ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > จังหวัดนครราชสีมา >อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย/THE PHIMAI HISTORICAL PARK 

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย/ THE PHIMAI HISTORICAL PARK

  อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ตั้งอยุ่ในตัวอำเภอพิมาย ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของโคราช เป็นระยะทาง 60 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายมิตรภาพ (โคราช-ขอนแก่น) อุทยานประวัติศาสตร์พิมายครอบคลุมพื้นที่เมืองโบราณอันเป็นที่ตั้งของศาสนสถานที่ใหญ่โตและงด งามแห่งหนึ่ง คือ "ปราสาทหินพิมาย" เป็นแหล่งโบราณคดีที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ สร้างขึ้นในราวปลายพุทธ ศตวรรษที่ 16 และมาต่อเติมอีกครั้งในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 ซึ่งครั้งนั้นเมืองพิมายเป็น เมืองใหญ่ของขอมบนแผ่นดินที่ราบสูงครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.tourkorat.com

ประสาทหินพิมาย

ประสาทหินพิมาย

สถานที่ตั้ง
:

   
  อุทยานประวัติศาสตร์พิมายนั้น ก็ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย ทางทิศตะวันออก เฉียงเหนือของโคราช เป็นระยะทาง 60 กิโลเมตร ตามเส้นทาง " สายมิตรภาพ โคราช - ขอนแก่น " ปราสาทหินพิมาย เป็นแหล่งโบราณคดีที่ทรงคุณค่า ทาง ประวัติศาสตร์


การเดินทาง :
 
   จากตัวเมืองนครราชสีมาไป ตามทางหลวงหมายเลข 2 (นครราขสีมา - ขอนแก่น) จนถึงหลัก กม.ที่ 49 เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 206 อีกประมาณ 10 กม. ถึงปราสาทหินพิมาย รวมระยะทางจากตัวเมืองนครราชสีมา ถึงปราสาทหิน พิมายประมาณ 59 กม. สภาพทางหลวงหมายเลข 206 เป็นถนนลาดยาง อยู่ในสภาพดี จากตัวเมืองนครราชสีมา มีบริการรถประจำทาง รถขนส่งและรถ รับจ้าง บริการรับ - ส่งการคมนาคมสะดวก และปลอดภัย

สร้างขึ้นเมื่อ
:
  
   สร้างขึ้นในราวปลายพุทธ ศตวรรษที่ 16 และมาต่อเติมอีกครั้ง ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 ซึ่งครั้งนั้น เมืองพิมายเป็นเมืองใหญ่ ของขอม บนแผ่นดินที่ราบสูง อุทยานประวัติศาสตร์พิมายนั้น สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธสถานฝ่ายมหายาน โดยสร้างมาก่อนปราสาทนครวัด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง เป็นต้นแบบ สถาปัตยกรรมให้กับปราสาทนครวัดในกัมพูชา อย่างไรก็ตาม ปราสาทหินพิมายมิได้เป็นศาสนสถานประจำรัชกาลของกษัตริย์กัมพูชา ซึ่งนับถือศาสนาฮินดู แต่เป็นพุทธสถานของชุมชนชาวพุทธมหายานที่ขุนพล หรือเจ้าเมืองคนสำคัญของกษัตริย์กัมพูชา เป็นผู้อำนวยการสร้างขึ้น องค์ปรางค์ประธานของปราสาท หันหน้าไป ทางทิศใต้ซึ่งเป็นทิศที่ตั้งเมืองพระนคร อันเป็นเมืองหลวงแห่งอาณาจักรกัมพูชา

ลักษณะของประสาทหินพิมาย :

ประมาทหินพิมาย ประมาทหินพิมาย ประมาทหินพิมาย ประมาทหินพิมาย
 

    ปราสาทหินพิมาย ประกอบด้วย ปรางค์ใหญ่องค์กลาง มีกำแพงสี่เหลี่ยมล้อมรอบ มีซุ้มประตูสี่ทิศเป็นคูหาติดต่อกันโดยตลอด กำแพงสร้างด้วยหินทรายสีแดง กำแพงด้านเหนือและด้านใต้ ยาว 220 เมตร กำแพงด้านตะวันออกและตะวันตก ยาว 277.50 เมตร ถัดจากกำแพงเข้ามา เป็นลานกว้าง มีสระน้ำใหญ่อยู่สี่มุม ที่ลานชั้นนอกใกล้ซุ้มประตูด้านตะวันตก มีซากอาคารสร้างด้วยหิน ขนาดกว้าง 25.50 เมตร ยาว 26.50 เมตร ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า เป็นสถานที่ใช้ประโยชน์อย่างไร ถัดจากลานเข้าไป จะถึงระเบียงคด (บันไดชั้นในเป็นทางเดินกว้าง 2.35 เมตร) เดินทะลุถึงกันได้ตลอด 4 ด้าน หลังคามุงแผ่นหินลงจากระเบียงคด จะถึงปรางค์ 3 องค์กับอาคาร 1 หลัง ปรางค์ 3 องค์ ประกอบด้วยองค์ใหญ่อยู่ตรงกลาง ปรางเล็กซ้ายขวา องค์ทางซ้ายสร้างด้วยศิลาแรง เรียกว่า "ปรางค์พรมหมทัต" ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมกว้างกว่า 14.50 เมตร สูง 11.40 เมตร ปรางค์ทางด้านขวา สร้างด้วยหินทรายสีแดง ชื่อ"ปรางค์หินแดง"กว้าง11.40 เมตร สูง 15 เมตร ปรางค์ใหญ่องค์กลาง คือ ปรางค์ประธานของปราสาทหินแห่งนี้ มีฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้ สิบสองกว้าง 18 เมตร ความยาวรวมทั้งมุขหน้า 32.50 เมตร

มีศาสนสถานอยู่กลางเมืองประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้ :

- ธรรมศาลา

        ก่อนจะเข้าสู่ บริเวณภายในกำแพงปราสาทหินพิมาย มีอาคารหลังหนึ่ง ตั้งอยู่ทางซ้ายมือหันหน้าเข้าสู่ถนน เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 26 x 35.10 เมตร สร้างด้วยหินทราย มีบันไดและประตูเข้าสู่อาคาร ทั้งด้านตะวันออกและตะวันตกข้าง ๆ ประตู จริงเป็นประตูหลอกด้านละ 1 ประตู มีการกั้นแบ่งเป็นห้อง ๆ โดยทุกห้องมีประตูทะลุถึงกัน อาคารหลังนี้ใช้เป็นสถานที่พัก เตรียมพระองค์สำหรับกษัตริย์ หรือเจ้านายชั้นสูงยามเสด็จมาประกอบพิธีทางศาสนา รวมทั้งเป็นที่พักจัดขบวน ปัจจัยของถวายต่าง ๆ ที่ใช้ในพิธี

-
สะพานนาคราช

         เป็นสะพานสร้างด้วยหินทราย ตั้งอยู่ตรงหน้าซุ้มประตูกำแพง ชั้นนอกเป็นรูปกากบาทขนาด กว้าง 4 เมตร ยาว 3170 เมตร ยกพื้นสูงจากพื้นดิน ประมาณ 2.50 เมตร มีบันไดขึ้นลง 3 ด้าน เชิงบันไดทำเป็นอัฒจันทร์รูปปีกกา ราวสะพานโดยรอบ ทำเป็นลำตัวของนาคราชชูคอแผ่พังพางมี 7 เศียร ที่เชิงบันไดมีประติมากรรมรูปสิงห์ ทำด้วยหินทราย เสาและขอบสะพานสลักลวดลายงดงาม

-
กำแพงชั้นนอกและซุ้มประตู

    กำแพงชั้นนอก : สร้างด้วยหินทราย มีศิลาแลงแทรกเป็นบางส่วน ขนาดประมาณ 220 X 277.50 เมตร มีประตูหลอกทำเลียนแบบบานประตูไว้ 2 บาน กำแพงชั้นนอก ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ อยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุด คือยังมีความสูงเหลืออีก 8 เมตร

    ซุ้มประตู : ที่กึ่งกลางกำแพงชั้นนอกทั้ง 4 ด้าน เป็นซุ้มประต ูหรือที่เรียกกันว่า โคปุระ สร้างดินหินทราย ผังโดยรวมของประตูซุ้ม มีลักษณะเป็นรูปกากบาท มีประตูผ่านเข้าได้ 3 ทาง คือ ประตูกลางผ่านทางห้องมุข และประตูข้างทางห้องริมสุด 2 ข้าง

    ทางเดินเข้าสู่ปราสาท : เป็นทางเดินที่สร้างดินหินทราย สูงขึ้นมาประมาณ 1 เมตร มีบันไดลงจากทางเดินสู่พื้นล่าง ที่มุมทั้งส ี่และทั้งสองข้าง ของช่องกลางตลอดแนวทางเดินที่เชื่อมตัดกัน มีหลุมเสาตั้งเรียงกันอยู่เป็นระยะ ๆ จาการขุดแต่งบริเวณนี้ใน พ.ศ.2530 ได้พบเศษกระเบื้อง และบภลีดินเผา เป็นจำนวนมากสันนิษฐานได้ว่ายกพื้นทางเดินทั้งหมดนี้ มีลักษณะเป็นระเบียงโปร่ง หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา รองรับด้วยเสาไม้ซึ่งผุพังไปหมดแล้ว

   บรรณาลัย : ตั้งอยู่บริเวณลานชั้นนอกซีกตะวันตก ระหว่างประตูซุ้มกำแพงชั้นในและชั้นนอก เป็นรูปสี่เหลี่ยมกว้าง 25.50 X 26.50 เมตร จำนวน 2 หลัง อาคาร 2 หลังนี้จัดเป็นอาคารใหญ่ ไม่มีหลักฐานให้ทราบชัด ถึงประโยชน์ใช้สอยที่แท้จริง เรียกต่อ ๆ กันมาว่า บรรณาลัย ซึ่งหมายถึง สถานที่เก็บรักษาคัมภีร์ต่าง ๆ ทางศาสนาเทียบกับวัดของเราในปัจจุบัน ก็คงจะเทียบได้กับ “หอไตร” นั่นเอง แต่เมื่อพิจารณาสภาพภายในอาคารแล้ว ชวนให้สันนิษฐานว่า น่าจะใช้ประโยชน์อย่างอื่น เช่น อาจเป็นที่ประกอบศาสนกิจของพระสงฆ ์ในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน อันเป็นศาสนาหลักของศาสนาสถานแห่งนี้ หรืออาจเป็นที่พักกระบวนเสด็จของกษัตริย์ หรือเจ้านายก็เป็นได้

   สระน้ำ : ตั้งอยู่ที่มุมทั้ง 4 ของลานชั้นนอก มีขนาดไม่เท่ากัน และตำแหน่งที่ตั้งก็ไม่อยู่ในแนวตรงกัน นอกจากนี้ที่บริเวณนี้ยังเคยเป็น ที่ตั้งของวัดต่าง ๆ ซึ่งได้ย้ายออกไป สร้างใหม่ข้างนอกปราสาทแล้ว รวมทั้งสิ้น 4 วัด คือวัดสระหิน วัดพระปรางค์ใหญ่ วัดโบสถ์ (ซึ่งมีพระอุโบสถ เรียกกันว่า โบสถ์เจ้าพิมาย) และวัดพระปรางค์น้อย จากการที่เรียกชื่ออุโบสถว่า โบสถ์เจ้าพิมาย ประกอบกับได้พบพระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนปลาย เมื่อครั้งกรมหมื่นเทพพิพิธ มาสะสมกำลังตั้งตัวเป็นใหญ่ คราวเสียกรุงครั้งที่สอง เรียกว่า ก๊กเจ้าพิมาย สระน้ำทั้งหลาย จึงคงเป็นสระน้ำที่วัดเหล่านั้น ขุดขึ้นมาใช้ประจำวัดนั่นเอง

- กำแพงชั้นในและซุ้มประตู

  กำแพงชั้นใน : สร้างด้วยหินทรายเป็นห้องยาวต่อเนื่องกัน เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ล้อมรอบลานปราสาทชั้นใน กว้าง 2.35 เมตร ยาวจากเหนือ - ใต้ 72 เมตร จากตะวัน ออก - ตะวันตก 80 เมตร อยู่สูงจากพื้นดิน 1 เมตร ภายในเดินทะลุถึงกันได้ ส่วนผนังด้านนอกปิดทึบ ทำเป็นหน้าต่างหลอด ประดับด้วยลูกมะหวด

  ซุ้มประตูของกำแพงชั้นใน : สร้างด้วยหินทรายเช่นกัน มี 4 ประตู ลักษณะคล้ายซุ้มประตูกำแพงชั้นนอก แต่เล็กกว่า มีจารึกบนกรอบประตู ด้วยอักษรของโบราณ กล่าวถึงชื่อ “กมรเตงชคตวิมาย” และการสร้างรูปเคารพชื่อ “กมรเตงชคตเสนาบดีไตรโลกยวิชัย”ใน พ.ศ.1651 ทับหลังของซุ้มประต ูส่วนใหญ่พังทลายลง ปัจจุบันได้นำบางส่วนเก็บไว้ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย ส่วนที่เหลือได้นำไปติดตั้ง ที่โบราณสถานแล้ว ภาพสลักทับหลังดังกล่าวเป็นศิลปะ แบบปาปวนนครวัด

  ปรางค์ประธาน
: เป็นสถาปัตยกรรมหลัก และเป็นศูนย์กลางของศาสนาสถานแห่งนี้ สร้างด้วยหินทรายขาว หันหน้าไปทางทิศใต้ สูง 28 เมตร ฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้าง 22 เมตร มีมุข 3 ด้าน คือ ทางทิศเหนือ ตะวันออกและตะวันตก ส่วนยอดปรางค์ หรือหลังคาทำเป็นชั้น ๆ ลดหลั่นกันไป เรียกว่าชั้นเชิงบาตร รวม 5 ชั้น ประดับด้วย กลีบขนุนปรางค์ และประติมากรรมหินทราย เป็นรูปสัตว์ และเทพต่าง ๆ ยอดบนสุดสลักเป็นรูปดอกบัว

  หอพราหมณ์ : สร้างด้วยหินทราย และมีศิลาแลงแซมบางส่วน อยู่ด้านหน้าของปรางค์ประธาน ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมหินผ้า ขนาด 6.50 X 17 เมตร มีมุกขื่นออกไปเป็นบันได้ และประตูเข้า - ออก ภายในอาคาร พบศิวลึงค์หินทราย จึงเชื่อว่าคงเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรม ทางศาสนาพราหมณ์ จึงเป็นเหตุ เรียกว่า หอพราหมณ์

  ปรางค์หินแดง : ตั้งอยู่บนฐานเดียวกับหอพราหมณ์ สร้างด้วยหินทรายสีแดง ฐานปรางค์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้าง 11.40 เมตร สูง 15 เมตร มีมุขยื่นออกไป 4 ทิศ ที่มุขแต่ละด้าน มี 1 ประตู จากการขุดแต่งพบว่า แท่งหินที่ใช้ต่อฐานบางท่อนมีลวดลายสลัก แต่วางกลับข้างจากบนลงล่างแสดงว่า คงรื้อเอาวัสดุเก่ามาใช้ในการก่อสร้าง และคงสร้างพรอ้มกับหอพราหมณ์ เนื่องจากอยู่บนฐานเดียวกัน

  
ประมาทหินพิมายปรางค์พรหมทัต : ตั้งอยู่แนวเดียวกันกับปรางค์หินแดง สร้างด้วยศิลาแลงฐาน เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้าง 14.50 เมตร สูง 16 เมตร ภายในพบประติมากรรมหินทราย รูปบุคคล 2 รูป รูปหนึ่งเป็นบุคคลขนาดใหญ่ นั่งขัดสมาธิ เชื่อกันว่าเป็นรูปของพระเจ้าขัยวรมัน ที่ 7 ซึ่งเรียกกันว่า ท้าวพรหมทัต อีกรูปหนึ่งเป็นสตรีนั่งคุกเข่า ศรีษะ และแขนขาด ไปเหลือแต่ลำตัว เชื่อกันว่าเป็นรูปของ พระนางราชเทวีมเหส ีของพระเข้าชัยวรมัน ที่ 7 ชาวบ้านเรียกกันว่า นางอรพิมพ์

  ฐานอาคาร : ตั้งอยู่ระหว่างซุ้มประตูกำแพงชั้นใน ด้านทิศตะวันออกกับปรางค์ประธาน มีลักษณะคล้ายฐานปรางค์ สร้างด้วยหินทรายสีแดง เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 8.15 เมตร สูง 70 เมตร

  เมรุพรหมทัต : ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของปราสาทหินพิมาย เป็นซากเนินเจดีย์ขนาดใหญ่ ก่อด้วยอิฐ สาเหตุที่เรียกชื่อว่า เมรุพรหมทัตนั้น คงเป็นเรื่องเชื่อมโยง กับนิทานพื้นบ้าน เรื่องนางอรพิมพ์กับท้าวปาจิต ซึ่งเล่ากันว่าสถานที่นี้ คือที่ถวายพระเพลิงท้าวพรหมทัต

 
    
    คนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจ หรือรู้ซึ้งในความสัมพันธ์ระหว่างอิฐ หิน ดิน ทราย ที่ก่อรูปเป็นโบราณสถานดีนัก ทำอย่างไรจึง จะทำให้คนเห็นรากเหง้า แห่งอดีตของคนท้องถิ่น เกี่ยวข้องกับโบราณสถาน พัฒนาการของพิมาย อันประกอบด้วย ชุมชนผู้คนและปราสาทหินพิมาย ต้องไปด้วยกัน ผลที่ได้รับ จากอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษา ประวัติศาสตร์โบราณคดี เทคโนโลยีการก่อสร้างในอดีต ตลอดจนดำรงไว้ซึ่งมรดกวัฒนธรรมของชาติ และเป็นผลทำให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยว มีความเจริญขึ้นเศรษฐกิจ เพิ่มเป็นเงาตามตัว หากชาวเมืองพิมาย และชาวไทยทุกคนมีความรัก และหวงแหนสมบัต ิทางวัฒนธรรมแห่งน ี้และพร้อมที่จะช่วยกัน พัฒนาให้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันแล้ว คงนำความภาคภูมิใจมาสู่บรรพบุรุษ สมกับที่ท่านสละเลือดเนื้อ และชีวิตเพื่อสร้างพิมาย ให้เป็นเมืองสำคัญยิ่งในอดีตกาล

 
 
สิ่งที่ควรรู้ในการศึกษาและท่องเที่ยวในศิลปะแบบขอม :
ศาสานสถานของขอม มักจำแนกเป็น ๒ แบบ คือ

- ศาสานสถานที่มีขนาดใหญ่ : ก็อย่างเช่น ปราสาทหินพิมาย ปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทพระวิหาร หรือไม่ว่าจะเป็นปราสาทนครวัด ที่อยู่ในประเทศกัมพูชา ถือว่าเป็นศาสานสถานหลัก และมักจะมีการสร้างไว้ในชุมชนที่มีความเจริญมากๆ และศาสานสถานประเภทนี้ มีไว้เพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และผู้ทำพิธี และจะต้องเป็นผู้ที่ครองเมือง หรือกษัตริย์ เท่านั้น

- ศาสานสถานที่มีขนาดเล็ก : ที่เรามักจะพบเห็นกันทั่วไปตามหมู่บ้านหรือข้างทาง ก็ถือว่าเป็น "อโรคยาศาล" หรือ "โรงพยาบาล" นั้นเอง และการสร้างอโรคยาศาลนั้น ก็จะสร้างไว้เป็นระยะๆ ประมาณ ๑๐ - ๑๕ กิโลเมตร ซึ่งเป็นระยะของการเดินทาง ดังนั้นเราจึงได้เห็นสิ่งก่อสร้างเหล่านี้ในบริเวณอีสานตอนล่าง และอโรคยาศาลนี้ มีไว้เพื่อให้ผู้ที่เดินทาง มีที่พักค้างคืน และเป็นที่ซึ่งชาวชุมชนใช้เพื่อ เป็นสถานพยาบาล โดยจะมีพรามหณ์ประจำ ที่คอยประกอบพิธีทำน้ำมนตร์ให้แก่ผู้ที่มาทำการรักษา

 

ประสาทหินพิมาย

 

ประสาทหินพิมาย ตั้งอยู่ใน อ.พิมาย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นเมืองที่มีโบราณสถานที่สำคัญและมีความสำคัญที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เนื่องจากมีขนาดใหญ่และสำคัญนี่เอง พระเจ้าแผ่นดินเขมรสมัยโบราณจึงต้องตัดถนนผ่านจากพระนคร (อังกอร์) ซึ่งเป็นเมืองราชธานีของเขมรมายังเมืองพิมายทิ่อยู่ทางใต้ ดังนั้นเมืองพิมายจึงหันหน้าไปทางทิศใต้เพื่อรับกับถนนเส้นสำคัญนี้ ไม่เหมือนกับประสาทเขมรอื่นๆ    ปกติชุมชนเขมรจะตั้งห่างจากแม่น้ำ แต่จะขุดสระน้ำเอาไว้ใช้ประโยชน์เอง ที่เรียกว่า บาราย  แต่เมืองพิมายตั้งอยู่บนริมฝั่งแม่น้ำมูล สันนิษฐานว่า เพราะเป็นชุมชนเก่ามาก่อนวัฒนธรรมเขมรจะเข้ามา มีการพบศิลปวัตถุแบบทวาราวดีด้วย เมืองเขมรน่าจะมาสร้างทับทวารวดีภายหลัง 

บนถนนสายนี้นอกจากประสาทพิมายแล้วยังมีประสาทอื่นๆ อีกเช่น ประสาทเมืองต่ำ, ประสาทเขาพนมรุ้ง และยังมีลำน้ำเล็กๆ ขวางอยู่คือ ลำน้ำเค็ม เชื่อกันว่าเป็นลำน้ำที่ใช้ลำเลียงหินทรายจากที่ใกล้เคียงมาสร้างประสาท ซึ่งเป็นระยะทางประมาณ 70 กิโลเมตร  สำหรับหินทรายที่ใช้ในการก่อสร้างปัจจุบันยังไม่ทราบว่ามาจากที่ไหนบ้าง เนื่องจากแหล่งตัดหินทรายที่ใกล้ที่สุดอยู่ห่างจากประสาทหินพิมายถึง 70 กิโลเมตร ที่บ้านมอจะบก อ.สี่คิ้ว นครราชสีมา ซึ่งจะเห็นได้ตลอด 2 ข้างทางของถนนมิตรภาพ ทำให้เราไม่แน่ใจว่าหินที่สร้างประสาทจะมาจากที่นี่เพราะระยะทางไกลเกินไป น่าจะนำไปสร้างประสาทหินเล็กๆ ใกล้แถบนั้นมากกว่า ถัดจากลำน้ำเค็มจะมีท่าน้ำอยู่เรียกว่า ท่านางสระผม ถัดจากท่าน้ำจะเป็นถนนตัดตรงขึ้นมาอีกจนถึงประตูเมืองทางทิศใต้ ถือว่าเป็นประตูเมืองที่สำคัญที่สุดอยู่ทางด้านหน้าเรียกว่า ประตูชัย ซึ่งทำด้วยศิลาแลงทั้งหมด ประตูถูกสร้างเพิ่มเติมขึ้นมาในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งถ้าเราเห็นสิ่งก่อสร้างจากศิลาแลงให้ทำนายได้เลยว่า 90% เป็นศิลปะบายน   จากการขุดแต่งโดยกรมศิลปากรเมื่อกว่า 10 ปี จะพบประติมากรรมเป็นรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร , นางปรัชญาปรมิตา  ซึ่งเป็นศิลปะร่วมแบบบายน นอกจากนี้ยังพบพระพิมพ์แบบมหายาน  

ในประสาทหินพิมาย จุดแรกที่สร้างคือ อาคารที่อยู่หน้าประสาท เรียกว่า คลังเงิน ซึ่งเป็นคำที่ชาวบ้านใช้เรียกภายหลัง เนื่องเพราะชาวบ้านได้พบเหรียญเงินสมัยอยุธยาที่นี่ ภายหลังจึงรู้ว่าที่นี่คือ พลับพลาเปลื้องเครื่อง เหมือนกับโรงช้างเผือกที่ประสาทพนมรุ้ง

ที่คลังเงินพบทับหลังชิ้นหนึ่ง จำหลักภาพที่ตีความได้ว่าเป็น พิธีอัศวเมศ  ในอินเดียสมัยก่อน เมื่อพระเจ้าแผ่นดินขึ้นเสวยราชย์ ต้องมีการทดสอบเมืองขึ้นว่ายังจงรักภักดีอยู่หรือไม่โดยการปล่อยม้าไปยังเมืองเหล่านั้น ถ้าเมืองไหนเปิดประตูรับม้าแสดงว่ายังอ่อนน้อมจงรักภักดีอยู่ แต่ถ้าปิดประตูแสดงว่าแข็งเมืองก็จะมีกองทัพตามม้าเข้าไปโจมตีเมืองนั้นทันที ถ้าม้าไปครบทุกเมืองแล้วก็จะกลับมายังราชธานี แล้วทำการบูชายัญม้าเพื่อให้


 

ขึ้นสวรรค์ไป จากคลังเงินก็มาถึงสะพานนาคซึ่งเป็นสะพานที่อยู่ด้านหน้า มีแผนผังเป็นรูปกากบาทที่ขอบสะพานจะมีนาคเลื้อยอยู่โดยรอบ นาคจะมีรัศมีเชื่อมเป็นแผ่นเดียวกันเป็นศิลปะแบบนครวัด เป็นนาค 7 เศียร ที่สำคัญคือมีรัศมีเชื่อมต่อกันโดยรอบจะถือว่าเป็นศิลปะแบบนครวัด

สะพานนาคหมายถึงจุดเชื่อมต่อระหว่างโลกมนุษย์กับสวรรค์ สมัยโบราณหลังฝนหยุดตกก็จะเห็นรุ้งกินน้ำ คนโบราณถือว่ารุ้งกินน้ำเป็นสะพานเชื่อมโลกมนุษย์กับสวรรค์ สะพานนาคนี้เปรียบเสมือนรุ้งนั่นเอง ก่อนข้ามสะพานมา จะมีสิงโตยืนอยู่ 2 ตัว (สิงโตไม่ใช่สัตว์พื้นเมืองของเอเชียอาเนย์ ในป่าแถบนี้จะไม่พบสิงโตเลย ดังนั้นถ้าเห็นสิงโตที่ไหนแสดงว่าเป็นการรับอิทธิพลมาจากภายนอก ไม่อินเดียก็จีน) การที่สิงโตปรากฏในเขมรก็เพราะได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียแล้วมาปรับให้เป็นสิงโตแบบเขมร ลักษณะของสิงโตที่เห็นมีวิวัฒนาการเจริญสูงสุดตรงกับสมัยพญานาคที่เป็นแบบนครวัด

สิงโตช่วงแรกจะนั่งบน 2 ขาหลังอย่างแท้จริง แต่สมัยนครวัด สิงโตจะยืนตรงบน 2 ขาหน้าและครึ่งนั่งครึ่งยืนบน 2 ขาหลัง ยืนลักษณะนั่งก็ไม่ใช่ ยืนก็ไม่เชิง เป็นนั่งแบบยงโย่ยงหยก เป็นเอกลักษณ์ของสิงโตแบบนครวัดที่งามที่สุดของวัฒนธรรมเขมร การนำรูปสิงโตมาตั้งไว้ทั้ง 2 ข้าง หมายถึงทวารบาล (ผู้เฝ้า ผู้พิทักษ์รักษาประตูทางเข้า หรือบันไดทางขึ้น) เพื่อป้องกันสิ่งชั่วร้ายไม่ให้เข้าไปในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์   

ถัดจากสะพานนาคเป็นกำแพงล้อมประสาททำด้วยหินทรายทั้งหมด ซึ่งเป็นหินทราย 2 สี คือ

-หินทรายสีเทา

-หินทรายสีชมพู

ช่างสมัยก่อนจะรู้ว่าหินทรายสีเทามีคุณสมบัติในการรับน้ำหนักดีกว่าสีชมพู จึงใช้สีเทาในส่วนที่ต้องรับน้ำหนักมาก เช่น ทำเป็นเสา, คาน, กรอบประตู-หน้าต่าง แต่ถ้าเป็นผนัง, หลังคา จะใช้หินทรายสีชมพู  เมื่อมีการซ่อมประสาทใหม่ในปี 2507 นาย เบอนาร์ด ฟิลิป โกลิเยร์ ชาวฝรั่งเศส ได้ทำการซ่อมประสาทเป็นครั้งแรก

นายโกลิเยร์ กล่าวว่า การซ่อมประสาทหินสามารถซ่อมได้เฉพาะหินสีเทาเท่านั้น เพราะว่าการซ่อมต้องรื้อประสาทออกทั้งหลังแล้วประกอบเข้าไปใหม่ แต่หินทรายสีชมพูถ้านำออกมาจะแตกเป็นผงไม่สามารถนำกลับ

เข้าไปใหม่ได้ จึงต้องใช้ปูนซีเมนต์เข้าไปฉาบแล้วระบายสีชมพูแทน จึงไม่ได้มีการซ่อมตรงส่วนนี้ทั้งหมด อาคารที่โกลิเยร์ไม่แตะเลย คือ โคปุระ, กำแพง, ปรางค์หินแดง และระเบียงคด

ต่อมานักวิชาการชาวไทยบอกว่าสามารถซ่อมได้ เลยซ่อมโคปุระด้านหน้าโดยใช้หินต่างขนาดกันมาใส่แทน

ชื่อ พิมาย ได้ปรากฎบนศิลาจารึกที่พบที่ประสาทพิมาย เดิมเรียกเมืองนี้ว่า วิมายะปุระ (พระผู้ปราศจากมายา) คือพระพุทธเจ้า ดังนั้นประสาทหินนี้จึงสร้างขึ้นเพื่อถวายพระพุทธเจ้าพระนามว่า พระวิมายะ ซึ่งมีจารึกที่กรอบ

ประตู เสนาบดีไตรโลกยวิชัยได้สถาปนารูป กมรเตงชุกตวิมาย ขึ้นให้เป็นมหาศักราชหรือ 1108 ทำให้เห็นว่าประสาทหินพิมายต้องสร้างขึ้นก่อนแล้ว


 

ถ้าถามความเป็นมาของเมืองพิมายจากชาวบ้านแล้ว ก็จะมีนิทานปรัมปราเป็นเรื่องรักสามเส้า เกี่ยวกับ ท้าวปาจิตกับนางอรพิม ต่อมามีกษัตริย์ชราองค์หนึ่งนามว่า ท้าวพรหมทัต ได้ยินกิตติศัพท์ของนางอรพิมว่างามมาก จึงลักพาตัวไปซ่อนไว้ตามเมืองต่างๆ ในที่สุดก็มาซ่อนที่เมืองนี้ ท้าวปาจิตเที่ยวตามหาจนรู้ว่ามาอยู่ที่เมืองนี้แต่เข้าไปไม่ได้ ก็ตะโกนเรียกอยู่หน้าเมืองว่า “พี่มาแล้ว พี่มาแล้ว” นานเข้าเพี้ยนจนเป็น พิมาย

พิมาย มาจากคำว่า วิมาย เป็นภาษาสันสกฤต   พ กับ ว  เปลี่ยนแทนกันได้ อย่างเช่น วิมาย เป็น พิมาย, วัชระ เป็น เพชระ  ฉะนั้นคำว่าพิมายจึงมาจากศิลาจารึกที่สลักบอกไว้คือ วิมายปุระ ,ปุระคือบุรี หรือเมือง เมืองวิมายเพี้ยนเป็นพิมาย  ซึ่งเป็นศาสนสถานที่อยู่กลางเมืองพิมาย เรียกว่าประสาทหินพิมาย ถือได้ว่าเป็นประสาทหินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีอาณาเขตกว้างขวางที่สุด และตั้งอยู่กลางเมืองพิมาย ซึ่งถือว่าเป็นเมืองวัฒนธรรมเขมรที่อยู่ในภาคอีสาน เมื่อเทียบความสวยแล้ว ประสาทหินพนมรุ้งจะสวยกว่าเพราะสร้างด้วยหินทรายสีชมพูทั้งหลัง และประสาทหินพนมรุ้งเป็นศาสนบรรพตที่งามที่สุดในประเทศไทย แต่จะเป็นลักษณะเดียวกันคือเป็นศาสนสถาน แต่พนมรุ้งสร้างในศาสนาฮินดู เพื่อถวายพระอิศวรหรือพระศิวะ แต่พิมายสร้างเป็นพุทธสถานถวายพระพุทธเจ้าที่มีชื่อว่า วิมาย

ทางเดินที่เราเห็นยกสูงในปัจจุบันนี้ คาดว่าสมัยก่อนจะมีหลังคามุงอยู่ล้อมรอบ เพราะพบหลุมเสาอยู่ 2 ข้างทางเดิน ถัดจากทางเดินคือระเบียงคด เป็นทางยาวขวางกั้นอยู่ จะหักมุมฉากล้อมรอบอาคาร สร้างด้วยหินทรายทั้ง 2 ชนิด คือ สีเทาและสีชมพู ช่างสมัยโบราณจะใช้หินทราบสีเทาสร้างเสา, คาน, กรอบประตู-หน้าต่างและทับหลัง ส่วนสีชมพูสร้างในส่วนของผนังหลังคา

ในสมัยก่อนการก่อหินหรืออิฐจะได้รับอิทธิพลจากอินเดียด้วยการเหลื่อมหินเข้าหากันตรงกลางทีละนิดจนบรรจบกันหมด เรียกว่า การสันเลื่อม แต่จะเกิดข้อเสียอย่างหนึ่งคืออาคารจะค่อนข้างแคบ และไม่สามารถขยายให้กว้างได้เนื่องจากมีหลังคาเป็นตัวบังคับอยู่ แต่ในสมัยก่อนต้องการที่จะให้จุคนได้มากๆ ดังนั้นจึงต้องขยายจากแนวกว้างออกไปแทนจึงกลายเป็นระเบียงคด ซึ่งเป็นวิวัฒนาการชั้นหลังของประสาทเขมร โดยจะมีศิลปะแบบคลาสิกเรียกว่าแบบบาปวน นครวัด บายน จะมีระเบียงคดล้อมรอบเสมอ

ในประสาทหินพิมายจะมีประสาทสำคัญๆ ที่เราสามารถเห็นได้ชัดเจนอยู่ 3 องค์ คือ

- ประสาทหลังใหญ่ตรงกลาง เรียกว่า ประสาทประธาน ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุด ตัวประสาทมีวิมาน, อันตราละมุขสัน และมณฑปเชื่อมต่อกันอยู่ ด้านซ้ายเรียกว่าปรางค์หินแดง ใช้หินทรายสีชมพูในการสร้าง ส่วนขวามือเป็นปรางค์ศิลาแลงทั้งหลัง เรียกว่า ปรางค์พรหมทัต

อาคารทั้ง 2 หลังต่อกัน ส่วนสำคัญที่สุดคือ วิมานด้านหลังจะมีห้องที่ไว้รูปเคารพด้านใน ที่พิมายเป็นประสาทที่สร้างถวายพระพุทธเจ้า รูปเคารพจะเป็นพระพุทธรูป ซึ่งพระพุทธรูปในเขมรร้อยละ 90 เป็นปางนาคปรก นั่งเหนือขนดนาคมีเศียรนาคแผ่พังพานอยู่เบื้องหลัง ที่พิมายนี้เป็นพระพุทธรูปจำลองทำด้วยปูนซีเมนต์ ส่วนองค์จริงย้ายไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์พิมาย


 

องค์ประกอบด้านนอกประสาทมีองค์ประกอบ 4 ส่วนที่สำคัญคือ

- หน้าบัน (Pediment) ที่กรอบหน้าบันเป็นลักษณะตัวพญานาค โค้งไปโค้งมาที่ปลายเป็นนาค 5 เศียร มีรัศมีเชื่อมติดต่อเป็นแผ่นเดียวกัน เป็นศิลปะแบบนครวัด ตัวหน้าบันจะเป็นภาพเล่าเรื่องรูปศิวนาฏราช (พระอิศวรทรงฟ้อนรำ) บางคนสงสัยว่าที่ประสาทแห่งนี้สร้างถวายพระพุทธศาสนาทำไมมีรูปพระอิศวร แต่นักวิชาการบางคนมองว่า อาจเป็นรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรก็ได้ แต่ถ้าดูดีๆ ทางขวามือจะมีภาพฤาษีอยู่ตนหนึ่ง และมีโคหมอบอยู่ ซึ่งโคเป็นพาหนะของพรอิศวรนั่นเอง จึงสรุปได้ว่าเป็นรูปพระศิวะทรงฟ้อนรำและเป็นภาพเล่าเรื่องจึงเป็นแบบนครวัด

- ทับหลัง (lintel) สี่เหลี่ยมผืนผ้าข้างล่างลงมาของปราสาทคือทับหลัง แต่ที่ประสาทนี้ไม่มีแล้ว ภาพถ่ายล่าสุดที่มีอยู่คือสมัยรัชกาลที่ 4 ก็ไม่พบทับหลังแล้ว น่าจะหายไปก่อนหน้านี้

- เสาประดับกรอบประตู (colonet) เป็นศิลปะนครวัด ทรง 8 เหลี่ยม ปัจจุบันเหลือแต่ฐาน

- เสาติดผนัง (pilaster) เป็นศิลปะบาปวนยังคงสมบูรณ์ เป็นลายก้านต่อดอกแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ก้าน, กะเปาะ และดอกไม้ ที่ก้านมี 2 ขีด แบ่งก้านลายเป็น 3 ส่วน เป็นเอกลักษณ์แบบบาปวน แต่บริเวณนี้มีศิลปะนครวัดเป็นส่วนใหญ่ และแบบบาปวนเป็นส่วนน้อย เลยกลายเป็นศิลปะผสมนครวัดแบบบาปวน เป็นนครวัดตอนต้น

การเรียกศิลปะ 2 สมัยผสมกัน สมัยเก่า+สมัยใหม่ เวลาเรียกให้เรียกรูปแบบหลัง หรือรูปแบบล่าสุดเป็นหลัก แล้วเติมคำว่าตอนต้นลงไป เพราะยังมีของเก่าผสมอยู่ ดังนั้นจึงเรียกว่า Early ankor Wat style หรือ Transitional

 

 

Period (Bapuan & Ankor Wat) ถ้าไม่มีแบบบาปวนผสมอยู่เลยก็เป็นแบบ Typical Ankor Wat Style (แบบนครวัดแท้)

การตัดสินว่าประสาท หรืออาคารแหงนั้นสร้างขึ้นสำหรับศาสนาใด ให้ดุจากภาพสลักชั้นในเป็นเกณฑ์

ปรางค์หินแดง สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างภายหลังสมัยบายน หินทรายที่นำมาสร้างประสาทเป็นหินทรายที่ไปรื้อมาจากอาคารที่สร้างขึ้นก่อนนำมาสร้างใหม่ สังเกตได้จากอิฐจะมีลายสลักอยู่ ซึ่งแต่ละก้อนจะไม่สามารถต่อกันเป็นรูปอะไรได้เลย   แต่เดิมที่นี่พบรูปนางปรัชญาปรมิตตา ซึ่งเป็นเทพธิดาแห่งความเฉลียวฉลาดในพุทธศาสนานิกายมหายาน

ส่วนปรางค์พรหมทัตเป็นประสาทที่สร้างด้วยศิลาแลง ราวพุทธศตวรรษที่ 18 ศิลปะแบบบายน ข้างในเป็นประติมากรรม ชาวบ้านเรียก ท้าวพรหมทัต แต่ความจริงแล้วเป็นรูปเหมือนพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

ประสาทหินพิมายถูกซ่อมแซมด้วยวิธีที่เรียกว่า อนาสติโลซิส เป็นหลังแรกของประเทศไทย


 

  คำศัพท์ที่น่ารู้


 

กลีบขนุน                              antefix (ลักษณะเหมือนขนุนผ่า 4 ส่วน)

รัศมีของพญานาค                halo

ลูกมะหวด                             pillar , initiation of the bamboo

สะพานนาค                          Naga bridge

ราวสะพาน                           Naga balustrade

โคปุระ                                   Entrance Gate

หินทราย                                sand stone

ทางเดินยกพื้น                      elevated platform

ทางเดินยาว                           processional way

หลังคายอดลดชั้น                superstructure

ส่วนล่าง                                basement

ส่วนกลาง                              The body

ก้านต่อดอก                           Floral design

อุบะ                                        pendent

พวงมาลัย                              garland , rural de feryatt

บรรณาลัย                              library

ทางชลมารค                         water processional

ตรีศูล ,นพศูล                        Three prang instrument

ปรางค์                                    Tower


 

 

ในศาสนาพุทธ ชาวพุทธจะบูชาอะไรก็ได้ แต่ต้องไม่สูงไปกว่าพระรัตนตรัย ให้นับถือพระพุทธเจ้าเป็นหลักและสามารถนับถืออย่างอื่นได้ จึงถือว่าเมื่อเราไหว้พระและศิวลึงค์เป็นเรื่องปกติสมัยโบราณ

เมื่อมัคคุเทศก์พานักท่องเที่ยวไปเที่ยวตามสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี จะต้องชี้และอธิบายสิ่งที่ถูกต้องและสิ่งที่ผิดพลาด มัคคุเทศก์จึงจำเป็นต้องรู้เรื่องทางวิชาการของสถานที่เหล่านี้ คอยอธิบายสิ่งที่ถูกต้องได้และสิ่งที่ผิดพลาดได้ว่าที่จริงแล้วมันเป็นอย่างไร เหมือนกับป้ายอธิบายตามโบราณสถานต่างๆ ซึ่งมีผิดถูกปนกันไป ดังนั้นเราต้องมีความรู้อยู่กับตัวให้แน่นแล้วคอยตรวจสอบป้ายเหล่านั้นได้ว่าถูกหรือผิด เราต้องมีความรู้เหนือลูกทัวร์ มัคคุเทศก์ต้องเรียนให้มากเพื่อจะได้ตอบคำถามให้กับลูกทัวร์ได้


 

 

 

 
นครราชสีมา/Information of NAKONRATCHASIMA

  THE PHIMAI HISTORICAL PARK อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
The Phimai Historical Park Dotted about Thailand’s great northeastern plateau are numerous temples of
varying sizes; most of these structures are believed to be about a thousand years old. These building-built
of brick, stone, or combinations of the two material-are of two types: those built by persons of Brahmanic culture,
these have three to five-storied bases surmounted by prominent spires; those constructed by Buddhist
patronages, have a low base an their spires are not so tall. The most spectacular of them all is at Phimai,
60 kms. Northeast of Nakhon Ratchasima. Prasat Hin Phimai which is the charmingly amusing largest sandstone
sanctuary in Thailand almost situated in the center of Phimai Ancient city which carries a rectangular shape of
665 meters wide and 1,030 meters long. Nowadays, the Sanctuary looks magnificiently restored and renovated.
The ruins of the facinating ancient Khmer architecture has been preserved as the National Historical Park. The
monument itself is surrounded with two red sandstone walls; the external wall and the gallery. These are
punetuated by gatetowers (Gopuras) at four cardinal points, North, South, East and West. The main entrance is
decorated with Naga balustrade which faces to the south where there are ancient routes cut from Angkor. The
main white sandstone Prang has its place in the middle, towers of 28 meters in height, and flanked by two minor
buildings, of the left was built in laterite called "Prang Bhramadhat" and on the right was built in sandstone
called "Prang Hin Daeng". Evidences of the main sanctuary reveal that all the external lintels including
pediments involve Hinduism, such as the carvings of Ramayana Story, Figures of Hindu Gods like Shiva and
Vishnu whereas the internal lintels involve typically masterful religious art of Mahayana Buddhism. Though,
it can be concluded that Phimai Sanctuary way built for the worship of both Mahayana Buddhism and Hinduism:
one of the internal lintels represents Trilokayavichaya Buddhism who standing on Hindo Gods, Shiva and his
wife, seems to mean that Buddhism becomes more significant than Hinduism. Two stone inscriptions
encountered, the first mentions the name of King suriyavoraman I (1002-1050) while the second at the door
frame of the Southen gallery describing the name of King Dharanidharavoraman I (1107-1113). These
inscriptions of different periods also coinsides with the characteristics of the artifacts found inside the main
prang, therefore, the well-restored ruins of Phimai Sanctuary may have been built in between late 11th mid
12th centuries. The Phimai Historical Park opens everday from 7.30-18.00 hrs. Admission fee is 20 Baht per
person.

 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

นครราชสีมา แผนที่จังหวัดนครราชสีมา เขาใหญ่ โรงแรมในเขาใหญ่ รีสอร์ทที่พักเขาใหญ่ โรงแรมโคราช ข้อมูลเขาใหญ่
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมือง


วัดศาลาลอย
WAT SALA LOI
(นครราชสีมา)


วัดศาลาทอง

Wat Sala Thong
(นครราชสีมา)


แหล่งหินตัด

Laeng Hin Tat
(นครราชสีมา)
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอสูงเนิน


เมืองเสมา

MUANG SEMA
(นครราชสีมา)
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอโชคชัย


ด่านเกวียน
Dan Kwian
(นครราชสีมา)
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอโนนสูง
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอครบุรี
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอจักราช


ไทรงาม

Sai Ngam
(นครราชสีมา)
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอบัวใหญ่


ปรางค์กู่

PRANG KU
(นครราชสีมา)


ปรางค์สีดา

PRANG SIDA
(นครราชสีมา)
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอประทาย
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอปากช่อง
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอพิมาย
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอสี่คิ้ว
แผนที่จังหวัดนครราชสีมา/map of NAKONRATCHASIMA


แผนที่ฟาร์มโชคชัย
ทำไว้ดีดูที่ท่องเที่ยว ใกล้เคียงได้ทุกที่ เช่น ทุ่งทานตะวัน เขาใหญ่ น้ำตกต่างๆ
โรงแรมจังหวัดนครราชสีมา/Hotel of NAKONRATCHASIMA

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์