ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > จังหวัดลพบุรี >หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎ/ 

หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎ/

 

หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎ เป็นพระที่นั่งที่ประทับส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเป็นอาคารหลังใหญ่สุดที่โปรดให้สร้างขึ้น หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฏตั้งอยู่ระหว่างพระที่นั่ง 2 องค์ ที่สร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช คือ พระที่นั่งจันทรพิศาลและพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท ในจดหมายเหตุรัชกาลที่ 4 เรียก หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฏว่า "พระมหามณเฑียร" มีลักษณะที่เป็นพระที่นั่งหลายองค์ตั้งอยู่รวมกันจึงเกิดเป็นอาคารหลังใหญ่ และมีความสูงถึง 3 ชั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามว่า "หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฏ" ตามพระนามเดิมของพระองค์ คือ เจ้าฟ้ามงกุฏ

                  เรื่องการก่อสร้างพระที่นั่งพิมานมงกุฏ มีบันทึกปรากฎเป็นหลักฐานอยู่ในจดหมายเหตุรัชกาลที่ 4 หลายฉบับว่า "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้สร้างพระมหามณเฑียร พระที่นั่งขึ้นไว้ให้เป็นที่สุขสำราญ ทรงโปรดเกล้าให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ สมุหพระกลาโหม เป็นแม่กองดูแล เกณฑ์กองรามัญกรุงเทพและกองมอญเมืองนครเขื่อนขันธ์ขึ้นไปทำอิฐและไปตัดเสาที่แขวงเมืองอินเมืองพรม หัวเมืองฝ่ายเหนือมาใช้ แต่เสามีขนาดเล็ก ใช้เป็นเสาพระที่นั่งไม่ได้ ซึ่งต้องใช้เสายาวถึง 7 วา ใหญ่รอบ 6 กำ ไม้หน้ายาว 4 วา หน้า 9/10 นิ้ว จตุรัส จึงให้เจ้าเมือง กรมการเมืองราชบุรี เกณฑ์ไพร่ขึ้นป่า เร่งตัดเสาและไม้หน้าทำพระที่นั่ง ไม้เต็ง ไม้รัง เป็นเสายาว 7 วา ใหญ่รอบ 6 กำ จำนวน 8 ต้น ให้ได้ไม้ตามกำหนด อย่าให้เสาคด หรือเป็นโพรง แตกร้าว และเร่งชักลากเสาผูกแพส่งเข้ามากรุงเทพให้ทันข้ามแรมเดือนมกราคมถึงข้างขึ้นเดือนกุมภาพันธ์โดยเร็ว อย่าให้เลยกำหนดเวลาเป็นอันขาด เจ้าพระยาจักรีฯ ได้มีหนังสือมาถึงพระพรหมประสาทสิน ผู้สำเร็จราชการเมืองอิน เมืองพรมกรมการเมืองพรม เมืองอิน ให้กรมการคุมไพร่ออกตัดไม้เสา ชักลากผูกส่งให้เมืองลพบุรีและได้ให้หลวงปลัดกรมการคุมไพร่ไปตรวจดูทางที่จะชักลากไม้เสาพระมหาปราสาทพระที่นั่งเมืองลพบุรี ซึ่งกองรามัญตัดไว้ในดงทองเพนิน และให้คนเมืองพรม เมืองอินบุรี ชักลากเสาไม้"

                    ในปีต่อมา พ.ศ.2400 (จ.ศ.1219) เจ้าพระยาจักรีฯ ได้มีหนังสือมาถึงเจ้าพระยานครราชสีมา พระยาปลัดกรมการเมืองนครราชสีมา ว่าทรงมีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ ให้เจ้าพระยานครราชสีมาเกณฑ์เลกเมืองนครราชสีมา เมืองขึ้น ให้ถอนคนเมืองนครราชสีมาไประดมรื้อเครื่องบนพระที่นั่ง เครื่องบนท้องพระโรง ตัดต้นไม้ถางหญ้าในเมืองลพบุรี ให้ก่อรากฐานอาคาร ลงเข็มทิมแถว ศาลาราย ก่อเสริมผนังท้องพระโรงผนังพระที่นั่ง และก่อป้อมกำแพงขึ้นมาใหม่ ให้เจ้าพระยานครราชสีมา พระยาปลัด กรมการเกณฑ์ ขุนหมื่นเลก ลงไปช่วยทำเมืองลพบุรี ตั้งแต่ขึ้นหนึ่งค่ำ เดือนธันวาคม พ.ศ.2340 จนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2341 เดือนละ 600 คน ซึ่งต่อมาจดหมายเหตุ พ.ศ.2402 ได้บันทึกไว้ว่า การก่อสร้างพระราชวังเมืองลพบุรี ได้ดำเนินคืบหน้าขึ้นเป็นลำดับ สันนิษฐานว่า พระที่นั่งหลังนี้คงสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วในปี พ.ศ.2408 เนื่องจากมีจดหมายเหตุรัชกาลที่ 4 บันทึกไว้ว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชฐานพระกฐินที่วัดกวิศราราม และวัดเสาธงทอง เมืองลพบุรี ในปี พ.ศ.2408 จึงเชื่อได้ว่าในขณะนั้นหมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฏคงจะสร้างเสร็จแล้ว และใช้เป็นที่ประทับในคราวเสด็จพระราชดำเนินครั้งนี้

                     หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฏมีลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบอาคารทรงตึกแบบตะวันตก ด้านหน้าสูง 2 ชั้น ด้านหลังสูง 3 ชั้น หลังคากุด ชายคาสั้น มุงหลังคาด้วยกระเบื้องกาบ หรือ กาบูแบบจีน ปั้นปูนครอบทับเป็นแนวจากสันหลังคาลงมาเป็นริ้วๆขนานกันไปเต็มทั้งผืนหลังคา สมัยต่อมาได้มีการบูรณะซ่อมแซมเปลี่ยนกระเบื้องเป็นกระเบื้องดิยเผาแบบหางแหลม ขนในปี พ.ศ.2529 กรมศิลปากรได้ดำเนินการบูรณะซ่อมแซมหมู่พระที่นั่งองค์นี้ จึงมีการเปลี่ยนกระเบื้องปูหลังคาไปเป็นกระเบื้องกาบ หรือกาบูแบบจีนตามเดิมอีกครั้ง ซึ่งยังคงปรากฎให้เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้

                     ภายในหมู่พระที่นั่งพิมานมงงกุฏประกอบด้วยพระที่นั่งต่างๆดังนี้ ชั้นล่างเป็นส่วนใต้ถุนพระที่นั่งได้มีการนำศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมแบบวงโค้งแหลมและวงโค้งครึ่งวงกลมทำเป็นช่องประตูทางเข้าทั้งภายในและภายนอกอาคาร เป็นการเลียนแบบศิลปกรรมของซุ้มประตู หน้าต่างที่นิยมทำกันในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทางด้านหน้าและด้านข้างเป็นรูปโค้งแหลมส่วนตรงกลางระหว่างช่องประตูชั้นล่างนั้น มีบันไดทางเดินขึ้นสู่ชั้น 2 ซึ่งมีระเบียงทางเดินเชื่อมถึงกันระหว่างพระที่นั่งมุขทางด้านเหนือและพระที่นั่งมุขทางด้านใต้ ราวระเบียงประดับด้วยลูกกรงดินเผาเคลือบสีเขียวเข้มสวยงามสะดุดตาเป็นอย่างยิ่ง

                      ชั้นที่ 2 ของพระที่นั่ง มีมุข 3 มุขยื่นออกมาเสมอกัน (ลักษณะเดิมคือมุขกลางของพระที่นั่งจะหดสั้นลึกเข้ามาจนถึงระเบียงขวางบันได ซึ่งสั้นมากกว่ามุขทั้งสองข้างที่ยื่นออกไป ภาพที่ปรากฎในอดีตจึงมองเห็นเพียงมุขทั้งสองยื่นออกมาเสมอกันอย่างเด่นชัดเท่านั้น แต่ภายหลังเมื่อได้ดำเนินการบูรณะซ่อมแซมในปี พ.ศ.2529 แล้ว กรมศิลปากรได้พิจารณาเห็นว่าในช่วงฤดูฝนน้ำฝนที่ตกลงมาจะไหลลงสู่บันไดกลางทางขึ้นชั้น 2 ทำให้บันไดเปียกและสาดกระเด็นเข้ามาในพระที่นั่งซึ่งใช้เป็นห้องจัดแสดงโบราณวัตถุของพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ เป็นการไม่สะดวกต่อผู้เข้าชมพระราชวังและพิพิธภัณฑ์กรมศิลปาากรได้สร้างหลังคาคลุมบันไดในลักษณะเป็นมุขยื่นออกมาเสมอกันกับมุขพระที่นั่งทั้งสองที่มีอยู่เดิม จึงเห็นหลังคาเป็น 3 มุขเท่ากับตราบจนกระทั่งทุกวันนี้) มุขทางด้านทิศใต้ คือ พระที่นั่งไชยศาสตรากร มุขทางด้านทิศเหนือ คือ พระที่นั่งอักษรศาสตราคม มุขกลางคลุมบันไดทางขึ้นจากชั้นล่างขึ้นสู่ชั้นที 2 ห้องโถงขวาตรงกลาง คือ พระที่นั่งวิสุทธิวินิจฉัย เป็นห้องท้องพระโรงใหญ่และห้องท้องพระโรงเล็ก ด้านหลัง คือห้องเสวยพระกระยาหาร พื้นพระที่นั่งปูด้วยไม้กระดาน พระที่นั่งแต่ละองค์มีประตูตั้งอยู่ตรงกัน ทำให้เดินไปมาหาสู่ถึงกันได้ทั่วถึง แต่ละประตูมีธรณีประตูเป็นพื้นไม้ขนาดกว้างพอสมควร ที่มีลักษณะพิเศษคือธรณีระหว่างห้องเสวยพระกระยาหารกับห้องท้องพระโรงใหญ่และห้องพระโรงเล็กมีขนาดกว้างมากจนไม่สามารถก้ามข้ามธรณีให้พ้นได้เป็นต้องเหยียบพื้นธรณีจึงจะก้าวข้ามได้

                       ชั้นที่ 3 คือ พระที่นั่งพิมานมงกุฏ เป็นส่วนบนสุดของหมู่พระที่นั่งองค์นี้ สันนิษฐานว่าคงเป็นห้องบรรทมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

                       พระที่นั่งไชยศาสตรากร เป็นห้องเก็บพระศาสตราวุธของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่บนชั้นที่ 2 ทางมุขด้านทิศใต้ ของหมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฏ ห้องมีขนาดไม่ใหญ่นัก ประตูทางเข้าด้านหน้าติดกับระเบียงและบันไดทางขึ้นจากชั้นล่าง ภายในพระที่นั่งมีหน้าต่างโดยรอบ คาน ฝ้าเพดาน และพื้นพระที่นั่งสร้างด้วยไม้เนื้อแข็ง ด้านข้างมีประตูทะลุไปสู่ท้องพระโรงใหญ่ได้

                       พระที่นั่งอักษรศาสตราคม เป็นห้องทรงพระอักษรของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่บนชั้นที่ 2 ทางมุขด้านทิศเหนือ ของหมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฏ มีลักษณะและขนาดเท่ากับพระที่นั่งไชยศาสตรากรทุกประการ ประตูทางเข้าด้านหน้าติดกับระเบียงและบันไดทางขึ้นจากชั้นล่าง และประตูด้านข้างทะลุไปสู่ห้องท้องพระโรงเล็กได้

                       พระที่นั่งวิสุทธิวินิจฉัย เป็นห้องโถงท้องพระโรงสสำหรับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จออกว่าราชการแผ่นดิน หรือ ให้ขุนนาง เสนาบดี ข้าราชการเข้าเฝ้าถวายรายงานข้อราชการต่าางๆ ในขณะที่ประทับอยู่ ณ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ ตั้งอยู่บนชั้นที่ 2 ของหมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฏ มี 2 ห้อง คือ ห้องท้องพระโรงใหญ่อยู่ติดกับพระที่นั่งไชยศาสตรากร ส่วนห้องท้องพระโรงเล็กอยู่ติดกับพระที่นั่งอักษรศาสตราคมห้องท้องพระโรงทั้งสองห้องนี้อยู่ติดกันมีประตูเข้าออกถึงกันได้ ภายในพระที่นั่งมีลักษณะเป็นห้องโถงเพดานสูงคาน ฝ้าเพดานและพื้นพระที่นั่งสร้างด้วยไม้เนื้อแข็งว่างห้องมีช่องระบายลมติดซี่ลูกกรงไม้กลมเป็นช่องๆ ตรงหน้าจั่วหลังคาภายนอกพระที่นั่งทั้ง 2 ด้าน มีลวดลายปูนปั้นรูปพระแท่นราชบัลลังก์ภายใต้นพปฏลมหาเศวตฉัตรมีคนหมอบกราบถวายบังคมอยู่เบื้องล่างทั้ง 2 ข้างของงบัลลังก์

                        ห้องเสวยพระกระยาหาร คงเป็นห้องเสวยพระกระยาหารของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่บนชั้นที่ 2 ของพระที่นั่งพิมานมงกุฏติดกับพระที่นั่งวิสุทธิวินิจฉัยและยื่นเข้ามาในเขตพระราชฐานชั้นในซึ่งเป็นที่พักของข้าราชบริพารฝ่ายใน เป็นห้องเพดานทำด้วยไม้เนื้อแข็งมีเสากลมขนาดใหญ่ 4 แถวๆละ 3 ต้น รวมเป็นจำนวน 12 ต้น มีหน้าต่างโดยรอบเสากลมเหล่านี้เดิมเป็นเสาไม้ ที่ชักลากมาจากเมืองราชบุรี ดังมีหลักฐานจากจดหมายเหตุรัชกาลที่ 4 จ.ศ.1218 (พ.ศ.2399) ว่ามีรพะบรมราชโองการให้เกณฑ์เจ้าเมืองกรมการเมืองราชบุรีให้เกณฑ์ไพร่ไปตัดไม้ใหญ่ ยาว สำหรับทำเสาพระที่นั่งและมีสารจากเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา สมุหกลาโหม มาถึงพระยาราชบุรีให้ตัดเสาไม้ส่งไปยังเมืองลพบุรีเพื่อทำพระที่นั่ง..เมื่อกรมศิลปากรได้บูรณะซ่อมแซมพระที่นั่งขึ้นใหม่จึงได้ใช้เสาคอนกรีตเสริมเหล็กแทนเสาไม้เดิมแล้วหุ้มภายนอกด้วยไม้อีกชั้นหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อเป็นการเสริมความมั่นคงแข็งแรงให้สามารถรับน้ำหนักห้องชั้นบนได้ ส่วนทางด้านทิศเหนือและทางด้านทิศใต้ของห้องเสวยนั้น มีบันไดทางขึ้นลงทั้ง 2 ด้านสามารถเดินขึ้นลงไปสู่เขตพระราชทานชั้นในได้โดยตรง จึงสันนิษฐานว่า เหล่าข้าราชบริพารฝ่ายในผู้หญิงผู้มีหน้าที่อัญเชิญเครื่องเสวยจากห้องโรงครัว หรือ ศาลาเชิญเครื่อง อาจจะใช้เป็นเส้นทางเดินขึ้นลงสู่ห้องเสวยได้โดยตรงไม่ต้องผ่านพระที่นั่งหรือตึกอื่นๆ

                         พระที่นั่งพิมานมงกุฏ คงเป็นห้องพระบรรทมและเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่บนชั้นที่ 3 ของหมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฏ ซึ่งเป็นห้องที่อยู่สูงที่สุดของหมู่พระที่นั่งองค์นี้ ประกอบกับเป็นพระที่นั่งซึ่งยื่นเข้ามาในเขตพระราชฐานชั้นในจึงสามารถมองเห็นบริเวณพื้นที่เขตพระราชฐานชั้นในได้อย่างชัดเจนที่สุด ลักษณะสถาปัตยกรรมภายในพระที่นั่ง เครื่องบนเพดานตกแต่งด้วยไม้ มีเสากลมขนาดใหญ่รองรับน้ำหนักของโครงหลังคา ตั้งเรียงเป็น 4 แถว 2 แถวนอกแถวละ 3 ต้นแถวกลาง 2 แถวๆละ 2 ต้น รวมทั้งสิ้นจำนวน 10 ต้น เสาของพระที่นั่งพิมานมงกุฏที่มีมาแต่เดิมเป็นเสาไม้กลมขนาดใหญ่ดังที่จดหมายเหตุรัชกาลที่ 4 กล่าวไว้ว่าตัดส่งมาจากเมืองราชบุรี เมื่อกรมศิลปากรทำการบูรณะซ่อมแซมพระที่นั่งองค์นี้ขึ้นใหม่ จึงได้ทำเสาคอนกรีตเสริมเหล็กแทนเสาของเดิมและหุ้มด้วยไม้อีกชั้นหนึ่งเช่นเดียวกับเสาในห้องเสวยพระกระยาหารดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อช่วยเสริมความมั่นคงแข็งแรงให้สามารถรับน้ำหนักของโครงหลังคาและกระเบื้องที่เปลี่ยนใหม่เป็นกระเบื้องกาบ หรือ กาบูแบบจีน ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าเดิมได้

                          ภายนอกอาคารตรงหน้าจั่วชั้นที่ 3 ทั้งสองด้าน มีลวดลายปูนปั้นเป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฏประดิษฐานอยู่บนพานอยู่ในหมู่พระวิมาน มีฉัตรกระหนาบทั้งสองข้าง ท้องลายเป็นลายกิ่งไม้ เป็นตราพระราชลัญจกรสำหรับแผ่นดินประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นหลักฐานยืนยันได้อย่างชัดเจนว่าพระที่นั่งพิมานมงกุฏองค์นี้คือที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจอมมเกล้าเจ้าอยู่หัว

  สำหรับเขตพระราชฐานชั้นใน ประกอบด้วยหมู่ตึกจำนวน 10 หลัง ได้แก่ ตึกพระประเทียบ จำนวน 8 หลัง โรงครัว 1 หลัง และศาลาเชิญเครื่องอีก 1 หลัง ดังนี้ คือ       

                          ตึกพระประเทียบ ส่วนหนึ่งคงเป็นที่ประทับของพระมเหสีและเจ้านนาย ผู้หญิงอีกส่วนหนึ่งเป็นที่อยู่ของข้าราชบริพารฝ่ายในซึ่งเป็นผู้หญิงทั้งหมดที่ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาประทับแรม ณ พระนารายณ์ราชนิเวศน์เมืองลพบุรี บริเวณนี้จึงเป็นเขตหวงห้ามและไม่อนุญาตให้ผู้ชายเข้าไปในเขตพื้นที่นี้อย่างเด็ดขาด

                           ตึกประเทียบมีกลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นอาคารทรงตึก สูง 2 ชั้น ศิลปะแบบไทยผสมตะวันตก มีจำนวน 8 หลังขนาดต่างๆกันเรียงแถวหน้ากระดาน 2 แถว หันหน้าเข้าหาหมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฏ หลังคาปูด้วยกระเบื้องดินเผา ชั้นล่างเป็นห้องใต้ถุน มีประตูทางเข้าเจาะเป็นช่องรูปโค้งครึ่งวงกลมเรียงชิดติดกัน บันไดทางขึ้นสู่ชั้น 2 สร้างไว้ภายนอกตึก บางตึกมีบันไดทางขึ้นลงบันไดเดียวบางตึกมีบันไดทางขึ้นลง 2 ทาง อยู่ทางด้านหัวและท้ายตึก ภายในตึกมีห้องโถงใหญ่ 1 ห้องและมีระเบียงทางเดินยาวตั้งแต่ประตูทางเข้าจนถึงข้างในสุด ภายในห้องมีเพดานสูง คานและฝ้าเป็นไม้เนื้อแข็ง ประตูและหน้าต่างเป็นแบบเรือนไทยโบราณใช้สอดกลอนและดานด้วยไม้สำหรับปิดประตูและหน้าต่าง ด้านล่างมีลิ่มไม่สำหรับกั้นบานประตูหน้าต่างไม่ให้ลมพัดกระแทกประตูหน้าต่าง ประตูทางเข้า มีธรณีประตูยกสูงบางตึกมี 1 ประตู บางตึกมี 2 ประตู พื้นปูด้วยไม้กระดาน ภายในตึกไม่ปรากฎว่ามีเสาสำหรับรับน้ำหนักของโครงหลังคาแต่อย่างใด คงใช้ความหนาของผนังตึกเป็นส่วนช่วยรับน้ำหนักของโครงหลังคาไว้เพียงอย่างเดียวยกเว้นตึกพระประเทียบทางด้านทิศใต้ 1 หลัง เท่านั้น ที่สร้างแบบมีเสาไม้สำหรับรับน้ำหนักของโครงหลังคา

                            โรงครัว สันนิษฐานว่าคงเป็นโรงครัว หรือ ห้องเครื่องสำหรับปรุงพระกระยาหารถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมเหสีและบรมวงศานุวงศ์ที่ตามเสด็จมาประทับ ณ พระราชวังแห่งนี้ เป็นอาคารทรงตึกสูงชั้นเดียวแต่มีขนาดใหญ่มากกว่าตึกพระประเทียบหลังอื่นๆ โรงครัวนี้ตั้งอยู่แถวหลังตรงกลางระหว่างตึกพระประเทียบ ลักษณะเป็นแบบเรือนไทย หลังคาปูด้วยกระเบื้องดินเผาประตูหน้าต่างเป็นบานไม้แบบเรือนไทย สอดกลอนและดานด้วยไม้ ด้านล่างมีลิ่มไม้ ผนังด้านบนเจาะเป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆ เรียงติดต่อกันเป็นแถว ภายในอาคารสูงโปร่ง มีเสาไม้กลมขนาดใหญ่จำนวน 7 ต้น ตั้งรับน้ำหนักโครงหลังคาเหล็ก

                             ศาลาเชิญเครื่อง คงเป็นศาลาที่ใช้เป็นที่ประทับคราวสำราญพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จมาประทับพักผ่อนอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นในนี้ หรือ อาจจะใช้เป็นศาลาตั้งเครื่องเสวยที่เชิญออกมาจากโรงครัวที่ตั้งอยู่ด้านหลังนั้น เพื่อรอเจ้าหน้าที่มาตรวจก่อนเชิญขึ้นไปตั้งบนห้องเสวยพระกระยาหารสำหรับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งตั้งอยู่บนชั้นที่ 2 ของพระที่นั่งพิมานมงกุฏศาลาเชิญเครื่องนี้ตั้งอยู่ด้านหน้าตรงกลางระหว่างหมู่ตึกพรระประเทียบลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นศาลาโถงไม่มีฝากั้น เสาและพื้นก่อด้วยอิฐฉาบปูน หลังคาปูกระเบื้องดินเผา

                              สิ่งก่อสร้างอื่นๆ นอกจากสิ่งก่อสร้างที่โปรดให้สร้างขึ้นในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ได้แก่ หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฏและหมู่ตึกพระประเทียบแล้ว ยังคงมีสิ่งก่อสร้างอื่นที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้สร้างขึ้นใหม่ในคราวเดียวกันด้วย ได้แก่ กำแพงด้านตะวันตก และทางลาดต่อจากประตูพระราชวังไปยังท่าแม่น้ำลพบุรี

จุดเด่นทางภูมิปัญญา คือ เป็นพระที่นั่งที่ประทับส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบอาคารทรงตึกแบบตะวันตก

 


Loading...

 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวหมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎ

 
ลพบุรี/Information of LOPBURI

  หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎ
Phiman Monkut Pavilion
The three-storied building was used by King Mongkut as his residence during the renovation of the palace.
Three other two-storied buildings, namely the Sutthi Winitchai Pavilion, the Chai Sattrakorn Pavilion and the
Aksorn Sattrakhom, are connected to the Phiman Monkut Pavilion. The three buildings are offices of the Lopburi.

 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

ลพบุรี แผนที่จังหวัดลพบุรี ทุ่งทานตะวัน เขื่อนป่าสัก เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
แนะนำแหล่งท่องเที่ยว
อำเภอบ้านหมี่


วัดไลย์

Wat Lai
(ลพบุรี)
อำเภอพัฒนานิคม



ทุ่งทานตะวัน
Sunflower Field
(ลพบุรี)

อำเภอเมือง


ทิมดาบ

Thimdap
(ลพบุรี)
 
อำเภอโคกสำโรง
แผนที่จังหวัดลพบุรี/map of LOPBURI
โรงแรมจังหวัดลพบุรี/Hotel of LOPBURI

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์