ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

http://www.dooasia.com > กิจกรรมท่องเที่ยว > ชมประวัติศาสตร์ > ยุคก่อนประวัติศาสตร์

ยุคก่อนประวัติศาสตร์
สมัยหินเก่า
เป็นช่วงเวลาที่ยังไม่มีการจดบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับชุมชนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เนื่องจากยังไม่มีการรับเอาตัวอักษรจาก ที่อื่น หรือยังมิได้มีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นมาใช้ในการจดบันทึก ในประเทศไทยเราสามารถแบ่งได้เป็นยุคสมัยต่าง ๆ ดังนี้

สมัยหินเก่า

เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์ยังดำรงชีวิตอยู่ด้วยการเร่ร่อนเก็บของป่าและล่าสัตว์มาเป็นอาหาร อาศัยอยู่ตามถ้ำแต่ไม่ถาวร เนื่อง จากต้องย้ายถิ่นเพื่อแสวงหาแหล่งอาหารไปเรื่อย ๆ เพราะยังไม่รู้จักการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ไม่รู้จักทำเครื่องปั้นดินเผา เครื่องมือที่ใช้ก็มักจะทำจากกระดูกสัตว์เขาสัตว์ หรือก้อนหินนำมากะเทาะอย่างหยาบ ๆ ให้มีคมสำหรับใช้ในการสับหรือ ตัด สมัยนี้มีอายุประมาณ 500,000-10,000 ปี

สมัยหินหลาง ถ้วยชามโบราณ สมัยหินกลาง

มนุษย์ในช่วงเวลานี้มีการพัฒนาขึ้นจากยุคหินเก่า จับปลาและล่าสัตว์เก่งกว่า เริ่มรู้จักการเพาะปลูกแบบง่าย ๆ มีการปรับ ปรุงการทำเครื่องมือหินกะเทาะให้มีความประณีตมากขึ้นและมีการใช้สะเก็ดหินทำเครื่องมือด้วย รู้จักทำเครื่องปั้นดินเผา มีการประกอบพิธีกรรมในการฝังศพ สมัยนี้มีอายุประมาณ 10,000-8,000 ปี

สมัยหินใหม่

มนุษย์ในสมัยนี้เริ่มรู้จักการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์สำหรับใช้งานและเป็นอาหาร จึงไม่ต้องเร่ร่อนเก็บของป่าล่าสัตว์ สามารถตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนเป็นหลักแหล่งทำให้มีเวลาว่างมากขึ้น การประดิษฐ์เครื่องมือหินจึงมีความประณีตมากขึ้น โดยมีการฝนผิวเครื่องมือหินจนเรียบ เรียกว่า “เครื่องมือหินขัด” รู้จักใช้ไฟ มีการทำเครื่องปั้นดินเผา และรู้จักหุงต้ม อาหารให้สุกก่อนกิน สมัยนี้มีอายุประมาณ 8,000-3,000 ปี

ทั้งสมัยหินเก่า สมัยหินกลางและสมัยหินใหม่นี้ เราสามารถเรียกแบบรวม ๆ กันว่า “ยุคหิน” เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ มนุษย์ใช้เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากหินเช่นเดียวกัน

ยุคโลหะ

เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์รู้จักวิธีการหลอมโลหะ และสามารถนำโลหะ และสามารถนำโลหะมาหลอมใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้ ต่าง ๆ หลายชนิด โดยในช่วงแรกโลหะที่ใช้คือ สำริด เช่น กลองมโหระทึก ขวานสำริด หอกสำริด เครื่องประดับสำริด ต่อมาจะมีการผสมผสานโลหะในการทำเครื่องมือ เช่น ใบหอกทำด้วยเหล็ก ด้ามทำด้วยสำริดหล่อหุ้มและพัฒนาไปสู่การ ทำเครื่องมือด้วยเหล็กทั้งหมด ยุคนี้มีอายุประมาณ 3,000 ปี ลงมาถึง พ.ศ. 1000

ทั้งยุคหินและยุคโลหะนี้ มนุษย์ยังไม่รู้จักประดิษฐ์คิดค้นตัวอักษรขึ้นมาสำหรับบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ เราจึงรวมเรียกยุค หินและยุคโลหะว่าเป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์

ในตอนปลายของยุคโลหะ ชุมชนมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วจนเป็นชุมชนเกษตรกรรมขนาดใหญ่ มีผลผลิตที่เหลือกินเหลือ ใช้ จึงเริ่มมีการติดต่อค้าขายกับชุมชนในบริเวณใกล้เคียง ชุมชนเติบโตจากหมู่บ้านขึ้นเป็นเมือง การติดต่อค้าขายขยายวง กว้างออกไปค้าขายทางทะเลกับดินแดนที่อยู่ห่างไกลออกไป โดยเฉพาะอินเดียซึ่งเป็นชนชาติที่มีอารยะธรรมเจริญรุ่งเรือง ที่ได้เข้ามาทำการค้าโดยทางเรือและได้นำเอาศิลปวิทยาการตลอดจนความเชื่อทางศาสนาเข้ามาด้วย มีผลให้เกิดการ พัฒนาของบ้านเมืองในดินแดนแถบนี้ต่อมา



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์