ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


        ร่องรอยของประชาชนเผ่าพันธุ์แรกที่อาศัยอยู่ในพม่าคือพวกพยู ซึ่งเรื่องราวของคนพวกนี้ไม่เป็นที่ทราบกันดีนัก คนพวกนี้ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดียมาก ชาวพยูมีชื่อเสียงมากในฐานะที่เป็นผู้สร้างเมืองศรีเกษตรา (Sri Kshetra) ขึ้นมา ปัจจุบันเมืองนี้ตั้งอยู่ใกล้เมืองโปรเม (Prome) เมืองนี้มีลักษณะเป็นวงกลม มีประตูเป็นทางเข้าเมือง ชาวพยูมีความสนใจที่จะรับการศึกษาจากคนรุ่นใหม่คือพวกอินเดียนี้มาก

        ต่อมาก็มีพวกมอญเผ่ามองโกลอยด์ เข้าไปตั้งหลักแหล่งแทนพวกพยูในพม่า โดยตั้งถิ่นฐานอยู่ตลอดทั่วภาคใต้ของพม่าและไทย ชาวมอญ เป็นผู้ที่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท และรู้จักการเพาะปลูกข้าวโดยใช้ระบบของการชลประทาน

        ประมาณศตวรรษที่ 8 ชาวพม่าอพยพโดยทางแม่น้ำ ยูนนาน (Yunnan River) ไปอยู่ทางภาคกลางทางทิศเหนือของประเทศพม่า ต่อมาก็มีชาวไทยเผ่าหนึ่งซึ่งพม่าเรียกว่าพวกชาน (Shan) อพยพตามชาวพม่าขึ้นไปทางเหนือด้วย

        ประชาชนชาวพม่าเรียกชื่อประเทศของตนว่า "แผ่นดินทอง" (Golden Land) ชื่อนี้อาจได้มาจากประเพณีทางพุทธศาสนาของชาวพม่าที่ใช้ทองเปลวปิดองค์พระเจดีย์ องค์เจดีย์ที่ถูกปิดด้วยทองเปลวแล้วเมื่อสัมผัสกับแสงตะวันจะเหลืองอร่ามไปทั้งองค์ หรือการที่ชาวพม่าเรียกชื่อประเทศของตนว่า "แผ่นดินทอง" นั้นอาจจะมาจากแสงทองที่เรืองรองบนไร่นาอันสวยงามของชาวพม่าก็ได้ เพราะรวงข้าวเมื่อก่อนถึงฤดูเก็บเกี่ยว ยามที่สัมผัสกับแสงตะวันจะส่งสีสรรพ์ราวกับแสงของทองคำที่เป็นเช่นนี้เพราะพม่าปลูกข้าวที่เป็นอาหารหลักของชาวเอเชียทั่วไปได้มาก พม่าเป็นดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์ มีป่าไม้ขนาดใหญ่ ซึ่งเต็มไปด้วยไม้ที่มีค่า และยังมีทรัพยากรประเภทสินแร่ที่สำคัญอยู่มาก

        ประเทศพม่ามีอาณาเขตติดต่อกับอินเดีย บังคลาเทศ จีน ลาว และประเทศไทย จากสภาพทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและลักษณะการปกครองทางการเมืองของประเทศทำให้พม่าถูกขัดขวางในการมีบทบาททางการเมืองของโลก พม่าจึงต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยว และเป็นประเทศที่เงียบสงบ

        สภาพภูมิประเทศทางธรรมชาติของพม่าคล้าย ๆ กับอิตาลีหรือสเปน คือมีเทือกเขาแนวโค้งรูปเกือกม้าโอบรอบพม่าทางด้านตะวันตก ด้านเหนือ และด้านตะวันออก ตามบริเวณที่ราบต่ำอันเป็นที่อยู่อาศัยของประชากรส่วนใหญ่ และแยกประเทศพม่าออกจากประเทศเพื่อนบ้าน ประชากรที่อพยบเข้ามาอยู่ได้เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของพม่าหลายครั้ง และองค์ประกอบของประชากรพม่าไปบ้าง แต่ก็เป็นเวลานานเกือบ 4,000 ปี ที่พม่ามีประวัติศาสตร์เป็นของตนเองสืบต่อเรื่อยมาโดยรับเอาวัฒนธรรมตามหลักของศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท มาใช้

        สิ่งสำคัญในการกำหนดลักษณะความเป็นอยู่ของประชาชนและประวัติศาสตร์ของพม่า คือ บริเวณลุ่มแม่น้ำโดยเฉพาะแม่น้ำอิรวดี ดินดอนสามเหลี่ยม บริเวณเทือกเขาซึ่งเป็นแนวแบ่งเขตแดนทางธรรมชาติของประเทศ

สภาพทางภูมิศาสตร์ แบ่งออกได้ดังนี้
        บริเวณเทือกเขา เทือกเขาทางภาคเหนือและเทือกเขาที่ทอดตัวเป็นแนวยาวซึ่งกั้นพรมแดนทางภาคตะวันออกนั้นเป็นเทือกเขาที่ขึ้นตามสภาพทางธรณีวิทยามาตั้งแต่สมัยก่อนยุคเทอเทียรี่ เทือกเขาทางภาคเหนือของประเทศมีความสูงประมาณ20,000 ฟุต ภูเขาโปปา ซึ่งมีรูปร่างคล้ายกรวยจะเป็นบริเวณจุดศูนย์กลางของประเทศพม่า ภูเขานี้มีความสูง 4,980 ฟุต

        บริเวณที่ราบ ที่ราบทางภาคใต้ของพม่าและดินดอนสามเหลี่ยมที่ขยายกว้างออกไปนั้นเป็นบริเวณที่ค่อย ๆ สูงกว่าระดับน้ำทะเล เพราะบริเวณที่เป็นน้ำทะเลจะค่อย ๆ แคบเข้าทีละน้อยเป็นระยะทางหลายไมล์ตลอดเวลาอันยาวนานในประวัติศาสตร์ และแม่น้ำสายใหญ่ ของพม่าได้พัดพาเอาตะกอนจำนวนมากจากเทือกเขาลงสู่ปากอ่าว

        บริเวณลุ่มแม่น้ำแม่น้ำอิรวดี ซึ่งเป็นแม่น้ำที่ใช้ในการเดินเรือได้ตลอด มีความยาว 900 ไมล์ (275 กิโลเมตร) เป็นเส้นทางสำคัญของการคมนาคม การชลประทานและให้ความอุดมสมบูรณ์ต่อบริเวณที่ราบต่ำตอนกลางของประเทศ แม่น้ำอิรวดีไหลมาบรรจบกับแม่น้ำ จินด์วินที่ใกล้ภูเขาโปปา ซึ่งเป็นแม่น้ำสายใหญ่ไหลมาจากทิวเขาทางภาคตะวันตก ส่วนทางภาคตะวันออกของพม่ามีแม่น้ำสาละวิน ซึ่งไหลออกไปทางทิเบต และไหลขนานไปกับลำแม่น้ำโขงก่อนที่จะผ่านรัฐชาน

        แม่น้ำสายต่าง ๆ ในพม่าโดยเฉพาะแม่น้ำอิรวดี มีความสำคัญมากในเรื่องการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลของฤดูฝนและฤดูแล้ง ฤดูแล้งผืนดินจะไม่มีการเพาะปลูก ทั้ง ๆ ที่เป็นผืนดินที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับการเพาะปลูกมาก

        ทรัพยากรธรรมชาติ ผืนดินบนดินดอนสามเหลี่ยมคือทรัพยากรทางธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของพม่า เพราะเป็นบริเวณที่มีการปลูกข้าว และมีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุดในบริเวณที่ราบภาคเหนือและภาคกลางของพม่ามีการปลูกข้าวก่อนบริเวณดินดอนสามเหลี่ยม เพราะอยู่ในแนวทางของการชลประทาน แต่พื้นดินในพื้นที่ดังกล่าวมีคุณภาพระดับกลางถึงระดับต่ำเท่านั้น พื้นดินที่อยู่ในบริเวณทิวเขาเป็นดินที่ไม่มีคุณภาพ ชาวเขาที่อาศัยอยู่ในบริเวณภูเขา ทำไร่เลื่อนลอยไปตามภูเขาต่าง ๆ จึงมีการโค่นป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอยกันมาก จนในที่สุดพื้นดินก็แห้งแล้งและสึกกร่อนมากขึ้น ทรัพยากรประเภทสินแร่ของพม่าก็มีน้ำมันปิโตรเลียม ดีบุก ตะกั่ว สังกะสี วุลแฟรม ถ่านหิน และอัญมนี ส่วนอัญมณีที่มีชื่อเสียงและมีค่าของพม่าคือ พลอยรูบี้ (Ruby)
Top

        พม่ามี 3 ฤดูเช่นเดียวกับไทย แต่ฝนตกชุกกว่าประเทศไทยและอากาศชื้นมาก นักท่องเที่ยวจึงไม่นิยมเดินทางไปเที่ยวพม่าในฤดูฝน ในฤดูหนาวอากาศเย็นสบาย ทางเหนือของประเทศอากาศหนาว เป็นช่วงที่มีนักท่องเที่ยวมาก ส่วนฤดูร้อนอากาศค่อนข้างร้อน โดยเฉพาะในเขตพม่าตอนบนที่เมืองพุกามและมัณฑะเลย์

        พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศพม่าตั้งอยู่ในเขตร้อน ฤดูฝนจะเริ่มต้นจากกลางเดือน "พฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม" บริเวณริมฝั่งทะเลของอาระกัน (Arakan) และเทนาสเซริม (Tenasserim) และเทือกเขาทางเหนือสุดของประเทศมีอัตราฝนตกประมาณ 200 นิ้ว (5,080 มิลลิเมตร) ต่อปี ที่บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมของแม่น้ำอิรวดี มีอัตราฝนตกประมาณ 100 นิ้ว (2,540 มิลลิเมตร) ทิวเขาทางภาคตะวันออกและตะวันตกของประเทศมีอัตราฝนตกโดยเฉลี่ยประมาณ 80 นิ้ว (2,032 มิลลิเมตร) ที่ราบตอนกลางของประเทศ เป็นบริเวณแห้งแล้ง มีอัตราฝนตกต่อปีเพียง 25-45 นิ้ว (635-1,143 มิลลิเมตร) เท่านั้นอาจจะเป็นเพราะว่าการทำลายป่าในบริเวณที่ราบตอนกลาง ทำให้ปริมาณฝนที่ตกลดลง

        ฤดูที่ร้อนจัดที่สุดของพม่าเริ่มต้นในเดือนพฤษภาคม อุณหภูมิในฤดูนี้สูงขึ้นถึง ประมาณ38 องศาเซลเซียส (100 องศาฟาเรนไฮต์) อุณหภูมิต่ำสุดในภาคใต้ของพม่าตั้งแต่เดือนธันวาคม - มกราคม ประมาณ 16 องศาเซลเซียส (60 องศาฟาเรนไฮต์) ในภาคเหนือประมาณ 13 องศาเซลเซียส (55 องศาฟาเรนไฮต์) บริเวณดินดอนสามเหลี่ยม และบริเวณริมฝั่ง ทะเลจะมีอากาศชื้นตลอดปี
Top

        ระบบทางสังคมของชาวพม่าแท้ที่เป็นชนกลุ่มใหญ่ของประเทศจะเป็นแบบอย่างของกลุ่มอื่น ๆ ไม่ว่าคนกลุ่มนั้นจะเต็มใจรับหรือไม่ก็ตาม เมื่อพม่าได้รับเอกราชแล้วการดำเนินชีวิตของชาวพม่าก็เปลี่ยนแปลงไปมาก สังคมของพม่าไม่มีข้อแตกต่างในเรื่องชนชั้นเพศ สังคมในชนบทของพม่าจะไม่มีการเคร่งครัดตายตัวเหมือนในชนบทของอืนเดียส่วนสังคมที่มีอิสระมากได้แก่สังคมชั้นต่ำของพม่าที่เป็นเช่นนี้เพราะพม่าไม่ได้วางโครงสร้างของสังคมไว้เข้มงวดนั่นเอง อย่างไรก็ดีตระกูลของคนชั้นสูงในพม่าก็ยังยึดถือเรื่องความแตกต่างระหว่างชนชั้นเป็นเรื่องสำคัญ เช่นข้าราชการชั้นสูงที่เคยรับใช้อยู่ในราชสำนักสมัยเดิมถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นผู้นำของประชาชนอีกต่อไปก็ยังมีคนให้ความเคารพอยู่ ในกลุ่มของชาวชานนั้นพวกเจ้าและพวกขุนนางในตระกูลเก่าแก่ยังคงได้รับความเชื่อถือจากชาวชานด้วยกัน ส่วนชนชาวเขาก็ยังยึดถือความแตกต่างระหว่างชนชั้นหัวหน้ากับสามัญชนอยู่

        ในการดำเนินชีวิตประจำวันของชาวพม่าส่วนมากนั้น ยังคงยึดมั่นอยู่กับคุณค่าทางวัฒนธรรมและจารีพประเพณี เช่นในชนบทและในตัวเมือง ชาวพม่าจะนิยมการแต่งกายแบบเดิมของตนมากกว่าที่จะตามแบบชาวยุโรป ภายในบ้านที่เป็นครอบครัวสมัยใหม่จะมีเครื่องใช้ที่ทันสมัย

        ความเป็นอยู่ในพม่า มีความสะดวกเฉพาะอยู่ในกรุงย่างกุ้งและเมืองใหญ่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเท่านั้น ในกรุงย่างกุ้งมีโรงแรมชั้นดีได้มาตรฐานหลายแห่ง สำหรับผู้ที่จะไปอยู่เพื่อทำงานหรือประกอบธุรกิจมีที่พักให้เลือกทั้งบ้านเช่า หรือ Serviced apartment การอยู่อพาร์ทเมนท์มีข้อดีในแง่ที่ผู้เช่าไม่ต้องกังวลปัญหาไฟฟ้าและน้ำประปา แต่ค่าเช่าค่อนข้างสูง ส่วนสินค้าอุปโภคบริโภคในกรุงย่างกุ้งหาซื้อได้ทั่วไป โดยมีสินค้าที่นำเข้าจากไทยหลายอย่างและในกรุงย่างกุ้งมีร้านอาหารไทยหลายร้าน ผู้ที่จะเข้าไปเขตวัดหรือพุทธเจดีย์ จะต้องถอดรองเท้าและถุงเท้า บางแห่งเรียกเก็บเงินค่าเข้าชมสถานที่ด้วย
Top

        ถึงแม้ว่าพม่าจะพยายามาเป็นเวลานานกว่าครึ่งศตวรรษแล้วในการที่จะเปลี่ยนสังคมของพม่าให้เป็นสังคมของฆราวาสล้วน ๆ แต่ก็ปรากฏว่าประชาชนชาวพม่ายังคงเลื่อมใสพระสงฆ์ในศาสนาพุทธอยู่มากพระสงฆ์ในพม่ามีจำนวนไม่แน่นอนราว 110,000 รูป ประมาณ 33,000 รูป เป็นเณร ที่เหลือเป็นพระสงฆ์

        จุดรวมของชีวิตทางศาสนาค่อย ๆ เผยแพร่จากบริเวณตอนบน มายังตอนล่างของพม่าบริเวณที่มีวัดทางพุทธศาสนามากที่สุดในพม่า ก็คือ บริเวณรอบ ๆ เมืองมัณฑเลย์ (Mandalay) และเมือง สะเกง (Sagaing) พ.ศ.2497-2505 มีการจัดตั้งสภาทางศาสนา ทำให้ ทำให้กิจกรรมทางศาสนาในเมืองย่างกุ้งมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงมีการตั้งศูนย์กลางทางพุทธศาสนาขึ้นรอบเมืองย่างกุ้งเพื่อการศึกษาชั้นสูง

        เมื่อเปรียบเทียบองค์กรทางศาสนาอื่นกับศาสนาของพม่าแล้วองค์กรทางศาสนาของพม่ายังไม่รัดกุมพอจะเห็นได้จากมีศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท ซึ่งแพร่หลายมากในพม่าแต่ก็ยังมีการแบ่งแยกออกไปอีกเป็นหลายนิกายด้วยกันเช่น นิกาย ธุดธามา (THUDDAMA) เป็นนิกายที่แพร่หลายมากที่สุด นิกาย ชเวกยิน (Shwegyin) เป็นนิกายที่สำคัญ แต่แพร่หลายน้อยกว่าแต่องค์กรทางศาสนาในนิกายต่าง ๆ ส่วนมากแล้วจะปฏิบัติไปตามข้อบังคับของแต่ละวัด วัดสำคัญจะเป็นวัดขนาดใหญ่มีจำนวนพระสงฆ์ประมาณ 100 รูป แต่ก็มีวัดขนาดเล็กจำนวนไม่น้อยที่มีพระสงฆ์อยู่เพียง 10 กว่ารูปหรือน้อยกว่า มาตรฐานของพระสงฆ์และการศึกษาทางพุทธศาสตร์ ของแต่ละวัดแตกต่างกัน แล้วแต่กฏข้อบังคับที่สมภารวัดหรือพระที่อาวุโสของวัดนั้น ๆ จะกำหนดไว้
Top

        เหตุการณ์ในพม่าระหว่างสงครามและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้พม่าต้องร่วมกันหาทางแก้ไข ความเสียหายจากสงครามและฟื้นฟูความเจริญทางเศรษฐกิจในสมัยเดิมของตนขึ้นมาใหม่

        เศรษฐกิจ ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 พม่ามีธุรกิจการค้าส่งออกกับอินเดีย ยุโรป และญี่ปุ่นอย่างเจริญ จำนวนเงินที่ได้จากการส่งออกทั้งหมดประมาณครึ่งหนึ่งได้มาจากการส่งข้าวออกนอกประเทศ ประมาณ 1 ใน 4 เป็นเงินที่ได้จากการส่งผลิตภัณฑ์น้ำมันปิโตรเลียม สินแร่ส่งออกได้ประมาณ 12-14 % ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด ส่วนไม้ของพม่าส่งออกคิดเป็นมูลค่า 7 % พม่าเป็นประเทศที่ส่งข้าวเป็นสินค้าออกมากที่สุดในเอเชีย คือส่งออกประมาณ 54 % ของทุกประเทศในเอเชียรวมกัน ซึ่งอินเดียเพียงประเทศเดียวสั่งข้าวจากพม่าประมาณ 90 % ของการสั่งข้าวเป็นสินค้าเข้าทั้งหมดของอินเดีย นอกจากนั้นพม่ายังส่งข้าวไปศรีลังกา และมาเลเซียอีกด้วย

        รายได้ที่มาจากการส่งออกของพม่า ส่วนมากใช้เพื่อการนำเข้าประเภทอุปโภคบริโภค เพราะว่าพม่าสามารถผลิตสิ่งทอ น้ำตาล และซีเมนต์ ส่วนสินค้าประเภทอุปโภค บริโภคชนิดอื่น ๆ พม่าผลิตได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น กิจกรรมอุตสาหกรรมสำคัญของพม่า ก็คือ บริษัท เบอร์มาออยล์ (Burmah oil Company)

        พม่าได้รับความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 2 มากกว่าประเทศอื่น ๆ ในระหว่างที่ฝ่ายสัมพันธมิตร ถอนตัวออกไปจากประเทศเมื่อปี พ.ศ.2485 ฝ่ายสัมพันธมิตรได้โจมตีอู่ต่อเรือเมืองย่างกุ้งและเส้นทางรถไฟของพม่าอย่างหนักตลอดเวลา 2 ปี 6 เดือน พม่าต้องหยุดการส่งสินค้าออกทั้งหมด หลังจากพม่าได้รับเอกราชแล้ว พม่าจึงต้องสั่งอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น รางรถไฟอุปกรณ์ที่ใช้ในบ่อน้ำมันและต้องฟื้นฟูสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ขึ้นมาแม้ในสมัยก่อนที่จะได้รับเอกราชพรรคการเมืองชั้นนำของพม่าก็ประกาศออกมาอย่างชัดเจนว่าจะดำเนินนโยบายทางการเมืองตามอุดมการของฝ่ายซ้าย ธุรกิจของต่างประเทศจึงลังเลที่จะมาลงทุนในประเทศพม่าใหม่อีก หลังจากปี พ.ศ.2491 เกิดการปฏิวัติขึ้นภายในประเทศพม่า รถไฟและเรือกลไฟในน่านน้ำถูกโจมตีตลอดเวลา อย่างไรก็ดี ฝ่ายกบฎอนุโลมไม่ขัดขวางในเรื่องของการขนส่งข้าวเจ้าไปยังเมืองย่างกุ้งเพราะพวกกบฎได้เก็บเงินค่าผ่านถนน ดังนั้น เศรษฐกิจของพม่าจึงรอดพ้นจากความวิบัติไปได้

        พม่าก่อนสงคราม เป็นประเทศที่มีความเจริญค่อนข้างสูงแต่ปัจจุบันเศรษฐกิจของประเทศพม่าอยู่ในฐานะที่เรียกว่า เป็นเศรษฐกิจเพื่อการเลี้ยงตัวเองไม่ใช้เศรษฐกิจเพื่อการค้าแบบสมัยก่อนปี
พ.ศ.2508 ผลผลิตของประเทศทั้งหมด (GNP) คิดเฉลี่ยต่อคน ต่อปีมีเพียง 92 เหรียญสหรัฐเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศไทย ซึ่งจะมี 202 เหรียญสหรัฐ และมาเลเซียจะมี 280 เหรียญสหรํฐ บรรดาประเทศในเอเชียอาคเนย์ด้วยกันทั้งหมดมีเพียงประเทศลาวเพียงประเทศเดียวเท่านั้นที่มี GNP ต่ำกว่าพม่าแม้ว่าอินโดนีเชียจะเคยเป็นประเทศที่ยากจนกว่าพม่ามาก่อนก็ตาม สภาพทางเศรษฐกิจที่พม่าพึงพอใจมากมีอยู่ประการเดียว คือพม่ามีอาหารเพียงพอเลี้ยงประชากรส่วนมาก มีอยู่เพียงไม่กี่เมืองเท่านั้นที่มีอาหารไม่เพียงพอ
Top

        เมืองย่างกุ้ง (Rangoon) ย่างกุ้งเป็นเมืองหลวงของพม่า ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำย่างกุ้ง (Rangoon River) ห่างจากบริเวณปากอ่าวเมาะตะมะ (Gulf of Martaban) 21 ไมล์ เมืองย่างกุ้งเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศและเป็นเมืองท่าสำคัญของพม่า เป็นศูนย์กลางของการรถไฟ และการคมนาคมทางน้ำ อุตสาหกรรมภายในเมืองย่างกุ้ง ได้แก่อู่ต่อเรือ โรงทอผ้า โรงสีข้าว และโรงเลื่อยไม้

        ภูเขาเตี้ย ๆที่ตั้งอยู่เบื้องหลังของตัวเมืองย่างกุ้ง สูงกว่าระดับน้ำทะเล 168 ฟุต เป็นจุดที่สูงสุดในเมืองย่างกุ้ง เมื่อขึ้นไปบนภูเขาลูกนี้จะมองเห็นทิวทัศน์ข้างหน้าได้ไกลเป็นระยะทางหลายไมล์ นับตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์มาแล้วที่นี้กลายเป็นจุดที่สำคัญของพม่า นอกจากนี้สถานที่น่าสนใจในเมืองย่างกุ้งคือ พระเจดีย์เวดากอง (Shwe Dagon Pagoda) อันเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยศตวรรษแรก ๆ

        ในสมัยที่อังกฤษเข้าครอบครองพม่า เมืองย่างกุ้งได้ขยายออกไปกว้างขวางอย่างรวดเร็วและเป็นศูนย์กลางการบริหารของอังกฤษด้วย ใน พ.ศ. 2414 กษัตริย์ของพม่าซึ่งมีเมืองหลวงอยู่ที่มัณทะเลย์ได้จัดส่งฉัตรทองจากมัณฑะเลย์ มาปักบนยอดองค์เจดีย์ ชเวดากอง ทำให้องค์เจดีย์มีความสูงนับจากฐานขึ้นไป 326 ฟุต นับว่าเจดีย์เวดากองเป็นสัญญลักษณ์อย่างหนึ่งของพม่า

        เมืองมัณทะเลย์ (Mandalay)เมืองมัณทะเลย์ ตั้งอยู่บนริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำอิรวดีห่างจากทางเหนือของย่างกุ้ง 386 ไมล์ เมืองมัณทะเลย์ เป็นเมืองใหญ่อันดับสองของพม่า เป็นเมืองที่มีการสัญจรทางน้ำชุกชุม นอกจากนั้นยังเป็นเมืองชุมทางของรถไฟซึ่งเชื่อมต่อทางใต้ของย่างกุ้งกับทางเหนือของเมืองลาเชียว(Lashio) และเมือง มยีทกยีน่า (Myitkyina) เมืองมัณฑะเลย์ซึ่งมีความสำคัญคือเป็นศูนย์กลางของการปกครอง การค้าและวัฒนธรรมได้เจริญอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่พม่าได้รับเอกราชเมื่อ พ.ศ.2491 เป็นต้นมา งานหัตกรรมที่มีชื่อเสียงของมัณฑะเลย์ได้แก่ การทอผ้าไหม การประดิษฐ์เครื่องเงินและทองคำ งานฝีมือในการตัดหยก และการแกะสลักไม้ในเมืองมัณฑะเลย์ มีโรงเบียร์ และโรงเหล้า ซึ่งดำเนินการโดยรัฐบาล ในบริเวณตลาดใหญ่ เซเกียว (Zegyo Bazaar) ซึ่งตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองมัณฑะเลย์ รวมทั้งตลาดเล็กแห่งอื่น ๆ จะมองเห็นผลิตภัณฑ์ ต่าง ๆ จากตอนเหนือของพม่าวางขายปะปนอยู่กับสินค้าที่สั่งมาจากต่างประเทศ พ.ศ.2500 ได้ตั้งมหาวิทยาลัยมัณฑะเลย์ ซึ่งเป็นสถาบันบุกเบิกงานด้านเกษตร ซึ่งเดิมมีฐานะเป็นเพียง วิทยาลัยมัณฑะเลย์ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง

       เมืองมะละแหม่ง(Moulmein)เป็นเมืองหลวงของเขต แอมเฮอร์ส (Amherst) และเขตตะนาวศรี (Tenasserim) ในตอนล่างของพม่า เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลด้านตะวันออกของอ่าวเมาะตะมะ ตรงบริเวณปากแม่น้ำสาละวินและตรงจุดบรรจบของแม่น้ำคเยง (Gyaing) และแม่น้ำอทารัน (Ataran) อยู่ห่างจากเมืองย่างกุ้งไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 100 ไมล์ เมืองมะละแหม่งมีความสำคัญขึ้นมา เพราะเป็นศูนย์กลางการปกครองของอังกฤษ เมื่อครั้งที่อังกฤษรบชนะเขตมะละแหม่งยังเป็นศูนย์กลางของการคมนาคมมีเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อกับเมืองยีและเมืองย่างกุ้ง และเป็นเมืองที่ส่งสินค้าออกจำพวกไม้สัก ข้าว และฝ้าย อุตสาหกรรมภายในเมืองนี้ได้แก่โรงเหล้า อู่ต่อเรือการผลิตทองคำและเงิน

Home
แหล่งอ้างอิง
- หนังสือสารบรรณโลกและเงินตรานานาชาติ (ทวีปเอเชีย ตอน 2เล่ม 6)
วันสำคัญของไทย

วันสำคัญของไทยและต่างประเทศอื่นๆ

     

วันชาติต่างประเทศ

วันชาติอินเดีย
วันชาติปากีสถาน
วันชาติอเมริกา

วันชาติมาเลย์
วันชาติเม็กซิโก
วันชาติซาอุดิอาระเบีย
วันชาติเยอรมนี
วันชาติฟินแลนด์
วันชาติสเปน
วันชาติกัมพูชา
วันชาติเลบานอน
วันชาติลาว
วันชาติพม่า
วันชาติออสเตรเลีย
วันชาติฝรั่งเศส
เดือนมกราคม
เดือนกุมภาพันธ์
เดือนมีนาคม
วันขึ้นปีใหม่
วันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ
วันพ่อขุนรามคำแหง
วันสถาปนาโครงการ อพป.แห่งชาติ
วันเด็กแห่งชาติ
วันครู
วันกองทัพไทย
วันนักประดิษฐ์
วันวาเลนไทม์
วันปลอดควันพิษจากไฟป่า
วันมาฆบูชา
วันทหารผ่านศึก
วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก
วันศิลปินแห่งชาติ
วันสหกรณ์แห่งชาติ
วันน้ำของโลก
วันกองทัพอากาศ
วันสตรีสากล
เดือนเมษายน
เดือนพฤษภาคม
เดือนมิถุนายน
วันข้าราชการพลเรือน
วันรักการอ่าน
วันอนุรักษ์มรดกไทย
วันเช็งเม้ง
วันจักรี
วันประมงแห่งชาติ
วันสงกรานต์
วันผู้สูงอายุแห่งชาติ
วันครอบครัว
วันคุ้มครองโลก
วันแรงงานแห่งชาติ
วันฉัตรมงคล
วันพืชมงคล
วันวิสาขบูชา
วันต้นไม้แห่งชาติ
วันงดสูบบุหรี่โลก
วันสิ่งแวดล้อมโลก
วันอานันทมหิดล
วันดำรงราชานุภาพ
วันสุนทรภู่
วันต่อต้านยาเสพติด
เดือนกรกฎาคม
เดือนสิงหาคม
เดือนกันยายน
วันลูกเสือแห่งชาติ
วันอาสาฬหบูชา
วันเข้าพรรษา
วันภาษาไทยแห่งชาติ
วันรพี
วันแม่แห่งชาติ
วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
วันสืบ นาคะเสถียร
วันโอโซนโลก
วันเยาวชนแห่งชาติ
วันมหิดล
เดือนตุลาคม
เดือนพฤศจิกายน
เดือนธันวาคม
วันสารทไทย
วันตำรวจ
วันเทคโนโลยีของไทย
วันปิยะมหาราช
วันสหประชาชาติ
วันออกพรรษา
วันเทโวโรหนะ
วันฮาโลวีน
วันลอยกระทง
วันวชิราวุธ - วันประถมศึกษา
วันโลกต้านเอดส์
วันสิ่งแวดล้อมไทย
วันพ่อแห่งชาติ
วันเฉลิมพระชนมพรรษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ

วันรัฐธรรมนูญ
วันกีฬาแห่งชาติ
วันคริสต์มาส
วันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ
วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ประเพณีไทย


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์