ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > จังหวัดมุกดาหาร >อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร/Mukdaharn National Park 

อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร/ Mukdaharn National Park

 

ข้อมูลทั่วไป
ประติมากรรมหมู่หินถิ่นอีสาน
อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร อยู่ในท้องที่อำเภอเมืองและอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร มีสภาพป่าที่สมบูรณ์ มีป่าเต็งรังบริเวณลานหินหรือภูเขาหิน และในฤดูฝนต่อฤดูหนาวจะเต็มไปด้วยไม้ดอกงดงามนานาชนิด ป่าเบญจพรรณบริเวณหุบเขา มีปรากฏการณ์และธรรมชาติที่สวยงาม หินมีลักษณะหรือรูปทรงแปลกๆ ถ้ำที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ น้ำตกและน้ำซับตลอดปี ตลอดจนมีสัตว์ป่านานาชนิด มีเนื้อที่ประมาณ 30,312.5 ไร่ หรือ 48.5 ตารางกิโลเมตร

ในปี 2527 กองอุทยานแห่งชาติ ได้รับรายงานจากป่าไม้จังหวัดมุกดาหารตามหนังสือ ที่ มห 009/6913 ลงวันที่ 24 เมษายน 2527 ว่า จังหวัดได้รับนโยบายจาก ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ดำเนินการอนุรักษ์ป่าใกล้จังหวัดและอำเภอต่างๆ ในรูปอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน หรือสวนรุกขชาติ เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งจังหวัดได้สำรวจสภาพพื้นที่ที่เหมาะสมควรจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติหรือวนอุทยานแล้ว

 

กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 1260/2527 ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2527 ให้นายเชิดชัย นิลัมภาชาต เจ้าพนักงานธุรการ 4 และนายพงษ์ศักดิ์ จักรกุล พนักงานพิทักษ์ป่า ไปดำเนินการสำรวจหาข้อมูลเบื้องต้นในท้องที่ตำบลบ้านแก้ง อำเภอดอนตาล ตำบลนาสีนวล อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร จากรายงานการสำรวจตามหนังสือลงวันที่ 22 ตุลาคม 2527 ปรากฏว่า บริเวณภูนางหงษ์ ภูถ้ำพระ ภูหลังเส ภูหินเทิบ และภูมโน อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดงบังอี้ เนื้อที่ประมาณ 49.26 ตารางกิโลเมตร มีสภาพเป็นภูเขาสูงชันเป็นเทือกเขาติดต่อกัน มีป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง มีหน้าผาสูง และลานหินกว้างและยาว ประกอบด้วยหินรูปร่างต่างๆ วางซ้อนทับกันอยู่ มีถ้ำที่สวยงาม

กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/4655 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2527 เสนอกรมป่าไม้เห็นควรจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ และมีคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 1951/2527 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2527 ให้นายศักดิ์สิทธิ์ พลทรัพย์ศิริ เจ้าพนักงานป่าไม้ 3 ไปดำเนินการจัดตั้งบริเวณดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713(มห)/1 ลงวันที่ 30 มกราคม 2528 รายงานการสำรวจพื้นที่ดังกล่าวว่ามีความเหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ให้กองอุทยานแห่งชาติดำเนินการต่อไป

ในระหว่างการดำเนินการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติแห่งนี้ ได้มีราษฎรคัดค้านและต่อต้านการจัดตั้ง เนื่องจากมีปัญหาเกี่ยวกับการเก็บหาของป่าและการเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องฝ่ายต่างๆ ได้แก้ปัญหาดังกล่าวจนเป็นที่เข้าใจ และทางสภาตำบลบ้านแก้งได้มีมติยืนยันและสนับสนุนให้ทางราชการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ

จังหวัดมุกดาหารได้นำเสนอเข้าที่ประชุมคณะอนุกรรมการป้องกันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้จังหวัด ครั้งที่ 2/2530 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2530 ได้มีมติสนับสนุนให้ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้มีมติคราวประชุมครั้งที่ 1/2530 เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2530 เห็นชอบให้กำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติได้ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าดงบังอี้ ในท้องที่ตำบลศรีบุญเมือง ตำบลคำอาฮวน ตำบลดงเย็น ตำบลนาสีนวน อำเภอเมือง และตำบลบ้านแก้ง อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร

ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขาสูงชันหลายเทือกเขาติดต่อกัน คือ ภูนางหงษ์ ภูถ้ำพระ ภูหลังเส ภูหินเทิบ ภูหมากยาง ภูโป่ง ภูมโน มียอดเขาภูจอมศรีเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด คือ สูงประมาณ 420 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีสภาพเป็นภูเขาหินตลอดทั้งมีหินกว้างยาวและหินทับซ้อนกันในรูปต่างๆ หน้าผาสูงชัน และดินส่วนใหญ่เป็นดินปนทราย เป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำหลายสาย เช่น ห้วยตาเหลือก ห้วยสิง ห้วยสะพาย ห้วยเรือ ห้วยบอน ห้วยช้างชน ห้วยไค้ และห้วยมะเล เป็นต้น

ลักษณะภูมิอากาศ
อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร มีสภาพภูมิอากาศแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน - เดือนพฤศจิกายน ฤดูหนาว ระหว่างเดือนธันวาคม - เดือนมกราคม ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - เดือนพฤษภาคม

พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าประกอบด้วย ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรังตามธรรมชาติ มีพันธุ์ไม้นานาชนิด ได้แก่ ตะแบก พยอม พะยูง ตะเคียน ประดู่ แดง มะไฟ มะค่า ชิงชัน กระบก กระบาก ส้าน จิก ติ้ว จำปีป่า ยมหอม เหียง เต็ง รัง เป็นต้น

สัตว์ป่าที่พบเห็นโดยส่วนใหญ่เป็นสัตว์ขนาดเล็ก ได้แก่ หมูป่า กวางป่า เก้ง หมาจิ้งจอก ลิง กระต่าย นกยูง ไก่ป่า ไก่ฟ้า และนกนานาชนิด

ถ้ำฝ่ามือแดง
เป็นเพิงหินกว้าง 3 เมตร ยาว 60 เมตร มีรูปรอยฝ่ามือสีแดงติดผนังถ้ำ ซึ่งมีลักษณะเป็นการจุ่มสีแล้วทาลงไปบนผนังหิน 2 มือ และอีก 4 มือ เป็นร่องรอยการวางมือทาบบนผนังหินแล้วใช้สีทับ เป็นร่องรอยการสื่อความหมายของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์อายุประมาณ 3,000 ปี ถ้ำฝ่ามือแดงอยู่บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ มห.1 (ห้วยสิงห์) ทางเข้าอยู่ริมทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2034 ประมาณกิโลเมตรที่ 8-9 การไปชมถ้ำควรมีเจ้าหน้าที่นำทาง เพราะเป็นเส้นทางเดินป่าใช้เวลาประมาณชั่วโมงครึ่ง
กิจกรรม -เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา - ชมประวัติศาสตร์

ภูถ้ำพระ
มีน้ำตกถ้ำพระและเป็นแหล่งน้ำซับตลอดปี บริเวณน้ำตกจะมีเพิงหินคล้ายถ้ำ ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปขนาดหน้าตักกว้าง 3 ฟุต สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2515 และพระพุทธรูปไม้หลายร้อยองค์ และรูปปั้นสัตว์ต่างๆ บนลานหินมีหินรูปร่างต่างๆ ซึ่งเกิดจากการกัดเซาะของน้ำฝนแปลกและสวยงาม อยู่ห่างจากผาอูฐ ประมาณ 600 เมตร เป็นทางเดินลงหุบแล้วขึ้นภูที่ชันพอสมควร
กิจกรรม -เที่ยวน้ำตก - ชมประวัติศาสตร์ - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา 

ภูหลังเส
เป็นการเล่าสืบต่อกันมาแต่โบราณว่า มีหลักทองคำตั้งอยู่บนกลางเนินเขานี้ แล้วต่อมาหายไป ภาษาท้องถิ่นเรียกว่า “เสาเส” (ภาษาภูไท แปลว่า เสาหาย) ต่อมาจึงเรียกเป็น ภูหลักเส มีจุดเด่นคือ ป่าแคระและเป็นสถานที่ชมทิวทัศน์
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - ชมพรรณไม้

ภูผาเทิบ
เป็นภูผาที่มีหินมาเทิบทับกันไว้ มีกลุ่มหินประกอบด้วยหินรูปร่างลักษณะต่างๆ วางซ้อนกันอยู่อย่างวิจิตรพิสดาร บนลานหินกว้างและยาวเป็นสวนหินเปรียบเสมือนประติมากรรมธรรมชาติ หินบางก้อนมีรูปร่างคล้ายเครื่องบินไอพ่น รอบเท้าบู้ท เก๋งจีน มงกุฎ และคล้ายสถูป เป็นต้น บริเวณลานหินมีป่าเต็งรังที่มีลักษณะแคระแกร็นสวยงาม และในฤดูฝนต่อฤดูหนาวจะเต็มไปด้วยไม้ดอกงดงามนานาชนิด อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 100 เมตร
กิจกรรม -ชมพรรณไม้ - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา

ภูนางหงษ์
มีหินธรรมชาติเป็นรูปคล้ายหงษ์ขนาดใหญ่อยู่กลางลานหินกว้าง และมีก้อนหินขนาดใหญ่วางทับกันเป็นรูปร่างและสีต่าง ๆ กัน
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์

วังเดือนห้า
เป็นแอ่งน้ำซึ่งจุน้ำฝนที่ไหลเป็นธารมาจากลานหินสามารถที่จะลงไปแช่และอาบน้ำเล่นได้อย่างสบาย อยู่ไม่ไกลจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
กิจกรรม -ชมพรรณไม้ - ชมทิวทัศน์

ถ้ำลอด
เป็นถ้ำเล็กๆ ที่สามารถลอดลงมาจากหน้าผา เพื่อที่จะเดินต่อไปที่ภูนางหงษ์และภูหลักเส ระหว่างทางจากถ้ำลอดขึ้นไปภูหลักเส เป็นบริเวณที่ชาวบ้านได้ขุดพบเศษถ้วยชามและของโบราณ
กิจกรรม -เดินป่าศึกษาธรรมชาติ

ภูมโน

เป็นภูเขาอยู่ทางทิศใต้ของตัวเมืองมุกดาหาร บนยอดเขาจะมีศาลาที่พักและรอยพระพุทธบาทจำลองลึก 1 เมตร เมื่อมองจากยอดเขาจะเห็นทิวทัศน์อันสวยงามของเมืองมุกดาหาร แม่น้ำโขง และแขวงสุวรรณเขต ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - ชมวัฒนธรรมประเพณี

ลำห้วยและแหล่งน้ำซับ
ป่าอุทยานแห่งชาติ เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารหลายสาย เช่น ห้วยตาเหลือ ห้วยลิง ห้วยสายพาน ห้วยเรือ เป็นต้น และโดยเฉพาะบริเวณภูถ้ำพระ มีแหล่งน้ำซับซึ่งมีน้ำไหลตลอดปีและไหลมารวมกัน จึงเกิดเป็นน้ำตกภูถ้ำพระ
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - ชมพรรณไม้

ลานมุจลินท์
จากกลุ่มหินเทิบเดินไปอีก 300 เมตร จะพบกับลานหินเรียบที่ทอดตัวยาวล้อมรอบด้วยป่าเต็งรัง
กิจกรรม -เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา

ผาอูฐ
จากกลุ่มหินเทิบเดินไปอีกประมาณ 500 เมตร จะพบหน้าผาที่มีหินรูปร่างคล้ายอูฐเป็นสัญลักษณ์ ที่นี่นับเป็นจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงาม เพราะมองเห็นหุบเขาเบื้องล่างได้กว้างไกล
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา

ผามะนาว
จากภูถ้ำพระเดินต่อไปอีกประมาณ 700 เมตร จะพบหน้าผาสูงชัน มีน้ำตกไหลลงสู่เบื้องล่าง บนหน้าผามองเห็นทิวทัศน์กลุ่มหินเทิบและแม่น้ำโขง
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์

สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร
อ. เมืองมุกดาหาร จ. มุกดาหาร 49000
โทรศัพท์ 0 4260 1753

การเดินทาง
รถยนต์
ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ตั้งอยู่บริเวณภูผาเทิบ อยู่ห่างจากอำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ประมาณ 17 กิโลเมตร โดยเดินทางไปตามเส้นทางสายมุกดาหาร-อำเภอดอนตาล ประมาณ 14 กิโลเมตร เป็นถนนลาดยาง แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนนลูกรังอีก 2 กิโลเมตร จะถึงอุทยานแห่งชาติมุกดาหาร

ที่พักแรม/บ้านพัก
มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว

ที่จอดรถ
มีที่จอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว

ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.


 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติมุกดาหาร
อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร
อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร
Mukdaharn National Park
อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร
อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร
Mukdaharn National Park
อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร
อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร
Mukdaharn National Park
อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร
อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร
Mukdaharn National Park
อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร
อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร
Mukdaharn National Park
อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร
อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร
Mukdaharn National Park
อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร
อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร
Mukdaharn National Park
อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร
อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร
Mukdaharn National Park
อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร
อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร
Mukdaharn National Park
อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร
อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร
Mukdaharn National Park
ถ้ำฝ่ามือแดง
อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร
Mukdaharn National Park
ภูถ้ำพระ
อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร
Mukdaharn National Park
ภูผาเทิบ
อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร
Mukdaharn National Park
ภูมโน
อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร
Mukdaharn National Park
ลานมุจลินท์
อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร
Mukdaharn National Park
ลำห้วยและแหล่งน้ำซับ
อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร
Mukdaharn National Park
   
มุกดาหาร/Information of MUKDAHAN

 

General Information
Mukdaharn National Park, in Muang District, Dontan District, Mukdaharn Province, consists of productive forest which has deciduous forest in rocky field or rocky mound covered with colorful flowers in winter, and mixed forest in the valley. There are naturally wonderful things such as strange-shape rock, historic cave, waterfall and spring all year round. And also many kinds of animal live there. The area is about 48.5 square kilometers or 30,312.5 Rai.

The area consists of many high mountains close to each other such as, Phu Nang Hong, Phu Thum Pra, Phu Hin Terb, Phu Mano and Phu Jongsi. Phu Jongsi, the highest peak about 420 meters above sea levels, is a rocky mountain consisting of erected and high cliff and different shapes of rock overlapping each other. The area, almost sandy soil, is the source of many streams such as Huai Taluak, Huai Sing and Huai Ruar.

Climate
The weather in Mukdaharn National Park is three seasons.
Rains – from June to November
Winter – from December to January
Summer – from February to May
Flora and Fauna

The forests in the area are naturally mixed forest and deciduous forest which has many kinds of plant such as Malabar ironwood, Burmese ebony, ironwood, Makhaa, rosewood, Krabog (a kind of Ixonantraceae), Krabark and Heang (a kind of Dipterocarpaceae), Indian oak, Tiew (a kind of Guttiferae), wild champaka, Moulmein cedar, Siamese sal and ingyin. And animals found are small-size animal such as wild boar, deer, jungle fowl, fox, monkey, hare, green peafowl, pheasant and many kinds of bird.

Phamua Dang Cave (Red Hand Cave)
Phamua Dang Cave, a shred of rock three meters wide and 60 meters long, has red handprints on the wall. The two handprints look like people soak hand in red color and print on the wall. Other four handprints look like people put their hands on the wall and paint over. These may mean the information exchange of pre-historic people about 3,000 years ago. (It can be concluded that 3,000 years ago had no color spray)
Activities - Cave/Geological Touring - Historical Sight Seeing

Phu Tam Pra
Phu Tam Pra is a waterfall which has water all the year round. Near the waterfall is a cave. In the cave has a three-foot-wide Buddha image built in 1972 and hundreds of wooden Buddha images and animal models. On the rocky floor nearby are the rocks eroded and shaped by rain to be strange and beautiful.

Phu Luk Se
A tale has been told since ancient time that there was gold pillar, in the middle of the mound, called “Sao Se” (means in Phuthai word “losing pillar”) which later called Phu Lak Se. This area is unique by its dwarf forest, and view point.
Activities - View - flowers admiring

Phu Pha Terb
Phupa Terb, means rocks overlapping each other, has groups of different shape of rocks wonderfully overlapping each other on greatly wide and long plain of rock, all of which looks like natural sculpture, for examples, some rocks look like jet plane, boot, Chinese hut, crowd and stupa. At the rocky plain, there is deciduous forest which consists of beautiful dwarf-tree and many kinds of wonderful flower in rainy season.
Activities - flowers admiring - Cave/Geological Touring

Phu Nang Hong
There is a natural big-rock looked like big swan in the middle of rocky plain. And also have many big rocks overlapping each other in different shape and color.
Activities - View

Wang Duen Ha
Wang Duan Ha, not so far from Mukdaharn National Park Office, is a pond which contains rainy water flown from rocky plain. Traveler can enjoy playing water here.
Activities - flowers admiring - 

Thum Lord
Thum Lord is a small cave which people can go down from a cliff for going further to Phu Nang Hong and Phu Lak Se. Local people found the remains of porcelain and antique of ancient people along the way to Phu Lak Se.
Activities - Nature trail study

Phu Mano
On the top of Phu Mano, a mountain in the south of Mukdaharn Province, has a shelter and one-meter-deep model of Buddha footprints, traveler can beautiful sceneries of Mukdahan City, Khong River and Suwanakhet District, Lao People’s Democretic Republic.
Activities - View - Cultural Sight Seeing

Streams and Water Spring
The forest of the park is the source of streams such as Huai Taloua, Huai Ling and Huai Luar. Especially in Phu Tam Pra, the area has water all year round which is the source of Phu Tam Pra Waterfall.
Activities - View - flowers admiring

Contact Address
Mukdaharn National Park
Amphur Muang Mukdaharn Mukdaharn Thailand 49000
Tel. 0 4260 1753 

How to go?
By Car
Mukdaharn National Park Office located in Phupa Terb, 17 kilometers from Muang District, Mukdaharn Province. Use tarmac road Mukdaharn – Dontan District about 14 kilometers and laterite road about two kilometers to enter Mukdaharn National Park Office.


 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

มุกดาหาร แผนที่จังหวัดมุกดาหาร
อำเภอหนองสูง
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอดอนตาล


ภูผาแต้ม

Phupha Taem
(มุกดาหาร)


ผามะเกลือ

Pha Makluea
(มุกดาหาร)


ภูผาหอม

Phu Phahom
(มุกดาหาร)


ภูผาแตก

Phupha Taek
(มุกดาหาร)
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอนิคมคำสร้อย



วนอุทยานภูหมู
Phu Mu Forest Park
(มุกดาหาร)

แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมือง



อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร
Mukdaharn National Park
(มุกดาหาร)



ภูมโนรมย์

Phu Manorom
(มุกดาหาร)


ภูผาเทิบ

Phu Pha Therb
(มุกดาหาร)


ภูถ้ำพระ

Phu Tham Phra
(มุกดาหาร)
แผนที่จังหวัดมุกดาหาร/map of MUKDAHAN
โรงแรมจังหวัดมุกดาหาร/Hotel of MUKDAHAN

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์