ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > อุทยานแห่งชาติ  > อุทยานแห่งชาติทับลาน
 
อุทยานแห่งชาติทับลาน
 

อุทยาน แห่งชาติทับลาน มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอปักธงชัย อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอครบุรี อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา และอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี สภาพป่ามีความอุดมสมบูรณ์และมีป่าลาน ซึ่งหาดูได้ยากที่มีเฉพาะบางท้องที่เท่านั้น มีต้นลานขึ้นตามธรรมชาติ เป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำ ลำธารต่างๆ และมีธรรมชาติที่สวยงาม เช่น หุบผา หน้าผา น้ำตก เป็นอุทยานแห่งชาติที่มีเนื้อที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ คือ มีเนื้อที่ประมาณ 1,397,375ไร่ หรือ 2,235.80 ตารางกิโลเมตร

ในอดีตป่าลานที่อุดมสมบูรณ์มีขึ้นอยู่กระจายทั่วๆ ไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อมามีการขยายตัวของพื้นที่เกษตรกรรม จึงทำให้ป่าลานได้ถูกบุกรุกทำลายลงไปมาก จนปัจจุบันคงเหลือป่าลานแห่งสุดท้าย คือ บริเวณบ้านทับลาน บ้านขุนศรี บ้านบุพราหมณ์ และบ้านวังมืด จังหวัดปราจีนบุรี ในการไปตรวจสอบสภาพป่าลานเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2517 นายประดิษฐ์ วนาพิทักษ์ อธิบดีกรมป่าไม้ พบว่า ป่าลานในบริเวณดังกล่าวเป็นป่าลานแห่งสุดท้ายของประเทศเพื่ออนุรักษ์ป่าลาน ไว้ จึงมีดำริให้จัดตั้งป่าลานนี้เนื้อที่ประมาณ 36,250 ไร่ หรือ 58 ตารางกิโลเมตร เป็นวนอุทยาน และในการประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติครั้งที่ 1/2518 เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2518 ได้มีมติให้ดำเนินการวางแผนปฏิบัติการที่ป่าลานกบินทร์บุรี ซึ่งสำนักงานป่าไม้เขตปราจีนบุรี ได้มีคำสั่งที่ 169/2518 ลงวันที่ 11 เมษายน 2518 และคำสั่งที่ 194/2518 ลงวันที่ 15 เมษายน 2518 ให้ นายสุชล ผาติเสนะ นักวิชาการป่าไม้ตรี และ นายยัณห์ ทักสูงเนิน พนักงานประจำเขต โดยอยู่ในความควบคุมการดำเนินงานของนายไพโรจน์ เชี่ยวเอี่ยมวัฒนา นักวิชาการป่าไม้โท ไปดำเนินการรังวัดหมายแนวเขต และจัดพื้นที่ปรับปรุงให้เป็นวนอุทยานป่าลาน ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติแก่งดินสอ-แก่งใหญ่-เขาสะโตน จังหวัดปราจีนบุรี

ต่อมากองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 2383/2520 ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2520 ให้นายเชาวลิต เลิศชยันตรี นักวิชาการป่าไม้ 5 ทำหน้าที่หัวหน้าวนอุทยานทับลาน และในปี พ.ศ. 2523 กองอุทยานแห่งชาติ ได้ให้วนอุทยานทับลานสำรวจพื้นที่โดยรอบ เพื่อผนวกพื้นที่บริเวณใกล้เคียงแนวเขตติดต่อวนอุทยาน ยกฐานะวนอุทยานทับลานเป็นอุทยานแห่งชาติ ผลการสำรวจปรากฏว่า บริเวณป่าดังกล่าวโดยรอบมีสภาพป่าสมบูรณ์ มีทิวทัศน์สวยงาม สัตว์ป่าชุกชุมเป็นป่าต้นน้ำลำธารของแม่น้ำบางปะกงและแม่น้ำมูล ตามหนังสือรายงานผลการสำรวจ ที่ กส 0708(ทล.)/16 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2523 ทั้งเพื่อเป็นการสนองมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2522 ที่ให้รักษาป่าไว้โดยการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ

กรมป่าไม้จึงเสนอให้คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2523 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2523 เห็นสมควรออกพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ป่าดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าวังน้ำเขียวและป่าครบุรี ในท้องที่ตำบลสะแกราช ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอปักธงชัย ตำบลครบุรี ตำบลจระเข้หิน ตำบลโคกกระชาย อำเภอครบุรี และตำบลสระตะเคียน ตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา และป่าแก่งดินสอ ป่าแก่งใหญ่ และป่าเขาสะโตน ในท้องที่ตำบลบุพราหมณ์ ตำบลทุ่งโพธิ์ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 98 ตอนที่ 210 ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2524 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 39 ของประเทศ

ต่อมาได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2531 อนุญาตให้กรมชลประทานใช้พื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติทับลานบริเวณป่าวังน้ำ เขียว ป่าครบุรี ป่าแก่งดินสอ ป่าแก่งใหญ่ และป่าเขาสะโตน บางส่วนในท้องที่ตำบลจระเข้หิน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำลำมูลบน เพื่อพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีเนื้อที่ 2,625 ไร่ หรือ 4.20 ตารางกิโลเมตร โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนพื้นที่ส่วน นี้ออก และในปี 2532 จึงได้มีพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าวังน้ำเขียว ป่าครบุรี ป่าแก่งดินสอ ป่าแก่งใหญ่ และป่าเขาสะโตน บางส่วนในท้องที่ตำบลจระเข้หิน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ออกจากการเป็นอุทยานแห่งชาติตามที่กำหนดไว้โดยพระราชกฤษฎีกาเดิมปี พ.ศ. 2524 ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 106 ตอนที่ 107 ลงวันที่ 7 กรกฎาคม 2532

   

ลักษณะภูมิประเทศ

 

อุทยาน แห่งชาติทับลาน เป็นอุทยานแห่งชาติที่มีพื้นที่ส่วนหนึ่งอยู่ในเขตเทือกเขาพนมดงรัก สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปประกอบด้วยภูเขาใหญ่น้อยสลับซับซ้อนต่อเนื่องกัน เป็นบริเวณกว้างขวาง โดยมีเขาที่สำคัญหลายลูก เช่น เขาละมั่ง เขาภูสามง่าม เขาภูสูง เขาใหญ่ เขาวง เขาสลัดได เขาทิดสี เขาไม้ปล้อง เขาทับเจ็ก และเขาด่านงิ้ว ซึ่งยอดเขาละมั่งเป็นยอดเขาที่สูงสุด มีระดับความสูงประมาณ 992 เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็นเทือกเขายาวต่อเนื่องกันทำให้มีหุบเขาตามธรรมชาติ เหว และน้ำตก เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำหลายสาย เช่น ห้วยขมิ้น ห้วยปลาก้าง ห้วยคำแช ห้วยคำขี้แรด ห้วยมูลสามง่าม ห้วยภูหอม ห้วยกระทิง ห้วยลำเลย ห้วยกุดตาสี ห้วยลำดวน เป็นต้น ลำห้วยแต่ละสายไหลรวมกันเป็นแม่น้ำมูล ส่วนลำห้วยสวนน้ำหอม ห้วยหินยาว ห้วยชมพู ห้วยสาลิกา ห้วยวังมืด ห้วยลำไยใหญ่ ฯลฯ ลำห้วยเหล่านี้จะไหลรวมกันเป็นแม่น้ำบางปะกง

ลักษณะภูมิอากาศ
 

 

อุทยาน แห่งชาติทับลาน ในช่วงฤดูลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ความชุ่มชื้นจะถูกพัดมาจากทะเลอันดามันและอ่าวไทย จนทำให้พื้นที่บริเวณนี้ได้รับปริมาณน้ำฝนมาก เฉลี่ยตลอดปี 1,070 มิลลิเมตร ฝนจะตกชุกที่สุดในเดือนกันยายน ซึ่งเทือกเขาพนมดงรักจะปะทะลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และทำให้ฝนตกในบริเวณด้าน รับลมมากกว่าด้านไม่รับลม ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมากราคม อากาศจะหนาวเย็นมากในเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นเดือนที่มีค่าเฉลี่ยอุณหภูมิต่ำสุด 22.8 องศาเซลเซียส ฟดูร้อนเริ่มตั้งแต่กุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม อากาศจะร้อนอบอ้าวมากในเดือนเมษายนซึ่งมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 29.3 องศาเซลเซียส สำหรับอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 26.7 องศาเซลเซียส

พรรณไม้และสัตว์ป่า

 

อุทยาน แห่งชาติทับลาน มีสังคมพืชที่จัดเป็นป่าลุ่มต่ำที่มีความสมบูรณ์มากสามารถจำแนกได้ 4 ประเภท คือ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบชื้น และป่าดิบแล้ง จัดเป็นสังคมพืชที่มีการซ้อนทับกันของลักษระทางนิเวศของป่าภาคกลางและป่าภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ มีความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้และสัตว์ป่าชุกชุม

ป่าเต็งรัง ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานมีสภาพเป็นป่าโปร่ง ขาดแคลนแหล่งน้ำ มีต้นไม้ขึ้นกระจัดกระจายทั่วพื้นที่และมักจะมีลำต้นเล็กและเตี้ย พืชพื้นล่างเป็นพวกหญ้าเพ็ก หญ้าคา และสาบเสือ พันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น เต็ง รัง เหียง พลวง ฯลฯ

ป่าเบญจพรรณ จะมีไม้ต่างชนิดขึ้นปะปน และจะพบไผ่ขึ้นปนมากมาย มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น แดง ตะแบกใหญ่ ประดู่ มะกอก ชิงชัน ฯลฯ พืชพื้นล่างที่สำคัญ เช่น ไผ่กาย โด่ไม่รู้ล่ม เป็นต้น ป่าผลัดใบเหล่านี้ในช่วงฤดูฝนไม้พื้นล่างจะผลิใบอ่อนเป็นแหล่งอาหารสำคัญของ สัตว์กินพืช ได้แก่ ช้างป่า กระทิง วัวแดง กวางป่า และนกที่อาศัยพื้นที่นี้ได้แก่ ไก่ป่า เหยี่ยวชิครา นกแขกเต้า นกหัวขวาน สัตว์เลื้อยคลานที่พบได้แก่ ตะกวด และแย้ เป็นต้น

ป่าดงดิบชื้น พบขึ้นอยู่ทั่วไปในพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 400-1,000 เมตร

ป่าดงดิบแล้ง จะพบขึ้นอยู่บนพื้นที่ค่อนข้างราบ ไม้ที่พบโดยทั่วไปได้แก่ ยางนา ยางแดง เป็นต้น จากลักษณะเรือนยอดที่ต่อเนื่องกันนั้นจึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของชะนีมือ ขาว ชะนีมงกุฎ ค่างหงอก ลิงกัง พญากระรอกบินหูแดง และจากสภาพป่าที่มีความรกทึบเป็นที่หลบพักและซ่อนตัวของสัตว์ใหญ่ เช่น ช้างป่า กระทิง นกป่าที่หากินและดำเนินกิจกรรมอยู่ในพื้นที่ ได้แก่ ไก่ฟ้าพญาลอ ไก่ฟ้าหลังขาว นกมูม นกลุมพู นกเค้าเหยี่ยว นกเงือกกรามช้าง นกแก๊ก นกกก นกพญาปากกว้างสีดำ นกพญาปากกว้างหางยาว นกขุนแผนหัวแดง และนกขุนทอง สัตว์เลื้อยคลานที่พบได้แก่ ตะกวด เต่าใบไม้ เต่าเหลือง และตะกอง เป็นต้น

นอกจากนี้ อุทยานแห่งชาติทับลานยังมีป่าอีกชนิดหนึ่งซึ่งถือเป็นประเภทป่าผลัดใบ ป่าชนิดนี้ถูกเรียกว่า “ป่าลาน” สภาพจะเป็นป่าโปร่ง มีลานขึ้นอย่างหนาแน่นทั่วพื้นที่ ป่าลานนี้มีเนื้อที่ 200 ไร่ บริเวณที่ราบบนเขาละมั่ง ด้านตำบลบุพราหมณ์ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี ไม้ลานเป็นพืชในตระกูลปาล์ม (Palmae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Corypha lecomtei Becc. บริเวณป่าลานและป่ารุ่นเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าที่สามารถปรับตัว อยู่ในสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้แก่ กระรอก หนู กระต่ายป่า พังพอน เก้ง กวางป่า เหยี่ยวขาว นกคุ่มอกลาย กิ้งก่าหัวแดง ตุ๊กแกบ้าน กิ้งก่าหางยาว อึ่งอ่างบ้าน และคางคก เป็นต้น

บริเวณเขาหินปูน ถ้ำ หน้าผา ซึ่งได้แก่บริเวณเขาละมั่ง เขาวง และภูสามง่าม เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย และที่กำบังภัยของสัตว์ป่าบางชนิด เช่น เลียงผา เม่นหางพวง และค้างคาว เป็นต้น บริเวณแหล่งน้ำ ห้วย ลำธาร เป็นย่านที่อาศัยของสัตว์ป่าบางชนิดได้แก่ งูปลิง กบหงอน เขียดอ่องเล็ก นกยางไฟธรรมดา นกยางเขียว นกกระเต็นธรรมดา นกกระเต็นใหญ่ธรรมดากำกวม และนกกระเต็นลาย ปลาน้ำจืดที่พบ เช่น ปลาชะโอน ปลาดุกเนื้อเลน ปลากระสง ปลาดัก และปลากระทิงดำ เป็นต้น


 
ที่ตั้งและการเดินทาง
 
 
อุทยานแห่งชาติทับลาน
520 หมู่ที่ 1 ต.บุพราหมณ์ อ. นาดี จ. ปราจีนบุรี  25220
โทรศัพท์ : 0 3721 9408
ผู้บริหาร : สิทธิชัย บรรพต   ตำแหน่ง : เจ้าพนักงานป่าไม้อาวุโส
 
รถยนต์

ที่ ทำการอุทยานแห่งชาติทับลาน อยู่ติดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ห่างจากกรุงเทพฯ เพียง 197 กิโลเมตร จากสี่แยกกบินทร์บุรีใหม่ ตามถนนสายกบินทร์บุรี - โคราช เดินทางประมาณ 32 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติทับลาน

 
รถโดยสารประจำทาง

จากกรุงเทพฯ ขึ้นรถโดยสารที่สถานีหมอชิต (สถานีขนส่งสายเหนือ) สายกรุงเทพฯ - กบินทร์บุรี ลงที่กบินทร์บุรี จากนั้นต่อรถโดยสารสายกบินทร์บุรี - โคราช ไปอีก 32 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งอยู่ติดกับถนนใหญ่

 
บ้านพัก และค่ายพักแรม
 
 

ท่านสามารถจองที่พักได้ด้วยตนเองผ่านทางอินเตอร์เน็ต www.dnp.go.th ของกรมเท่านั้น (กรมไม่มีตัวแทนการจองที่พักกับภาคเอกชนรายใดทั้งสิ้น) จองล่วงหน้าได้ 60 วัน จองต่อเนื่องได้ครั้งละ 3 วัน กำหนดชำระเงินภายใน 2 วันทำการ ณ เคาน์เตอร์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศเท่านั้น หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ทำการจองให้โดยโทรมาที่ 0 2562 0760 หรือติดต่อจุดจองที่พักในส่วนภูมิภาค

กรณีที่ชำระเงินกับทางธนาคาร กรมจะทราบข้อมูลการชำระเงินได้โดยออนไลน์กับทางธนาคาร ก็จะทราบว่ารายการจองใดได้ชำระเงินแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องโทรสารเอกสารแสดงการชำระเงินมาที่กรมอีก โปรดนำหลักฐานการจองและเอกสารการชำระเงิน เฉพาะบมจ.ธนาคารกรุงไทย เท่านั้น ไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก และในกรณีที่ชำระเงินกับหน่วยงานในสังกัดกรม ให้นำใบเสร็จรับเงินไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก ดูคำแนะนำเพิ่มเติม คลิกที่นี่

 
โซน ชื่อที่พัก-บริหาร ห้องนอน ห้องน้ำ คน/หลัง ราคา/คืน สิ่งอำนวยความสะดวก
โซนที่ 2 1. ทับลาน 201 (สวนห้อม 5) 3 2 6 1,500  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, ผ้าเช็ดตัว
หมายเหตุ : กรณี ที่มีผู้เข้าพักแรมในที่พักเกินจำนวนที่กำหนด ต้องชำระค่าตอบแทนที่พักสำหรับจำนวนที่เกินอีก โดยไม่มีเครื่องนอนหรือของใช้อื่นๆ เพิ่มอีก ดังนี้ ประเภทบ้านพัก ในอัตราคนละ 100 บาท/คน/คืน และ ประเภทค่ายพัก ในอัตราคนละ 50 บาท/คน/คืน สำหรับการจัดโซนและจำนวนที่พัก-บริการ ที่เปิดให้บริการในอุทยานแห่งชาติมีดังต่อไปนี้
โซน โซนที่พัก-บริการ คำอธิบาย
โซนที่ 1 ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ โซนนี้ยังไม่มีบ้านพักให้บริการ มีแต่การกางเต็นท์
โซนที่ 2 ทับลาน 201 - 207 บ้านพักเดี่ยว โซนหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ทล.13 บริเวณบ้านสวนห้อม อยู่บนเนินเขา
โซนที่ 3 ทับลาน 301 บ้านพักเดี่ยว โซนหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ทล.11 บริเวณบ้านไทยสามัคคี
โซนที่ 4 ทับลาน 401 บ้านพักเดี่ยว โซนหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ทล.2 บริเวณบ้านลำปลายมาศ

 
ดูปฎิทินบ้านพัก/ค่ายพักว่างหรือไม่ คลิกที่นี่  จองบ้านพัก/ค่ายพักผ่านระบบออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ต  คลิกที่นี่
 
ห้องประชุม
 
 
 
โซน ชื่อห้องประชุม รองรับ
ได้ (คน)
ราคา (บาท) สิ่งอำนวยความสะดวก
โซนที่ 1 1. ทับลาน 011 - ห้องประชุมดงลาน (09.00 - 12.00 น.) 40 400  ห้องปรับอากาศ ไม่เกิน 40 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้
โซนที่ 1 2. ทับลาน 011 - ห้องประชุมดงลาน (13.00 - 16.00 น.) 40 400  ห้องปรับอากาศ ไม่เกิน 40 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้
โซนที่ 1 3. ทับลาน 011 - ห้องประชุมดงลาน (18.00 - 21.00 น.) 40 400  ห้องปรับอากาศ ไม่เกิน 40 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้
โซนที่ 1 4. ทับลาน 031 - ห้องประชุมหาดชมตะวัน (09.00 - 12.00 น.) 40 400  ห้องพัดลม ไม่เกิน 40 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้
โซนที่ 1 5. ทับลาน 031 - ห้องประชุมหาดชมตะวัน (13.00 - 16.00 น.) 40 400  ห้องพัดลม ไม่เกิน 40 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้
โซนที่ 1 6. ทับลาน 031 - ห้องประชุมหาดชมตะวัน (18.00 - 21.00 น.) 40 400  ห้องพัดลม ไม่เกิน 40 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้

 
โซนน โซนห้องประชุม คำอธิบาย
โซนที่ 1 ทับลาน 011 - ห้องประชุมดงลาน ห้องประชุม โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
โซนที่ 1 ทับลาน 031 - ห้องประชุมหาดชมตะวัน ห้องประชุม โซนหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ทล.2 บริเวณบ้านลำปลายมาศ

 

 

 
แหล่งท่องเที่ยว
 
 


 

 
ด้านธรรมชาติที่สวยงาม

เขามะค่า  เขา มะค่า อยู่ในท้องที่ตำบลอุดมทรัพย์ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ห่างจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ประมาณ 5 กิโลเมตร เส้นทางเป็นทางขึ้นเขา ชมทัศนียภาพได้ตลอดเส้นทางที่เดินทาง เหมาะสำหรับคณะนักศึกษา นักเรียนที่จะมาทัศนศึกษานอกโรงเรียน มีสถานที่กางเต็นท์มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติชมทิวทัศน์บนภูเขาที่สวยงาม

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ชมทิวทัศน์   แค้มป์ปิ้ง  

เขื่อนลำปลายมาศ  ระยะทางห่างจากตัวอำเภอเสิงสาง ประมาณ 17 กิโลเมตร มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม คือ หาดชมตะวัน ความยาวประมาณ 300 เมตร อุทยานแห่งชาติทับลานได้ร่วมกับอำเภอเสิงสาง จัดทำแหล่งท่องเที่ยวในปีอะเมชซิ่งไทยแลนด์ มีกิจกรรมล่องเรือ ล่องแพ บริเวณหาดทรายสามารถเล่นน้ำได้ เหมาะสำหรับที่จะท่องเที่ยวแบบครอบครัว แบบหมู่คณะ ทางอุทยานแห่งชาติมีบ้านพักรับรองและสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการ ท่านสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโดยโทรมาที่หมายเลข 08 1097 9895

กิจกรรม : ล่องแพ/ล่องเรือ   กิจกรรมชายหาด   ชมทิวทัศน์   แค้มป์ปิ้ง  

เขื่อนลำมูลบน  อยู่ ในเขตอำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา แยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 บริเวณกิโลเมตรที่ 92 เข้าไปประมาณ 20 กิโลเมตร เป็นเขื่อนดินสูงประมาณ 30 เมตร ได้มีการพัฒนาบริเวณของเขื่อนเป็นแหล่งท่องเที่ยวทำเป็นหาดบริเวณท้ายเขื่อน เรียกว่า หาดจอมทอง เหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อน นั่งตากอากาศ ลงเล่นน้ำ ล่องแพ และขึ้นไปชมทิวทัศน์บนเขาจอมทอง

กิจกรรม : ล่องแพ/ล่องเรือ   ชมทิวทัศน์  

น้ำตกบ่อทอง  น้ำตก บ่อทอง อยู่ในท้องที่ตำบลบุพราหมณ์ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี ระยะทางห่างจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ประมาณ 6 กิโลเมตร และต้องเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 500 เมตร เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามมากในช่วงฤดูฝน (ประมาณเดือนกรกฎาคม-เดือนกันยายน) ในฤดูแล้ง น้ำจะค่อนข้างน้อย

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวน้ำตก  

น้ำตกสวนห้อม ห้วยขมิ้น ห้วยใหญ่ใต้  อยู่ ในท้องที่ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวันครราชสีมา ห่างจากถนนสาย 304 ประมาณ 6 กิโลเมตร น้ำตกมีลักษณะเป็นหน้าผา สูงประมาณ 50 เมตร กว้างประมาณ 30 เมตร น้ำตกมีความสวยงามมากในฤดูฝนประมาณเดือนกรกฎาคม - กันยายน ในฤดูแล้งน้ำจะค่อนข้างน้อย บริเวณใกล้เคียงน้ำตกทางอุทยานแห่งชาติทับลาน ได้จัดสถานที่กางเต็นท์อยู่บนเนินเขาไว้บริการนักท่องเที่ยว จากจุดกางเต็นท์นี้สามารถมองเห็นน้ำตก ทิวทัศน์ที่สวยงามของอุทยานแห่งชาติได้อย่างดี นับเป็นสถานที่กางเต็นท์ที่นักท่องเที่ยวน่าไปสัมผัสอีกแห่งหนึ่ง

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก   ชมทิวทัศน์   แค้มป์ปิ้ง  

น้ำตกห้วยคำภู  อยู่ ในท้องที่ตำบลแก่งดินสอ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี ระยะทางห่างจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ประมาณ 20 กิโลเมตร ลักษณะเป็นลำธารที่มีน้ำไหลลดหลั่นกันมาเป็นชั้นๆ ด้านล่างเป็นฝายน้ำล้นเหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก  

น้ำตกห้วยใหญ่  เป็น น้ำตกขนาดใหญ่ สวยงาม สูงประมาณ 50 เมตร กว้างประมาณ 30 เมตร หน้าผาตรงบริเวณน้ำตกโค้งเป็นมุม 150 องศา น้ำตกแห่งนี้อยู่ห่างจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 (กบินทร์บุรี-ปักธงชัย) ตรงหลักกิโลเมตรที่ 79 ประมาณ 6 กิโลเมตร

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก  

น้ำตกเหวนกกก  อยู่ ในเขตอำเภอนาดี มีทางเข้าอยู่ก่อนถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 3 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าไป 4 กิโลเมตร และต้องเดินเท้าขึ้นเขาต่อไปอีก 5 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่ไหลลงมาจากลานผากว้าง สูง 20 เมตร แล้วไหลลดหลั่นต่อไปตามลานหินอย่างสวยงาม แต่มีน้ำเฉพาะช่วงหน้าฝนเท่านั้น

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก  

ป่าลาน  เป็น ป่าลานผืนใหญ่แห่งสุดท้ายของประเทศไทย มีต้นลานซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ดึกดำบรรพ์ในวงศ์ปาล์ม มีใบใหญ่เป็นรูปพัดคล้ายใบตาล ซึ่งช่อดอกจะออกที่ยอดเมื่อมีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป มีดอกเป็นจำนวนมากกว่าล้านดอกในแต่ละช่อ และใช้เวลา 1 ปีกว่า ช่อดอกจะบานและติดผลกลมสีเขียว เมื่อผลแก่ร่วงลงพื้นจะงอกเป็นต้นใหม่ ปล่อยให้ต้นแม่ตายลง ต้นลานเป็นไม้โตช้าและแพร่กระจายอยู่ไม่มาก ปัจจุบันจึงพบเห็นต้นลานได้ค่อนข้างยาก

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ชมพรรณไม้  

ผาเก็บตะวัน  ผา เก็บตะวัน ตั้งอยู่บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ 11 (ไทยสามัคคี) ตำบลไทยสามัคคี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ห่างจากถนนหมายเลข 304 ประมาณ 13 กิโลเมตร ซึ่งเป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม สามารถชมพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าในยามเย็น และเป็นที่ตั้งของหลักแบ่งเขตจังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดนครราชสีมา ที่ใหญ่ที่สุด และยังเป็นแหล่งโอโซนอันดับ 7 ของโลกอีกด้วย

กิจกรรม : ชมทิวทัศน์  

ลำแปรง  ห่าง จากอำเภอครบุรี ประมาณ 35 กิโลเมตร เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มีสัตว์ป่า ดูนก เข้าค่ายของนักเรียน นักศึกษา มีบ้านพักรับรอง มีสถานที่กางเต็นท์ เส้นทางสามารถเดินทางไปอุทยานแห่งชาติปางสีดาได้

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   แค้มป์ปิ้ง   ดูนก  

สิ่งอำนวยความสะดวก
 

ที่พักแรม/บ้านพัก    มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว จำนวน 3 หลัง
- บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ทล.2 (ลำปลายมาศ) 1 หลัง
- บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ทล.11 (ไทยสามัคคี) 1 หลัง
- บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ทล.13 (สวนห้อม) 1 หลัง
 


ลานกางเต็นท์    อุทยาน แห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว อยู่บนเนินเขา บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ทล.13 (สวนห้อม) จากจุดกางเต็นท์นี้สามารถมองเห็นน้ำตก ทิวทัศน์ที่สวยงามของอุทยานแห่งชาติได้อย่างดี การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้ กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง


ลานกางเต็นท์    อุทยาน แห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้ กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง


ลานกางเต็นท์    อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ


บริการอาหาร    มี ร้านอาหารและร้านขายของ สำหรับซื้อของกินของใช้เล็กๆ น้อยๆ เพื่อเตรียมการเดินป่า แต่ทางที่ดีแล้ว นักท่องเที่ยวควรจัดเตรียมอาหารไปเอง


ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว    มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยวขนาดไม่ใหญ่มากนัก บริการข้อมูล ข่าวสาร เกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ


 
 
อุทยานแห่งชาติทับลาน
520 หมู่ที่ 1 ต.บุพราหมณ์  อ. นาดี  จ. ปราจีนบุรี   25220
โทรศัพท์ 0 3721 9408   อีเมล reserve@dnp.go.th

 
 

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์