ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > จังหวัดลำปาง > อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน/Chae Son National Park 

อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน/ Chae Son National Park

 

ข้อมูลทั่วไป
อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอเมืองปาน อำเภอแจ้ห่ม อำเภอวังเหนือ และอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีสภาพป่าอันอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีสัตว์ป่านานาชนิด และมีทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง เช่น น้ำตกแอ่งน้ำอุ่น บ่อน้ำพุร้อน ซึ่งสามารถเป็นหลักฐานหนึ่งที่แสดงว่าใต้พื้นโลกเรายังมีความร้อนระอุอยู่ อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดลำปาง มีเนื้อที่ประมาณ 480,000 ไร่ หรือ 768 ตารางกิโลเมตร

อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน ป่าไม้เขตลำปางได้มีหนังสือ ที่ กษ 0709(ลป)/4181 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2524 เรื่อง ขอกำหนดพื้นที่ป่าบริเวณน้ำตกแจ้ซ้อนเป็นวนอุทยาน กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงมีคำสั่งที่ 1648/2524 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2524 ให้นายนฤทธิ์ ตันสุวรรณ นักวิชาการป่าไม้ 6 ไปทำการสำรวจ สรุปได้ว่าสภาพป่าบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีจุดเด่นทางธรรมชาติสวยงามหลายแห่ง มีน้ำตกและน้ำพุร้อนไหลตลอดปี เหมาะสำหรับจัดเป็นวนอุทยาน ในปีงบประมาณ 2526 กรมป่าไม้ จึงได้ดำเนินการจัดตั้งวนอุทยานแอ่งน้ำอุ่น (วนอุทยานน้ำตกแจ้ซ้อน) บริเวณน้ำตกแจ้ซ้อน ตำบลแจ้ซ้อน กิ่งอำเภอเมืองปาน อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง เนื้อที่ประมาณ 45,000 ไร่ หรือ 75 ตารางกิโลเมตร โดยอยู่ในความดูแลของสำนักงานป่าไม้เขตลำปาง

ต่อมากรมป่าไม้ได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/13868 และ 13870 ลงวันที่ 2 สิงหาคม 2526 ถึงจังหวัดลำปางและป่าไม้เขตลำปาง ขอความเห็นที่จะยกฐานะวนอุทยานน้ำตกแจ้ซ้อน (วนอุทยานแอ่งน้ำอุ่น) เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งจังหวัดลำปางได้มีหนังสือ ด่วนมาก ที่ ลป 0009/18356 ลงวันที่ 12 กันยายน 2526 และป่าไม้เขตลำปางได้ให้ความเห็นชอบและสนับสนุน ในการที่จะกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติเพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจ เป็นการสอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2526 ที่กำหนดให้จังหวัดลำปาง เป็นจังหวัดส่งเสริมการท่องเที่ยว

กองอุทยานแห่งชาติ ได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลเพิ่มเติมต่อมาเป็นระยะๆ และกองอุทยานแห่งชาติ สำนักงานป่าไม้เขตลำปางและส่วนราชการองค์กรภาคเอกชนของจังหวัดลำปาง ได้เริ่มโครงการจัดตกแต่งวนอุทยานน้ำตกแจ้ซ้อน เพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสพระชนมายุครบ 60 พรรษา ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2529 ถึงวันที่ 5 ธันวาคม 2530 และเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2530 ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปตรวจราชการวนอุทยานน้ำตกแจ้ซ้อน เกิดความประทับใจในธรรมชาติที่สวยงาม จึงเสนอในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อวางแผนพัฒนาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวต่อไป ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบตามที่ท่านนายกรัฐมนตรีเสนอ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2530 และได้มีหนังสือแจ้งให้กรมป่าไม้ดำเนินการตามสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0202/2889 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2530

อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน กองอุทยานแห่งชาติกรมป่าไม้ จึงมีคำสั่งที่ 388/2530 ลงวันที่ 4 มีนาคม 2530 ให้ นายสุทัศน์ วรรณะเลิศ นักวิชาการป่าไม้ 4 ไปดำเนินการสำรวจพื้นที่ป่าบริเวณวนอุทยานน้ำตกแจ้ซ้อน เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมประกอบการพิจารณากำหนดขอบเขตพื้นที่ เพื่อยกระดับฐานะวนอุทยานน้ำตกแจ้ซ้อนเป็นอุทยานแห่งชาติ อีกทั้งนายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย อธิบดีกรมป่าไม้ และนายธำมรงค์ ประกอบบุญ ผู้อำนวยการกองอุทยานแห่งชาติ ได้เดินทางไปเยี่ยมชมและร่วมพิจารณาความเหมาะสมในการวางแนวทางพัฒนาวนอุทยานน้ำตกแจ้ซ้อนเป็นสถานที่ท่องเที่ยว เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2530 และกองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีมติในคราวประชุม ครั้งที่ 1/2530 เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2530 เห็นชอบในการยกฐานะเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าแม่สุก ป่าแม่สอย ป่าแม่ตุ๋ยฝั่งซ้าย ป่าแม่ตุ๋ยฝั่งขวา ในท้องที่ตำบลแจ้ซ้อน ตำบลเมืองปาน ตำบลบ้านขอ ตำบลทุ่งกว้าง อำเภอแจ้ห่ม และตำบลบ้านคำ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เนื้อที่ประมาณ 370,000 ไร่ หรือ 592 ตารางกิโลเมตร ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 105 ตอนที่ 122 ลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2531 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 58 ของประเทศ

ต่อมาได้มีประกาศขยายเขตอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน ตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาขยายเขตอุทยานแห่งชาติป่าแม่สุก ป่าแม่สอย ป่าแม่ตุ้ยฝั่งซ้าย และป่าแม่ตุ้ยฝั่งขวา ในท้องที่ตำบลวังใต้ ตำบลร่องเคาะ อำเภอวังเหนือ ตำบลแม่สุก อำเภอแจ้ห่ม และตำบลหัวเมือง ตำบลเมืองปาน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง พ.ศ. 2543 เนื้อที่ประมาณ 110,000 ไร่ หรือ 176 ตารางกิโลเมตร ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนที่ 121 ก ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2543

อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน เป็นส่วนหนึ่งของสันเขาผีปันน้ำตะวันตก ทอดตัวตามแนวทิศเหนือสู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ เรื่อยไปทางทิศใต้จนถึงอำเภอแม่พริก ซึ่งเป็นเขตแบ่งระหว่างจังหวัดลำปางกับจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ 300-2,031 เมตร มียอดเขาสูงที่สุดคือ ดอยลังกา

นอกจากนี้ยังประกอบด้วย ดอยสันผักกิ้ง ดอยชายแดน ดอยแม่กา ดอยตะไคร้ ดอยต๋ง ดอยวังหลวง ดอยห้วยหลอด ผาหลักไก่ ม่อนทางเก้า ดอยแม่บึก ม่อนจวง ดอยแม่มอน และดอยแปเมือง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าต้นน้ำลำธารชั้น 1-A ของลุ่มน้ำวัง ประกอบด้วยลำน้ำขนาดต่างๆ จำนวนมากที่สำคัญได้แก่ น้ำแม่หมี น้ำแม่ต๋อม น้ำแม่สอย น้ำแม่มอน น้ำแม่ปาน น้ำแม่ฮะ น้ำแม่ปอม น้ำแม่บึง น้ำแม่สุ่ย และน้ำแม่ค่อม เป็นต้น และเป็นแหล่งต้นกำเนิดของลำห้วยใหญ่ๆ ที่สำคัญเป็นสาขาของแม่น้ำวัง เช่น แม่น้ำสอย ห้วยแม่กา ห้วยแม่ปาน นอกจากนี้ยังมีแหล่งน้ำที่ผุดขึ้นมาจากใต้ดินเป็นแหล่งน้ำพุร้อน บริเวณกว้างถึง 2,400 ตารางเมตร มีน้ำพุร้อนผุดจากบ่อเล็กถึง 9 บ่อ เต็มไปด้วยโขดหินน้อยใหญ่ มีอัตราการไหลอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ซึ่งมีอัตราการไหลประมาณ 15 ลิตร/วินาที อุณหภูมิระหว่าง 39-47 องศาเซลเซียส

อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน จัดอยู่ในลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้นสลับแล้ง ประกอบด้วย ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม จะมีฝนตกชุกในเดือนกันยายน ปริมาณน้ำฝนในรอบปีมีฝนตกเฉลี่ยประมาณ 1,070 มิลลิเมตร มีการกระจายไม่สม่ำเสมอ โดยจะมีฝนตกชุกในช่วงต้นเดือนกันยายน และจะมีระยะฝนทิ้งช่วงระหว่างต้นเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ เป็นช่วงที่อากาศเย็นสบาย อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 22 องศาเซลเซียส และฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งจะเป็นช่วงที่อากาศค่อนข้างจะร้อน อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 33 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 26 องศาเซลเซียส แต่โดยปกติอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนสามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ตลอดปี

พืชพรรณและสัตว์ป่า
สังคมพืชของอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนสามารถจำแนกออกได้เป็น
ป่าเบญจพรรณ พบขึ้นอยู่โดยทั่วไปตามสันเขาและตามหุบเขาในระดับความสูง 400-1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ครอบคลุมพื้นที่โดยทั่วไปทางด้านทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติ พันธุ์ไม้เด่นที่พบส่วนใหญ่ประกอบด้วย สัก แดง ประดู่ แสมสาร กระบก กว้าว เก็ดแดง ติ้ว ซ้อ ปอกระสา ฯลฯ จะพบไผ่กระจายอยู่ทั่วไป เช่น ไผ่ซางนวล ไผ่ไร่ ไผ่หอบ พืชพื้นล่างและพืชอิงอาศัยที่พบมีกล้วยนวล กระชาย เล็บเหยี่ยว กะลังตังช้าง เครือออน เป็นต้น

อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน ป่าเต็งรัง
พบอยู่ตามเชิงเขาไหล่เขาทางด้านทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติในระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 700 เมตร พันธุ์ไม้เด่นที่พบได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง มะกอกป่า แดง ประดู่ อ้อยช้าง กระโดน มะเกิ้ม โมกมัน มะค่าแต้ ฯลฯ พืชพื้นล่างที่พบได้แก่ หญ้าเพ็ก โจด และปรงป่า

ป่าดิบเขา
พบขึ้นอยู่ในระดับความสูงจากน้ำทะเลตั้งแต่ 800 เมตรขึ้นไป มีอยู่เป็นหย่อมๆ บริเวณตอนเหนือของอุทยานแห่งชาติ พันธุ์ไม้เด่นที่พบได้แก่ ก่อเดือย ก่อแป้น ก่อตาหมู ไก๋ ทะโล้ เหมือด จำปาป่า ยางเหลือง ตะไคร้ต้น ฯลฯ พืชพื้นล่างที่พบ เช่น ไผ่ศก โชนผี และพืชในวงศ์ขิงข่า

ป่าสนเขา
ขึ้นเป็นหย่อมๆ บริเวณแนวสันเขา ไหล่เขา ที่มีความสูงมากกว่า 900 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้เด่นที่พบได้แก่ สนสองใบ สนสามใบ ก่อ จำปีป่า หว้า มะขามป้อมดง กำลังเสือโคร่ง ฯลฯ พืชพื้นล่างเป็นพวกหญ้า หนาด สาบหมา และพืชในวงศ์ข่า

ป่าดิบชื้น
พบอยู่ในบริเวณหุบเขา ตามริมห้วยลำธารต่างๆ บริเวณที่มีความชุ่มชื้นสูง พันธุ์ไม้เด่นที่สำคัญ ได้แก่ ยาง มะหาด มะไฟ อบเชย ชมพู่ป่า สะท้อนรอก ลำไยป่าเครือ คอแลน สะตอ ยมป่า พระเจ้าห้าพระองค์ พืชพื้นล่างที่พบเป็นพวก ไผ่เฮียะ เฟิน หวาย และพืชในวงศ์ขิงข่า

เนื่องจากสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ และผสมปะปนกันอยู่หลายชนิด ตลอดจนระดับความสูงที่แตกต่างกันตั้งแต่ 300 - 2,000 เมตร จึงทำให้เกิดเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหลายชนิด สัตว์ป่าที่พบเห็นในเขตอุทยานแห่งชาติ ประกอบด้วย เก้ง กวางป่า เลียงผา หมูป่า เสือดาว หมีควาย ชะนีมือขาว ลิงลม เม่น หมูหริ่ง ชะมด พังพอน ลิ่นพันธุ์ชวา กระต่ายป่า กระรอกหลากสี กระแต อ้นใหญ่ หนูฟานเหลือง ค้างคาวไผ่หัวแบนเล็ก ไก่ป่า นกเขาเปล้า นกบั้งรอกใหญ่ นกแอ่นพันธุ์หิมาลัย นกกะเต็นน้อยธรรมดา นกโพระดกคอสีฟ้า นกนางแอ่นบ้าน นกพญาไฟใหญ่ นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้า นกปรอดโอ่งเมืองเหนือ นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ นกเขียวคราม นกกินแมลงอกเหลือง นกกางเขนดง นกจับแมลงจุกดำ นกสีชมพูสวน ตะพาบน้ำ จิ้งจกดินลายจุด กิ้งก่าสวน แย้ขีด จิ้งเหลนบ้าน งูสามเหลี่ยม งูลายสอใหญ่ งูเขียวหางไหม้ท้องเขียว อึ่งกรายตาขาว คางคกบ้าน เขียดจะนา กบหนอง ปาดบ้าน และอึ่งขาดำ เป็นต้น ประมาณเดือนเมษายนของทุกปี จะมีจักจั่นป่ามารวมตัวกันบริเวณน้ำพุร้อน ซึ่งเชื่อกันว่าจักจั่นป่าเหล่านี้มาดื่มน้ำแร่

อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน น้ำตกแจ้ซ้อน
เป็นน้ำตกที่เกิดจากลำน้ำแม่มอน มีน้ำไหลตลอดปี มีแอ่งน้ำรองรับตลอดสาย ไหลตกลงมาเป็นชั้นๆ มีความสูงทั้งหมด 6 ชั้นในแต่ละชั้นจะมีความสวยต่างกันออกไป อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติเพียง 1 กิโลเมตร มีทางเดินไปถึงได้สะดวก และสามารถเดินจากบ่อน้ำพุร้อนไปถึงน้ำตกได้เช่นกัน
กิจกรรม -เที่ยวน้ำตก
 

น้ำตกแม่มอญ
เป็นน้ำตกที่มีน้ำไหลอย่างรุนแรงจากชะง่อนผาสูงลงสู่หุบเหวเบื้องล่าง การตกของน้ำจะตกลงมาเป็นชั้นๆ สวยงามแปลกตา สภาพทั่วไปค่อนข้างอันตรายไม่เหมาะแก่การเล่นน้ำ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 5 กิโลเมตร ทางเข้าน้ำตกเป็นเส้นทางขนส่งแร่เดิม
กิจกรรม -เที่ยวน้ำตก - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ

อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน น้ำตกแม่ขุน
อยู่ใกล้กับน้ำตกแม่มอญ มีลักษณะเป็นน้ำตกสายยาวสูงประมาณ 100 เมตรไหลลงมาบรรจบกับน้ำตกแม่มอญ ต้องเดินเท้าจากที่ทำการอุทยานประมาณ 5 กิโลเมตร ควรติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อนำทางด้วย
กิจกรรม -เที่ยวน้ำตก

น้ำตกแม่เปียก
เป็นน้ำตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งต่อจากน้ำตกแจ้ซ้อนเข้าถึงโดย เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ซึ่งอยู่ห่างจากที่ทำการประมาณ 3 กิโลเมตร มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วยชั้นน้ำตก 3 ชั้น ความสูงประมาณ 100 เมตร
กิจกรรม -เที่ยวน้ำตก

น้ำพุร้อนแจ้ซ้อน
เป็นแหล่งน้ำพุร้อนที่มีสภาพการเกิดทางธรณีวิทยาที่น่าสนใจ มีกลิ่นกำมะถันค่อนข้างอ่อน จำนวน 9 บ่อ ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ประมาณ 3 ไร่ ภายในพื้นที่มีโขดหินน้อยใหญ่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป และมีไอน้ำลอยกรุ่นขึ้นจากบ่อปกคลุมรอบบริเวณราวกับสายหมอก น้ำพุร้อนมีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยของน้ำพุร้อนประมาณ 73 องศาเซลเซียส เป็นที่นิยมนำไข่ไก่และไข่นกกระทามาแช่ สำหรับไข่ไก่แช่นานประมาณ 17 นาที ไข่แดงจะแข็งมีรสชาติมันอร่อยส่วนไข่ขาวจะเหลวคล้ายไข่เต่า
กิจกรรม -อาบน้ำแร่

อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน แอ่งน้ำอุ่น
ตั้งอยู่ติดกับบ่อน้ำพุร้อน เป็นแอ่งน้ำที่เกิดจากการไหลมาบรรจบกันของน้ำพุร้อนและน้ำเย็นที่มาจากน้ำตกแจ้ซ้อน ทำให้เกิดเป็นน้ำอุ่นที่มีอุณหภูมิเหมาะแก่การแช่อาบ
กิจกรรม -อาบน้ำแร่

ห้องอาบน้ำแร่
มีทั้งห้องอาบแบบแช่ ซึ่งมีอ่างสำหรับลงแช่อาบ จำนวน 11 ห้อง และห้องอาบน้ำแบบตักอาบ โดยแยกระหว่างห้องอาบชายหญิง จำนวน 16 ห้อง อุณหภูมิของน้ำแร่ประมาณ 39-42 องศาเซลเซียส เหมาะแก่การอาบเป็นอย่างยิ่ง การอาบน้ำแร่เป็นการบำบัดความเมื่อยล้าของร่างกาย ทำให้รู้สึกสดชื่นช่วยให้โลหิตไหลเวียนได้ดีขึ้น และยังช่วยรักษาโรคผิวหนังบางชนิดได้ เช่น กลาก เกลื้อน ผื่นคัน เป็นต้น โดยน้ำแร่ที่ใช้อาบต่อท่อโดยตรงมาจากบ่อน้ำพุร้อน
กิจกรรม -อาบน้ำแร่

ถ้ำผางาม ถ้ำผางาม
อยู่บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ จซ.3 (ผางาม) ห่างจากที่ว่าการอำเภอวังเหนือประมาณ 8 กิโลเมตร มีถ้ำที่สามารถเข้าไปศึกษาและท่องเที่ยวได้จำนวนหลายถ้ำ เช่น ถ้ำผางาม (ถ้ำหนานขัด) ถ้ำน้ำ ถ้ำหม้อ ถ้ำหลวง ถ้ำลูกเกาะ เป็นต้น หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ จซ.3 อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 60 กิโลเมตร
กิจกรรม -เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา
 

ชมดอกกระเสี้ยวบาน
ทุกๆ ปี ในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนจะงดงามด้วยดอกเสี้ยวที่บานประดับผืนป่า สามารถขับรถชมดอกเสี้ยวบานได้ตลอดเส้นทางแจ้ซ้อน-ป่าเหมี้ยง เป็นระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร
กิจกรรม -ชมพรรณไม้

อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ
อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน ได้จัดทำเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติเลียบลำห้วยแม่มอญ ไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยวได้ศึกษา หาความรู้ รวมทั้งได้สัมผัสธรรมชาติอย่างใกล้ชิด ดังนี้
• เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติน้ำตกแจ้ซ้อน - น้ำพุร้อนแจ้ซ้อน มีระยะทางทั้งหมดประมาณ 2 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง โดยจะเริ่มต้นเดินทางตั้งแต่ลานบ่อน้ำพุร้อนจนถึงโรงไฟฟ้าพลังน้ำ แล้ววกกลับมาทางใหม่อีกจนถึงลานน้ำพุร้อน ตลอดเส้นทางจะมีป้ายสื่อความหมายกระจายอยู่ตามจุดต่างๆ เพื่อให้ผู้สนใจได้ศึกษา
• เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติน้ำตกแม่เปียก มีระยะทางทั้งหมดประมาณ 4 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง จะเริ่มเดินจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำไปจนถึงน้ำตกแม่เปียก และเดินวกกลับมาอีกฟากหนึ่งของลำห้วย จนมาถึงโรงไฟฟ้าพลังน้ำและเดินกลับมาทางเดียวกับเส้นที่หนึ่ง ตลอดเส้นทางจะมีป้ายสื่อความหมายกระจายอยู่ตามจุดต่างๆ เพื่อให้ผู้สนใจได้ศึกษา

สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน
ต.แจ้ซ้อน อ. เมืองปาน จ. ลำปาง 52240
โทรศัพท์ 0 5422 9000-1 โทรสาร 0 5426 3041

การเดินทาง
รถยนต์
อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนอยู่ห่างจากตัวเมืองจังหวัดลำปางประมาณ 75 กิโลเมตร สามารถเดินทางไปอุทยานแห่งชาติได้ดังนี้
• จากตัวเมืองลำปาง ไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1035 (ลำปาง-วังเหนือ) จนถึงปากทางเข้าอำเภอแจ้ห่มไปประมาณ 3 กิโลเมตร จนถึง กม.ที่ 58 เลี้ยวซ้ายมาตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1287 ซึ่งผ่านอำเภอเมืองปาน และเลี้ยวไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1252 (ข่วงกอม-ปางแฟน) เป็นระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าอุทยานแห่งชาติตามทาง รพช.อีกประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน
• จากตัวเมืองลำปางไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (ลำปาง-ห้างฉัตร) เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1157 (ลำปาง-ห้วยเป้ง-เมืองปาน) ระยะทาง 55 กม. เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1287 (เมืองปาน-แจ้ห่ม) ประมาณ 2 กิโลเมตร เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1252 อีกประมาณ 11 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าอุทยานแห่งชาติตามทาง รพช.อีกประมาณ 3 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน

ห้องอาบน้ำแร่ สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์
อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมเต็นท์และสถานที่กางเต็นท์ ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง สำหรับอัตราค่าบริการอยู่ระหว่าง 250-800 บาท ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของเต็นท์ และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ เช่น

 

รายการที่ 1
- เต็นท์ ขนาด 3 คน ราคา 250 บาท/คืน
- เต็นท์โดม ขนาด 5 คน ราคา 400 บาท/คืน
- เต็นท์เคบิน ขนาด 6 คน ราคา 500 บาท/คืน
- เต็นท์ค่าย ขนาด 6 คน ราคา 500 บาท/คืน
แต่ละประเภทจะได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอน ที่รองนอน ถุงนอน และชุดสนาม

รายการที่ 2
- เต็นท์ ขนาด 2 คน ราคา 400 บาท/คืน
- เต็นท์โดม ขนาด 4 คน ราคา 800 บาท/คืน
- เต็นท์เคบิน ขนาด 4 คน ราคา 800 บาท/คืน
- เต็นท์ค่าย ขนาด 4 คน ราคา 800 บาท/คืน
แต่ละประเภทจะได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอนใหญ่ ที่นอน ผ่าห่ม และชุดสนาม
กรณีที่นำเต็นท์ไปกางเอง ต้องเสียค่าบริการสถานที่ 30 บาท/คน/คืน หากไม่มีเครื่องนอนก็ใช้บริการเครื่องนอนและอุปกรณ์สนามของอุทยานฯ มีอัตราค่าบริการเครื่องนอนกรณีนำเต็นท์ไปเอง มีดังนี้
1) ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอน ถุงนอน ที่รองนอน และชุดสนาม ราคา 150 บาท/ชุด/คืน
2) ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอนใหญ่ ที่นอน ผ่าห่ม และชุดสนาม ราคา 200 บาท/ชุด/คืน

แอ่งน้ำอุ่น บริการอาหาร
มีร้านอาหารไว้บริการอาหารและเครื่องดื่มแก่นักท่องเที่ยว สามารถจองล่วงหน้าได้ โทร 09-8513255, 09-8515588, 054-229000

ร้านขายของที่ระลึก
มีร้านจำหน่ายของที่ระลึกของอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนสำหรับนักท่องเที่ยว

ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.

ห้องอาบน้ำแร่
มีห้องสำหรับอาบน้ำแร่ไว้บริการแก่นักท่องเที่ยวมีทั้งแบบอาบฝักบัวและแบบเป็นห้องนอนแช่ในบ่อน้ำแร่ ซึ่งจะอยู่บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ

 


 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน
อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน
อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน
Chae Son National Park
อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน
อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน
Chae Son National Park
อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน
อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน
Chae Son National Park

อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน
อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน
Chae Son National Park

อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน
อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน
Chae Son National Park
อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน
อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน
Chae Son National Park

น้ำพุร้อนแจ้ซ้อน
อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน
Chae Son National Park

แอ่งน้ำอุ่น
อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน
Chae Son National Park

   
อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน/ Chae Son National Park

 

General Information
Jae Sawn National Park is a rich mountainous forest located in the northeast of Lumpang province. It is situated in the districts of Muang Bahn and Jae hom and covers an area of about 592 square km.

The forest and mountains provide an important water source for the surrounding area.

The Park has many interesting features including, waterfalls, caves and its famous hot springs. Along with many species of fauna and flora.

All of this makes Jae Sawn an important place for tourism within Lumpang Province.

Before Jae Sawn became the National Park it was a Forest Park which had two names Eang Nam Oun and Jae Sawn Waterfall The latter naming it after one of the Parks Waterfalls. Ministers approved the promotion of tourism in Lumpang province and the go ahead was given to convert Jae Sawn Waterfall into a National Park.

Preparations were made from May 1986 to December 1987 for the celebration of the Kings 60th birthday at Jae Sawn Waterfall on the 5th December 1987.

The Park was officially surveyed by Royal Forest Department staff soon after this and led to a decision by the board of directors, which in turn led to the Royal Decree that officially turned Jae Sawn into a National Park on 28th July 1988, becoming Thailand’s 58th National Park.

Jae Sawn is a mountainous Park comprising of Pee Pan Nam western mountain range which runs on a north south axis. This mountain range forms the border between the provinces of Lumpang and Chiang Mai. The tallest mountain on this range is Doi (Mt.) Langgar the third tallest in Thailand.

The forest provides an important source for the many creeks that flow down into the rive Wahng.

Climate
Jae Sawn has three distinct seasons. The rainy season runs from May through to October. In September there tends to be the heaviest rainfall.
The cold season runs from November to February and this is the best season for visiting and especially walking in the Park. Hot season runs from March until April.

Flora and Fauna
The forest comprises of many types including hill evergreen forest, moist evergreen forest, pine forest, dipterocarp forest, and mixed deciduous forest. All spread throughout the Park with exact location depending on climate, elevation and soil type.

Wildlife that you may see in the Park includes; barking deer, mouse deer, wild pig, Asian golden cat, rabbit, serow, flying lemur, monkey, skunk, bear and squirrels. There are also many bird species. Cicadas are particularly high in numbers during April every year when they visit the hot springs to drink.

Jae Sawn Waterfall
Jae Sawn Waterfall: originationg from Mair Mawn creek it has water flowing all year. It has many pools and comprises of six levels in total. It is located about 1km from the headquarters and can be reached by car or by foot.
Activities - Waterfall Traveling

Mae Mawn Waterfall
Mae Mawn Waterfall: is fast flowing with a high fall comprising of many steps. It is 5km from the headquarters by dirt track.
Activities - Waterfall Traveling - Nature trail study

Chae Son Hot Spring
Hot Springs: Provide an interesting feature. There are 9 boreholes emiting the hot water from deep in the earth. The area is covered with many small rocks and you will notice the strange smell of sulphur in the air. The water emerges at a temperature of 73 degrees Celsius. Enabling you to boil an egg in it in about 17 minutes, if you so wished.
Activities - Mineral water bath

The Warm Spring
The Warm Sprig: is a pool where the water from the hot spring meets with the cold water of Jae Sawn waterfall creating water that is a very pleasant temperature for taking a bath or a swim if you wish.

The Hot Spring Rooms
The Hot Spring Rooms: comprise of 11 rooms for relaxing in large pools of spring water and 16 rooms for taking a Thai style bath. The rooms are all linked by pipes to the hot spring. Bathing in the water is said to be good for healthy blood flow. You will have to pay to use these rooms.
Activities - Mineral water bath

Enjoy Dok Siew
Dok Siew, Bauhinia tenuiflora Watt ex Clarke of family Caesalpiniaceae, blossoms in February every year in the mountains of Par Miang Village, about 18 kilometers from Jae Son National Park Office. The wild flower decoratively blossoms all over the mountains in which traveler can drive to enjoy its beauty.
Activities - flowers admiring

Nature Trails
There are two nature trails along Huay Mae Morn Stream.
Jae Son Waterfall – Jae Son Hot Spring Nature Trail, about two kilometers and about one walking hour. It starts from the hot spring to electric water-power plant and goes by to the new route to meet the started point

Mae Peak Nature Trail, about four kilometers and about two walking hours, starts from electric water-power plant to the same route mentioned above. There are signs showing details along the two routes.

Contact Address
Chae Son National Park
Chae Son Sub-district, Amphur Muang Pan Lampang Thailand 52240
Tel. 0 5422 9000-1 Fax 0 5426 3041 

How to go?
By Car
The Park is located about 66km from Lumpang province. There are two ways to get to the Park which are accessible all year round.
Starting from the sports stadium in Lumpang. Follow the Lumpang – Harnchad road, at the T-Junchtion in Ban Nam-Tong turn right and follow road number 1157 (Lumpang-Huai bang-Muang Bahn) for about 55km then turn right onto road number 1287 (Muang Bahn-Jae Hom). Travel for about 2km then turn left onto road number 1252 (Kuang Kom-Pang Fairng) it’s about 11km to the headquarters. In total about 65km

Travel from Lumpang on road 1035 (Lumpang-Jae Hom) to Jae Hom, about 58km. Then turn left at the T-Junction at Ban Pongkob and follow road number 1287 (Muang-Jae Hom) for about 6km . Then turn right onto road number 1252 and follow it for 11km to the headquarters. In total about 75 km.


 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

ลำปาง ประวัติลำปาง แผนที่ลำปาง สถานที่ท่องเที่ยว
สถานที่แนะนำ
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมือง


เขื่อนกิ่วลม
Kio Lom Dam
(จังหวัดลำปาง)



พระพุทธนิรโรคันตราย
ชัยวัฒน์จตุร
Phra Phut Nira Ro
Khan Tarai Chai
Wat Chatura
(จังหวัดลำปาง)



วัดศรีชุม
WAT SRICHUM
(จังหวัดลำปาง)


วัดป่าฝาง
Wat Pa Fang
(จังหวัดลำปาง)


วัดชัยมงคล
Wat Chai Mongkhon
(จังหวัดลำปาง)
อำเภองาว
อำเภอห้างฉัตร
อำเภอเกาะคา
อำเภอเมืองปาน


น้ำตกแจ้ซ้อน
CHAE SON WATERFALL
(จังหวัดลำปาง)
อำเภอแจ้ห่ม
อำเภอแม่ทะ


ภูเขาไฟผาลาด
Pha Lat Volcano
(จังหวัดลำปาง)
อำเภอแม่เมาะ


เหมืองถ่านหิน

Coalmine
(จังหวัดลำปาง)
แผนที่จังหวัดลำปาง/map of LAMPANG
รายชื่อโรงแรมจังหวัดลำปาง/Hotel of LAMPANG

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์