ลิกไนท์ทัวร์ หรือ รถ บขส. เส้นทาง พังงา-กรุงเทพฯ ได้ที่สถานีขนส่งสายใต้ กรุงเทพฯ ในอัตรา 441 บาท (สำหรับรถยนต์ 32 ที่นั่ง) และอัตรา 685 บาท (สำหรับรถยนต์ 24 ที่นั่ง) ระยะทางประมาณ 850 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 11 ชั่วโมง เมื่อเดินทางถึงสถานีขนส่ง จังหวัดพังงา แล้วเดินทางโดยรถประจำทาง(รถสองแถว) อีกประมาณ 9 กิโลเมตร ในราคาประมาณ 20 บาท/คน

ที่พักแรม/บ้านพัก มีบ้านพักไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยว จำนวน 8 หลัง

สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ มีสถานที่สำหรับการกางเต็นท์บริเวณเกาะละวะใหญ่ และมีบริการให้เช่าเต็นท์ใน อัตรา ดังนี้
จำนวน 8 - 10 คน ราคา 300 บาท / คืน
จำนวน 3 -5 คน ราคา 200 บาท / คืน
จำนวน 2 คน ราคา 100 บาท / คืน
อัตราค่าธรรมเนียมในการเข้าเขตอุทยานฯ คนละ 20 บาท/วัน

บริการอาหาร มีร้านอาหารสวัสดิการอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา บริเวณที่ทำการอุทยานฯ และบริเวณเกาะละวะใหญ่
ท่าเรือ/ท่าเทียบเรือ
มีท่าเทียบเรือ จำนวน 3 แห่ง คือ บริเวณท่าเทียบเรือบ้านท่าด่าน บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา อำเภอเมืองพังงา และ บริเวณท่าเทียบเรือ สุระกุล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา โดยมีอัตราค่าโดยสารในการใช้บริการเรือนำเที่ยว ไปถ้ำลอด เขาหมาจู เกาะปันหยี เขาทะลุ เขาพิงกัน เขาตาปู เขาเขียน ดังนี้
ราคาแบบเหมาจ่าย ไม่เกิน 12 คน 650 - 800 บาท
ราคาแบบเหมาจ่าย ไม่เกิน 15 คน 1,500 บาท
ราคาแบบเหมาจ่าย ไม่เกิน 60 คน 2,500 - 3,500 บาท

ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยวและอาคารศูนย์ศึกษาธรรมชาติ จำนวน 1 แห่ง อยู่บริเวณ บ้านท่าด่าน ตำบลเกาะปันหยี ซึ่งมีห้องประชุมที่สามารถรองรับผู้เข้าร่วมประชุมได้จำนวน 50 คน พร้อมทั้งมีอุปกรณ์เครื่องโสต และนิทรรศการ สำหรับบริการแก่นักท่องเที่ยว

 


 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
Ao Phang-nga National Park
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
Ao Phang-nga National Park
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
Ao Phang-nga National Park
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
Ao Phang-nga National Park
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
Ao Phang-nga National Park
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
Ao Phang-nga National Park
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
Ao Phang-nga National Park
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
Ao Phang-nga National Park
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
Ao Phang-nga National Park
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
Ao Phang-nga National Park
ถ้ำลอด
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
Ao Phang-nga National Park
เกาะปันหยี
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
Ao Phang-nga National Park
เกาะพนัก
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
Ao Phang-nga National Park
เกาะละวะใหญ่
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
Ao Phang-nga National Park
เกาะห้อง
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
Ao Phang-nga National Park
เขาหมาจู
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
Ao Phang-nga National Park
เขาเขียน
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
Ao Phang-nga National Park
   
พังงา/Information of PHANG-NGA

 

General Information
Believe It or Not Tabu Island was created because of anger. There is a local story that said : once upon a time, there was a fisherman who normally caught a lot of fish everyday for selling at the market. One day, as usual, he went to net, but it was not his day. He threw his net many, many times but got nothing. With great patience he tried again and again, but still got nothing.

Consequently, he stared at the water looking for a waving pattern, he then threw his net again with a lot of hope. He kept his eyes fixed on the net when pulling it up, hoping some fish would be caught. Unfortunately he caught nothing but a nail. He became angry and threw the nail into the sea.

Again with great concentration, he kept his eyes on the sea surface and tried his net once more. This time he threw his net as wide as he could with great hope of getting some fish. Then he pulled it up slowly as it was very heavy. He pulled it up with great care. At the end of the net he found the only thing caught was the same nail.

He was so angry, he grasped his long knife and cut the nail with all his strength. The nail was cut in half. The nail was catapulted away and driven into the buttom of the sea standing up as you see it today.

The area around Phangnga bay has a long history and is famed for its nature and beauty, especially Ko Tabu, Ko Panyi, Tham Lot and Khao Phing Kan. The rock art in this area has always been an important attraction

The popularity of the Phang Nga bay area led to the designation of the current area as a forest park in 1974, this was named Sri Phang Nga Forest Park. The Royal Forest Department then began to survey the area and realised it's heritage should be further protected by increasing the areas status to a national park.

Ao Phangnga was created by Royal decree and gazetted under proclaimation number 98 section 64 of 29th April 1981. The park created covers an area of 400 sq.km, protects the largest area of this original primary mangrove forest remaining in Thailand. The park stretches from Muang Phangnga District to the coast at Takua Tung District. Over 80 % of the park is covered by the Andaman sea, with over 42 large and small islands, including such as Phra At Tao Island, Maprow Island, Boi Noi Island, Boi Yai Island, Rayaring Island, Phanak Island, Hong Island, Panyi Island, Phing Kan Island etc.

The topography of the park is strongly influenced by several faults, particulary the north-east trending of the Klong Marui fault. This offsets the eastern terrain from the central mountain ranges by a right lateral movement. This fault movement resulted in the formation of a large graben parallel to the fault. This graben is marked by the present bay.

The high ground is produced by massive limestone blocks displaying classic karst scenery. These blocks extend southward into Phangnga bay where they form islands with vertical cliffs, mainly orientated in a north-south direction.

Phangnga bay slopes seaward and is filled with tidal sediments. The bay itself is composed of large and small tidal channels which originally connected with the fluvial system of the mainland.

The main tidal channels for instance Klong Ko Panyi, Khlong Phangnga, Klong Bang Toi and Klong Bo Saen all run in a north-south direction. They consist of several tidal creeks or tidal channel distributaries. Most of the tidal channels are meandering with well developed point bars. Mangrove forests grow around the whole area of the Phangnga bay, they differ in species depending on elavation and relative tidal range.

The landward boundary of Phangnga bay is marked by a gentle erosion slope, limestone cliffs and transition forest between mangrove and upland forest which extends beyond the bay margin.

Climate
The climate experienced in Phangnga Bay is tropical marine, with characteristic high rainfall and year round high temperatures. Thirty year records of Meteological Department of Thailand (1961-1990) collected at Takua Pa weather station indicate that rain is abundant in the south-west monsoon season from May to October. The average annual rainfall is 3,560.5 mm. and the average total rain days is 189 days. The temperature fluctuates between 23๐C and 32๐C. The average relative humidity is 83%.

Mangrove Forest
Mangrove forest in the limestone mountain which found a lot of important plants in mangrove forest upto 12 types such as Rhizophora mucronata, Rhizophora apiculata, Xylocarpus granatum, etc. In addition, also found sea holly and a lot of Acrostichum aureum which growing up in the bank area or mud soil. Sea cyad is found a little bit in only the oponed area or destroyed area.

Mangrove forest in the cell and quatsite rock mountain which found the 7 important types of plants such as Rhizophora mucronata, Rhizophora apiculata, Xylocarpus granatum, etc. The other important low level plant found in this area is the dense growing sea holly.

Mangrove forest in sandstone mountain which found a little bit of important plants because this area is very far from the main land. The 5 types of important plants here are Rhizophora apiculata, Sonneratia ovata, Aegialites rotundifolia, Xylocarpus granatum and Melaleuca leucadendron. In addition, samed would be found in the area adjacent to land forest which has the lower salt level.

Land Forest, Defined as the evergreen forest which is rainforest and classified as follows :

Land forest on the limestone mountain which could be found throughout the national park, there are 2 types : the first is the forest on the plain land and the forest on the area so called Karst which is a valley area. They consist of the important plants such as Aporosa aurea, Hopea ferrea Heim. and Cassia alata Linn. Also, there are many important low level plants such as Fishtail palm. The second is the forest on the moisture high area on a limestone mountain which consists of small and short plants such as Hopea ferrea Heim., Water wisteria, etc.

Land forest on the cell quatsite rock mountain which found a lot of plants growing in the foot of mountain with very high moisture, we can find yang na woods scattering throughout this area and also find other important plants such as Schima wallichii (DC.) Korth., Bruguira gymnorrhiza, Carallia brachiata (Lour.) Merr., etc. while the low level plants found here are Bambusa arundinacea Wild, Glass, etc.

Land forest on a sandstonewould be found on the slope area which has a lot of tree and not too high. There is a little bit of the low level plants here, most of them are grasses because of infertile soil. The important plants are Bruguira gymnorrhiza, Sesban, etc.

Aquatic Plant Society

Could be classified as Padina, red alge, Halimida and including a lot of sea grass and plant planton.

Wild Animals, From survey could be classified as follows :

Mammal animals, from survey could be found upto 27 types such as Macaca irus, Semnopithecus obscurus, Hylobates lar, etc. In addition, also found the important aquatic mammal animals such as Infonesian white dolphin, Malayan dolphin, Finless porpoise.

Birds have been found totally 120 types, the important ones are Little heron, Pacific reef-egret, Little egret, etc.

Reptiles have been found totally 26 types such as Siamese box terrapin, Pseudoxenodon macrops (Blyth), etc.

Amphibians have been found 4 types such as Rana cancrivora, R. limnocharis, Rhaco phorusleucomystax, etc.

Fishes consists of squat-headed hammer head shark sphyrna tudes, freshwater ater stingray dasyatis bleekeri, Moray eel, Puffer fish and many kinds of fish which live in the coral such as Butterfly fish and the economical valued fishes such as short-bodied mackerel.

Marine Life
Marine life totals over 80 species: 24 species of fish, 14 species of shrimp, 15 species of crabs and another 16 species of manta-rays, sharks, and gamefish. In the bay, you will find blue crabs, swimming crabs, mud-skippers, humpback shrimp, mud-lobsters, pomfrets, jewfish, sole, anchovies, scad, rock cod, as well as rainbow cuttlefish, soft cuttlefish, musk crab, mackerels, spinefoots, groupers, black sea cucumbers, brain coral, staghorn coral and lastly flowerlike soft coral.

The bay of Ao Phangnga National Park has a wealth of plankton, these are small plant and animal organisms that float at the water surface and serve as food for many species. The presence of large amounts of plankton is due to the shallowness of the water, rich nutrient supply and the higher temperatures found in the bay area. As the food resource is high, this makes a good nursery area for mothers of many species, which enter the bay to rear their young before returning to deeper water

The natural beauty is most easily seen by a boat tour of the entire bay. There are some lovely caves- Lod Cave, Pauta Khun Thong Cave, Kaeo Cave Talu Nok Island, Talu Nai Island, Phanak Island, Khai Island. If you'would like a destination for a nice picnic lunch with a little snorkeling ; rent a boat to Lawa Yai Island. In two hours you will reach this very small island with a white sandy beach where you can relax to your picnic lunch after some sun and fun.

Panyee Island
Panyee Island, acutually, is the fisherman village, built on the area which can be flooded by the sea, so their houses were leveraged to the most high level over the highest level of the sea. This village is located outside the national park. Panyee people are the original fishermen, living with the shallow fishery by using floating bag-net, cockle farming, fish farming in cage, At present, Koh Panyee is the community for serving tourist and some of buildings had been modified to be restaurants and souvenir shops.

Khien Mountain
Lies on the way to Panyee Island. Khien Mountain have a cave painting of there pre-historic people about 3,000 years.There are ancient depiction of animals and boats.

Panak Island
Panak Island is the bigger than Hong Island, between the boat route from Phuket to Phangnga, have a many cave, such as , Khang Kao Cave, Kong Kang Cave, Icecream Cave, and Peen Cave. To access this cave, has to use the sea canoe. Its depth is about 50-150 meters.

Hong Island
Hong Island is actually the limestone mountain, inside have many cave and beautiful ,which seperate into many rooms arranged in the same line and has stalactite there. To visit them, you must park your boat in front of island and then use the canoe to take you look around and access to inner sea.

Talu Nok Island
Talu Nok Island is another one of limestone mountain. It has the hollow cave, semilar the big through cave but smaller one. A boat can sail through it as well. There is a once famous site in Ao Phang-Nga National Park for sea canoe.

Tapu Island and Phing Kan Island
Tapu Island and Phing Kan Island is the main tourist attraction which all tourist boat must stop for visiting and take a photograp . The front side of Tapu Island is very well-known by foreigners because it's one scene of the "James Bond " movie.

Lod Cave
Lod Cave is a big cave and length about 50 metres, lies in Takua Thung District. There are beautiful stalactites and stalagmites inside the grotto. During way, you can see a perfect mangrove forest in Thailand.
Activities - View - Cave/Geological Touring - Rafting-Canoeing-Kayaking 

Mah Ju Mountain
Lies on the way to Panyee Island. Mah Ju Mountain is a small limestone island. The rock face looks remarkably like a poodle dog.
Activities - View - Rafting-Canoeing-Kayaking

Lawa Yai Island
In two hours you will reach this very small island with a white sandy beach or you can go by boat on the way at Ban Klong khein pier about 30 minute, where you can relax to your picnic after some sun and fun , Also remember to bring your own mask and snorkel if you can to look and coral.

Contact Address
Ao Phang-nga National Park
80, Mu 1, Ban Tha Dan, Ko Panyi Sub-district, Amphur Muang Phang Nga Phang Nga Thailand 82000
Tel. 0 7641 1136 Fax 0 7641 3791 

How to go?
By Car
Once in Phang nga Town , go past on highway heading to Takua Thung District, pass the provircial Hall. About after 850 kilometers,at three junction,you turn left about 2.5 kilometers.

By Airplane
Takes a plane to Phuket International Airport, for about 1 hours 15 minutes, and then connect a car for 61 kilometers which takes time about 45 minutes to Phang Nga town. After that takes a minibus, Phang Nga-Tha Dan route, for 9 kilometers and will find it priot to Ta Dan 300 meters.

By Ship
Rent a boat or contact tour agent to handle for you.

By Train
Takes a train from Houlampong in Bangkok to Poonpin District at Suratthani and connects to a car for about 160 kilometers (3 hours) to Phang nga town.

By Bus
Takes an air-condition,bus for 441 Baht and the V.I.P bus for 685 Baht about 850 kilometers from Bangkok to Phang nga and then to the bus station Phang nga,you takes a minibus, Phang nga-Tha Darn route for 9 kilometers and for 20 Baht per person.


 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

พังงา แผนที่จังหวัดพังงา เขาตะปู เขาพิงกัน อ่าวพังงา
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอคุระบุรี
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอกะปง
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอตะกั่วทุ่ง
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอตะกั่วป่า
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอทับปุด
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอท้ายเมือง
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเกาะยาว


แหลมหาด

Laem Hat
(พังงา)
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมือง


ถ้ำซ้ำ

Sam Cave
(พังงา)
แผนที่จังหวัดพังงา/map of PHANG-NGA
โรงแรมจังหวัดพังงา/Hotel of PHANG-NGA

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์