ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี





ความสำคัญ ประวัติ องค์กรขององค์การสหประชาชาติ กิจกรรมในวันสหประชาชาติ




เพื่อระลึกถึงวันที่องค์การสหประชาชาติ ( UNITED NATIONS ) ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2488 การก่อตั้งองค์การสหประชาชาติขึ้นเพื่อนำสันติภาพมาสู่โลก อีกทั้งให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ให้กับประเทศสมาชิก ปัจจุบันองค์การสหประชาชาติมีสมาชิกทั้งหมด 184 ประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย ประเทศไทยเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2489 เป็นสมาชิกลำดับที่ 55



องค์การสหประชาชาติ หรือ United Nations - UN ก่อตั้งขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ( พ.ศ. 2482 - 2488 ) โดยความร่วมมือของนายกรัฐมนตรีแห่งอังกฤษ คือ นายวินสตัน เชอร์ชิล ( Winston Churchill ) และประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา คือ นายแฟรงคลิน ดี รูสเวลท์ ( Franklin D. Roosevelt ) เนื่องมาจากเหตุผล 3 ประการ ได้แก่
ระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศคู่กรณีด้วยสันติวิธี
เป็นแกนกลางในการนำสันติภาพอันถาวรมาสู่โลก
เป็นศูนย์กลางความร่วมมือช่วยเหลือ ระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
องค์การสหประชาชาติมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก ( New York ) ประเทศสหรัฐอเมริกา ( The United State of America ) การประชุมเพื่อจัดตั้งองค์การสหประชาชาติมีทั้งหมด 5 ครั้ง ได้แก่
เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2484 บนเรือออกุสตา ( Augusta ) ในมหาสมุทรแอตแลนติก
เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2486 ณ กรุงมอสโก
เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม - 7 ตุลาคม พ.ศ. 2487 ณ คฤหาสน์ลัมเบอร์ตันโอคส์ ( Lumberton Laks ) กรุงวอชิงตัน
เมื่อวันที่ 4 - 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 ณ เมืองยัลตา ( Yalta ) แหลมไครเมีย สหภาพโซเวียต
เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2488 ณ นครซานฟรานซิลโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งครั้งนี้มีการลงนามเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2488 ให้ก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ

                     




องค์การสหประชาชาติ ได้จัดแบ่งการบริการออกเป็นองค์กรต่าง ๆ 6 องค์กร ดังนี้
สมัชชา ( General Assembly )
คือ สมาชิกขององค์การสหประชาชาติทุกประเทศต้องเป็นสมาชิกสมัชชาด้วย สมัชชาจะจัดให้มีการประชุมสมัยสามัญในวันอังคารที่ 3 ของเดือนกันยายน และอาจมีประชุมสมัยพิเศษขึ้นตามโอกาสที่เหมาะสม ในการประชุมแต่ละครั้งประเทศสมาชิกมีสิทธิส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมได้ แต่ต้องไม่เกิน 5 คน แต่ละประเทศมีสิทธิ์ออกเสียงได้ประเทศละ 1 เสียง สมัชชาจะประกอบไปด้วยประธานสมัชชา 1 คน รองประธานจำนวน 17 คน โดยจะคัดเลือกจากทวีปยุโรป 3 คน อเมริกาใต้ 3 คน เอเชียและแอฟริกา 7 คน และประเทศที่เป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงจำนวน 5 คน (ถ้าประธานมาจากพื้นที่ใด รองประธานจากเขตนี้นต้องลดลงจำนวน 1 คน)
คณะมนตรีความมั่นคง (Security Council)
หน้าที่ของคณะมนตรีความมั่นคง คือ การระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศ ซึ่งสามารถใช้กำลังทหารในการระงับข้อพิพาทกรณีนั้นได้ รักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ สอบสวนกรณีพิพาทหรือสาเหตุอันอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกันได้ และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางด้านสันติภาพของโลก คณะมนตรีความมั่นคง ประกอบด้วยสมาชิก 15 ประเทศ มีสมาชิกถาวร 5 ประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ รัสเซีย ฝรั่งเศส และจีน และสมาชิกเลือกตั้งอีก 10 ประเทศ และอยู่ในตำแหน่งครั้งละ 2 ปี
คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม ( Economic and Social Council )
มีหน้าที่ประสานงานให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม ระหว่างสมาชิกประเทศ มีสมาชิกจำนวน 54 ประเทศ อยู่ในตำแหน่งครั้ง ละ 3 ปี
คณะมนตรีภาวะทรัสตี ( Trusteeship Council )
มีหน้าที่ให้คำปรึกษาและดูแลการบริหารงานดินแดนที่อยู่ในภาวะทรัสตี สมาชิกและคณะมนตรีภาวะทรัสตีนี้ได้แก่ ประเทศที่ทำหน้าที่ปกครองดินแดนในภาวะทรัสตี สมาชิกประจำคณะมนตรีความมั่นคงและสมาชิกอื่น ๆ ที่เลือกตั้งโดยสมัชชา คณะมนตรีภาวะทรัสตีได้ดำเนินนโยบายที่จะให้ประเทศที่อยู่ในภาวะทรัสตีสามารถประกาศตนเป็นเอกราชได้และสามารถทำสำเร็จมาแล้วหลายประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่อยู่ในทวีปแอฟริกา
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (Intermational Court of Justice )
มีหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีพิพาททางกฎหมายระหว่างประเทศ และให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานอื่น ๆ ในองค์การสหประชาชาติ เช่น ศาลโลก คณะมนตรีความมั่นคง สำนักงานของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศตั้งอยู่ที่ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยผู้พิพากษา 15 คน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 9 ปี โดยการคัดเลือกจากที่ประชุมสมัชชาใหญ่ ร่วมกับคณะมนตรีความมั่นคง
สำนักงานเลขาธิการ (The Secretariat)
มีหน้าที่ควบคุมดูแลการบริหารและธุรการขององค์กรต่าง ๆ ในองค์การสหประชาชาติ ซึ่งมีบทบาท สำคัญในการแก้ไขปัญหาทางการเมือง และปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสันติภาพของโลก มีเลขาธิการเป็นผู้บริหารงาน อยู่ในตำแหน่งครั้งละ 5 ปี โดยการแต่งตั้งจากมีประชุมสมัชชาใหญ่ สำนักเลขาธิการประกอบด้วยองค์กรย่อยดังต่อไปนี้
1. กองทุนสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติ United Nations Children's Fund - UNICEF ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2489 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่เด็กกำพร้าที่พ่อแม่เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในการรณรงค์ให้รัฐบาลและบุคคลทั่วไปตระหนักในสุขภาพความเป็นอยู่ และการเจริญเติบโตของเด็กทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา และจิตใจ รวมถึงสนับสนุนโครงการสำหรับเด็กทั่วโลกองค์การยูนิเซฟเคยได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2508
2. สถาบันฝึกอบรบและวิจัยของสหประชาชาติ United Nations Institute for Training and Reserch - UNITAR
3. โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ United Nations Development Programme - UNDP ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2508 เพื่อเสริมสร้างและสนับสนุนประเทศที่กำลังพัฒนาให้สามารถพึ่งพาตนเองได้โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ ได้แก่
4. ดำเนินการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ
5. ดำเนินการในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ โดยการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการลดของเสียและเศษขยะ รวมถึงการสนับสนุนพัฒนาการวิจัยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
6. พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการขจัดความยากจนให้หมดไป โดยการส่งเสริมทักษะทางวิชาชีพ
7. ที่ประชุมว่าด้วยการค้าและพัฒนาการแห่งสหประชาชาติ United Nations Conference on Trade and Development - UNCTAD
8. องค์กรพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ United Nations Industrial Development Organization - UNIDO ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2509 ในฐานะหน่วยงานหนึ่งในองค์การสหประชาชาติเพื่อเร่งรัดพัฒนาอุตสาหกรรม และได้ยกฐานะขึ้นเป็นองค์การพัฒนาฯ เมื่อปี พ.ศ. 2529
9. สำนักข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ United Nations High Commissioner for Refugee - UNHCR ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2494 เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ต้องลี้ภัย หมายถึง บุคคลที่อยู่นอกประเทศ เนื่องจากเกิดความหวาดกลัวอย่างมีเหตุผลเพียงพอว่าจะถูกประหัตประหาร เพราะความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติของสมาชิกของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือเพราะความคิดเห็นทางการเมือง เป็นผู้ซึ่งไม่อาจหรือไม่ยินดีรับความคุ้มครองจากประเทศนั้น ๆ ไม่ยินดีกลับไปเพราะกลัวจะถูกประหัตประหาร
10. ทบวงการบรรเทาทุกข์และจัดหางานของสหประชาชาติสำหรับผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ในตะวันออกใกล้ United Nations Relidf Works Agency for Palestine Refugees in the Near East - UNRWA




นิทรรศการเผยแพร่ผลงาน และการทำงานต่าง ๆ ขององค์การสหประชาชาติ
ประดับธงของสหประชาชาติในสถานที่ต่าง ๆ





แหล่งอ้างอิง :
          ศิริวรรณ คุ้มโห้ วันและประเพณีสำคัญ กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เดอะบุคส์ จำกัด
วันสำคัญของไทย

วันสำคัญของไทยและต่างประเทศอื่นๆ

     

วันชาติต่างประเทศ

วันชาติอินเดีย
วันชาติปากีสถาน
วันชาติอเมริกา

วันชาติมาเลย์
วันชาติเม็กซิโก
วันชาติซาอุดิอาระเบีย
วันชาติเยอรมนี
วันชาติฟินแลนด์
วันชาติสเปน
วันชาติกัมพูชา
วันชาติเลบานอน
วันชาติลาว
วันชาติพม่า
วันชาติออสเตรเลีย
วันชาติฝรั่งเศส
เดือนมกราคม
เดือนกุมภาพันธ์
เดือนมีนาคม
วันขึ้นปีใหม่
วันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ
วันพ่อขุนรามคำแหง
วันสถาปนาโครงการ อพป.แห่งชาติ
วันเด็กแห่งชาติ
วันครู
วันกองทัพไทย
วันนักประดิษฐ์
วันวาเลนไทม์
วันปลอดควันพิษจากไฟป่า
วันมาฆบูชา
วันทหารผ่านศึก
วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก
วันศิลปินแห่งชาติ
วันสหกรณ์แห่งชาติ
วันน้ำของโลก
วันกองทัพอากาศ
วันสตรีสากล
เดือนเมษายน
เดือนพฤษภาคม
เดือนมิถุนายน
วันข้าราชการพลเรือน
วันรักการอ่าน
วันอนุรักษ์มรดกไทย
วันเช็งเม้ง
วันจักรี
วันประมงแห่งชาติ
วันสงกรานต์
วันผู้สูงอายุแห่งชาติ
วันครอบครัว
วันคุ้มครองโลก
วันแรงงานแห่งชาติ
วันฉัตรมงคล
วันพืชมงคล
วันวิสาขบูชา
วันต้นไม้แห่งชาติ
วันงดสูบบุหรี่โลก
วันสิ่งแวดล้อมโลก
วันอานันทมหิดล
วันดำรงราชานุภาพ
วันสุนทรภู่
วันต่อต้านยาเสพติด
เดือนกรกฎาคม
เดือนสิงหาคม
เดือนกันยายน
วันลูกเสือแห่งชาติ
วันอาสาฬหบูชา
วันเข้าพรรษา
วันภาษาไทยแห่งชาติ
วันรพี
วันแม่แห่งชาติ
วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
วันสืบ นาคะเสถียร
วันโอโซนโลก
วันเยาวชนแห่งชาติ
วันมหิดล
เดือนตุลาคม
เดือนพฤศจิกายน
เดือนธันวาคม
วันสารทไทย
วันตำรวจ
วันเทคโนโลยีของไทย
วันปิยะมหาราช
วันสหประชาชาติ
วันออกพรรษา
วันเทโวโรหนะ
วันฮาโลวีน
วันลอยกระทง
วันวชิราวุธ - วันประถมศึกษา
วันโลกต้านเอดส์
วันสิ่งแวดล้อมไทย
วันพ่อแห่งชาติ
วันเฉลิมพระชนมพรรษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ

วันรัฐธรรมนูญ
วันกีฬาแห่งชาติ
วันคริสต์มาส
วันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ
วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ประเพณีไทย


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์