ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


                   


        ปัจจุบันสาธารณรัฐอิสลามปากีสถานแบ่งส่วนการปกครองออกเป็น 4 แคว้นด้วยกันคือ : บาโลชิสถาน, เขตแดนตะวันตกเฉียงเหนือ,ปันจาบและสินธุ และเขตปกครองชนเผ่ารวม ประธานาธิบดีทำหน้าที่ประมุกของรัฐโดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะบริหาร วุฒิสภา (สภาสูง) มีจำนวนผู้แทนจากแคว้นต่าง ๆ ในจำนวนเท่ากับสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง ประธานศาลฎีกาเป็นหัวหน้าสถาบันตุลาการ โดยที่ภายใต้บทบัญญัติของกฏหมาย รัฐธรรมนูญ ได้มีการแบ่งแยกอำนาจหลักทั้งสามคือฝ่ายบริหารนิติบัญญัติและตุลาการ

        ประเทศปากีสถานได้ผ่านประวัติศาสตร์ร่วมอนุทวีปกับอินเดียมายาวนานกว่า 5,000 ปี โดยที่ยุคอยู่ในช่วง 4,000 - 2,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช จวบจนกระทั่งปี 1,500 ก่อน ค.ศ.ชนชาติอารยันได้บุกรุกเข้ามาหาทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือจนกระทั่งเข้ายึดครองและผสมผสานกับอารยธรรมฮินดูที่เป็นดินแดนของปากีสถานและอินเดียเป็นเวลายาวนานถึง 2,000 ปี

        ประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของปากีสถานเริ่มต้นเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 1เมื่อชาวมุสลิมได้เรียกร้องสิทธิ์การเลือกตั้งจากทางการอินเดียที่กำลังตกอยู่ภายใต้การปกครองของอินเดีย มูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ (1876-1948) ถือได้ว่าเป็นสถาปนิกผู้ก่อตั้งปากีสถานคนสำคัญ โดยที่เขาได้เป็นผู้นำสันนิบาตมุสลิมในปี 1916 เมื่ออังกฤษได้ถอนตัวออกไปเมื่อวันที่ 14 ส.ค.1947 กลุ่มชาวมุสลิมในอินเดียก็ได้แยกตัวออกเป็นประเทศปากีสถานเพื่อปกครองตนเองโดยมีการแบ่งออกเป็น ปากีสถานตะวันออกและตะวันตก ซึ่งทั้งสองพื้นที่อยู่ห่างกันเกือบ 1 พันไมล์โดยมีอินเดียคั่นกลาง ปากีสถานตะวันออกต่อมาได้กลายเป็นประเทศบังกลาเทศ ส่วนปากีสถานตะวันตกได้กลายเป็นสาธารณรัฐในปี 1956

        การยืนหยัดอย่างเด็ดเดี่ยวอันมีจุดเริ่มจากเมืองลาฮอร์ในปี 1940 ที่ซึ่งจุดเริ่มต้นอันยิ่งใหญ่ของพี่น้องชาวมุสลิมแห่งอนุทวีปได้ยุติคืนวันแห่งอาณานิคมอันยาวนานจนปากีสถานได้รับเอกราช

Top


เศรษฐกิจของประเทศปากีสถานก็คล้าย ๆ กับประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายกล่าวคือเป็นเศรษฐกิจที่ผสมผสานกันระหว่างวิธีการเก่า ๆ กับวิธีการสมัยใหม่ทั้งทางด้านการเกษตร การขนส่ง การค้า และอุตสาหกรรม ในขณะนี้วิธีการแบบเก่า ๆ ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ค่อย ๆ หมดไปและเริ่มหันไปใช้วิธีการสมัยใหม่แทน แต่ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เริ่มเป็นไปอย่างช้า ๆ อยู่

        การเกษตรกรรมเป็นหัวใจของเศรษฐกิจในประเทศปากีสถานทีเดียวทั้งนี้เพราะมีประชากรมากกว่า 3 ใน 4 ของประชากรทั้งประเทศที่มีอาชีพโดยการเกษตรกรรมเพื่อเลี้ยงชีวิต นอกจากนี้โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กของปากีสถานเป็นจำนวนมากก็ยังใช้วัตถุดิบที่ได้จากการเกษตรกรรมเป็นหลัก ด้วยเหตุนี้สินค้าออกที่สำคัญส่วนใหญ่ จึงเป็นผลิตผลจากไร่นาทำให้รายได้ ที่สำคัญของรัฐบาลมาจากการเก็บภาษีไร่นารวมทั้งเป็นภาษีที่ได้จากผลิตผลจากไร่นาอีกด้วย

        ตั้งแต่ได้รับอิสรภาพเป็นต้นมา รัฐบาลปากีสถานได้เพียรพยายามที่จะสร้างเศรษฐกิจของประเทศให้เข้มแข็งโดยการพัฒนาการเกษตรกรรม การชลประทาน ประดิษฐกรรม กำลังงานการขนส่ง การเคหะ สุขาภิบาล และการศึกษาให้ขยายตัวออกไปให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากการที่รัฐบาลปากีสถานได้นำโครงการแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติในระยะ 5 ปี เริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ. 2498 จำนวนหลายโครงการออกมาใช้รวมทั้งยังได้รับการช่วยเหลือในการกู้ยืมเงินจากต่าง ประเทศอีก สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้นับว่าได้ช่วยให้ปากีสถานพัฒนาประเทศได้เป็นอย่างดี การพัฒนาส่วนใหญ่ของรัฐบาลปากีสถานจะมุ่งไปในแง่ของการพัฒนาการเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการพัฒนาการชลประทานเพื่อการเกษตร รวมทั้งการพัฒนาการอุตสาหกรรมและการขนส่ง ในขณะที่โครงการพัฒนา เศรษฐกิจกำลังก้าวหน้าไปด้วยดีนั้น ปรากฏว่าเศรษฐกิจทุกสาขาต้องหยุดชะงักไป ทั้งนี้เนื่องจากรัฐบาลของปากีสถานต้องเผชิญกับปัญหาหลายประการ เช่น ปัญหาการใช้เงินจำนวนมากในกิจการทางทหาร ตลอดจนปัญหาความไม่มั่นคงแห่งเสถียรภาพทางการเมือง เป็นต้น สาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้แผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต้องประสบกับความล้มเหลว

        จากสถิติล่าสุดของปี 1995-96 ปากีสถานมีค่าจีดีพีอยู่ที่ประมาณ 60.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นอันตราเพิ่มขึ้นจากช่วงปีก่อนนั้นถึง 6.1 % โดยที่อัตราการขยายตัวได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับอัตราเฉลี่ยในรอบ 4 ทศวรรษที่ผ่านมา อัตราการขยายตัวในภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเป็น 6.7 % จากปีก่อนนั้นที่มีอัตราอยู่ที่ 5.9 % โดยมีผลผลิตหลักอยู่ที่ข้าวและข้าวสาลี ขณะที่ผลผลิตฝ้ายได้เพิ่มขึ้นถึง21.8 % ภาคการผลิตขยายตัว 4.8% เพิ่มจากปีก่อนนั้นที่มีอัตราเพียง 2.9 %

Top


        ทรัพยากรธรรมชาติที่กล่าวได้ว่ามีความสำคัญยิ่งของปากีสถานก็คือ พื้นที่อันอุดมสมบูรณ์ในบริเวณที่ราบต่ำทางภาคตะวันออกของประเทศ อย่างไรก็กีพื้นที่ราบต่ำในบริเวณนี้ส่วนใหญ่จะเป็นผืนแผ่นดินที่มีความแห้งแล้งมาก ดังนั้นการทำเกษตรกรรมจะไม่ได้ผลเลย ถ้าหากไม่มีการทำชลประทาน โดยการระบายน้ำจากแม่น้ำอินดัสและแควของแม่น้ำสายนี้เข้ามาใช้ในดินแดนแห่งนี้

        สำหรับทรัพยากรที่เป็นสินแร่ของปากีสถานมีอยู่ไม่มากนัก กล่าวคือ มีการทำเหมืองแร่ถ่านหิน และขุดบ่อน้ำปิโตรเลียม แต่ก็ได้ปริมาณไม่พอใช้กับความต้องการภายในประเทศอย่างไรก็ดีได้ปรากฎว่ามีการขุดค้นพบแก็ซธรรมชาติปริมาณมากมหาศาล ซึ่งเป็นแหล่งให้พลังงานที่สำคัญของปากีสถาน นอกจากนี้ยังมีการขุดค้นพบแร่เหล็กที่จะนำเอามาใช้ในทางอุตสาหกรรมอีกด้วย แต่ก็มีคุณภาพต่ำ และมีปริมาณไม่มากนัก บนที่ราบสูงทางภาคตะวันตกของประเทศได้มีการค้นพบสินแร่คุณภาพดีหลายชนิด เช่นในบริเวณเทือกเขาชีตราล (Chitral) มีการค้นพบแร่เหล็ก พลวง ทองแดง ปรอท และตะกั่ว เป็นต้น แต่เนื่องจากไม่มีเส้นทางคมนาคมที่จะไปยังดินแดนต่าง ๆ เหนล่านี้ได้ ดังนั้นจึงไม่มีการพัฒนาเหมืองแร่หรือขุดแร่ดังกล่าวขึ้นมาใช้

        การาจีเป็นเมืองหลวงเก่าเมื่อครั้งอังกฤษปกครอง จึงมีถาวรวัตถุแบบตะวันตกน่าท่องเที่ยวอยู่หลายแห่ง รวมทั้งแหล่งประวัติศาสตร์ทางศาสนา อิสลามเก่าแก่ มีชายหาดหมู่บ้านประมง ส่วนใหญ่ชำรุดทรุดโทรม แต่มีสิ่งอำนวยความสะดวกแบบพื้นบ้านไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยว

         เนื่องจากการาจีเป็นเมืองล้าหลังทุรกันดาร ขาดสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัย ประชาชนส่วนใหญ่ไม่รู้หนังสือ มีคนไร้ที่อยู่อาศัยตามที่ สาธารณะมาก ความเป็นอยู่แบบครอบครัวใหญ่ ธรรมเนียมสตรีมุสลิมไม่ออกนอกบ้าน แต่หากจำเป็นต้องแต่งกายมิดชิด ร้านค้าธุรกิจทั่วไป และร้านอาหารมีแต่ผู้ชายทำงาน ดังนั้น สตรีต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นระบบสังคมเดี่ยว

Top


        อุตสาหกรรมสิ่งทอถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดในเศรษฐกิจของปากีสถาน มีโรงงานทั้งหมด 351 แห่งในประเทศ, นอกจากนั้นก็เป็นโรงงานอ้อย 70 แห่งที่มีกำลังการผลิตถึงวันละ 253,000 ตัน มีโรงงานปุ๋ย 10 แห่งที่มีกำลังการผลิตถึงวันละ 4.1 ล้านตันและโรงงานปูนซีเมนต์ 20 แห่งที่มีกำลังการผลิต 9.9 ล้านตัน (4 แห่งเป็นของรัฐและอีก 16 แห่งของเอกชน)

        ในส่วนความสัมพันธ์ทางด้านการค้าระหว่างปากีสถานกับไทยนั้น ทั้งสองประเทสเคยมีการลงนามในข้อตกลงว่าด้วยการหลีกเลี่ยงภาษีซ้ำซ้อนและการป้องกันการหลีกเลี่ยงทางการเงินเมื่อปี 1980 ตามด้วยข้อตกลงว่าด้วยการค้า เมื่อวันที่ 16 มี.ค.1984 ซึ่งมีผลก่อให้เกิดการยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าเกี่ยวกับการจัดนิทรรศการ (ที่มิได้มีจุดหมายเพื่อการขาย) และการแสดงสินค้า

        มูลค่าการค้าทั้งหมดระหว่างสองประเทศในปี 1996 มีจำนวน 263 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปากีสถานนำเข้าสินค้าจากไทยคิดเป็นมูลค่า147 ล้านดอลลาร์สหรัฐในขณะที่ส่งออกเป็นจำนวน 115 ล้านดอลลาร์สหรัฐสินค้านำเข้าจากไทยส่วนใหญ่ ได้แก่ สารโพลีเมอร์ประเภท เอธีลีนโพรไพลีน ฯลฯ นอกจากนั้นก็ยังมี สารเคมี ยางพารา สินค้าพลาสติก ซินเทติค และไฟเบอร์ ส่วนสินค้าออกไปสู่ไทยส่วนจะเป็นฝ้ายเส้นด้ายและสิ่งทอต่าง ๆ

Top


        ความสัมพันธ์โดยทั่วไประหว่างปากีสถานและไทยนั้นได้เริ่มขึ้นในยุคของสงครามเย็นช่วงต้นของทศวรรษปี 1950 ในฐานะที่ต่าง ก็เป็นสมาชิกขององค์การสนธิสัญญาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือซีอาโต้ (SEATO : South East Asia Treaty Organization) และในฐานะที่ต่างก็ยึดมั่นในหลักการของกฎบัตรแห่ง

        สหประชาชาติอย่างเหนียวแน่น ปากีสถานและไทยได้มีความร่วมมือระหว่างกันเป็นอย่างดีทั้งในระดับภูมิภาคและระดับสากล ในระดับภูมิภาคนั้นปากีสถานมีความสัมพันธ์กับกลุ่มอาเซียนในฐานะหุ้นส่วนการเจรจานอกเหนือไปจากการที่ปากีสถานได้เป็นภาคีสมาชิกขององค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจ หรืออีซีโอ (ECO : Economic Cooperation Organization) และสมาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาคเอเชียใต้ หรือเอสเอเออาร์ซี (SAARC : South Asian Association for Regional Cooperation) ซึ่งองค์กรทั้งสองนี้ต่างก็มีความสัมพันธ์เป็นอันดีกับกลุ่มอาเซียน ความร่วมมือระหว่างกันในระดับนานาชาติยังได้สะท้อนให้เห็นในกรณีของการแก้ไขวิกฤตืการณ์ในกัมพูชาและอัฟกานิสถาน

        ภาคการเกษตรปากีสถานครองส่วนแบ่ง 25 % ของค่า จีดีพีและเกี่ยวพันกับกำลังแรงงานทั้งหมดของประเทศเกือบครึ่งหนึ่ง ภาคการเกษตรนับเป็นแหล่งเงินได้จากต่างประเทศมากที่สุดนอกเหนือไปจากเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบที่สามารถตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมภายใน เช่นสิ่งทอและน้ำตาล พืชผลหลักของปากีสถานได้แก่ ข้าว สาลี ฝ้าย ข้าว น้ำตาล อ้อย ถั่วเขียว ข้าวโพด และยาสูบ โดยที่ฝ้าย ข้าวและยาสูบเป็นสินค้าสำคัญ


แหล่งอ้างอิง
- 23 มีนาคม 2541 เดลินิวส์ ฉบับที่ 17693 (23 มี.ค. 41) หน้า 5
- สารบรรณโลกและเงินตรานานาชาติ(.ทวีปเอเชีย ตอน 1) เล่ม 5
วันสำคัญของไทย

วันสำคัญของไทยและต่างประเทศอื่นๆ

     

วันชาติต่างประเทศ

วันชาติอินเดีย
วันชาติปากีสถาน
วันชาติอเมริกา

วันชาติมาเลย์
วันชาติเม็กซิโก
วันชาติซาอุดิอาระเบีย
วันชาติเยอรมนี
วันชาติฟินแลนด์
วันชาติสเปน
วันชาติกัมพูชา
วันชาติเลบานอน
วันชาติลาว
วันชาติพม่า
วันชาติออสเตรเลีย
วันชาติฝรั่งเศส
เดือนมกราคม
เดือนกุมภาพันธ์
เดือนมีนาคม
วันขึ้นปีใหม่
วันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ
วันพ่อขุนรามคำแหง
วันสถาปนาโครงการ อพป.แห่งชาติ
วันเด็กแห่งชาติ
วันครู
วันกองทัพไทย
วันนักประดิษฐ์
วันวาเลนไทม์
วันปลอดควันพิษจากไฟป่า
วันมาฆบูชา
วันทหารผ่านศึก
วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก
วันศิลปินแห่งชาติ
วันสหกรณ์แห่งชาติ
วันน้ำของโลก
วันกองทัพอากาศ
วันสตรีสากล
เดือนเมษายน
เดือนพฤษภาคม
เดือนมิถุนายน
วันข้าราชการพลเรือน
วันรักการอ่าน
วันอนุรักษ์มรดกไทย
วันเช็งเม้ง
วันจักรี
วันประมงแห่งชาติ
วันสงกรานต์
วันผู้สูงอายุแห่งชาติ
วันครอบครัว
วันคุ้มครองโลก
วันแรงงานแห่งชาติ
วันฉัตรมงคล
วันพืชมงคล
วันวิสาขบูชา
วันต้นไม้แห่งชาติ
วันงดสูบบุหรี่โลก
วันสิ่งแวดล้อมโลก
วันอานันทมหิดล
วันดำรงราชานุภาพ
วันสุนทรภู่
วันต่อต้านยาเสพติด
เดือนกรกฎาคม
เดือนสิงหาคม
เดือนกันยายน
วันลูกเสือแห่งชาติ
วันอาสาฬหบูชา
วันเข้าพรรษา
วันภาษาไทยแห่งชาติ
วันรพี
วันแม่แห่งชาติ
วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
วันสืบ นาคะเสถียร
วันโอโซนโลก
วันเยาวชนแห่งชาติ
วันมหิดล
เดือนตุลาคม
เดือนพฤศจิกายน
เดือนธันวาคม
วันสารทไทย
วันตำรวจ
วันเทคโนโลยีของไทย
วันปิยะมหาราช
วันสหประชาชาติ
วันออกพรรษา
วันเทโวโรหนะ
วันฮาโลวีน
วันลอยกระทง
วันวชิราวุธ - วันประถมศึกษา
วันโลกต้านเอดส์
วันสิ่งแวดล้อมไทย
วันพ่อแห่งชาติ
วันเฉลิมพระชนมพรรษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ

วันรัฐธรรมนูญ
วันกีฬาแห่งชาติ
วันคริสต์มาส
วันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ
วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ประเพณีไทย


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์